Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264107
ทั้งหมด:13575390
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 11, 12, 13 ... 31, 32, 33  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 13/09/2016 9:52 pm    Post subject: Reply with quote

กทม. ยันรถไฟฟ้าสีทองต้องลอยฟ้า ทำใต้ดินไม่ได้ ซ้อนสายสีแดง

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
12 กันยายน 2559

กทม. เดินหน้ารถไฟฟ้าสายสีทอง ชงครม.พิจารณายกเว้นมติการทำรถไฟฟ้าเป็นแบบใต้ดิน ชี้ต้องเป็นลอยฟ้าไม่สามารถลงดินได้ เหตุซ้อนทับสายสีแดงของ รฟท.

นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า หลังคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน-ประชาธิปก) ระยะทาง 2.68กม.วงเงิน 3,845 ล้านบาท โดยมอบหมายกทม.รับผิดชอบและให้บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด หรือเคที รัฐวิสาหกิจของ กทม.ศึกษารายละเอียดนั้น กทม.ได้ศึกษารายละเอียดโครงการรวมทั้งพิจารณาจัดทำรายงานมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ควบคู่กันไปตามคำสั่งมาตรา 44 เสร็จสมบูรณ์แล้ว

โดยเป็นรถไฟฟ้าแบบยกระดับตลอดสายมี 4 สถานี ส่วนที่ครม.ให้พิจารณารายละเอียดห้ามบดบังทัศนียภาพในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ตามมติครม.ในพื้นที่พิเศษ25 ตารางกม. ต้องทำเป็นแบบใต้ดินนั้น กทม.ได้ยื่นเรื่องให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาเสนอครม.ยกเว้นมติดังกล่าว เนื่องจากไม่สามารถนำลงใต้ดินได้ เพราะโครงการซ้อนทับกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ที่ใช้แนวเส้นทางถนนลาดหญ้า ทำรูปแบบใต้ดิน จึงมีปัญหาเรื่องโครงสร้าง โดยกทม.จะนำเสนอรูปแบบโครงการพร้อมผลการศึกษาและคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบการก่อสร้างให้กระทรวงมหาดไทย พิจารณาเสนอครม.พิจารณาอีกครั้ง


เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีทอง


รถไฟฟ้าสายสีทองแบ่งเป็น 2 ช่วง

นายทวีศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกจากสถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-แยกคลองสาน (ระหว่างรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีกรุงธนบุรี-รพ.ตากสิน) มี 3 สถานี 1.72 กม.ใช้เงินลงทุน 2,512 ล้านบาท ช่วงที่ 2 จากถนนสมเด็จเจ้าพระยา-ถนนประชาธิปก(จากรพ.ตากสิน-วัดอนงคารามวรวิหาร) มี 1 สถานี 0.96 กม. 1,333 ล้านบาท หากในปีนี้ ครม.อนุมัติการก่อสร้างได้ คาดว่ากทม.จะเริ่มก่อสร้างระยะแรกภายในปลายปีนี้ ให้แล้วเสร็จในปี 60 ส่วนระยะที่2 จะแล้วเสร็จภายในปี66 การก่อสร้างและการเดินรถเคทีเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด รวมทั้งพิจารณาจัดหาแหล่งเงินทุนด้วย

นายทวีศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับแนวเส้นทางทั้งโครงการอยู่ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ทั้งหมด เริ่มต้นบริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสกรุงธนบุรี จากนั้นมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนกรุงธนบุรีสู่ทางแยกกรุงธนบุรี-ถนนเจริญนคร เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเจริญนคร มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือผ่านแหล่งชุมชน ร้านค้า สถานศึกษา วัด ห้างสรรพสินค้า อาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียมโรงแรมแล้วจึงเข้าสู่ถนนสมเด็จเจ้าพระยา ไปสิ้นสุดโครงการก่อนถึงวัดอนงคารามวรวิหาร รวม 2.7 กม. มี 4 สถานี
1.สถานีกรุงธนบุรี อยู่บริเวณรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีกรุงธนบุรี
2.สถานีเจริญนคร บริเวณข้ามคลองวัดทองเพลง
3.สถานีคลองสาน บริเวณหน้ารพ.ตากสิน มีทางเดินสกายวอล์กเข้ารพ. และ
4.สถานีประชาธิปก ก่อนถึงวัดอนงคารามวรวิหาร(เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีม่วง)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 19/09/2016 7:56 pm    Post subject: Reply with quote

อยากได้รถไฟฟ้าสายสีทอง แต่ไปสร้างที่อื่น
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย เขียน - มาเรื่อง อยากได้รถไฟฟ้าสายสีทอง แต่ไปสร้างที่อื่น มาให้พิจารณาครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 26/09/2016 9:49 am    Post subject: เร่งรัดทำรถไฟฟ้าสายสีเทา Reply with quote

แก้รถติดกทม.ชงทำโมโนเรลวัชรพล-ทองหล่อ
เดลินิวส์
อาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2559 เวลา 16.35 น.
แก้รถติดทำโมโนเรลวัชรพลทองหล่อกทม.เล็งให้เอกชนร่วมลงทุน3หมื่นล.


             นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรลสายสีเทา การที่กทม.ศึกษามาอย่างยาวนาน เพื่อมุ่งหวังเพิ่มระบบขนส่งมวลชนเป็นทางเลือกการเดินทางให้แก่ประชาชน โดยพื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้าง รถไฟฟ้ารางเดี่ยวคือช่วงวัชรพล สะพานพระราม9- ท่าพระ ความยาวรวมกว่า 39.91กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นเส้นทางที่มีศักยภาพ ในการดำเนินการระบบขนส่งมวลชนเพิ่มทางเลือกการเดินทางลดปัญหาการจราจรติดขัดในเส้นทาง เนื่องจากแนวเส้นทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าในระบบรางสายอื่นๆได้มากถึง 6สาย  โดยขณะนี้ กทม.ได้ทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการเสร็จสิ้นแล้ว และอยู่ระหว่างยื่นเสนอผลการศึกษาเพื่อพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ไปยังคณะกรรมการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม 
           นายทวีศักดิ์กล่าวต่อว่า โดยระหว่างนี้ กทม.ได้ยื่นเสนอผู้บริหารกทม.ถึงแนวทางรูปแบบในการลงทุนของโครงการ ซึ่งจะดำเนินการช่วงเฟสแรกในเส้นทางวัชรพล-ทองหล่อ ระยะทาง 16กิโลเมตร ก่อน ต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 27,000-30,000ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณจำนวนมาก ดังนั้นกทม.จึงต้องหารูปแบบการลงทุนในโครงการที่เหมาะสม โดยมีการศึกษาเบื้องต้นคือการกู้เงินจากสถาบันทางการเงินต่างประเทศ และการลงทุนโดยการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(พีพีพี) แต่พิจารณาในรูปแบบการลงทุนโดยให้เอกชนเข้าร่วม จะเป็นรูปแบบที่คุ้มค่ากว่า ทั้งนี้รถไฟฟ้ารางเดี่ยวสายสีเทาหรือโมโนเรลเป็นโครงการที่มีความจำเป็นต้อง ดำเนินการเนื่องจากจะช่วยเชื่อมต่อการเดินทางให้ประชาชนดียิ่งขึ้น ซึ่งเส้นทางการก่อสร้างโครงการนั้นมีระบบขนส่งมวลชนน้อยมาก และประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ต่างใช้รถยนต์ส่วนบุคคลซึ่งหากมีระบบขนส่งมวลชนที่ เหมาะสมจะช่วยลดปัญหาการจราจรได้อย่างมาก ดังนั้นกทม.จะเร่งยื่นเสนอโครงการดังกล่าวต่อรัฐบาล เพื่อพิจารณาดำเนินโครงการโดยเร็วที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 08/11/2016 4:35 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเร่งกทม.ออกแบบรถไฟฟ้าขนาดเบาสายสีทองเฟส 2
โดย ฐานเศรษฐกิจ - ]
8 พฤศจิกายน 2559

คมนาคมเร่งกทม.ออกแบบรถไฟฟ้าขนาดเบาสายสีทองเฟส 2 เชื่อมสายสีม่วงใต้ที่สถานีสะพานพุทธ เพื่อเสนอสนข. บรรจุไว้ในแผน M-Map ระบบรางระยะที่ 2 ในกลางปีนี้


นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับสำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.) กรุงเทพมหานคร(กทม.) ในโครงการรถไฟฟ้าขนาดเบา สายสีทอง (สถานีกรุงธนบุรี-ประชาธิปก) ว่า มติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2559 ให้กทม.ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองโดยจะเชื่อมต่อสายสีแดง(หัวลำโพง-วงเวียนใหญ่-มหาชัย)ที่ย่านคลองสาน โดยสายสีทองยังสามารถเชื่อมโยงกับสายสีม่วงใต้ที่สถานีสะพานพุทธได้อีกด้วยโดยการหารือร่วมกันครั้งนี้ให้กทม.คำนึงถึงระบบเชื่อมต่อการเดินทางและระบบตั๋วร่วมโดยให้กทม.รับไปดำเนินการ

“สายสีทองระยะแรก 3สถานีจากรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีกรุงธนบุรีผ่านไปตามถนนเจริญนคร ไปยังจุดใกล้ๆโรงพยาบาลตากสินช่วงด้านหน้าศูนย์การค้าไอค่อนสยาม ให้กทม.คำนึงทางเดินเท้าและการเชื่อมต่ออย่างลงตัว ระยะทางประมาณ 1.7 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 3,500 ล้านบาท ส่วนระยะที่ 2 ที่จะไปเชื่อมสถานี G5 กับรถไฟฟ้าสายสีม่วงใน้มี่สถานีสะพานพุทธนั้นต้องให้ได้ข้อยุติจุดตั้งสถานีภายในกลางปี 2560 นี้เพื่อไม่ให้กระทบการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ อีกทั้งยังมีแผนต่อขยายเส้นทางไปยังสถานีอิสรภาพของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย MRT ในระยะต่อไปอีกด้วย โดยรถไฟฟ้าสายสีทองตามแผนที่สจส.ศึกษาไว้รวมระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร”

รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวอีกว่า ในส่วนกรณีสายสีแดงนั้นล่าสุดการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท. ) ได้รับงบปี 2561 เพื่อนำไปใช้ในการปรับแบบเส้นทางสายนี้ให้เป็นระบบใต้ดินช่วงลอดแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนที่จะเร่งดำเนินการในส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยจะมีการก่อสร้างสกายวอร์คเชื่อมต่อกับสายสีทองและสายสีแดงในช่วงด้านหน้าโรงพยาบาลตากสินอีกด้วย

ด้านนายสุธน อาณากุล รองผู้อำนวยการสจส.กทม. กล่าวว่า สายสีทองระยะแรกได้งบประมาณประมาณการณ์และระยะเวลาดำเนินการมาเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการยื่นขอรับรองผลการศึกษาวิเคราะห์เรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ.)

“โดยรถไฟฟ้าเส้นทางนี้สามารถร้อยเรียงรถไฟฟ้าสายอื่นๆในโซนพื้นที่ฝั่งธนบุรีได้หลายเส้นทาง เป็นระบบล้อยาง คาดว่าจะสามารถเสนอครม.ในปี 2560 นี้ ก่อนที่จะใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 18 เดือน วงเงินลงทุนในระยะแรกประมาณ 3,500 ล้านบาท ซึ่งกทม.ยืนยันจะลงทุนเองทั้งหมด ส่วนกรณีไอค่อนสยามจะสนับสนุนเงินลงทุนนั้นก็จะต้องไปเจรจากับบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัดหรือเคทีต่อไป”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 09/11/2016 9:43 am    Post subject: Reply with quote

วุ่นจนได้สายสีทองซ้ำสีม่วงสั่งแก้แบบด่วน
เดลินิวส์
พุธที่ 9 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09.13 น.

วุ่นจนได้รถไฟฟ้าสายสีทองซ้ำสีม่วงสั่งแก้แบบด่วน กทม.ชงขึ้นค่ารถไฟฟ้าอ่อนนุช-แบริ่งจาก10บาทเป็น15บาท

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังหารือร่วมกับนายสุธน อาณากุล รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง จากสถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-ประชาธิปก ระยะทาง 2.68 กม. มี 5 สถานี วงเงินลงทุน 3,845 ล้านบาท ของกทม. ว่า กระทรวงคมนาคมขอให้ กทม.นำโครงการเสนอสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เพื่อบรรจุในแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่ 2 ที่กระทรวงอยู่ระหว่างจัดทำเพื่อให้เกิดการบูรณาการเชื่อมต่อการเดินทางกับประชาชน เนื่องจากสายสีทองเป็นระบบรองจะสนับสนุนโครงข่ายหลักรวมทั้ง พิจารณาใช้โครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วมกับรถไฟฟ้าสายหลักของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และจัดทำระบบตั๋วร่วม

นายพีระพล กล่าวด้วยว่า รถไฟฟ้าสายสีทองมีเส้นทางเชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีแดง ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-มหาชัย บริเวณสถานีคลองสาน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ บริเวณสถานีสะพานพุธ ของ รฟม. ดังนั้น กระทรวงจึงเสนอให้กทม. ออกแบบและพัฒนาจุดเชื่อมต่อสถานีให้รองรับกับรถไฟฟ้าของ รฟม. ด้วย
นอกจากนี้จากการพิจารณาแนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีทอง ระยะที่  2 จำนวน 2 สถานี พบว่าเส้นทางบางส่วนทับซ้อนกับแนวเส้นทางใต้ดินของรถไฟฟ้าสายสีม่วงของ รฟม. ราว  400 เมตร ตั้งแต่บริเวณสถานีสะพานพุทธถึงสี่แยกบ้านแขก รฟม. จึงขอให้ กทม. เร่งรัดสรุปแบบก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในกลางปี 60 เพื่อเสนอรฟม. พิจารณา เพราะต้องใช้โครงสร้างร่วมกันอีกทั้งรฟม.ต้องปรับปรุงเสริมความแข็งแรงโครงสร้างอุโมงค์ใต้ดินที่จะถูกใช้เป็นฐานรากของโครงสร้างยกระดับของรถไฟฟ้าสายสีทอง ประกอบกับ รฟม.เตรียมนำเสนอโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนต่อขยายให้ครม. พิจารณาอนุมัติเดือนพ.ย. นี้

นายพีระพล กล่าวต่อว่า ขณะนี้รถไฟฟ้าสายสีทองอยู่ระหว่างจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ คาดว่าแล้วเสร็จเดือน ธ.ค.59 และเริ่มก่อสร้าง ระยะที่ 1 ช่วงบีทีเอสสถานีกรุงธนบุรี-รพ.ตากสิน  1.7 กม. วงเงินลงทุน 2,500 ล้านบาท  3 สถานี ได้แก่ กรุงธนบุรี เจริญนคร และคลองสาน ช่วงต้นปี 60 ใช้เวลาก่อสร้าง 18 เดือน จะปิดการจราจรประมาณ 10 เดือน ส่วนระยะที่  2 ช่วงรพ.ตากสิน-วัดอนงคารามวรวิหาร ง 1 กม.  2 สถานี  วงเงิน1,345 ล้านบาท อยู่ระหว่างออกแบบก่อสร้างเป็นทางยกระดับตลอดเส้นทาง  เป็นระบบรถไฟฟ้าล้อยาง ใช้พื้นที่เกาะกลางถนนก่อสร้างไม่ต้องเวนคืนพื้นที่

ด้านนายสุธน กล่าวว่า สจส.เสนอผู้บริหาร กทม. ชุดใหม่ให้พิจารณาปรับขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงสถานีอ่อนนุช-แบริ่ง จาก 10 บาท เป็น 15 บาท เนื่องจากอัตราค่าโดยสารปัจจุบันต่ำกว่าต้นทุน และ กทม. ต้องรับภาระขาดทุนจากการตรึงค่าโดยสารมา4 ปีแล้ว อีกทั้งสภา กทม. เห็นว่าไม่ควรใช้นโยบายประชานิยม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 14/11/2016 5:05 pm    Post subject: Reply with quote

ลุ้นอัศวินเร่งรถไฟฟ้า5สายลงทุนร่วม 5.8 หมื่นล.เปิดพื้นที่เศรษฐกิจโซนใหม่
โดย ฐานเศรษฐกิจ - 14 พฤศจิกายน 2559
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,209 วันที่ 13 – 16 พฤศจิกายน 2559



สจส.ลุ้นผู้ว่าฯกทม.คนใหม่ใส่เกียร์รถไฟฟ้า 5 สาย งบลงทุนเกือบ 5.8 หมื่นล้านเร่งสายสีเทาช่วงวัชรพล-ทองหล่อ กว่า 2.7หมื่นล้านหวังเปิดพื้นที่ความเจริญโซนวัชรพล-ทองหล่อให้สอดรับกับแผนพัฒนาสายสีชมพู-เหลืองของรฟม.

นายสุธน อาณากุล รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.) กรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยถึงแนวทางการเร่งขับเคลื่อนโครงการรถไฟฟ้าในการดูแลและบริหารจัดการของกทม.ว่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอผลการรับรองด้านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา(วัชรพล-ทองหล่อ-สะพานพระราม 9 ) ขณะนี้ผลการออกแบบเส้นทางช่วงทองหล่อแล้วเสร็จตามแผนที่จะเร่งดำเนินการในระยะแรก พร้อมกับเร่งหารือกับกลุ่มเค.อี. แลนด์ เพื่อใช้พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงช่วงใกล้แยกทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา พื้นที่ประมาณ 17 ไร่ โดยสายสีเทา (วัชรพล –ทองหล่อ) วงเงินลงทุน 2.7 หมื่นล้านบาท เฟสแรกระยะ 16.25 กิโลเมตรให้เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว(บีทีเอส) สถานีทองหล่อ ส่วนระยะที่เหลือค่อยกำหนดแผนพัฒนาต่อไป

ขณะเดียวกันได้เร่งชี้แจงต่อผู้บริหารกทม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องที่ต้องนำเข้าสู่กระบวนการตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ร่วมลงทุนในกิจการของรัฐปี พ.ศ.2556 เพื่อเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) ซึ่งอยู่ระหว่างการปรับปรุงผลการศึกษาให้สอดคล้องกับรายงานการร่วมลงทุนพีพีพี โดยขณะนี้กรณีรถไฟฟ้าสายสีทอง(สถานีกรุงธนบุรี-พระปกเกล้า) วงเงินลงทุนกว่า 3,800 ล้านบาท สจส.ได้ส่งเรื่องหารือไปยังสคร.เรียบร้อยแล้วก่อนที่จะเร่งนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบว่าจะให้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี 2556 หรือไม่

ที่ผ่านมาคณะกรรมการบริหารกทม.ชุดที่มี ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯกทม. ได้เห็นชอบแผนดังกล่าวนี้แล้ว แต่เมื่อเปลี่ยนผู้บริหารกทม.ชุดใหม่ ที่มี พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง เป็นผู้ว่าฯ ต้องนำเสนอแผนดังกล่าวสู่การพิจารณาอีกครั้งอีก และต้องเข้าข่ายการปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ร่วมทุนปี 2556 จึงต้องนำเสนอเพื่อพิจารณา โดยปฏิบัติคู่ขนานกับการนำเสนอขอรับรองอีไอเอ

นายสุธนกล่าวว่ารถไฟฟ้า 2 เส้นทางในแผนระยะที่ 1 มีสายสีทอง(สถานีกรุงธนบุรี-สะพานพระปกเกล้า) วงเงินลงทุนประมาณ 3,800 ล้านบาท และสายสีฟ้า(ดินแดง-สาทร) วงเงินลงทุนกว่า 1.3 หมื่นล้านบาท ครม.อนุมัติให้กทม.ดำเนินการได้ทันที ล่าสุดจะนำไปบรรจุไว้ในแผนพัฒนาระยะที่ 2 ต่อไป เพื่อให้สอดคล้องกับการเปิดให้บริการของรถไฟฟ้าสายหลักที่อยู่ระหว่างก่อสร้างและเปิดประมูลในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงอย่างลงตัว โดยรถไฟฟ้าสายสีเทาจะเชื่อมกับสายหลักในหลายจุดด้วยกัน คือ เชื่อมสายสีชมพู(แคราย-มีนบุรี) ที่วัชรพล-รามอินทรา สายสีเหลือง(ลาดพร้าว-สำโรง)ที่ถนนลาดพร้าว สายสีส้ม(ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี) ที่พระราม 9-รามคำแหง และรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ทองหล่อ ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการ

นอกจากนั้นสจส.ได้เตรียมความพร้อมดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส ช่วงบางหว้า-ตลิ่งชันในปี 2560 ยังมีลุ้นอีกว่า สคร.จะ เคาะความชัดเจนในการจัดหางบประมาณกว่า 1.3 หมื่นล้านบาทไปดำเนินการ เนื่องจากกทม.จะต้องนำเงินไปลงทุนด้านอื่นอีก เช่นเดียวกับบีทีเอสส่วนต่อขยายระยะทาง 1 กิโลเมตร จากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-ยศเส วงเงินลงทุนราว 700 ล้านบาท เพื่อให้เชื่อมกับสายสีแดง(บางซื่อ-หัวลำโพง) ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) มีแผนเร่งดำเนินการต้องให้เกิดการเชื่อมโยงกันกับสายสีแดงในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งการเชื่อมกับสายสีแดงยังพอมีเวลาดำเนินการเนื่องจากร.ฟ.ท.ยังไม่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างสายสีแดงนั่นเอง โดยรถไฟฟ้าทั้ง 5 สาย งบลงทุนรวมทั้งสิ้น 5.75 หมื่นล้านบาท

“เช่นเดียวกับบีทีเอส ช่วงแบริ่ง-สำโรง ที่กำหนดเปิดทดสอบเดินรถ 5 ธันวาคมนี้ก่อนที่จะทยอยเปิดให้บริการแต่ละสถานีต่อเนื่องกันไป แม้จะล่าช้าเนื่องจากการปรับแผนก่อสร้างเพื่อให้เปิดบริการต่อเนื่องกันไปได้ ส่วนการเจรจาภาระหนี้ยังไม่คืบหน้า โดยกทม.ยืนยันว่าจะขอจ่ายนับตั้งแต่ปี 2572 เป็นต้นไป(ที่ครบระยะเวลาสิ้นสุดสัมปทาน) แต่ผลการเจรจาจะไม่กระทบต่อการทดลองเดินรถและทดลองให้บริการแต่อย่างใดซึ่งจะต้องรอสรุปผลการเจรจาที่ชัดเจนต่อไป อีกทั้งยังเตรียมเสนอขอความเห็นชอบเพิ่มค่าโดยสารจาก ปัจจุบัน 15 บาทเป็นการเพิ่มตามระยะทางของช่วงอ่อนนุช-แบริ่งให้ผู้บริหารกทม.ชุดใหม่พิจารณาเนื่องจากเป็นมาตรการแบ่งเบาภาระประชาชนในช่วงนั้น และระยะเวลาผ่านมาเกือบ 4 ปีแล้ว”

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(บีทีเอส) กล่าวว่าทางสจส.เร่งผู้รับเหมาให้ติดตั้งระบบรางและระบบอาณัติสัญญาณใกล้แล้วเสร็จ โดยความพร้อมของบีทีเอสนั้นยืนยันว่าพร้อมให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ ช่วงแบริ่งไปยังสถานีสำโรง ระยะทาง 1 สถานีที่จะดำเนินการทดสอบตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคมนี้ หลังจากนั้นจึงจะให้ประชาชนทดลองใช้บริการฟรีประมาณเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ก่อนที่จะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม 2560
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 08/12/2016 7:16 pm    Post subject: Reply with quote

กทม.เล็งยกเลิกด่วน‘บีอาร์ที’ เหตุขาดทุนปีละ 200 ล. แถมช้ากว่ารถเมล์
มติชน
วันที่: 8 ธันวาคม 59 เวลา: 16:19 น.

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังประชุมหัวหน้าหน่วยงานในสังกัด กทม.ครั้งที่ 12/2559 ว่าขณะนี้ได้ให้คณะทำงานไปศึกษาโครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) ที่บริหารโครงการโดยบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด รัฐวิสาหกิจในสังกัด กทม.ทั้งระบบการทำงานและรายได้ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะยกเลิกหรือไม่ เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่ารถบีอาร์ทีขาดทุนถึงปีละ 200 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นจำนวนเงินมหาศาล

“หากยกเลิกโครงการดังกล่าว กทม.สามารถนำเงินก้อนนั้นมาทำประโยชน์ในพื้นที่หรือโครงการอื่นๆ ของ กทม.ได้ ทั้งนี้ กำลังให้คณะทำงานศึกษาถึงส่วนได้ส่วนเสีย รายได้ หรือการฟ้องร้องต่างๆ ในกรณีที่ กทม.จำเป็นต้องยกเลิกโครงการว่าจะมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด และต้องศึกษาในหลากหลายมิติ โดยคาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาศึกษาสักพักหนึ่ง” พล.ต.ท.อำนวยกล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า มีแนวโน้มยกเลิกการเดินรถบีอาร์ทีมากน้อยเพียงใด พล.ต.ท.อำนวยกล่าวว่า ในความคิดเห็นส่วนตัวอยากยกเลิก เพราะว่า กทม.ต้องขาดทุนในแต่ละปีจำนวนมากถึง 200 ล้านบาท ที่สำคัญประโยชน์ที่ประชาชนได้รับก็ไม่ได้มากมาย เพราะยังถือว่าวิ่งช้ากว่ารถเมล์ทั่วไปอีก ซึ่งขณะนี้กำลังให้เจ้าหน้าที่ไปวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียเพื่อนำมาสรุปในที่ประชุมคณะผู้บริหาร กทม. ว่าจะเอาหรือไม่รถเอาโครงการบีอาร์ที

เมื่อถามอีกว่า ก่อนหน้านี้ สภากรุงเทพมหานครได้เสนอให้ปรับแผนเพื่อขยายเส้นทางเดินรถเพิ่มเติม ในส่วนนี้ กทม.จะดำเนินการอย่างไร พล.ต.ท.อำนวยกล่าวว่า เป็นเรื่องที่สภา กทม.ได้เสนอความคิดเห็นไว้ ซึ่งทางฝ่ายผู้บริหารก็รับฟัง แต่ไม่จำเป็นที่ต้องทำตามที่สภา กทม.เสนอทุกเรื่องก็ได้ เพราะหากเห็นแนวทางที่ดีกว่า เช่น ขาดทุนมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว วิเคราะห์ต่อไปว่าต้องขาดทุนอีก ก็มีความเห็นว่าควรยกเลิก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการบีอาร์ที สายสาทร-ราชพฤกษ์ หรือสายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ เป็นโครงการนำร่องในสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าฯกทม. ที่ให้บริการเดินรถในช่องทางพิเศษบนถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถนนพระรามที่ 3 สะพานพระราม 3 และถนนรัชดาภิเษก-ท่าพระ ระยะทาง 15.9 กิโลเมตร มีจุดจอดรับ-ส่งผู้โดยสาร 12 สถานี ล่าสุด สภา กทม.ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการวิสามัญศึกษา เพื่อศึกษาและทบทวนการดำเนินการโครงการบีอาร์ที เบื้องต้นได้มีการศึกษาในระยะสั้นสรุปว่า ไม่สมควรที่จะดำเนินการต่อไป เนื่องจากเส้นทางที่ให้บริการไม่ตอบโจทย์ของคนกรุงเทพฯ อีกทั้งมีการเก็บค่าโดยสารที่ต่ำเกินไปจนส่งผลให้การดำเนินงานของโครงการบีอาร์ที เมื่อหักรายรับยังขาดทุนมากถึงปีละ 200 ล้านบาท นับตั้งแต่ที่เปิดให้บริการจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 ปี และมีการลงทุนมากถึง 2,009.7 ล้านบาท อีกทั้งสัญญาโครงการจะสิ้นสุดลงในวันที่ 10 เมษายน 2560
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 25/01/2017 1:43 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีทอง (กรุงธนบุรี - คลองสาน) ได้ผู้รับเหมาแล้ว - อิตาเลียนไทย รับงานนี้
http://www.thanakom.co.th/thanakom/pic/news/news-20.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 26/01/2017 12:37 am    Post subject: Reply with quote

สภากทม.โหวตให้"บีอาร์ที"อยู่ต่อสั่งปรับค่าโดยสาร เลิกประชานิยม
เดลินิวส์
พุธที่ 25 มกราคม 2560 เวลา 16.07 น.

สภากทม.โหวตให้”บีอาร์ที”อยู่ต่อ พร้อมสั่งปรับค่าโดยสารเป็น 13-19 บาทตามอัตรากรมขนส่งฯ จวกต้องเลิกแบกภาระนโยบายค่าโดยสารประชานิยม เสนอแก้ปัญหาใช้งบประมาณไม่มีประสิทธิภาพ หากโครงการเจ๊งไม่เป็นไปตามการศึกษา ที่ปรึกษาโครงการฯต้องรับผิดชอบด้วย

        เมื่อเวลา10.00น. วันที่ 25 ม.ค. ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ร.ต.ต.เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ ประธานสภากรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมสภากทม. สมัยประชุมสามัญ สมัยที่ 1 ครั้งที่3 โดยมี พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. พร้อมด้วยรองผู้ว่าฯกทม. คณะผู้บริหารกทม. และสมาชิกสภากทม.เข้าร่วมประชุม

           ทั้งนี้ในที่ประชุม ได้มีการรายงานผลการศึกษาของคณะกรรมการวิสามัญศึกษาแนวทางและทบทวนการดำเนินโครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ(บีอาร์ที) โดยนายชยาวุธ ศิริยุทธ์วัฒนา สมาชิกสภากทม.ในฐานะประธานคณะกรรมการวิสามัญฯ กล่าวว่า รถโดยสารบีอาร์ที ถือเป็นโครงการที่สร้างปัญหาด้านงบประมาณให้แก่กทม. เนื่องจากการดำเนินงานตั้งแต่ปี53 เป็นต้นมา ประสบปัญหาขาดทุน ไปแล้วเป็นเงิน 1,054ล้านบาท หรือประมาณ 190ล้านบาทต่อปี ดังนั้นคณะกรรมการฯจึงได้ทำการศึกษาถึงข้อเท็จจริงของโครงการ และความเหมาะสมในการดำเนินโครงการต่อไป อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาดังกล่าว คณะกรรมการมีความเห็นแบ่งเป็น 2ส่วน โดยส่วนหนึ่งเห็นควรให้ดำเนินโครงการต่อไป เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ใช้บริการรถบีอาร์ทีไม่ต่ำกว่าวันละ 23,000-25,000คน หากมีการยกเลิกโครงการ โดยยังไม่มีระบบขนส่งมวลชนอื่นๆทดแทนนั้น จะเกิดผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก อีกทั้งโครงการรถโดยสารบีอาร์ทีก็เป็นบริการสาธารณะที่รัฐพึงจัดให้แก่ประชาชน ซึ่งไม่มีเป้าหมายในการหาผลกำไรใดๆอยู่แล้ว นอกจากนี้ ปัญหารถบีอาร์ทีกินพื้นผิวจราจร ส่งผลให้การจราจรในถนนนราธิวาสราชนครินทร์ และถนนพระรามที่3 ติดขัดนั้น หากยกเลิกโครงการ ประชาชนก็ยังต้องใช้การเดินทางบนถนนดังกล่าวในรูปแบบอื่นเช่นเดิม ทั้งนี้โครงการดังกล่าว ใช้งบประมาณการก่อสร้างไปกว่า 1,500ล้านบาท หากยกเลิกโรงการ จะทำให้เสียงบประมาณไปโดยไม่เกิดประโยชน์ ทั้งยังต้องเสียงบประมาณเพิ่มเติมเป็นค่ารื้อถอนอีกด้วย
            ทั้งนี้ หากไม่ยกเลิกโครงการ คณะกรรมการได้เสนอแนะให้กทม. ปรับอัตราค่าโดยสารให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสมตามอัตราของกรมการขนส่งทางบก จัดเก็บในระหว่าง 13-19บาท และกทม.ควรหารายได้เพิ่มเติม เพื่อนำมาสนับสนุนโครงการจากพื้นที่โฆษณาในส่วนเส้นทางเดินรถ และบริหารจัดการเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินรถให้ได้มากที่สุด และกทม.จะต้องเร่งประสานความร่วมมือกับตำรวจจราจรอย่างจริงจัด เพื่อบริหารจัดการเส้นทางเดินรถให้เป็นเส้นทางโดยเฉพาะของรถโดยสารบีอาร์ทีอย่างแท้จริง ส่วนในระยะยาวกทม.ควรศึกษาเส้นทางต่อขยายเพื่อให้การเดินรถเชื่อมต่อครบสมบูรณ์ โดยเชื่อมต่อไปยังเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่บริเวณแยกท่าพระ ระยะทาง1.7กิโลเมตร เพื่อให้เกิดผู้โดยสารมากยิ่งขึ้น
             นายชยาวุธกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาดังกล่าว ก็ยังมีคณะกรรมการฯบางส่วนที่ให้ความคิดเห็นในการยุติโครงการ เนื่องจากมีความเห็นว่า รถโดยสารบีอาร์ทีไม่ใช่ภารกิจหลักของกทม. ซึ่งกทม.จะต้องใช้งบประมาณในการพัฒนาเมืองด้านอื่นๆอีกจำนวนมาก โดยที่ผ่าน การดำเนินโครงการประสบปัญหาขาดทุน และในอนาคตก็มีแนวโน้มการขาดทุนที่มากยิ่งขึ้น อีกทั้งเส้นทางการเดินรถไม่เหมาะสม ขาดความเชื่อมต่ออย่างมาก ดังนั้น กทม.ควรยกเลิกโครงการ แต่เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนโดยการวางแผนกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)เพื่อจัดเตรียมรถโดยสารรองรับการเดินทาง ส่วนสิ่งปลูกสร้างในเส้นทาง กทม.จะต้องไปศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์อื่นๆให้ได้มากที่สุด
             ด้านเรือโทวารินทร์ เดชเจริญ สมาชิกสภากทม.กล่าวว่าจากการศึกษาโครงการรถโดยสารบีอาร์ทีนั้น คณะที่ปรึกษาได้เสนอผลการศึกษาโครงการ จะมีผู้โดยสารใช้งานไม่ต่ำกว่าวันละ 30,000คน และโครงการจะเกิดผลกำไร ซึ่งแท้จริงแล้วปัจจุบันไม่เป็นไปตามผลการศึกษา แต่คณะที่ปรึกษากลับไม่ต้องรับผิดชอบใดๆขึ้น อีกทั้งการจัดเก็บค่าโดยสารในอัตราที่เหมาะสมคือ 13-19 บาท นั้น  ผู้บริหารกทม.กลับใช้นโยบายรูปแบบประชานิยม จัดเก็บในอัตราต่ำ เพียง 5บาท และ10บาท เท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายด้านงบประมาณจำนวนมาก ดังนั้นในการดำเนินโครงการในอนาคต กทม.ควรกำหนดหลักเกณฑ์ในการทำงาน คือหากผลที่เกิดขึ้นในโครงการใดๆ คลาดเคลื่อนจากผลที่ที่ปรึกษาโครงการศึกษาไว้จำนวนมาก คณะที่ปรึกษาโครงการต้องมีส่วนรับผิดชอบ อีกทั้งไม่ควรให้มีการกำหนดนโยบายรูปแบบประชานิยมที่มีการเมืองเข้ามาแทรกแซง จนทำให้เกิดผลเสียรูปแบบดังกล่าวขึ้นอีก
             ทั้งนี้ในที่ประชุม มีติเห็นชอบต่อผลการศึกษาดังกล่าว และจะนำเสนอต่อคณะผู้บริหารกทม. เพื่อดำเนินการต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 26/01/2017 10:19 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีทอง (กรุงธนบุรี - คลองสาน) ได้ผู้รับเหมาแล้ว - อิตาเลียนไทย รับงานนี้
http://www.thanakom.co.th/thanakom/pic/news/news-20.pdf


'อิตาเลียนไทย' ซิวก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีทอง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 26 มกราคม 2560, 07:30

"อิตาเลียนไทย" ซิวก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีทอง ระยะแรกงบ 2.5 พันล้าน หลังผ่านคุณสมบัติเจ้าเดียว "เคที" เร่งต่อรองราคาก่อนชง "อัศวิน" ไฟเขียว

รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2559 บริษัทกรุงเทพธนาคม (เคที) วิสาหกิจกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้มีหนังสือขอเชิญยื่นข้อเสนอประกวดราคาในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง (โมโนเรล) สายสีทอง ระยะที่ 1 (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน) จำนวน 4 ราย ประกอบด้วย 1.บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) 2.บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) 3.บริษัทชิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และ4.บริษัทยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) โดยเคที ได้กำหนดให้ยื่นข้อเสนอการประกวดราคาในวันที่ 19 ม.ค.2560 ปรากฎว่ามีผู้ยื่นข้อเสนอเพียง 1 ราย คือบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งคณะกรรมการประกวดราคา ได้เปิดซองเอกสารแสดงคุณสมบัติของผู้เสนองานดังกล่าวแล้วพบว่า บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นท์ จำกัด(มหาชน) ได้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามข้อกำหนด การจ้างก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายสีทอง ระยะที่ 1 (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน)

ทั้งนี้เคทีได้กำหนดประกาศผู้ผ่านคะแนนทั้งด้านเทคนิคตามลำดับคะแนน ในวันที่ 23 ม.ค.2560 และกำหนดการเปิดซองราคา เฉพาะผู้ผ่านคะแนนทางเทคนิค ในวันที่ 24 ม.ค.2560 แต่ในวันดังกล่าวไม่สามารถเปิดซองราคาได้ เนื่องจากคณะกรรมการประกวดราคา ประเมินข้อเสนอด้านเทคนิคยังไม่แล้วเสร็จ จึงขอเลื่อนกำหนดออกไปก่อนและจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เคทีอยู่ระหว่างต่อรองราคาและให้การก่อสร้างเป็นไปตามที่สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ศึกษา คาดว่าภายในเดือนม.ค.นี้ จะแล้วเสร็จ จากนั้นจึงจะเสนอพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. พิจารณาให้ความเห็นชอบให้เคที ลงนามในสัญญาจ้าง เพื่อดำเนินการก่อสร้างต่อไป

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองธนบุรี – ประชาธิปก เพื่อแก้ปัญหาการจราจรในเขตกรุงธนบุรี ผ่านความเห็นชอบคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2566 โดยให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นผู้ดำเนินการรวมทั้งการเดินรถสัญญาสัมปทาน 30 ปี โดยการก่อสร้างแบ่งออกเป็น 2 ระยะได้แก่ ช่วงที่ 1 จากสถานีธนบุรี – ตากสิน ระยะทาง 1.8 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 2,512 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จและให้บริการในปี 2561 และช่วงที่ 2 จากสถานีตากสิน – วัดอนงค์คาราม ระยะทาง 0.9 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 1,333 ล้านบาท เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2566 โดยรถไฟฟ้าเส้นทางนี้จะใช้ระบบขนส่งมวลชนระบบรอง (โมโนเรล) นำทางอัตโนมัติ (AGT) ที่ควบคุมการเดินรถด้วยระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบไฟฟ้า ใช้ล้อยางจึงไม่เกิดเสียงดัง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 1 ตู้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 80-100 คนหรือขนส่งผู้โดยสารได้ 4,000-1.2 หมื่นคนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ซึ่ง 1 ขบวนสามารถต่อพ่วงได้ 6 ตู้

"จากผลการศึกษาด้านเศรษฐกิจพบว่ามีความเหมาะสมในการลงทุน มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ(Economic Internal Rate of Return : EIRR 28.5%) มูลค่าการลงทุนทั้งเส้นทาง 3,845 ล้านบาท คาดว่าเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2561 จะช่วยประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายในการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและประหยัดเวลาในการเดินทางคิดเป็นมูลค่าประมาณ 830 ล้านบาทต่อปี และเพิ่มเป็น 2,417 ล้านบาทต่อปีในปี 2581 โดยคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการในระยะที่ 1 ในปี 2561 ประมาณ 4.7 หมื่นคนต่อเที่ยว-วัน และในระยะที่ 2 ในปี 2566 ประมาณ 8.1 หมื่นคนต่อเที่ยวต่อวัน" รายงานข่าวระบุ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 11, 12, 13 ... 31, 32, 33  Next
Page 12 of 33

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©