RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179761
ทั้งหมด:13490993
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่และเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่และเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 57, 58, 59 ... 120, 121, 122  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 14/12/2016 10:25 am    Post subject: Reply with quote

รางต่อเรือสะดุด รอเงิบ1ปีซ้ำเตฺิมสายสีม่วงขาดทุน
เดลินิวส์
อังคารที่ 13 ธันวาคม 2559 เวลา 18.24 น.

โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือเชื่อมต่อสถานีสะพานพระนั่งเกล้า รถไฟฟ้าสายสีม่วง
ช่วงบางใหญ่-เตาปูนต้องเปิดประมูลใหม่คาดจะได้ข้อยุติต้นปี60 หลังพิจารณาล่าช้า
ซ้ำเติมรถไฟฟ้าดังกล่าวขาดทุนเหตุประชาชนไม่สะดวก

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ รองผู้ว่าการฝ่ายวิศวกรรมและก่อสร้าง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้า โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือเชื่อมต่อสถานีสะพานพระนั่งเกล้า รถไฟฟ้าสายฉลองรัชมงคล หรือสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูนว่า
ขณะนี้คณะกรรมการบริหาร(บอร์ด)รฟม.ได้อนุมัติให้เปิดประกวดราคาใหม่แล้ว ซึ่งขั้นตอนต่อไปรฟม.กำลังเริ่มขบวนการเจรจากับบริษัท มูเชิล ที่ปรึกษาออกแบบชุดเดิมเพื่อปรับแก้แบบให้เหมาะสมเนื่องจากต้องอิงกายภาพจริงภายหลังการเปิดให้บริการรถไฟฟ้า รวมถึงการเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นๆ คาดว่าจะได้ข้อยุติประมาณต้นปี 60

สำหรับงบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 90 ล้านบาท โดยใช้เวลาออกแบบ 3 เดือนและประกวดราคาอีก 3 เดือน ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 1 ปี ทั้งนี้หากกระบวนการประกวดราคาเสร็จสิ้น รฟม.จะต้องเร่งการก่อสร้างให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรจากเรือต่อรางได้สะดวกมากยิ่งขึ้นอีกทั้งสามารถเพิ่มจำนวนผู้โดยสารเข้าใช้บริการสายสีม่วงได้อีกด้วย


ทั้งนี้โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือเชื่อมต่อสถานีสะพานพระนั่งเกล้า รถไฟฟ้าสายฉลองรัชมงคล ดังกล่าว ต้องเริ่มขั้นตอนดำเนินการจ้างที่ปรึกษาออกแบบ ประกวดราคาและก่อสร้างใหม่ทั้งหมด ซึ่งแต่เดิมสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้จ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดไว้แล้ว ส่วนการก่อสร้างรฟม.ได้ว่าจ้างบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้รับจ้างก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง สัญญา 2 (โครงสร้างยกระดับส่วนตะวันตกช่วงสะพานพระนั่งเกล้า-คลองบางไผ่)เป็นผู้ดำเนินการเนื่องจากจะต้องก่อสร้างในพื้นที่เกี่ยวเนื่องกันอยู่แล้ว แต่แผนก็ต้องพับไปเนื่องจากการพิจารณาล่าช้า ทำให้ต้องเริ่มขั้นตอนกันใหม่ทั้งหมด

อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ให้บริการ สัญจรทางเรือนั้นรฟม.ได้มีการพูดคุยกับบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ผู้รับสัมปทานเดินเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งทางบริษัทยินดีรับ-ส่งผู้โดยสารเพื่อเชื่อต่อรถไฟฟ้าเช่นกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 16/12/2016 3:13 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม. แจ้งเปลี่ยนแปลงการให้บริการรถไฟเชื่อมต่อระหว่างสถานีบางซ่อน – สถานีบางซื่อ – สถานีบางซ่อน - โดยงดให้บริการเดินรถไฟเชื่อมต่อในวันเสาร์ เริ่มตั้งแต่วันเสาร์ที่ 24 ธ.ค. 2559
บริการรถไฟเชื่อมต่อ(ปรับอากาศ)จะยังคงมีให้บริการในทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ ช่วงเช้าเวลา 06.30 – 09.30 น. และช่วงเย็น 16.30 – 20.30 น.
https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/1775133216036738

คนใช้น้อย!รฟม.ยกเลิกรถไฟเชื่อม"บางซ่อน-บางซื่อ"ในวันเสาร์
โดย MGR Online
16 ธันวาคม 2559 14:56 น.


รฟม.แจ้งยกเลิกบริการรถไฟเชื่อมต่อสถานีบางซ่อน – สถานีบางซื่อ ในวันเสาร์ คงเหลือบริการจันทร์ -ศุกร์ ตั้งแต่ 24 ธ.ค.นี้ เหตุมีผู้โดยสารน้อย การยกเลิกไม่มีผลกระทบมากนัก

การรถไฟฟ้าขนส่งมวชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งเปลี่ยนแปลงการให้บริการรถไฟเชื่อมต่อระหว่างสถานีบางซ่อน – สถานีบางซื่อ – สถานีบางซ่อน
โดยงดให้บริการเดินรถไฟเชื่อมต่อในวันเสาร์ เริ่มตั้งแต่วันเสาร์ที่ 24 ธ.ค. 2559 เป็นต้นไป ส่วนบริการรถไฟเชื่อมต่อ (ปรับอากาศ)ในทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ ช่วงเช้าเวลา 06.30 – 09.30 น. และช่วงเย็น 16.30 – 20.30 น.จะยังคงมีให้บริการเหมือนเดิม


ทั้งนี้ การให้บริการรถไฟเชื่อมต่อฟรีดังกล่าว รฟม. ได้จัดเป็นระบบขนส่งเสริม (Feeder System) วิ่งเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างรถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สีม่วง) จากสถานีบางซ่อน กับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน) ที่สถานีบางซื่อ ตั้งแต่วันที่ 6 ส.ค. 2559 ที่ผ่านมา โดยใช้ตู้โดยสารแบบปรับอากาศ จำนวน 3 ตู้ รองรับผู้โดยสารจำนวน 100 คนต่อตู้ ในวันจันทร์ – วันเสาร์ ช่วงเช้าเวลา 06.30 – 09.30 น. และช่วงเย็นเวลา 16.30 – 20.30 น. ความถี่ในการให้บริการ 15 นาทีต่อขบวน มีจุดให้บริการที่สถานีบางซ่อน บริเวณทางออกที่ 5 และสถานีบางซื่อ บริเวณทางออกที่ 2

ซึ่งเป็นอีกทางเลือก ในการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วงกับสายสีน้ำเงิน นอกเหนือจากรถขสมก.ที่จัดเป็นบริการ Shuttle Bus เชื่อมต่อระหว่างสถานีเตาปูน-สถานีบางซื่อ

โดยก่อนหน้านี้ นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าฯรฟม.ระบุว่า จำนวนผู้ใช้บริการรถไฟเชื่อมต่อระหว่าง บางซ่อน-เตาปูนในช่วงวันเสาร์ มีจำนวนน้อย ประมาณหลักร้อยคนนั้น จึงได้สำรวจความเหมาะสม พบว่า ผู้ใช้รถไฟเชื่อมต่อในวันเสาร์ จะไม่เร่งรีบในการเดินทางมากนัก ดังนั้นจึงได้พิจารณายกเลิกให้บริการรถไฟในวันเสาร์ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารมากนัก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/12/2016 10:56 am    Post subject: Reply with quote

BEM ต้อนรับคณะเยี่ยมชมจากโรงเรียนจิตรลดา
โดย MGR Online
18 ธันวาคม 2559 15:35 น.


บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ให้การต้อนรับคณะครูและนักเรียนชั้นอนุบาล 2 จากโรงเรียนจิตรลดา ซึ่งให้ความสนใจเข้าเยี่ยมชมระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม โดยได้รับชมการสาธิตการฝึกสุนัขตรวจการณ์ K-9 พร้อมสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียนด้วยการทดลองโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง จากสถานีเตาปูน (PP16) ไปยังสถานีคลองบางไผ่ (PP01) โดยมีคุณวิชิต สร้อยระย้าแก้ว หัวหน้าสถานี แนะนำการใช้เหรียญโดยสารของรถไฟฟ้า และเจ้าหน้าที่สถานีเตาปูนและคลองบางไผ่ร่วมให้การต้อนรับ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ที่ผ่านมา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 21/12/2016 9:22 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.โต้'สายสีม่วง'ขาดทุน350ล. ยันไม่หวังโกยกำไรจากประชาชน
แนวหน้า
วันพุธ ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559, 11.49 น.


21 ธ.ค.59 หลังจากที่แนวหน้าออนไลน์ เสนอข่าว "สายสีม่วง'ขาดทุนยับ3ด.350ล้าน 'สามารถ'พ้อเสียดายภาษีปชช." เมื่อวันที่ 15 พ.ย.59 ที่ผ่านมา ซึ่ง ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊ก "ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์" วิพากษ์วิจารณ์กรณี รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่เปิดให้บริการมาเป็นเวลากว่า 3 เดือน แต่ขาดทุนรวมแล้วกว่า 350 ล้านบาท

โดย นายพีะยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ชี้แจงผ่านแนวหน้าออนไลน์ ระบุว่า การดำเนินงานด้านระบบขนส่งสาธารณะ รวมถึงโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) นั้น ไม่ได้หวังกำไรจากประชาชนเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ เพื่อประชาชนที่มีรายได้น้อย ได้มีโอกาสเข้าถึงระบบรถไฟฟ้าได้ ลดการใช้พลังงานในภาคการขนส่ง ลดปัญหาการจราจรติดขัด ลดก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ที่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

นอกจากนี้ ช่วงเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-เตาปูน ที่ยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้จำนวนผู้โดยสารของสายสีม่วงต่ำ ซึ่งขณะนี้ กำลังอยู่ในระหว่างการเร่งรัดดำเนินการเพื่อขออนุมัติและดำเนินการติดตั้งระบบรถไฟฟ้า ประกอบกับโครงข่ายรถไฟฟ้าในพื้นที่ชั้นในกรุงเทพยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งเมื่อเส้นทางรถไฟฟ้าดังกล่าวข้างต้นแล้วเสร็จสมบูรณ์ จำนวนผู้โดยสารสายสีม่วงจะเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับประมาณการอย่างไรก็ดี รฟม. ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยกำลังหาแนวทางในการเพิ่มรายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ สร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อหวังให้ประชาชนหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 23/01/2017 8:03 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.ลดเป้าผู้โดยสารสีม่วงใต้ สศช.ติงประเมินสูง-ซ้ำรอยสายบางใหญ่
โดย MGR Online
23 มกราคม 2560 07:45 น. (แก้ไขล่าสุด 23 มกราคม 2560 09:29 น.)

รฟม.ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ผู้โดยสารสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) ใหม่หลังถูก สศช.ติงประเมินสูงไป สั่งยึดฐานสีม่วงเหนือ คลองบางไผ่-เตาปูน ที่ผู้โดยสารต่ำเป้ามาก “พีระยุทธ” เผยลดเป้าผู้โดยสารช่วง 4-5 ปีแรก เชื่อจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเมื่อโครงข่ายสมบูรณ์ ส่วนสีม่วงเหนือคาดผู้โดยสารเข้าเป้าหลังเปิดเดินรถสีน้ำเงินต่อขยายและมีระบบตั๋วร่วม พร้อมมั่นใจดันรถไฟฟ้า 5 สายที่เหลือ เข้า ครม.เปิดประมูลครบใน ธ.ค. 60

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงแผนการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าในปี 2560 ของ รฟม.ว่า จะมีอีก 5 โครงการที่อยู่ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. วงเงิน 131,004.30 ล้านบาท ซึ่งล่าสุด รฟม.ได้ทำข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แล้ว คาดว่าจะเสนอประชุมบอร์ด สศช.ได้ในเดือน ก.พ. 2560 พร้อมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 8 กม. วงเงิน 21,120 ล้านบาท ซึ่งได้ศึกษาแผนรายละเอียดเรียบร้อยแล้วเช่นกัน

ส่วนสายสีเขียวใต้ ช่วงสมุทรปราการ-บางปู ระยะทาง 9.2 กม. วงเงิน 9,529.54 ล้านบาท, สายสีเขียวเหนือ ช่วงคูคต-ลำลูกกา ระยะทาง 6.5 กม. วงเงิน 9,236.07 ล้านบาท, สายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม ระยะทาง 16.4 กม. วงเงิน 85,288.54 ล้านบาท ได้เสนอเรื่องไปกระทรวงคมนาคมแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือเสนอบอร์ด สศช. คาดว่าจะทยอยเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติได้ตั้งแต่ไตรมาส 2/60 และเปิดประมูลได้ภายในเดือน ก.ย.-ธ.ค. 60

ทั้งนี้ หลังจากเปิดเดินรถสายสีม่วงเหนือ ช่วงคลองบางไผ่-เตาปูน แล้วพบว่าจำนวนผู้โดยสารจริงไม่ตรงกับสมมติฐานที่ประเมินไว้ ทาง สศช.จึงให้ รฟม.ปรับประมาณการจำนวนผู้โดยสารของสายสีม่วงใต้ใหม่ โดยใช้ข้อมูลจากสีม่วงเหนือ ซึ่งทำให้คาดการณ์จำนวนผู้โดยสารของสายสีม่วงใต้ในช่วง 4-5 ปีลดลงจากเดิม แต่จะค่อยๆ ปรับขึ้นไปเมื่อประชาชนมีการปรับเปลี่ยนวิธีการเดินทาง ซึ่งตัวเลขผู้โดยสารนั้นมีผลต่อการประเมินผลตอบแทนการลงทุนโครงการ ดังนั้นจะต้องประเมินให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งข้อดีของสีม่วงใต้คือ เมื่อเปิดเดินรถ โครงข่ายจะมีการเชื่อมโยงกับรถไฟฟ้าสายอื่นแล้ว เช่น สถานีวังบูรพา ตัดกับสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย

จากข้อมูลการศึกษาวิเคราะห์ และประมาณการจำนวนผู้โดยสารเดิม สายสีม่วงใต้จะมีถึง 477,098 คน/วัน โดยประเมินช่วงตั้งแต่ปี 2562 ถึงปี 2592 รวม 30 ปี โดยจัดลักษณะโครงสร้างค่าโดยสารตามระยะทาง โดยมีค่าแรกเข้า 12.20 บาท + 2.2 บาทต่อกิโลเมตร (ราคา ณ ปี 2552) ซึ่งมีการยกเว้นค่าแรกเข้าสำหรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าของ รฟม.

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีม่วงเหนือ ช่วงคลองบางไผ่-เตาปูน หลังจาก รฟม.ได้ปรับลดอัตราค่าโดยสาร จากเดิม 14-42 บาท เหลือ 14-29 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 59 ทำให้จำนวนผู้ใช้บริการเฉลี่ยเพิ่มมาอยู่ที่ประมาณ 23,000 คน/วัน เพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 20% ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้บริการในช่วงเช้าและเย็น ซึ่งต้องยอมรับว่าแนวเส้นทางของสีม่วงเป็นที่อยู่อาศัย ไม่มีกิจกรรมเชิงพาณิชย์หรือย่านธุรกิจ จึงไม่เอื้อให้มีการเดินทางตลอดเวลา ซึ่งภาครัฐและท้องถิ่นจะหาแผนพัฒนาการใช้พื้นที่ตามแนวเส้นทาง

“ผู้โดยสารสายสีม่วงเหนือจะเพิ่มขึ้นอีก คงต้องรอ 2-3 ประเด็น คือ การต่อเชื่อมสีน้ำเงินช่วง 1 สถานี, สีน้ำเงินต่อขยายเปิดเดินรถครบวงจร, เกิดระบบตั๋วร่วมที่ทำให้ค่าโดยสารเป็นระบบเดียวกัน ซึ่งทาง สนข.กำลังสรุปเรื่องการจัดตั้งบริษัทตั๋วร่วมขึ้นมาบริหารจัดการ โดยผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดต้องหารือกัน ประเด็นคือต้องยอมรับต้นทุนและกำหนดอัตราค่าโดยสารเดียวกันอย่างไร เพราะถ้ากำหนดค่าโดยสารแพงคนก็ไม่ใช้ ผู้ประกอบการขาดทุน ดังนั้นน่าจะมีจุดพอดีกับทุกฝ่ายที่ค่าโดยสารไม่แพงมาก และผู้ประกอบการอยู่ได้”

โดยปัจจุบันมีผู้โดยสารใช้บริการ Shuttle Bus เชื่อมต่อสีม่วงกับสีน้ำเงิน (เตาปูน-บางซื่อ) ประมาณ 14,000 คน/วัน โดย รฟม.ได้จัดรถโดยสารปรับอากาศขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จากสถานีเตาปูน-บางซื่อ 15 คัน ให้บริการทุกวัน มีค่าใช้จ่ายประมาณ 210,000 บาท/วัน รถไฟชานเมืองเชื่อมระหว่างสถานีบางซ่อน-สถานีบางซื่อ วันจันทร์-ศุกร์ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายส่วนของรถไฟชานเมืองเชื่อม 1 สถานี 226,576 บาท/วัน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/01/2017 1:26 pm    Post subject: Reply with quote

จ้างพิเศษเดินรถ"เตาปูน-บางซื่อ"เปิดหวูดวันแม่
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 25 ม.ค. 2560 เวลา 07:30:46 น.

บอร์ด รฟม.สางปมรถไฟฟ้าสารพัดสี จ้างพิเศษ BEM วงเงิน 918 ล้านบาท เดินรถขาดช่วง 1 สถานี "เตาปูน-บางซื่อ" ชง ครม.เคาะ ก.พ.นี้ ดีเดย์ 12 ส.ค. เปิดหวูดหวังตั๋วร่วมตัวช่วยดึงคนใช้สายสีม่วงเพิ่ม ลุ้น สคร.อนุมัติผลเจรจาสัมปทานสีน้ำเงินต่อขยาย สับเกียร์ 5 สรุปส่วนต่อสีชมพู-เหลือง ลงนาม มี.ค. พร้อมสีส้มตะวันออก เปิดประมูลสายใหม่ต่ออีก 4 สาย ไตรมาส 3-4 กว่า 1.74 แสนล้าน

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า วันที่ 18 ม.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการ (บอร์ด) เห็นชอบจ้างวิธีพิเศษ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เดินรถ 1 สถานี (เตาปูน-บางซื่อ) วงเงิน 918 ล้านบาท ซึ่งบริษัทลดค่าจ้างให้กว่า 1 ล้านบาท แยกเป็นค่าติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณจาก 672 ล้านบาท เหลือ 671 ล้านบาท ค่าเดินรถจาก 52.11 ล้านบาท/ปี เหลือ 52 ล้านบาท/ปี ส่วนที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยทางการเงิน 82.5 ล้านบาท และภาษี 7%

ตามแผนการดำเนินงานของ BEM จะใช้ระยะเวลาติดตั้งระบบ 6 เดือน และเดินรถ 2 ปี ซึ่ง รฟม.จะเสนอไปยังกระทรวงคมนาคม พร้อมทั้งส่งร่างสัญญาให้อัยการพิจารณาเบื้องต้น คาดว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะอนุมัติช่วงต้นเดือน ก.พ. จากนั้นจะลงนามสัญญาและส่งมอบพื้นที่ให้ BEM คาดว่าจะเปิดเดินรถวันที่ 12 ส.ค.นี้

"ค่าติดตั้งระบบ ค่าจ้างเดินรถ 1 สถานี จะยังไม่จ่ายเงินให้เอกชน เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการเดินรถสายสีน้ำเงินต่อขยายหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ หากได้ข้อสรุปจะรวม 1 สถานีนี้ไปด้วย" นายพีระยุทธกล่าวและว่า

สำหรับความคืบหน้าการเดินรถสายสีน้ำเงินต่อขยาย ส่งข้อสรุปของคณะกรรมการ มาตรา 35 ตาม พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ 2535 และคณะกรรมการมาตรา 13 ตาม พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ไปยังสำนักงานนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เมื่อวันที่ 4 ม.ค.ที่ผ่านมา จะใช้เวลาพิจารณา 45 วัน จากนั้นเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณา 30 วัน คาดว่าเสนอ ครม.เดือน มี.ค.นี้

"การเดินรถ 1 สถานีที่ยังไม่เชื่อมกัน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนมาใช้บริการสายสีม่วงน้อยกว่าเป้าที่วางไว้ ปัจจุบันอยู่ที่ 2.2-2.3 หมื่นเที่ยวคน/วัน หากในเดือน ส.ค.นี้เชื่อมกันได้ สายสีน้ำเงินต่อขยายเปิดใช้ได้เร็วขึ้น และตั๋วร่วมเริ่มใช้ในปีนี้ จะช่วยดึงดูดคนใช้บริการเพิ่ม"

ด้านสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) อยู่ในระหว่างเจรจากับกิจการร่วมค้า BSR ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โอลดิ้งส์, บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง เนื่องจากมีข้อเสนอขยายเส้นทางเพิ่ม ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพิ่มเติม ตั้งเป้าจะลงนามสัญญาเดือน มี.ค.-เม.ย.นี้ พร้อมกับสายสีส้มศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี เนื่องจากเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล

ขณะเดียวกัน รฟม.มีรถไฟฟ้าสายใหม่ในแผนเร่งด่วนปี 2560 จำนวน 4 โครงการ เงินลงทุน 174,150 ล้านบาท ซึ่งสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ 23.6 กม. 131,004.30 ล้านบาท และสีน้ำเงินต่อขยายบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 8 กม. 21,197 ล้านบาท จะเข้าบอร์ดสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เดือน ก.พ.นี้ ส่วนสีเขียวต่อขยายคูคต-ลำลูกกา 6.5 กม. 9,803 ล้านบาท และสมุทรปราการ-บางปู 7 กม. 12,146 ล้านบาท อยู่ในการพิจารณาของกระทรวงคมนาคม คาดว่าทั้ง 4 โครงการจะเปิดประมูลได้ไตรมาส 3-4 ของปีงบประมาณ 2560
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2017 1:24 pm    Post subject: Reply with quote

"สามารถ" คาดสายสีม่วงเงียบเหงาสุดในโลก หลัง 6 เดือนแล้วคนยังใช้น้อย
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
6 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 15:04:16 น.
‘สามารถ’ โพสต์ 6 เดือนแล้ว รถไฟฟ้าสายสีม่วงครองแชมป์เงียบเหงาที่สุดในโลก
มติชน

6 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 14:17 น.

วันนี้ (6 ก.พ.) นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าฯกทม. และอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ก กรณีรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยระบุว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน มาตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2559 จนถึงวันนี้ (6 กุมภาพันธ์ 2560) นับเวลาได้ 6 เดือนแล้ว ถือว่าเป็นเวลามากพอที่ประชาชนผู้สนใจจะใช้บริการสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางให้สอดรับกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงได้ แต่กระนั้นก็ตาม ปริมาณผู้โดยสารยังน้อยมากแม้เวลาได้ผ่านมาพอสมควรแล้ว ตอนเปิดให้บริการใหม่ๆ ผู้เกี่ยวข้องหลายคนให้สัมภาษณ์ว่าจะต้องรอเวลาให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทาง หลังจากนั้นจะมีผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้นแน่ แต่ผ่านมาแล้ว 6 เดือน ผู้โดยสารก็ยังน้อยมาก น้อยเสียจนผู้โดยสารในยามค่ำคืนกลัวผีจะหลอก เพราะหลายสถานีช่างเงียบวังเวงยิ่งนัก โดยเฉพาะสถานีที่อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ข้ามสะพานพระนั่งเกล้าไปทางบางใหญ่) เงียบจริงๆ

นายสามารถระบุว่า “หากมีการจัดลำดับสถานีรถไฟฟ้าที่เงียบเหงาที่สุดในโลก ผมมั่นใจว่าหลายสถานีของรถไฟฟ้าสายสีม่วงจะได้ครองแชมป์โลกแน่ ผมได้ติดตามการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงมาโดยตลอด พบว่าจนถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2560 หรือเป็นเวลา 6 เดือนแล้ว มีผู้โดยสารเฉลี่ยในแต่ละช่วงเวลา ดังนี้

6 สิงหาคม 2559-31 สิงหาคม 2559 (เป็นช่วงเวลาก่อนลดค่าโดยสาร) ปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ย 19,946 คนต่อวัน

1 กันยายน 2559-30 กันยายน 2559 (เริ่มลดค่าโดยสารตั้งแต่ 1 กันยายน 2559 เป็นต้นมา) ปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ย 20,999 คนต่อวัน

1 ตุลาคม 2559-31 ตุลาคม 2559 ปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ย 20,993 คนต่อวัน

1 พฤศจิกายน 2559-30 พฤศจิกายน 2559 ปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ย 21,576 คนต่อวัน

1 ธันวาคม 2559-31 ธันวาคม 2559 ปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ย 19,084 คนต่อวัน

1 มกราคม 2560-31 มกราคม 2560 ปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ย 20,150 คนต่อวัน

1 กุมภาพันธ์ 2560-5 กุมภาพันธ์ 2560 ปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ย 21,888 คนต่อวัน

หากใช้ปริมาณผู้โดยสารในเดือนกันยายน 2559 ซึ่งเป็นเวลาที่ลดค่าโดยสารแล้วเป็นเกณฑ์เปรียบเทียบกับปริมาณผู้โดยสารในเดือนต่อๆ มา (ไม่รวมเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ซึ่งยังไม่ครบเดือน) จะเห็นว่าปริมาณผู้โดยสารลดลงทุกเดือน ยกเว้นเดือนพฤศจิกายน 2559 เท่านั้นที่มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย พูดได้ว่า ยิ่งนานวัน ผู้โดยสารกลับน้อยลงหรือไม่เพิ่มขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้จะไม่ให้ห่วงได้อย่างไร

ในขณะที่มีผู้โดยสารน้อย รายได้จากค่าโดยสารก็น้อยตามด้วยเช่นกัน ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ปรากฏว่า มีรายได้เฉลี่ย 484,300 บาทต่อวัน ในขณะที่มีรายจ่ายประมาณ 4 ล้านบาทต่อวัน กล่าวคือ รฟม.ต้องเสียค่าจ้างบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม ให้บริหารจัดการเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าประมาณ 3.6 ล้านบาทต่อวัน ต้องจ้างองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ให้ขนผู้โดยสารระหว่างสถานีเตาปูนกับสถานีบางซื่อประมาณ 2 แสนบาทต่อวัน และต้องจ้างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ให้ขนผู้โดยสารระหว่างสถานีบางซ่อนกับสถานีบางซื่อประมาณ 2 แสนบาทต่อวัน ทำให้ รฟม.ต้องขาดทุนเฉลี่ยประมาณ 3.5 ล้านบาทต่อวัน จากวันที่ 6 สิงหาคม 2559 จนถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 รวมเวลาได้ 184 วัน ดังนั้น รฟม.ขาดทุนมาแล้วถึงประมาณ 644 ล้านบาท

รฟม.จะต้องแบกภาระการขาดทุนไปอีกยาวนาน หากยังคงปล่อยให้การบริการเป็นไปตามยถากรรมเช่นนี้ ถามว่า..นานพอแล้วหรือยังที่ต้องรอให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทาง?

นานพอแล้วหรือยังที่ปล่อยให้สถานีเงียบเหงาอย่างนี้?

นานพอแล้วหรือยังที่ปล่อยให้พนักงานที่สถานีนั่งตบยุง?

หลายคนคงตอบว่านานพอแล้ว หากโครงการนี้เป็นของเอกชน ผมมั่นใจว่าเขาไม่ปล่อยให้เป็นเช่นนี้แน่ เขาจะต้องต่อสู้ทุกวิถีทางที่จะทำให้ผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้นให้ได้ ดังตัวอย่างที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ได้ต่อสู้จนประสบผลสำเร็จมาแล้ว

อย่าหวังลมๆ แล้งๆ ว่า หลังจากมีการเชื่อมต่อสถานีเตาปูนกันสถานีบางซื่อแล้วจะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมาก ผมไม่คิดว่าจะเป็นเช่นนั้น
ถึงเวลานี้ ผู้เกี่ยวข้องในกระทรวงคมนาคมจะเงียบเฉยอยู่ไย โดยเฉพาะสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ซึ่งเป็นผู้จัดทำแผนแม่บทโครงข่ายรถไฟฟ้าทุกสาย และจัดลำดับการก่อสร้างรถไฟฟ้าจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ที่สำคัญจะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเช่นนี้ในอนาคตได้อย่างไร รีบออกมาพูดเถอะครับ ออกมาช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกันบ้าง อย่าปล่อยให้ท่านต้องโดดเดี่ยวเดียวดายเหมือนรถไฟฟ้าสายสีม่วงเลยครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/02/2017 8:02 pm    Post subject: Reply with quote

เล็งจัดโปรค่าโดยสารรถไฟสายสีม่วง 15 บาทตลอดสายช่วงวันหยุด
โพสต์ทูเดย์ 16 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 18:54 น.

รฟม.เล็งจัดโปรโมชั่นค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสายช่วงวันหยุด หวังกระตุ้นยอดผู้ใช้รถไฟฟ้าสายสีม่วง เริ่มมี.ค.

เมื่อวันที่ 16 ก.พ. รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า รฟม.ได้พิจารณามาตรการจูงใจเพื่อให้ผู้โดยสารใช้รถไฟฟ้าาสายสีม่วงช่วงบางใหญ่ - เตาปูน มากขึ้น โดยเฉพาะการคิดค่าโดยสารในอัตรา 15 บาท ตลอดสายในช่วงวันหยุด ตั้งแต่เดือนมี.ค. 2560 เป็นต้นจนกว่าการเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าระหว่างสถานีเตาปูน – บางซื่อ ช่วง 1 สถานีจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือนส.ค. 2560

นอกจากนี้ รฟม. อยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการจัดให้มีรถโดยสาร (Feeder Bus) เพื่ออำนวยความสะดวกในการรับและส่งประชาชนตามแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม และพื้นที่ใกล้เคียง เช่น แยกไทรน้อย สนามบินน้ำ ห้าแยกปากเกร็ด แคราย ตลิ่งชั่น ทั้งนี้ รฟม. อยู่ระหว่างการศึกษาเส้นทาง Feeder ที่เหมาะสม ซึ่งจะสามารถดำเนินการเป็นรูปธรรมประมาณกลางปี 2560

อย่างไรก็ตามยังมีมาตรการหารายได้เสริมให้กับองค์กรประกอบด้วย
1. การศึกษาการออกผลิตภัณฑ์บัตรโดยสารรูปแบบใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการและพฤติกรรมของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า อาทิเช่น บัตรโดยสารรายเดือน บัตรโดยสารประเภทจำกัดเที่ยว เป็นต้น
2.การจัดให้มีการพัฒนาเชิงพาณิชย์ และบริการเสริมบริเวณสถานีและขบวนรถไฟฟ้า อาทิเช่น การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ร้านค้าปลีก เครื่องบริการถอนเงินอัตโนมัติ โทรคมนาคม ที่นั่งรอรถ
3. ร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อจัดให้มีสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ใช้บริการ อาทิเช่น การใช้บัตรโดยสารรถไฟฟ้าเพื่อเป็นส่วนลดร้านค้าและบริการ การได้รับเครดิตเงินคืนจากการใช้บัตรชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้า เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 17/02/2017 12:19 am    Post subject: Reply with quote

รฟม. เร่งชี้แจงสาเหตุขาดทุน 6 เดือน รถไฟฟ้าสายสีม่วง
Think of living
วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 1 20:32

ตามที่ ดร. สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความทางเฟสบุ๊ก กรณีรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยระบุว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่ – เตาปูน (โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม) มาตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2559 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 6 เดือนแล้ว แต่ยังมีผู้ใช้บริการน้อยมาก ทำให้ต้องรับภาระขาดทุนเฉลี่ยประมาณ 3.5 ล้านบาทต่อวัน นั้น

รฟม. ใคร่ขอเรียนชี้แจงว่า การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศถือเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และรวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว ก่อให้เกิดการสร้างงาน เพิ่มผลิตภาพและศักยภาพ การผลิตในระยะยาว สำหรับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (โครงการรถไฟฟ้าฯ) นี้เป็นการดำเนินการโครงการในรูปแบบของการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน โดยเป็นรูปแบบการดำเนินงานที่ภาครัฐเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ Public Private Partnership (PPP) ในรูปแบบ PPP Gross Cost กล่าวคือ รัฐลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสาร ในขณะที่เอกชนลงทุนระบบรางและระบบรถไฟฟ้าและทำหน้าที่เดินรถไฟฟ้า โดยรัฐจ่ายชำระเป็นเงินลงทุนให้แก่เอกชนสำหรับค่ารถไฟฟ้าและค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าแบบกำหนดราคาคงที่ ซึ่งจากรูปแบบการดำเนินโครงการดังกล่าวจึงส่งผลให้ รฟม. ในฐานะหน่วยงานของรัฐมีภาระค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงจากค่าผ่อนชำระระบบรถไฟฟ้าและค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าเมื่อเทียบกับรายได้ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ

นอกจากนี้นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านระบบขนส่งสาธารณะ ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะผลตอบแทนทางด้านการเงินแต่เน้นผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นหากพิจารณาเฉพาะผลตอบแทนทางด้านการเงินจากผลการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าฯ ที่ผ่านมาจะพบว่าโครงการรถไฟฟ้าฯ มีผลการดำเนินงานขาดทุน ทั้งนี้เพราะมูลค่าการก่อสร้างระบบขนส่งทางรางที่สูง ในขณะที่กำหนดอัตราค่าโดยสารที่ต่ำ ทั้งนี้เพื่อให้สอดรับกับนโยบายภาครัฐที่มุ่งเน้นที่จะสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะเพิ่มมากขึ้น รวมถึงให้ประชนชนที่มีรายได้น้อยมีโอกาสเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะในรูปแบบของรถไฟฟ้าได้

อย่างไรก็ตามในการพิจารณาความคุ้มค่าการลงทุนของโครงการในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าฯ ที่มุ่งเน้นผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมนั้นจะพิจารณาจากการที่ โครงการรถไฟฟ้าฯ สามารถช่วยลดการใช้พลังงานในภาคการขนส่งอันเป็นผลจากการจราจรติดขัด ตลอดจนลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการลดก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซส์ ลดค่าใช้จ่ายจากการกำจัดมลพิษ เกิดการเพิ่มการจ้างงาน ลดการเกิดอุบัติเหตุจากการเดินทาง ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามีคุณภาพชีวิตที่ดีจากการประหยัดเวลาในการเดินทางและความปลอดภัยจากการเดินทางที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะอื่น อาทิเช่น รถแท็กซี่ รถตู้โดยสาร เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม รฟม. ก็เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการลดการภาวะการขาดทุนของโครงการรถไฟฟ้าฯ โดย รฟม. อยู่ระหว่างดำเนินมาตรการเร่งรัดการเพิ่มจำนวนการใช้บริการรถไฟฟ้าและรายได้ ดังนี้


1.รฟม. อยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการจัดให้มีรถโดยสาร (Feeder Bus) เพื่ออำนวยความสะดวกในการรับและส่งประชาชนตามแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม และพื้นที่ใกล้เคียง เช่น แยกไทรน้อย สนามบินน้ำ ห้าแยกปากเกร็ด แคราย ตลิ่งชั่น ทั้งนี้ รฟม. อยู่ระหว่างการศึกษาเส้นทาง Feeder ที่เหมาะสม ซึ่งจะสามารถดำเนินการเป็นรูปธรรมประมาณกลางปี 2560

2.การดำเนินการเร่งรัดการเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าระหว่างสถานีเตาปูน – บางซื่อ ซึ่ง รฟม. จะลงนามสัญญาจ้างบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2560 และมีกำหนดแล้วเสร็จเดือนสิงหาคม 2560


3.การปรับลดอัตราค่าโดยสารจาก 14 – 42 บาท เป็น 14 -29 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559 เป็นต้นมา นอกจาก รฟม. อยู่ระหว่างการพิจารณามาตรการเพิ่มเติม โดยการคิดค่าโดยสารในอัตรา 15 บาท ตลอดสายในช่วงวันหยุด ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2560 เป็นต้นไป ทั้งนี้จนกว่าการเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าระหว่างสถานีเตาปูน – บางซื่อ จะแล้วเสร็จสมบูรณ์

4.การศึกษาการออกผลิตภัณฑ์บัตรโดยสารรูปแบบใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการและพฤติกรรมของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า อาทิเช่น บัตรโดยสารรายเดือน บัตรโดยสารประเภทจำกัดเที่ยว เป็นต้น
การจัดให้มีการพัฒนาเชิงพาณิชย์ และบริการเสริมบริเวณสถานีและขบวนรถไฟฟ้า อาทิเช่น การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ร้านค้าปลีก เครื่องบริการถอนเงินอัตโนมัติ โทรคมนาคม ที่นั่งรอรถ เป็นต้น

5.การจัดให้มีการพัฒนาเชิงพาณิชย์ และบริการเสริมบริเวณสถานีและขบวนรถไฟฟ้า อาทิเช่น การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ร้านค้าปลีก เครื่องบริการถอนเงินอัตโนมัติ โทรคมนาคม ที่นั่งรอรถ เป็นต้น

6.การร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อจัดให้มีสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ใช้บริการ อาทิเช่น การใช้บัตรโดยสารรถไฟฟ้าเพื่อเป็นส่วนลดร้านค้าและบริการ การได้รับเครดิตเงินคืนจากการใช้บัตรชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้า เป็นต้น

7.การดำเนินกิจกรรม/โครงการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ อาทิเช่น การจัดงาน OTOP การจัดกิจกรรมร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย รวมถึงหน่วยงานส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

8.การสร้างการรับรู้เกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าให้กับประชาชนตามแนวสายทางรถไฟฟ้า อาทิเช่นหน่วยงานและโรงเรียนตามแนวสายทางรถไฟฟ้า ประชาชนตามแนวสายทางรถไฟฟ้า เป็นต้นการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าให้กับประชาชนตามแนวสายทางรถไฟฟ้า อาทิเช่นหน่วยงานและโรงเรียนตามแนวสายทางรถไฟฟ้า ประชาชนตามแนวสายทางรถไฟฟ้า เป็นต้น

ท้ายสุดนี้ รฟม. ตระหนักดีถึงภาระหน้าที่ในการเร่งรัดก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้เป็นไปตามเป้าหมายและนโยบายของรัฐบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทางขนส่งของประชาชน และลดปัญหาวิกฤติจราจรในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม รฟม. ก็มิได้นิ่งนอนใจในการปรับปรุงการให้บริการเดินรถให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงการกำหนดมาตรการในการเพิ่มจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าให้มีมากยิ่งขึ้น เพื่อให้โครงการรถไฟฟ้าฯ มีความคุ้มค่าต่อการลงทุนมากที่สุด

Read more at http://thinkofliving.com/2017/02/16/...r7FjUDsdllm.99


รฟม.เปลี่ยนแผนรถรับคนในรถไฟฟ้าสีม่วง
ข่าวเศรษฐกิจ
INNNews
วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 17:18 น.

รฟม. เตรียมแผนเปลี่ยนรถเมล์ระบบฟีดเดอร์ เพิ่มคนใช้บริการสายสีม่วง หวังมีผู้ใช้ 70,000 - 80,000 คนต่อวัน

นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า หลังจากที่ รฟม. ทำการเปิดเดินรถ 1 สถานี ระหว่างเตาปูน - บางซื่อ แล้วเสร็จ รฟม. มีแผนที่จะเพิ่มอัตราผู้โดยสาร จาก 25,000 คน ต่อวัน เป็น 100,000 คนต่อวัน ซึ่งได้วางแผนที่จะปรับรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่ปัจจุบันให้บริการรับส่งผู้โดยสารระหว่างสถานีเตาปูน - บางซื่อ โดย รฟม. มีแนวคิดที่จะเปลี่บนมาเป็นรถฟีดเดอร์รับผู้โดยสารป้อนเข้าระบรถไฟฟ้าสายสีม่วง เช่น จากแยกไทรน้อย, ตลิ่งชัน, ห้าแยกปากเกร็ด เป็นต้น ขณะเดียวกัน มีแผนที่จะจัดกิจกรรมภายในสถานี เพิ่มจุดให้บริการประชาชน เช่นเดียวกับสถานีคลองเตย ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่เพิ่มจุดบริการทำหนังสือเดินทางได้

อย่างไรก็ตาม หวังว่าจากการดำเนินแผนดังกล่าวจะสามารถเพิ่มจำนวนประชาชนได้ถึง 70,000 - 80,000 คนต่อวัน

__________________
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 17/02/2017 10:40 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.แจงรถไฟฟ้าสีม่วงขาดทุนเหตุ PPP-ตั๋วถูก
by Wanee L.
Voice TV
17 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:45 น.

รฟม.แจงรถไฟฟ้าสายสีม่วงขาดทุนวันละ 3.5 ล้าน เหตุก่อสร้างด้วยระบบ PPP-ค่าโดยสารถูกเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงง่าย

ตามที่ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความทางเฟสบุ๊ก กรณีรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยระบุว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่ – เตาปูน (โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม) มาตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2559 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 6 เดือนแล้ว แต่ยังมีผู้ใช้บริการน้อยมาก ทำให้ต้องรับภาระขาดทุนเฉลี่ยประมาณ 3.5 ล้านบาทต่อวัน นั้น
รฟม. ใคร่ขอเรียนชี้แจงว่า การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศถือเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และรวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว ก่อให้เกิดการสร้างงาน เพิ่มผลิตภาพและศักยภาพ การผลิตในระยะยาว สำหรับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (โครงการรถไฟฟ้าฯ) นี้เป็นการดำเนินการโครงการในรูปแบบของการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน โดยเป็นรูปแบบการดำเนินงานที่ภาครัฐเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ Public Private Partnership (PPP) ในรูปแบบ PPP Gross Cost กล่าวคือ รัฐลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสาร ในขณะที่เอกชนลงทุนระบบรางและระบบรถไฟฟ้าและทำหน้าที่เดินรถไฟฟ้า โดยรัฐจ่ายชำระเป็นเงินลงทุนให้แก่เอกชนสำหรับค่ารถไฟฟ้าและค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าแบบกำหนดราคาคงที่ ซึ่งจากรูปแบบการดำเนินโครงการดังกล่าวจึงส่งผลให้ รฟม. ในฐานะหน่วยงานของรัฐมีภาระค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงจากค่าผ่อนชำระระบบรถไฟฟ้าและค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าเมื่อเทียบกับรายได้ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ

นอกจากนี้นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านระบบขนส่งสาธารณะ ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะผลตอบแทนทางด้านการเงินแต่เน้นผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นหากพิจารณาเฉพาะผลตอบแทนทางด้านการเงินจากผลการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าฯ ที่ผ่านมาจะพบว่าโครงการรถไฟฟ้าฯ มีผลการดำเนินงานขาดทุน ทั้งนี้เพราะมูลค่าการก่อสร้างระบบขนส่งทางรางที่สูง ในขณะที่กำหนดอัตราค่าโดยสารที่ต่ำ ทั้งนี้เพื่อให้สอดรับกับนโยบายภาครัฐที่มุ่งเน้นที่จะสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะเพิ่มมากขึ้น รวมถึงให้ประชนชนที่มีรายได้น้อยมีโอกาสเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะในรูปแบบของรถไฟฟ้าได้

อย่างไรก็ตามในการพิจารณาความคุ้มค่าการลงทุนของโครงการในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าฯ ที่มุ่งเน้นผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมนั้นจะพิจารณาจากการที่ โครงการรถไฟฟ้าฯ สามารถช่วยลดการใช้พลังงานในภาคการขนส่งอันเป็นผลจากการจราจรติดขัด ตลอดจนลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดค่าใช้จ่ายจากการกำจัดมลพิษ เกิดการเพิ่มการจ้างงาน ลดการเกิดอุบัติเหตุจากการเดินทาง ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามีคุณภาพชีวิตที่ดีจากการประหยัดเวลาในการเดินทางและความปลอดภัยจากการเดินทางที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะอื่น อาทิเช่น รถแท็กซี่ รถตู้โดยสาร เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม รฟม. ก็เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการลดการภาวะการขาดทุนของโครงการรถไฟฟ้าฯ โดย รฟม. อยู่ระหว่างดำเนินมาตรการเร่งรัดการเพิ่มจำนวนการใช้บริการรถไฟฟ้าและรายได้ ดังนี้

1. รฟม. อยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการจัดให้มีรถโดยสาร (Feeder Bus) เพื่ออำนวยความสะดวกในการรับและส่งประชาชนตามแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม และพื้นที่ใกล้เคียง เช่น แยกไทรน้อย สนามบินน้ำ ห้าแยกปากเกร็ด แคราย ตลิ่งชั่น ทั้งนี้ รฟม. อยู่ระหว่างการศึกษาเส้นทาง Feeder ที่เหมาะสม ซึ่งจะสามารถดำเนินการเป็นรูปธรรมประมาณกลางปี 2560

2. การดำเนินการเร่งรัดการเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าระหว่างสถานีเตาปูน – บางซื่อ ซึ่ง รฟม. จะลงนามสัญญาจ้างบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2560 และมีกำหนดแล้วเสร็จเดือนสิงหาคม 2560

3. การปรับลดอัตราค่าโดยสารจาก 14 – 42 บาท เป็น 14 -29 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559 เป็นต้นมา นอกจากรฟม. อยู่ระหว่างการพิจารณามาตรการเพิ่มเติม โดยการคิดค่าโดยสารในอัตรา 15 บาท ตลอดสายในช่วงวันหยุด ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2560 เป็นต้นไป ทั้งนี้จนกว่าการเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าระหว่างสถานีเตาปูน – บางซื่อ จะแล้วเสร็จสมบูรณ์

4. การศึกษาการออกผลิตภัณฑ์บัตรโดยสารรูปแบบใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการและพฤติกรรมของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า อาทิเช่น บัตรโดยสารรายเดือน บัตรโดยสารประเภทจำกัดเที่ยว เป็นต้น
5. การจัดให้มีการพัฒนาเชิงพาณิชย์ และบริการเสริมบริเวณสถานีและขบวนรถไฟฟ้า อาทิเช่น การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ร้านค้าปลีก เครื่องบริการถอนเงินอัตโนมัติ โทรคมนาคม ที่นั่งรอรถ เป็นต้น

6. การร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อจัดให้มีสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ใช้บริการ อาทิเช่น การใช้บัตรโดยสารรถไฟฟ้าเพื่อเป็นส่วนลดร้านค้าและบริการ การได้รับเครดิตเงินคืนจากการใช้บัตรชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้า เป็นต้น

7. การดำเนินกิจกรรม/โครงการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ อาทิเช่น การจัดงาน OTOP การจัดกิจกรรมร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย รวมถึงหน่วยงานส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

8. การสร้างการรับรู้เกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าให้กับประชาชนตามแนวสายทางรถไฟฟ้า อาทิเช่นหน่วยงานและโรงเรียนตามแนวสายทางรถไฟฟ้า ประชาชนตามแนวสายทางรถไฟฟ้า เป็นต้น
ท้ายสุดนี้ รฟม. ตระหนักดีถึงภาระหน้าที่ในการเร่งรัดก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้เป็นไปตามเป้าหมายและนโยบายของรัฐบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทางขนส่งของประชาชน และลดปัญหาวิกฤติจราจรในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม รฟม. ก็มิได้นิ่งนอนใจในการปรับปรุงการให้บริการเดินรถให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงการกำหนดมาตรการในการเพิ่มจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าให้มีมากยิ่งขึ้น เพื่อให้โครงการรถไฟฟ้าฯ มีความคุ้มค่าต่อการลงทุนมากที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 57, 58, 59 ... 120, 121, 122  Next
Page 58 of 122

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©