Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179832
ทั้งหมด:13491064
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมบันทึกมักกะสัน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมบันทึกมักกะสัน
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/09/2016 1:03 am    Post subject: Reply with quote

ธนารักษ์เฮ "รับโอน" ที่มักกะสันปลดหนี้รถไฟ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
21 กันยายน 2559 เวลา 20:15:14 น.


กฤษฎีกาคณะพิเศษตีความที่ดินได้จากเวนคืนก่อน-หลังรัฐธรรมนูญปี′21 รัฐนำไปใช้ประโยชน์อื่นได้ตามเหมาะสม ทั้งที่ดินใต้ทางด่วน ใต้สะพาน สองข้างทางรถไฟ เสนอรายโปรเจ็กต์ให้คณะกรรมการชาติอนุมัติ วงในชี้ที่มักกะสัน 497 ไร่ ร.ฟ.ท.โอนให้ธนารักษ์ปลดหนี้กว่า 6 หมื่นล้านได้ ทางหลวงเร่งปลดล็อกกฎหมายให้เอกชนร่วมลงทุนมอเตอร์เวย์โคราช-กาญจน์


แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2559 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทำหนังสือถึงกระทรวงคมนาคม เรื่องแนวทางนำที่ดินที่เหลือจากเวนคืนมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์อื่น หลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการให้เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จใน 3 เดือน เพื่อให้รัฐนำที่ดินที่เหลือจากเวนคืน เช่น พื้นที่สองข้างทางรถไฟ รถไฟฟ้า ไปใช้ประโยชน์อื่นหรือแก้ปัญหาทางสังคม

โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษพิจารณาประเด็นข้อกฎหมาย และแนวทางการนำที่ดินจากเวนคืนไปใช้ประโยชน์เสร็จแล้ว การดำเนินการจะต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มีข้อสรุป คือ 1.อสังหาฯได้จากเวนคืนก่อนรัฐธรรมนูญปี 2521 ต้องตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐโดยเด็ดขาด และสภาพอสังหาฯในปัจจุบันถือเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินตามมาตรา 1304 แห่งกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รัฐย่อมนำไปใช้ประโยชน์ในกิจการของรัฐตามที่เห็นสมควรได้ ไม่ว่าจะเคยนำไปใช้ประโยชน์แล้วบางส่วน หรือไม่ได้ใช้ประโยชน์ก็ตาม

2.กรณีอสังหาฯภายหลังที่รัฐธรรมนูญปี 2521 ถึงปัจจุบัน ที่ดินจากเวนคืนจะไม่ตกเป็นของรัฐโดยเด็ดขาด หากรัฐไม่ใช้ประโยชน์ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่หากใช้ประโยชน์แล้ว กรรมสิทธิ์ย่อมตกเป็นของรัฐโดยเด็ดขาด นำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นตามที่เห็นเหมาะสมภายหลังได้ โดยไม่กระทบต่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืน เช่น ที่ว่างใต้ทางด่วน ใต้สะพานหรือที่ดินสองข้างทางรถไฟ เป็นต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดการใช้ที่ดิน ซึ่งหน่วยงานต้องตรวจสอบที่ดินว่าจะนำที่ดินไปใช้ประโยชน์ได้ตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษให้ความเห็นไว้หรือไม่และให้แต่ละหน่วยงานเสนอแผนงานหรือโครงการให้คณะกรรมการระดับชาติที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาพิจารณาว่าสอดคล้องกันหรือไม่

"จากแนวทางของคณะกรรมการกฤษฎีกามีแนวโน้มที่ดินมักกะสัน497ไร่ของการรถไฟฯอาจจะโอนให้กรมธนารักษ์เพื่อแลกหนี้กว่า 6 หมื่นล้านบาทได้ เพราะเป็นที่ดินได้มาก่อนปี′21"
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/11/2016 1:20 am    Post subject: Reply with quote

กฤษฎีกาชี้ นําที่การรถไฟฯ รง.มักกะสัน ทําโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้
เขียนโดยthaireform
หมวดหมู่ในกระแส | ยุทธศาสตร์ชาติ | Isranews | ข่าว | Thaireform
เขียนวันที่ วันเสาร์ ที่ 12 พฤศจิกายน 2559 เวลา 10:28 น.

คณะกรรมการกฤษฎีกา ตอบข้อหารือการรถไฟฯ ชี้การนําที่ดินบริเวณโรงงานมักกะสันไปทําโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ สามารถดําเนินการได้


จากกรณี กรมธนารักษ์ และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ต้องยุติแผนการส่งมอบที่ดินมักกะสันเพื่อแลกกับภาระหนี้ของ ร.ฟ.ท.จำนวนกว่า 6.1 หมื่นล้านไปก่อน เพื่อส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความในข้อกฎหมายว่าสามารถนำที่ดินที่ร.ฟ.ท.เวนคืนมาเพื่อกิจการรถไฟ ไปใช้เพื่อกิจการอื่นได้หรือไม่นั้น

ล่าสุด คณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นว่า การนําที่ดินบริเวณโรงงานมักกะสันไปทําโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์จึงสามารถดําเนินการได้ (http://www.krisdika.go.th)

หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือ ที่ รฟ1/1829/2559 ลงวันที่ 14 กันยายน 2559 ถึงสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สรุปความได้ว่า เนื่องด้วยคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ได้มีมติในคราวประชุมที่ 2/2559 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2559 มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดําเนินการจัดทําแผนการส่งมอบพื้นที่โรงงานมักกะสันให้แก่กระทรวงการคลังให้ชัดเจน พร้อมทั้งให้เร่งรัดดําเนินการส่งมอบเพื่อลดภาระหนี้สินโดยเร็ว

และในคราวประชุมร่วมระหว่างกระทรวงการคลัง (โดยกรมธนารักษ์และสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ) กับการรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2559 ได้มีมติให้หารือคณะกรรมการกฤษฎีกาถึงการนําพื้นที่ดังกล่าวไปทําโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ว่าจะสามารถดําเนินการได้หรือไม่ อย่างไร

การรถไฟแห่งประเทศไทยตรวจสอบแล้วเห็นว่าพื้นที่โรงงานมักกะสันได้มาโดยบทบัญญัติดังต่อไปนี้

1. ประกาศพระราชกฤษฎีกาในการจัดซื้อที่ดินสร้างทางรถไฟสายตะวันออก ลงวันที่ 20 สิงหาคม รัตนโกสินทรศก 124

2. ประกาศเพิ่มเติมขยายเขตที่ดินสร้างโรงงานใหม่ในทางรถไฟสายตะวันออก ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก 125

3. ประกาศเพิ่มเติมขยายเขตที่ดินสําหรับสร้างโรงงานใหญ่ กรมรถไฟหลวงริมทางรถไฟสายตะวันออก ณ ตําบลมักกะสัน (ครั้งที่ 2) ลงวันที่ 24 กันยายน พระพุทธศักราช 2461

4. พระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อําเภอดุสิต อําเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร พุทธศักราช 2481

5. พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่อําเภอดุสิต จังหวัดพระนคร (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2482

6. พระราชบัญญัติโอนคลองมักกะสัน ตําบลมักกะสัน อําเภอดุสิต จังหวัดพระนคร ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ให้กรมรถไฟ พุทธศักราช 2482

7. พระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ธรณีสงฆ์ วัดมักกะสัน ตําบลถนนพญาไท อําเภอดุสิต จังหวัดพระนคร ให้แก่กรมรถไฟ พุทธศักราช 2485

จากข้อเท็จจริงข้างต้น กรมรถไฟได้พื้นที่โรงงานมักกะสันมาตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีการก่อสร้างโรงงานมักกะสันตามพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ ต่อมาการรถไฟแห่งประเทศไทยจึงรับโอนกิจการทรัพย์สินและหนี้สินจากกรมรถไฟ

ทั้งนี้ ตามมาตรา 6 (1) และมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ดังนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงขอหารือสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. พระบรมราชโองการและพระราชบัญญัติ มีลําดับศักดิ์กฎหมายเป็นเช่นใด

2. การเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ย่านโรงงานมักกะสัน (เพื่อประโยชน์ในกิจการเดินรถไฟ) มาเป็นโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ถือว่าขัดกับพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือไม่ อย่างไร

3. จากประเด็น 2. หากขัดแย้งกับประกาศพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์แล้ว จะมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร

คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้พิจารณาข้อหารือของการรถไฟแห่งประเทศไทย

ประเด็นที่หนึ่ง พระบรมราชโองการ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกาและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาที่ดินในพื้นที่โรงงานมักกะสัน มีผลในทางกฎหมายอย่างไร นั้นเห็นว่า ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอํานาจโดยพระองค์เอง ทั้งในทางนิติบัญญัติและในทางบริหาร ดังนั้น การที่จะวินิจฉัยว่าพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะเป็นกฎหมายหรือไม่นั้นก็ต้องแล้วแต่ว่าในการมีพระบรมราชโองการนั้น พระมหากษัตริย์ได้ทรงใช้พระราชอํานาจในทางใด ถ้าพระองค์ทรงใช้พระราชอํานาจในทางนิติบัญญัติพระบรมราชโองการนั้นก็เป็นกฎหมาย แต่ถ้าพระองค์ทรงใช้พระราชอํานาจในทางบริหารพระบรมราชโองการนั้นก็มิใช่กฎหมาย หากเป็นเพียงคําสั่งในทางบริหารอย่างหนึ่งเท่านั้น

ประเด็นที่สอง การนําที่ดินบริเวณโรงงานมักกะสันไปทําโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ จะสามารถดําเนินการได้หรือไม่ อย่างไร นั้น เห็นว่า การนําที่ดินบริเวณโรงงานมักกะสันไปทําโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์จึงสามารถดําเนินการได้

//--------------------------------


เปิดประเด็นเรื่องมักกะสัน โดยรายการถอนพิษ
https://www.youtube.com/watch?v=XosMrHZW2Ng&feature=youtu.be
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/11/2016 1:28 pm    Post subject: Reply with quote

กฤษฎีกายอมให้รฟท. พัฒนาที่ดินโรงงาน มักกะสันได้
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1543661382314588&set=a.213819491965457.68088.100000122231436&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/12/2016 8:01 pm    Post subject: Reply with quote

คลังกลับลำไม่รับโอนที่ดินมักกะสันล้างหนี้ ติดวัตถุประสงค์ กม.เวนคืน รถไฟฯ ปัดฝุ่นแผนเดิมพัฒนาเอง
โดย MGR Online
1 ธันวาคม 2559 17:04 น. (แก้ไขล่าสุด 1 ธันวาคม 2559 17:43 น.)


คลังกลับลำไม่เอาที่ดินมักกะสันแลกหนี้ ร.ฟ.ท. “ออมสิน” เตรียมหารือธนารักษ์ขอความชัดเจนก่อน ยัน ร.ฟ.ท.พร้อมปัดฝุ่นการศึกษาเดิมเพื่อพัฒนาเอง วงในเผยโอนธนารักษ์พัฒนาที่ดินรถไฟซึ่งเวนคืนมานั้น ส่อประเด็นข้อกฎหมาย ขณะที่ส่งแผนพัฒนาสถานีแม่น้ำ และบางซื่อแปลง A ไปยัง สคร.แล้ว รอ PPP เคาะเปิดประมูล

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงการโอนสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินมักกะสัน จำนวน 497.11 ไร่ ให้แก่กระทรวงการคลังเพื่อชำระหนี้ 6.1 หมื่นล้านบาท ตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ด ว่าล่าสุดได้พบกับนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และมีแนวคิดว่าไม่อยากให้โอนแล้ว เนื่องจากโอนให้แล้วทางคลังจะต้องจ้างคนอื่นมาพัฒนาต่อ ขณะที่หากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีความพร้อมควรจะทำเอง เรื่องนี้นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ จะมาหารือกับตนและ ร.ฟ.ท.ในเร็วๆ นี้เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันให้ชัดเจน

ทั้งนี้ ในส่วนของ ร.ฟ.ท.ไม่มีปัญหาในการพัฒนาที่ดินมักกะสันเอง เพราะก่อนหน้านี้ได้เคยมีการศึกษาแผนงานพัฒนาที่ดินมักกะสันไว้แล้ว ซึ่งจะมีพื้นที่สวนสาธารณะประมาณ 100 ไร่ และพัฒนาบึงมักกะสันให้เกิดความสวยงามจนกระทั่งแนวคิดในเรื่องการโอนให้กรมธนารักษ์ ทำให้ยุติแผนดังกล่าว ดังนั้นหากจะให้ ร.ฟ.ท.ทำเองเหมือนเดิมสามารถนำผลการศึกษาเดิมออกมาปัดฝุ่นได้

“เรื่องโอนที่ดินมักกะสันให้คลังเพื่อชำระหนี้นั้นเป็นมติ คนร. แต่หากจะไม่ให้โอนแล้วก็ต้องมาหารือร่วมกันว่าการรถไฟฯ จะพร้อมหรือไม่ ขณะนี้ในส่วนการพัฒนาพื้นที่แปลงใหญ่ เช่น สถานีแม่น้ำ 77.5 ไร่ มูลค่าประมาณ 13,317.24 ล้านบาท และบางซื่อแปลง A ของการรถไฟฯ นั้นได้ส่งเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อเข้าสู่คณะกรรมการ PPP แล้ว”

รายงานข่าวแจ้งว่า การโอนที่ดินมักกะสันให้คลังเพื่อชำระหนี้นั้นเป็นนโยบายซึ่งเมื่อมีการตรวจสอบในหลายประเด็นพบว่าติดประเด็นข้อกฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความในข้อกฎหมาย ร.ฟ.ท.แล้วว่า สามารถนำที่ดินเวนคืนมาเพื่อกิจการรถไฟไปใช้กิจการอื่นหรือพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ แต่กรณีการโอนให้กรมธนารักษ์แล้วจะต้องตีความตามกฎหมายของกรมธนารักษ์ในการนำที่ดินไปใช้ไม่ตรงต่อวัตถุประสงค์เดิมได้หรือไม่ ซึ่งยังไม่ชัดเจนทำให้เกิดปัญหาในการรับโอนไป อย่างไรก็ตาม หากสรุปไม่โอนที่มักกะสัน จะต้องหารือในประเด็นหนี้สินของ ร.ฟ.ท.ว่าจะทำอย่างไรต่อไป

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ส่วนต่อขยายช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 21.8 กม. วงเงิน 31,139.35 ล้านบาทนั้น กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอ สคร.เร็วๆ นี้ โดยได้ศึกษาแนวทางการร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP-Net Cost ใน 2 รูปแบบ คือ 1. รัฐลงทุนงานโครงสร้างพื้นฐาน งานโยธา วงเงินกว่า 20,000 ล้านบาท ส่วนเอกชนลงทุนวางราง จัดหาระบบอาณัติสัญญาณและตัวรถ พร้อมเดินรถ วงเงินกว่า 10,000 กว่าล้านบาท 2. ให้เอกชนลงทุน100% ทั้งงานโยธาและระบบรถ ทั้งนี้ ในการร่วมลงทุนจะไม่มีเงื่อนไข การันตีเรื่องจำนวนผู้โดยสาร ตามที่ภาคเอกชนเสนอจากการสัมมนาเพื่อประเมินความสนใจของภาคเอกชน (Market Sounding) เพราะรัฐจะไม่รับภาระเพิ่ม เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้ลงทุนโครงสร้างส่วนแรก ช่วงพญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิไปแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/12/2016 5:31 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท. ลุยที่ดินมักกะสัน
http://m.posttoday.com/biz/gov/468259
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/12/2016 10:43 am    Post subject: Reply with quote

‘ธนารักษ์’เล็งหารือคมนาคมสางปมร.ฟ.ท. เคาะความชัดเจนแผนพัฒนาที่ดินมักกะสัน

โดย ฐานเศรษฐกิจ
ออนไลน์เมื่อ - 5 ธันวาคม 2559
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,215 วันที่ 4 – 7 ธันวาคม 2559

ธนารักษ์เล็งบุกคมนาคมจับเข่าหารือ “ออมสิน” เคลียร์ปมเจ้าภาพบริหารที่ดินมักกะสันเผยแนวโน้มร.ฟ.ท.มีโอกาสบริหารเองและเจ้ากระทรวงการคลังหนุนเต็มที่ ชี้ต้องเร่งปลดล็อกมติคนร.ให้แล้วเสร็จก่อน

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความชัดเจนของโครงการพัฒนาที่ดินแปลงมักกะสันว่าจะมีการหารือร่วมกับนายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ในเร็วๆนี้ เพื่อเคาะความชัดเจน โดยก่อนหน้านี้นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แนะนำให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)เสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการ ร.ฟ.ท.ได้เลย แต่เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเคยมีมติคณะกรรมการนโยบายการลงทุนภาครัฐ(คนร.) ให้ร.ฟ.ท.เร่งโอนที่ดินแปลงมักกะสันให้กระทรวงการคลังโดยเร็วดังนั้นจึงต้องมีการปรับแก้มติดังกล่าวให้แล้วเสร็จก่อน

“นายอภิศักดิ์มองว่าหากกระทรวงการคลังรับโอนที่ดินมักกะสันมา ก็จะต้องไปว่าจ้างหน่วยงานอื่นบริหารจัดการเช่นเดียวกัน ดังนั้น ถ้า ร.ฟ.ท.รับไปดำเนินการเองจะเหมาะสมกว่า ซึ่งการรถไฟฯก็ยืนยันว่ามีความพร้อมดำเนินการอีกทั้งยังได้เคยศึกษาและจัดทำแผนการพัฒนารองรับไว้แล้ว เบื้องต้นสมัยพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยังแบ่งพื้นที่สวนสาธารณะรองรับไว้ราว 100 ไร่ ให้บึงมักกะสันมีความสวยงาม ดังนั้นหากให้ร.ฟ.ท.ดำเนินการก็พร้อมต่อยอดผลการศึกษาได้ทันที”

ส่วนแผนการพัฒนาพื้นที่แปลงอื่นๆของร.ฟ.ท. ที่จะนำเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติตามพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 ล่าสุดได้เสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.)พิจารณาแปลงสถานีแม่น้ำ และสถานีกลางบางซื่อ แปลง A ดังนั้นหากจะดำเนินการแปลงมักกะสันก็จะต้องนำเสนอสคร.พิจารณาต่อไป

นายออมสินยังกล่าวถึงความคืบหน้าแผนการร่วมลงทุนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ส่วนต่อขยายช่วงพญาไท-บางซื่อ และบางซื่อ-ดอนเมือง ว่า รูปแบบการร่วมลงทุนจะเป็นแบบ Net Cost โดยมูลค่าทั้งโครงการกว่า 4 หมื่นล้านบาทซึ่งเอกชนจะร่วมลงทุนมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาทเศษ ส่วนภาครัฐลงทุนกว่า 2 หมื่นล้านบาทเศษ

“ช่วงที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมก็ได้เคยปฏิบัติมาแบบนี้โดยรัฐจะลงทุนงานโยธาทั้งหมด ส่วนเอกชนจะเดินรถและจัดซื้อขบวนรถ ระบบอาณัติสัญญาณและอื่นๆ แต่ในช่วงที่มีการเปิดรับฟังความเห็นนักลงทุน(มาร์เก็ตซาวดิ้ง)เอกชนมีข้อเสนอว่ารัฐควรจะการันตีปริมาณผู้โดยสารที่ชัดเจน จึงได้เสนอให้ตัดประเด็นดังกล่าวนี้ออกไป เนื่องจากช่วงพญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิรัฐได้ลงทุนไปครบทั้งหมดแล้ว เอกชนจึงไม่ควรมีข้อเสนออื่นๆเข้ามาเพิ่มเติมได้อีก”

ทั้งนี้ในส่วนการร่วมลงทุนพีพีพีนั้นจะให้ครอบคลุมช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ ช่วงพญาไท-บางซื่อ และบางซื่อ-สุวรรณภูมิด้วยหรือไม่นั้นจะต้องรอให้สคร.พิจารณาความชัดเจน โดยแนวคิดควรจะต้องดำเนินการในส่วนตั้งแต่พญาไท-บางซื่อก่อนเพราะจะดำเนินการไปพร้อมกับการก่อสร้างรถไฟสายสีแดงอ่อนช่วงมิสซิ่งลิงค์ในบริเวณพื้นที่สถานีสามเสนที่จะเป็นช่วงคลองแห้งจะต้องก่อสร้างไปพร้อมกันเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบตามมาในภายหลังได้อีก

“ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพงจะมีการเว้นพื้นที่เอาไว้ให้ก่อสร้างแอร์พอร์ตลิงค์ส่วนต่อขยายนี้แล้ว ดังนั้นแอร์พอร์ตลิงค์ช่วงบางซื่อ-พญาไทควรจะดำเนินการไปก่อน เช่นเดียวกับช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองที่จะมีการแชร์เส้นทางวิ่งก็หารือให้ชัดเจนเพื่อจะดำเนินการต่อเนื่องกันไป ดังนั้นสคร.น่าจะเคาะออพชันดำเนินการให้ชัดเจนได้ อาทิ จะให้เอกชนลงทุนทั้งหมด หรือรัฐลงทุนบางส่วน ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างการเตรียมส่งเรื่องดังกล่าวให้สคร.พิจารณา”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/12/2016 6:40 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟพร้อมเปิด PPP พัฒนาที่ดินมักกะสัน รอ คนร.เคาะยุติโอนให้คลัง
โดย MGR Online 6 ธันวาคม 2559 17:28 น. (แก้ไขล่าสุด 6 ธันวาคม 2559 17:33 น.)

ร.ฟ.ท.ปัดฝุ่นผลการศึกษาที่ดินมักกะสัน หลังคลังโยนให้ ร.ฟ.ท.พัฒนาเอง “วุฒิชาติ” เผยสัปดาห์หน้าสรุปแผนเสนอ สคร. ชง กก.คนร.เคาะมติยุติโอนที่ให้คลัง พร้อมเร่งจ้างที่ปรึกษาการเงินรีวิวผลตอบแทน มูลค่าโครงการเปิด PPP หาเอกชนร่วมทุนเร็วที่สุด

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมการเช่าที่ดินบริเวณพื้นที่มักกะสันของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่าเนื่องจากนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง มีนโยบายว่าควรให้ ร.ฟ.ท.พัฒนาที่ดินดังกล่าวเอง แทนการโอนให้กรมธนารักษ์เพื่อแลกกับภาระหนี้ ขณะที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) มีมติให้ ร.ฟ.ท.โอนที่ดินมักกะสันให้กรมธนารักษ์เพื่อชำระหนี้สิน ดังนั้น หากจะมีการเปลี่ยนแปลงว่าจะให้ ร.ฟ.ท.กลับมาดำเนินการเองก็ต้องเสนอเรื่องนี้ไปยัง คนร.อีกครั้ง ซึ่งในส่วนของ ร.ฟ.ท.นั้นมีความพร้อมดำเนินการอยู่แล้ว

ขณะที่บริษัท MCC GROUP จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เข้าร่วมการประชุมด้วยนั้น เนื่องจากบริษัทฯ มีความสนใจร่วมลงทุนพัฒนาพื้นที่มักกะสัน แต่ไม่ได้หมายถึงจะให้ MCC GROUP เพราะต้องเปิดประมูลร่วมทุน PPP ตามขั้นตอนเหมือนที่ดินแปลงอื่นๆ ของ ร.ฟ.ท.

นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวว่า หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ให้นโยบายว่าหาก ร.ฟ.ท.มีความประสงค์จะพัฒนาที่ดินมักกะสันเอง ให้ ร.ฟ.ท.เสนอแผนต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการปรับโครงสร้าง ร.ฟ.ท.และให้นำเรื่องต่อ คนร.ภายในสิ้นเดือน ธ.ค.นี้ โดยการที่ ร.ฟ.ท.จะบริหารที่ดินมักกะสันเองนั้นจะไม่กระทบต่อกรอบการดำเนินงานเดิมที่ ร.ฟ.ท.เคยตกลงกับธนารักษ์ไว้ โดยไม่ว่า ร.ฟ.ท. หรือกรมธนารักษ์จะเป็นผู้บริหารที่ดินมักกะสัน โครงการจะไม่ล่าช้าออกไป

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า การใช้ประโยชน์ที่ดินมักกะสันจำนวน 497.11 ไร่นั้น ร.ฟ.ท.จะดำเนินการรูปแบบร่วมลงทุนเอกชน (PPP) เช่นเดียวกับการพัฒนาที่ดินแปลง กม.11 และสถานีแม่น้ำ ที่จะสรุปข้อมูลนำเสนอต่อ สคร.ได้ภายในสัปดาห์หน้าซึ่งจะเห็นภาพรวมการพัฒนาที่ดินแปลงมักกะสัน และหากที่ประชุม คนร.ในวันที่ 19 ธ.ค.เห็นชอบให้ ร.ฟ.ท.พัฒนาเอง สามารถเข้าสู่กระบวนการ และขั้นตอน PPP ได้

โดย ร.ฟ.ท.มีแผนการพัฒนาที่ดินมักกะสันเดิมเดิม ที่ศึกษาไว้เมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว ซึ่งจะนำมาปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ทั้งนี้ ที่ดินมักกะสันแปลงใหญ่ มีมูลค่าสูง จะเร่งว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อนำผลศึกษาเดิมมาต่อยอดให้มีความสมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน โดยเฉพาะมูลค่าที่ดินคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นตามราคาปัจจุบัน และการปรับอัตราผลตอบแทน รวมมูลค่าทั้งโครงการหลายแสนล้านบาท

สำหรับที่ดินย่านมักกะสันมีทั้งหมด 745 ไร่ สามารถนำพื้นที่มาพัฒนาได้ 497 ไร่เศษ เนื่องจากพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นบึงมักกะสัน 133 ไร่ พื้นที่สาธารณประโยชน์ ถนนโลคัลโรด ถนนนิคมการรถไฟ 39 ไร่ สถานีแอร์พอร์ตลิงก์มักกะสัน 27.5 ไร่ และทางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ 47 ไร่ ถือเป็นที่ดินในทำเลทองใจกลางเมืองของ ร.ฟ.ท.อีกแปลง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/12/2016 12:40 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟพร้อมเปิด PPP พัฒนาที่ดินมักกะสัน รอ คนร.เคาะยุติโอนให้คลัง
โดย MGR Online
6 ธันวาคม 2559 17:28 น. (แก้ไขล่าสุด 6 ธันวาคม 2559 17:33 น.)

ร.ฟ.ท.ปัดฝุ่นผลการศึกษาที่ดินมักกะสัน หลังคลังโยนให้ ร.ฟ.ท.พัฒนาเอง “วุฒิชาติ” เผยสัปดาห์หน้าสรุปแผนเสนอ สคร. ชง กก.คนร.เคาะมติยุติโอนที่ให้คลัง พร้อมเร่งจ้างที่ปรึกษาการเงินรีวิวผลตอบแทน มูลค่าโครงการเปิด PPP หาเอกชนร่วมทุนเร็วที่สุด

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมการเช่าที่ดินบริเวณพื้นที่มักกะสันของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่าเนื่องจากนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง มีนโยบายว่าควรให้ ร.ฟ.ท.พัฒนาที่ดินดังกล่าวเอง แทนการโอนให้กรมธนารักษ์เพื่อแลกกับภาระหนี้ ขณะที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) มีมติให้ ร.ฟ.ท.โอนที่ดินมักกะสันให้กรมธนารักษ์เพื่อชำระหนี้สิน ดังนั้น หากจะมีการเปลี่ยนแปลงว่าจะให้ ร.ฟ.ท.กลับมาดำเนินการเองก็ต้องเสนอเรื่องนี้ไปยัง คนร.อีกครั้ง ซึ่งในส่วนของ ร.ฟ.ท.นั้นมีความพร้อมดำเนินการอยู่แล้ว

ขณะที่บริษัท MCC GROUP จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เข้าร่วมการประชุมด้วยนั้น เนื่องจากบริษัทฯ มีความสนใจร่วมลงทุนพัฒนาพื้นที่มักกะสัน แต่ไม่ได้หมายถึงจะให้ MCC GROUP เพราะต้องเปิดประมูลร่วมทุน PPP ตามขั้นตอนเหมือนที่ดินแปลงอื่นๆ ของ ร.ฟ.ท.

นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวว่า หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ให้นโยบายว่าหาก ร.ฟ.ท.มีความประสงค์จะพัฒนาที่ดินมักกะสันเอง ให้ ร.ฟ.ท.เสนอแผนต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการปรับโครงสร้าง ร.ฟ.ท.และให้นำเรื่องต่อ คนร.ภายในสิ้นเดือน ธ.ค.นี้ โดยการที่ ร.ฟ.ท.จะบริหารที่ดินมักกะสันเองนั้นจะไม่กระทบต่อกรอบการดำเนินงานเดิมที่ ร.ฟ.ท.เคยตกลงกับธนารักษ์ไว้ โดยไม่ว่า ร.ฟ.ท. หรือกรมธนารักษ์จะเป็นผู้บริหารที่ดินมักกะสัน โครงการจะไม่ล่าช้าออกไป

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า การใช้ประโยชน์ที่ดินมักกะสันจำนวน 497.11 ไร่นั้น ร.ฟ.ท.จะดำเนินการรูปแบบร่วมลงทุนเอกชน (PPP) เช่นเดียวกับการพัฒนาที่ดินแปลง กม.11 และสถานีแม่น้ำ ที่จะสรุปข้อมูลนำเสนอต่อ สคร.ได้ภายในสัปดาห์หน้าซึ่งจะเห็นภาพรวมการพัฒนาที่ดินแปลงมักกะสัน และหากที่ประชุม คนร.ในวันที่ 19 ธ.ค.เห็นชอบให้ ร.ฟ.ท.พัฒนาเอง สามารถเข้าสู่กระบวนการ และขั้นตอน PPP ได้

โดย ร.ฟ.ท.มีแผนการพัฒนาที่ดินมักกะสันเดิมเดิม ที่ศึกษาไว้เมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว ซึ่งจะนำมาปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ทั้งนี้ ที่ดินมักกะสันแปลงใหญ่ มีมูลค่าสูง จะเร่งว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อนำผลศึกษาเดิมมาต่อยอดให้มีความสมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน โดยเฉพาะมูลค่าที่ดินคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นตามราคาปัจจุบัน และการปรับอัตราผลตอบแทน รวมมูลค่าทั้งโครงการหลายแสนล้านบาท

สำหรับที่ดินย่านมักกะสันมีทั้งหมด 745 ไร่ สามารถนำพื้นที่มาพัฒนาได้ 497 ไร่เศษ เนื่องจากพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นบึงมักกะสัน 133 ไร่ พื้นที่สาธารณประโยชน์ ถนนโลคัลโรด ถนนนิคมการรถไฟ 39 ไร่ สถานีแอร์พอร์ตลิงก์มักกะสัน 27.5 ไร่ และทางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ 47 ไร่ ถือเป็นที่ดินในทำเลทองใจกลางเมืองของ ร.ฟ.ท.อีกแปลง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/12/2016 12:30 pm    Post subject: Reply with quote

ยักษ์กาสิโน-อสังหาฯจีนแห่รุมทึ้งพัฒนาที่ดิน "มักกะสัน" 497ไร่
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 12 ธันวาคม 2559 เวลา 20:30:13 น.


นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เตรียมเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) จะประชุมวันที่ 19 ธ.ค. 2559 ให้ ร.ฟ.ท.พัฒนาที่ดินมักกะสัน พื้นที่ 497 ไร่ แทนกรมธนารักษ์ หลัง คนร.มีมติโอนให้กรมธนารักษ์พัฒนา 99 ปี เพื่อแลกหนี้ 6.1 หมื่นล้านบาท ซึ่ง ร.ฟ.ท.มีศักยภาพพัฒนาเองได้ หากได้รับอนุมัติจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมประมูล PPP 30-50 ปี

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หาก ร.ฟ.ท.จะพัฒนาที่ดินมักกะสันเอง เป็นเรื่องที่ ร.ฟ.ท.จะต้องเสนอ คนร. พิจารณาทบทวนมติเดิมที่เคยเห็นชอบให้โอนที่ดินให้กระทรวงการคลังพัฒนา

"ตอนที่ คนร.ตั้งใจโอนให้คลัง เป็นข้อเสนอของ ร.ฟ.ท.เอง เพื่อที่จะลดหนี้ แต่ขณะนี้ ร.ฟ.ท.ได้ปรับโครงสร้างตัวเอง ตั้งหน่วยงานในการพัฒนาที่ดินที่ไม่เกี่ยวกับการเดินรถขึ้นมา ก็เลยมีคนถามว่า เมื่อ ร.ฟ.ท.มีหน่วยนี้แล้ว ทำไมไม่รับมักกะสันไปพัฒนาด้วย ซึ่งทาง ร.ฟ.ท.สามารถใช้เครื่องมือทางการเงินมาลงทุน เช่น จัดตั้งกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาฯ"

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า มีนักลงทุนจากหลายประเทศสนใจเข้ามาพัฒนาที่ดินมักกะสัน มีบริษัทโมริ จากญี่ปุ่น เสนอโครงการพัฒนาเป็นศูนย์กลางการเงิน ส่วนบริษัท MRCB LAND จากมาเลเซีย เสนอการพัฒนาเชิงพาณิชยกรรมครบวงจร มีโรงแรม ห้างสรรพสินค้า ที่พักอาศัย

ด้านกลุ่มแซนด์กรุ๊ป จากสหรัฐ ที่พัฒนาโครงการมารีน่าเบย์ แซนด์ส ในสิงคโปร์ ก็สนใจลงทุนพัฒนาสถานบันเทิงและบริการท่องเที่ยว และกาสิโนครบวงจรล่าสุดบริษัท MCC Group จากประเทศจีน ทำธุรกิจหลากหลาย เช่น เหล็ก ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และมีรัฐบาลจีนเป็นผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.ที่ผ่านมา ประธานบริษัท MCC Group เข้าพบนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล สนใจเข้ามาลงทุนในไทย อาทิ ถนน รถไฟ รถไฟความเร็วสูง และที่ดินมักกะสัน

สำหรับแผนพัฒนาที่ดินมักกะสัน ตามผลศึกษาเดิมของ ร.ฟ.ท. จะพัฒนาเป็นซูเปอร์คอมเพล็กซ์ มูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท แบ่งเป็นโซนเอ 139.82 ไร่ เป็นส่วนธุรกิจการค้า โซนบี 117.31 ไร่ เป็นส่วนธุรกิจสำนักงาน โซนซี 151.40 ไร่ เป็นส่วนแสดงสินค้า และโซนดี 88.58 ไร่ เป็นส่วนบางกอกแฟชั่น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/12/2016 1:53 am    Post subject: Reply with quote

ธนารักษ์รั้งสิทธิ์พัฒนามักกะสัน ชง‘ประยุทธ์’ชี้ขาดเดือนนี้ สบน.จี้รถไฟส่งมอบพื้นที่
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมือ 13 ธันวาคม 2559
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,217 วันที่ 11-14 ธันวาคม 2559

ธนารักษ์ยึดมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ รักษาสิทธิ์พัฒนาที่ดินมักกะสันแลกปลดหนี้การรถไฟ 6.1 หมื่นล้านบาท ลุ้นสคร.ชงนายกรัฐมนตรีชี้ขาดธันวาคมนี้

แหล่งข่าวจากกรมธนารักษ์ เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ”ถึงแผนพัฒนาที่ดินมักกะสัน มูลค่า 1 แสนล้านบาท ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.) หรือ ซูเปอร์บอร์ด จะเป็นผู้ที่ตัดสินว่าจะให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) หรือ กรมธนารักษ์ ได้สิทธิ์ในการพัฒนาที่ดินดังกล่าว โดยคาดว่าสำนักคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) จะเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาภายในเดือนธันวาคมนี้

คนร.เคยมีมติให้รฟท.ซึ่งเป็น 1 ใน 7 รัฐวสาหกิจ ที่อยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการมูลค่ากว่า 1.8 แสนล้านบาท โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินมักกะสัน จำนวน 497 ไร่ ให้กระทรวงการคลังเช่า 99 ปี นำไปพัฒนาในเชิงพาณิชย์ เพื่อแลกกับการลดหนี้ของรฟท.จำนวน 6.1 หมื่นล้านบาท

แหล่งข่าวกล่าวว่า กรมธนารักษ์และรฟท.จะต้องเตรียมข้อมูลเพื่อเสนอคนร.ประกอบการพิจารณา โดยในส่วนของกรมธนารักษ์ ได้เตรียมข้อมูล 3 ด้านได้แก่ 1.กรอบเวลาในการส่งมอบพื้นที่จากรฟท.ว่าจะต้องส่งมอบพื้นที่ให้เสร็จเมื่อใด เพื่อให้กรมธนารักษ์สามารถนำไปจัดทำแผนพัฒนาได้เต็มศักยภาพ
2.วิธีการชำระหนี้ของรฟท.ว่าจะใช้เป็นการชำระหนี้ หรือแลกหนี้ให้กับกรมธนารักษ์ และ 3.ศึกษาทำแผนลงทุนภายใต้ความร่วมมือภาครัฐ-ภาคเอกชน (Public Private Partner ship) หรือ PPP รวมถึงแนวทางในการจ้างภาคเอกชนในฐานะที่ปรึกษาโครงการที่มีความเป็นมืออาชีพ เนื่องจากโครงการเป็นโครงการขนาดใหญ่ มูลค่าสูงกว่า 1 แสนล้านบาท

Advertisement
แหล่งข่าวกล่าวว่า คุณสมบัติของบริษัทที่ปรึกษา กรมธนารักษ์จะให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เป็นฝ่ายคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาที่ได้ขึ้นทะเบียนกับสบน. ประมาณ 5-6 ราย โดยคุณสมบัติจะต้องมีความรู้ความสามารถ เคยผ่านการเป็นที่ปรึกษาโครงการที่มีขนาดใหญ่ มูลค่าโครงการตั้งแต่หลัก 1 หมื่นล้านบาทขึ้นไป

“โครงการมักกะสันเดินหน้ามาก็หลายรัฐบาลจนสุดท้ายมาตกผลึกในรัฐบาลชุดนี้ ที่ผ่านมาก็ทราบกันว่าโครงการอยู่ในมือของการรถไฟฯมาตลอดแต่ก็ไม่สามารถเดินหน้าโครงการได้ ซึ่งหากท้ายสุดแล้วซูปเปอร์บอร์ดสรุปว่าให้กรมธนารักษ์เข้ามาพัฒนาโครงการ ก็ค่อนข้างกังวลว่าจะเกิดคลื่นใต้น้ำที่อาจจะเกิดขึ้น แต่หากให้การรถไฟพัฒนาคลื่นใต้น้ำก็คงไม่น่าเป็นห่วง”

แหล่งข่าวจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผย”ฐานเศรษฐกิจ” ว่าตามขั้นตอนการคัดเลือกที่ปรึกษาโครงการ สบน.จะคัดเลือกจากรายชื่อบริษัทที่ปรึกษาที่ขึ้นทะเบียนไว้ อาจคัดเลือกรอบแรก 20 รายชื่อบริษัทก่อน และคัดให้เหลือ 10 บริษัท และท้ายสุดท้ายตัดให้เหลือเพียงบริษัทเดียว และต้องดำเนินการให้เสร็จก่อนจะมีการลงนามในพีพีพี

กระบวนการคัดเลือกต้องพิจารณาจากความสามารถ ทุนจดทะเบียน ประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาโครงกรลงทุนขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าสูงๆทั้งในและต่างประเทศ ที่ปรึกษา จะทำหน้าที่ออกแบบโครงการ ทั้งการแบ่งสัดส่วนการใช้พื้นที่ การใช้ประโยชน์ทางพาณิชย์ พื้นที่สวนสาธารณะ พื้นที่จอดรถ อาคารรวมถึงพื้นที่ส่วนกลาง ที่สำคัญอัตราผลตอบแทนที่จะให้กับผู้ร่วมลงทุน

แหล่งข่าว กล่าวว่า คงเป็นไปเรื่องยากที่ รฟท.จะดำเนินการพัฒนาพื้นที่มักกะสันเอง เนื่องจากผลงานอดีตและปัจจุบัน มียอดขาดทุนสะสมกว่า 1 แสนล้านบาท จนนำมาสู่คำสั่งของคนร.ให้แลกหนี้ 6 หมื่นล้านบาท กับที่ดินมักกะสัน สะท้อนว่าหากรฟท.ได้โปรเจคนี้ไปบริหาร มีความเสี่ยงที่จะกลับสู่ปัญหาเดิมๆ

“ทางออกที่ดีที่สุดคือการรถไฟต้องเร่งส่งมอบพื้นที่คืนให้กับกรมธนารักษ์ เพราะหากไม่มีการส่งมอบพื้นที่แล้วก็จะไม่สามารถพัฒนาหรือทำอย่างไรได้ เพราะตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบพื้นที่คืน หากกรมธนารักษ์เข้าไปพัฒนาก็เท่ากับว่านั่นคือการบุกรุกเสี่ยงต่อการถูกฟ้อง”

“หากมองย้อนไปโครงการมักกะสันเกิดขึ้นมาแต่ไม่สามารถพัฒนาได้จริงเรียกว่าได้ผ่านมาในหลายรัฐบาล ตั้งแต่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จนถึงนายอาคมเติมพิทยาไพสิฐ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนปัจจุบัน นั้นหากการรถไฟฯ ยังยึกยักไม่ยอมส่งมอบพื้นที่คืนก็เป็นไปได้ว่าโครงการจะไม่สำเร็จได้ในรัฐบาลชุดนี้ และอาจต้องยืดเยื้อไปถึงรัฐบาลชุดต่อไป ซํ้าร้ายไม่มีกำหนดว่าโครงการนี้จะมีสิทธิ์ได้เกิดในชาตินี้หรือไม่”

//---------------------------

ขู่รฟท.อุ้มหนี้6หมื่นล. วืดใช้ที่มักกะสันแลก หากดื้อดึงพัฒนาเอง
ไทยโพสต์
17 ธันวาคม 2559 00:08

ธนารักษ์ระบุที่ดินมักกะสันแลกหนี้รถไฟฯ 6 หมื่นล้านบาทส่อแท้ง หาก ร.ฟ.ท.จะนำไปพัฒนาเอง เตรียมเสนอบอร์ด คนร.ชี้ขาด พร้อมเตรียมที่ 12 แปลงทำ "ซีเนียร์ คอมเพล็กซ์"

นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยถึงการนำที่มักกะสันของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มาแลกหนี้กับกระทรวงการคลัง ว่า ร.ฟ.ท.มีความต้องการที่จะนำที่มักกะสันมาดำเนินการพัฒนาด้วยตนเอง จากก่อนหน้านี้ที่ ร.ฟ.ท.จะนำที่มักกะสันมาให้กระทรวงการคลัง โดยกรมธนารักษ์เป็นผู้พัฒนา เพื่อต้องการแลกหนี้กว่า 6 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ ทาง ร.ฟ.ท.จะต้องนำเสนอแผนการพัฒนาและลงทุนให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ด พิจารณาเห็นชอบก่อน ซึ่ง คนร.จะมีการประชุมในวันที่ 28 ธ.ค.นี้ โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อสรุปว่าจะให้ใครเป็นผู้พัฒนาที่ดินมักกะสัน
“หาก ร.ฟ.ท.จะเป็นผู้ดำเนินการพัฒนาเอง การใช้ที่ดินมักกะสันมาแลกหนี้กับกระทรวงการคลังจำนวน 6 หมื่นล้านบาท จะต้องยุติตามไปด้วย ทำให้ ร.ฟ.ท.จะต้องหารายได้จากส่วนอื่นมาชดใช้หนี้ให้กับกระทรวงการคลังต่อไป” นายจักรกฤศฏิ์กล่าว

นายจักรกฤศฏิ์กล่าวว่า กรมได้เตรียมพื้นที่ไว้ 12 แปลง เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุบนที่ราชพัสดุ (ซีเนียร์ คอมเพล็กซ์) ใน 4 พื้นที่นำร่อง ได้แก่ จ.ชลบุรี, จ.นครนายก, จ.เชียงราย และ จ.เชียงใหม่ ตามมติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) และมาใช้พัฒนาโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ เฟส 2 คาดว่าจะสามารถออกประกาศให้ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เข้ามาซื้อใบประมูลได้ช่วงต้นเดือน ม.ค.2560

สำหรับโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐเฟส 2 จะต้องมีการแก้ไขหลักเกณฑ์คุณสมบัติของประชาชนที่สนใจเข้าอยู่อาศัยผ่านการจองสิทธิ์ เบื้องต้นจะต้องพิจารณาว่าจะใช้เรื่องรายได้ หรือบ้านหลังแรกมาเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือก โดยจะเร่งนำเรื่องแก้ไขคุณสมบัติเสนอ ครม.เห็นชอบภายในปีนี้ เพื่อเริ่มประมูลช่วงต้นปีหน้า.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
Page 4 of 9

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©