Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13262435
ทั้งหมด:13573715
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 64, 65, 66 ... 155, 156, 157  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 20/12/2016 9:36 pm    Post subject: Reply with quote

'บีทีเอส'ทุ่ม2หมื่นล้านตุนแลนด์แบงก์
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 20 ธันวาคม 2559, 09:15

“บีทีเอส” เร่งสยายปีกต่อยอดอสังหาฯขาย-เช่า หลังชนะประมูลรถไฟฟ้า 2 สาย สีเหลือง-ชมพู อัดงบเพิ่ม 2 หมื่นล้านซื้อที่ดิน

หลังจาก “บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์” ชนะประมูลรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง และสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี รวม 2 โครงการ ประมาณรวมกว่า 1 แสนล้านบาท กลายเป็นโอกาสต่อยอดการพัฒนาอสังหาฯ บริเวณเส้นทางแนวรถไฟฟ้าให้บีทีเอส ที่ประกาศพร้อมรุกขยายการลงทุนอสังหาฯทั้งเพื่อขาย และเช่า โดยผนึกพันธมิตร บมจ.แสนสิริ กินรวบอาณาจักรจากรถไฟฟ้า สู่อสังหาริมทรัพย์เกาะแนวรถไฟฟ้า

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (บีทีเอส) เปิดเผยว่า บริษัทจะรุกขยายการลงทุนอสังหาฯทั้งเพื่อขาย และเช่า ซึ่งจะเป็นต่อยอดการพัฒนาอสังหาฯตามแนวรถไฟฟ้าที่บีทีเอส ล่าสุดบริษัทชนะการประมูลรถไฟฟ้าอีก 2 สายคือ สายสีเหลือง และสายสีชมพู ระยะทาง 65 กิโลเมตร (กม.) ซึ่งสร้างโอกาสการพัฒนาอสังหาฯเพิ่มมากขึ้น

“ในอนาคตเราอยากให้รายได้จากธุรกิจอสังหาฯเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ได้กำหนดแน่ชัดว่าเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ โดยในปัจจุบันรายได้อสังหาฯมีสัดส่วนน้อยมากราว 10% โดยรายได้หลักยังมาจากการให้บริการเดินรถไฟฟ้า”

เพิ่มงบซื้อที่ดินใหม่2หมื่นล้าน

ทั้งนี้ ได้พิจารณาเพิ่มงบซื้อที่ดินใหม่ ของบริษัทร่วมทุนระหว่างบีทีเอส และบริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) ในช่วง 5 ปี (ปี 2558-2562) อีก 2 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่ดินที่มีอยู่แล้วมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท รวมเป็น 3 หมื่นล้านบาท เพื่อเพิ่มจำนวนที่ดินรองรับการพัฒนาโครงการอสังหาฯของบริษัทร่วมทุนกับบมจ.แสนสิริ หลังจากลงทุนขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ เพื่อรองรับการพัฒนาโครงการในอนาคต คาดว่าจำนวนการเปิดโครงการของบริษัทร่วมทุนแสนสิริ จะทำได้มากกว่าที่ตั้งไว้ 25 โครงการ และมูลค่าโครงการรวมคาดว่าจะมากกว่า 1 แสนล้านบาท หลังปัจจุบันบริษัทร่วมทุนได้เปิดโครงการไปแล้วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทั้งหมด 8 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 3 หมื่นล้านบาท

เล็งร่วมแสนสิริพัฒนาแนวราบ

“เราต้องการเก็บสะสมแลนด์แบงก์ให้มากขึ้น เพื่อรองรับการพัฒนาโครงการในอนาคต หลังจากบีทีเอสได้รถไฟฟ้าสายใหม่อีก 2 สายเพิ่มมา ทำให้เรามีระยะทางการเดินรถเพิ่มขึ้นอีก 65 กิโลเมตร จึงได้ตัดสินใจเพิ่มงบซื้อที่ดิน และมองถึงโอกาสของราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าปรับเพิ่มขึ้น หลังรถไฟฟ้าเริ่มพัฒนาแล้ว นอกจากนี้ในอนาคตก็จะยังมีโอกาสทำโครงการแนวราบ หรือดึงแสนสิริเข้าไปร่วมทุนในที่ดินที่บริษัทเป็นเจ้าของ”นายคีรี กล่าว

สำหรับการพัฒนาโครงการอสังหาฯเพื่อเช่า จะเป็นการลงทุนผ่านบริษัท ยู ซิตี้ จำกัด (มหาชน) หรือบริษัท แนเชอรัล พาร์ค จำกัด (มหาชน) หรือเอ็นพาร์คเดิมโดยจะพัฒนาโครงการที่พญาไท บนเนื่อที่ 7 ไร่ เป็นโครงการผสมผสาน (มิกซ์ยูส) ประกอบด้วย อาคารสำนักงานให้เช่า โรงแรมและเซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ และโครงการอาคารสำนักงานในย่านหมอชิต ด้านหลังโครงการ เดอะไลน์ จตุจักร-หมอชิต พื้นที่ 1.4 แสนตร.ม. มูลค่าประมาณ 8,000 - 9,000 ล้านบาท ส่วนโครงการแอ็บสแตร็กส์ พหลโยธิน ซึ่งเหลือการพัฒนาอีก 2 โครงการอยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะพัฒนาเอง หรือให้บริษัทร่วมทุนพัฒนา

ผนึก“จีแลนด์”พัฒนามิกซ์ยูส

นอกจากนี้ บริษัทยังได้ร่วมพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส กับ บมจ.แกรนด์ คาแนล แลนด์ หรือ G LAND บนพื้นที่กว่า 48 ไร่ย่านพหลโยธิน ซึ่งมีแผนจะพัฒนาเป็นค้าปลีก คอนโดมิเนียม โรงแรมและเซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ คาดจะชัดเจนในต้นเดือน ก.พ.2560 โดยในส่วนของศูนย์ค้าปลีกได้เจรจากับผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ในประเทศ 1 ราย เพื่อให้มาเช่าพื้นที่ของโครงการ ส่วนที่อยู่อาศัยอาจจะแบ่งขายที่ดินให้บริษัทร่วมทุนบีทีเอส-แสนสิริเพื่อนำไปพัฒนา โดยปัจจุบันมูลค่าที่ดินในพื้นที่ดังกล่าวอยู่ที่ 1 ล้านบาทต่อตร.ว.

พร้อมกันนี้ บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบของการพัฒนาที่ดินเปล่าในโครงการธนาซิตี้ ย่านบางนา จำนวน 400 ไร่ ซึ่งปัจจุบันรอความชัดเจนการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลที่เข้าถึงโครงการดังกล่าว

ร่วมกันเปิดอีก5โครงการปีหน้า

นายเศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ในปี 2560 บริษัทเปิดโครงการคอนโด ภายใต้บริษัทร่วมทุนระหว่างบีทีเอส-แสนสิริ อีก 5 โครงการ ซึ่งมีที่ดินรองรับการพัฒนาทั้งหมดแล้ว และเป็นโครงการที่อยู่ใกล้กับรถไฟฟ้า โดยปัจจุบันมีโครงการที่ได้เปิดไปแล้วทั้งหมด 8 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 3 หมื่นล้านบาท

นอกจากนี้บริษัทคาดว่าภายในอีก 18 เดือน จะเห็นความชัดเจนของแผนการพัฒนาโครงการแนวราบของบริษัทร่วมทุนระหว่างบีทีเอส-แสนสิริ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาและมองหาซื้อที่ดิน โดยบริษัทมองว่าการพัฒนาโครงการแนวราบอาจจะต้องพัฒนาในทำเลรอบนอกกรุงเทพฯ ซึ่งจะต้องเป็นทำเลที่มีรถไฟฟ้าเข้าถึง และกลุ่มลูกค้าที่สนใจซื้อโครงการแนวราบส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่ต้องการพักอาศัยออกมาในทำเลรอบๆ กรุงเทพฯ

“แสนสิริ”ตั้งเป้ารายได้ปี60โต5%

นายวันจักร์ บุรณศิริ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บมจ.แสนสิริ เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 2560 เติบโต 5% จากปีนี้ที่คาดว่ารายได้จะอยู่ที่ 3 หมื่นล้านบาท

โดยในปี 2560 จะทยอยรับรู้รายได้จากมูลค่ายอดขายรอโอน (Backlog) ในส่วนของแสนสิริ ไม่รวมBacklogจากบริษัทร่วมทุนกับบีทีเอส ทั้งหมด 8,000 ล้านบาท จากBacklogทั้งหมดในปัจจุบันที่ 1.7 หมื่นล้านบาท โดยBacklog ในส่วนที่เหลือจะทยอยรับรู้รายได้ไปถึงปี 2562 ขณะที่Backlogของบริษัทร่วมทุนกับบีทีเอสในปัจจุบันอยู่ที่ 2.07 หมื่นล้านบาท

ด้านยอดขายในปี 2560 บริษัทตั้งเป้าเติบโต 30-40% จากปีนี้ที่คาดว่าทำยอดขายได้อยู่ที่ 3.3 หมื่นล้านบาท โดยแผนการเปิดโครงการใหม่ในปี 2560 บริษัทจะประกาศอีกครั้งในงานแถลงแผนวันที่ 10 ม.ค. ซึ่งเบื้องต้นมี 1 โครงการที่บริษัทได้เลื่อนเปิดโครงการจากปีนี้ไปเป็นปี 2560 คือ โครงการคอนโดมิเนียม98 Wireless มูลค่าโครงการกว่า 8,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ บริษัทยังได้ตั้งเป้ายอดขายของลูกค้าชาวต่างชาติในปี 2560 อยู่ที่ 8,000 ล้านบาท จากปัจจุบันมียอดขายจากลูกค้าชาวต่างชาติอยู่ที่ 5,300 ล้านบาท โดยบริษัทได้เห็นถึงโอกาสความต้องการซื้อของลูกค้าชาวต่างชาติมากขึ้น โดยเฉพาะลูกค้าชาวฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกค้ากลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง และสนใจการลงทุนในโครงการที่ติดกับรถไฟฟ้า

ทั้งนี้ เนื่องจากสะดวกในการเดินทางเข้าที่พักอาศัย และราคาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยถือว่ามีราคาถูกเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยบริษัทคาดว่าจะเห็นการร่วมมือด้านการตลาดเพื่อการขยายฐานลูกค้าไปยังต่างประเทศเพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์มากขึ้นในช่วงไตรมาส1 ปี 2560

//-------------
ทริสฯ จัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ BTSC วงเงินไม่เกิน 2 หมื่นลบ. ที่ระดับ “A/Stable
--อินโฟเควสท์ โดย รัชดา คงขุนเทียน/วิลาวัลย์ โทร.02-2535000 อีเมล์:
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 2559 16:55:23 น.



ทริสเรทติ้งจัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันในวงเงินไม่เกิน 20,000 ล้านบาทของ บมจ. ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ที่ระดับ “A" ในขณะเดียวกันยังยืนยันอันดับเครดิตองค์กรของบริษัทที่ระดับ “A" ด้วย โดยแนวโน้มยังคง “Stable" หรือ “คงที่" ทั้งนี้ บริษัทจะนำเงินที่ได้จากการออกหุ้นกู้ชุดใหม่ไปใช้ในการจัดซื้อรถไฟฟ้าและลงทุนในระบบไฟฟ้าและเครื่องกล โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต

อันดับเครดิตสะท้อนถึงผลงานของบริษัทซึ่งเป็นที่ยอมรับในการเป็นผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้ารายแรกในประเทศไทย อัตรากำไรในระดับสูงและสม่ำเสมอจากการให้บริการเดินรถไฟฟ้าและธุรกิจสื่อโฆษณา และมีโอกาสสูงในการได้รับสัญญาบริการเดินรถและซ่อมบำรุงสำหรับโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ทั้งนี้ การลงทุนระบบไฟฟ้าและเครื่องกลของโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวจะเป็นการช่วยเพิ่มความเข็งแกร่งของสถานะทางธุรกิจของบริษัท

อย่างไรก็ตาม สถานะทางการเงินของบริษัทคาดว่าจะอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับประมาณการที่ผ่านมา โดยภาระหนี้ของบริษัทจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงการลงทุนและจะปรับตัวลงหลังจากการโอนระบบไฟฟ้าและเครื่องกลให้กับ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของกรุงเทพมหานครและเป็นผู้ว่าจ้างและเจ้าของโครงการในปี 2563 โดยบริษัทเป็นหน่วยธุรกิจหลักของ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ และเป็นผู้สร้างกระแสเงินสดและกำไรให้กับบริษัทบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ดังนั้น สถานะเครดิตของบริษัทและบริษัทบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จึงมีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก ปัจจุบันทริสเรทติ้งจัดอันดับเครดิตของบริษัทบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ที่ระดับ “A" และแนวโน้มอันดับเครดิต “Stable" หรือ “คงที่"

แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable" หรือ “คงที่" สะท้อนถึงการคาดการณ์ว่าบริษัทจะยังคงรักษาระดับกระแสเงินสดและอัตรากำไรจากการดำเนินงานในระดับสูงจากการให้บริการเดินรถไฟฟ้าและธุรกิจสื่อโฆษณา โดยคาดว่าการพัฒนาโครงการใหม่จะราบรื่นและตรงตามตารางเวลา โดยอันดับเครดิต และ/หรือ แนวโน้มอันดับเครดิตอาจถูกปรับลดลงหากสถานะทางการเงินของบริษัทและกลุ่มบีทีเอสอ่อนแอ่ลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับประมาณการ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการลงทุนที่มีการใช้เงินกู้จำนวนมาก และ/หรือ ผลการดำเนินงานของกลุ่มบีทีเอสปรับตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ โอกาสในการปรับอันดับเครดิตเพิ่มขึ้นของบริษัทยังอยู่ในวงจำกัดจากแผนลงทุนจำนวนมากในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า

เนื่องจากบริษัทถือเป็นบริษัทย่อยของบริษัทบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ อันดับเครดิตของบริษัทจึงสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับอันดับเครดิตของบริษัทบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ดังนั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงใดในอันดับเครดิตของบริษัทบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ก็จะส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตของบริษัทด้วยเช่นกัน

ในเดือนมิถุนายน 2559 บริษัทได้ลงนามสัญญากับบริษัทกรุงเทพธนาคมในการซื้อขายและติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกลสำหรับโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาท ในขณะเดียวกัน บริษัทได้ลงนามในสัญญาแบบเหมารวมราคาเพื่อจัดหาและติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกลกับกลุ่มบริษัทซึ่งได้แก่ Bombardier Transportation Signal (Thailand) Ltd., ST Electronics (Thailand) Ltd., และ AMR Asia Co., Ltd. ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุน โดยบริษัทกรุงเทพธนาคมจะชำระราคาทั้งหมดรวมถึงค่าดอกเบี้ยของโครงการให้กับบริษัทภายในระยะวลา 4 ปี หรือสามารถขยายระยะเวลาในการชำระราคาเพิ่มได้ 2 ปี

บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพก่อตั้งในปี 2535 เพื่อก่อสร้างและดำเนินงานระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพหรือระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสภายใต้สัญญาสัมปทานเป็นเวลา 30 ปี (2542-2572) จากกรุงเทพมหานครซึ่งมีอันดับเครดิตที่ระดับ “AA+" และแนวโน้มอันดับเครดิต “Stable" หรือ “คงที่" จากทริสเรทติ้ง ภายใต้ข้อกำหนดในสัญญาสัมปทาน บริษัทได้รับสิทธิในการจัดเก็บรายได้ค่าโดยสารรวมทั้งกิจกรรมเชิงพาณิชย์อื่น ๆ ทั้งหมดในสถานีในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส (เส้นทางหลัก) ระยะทาง 17 กิโลเมตรของสายสุขุมวิท (หมอชิต-อ่อนนุช) และระยะทาง 6.5 กิโลเมตรของสายสีลม (สนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน) โดยบริษัทบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ได้ซื้อกิจการของบริษัทในเดือนพฤษภาคม 2553 และถือหุ้นในสัดส่วน 97.46% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2559 บริษัทได้รับสัญญาให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงอายุ 30 ปี (2555-2585) จากบริษัทกรุงเทพธนาคม โดยสัญญาดังกล่าวกำหนดให้บริษัทเป็นผู้ให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีลม (วงเวียนใหญ่-บางหว้า) ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท (อ่อนนุช-แบริ่ง) และเส้นทางหลักหลังจากครบกำหนดอายุสัญญาสัมปทานในปี 2572 ทั้งนี้ ในปี 2556 บริษัทได้จำหน่ายรายได้ค่าโดยสารสุทธิในอนาคตของระบบรถไฟฟ้าในเส้นทางหลักให้แก่กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท (BTSGIF) มูลค่า 61,000 ล้านบาท

สำหรับกิจกรรมเชิงพาณิชย์อื่น ๆ นั้น บริษัทดำเนินการผ่านบริษัทย่อยคือ บริษัท วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) (วีจีไอ) ซึ่งให้บริการสื่อโฆษณาและใช้เช่าพื้นที่ร้านค้าบนระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยปัจจุบัน วีจีไอได้ขยายธุรกิจสู่การให้บริการสื่อโฆษณานอกบ้านด้วย นอกจากนี้ บริษัทยังให้บริการระบบตั๋วเก็บค่าโดยสารผ่าน บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยอีกด้วย สำหรับปีงบประมาณ 2559 (เมษายน 2558-มีนาคม 2559) รายได้ของบริษัทประกอบด้วยรายได้จากธุรกิจสื่อโฆษณาคิดเป็นสัดส่วน 41% รายได้จากการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง 41% ส่วนรายได้ส่วนที่เหลือมาจากรายได้จากการให้บริการอื่น ๆ

ในปีงบประมาณ 2559 รายได้ของบริษัทลดลงเป็น 4,001 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ 4,952 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2558 รายได้ของบริษัทปรับลดลงเนื่องจากบริษัทได้ยกเลิกธุรกิจสื่อโฆษณาในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2560 แม้ว่ารายได้จากธุรกิจสื่อโฆษณาจะปรับตัวลดลง แต่รายได้รวมของบริษัทยังคงเพิ่มขึ้น 4.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาเป็น 1,053 ล้านบาทตามการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงและรายได้จากการให้บริการอื่น ๆ โดยอัตรากำไรจากการดำเนินงานของบริษัทยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 45%-55% ในปีงบประมาณ 2557 ถึงช่วงไตรมาสแรกของปี 2560

ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2559 อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนอยู่ที่ระดับ 6.8% ทั้งนี้ คาดว่าสถานะทางการเงินของบริษัทในอนาคตจะอ่อนตัวลงจากระดับปัจจุบัน สำหรับปี 2560-2562 ทริสเรทติ้งคาดว่ารายได้ของบริษัทจะอยู่ระหว่าง 5,000-6,500 ล้านบาท โดยที่อัตรากำไรจากการดำเนินงานจะอยู่ในระดับที่สูงกว่า 40% เนื่องจากบริษัทมีแผนที่จะออกหุ้นกู้ชุดใหม่เพื่อใช้ในการจัดซื้อรถไฟฟ้าและลงทุนโครงการระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ดังนั้น อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับประมาณ 50% โดยอัตราส่วนเงินกู้รวมสุทธิต่อกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับ 6-7 เท่าในช่วงการลงทุนแต่จะปรับตัวลงต่ำกว่าระดับ 3.5 เท่าหลังจากโครงการสำเร็จ

บริษัทมีสภาพคล่องที่แข็งแกร่งจากการมีเงินสดในมือจำนวน 1,660 ล้านบาทรวมถึงเงินลงทุนระยะสั้นและระยะยาวจำนวน 5,882 ล้านบาท แม้ว่ากระแสเงินสดของบริษัทจะปรับตัวลดลงอย่างมากหลังจากการจัดตั้ง BTSGIF แต่อัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมก็ปรับตัวดีขึ้นจาก 43.3% ในปีงบประมาณ 2556 เป็น 101.7% ในปีงบประมาณ 2559 ตามเงินกู้รวมที่ลดลง อัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้นจาก 6.6 เท่าในปีงบประมาณ 2556 เป็น 10.0 เท่าในปีงบประมาณ 2559 สำหรับช่วงไตรมาสแรกของปี 2560 บริษัทมีเงินทุนจากการดำเนินงาน 605 ล้านบาท โดยอัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมและอัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายอยู่ที่ระดับ 89.7% (ปรับเป็นอัตราส่วนเต็มปีด้วยตัวเลข 12 เดือนย้อนหลัง) และ 12.2 เท่าตามลำดับ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2559 บริษัทยังมีวงเงินสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ อีกประมาณ 5,160 ล้านบาท โดยมีภาระในการชำระหนี้ในช่วง 12 เดือนข้างหน้าประมาณ 1,395 ล้านบาทและมีภาระหนี้ระยะสั้นจำนวน 440 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 20/12/2016 9:40 pm    Post subject: Reply with quote

BTS คาดจำนวนผู้โดยสารงวดปี 59 (สิ้น มี.ค.60) โต 4-5%, แตะ 1 ล้านเที่ยว/วันหลังวิ่งสายสีเขียวส่วนขยาย

--อินโฟเควสท์ โดย เสาวลักษณ์ อวยพร/ศศิธร/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2559 13:46:02 น.

นายอาณัติ อาภาภิรม กรรมการ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) คาดว่า จำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสงวดปีนี้ (เม.ย.59- มี.ค.60)เติบโต 4-5% โดยปัจจุบันยอดผู้โดยสารขึ้นสูงสุดในวันศุกร์จำนวนกว่า 8 แสนเที่ยว/วัน ขณะที่วันธรรมดา (จันทร์-พฤหัสบดี) มีจำนวนผู้โดยสาร เฉลี่ย 7.5. แสนเที่ยว/วัน ส่วนวันเสาร์มีจำนวน 6.5 แสนเที่ยว/วัน และวันอาทิตย์มีผู้โดยสาร 5.5 แสนเที่ยว/วัน

นอกจากนี้ บีทีเอสอยู่ระหว่างเตรียมเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 2 ช่วง คือ สายสีเขียวเหนือ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และสายสีเขียวใต้ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต คาดว่าจะทำให้จำนวนผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นเป็น 8-9 แสนเที่ยว/วันหลังจากเดินรถสายสีเขียวเหนือ และจะมีจำนวนผู้โดยสาร ขึ้นแตะรับ 1 ล้านเที่ยว/วันหลังจากเดินรถสายสีเขียวใต้ภายใน 1-2 ปีข้างหน้า

ปัจจุบัน บีทีเอส มีรถไฟฟ้า 50 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ และได้สั่งรถใหม่แล้วจำนวน 46 ขบวน และยังสามารถเพิ่มเป็น 6 ตู้/ขบวนได้

ด้านนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ และ ประธานคณะกรรมการบริหาร BTS กล่าวว่า บีทีเอส เตรียมลงนามสัญญาว่าจ้างเดินรถกับ กทม.เร็ว ๆ นี้ คาดว่าจะเริ่มเดินรถสายสีเขียว 1 สถานีในเดือน ธ.ค.59

ส่วนการเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรงนั้น นายคีรี กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณาเพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่ถึง 2 โครงการ มูลค่าราว 1 แสนล้านบาท แต่เบื้องต้นเห็นว่าเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีลักษณะเข้มงวดมาก ขณะที่รายได้จากการเก็บค่าโดยสารถูกกำหนดจากหน่วยงานรัฐ ซึ่งเท่าที่ประเมินกว่าจะคืนทุนได้ต้องใช้ระยะเวลา 13-16 ปี

นอกจากนี้ การประเมินจำนวนผู้โดยสารของบริษัทต่ำกว่าการประเมินของที่ปรึกษา รฟม.ที่คาดวาจะมีจำนวนผู้โดยสารปีแรกที่ 1.5 แสนเที่ยว/วัน และปีถัดไปขึ้นไปเป็น 3 แสนเที่ยว/วัน ทั้งสายสีชมพูและสีเหลือง ทั้งนี้ บีทีเอส มีประสบการณ์เดินรถมากกว่า 10 ปี

นายคีรี กล่าวว่า จากกรณียอดผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน ไม่ได้ตามเป้าหมายที่ รฟม.คาดการณ์ไว้ เป็นจุดที่บริษัทต้องใช้ความระมัดระวังในส่วนรายได้ที่อาจไม่ได้เป็นไปอย่างที่วางแผนไว้ จึงต้องพิจารณาความเหมาะสมว่าจะลงทุนในรถไฟฟ้าทั้งสองเส้นทางใหม่เท่าใด แต่ยืนยันว่าจะเข้าร่วมประมูลแน่นอน และจะนำการตัดสินใจสุดท้ายเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทต่อไป

"บีทีเอสมีธุรกิจหลัก คือ ลงทุนรถไฟฟ้า บริหารเดินรถไฟฟ้า บีทีเอส ถือเป็นธุรกิจ เป็นหน้าที่เรา ณ วันนี้เราไปประมูล 100% แต่จะกล้าลงขนาดไหน...เรายังไม่ได้ตัดสินใจสุดท้าย ยังเหลือเวลา 5 อาทิตย์ ต้องเข้าบอร์ดพิจารณาตัวเลขสุดท้าย"นายคีรี กล่าว

นายคีรี กล่าวว่า การเดินรถเส้นทางใหม่จำเป็นต้องมีจุดหมายปลายทางที่จูงใจผู้โดยสาร โดยทั้งรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลืองก็มีบ้าง และมีโอกาสพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ และศูนย์การค้า ซึ่งในช่วง 8 ปีแรกควรจะเกิด ซึ่งจะเป็นส่วนที่ช่วยเพิ่มจำนวนผู้โดยสารด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 20/01/2017 6:29 pm    Post subject: Reply with quote

ครูมหาไถ่ พิการครึ่งท่อน ยื่นฟ้องกทม. เพิกเฉย-ไม่สร้างลิฟต์รถไฟฟ้าBTS
โดย ไทยรัฐออนไลน์
20 มกราคม 2560 16:35


98 ผู้พิการ ยื่นฟ้องแพ่งกทม.ไม่สร้างลิฟท์ขึ้นบีทีเอส23สถานี เรียกค่าเสียหายวันละ1,000บ.ต่อคน(คลิป)
มติชน
วันที่: 20 มกราคม 2560 เวลา: 14:18 น.



เมื่อเวลา 11.00น.วันที่ 20 มกราคม ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก นายสุพรธรรม มงคลสวัสดิ์ อายุ 50 ปี ผู้พิการเหลือร่างกายท่อนบน ครูและเลขานุการโรงเรียนวัดมหาไถ่ พร้อมกลุ่มพิการรวม 98 คนได้เดินทางมาโดยรถวีลแชร์ จากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) ลาดพร้าว มายังศาล เพื่อยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร เป็นจำเลย เรื่องกระทำละเมิด เรียกค่าเสียหายจากกรณีที่ กรุงเทพมหานคร ไม่ดำเนินการสร้างลิฟท์อำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการในการใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยเร็วตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ขณะที่ยื่นฟ้องครั้งนี้ กลุ่มผู้พิการยังยื่นคำร้องขอยกเว้นการวางเงินค่าธรรมเนียมศาลด้วย โดยอ้างสิทธิ์ ตามพ.ร.บ.คนพิการ โดยคำฟ้องบรรยายพฤติการณ์ความเสียหายสรุป ว่า นายสุพรชัย โจทก์ พิการเป็นโปลิโอ ขาอ่อนแรงต้องตัดขาทั้งสองออก ซึ่งเป็นคนพิการตามนัยของพ.ร.บ.คนพิการฯ ที่มีข้อจำกัดไม่อาจใช้ชีวิตประจำวันเหมือนคนทั่วไป ส่วนกรุงเทพมหานคร จำเลย มีอำนาจหน้าที่ในการจัดวิศวกรรมจราจร การขนส่ง การควบคุมอาคาร สาธารณูปโภค มีพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง เป็นผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร ซึ่งจำเลยได้จัดให้บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ บริการสาธารณะ คือรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยโจทก์เรียกร้องให้จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ เช่น ลิฟท์ เพื่อเป็นหลักประกันในสิทธิ เสรีภาพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จะได้ใช้ชีวิตเท่าเทียมคนทั่วไปเพราะโจทก์เดือดร้อน ทั้งนี้ก็เพราะไม่มีการทำลิฟท์รับส่งคนพิการให้ครบ 23 สถานี และไม่จัดทำอุปกรณ์อำนวนความสะดวกแก่ความพิการ


โจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครอง และศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาให้จัดทำลิฟท์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ภายใน 1 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษา ซึ่งครบกำหนด 21 มกราคม 2559 ทั้งนี้เมื่อศาลปกครองมีคำพิพากษาแล้ว ทำให้เกิดการรับรองสิทธิ์ของโจทก์ตามกฎหมาย แต่จำเลยก็ยังไม่ปฏิบัติ ซึ่งมีลิฟท์ที่ใช้ได้เพียง 3 สถานี ที่เหลือไม่มีและไม่ครบถ้วน อีกทั้งยังไม่จัดให้มีจุดจอดรถคนพิการ โดยจำเลยเพิกเฉยไม่เห็นความสำคัญของการแก้ปัญหา ทั้งที่เป็นหน่วยงานรัฐมีอำนาจบังคับแก่หน่วยสาธารณูปโภคต่างให้ปฏิบัติกลับละเลย ถือว่าเป็นการจงใจละเมิดโจทก์ ที่ต้องเสียหายจากการมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การไม่ได้รับความสะดวกต่างๆ ที่คำนวณเป็นเงินวันละ 1,000 บาท รวม 361,000บาท ต่อ 1 คน โจทก์ จึงมาฟ้องคดีเพื่อขอให้ศาลบังคับจำเลยตามฟ้องด้วย

ภายหลังนายวรกร ไหลหรั่ง ทนายความโจทก์ เปิดเผยว่า ป่วยเป็นโรคขาอ่อนแรง ต้องใช้ชีวิตบนรถเข็น จึงรวมตัวกันมาได้ 98 คน จาก 200 คน เดินทางมาศาลแพ่งเพื่อยื่นฟ้องคดี

ด้านนายธีรยุทธ สุคนธวิท ประธานเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ (Transport for All) เปิดเผยว่า เครือข่ายคนพิการรวมตัวฟ้อง กทม.ต่อศาลแพ่ง กรณีที่กรุงเทพมหานาคร ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครอง ที่ระบุให้มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการ โดยเฉพาะการสร้างลิฟต์ จำนวน 23 สถานี ภายในเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2558 ซึ่งจากระยะเวลาตอนนี้ครบ 2 ปีแล้ว แต่สิ่งที่เห็นคือ โครงร่างการก่อสร้างเท่านั้น โดยเมื่อปีที่แล้วหลังครบเวลาคำสั่งศาล เครือข่ายฯได้สอบถามไปยัง กทม.เคยประกาศว่าจะสร้างให้เสร็จภายในเดือน กันยายน 2559 แต่ก็ไม่ได้มีความคืบหน้ามากนัก และ กทม.กลับไม่เร่งดำเนินการ จึงรวมตัวมาทวงถามอีกครั้ง เพราะมันคือความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างยาวนาน

อย่างไรก็ตาม เครือข่ายฯ ต้องการสื่อไปถึงผู้บริหาร กทม.ว่า ลิฟต์เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะคนพิการหรือคนที่ต้องใช้รถเข็นไม่สามารถนำรถเข็นขึ้นบันไดได้ จึงอยากให้ กทม.เร่งแก้ปัญหาดังกล่าว เพราะเป็นปัญหาที่ค้างคามานานมากตั้งแต่ปี 2538 ที่มีการสร้างรถไฟฟ้าบีทีเอสและในวันนี้ทางเครือข่ายฯจะเดินทางไปยังศาลแพ่ง เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายวันละ 1,000 บาทต่อคนต่อวัน หากชนะคดีจะนำเงินที่ได้ไปไว้เพื่อใช้สร้างสาธารณูปโภคเพื่อคนพิการต่อไป
https://www.youtube.com/watch?v=Y6HscwZIQU4
//---------------------

"กทม.แจงเหตุสร้างลิฟต์ BTS ล่าช้า เหตุติดระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน
เรื่องโดย ธนัชพงศ์ คงสาย |
ภาพโดย กุลพันธ์ ศิริพิมพ์อัมพร / NationPhoto
20 มกราคม 2560 16:53 น.

กทม.แจงเหตุสร้างลิฟต์ล่าช้า เหตุติดระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน เผยเม.ย.นี้แล้วเสร็จ สถานีพร้อมพงษ์-ราชดำริ-ทองหล่อ ก่อนเสร็จทุกสถานีสิ้นปี 60

20 ม.ค. 60 -  นายสุธน อาณากุล รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.) กรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวถึงกรณีกลุ่มผู้พิการรวมตัวฟ้องศาลแพ่งรัชดาเรียกร้องค่าเสียหายหลังศาลปกครองพิพากษาให้กทม.สร้างลิฟต์สถานีรถไฟฟ้าอำนวยความสะดวกแต่ขณะนี้ไม่มีความคืบหน้าทำให้เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางว่าที่ผ่านมาสจส.ได้ว่าจ้างบริษัทเสรีการโยธาจำกัดเป็นผู้ติดตั้งลิฟท์เพื่อผู้พิการสำหรับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส 19 สถานี จาก 23 สถานี จำนวน 56 ตัว ในสถานีที่ยังไม่มีลิฟท์เพื่อผู้พิการวงเงิน350ล้านบาทเมื่อปี 2558 โดยมีกำหนดแล้วเสร็จใน 1 ปี แต่ปรากฎว่าถึงขณะนี้งานยังไม่แล้วเสร็จเนื่องจากปัญหาทางกายภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจุดก่อสร้างลิฟท์ไม่เอื้อต่อการสร้าง เพราะเมื่อขุดดินลงไปจะกระทบกับสาธารณูปโภค อาทิ ท่อระบายน้ำ ท่อไฟฟ้า ซึ่งมีความจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายเป็นจำนวนมาก ส่วนบางสถานียังมีปัญหาโครงสร้างบางจุด ไม่ได้สร้างมาเพื่อรองรับน้ำหนักกรณีก่อสร้างลิฟท์ รวมถึงบริษัทรับเหมาประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินด้วย

นายสุธน กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาสจส.ได้ก่อสร้างลิฟท์ไปได้แล้วเสร็จ 12 ตัว แต่ก็ยังไม่เคยเปิดใช้บริการ เนื่องจากยังไม่สมบูรณ์ เพราะเป็นแค่ลิฟท์ที่วิ่งไปถึงแค่ชั้น 2 ในช่องขายตั๋วเท่านั้น เพราะจากชั้นขายตั๋วชั้น 2 ไปชั้น 3 ที่ชานชาลายังไม่เสร็จ จึงไม่กล้าเปิดใช้ อย่างไรก็ตาม ภายในเดือนเม.ย.นี้ การก่อสร้างจะแล้วเสร็จที่สถานีพร้อมพงษ์ ราชดำริ และทองหล่อ ทั้งนี้ขอให้เข้าใจว่ากทม.ต้องการให้งานแล้วเสร็จเร็วที่สุด แต่งานการก่อสร้างพบปัญหา เพราะชั้นใต้ดินกรุงเทพฯยุ่งเหยิงไปด้วยสาธารณูปโภค ที่ไม่ได้เตรียมการรองรับสิ่งปลูกสร้างใหม่ๆไว้ อาทิ ที่สถานีศาลาแดง ติดปัญหามากมาย เพราะหากเคลื่อนย้ายสาธารณูปโภคไม่ว่าจะเป็นท่อระบายน้ำ ท่อไฟฟ้า ไม่ดี จะเสี่ยงต่อไฟฟ้าดับ และน้ำท่วมเมื่อฝนตกทั่วพื้นที่สีลม

" ภายในสิ้นปี 2560 สจส.จะก่อสร้างลิฟท์ผู้พิการแล้วเสร็จทั้งหมด ยกเว้นที่สถานีตากสินแห่งเดียว ที่ยังคงจะต้องรอข้อสรุปกับทางกรมทางหลวงชนบท ในฐานะเจ้าของพื้นที่ในเรื่องการตกลงขอใช้พื้นที่ก่อสร้างขยายตัวสถานีให้ใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับการทำเป็นทางวิ่งรถไฟฟ้าแบบรางคู่ ซึ่งที่ผ่านมายืดเยื้อมานานยังไม่ได้ข้อสรุป"นายสุธน กล่าว"


Last edited by Wisarut on 21/01/2017 11:32 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 21/01/2017 11:27 pm    Post subject: Reply with quote

แต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด
มติชน
วันที่: 22 ธันวาคม 2559 เวลา: 18:22 น.

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในฐานะผู้บริหารกทม.ที่ถือหุ้นใหญ่ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ได้เข้าร่วมประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2560 ที่ บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด อาคารซีดับเบิ้ลยู รัชดาฯ-ห้วยขวาง

ภายหลังการประชุม นายมานิต เตชอภิโชค กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท กรุงเทพธนาคม(เคที) จำกัด เปิดเผยว่า พล.ต.อ.อัศวิน ได้มอบนโยบาย “NOW ผลักดันทันใจ แก้ไขทันที” ในภารกิจที่เคที ได้รับมอบหมายโดยเฉพาะระบบขนส่งมวลชน ล้อ ราง เรือ ประกอบด้วย โครงการถโดยสารด่วนพิเศษ BRT เรือคลองภาษีเจริญ รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ซึ่งผู้ว่ากทม.ยินดีให้การสนับสนุนในการขับเคลื่อนทุกโครงการ เพื่อให้ประชาชนมีความสุข จากบริการสาธารณะที่ดี พร้อมทั้งได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ ประกอบด้วย 1.นายนายบัณฑิต ศิริตันหยง 2.พ.ต.อ.พิชัย เกรียงวัฒนศิริ 3.นายมานิต เตชอภิโชค 4.พล.ต.ท.วิสนุ ปราสาททองโอสถ 5.นายธนู หุ่นนิวัฒน์ 6.นายกิติศักดิ์ อร่ามเรือง 7.นายจุฬาพงษ์ รัตนตรัยวงศ์ 8.นางสาวสิริกมล อุดมผล 9.นายกฤษดา กวีญาน 10.ปิยะ พูดคล่อง ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที 22 ธันวาคม 2559 เป็นต้นไป โดยจะมีการแต่งตั้งประธานกรรมการ ในการประชุมครั้งต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 22/01/2017 2:42 pm    Post subject: Reply with quote

บีทีเอส-บางกอกแลนด์ พลิกธุรกิจอสังหาฯ ครั้งใหญ่
Submitted by Suporn Saetang
Goto manager
6 มกราคม 2560 - 15:18



การประกาศชัยชนะในการประมูล “โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง” ของกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง 3 ยักษ์ใหญ่ คือ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านการให้บริการระบบขนส่งมวลชน บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านธุรกิจผลิตพลังงานครบวงจร ถือเป็นความสำเร็จอีกครั้งของ “คีรี กาญจนพาสน์”

เพราะไม่ใช่แค่การผนึกกำลังเพื่อกระจายความเสี่ยงจากบทเรียนในอดีต การทุ่มเงินลงทุนหลายหมื่นล้านบาท ผุดโครงการรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทยและแบกรับผลกระทบจากวิกฤต “ลดค่าเงินบาท” ไม่ไหว ต้องเข้าแผนฟื้นฟูกิจการอยู่นานหลายปี ซึ่งยุทธศาสตร์การลงทุนรอบใหม่นี้ คีรีดึง 2 ยักษ์เข้ามาร่วมเสริมความแข็งแกร่ง โดยแยกสัดส่วนการถือหุ้น คือ บีทีเอส 75% บมจ.ซิโน-ไทยฯ ของตระกูลชาญวีรกูล 15% และ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งที่แตกไลน์ธุรกิจรถไฟฟ้าอีก 10%

ทั้ง 3 บริษัทจะใช้เงินลงทุนรถไฟฟ้า 2 สายประมาณ 1 แสนล้านบาท มาจากการใส่เม็ดเงินร่วมกัน 28,000 ล้านบาท จัดตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ ส่วนที่เหลือ 72,000 ล้านบาทจะมาจากเงินกู้ โดยสัญญาสัมปทานมีอายุ 33 ปี 3 เดือน คือ ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน และระยะเวลาเดินรถ 30 ปี

ที่สำคัญ ชัยชนะจากโครงการรถไฟฟ้าทั้งสองสายหมายถึง “จุดเปลี่ยน” การพลิกโฉมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครั้งใหญ่ของตระกูลกาญจนพาสน์ ทั้งภายใต้ “บีทีเอส กรุ๊ป” และบริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ “บีแลนด์” ของ “อนันต์ กาญจนพาสน์” ด้วย

คีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บีทีเอส ในฐานะที่ลงทุนทำธุรกิจด้านรถไฟฟ้ามากว่า 25 ปี โดยเริ่มโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสตั้งแต่ปี 2535 และเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทยในปี 2542 เดินรถมากว่า 17 ปี โดยฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ มากมาย เนื่องจากเป็นรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทยจนมาถึงวันนี้

แน่นอนว่า ประสบการณ์อันเลวร้ายทางธุรกิจทำให้คีรีรอบคอบมากขึ้นและใช้ยุทธศาสตร์การลงทุนสร้างความเชื่อมโยงเพื่อเพิ่มผลประโยชน์มากขึ้น นั่นคือเหตุผลสำคัญที่กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ต้องยื่นข้อเสนอเพิ่มเติมจากขอบเขตโครงการเดิม เพื่อเอื้อธุรกิจในเครือ โดยในโครงการสายสีชมพูเสนอต่อเส้นทางระยะทาง 2.8 กิโลเมตรจากสถานีศรีรัชบนถนนแจ้งวัฒนะ เข้าไปยังเมืองทองธานี เนื่องจากมีประชากรอยู่หนาแน่น มีส่วนงานราชการและศูนย์การประชุมและแสดงสินค้า IMPACT ซึ่งเป็นศูนย์ขนาดใหญ่ระดับประเทศ มีคนเข้างานถึง 15 ล้านคน

ในส่วนนี้ บีแลนด์จะรับผิดชอบวงเงินลงทุน 1,250 ล้านบาท ก่อสร้างระบบราง เฉพาะเส้นทางต่อขยายเข้าสู่เมืองทองธานี และก่อสร้างสถานีรับ-ส่ง ผู้โดยสาร จำนวน 2 สถานี และเตรียมเงินอีก 10 ล้านบาทต่อปี เพื่อใช้จ่ายในการดำเนินงาน และการบำรุงรักษาตลอดระยะเวลา 30 ปี ซึ่งทั้งหมดจะทำให้อาณาจักรเมืองทองธานี เนื้อที่กว่า 3,000 ไร่ กลายเป็นทำเลทองที่น่าสนใจที่สุดและมีศักยภาพสูงขึ้นอีกหลายเท่า

ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา อนันต์ กาญจนพาสน์ ในฐานะประธานกรรมการ บางกอกแลนด์ ใช้ความพยายามมากกว่า 20 ปี เพื่อสร้าง “เมืองทองธานี” ให้เป็นอาณาจักร “Bangkok of the Future” แต่เจอวิกฤตเศรษฐกิจและการเมืองกระหน่ำซ้ำหลายรอบ

ปัจจุบัน อาณาจักรเมืองทองธานีมีทั้งโครงการที่อยู่อาศัย มหาวิทยาลัย ศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้าอิมแพ็ค สำนักงานธนาคารกสิกรไทย บีไฮฟ ไลฟ์สไตล์ มอลล์ ซึ่งเป็นไลฟ์สไตล์มอลล์แห่งแรกในเมืองทองธานี โดยการลงทุนของบริษัท บางกอกแลนด์ฯ ใช้งบประมาณกว่า 800 ล้านบาท โรงแรมโนโวเทล ขนาด 380 ห้อง และมารีน่าคอมเพล็กซ์ จัดแสดงสินค้าเรือยอชต์ 2 ทุ่น จอดได้ 36 ลำ บนที่ดิน 10 กว่าไร่ริมทะเลสาบ

ขณะที่ในปี 2560 จะมีโครงการใหม่แล้วเสร็จอีกหลายส่วน ได้แก่ สำนักงานให้เช่า คอสโม ออฟฟิศ พาร์ค สูง 11 ชั้น พื้นที่เช่า 5 หมื่น ตร.ม. อาคารจอดรถและรีเทล คอสโม บาซาร์ ที่จอดรถ 2,000 คัน พื้นที่รีเทล 7,000 ตร.ม. โรงแรมไอบิส อิมแพ็ค แบงคอก ขนาด 600 ห้อง รวมถึงมีพื้นที่ 10 ไร่ ที่ตัดขายให้มหาวิทยาลัยศิลปากรสร้างแคมปัสใหม่ ซึ่งสามารถรองรับนักศึกษาราว 4,000 คน

นอกจากนี้ บริษัทบางกอกแลนด์มีแผนพัฒนาสวนน้ำ วอเตอร์ ธีม พาร์ค บนที่ดินริมทะเลสาบ 500 ไร่ เพื่อเป็นแม็กเน็ตชิ้นใหม่ดึงดูดผู้คน หลังจากเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เปิดตัว “อิมแพ็ค สปีด พาร์ค” สนามโกคาร์ทแห่งใหม่มาตรฐานโลก พร้อมตัวรถโกคาร์ทระบบไฟฟ้ารุ่น RTX จากค่าย SODI ผู้ผลิตแบรนด์ยักษ์ระดับโลก ซึ่งเป็นการเปิดตัวครั้งแรกในประเทศไทย จำนวน 30 คัน บริเวณอิมแพ็ค เลคไซด์

ขณะเดียวกัน ความสำเร็จของ บีไฮฟ ไลฟ์สไตล์มอลล์ ที่มีลูกค้าใช้บริการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากปีแรกเฉลี่ยวันละ 3,000 คน เป็น 4,000-5,000 คนและจะเพิ่มมากขึ้นอีก กระตุ้นต่อมการลงทุนของอนันต์ลุยโครงการค้าปลีกแห่งใหม่ เพื่อรองรับกลุ่มผู้อยู่อาศัยในเมืองทองธานี ที่มีอยู่ราว 1.8 แสนคน รวมถึงผู้มาใช้บริการศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค ซึ่งแต่ละปีมีการจัดงานหมุนเวียน 800-1,000 งาน มีผู้เข้าชมงาน 10-15 ล้านคนต่อปี โดยกำลังศึกษาและกำหนดรูปแบบการลงทุนให้มีความแตกต่างจากคู่แข่งค้าปลีกรายใหญ่ในย่านเดียวกัน ทั้งเซ็นทรัล พลาซา แจ้งวัฒนะ โรบินสัน ศรีสมาน

กุลวดี จินตวร ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท บางกอกแลนด์ฯ กล่าวว่า บริษัทวางแผนการพัฒนาที่ดินภายในโครงการเมืองทองธานีต่อเนื่อง บนที่ดินกว่า 700ไร่ จากที่พัฒนาไปแล้ว 2,300 ไร่ โดยเน้นพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อเช่าเป็นหลัก จากเดิมเน้นพัฒนาอสังหาฯ เพื่อขายอย่างเดียว เนื่องจากต้องการสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่การขายขาด และเป็นการพัฒนาตามนโยบายของอนันต์ คือ เฟสแรก เน้นที่อยู่อาศัยเพื่อขาย เฟส 2 ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพค และเฟส 3 หลังจากนี้ ใส่จิ๊กซอว์ตัวใหม่เติมเต็มโครงการด้านสิ่งอำนวยความสะดวก พักผ่อน และความบันเทิง โดยจะปักหลักพัฒนาโครงการในเมืองทองธานีเป็นหลัก

ด้านบีทีเอส กรุ๊ป ซึ่งคีรีประกาศบุกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทั้งที่ร่วมทุนกับกลุ่มแสนสิริและพัฒนาเองในนามบริษัท ยูซิตี้ ทั้งโครงการคอนโดมิเนียม โรงแรม และสนามกอล์ฟ

คีรีเองยอมรับกับสื่อทุกครั้งว่า การดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ผ่านมาอาจขาดความเชี่ยวชาญในแง่การสร้างแบรนด์และการทำตลาดในประเทศไทย จนตัดสินใจร่วมทุนกับบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) โดยล่าสุดเตรียมแผนพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมในแนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชน จำนวน 25 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 1 แสนล้านบาท ในระยะเวลา 5 ปีจากนี้

แต่เขาไม่เคยทิ้งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของบีทีเอส กรุ๊ป แม้ปัจจุบันสามารถสร้างสัดส่วนรายได้เพียง 14% จากรายได้จากการดำเนินงานทั้งหมด โดยหยิบยกชื่อโครงการธนาซิตี้เป็นตัวอย่างทุกครั้ง เพื่อยืนยันถึงความสามารถในการทำธุรกิจ เพราะถือเป็นโครงการยักษ์ขนาด 1,500 ไร่ ที่สร้างความภาคภูมิใจของคีรีและอาจเป็นโครงการล้ำอนาคตในยุค เมื่อ 20 กว่าปีก่อน เพราะภายในประกอบด้วยโครงการพัฒนาที่ดินทุกรูปแบบ ทั้งคอนโดมิเนียมระดับเลิศหรู บ้านเดี่ยวราคาแพง สนามกอล์ฟ สระว่ายน้ำมาตรฐานโอลิมปิก COMMERCIAL COMPLEX ทั้งโรงแรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงภาพยนตร์ ศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน และร้านค้า

แม้ธนาซิตี้ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะการจับกลุ่มตลาดผิดพลาดและปัญหาด้านการบริหารจนกลุ่มลูกค้าขาดความเชื่อมั่น ส่งผลต่อภาพรวมโครงการทั้งหมดก็ตาม

ล่าสุด บีทีเอส กรุ๊ป ยังมีธุรกิจในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่ดำเนินการต่อเนื่อง คือ สนามกอล์ฟธนาซิตี้ แอนด์ สปอร์ตคลับ โรงแรมอีสติน และอาคารสำนักงาน นอกจากนี้ยังมีที่ดินแปลงใหญ่กว่า 38 ไร่ ตรงข้ามแดนเนรมิตเก่า ซึ่งจะร่วมกับบริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ หรือจีแลนด์ พัฒนาโครงการและตัดขายบางส่วน อยู่ระหว่างคิดรูปแบบโครงการ อาจจะเป็นโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่

ด้านโครงการที่มีแผนพัฒนาภายใต้บริษัท ยู ซิตี้ ได้แก่ ที่ดินติดสถานีพญาไท เนื้อที่ 7 ไร่ จะพัฒนาเป็นรูปแบบมิกซ์ยูส ประกอบด้วย อาคารสำนักงาน โรงแรมและอพาร์ตเมนต์ให้เช่า ใช้เงินลงทุน 6,000 ล้านบาท คาดว่าเริ่มก่อสร้างปี 2560 และที่ดินบริเวณหมอชิตเก่าอีก 10 ไร่ จะพัฒนาในรูปแบบอาคารสำนักงานให้เช่า 70,000 ตร.ม. มูลค่าการลงทุนเบื้องต้นกว่า 4,000 ล้านบาท

หากพิจารณาสัดส่วนรายได้จากการดำเนินธุรกิจของบีทีเอส กรุ๊ป 4 กลุ่มธุรกิจ ประกอบด้วย ระบบขนส่งมวลชน มีสัดส่วนราว 40% สื่อโฆษณา 34% อสังหาริมทรัพย์ 14% และกลุ่มบริการอีก 12% ซึ่งได้แก่กิจการร้านอาหารเชฟแมน บริการบัตรแรบบิท ซึ่งคีรีวางแนวทางต่อยอดธุรกิจซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างความเชื่อมโยงและการสร้างรายได้ใหม่ๆ ของทุกธุรกิจ

ที่สำคัญ เป็นการเชื่อมโยงกับเครือข่ายรถไฟฟ้าที่ผูกขาดสัมปทานยาว 30 ปีด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 23/01/2017 6:22 pm    Post subject: Reply with quote

กทม.สั่งเร่งติดตั้ง “ลิฟท์” ทุกสถานีรถไฟฟ้า หลัง “ผู้พิการ” โวยไม่ได้รับความสะดวก
ที่มา : มติชนออนไลน์
23 มกราคม 2560 เวลา 17:45:56 น.

กทม.ขอโทษสร้างลิฟท์ผู้พิการล่าช้า
เนชั่นทันข่าว
23 มกราคม 2560 เวลา เวลา 16:15 น.


เมื่อวันที่ 23 มกราคม พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) แถลงภายหลังประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ว่า ที่ประชุมได้หารือกรณีการติดตั้งลิฟท์สำหรับผู้พิการบริเวณสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งดำเนินการล่าช้ากว่ากำหนด และถูกผู้พิการร้องเรียนว่าไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง ว่า กทม.ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาตลอด ซึ่งที่ผ่านมา กทม.ได้จัดสรรงบประมาณ 350 ล้านบาท ในการติดตั้งลิฟท์สำหรับผู้พิการบริเวณสถานีรถไฟฟ้า จำนวน 23 สถานี มีกำหนดแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2559 แต่ขณะนี้การดำเนินการก่อสร้างลิฟท์แล้วเสร็จเพียงบางส่วน เหลืออีก 19 สถานี ที่ยังไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากมีข้อขัดข้องบางประการ

“เบื้องต้นทราบว่าบางส่วนเกิดจากเรื่องของสถานที่ติดตั้ง ซึ่งมีปัญหาในการขุดเจาะไปเจอสาธารณูปโภคจึงต้องย้ายที่ใหม่ และผู้รับเหมาแจ้งว่ามีเวลาในการดำเนินการค่อนข้างน้อยเพียง 3–4 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่ง กทม.จะตั้งผู้ตรวจราชการ กทม.ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ว่าเกิดจากสาเหตุใด หากเป็นเหตุสุดวิสัยก็จะเร่งดำเนินการแก้ไข แต่หากพบว่าเป็นความบกพร่องของผู้รับผิดชอบไม่ว่าจะเป็นในส่วนของผู้รับเหมาหรือส่วนของ กทม.ก็จะดำเนินการตามระเบียบต่อไป” พล.ต.ท.อำนวย กล่าวและว่า จากที่ได้มอบหมายให้สำนักการจราจรและขนส่ง กทม.จัดทำโรดแมปการดำเนินงาน ปรากฏว่าในช่วงเดือน มีนาคม 2560 จะมี 3–4 สถานี แล้วเสร็จ คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในปลายปี 2560

//----------------------
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 31/01/2017 12:37 am    Post subject: Reply with quote

"อัศวิน" สั่งเร่งสร้างลิฟต์สถานีBTS ให้พร้อมใช้งานในเดือนก.พ.
http://www.posttoday.com/local/bkk/478429
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 31/01/2017 10:31 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
กทม.สั่งเร่งติดตั้ง “ลิฟท์” ทุกสถานีรถไฟฟ้า หลัง “ผู้พิการ” โวยไม่ได้รับความสะดวก
ที่มา : มติชนออนไลน์
23 มกราคม 2560 เวลา 17:45:56 น.

กทม.ขอโทษสร้างลิฟท์ผู้พิการล่าช้า
เนชั่นทันข่าว
23 มกราคม 2560 เวลา เวลา 16:15 น.



จี้ลิฟต์ผู้พิการBTSให้เสร็จก่อน 4 สถานี
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
31 มกราคม 2560 เวลา 05:01

กทม. เร่งรัดการติดตั้งลิฟท์คนพิการ ที่ สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส 4 สถานี คือ อ่อนนุช พร้อมพงศ์ ทองหล่อ และ ราชดำริ

“อัศวิน” สั่งการลิฟต์ผู้พิการบีทีเอสต้องเสร็จ 4 สถานี ภายใน ก.พ. นี้
มติชน
วันที่: 30 มกราคม 2560 เวลา: 14:51 น.

เมื่อวันที่ 30 มกราคม ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) น.ส.ตรีดาว อภัยวงศ์ โฆษกของกทม. แถลงผลการประชุมคณะผู้บริหารกทม. ซึ่งมีพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม.เป็นประธานการประชุม ว่า ในที่ประชุมได้หารือ ติดตามนโยบาย ข้อสั่งการต่างๆ ของผู้ว่าฯกทม. หนึ่งในนั้น คือ เรื่องการก่อสร้างลิฟท์สำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุที่มาใช้บริการสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ปัจจุบัน สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสมีลิฟท์อยู่ 4 สถานีเท่านั้น ซึ่งจะต้องติดตั้งเพิ่ม 19 สถานี ในส่วนนี้สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการ ที่ผ่านมามีปัญหา อุปสรรคที่ทำให้การก่อสร้างลิฟท์แต่ละสถานีล่าช้า โดย พล.ต.อ.อัศวิน ได้กำชับในที่ประชุม ขอให้ สจส. เร่งรัดผู้รับจ้างดำเนินการก่อสร้างลิฟท์ให้แล้วเสร็จพร้อมใช้งานภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2560 นี้ อย่างน้อยให้ได้ จำนวน 4 สถานี ประกอบด้วย สถานีอ่อนนุช พร้อมพงษ์ ทองหล่อ และราชดำริ ที่เหลือตั้งเป้าให้แล้วเสร็จพร้อมใช้งานภายในปี 2560

ด้านนายสุธน อาณากุล รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กล่าวว่า ขณะนี้ได้หารือกับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส และผู้รับเหมาก่อสร้างลิฟท์สำหรับผู้พิการที่มาใช้บริการสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เพื่อหาเร่งรัดงานก่อสร้างลิฟท์สำหรับผู้พิการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยบีทีเอสได้เปิดพื้นที่ให้ผู้รับจ้างทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงแล้ว ก่อนหน้านี้ผู้รับจ้างทำงานได้เพียง 3-4 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น คือช่วงที่บีทีเอสปิดให้บริการ ทั้งนี้การเปิดพื้นที่ให้ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง จะเป็นการทำงานแบบไม่กระทบต่อผู้มาใช้บริการ ส่วนงานหนักใช้อุปกรณ์ชิ้นใหญ่ก็ให้เร่งทำช่วงหลังบีทีเอสปิด โดยกทม.พยายามเร่งรัดการก่อสร้างอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ในส่วนนี้มี 3 สถานีที่อาจจะล่าช้าแต่จะพยายามให้เสร็จตามเป้าหมาย เนื่องจากปัจจุบันยังไม่ได้ข้อยุติเรื่องพื้นที่การก่อสร้าง รวมถึงมีอุปสรรคในการรื้อย้ายสาธารณูปโภค ได้แก่ ที่สถานีนานา พญาไท และศาลาแดง


Last edited by Wisarut on 01/02/2017 10:41 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 01/02/2017 10:40 am    Post subject: Reply with quote

เครือข่ายคนพิการชวนลงชื่อร่วมฟ้อง กทม.-บีทีเอส สร้างลิฟต์ขึ้นรถไฟฟ้าล่าช้า
มติชนออนไลน์
31 มกราคม 2560 เวลา : 14:39 น.

เมื่อวันที่ 31 มกราคม นายธีรยุทธ สุคนธวิท ประธานภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ (T4A) ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยคนพิการ กล่าวถึงความคืบหน้าภายหลังยื่นฟ้องศาลแพ่ง เพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย กรณีกรุงเทพมหานครและ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส จัดสร้างลิฟท์และสิ่งอำนวยความสะดวกล่าช้า ว่า ขณะนี้ศาลได้รับเรื่องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยศาลจะทำการไต่สวนพยานหลักฐานในวันที่ 30 มีนาคมนี้ ทั้งนี้ เนื่องจากเรื่องนี้เป็นประเด็นสาธารณะ เพราะลิฟต์ขึ้นสถานีรถไฟฟ้าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทุกคน ทางเครือข่ายฯ จึงอยากเชิญชวนประชาชนเข้ามาสนับสนุนเรื่องนี้ เพื่อเป็นการสะท้อนความสึกของประชาชนเพื่อให้ทั้งสองหน่วยงานเดินหน้าสร้างลิฟต์ให้เสร็จโดยเร็ว

“อยากให้ประชาชนทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมทั้งการร่วมฟ้องและการสนับสนุน เพราะเรื่องลิฟต์เป็นผลประโยชน์ของทุกคน หลายครั้งที่ต้องเห็นผู้สูงอายุ คนท้องแก่ คนที่มีไม้เท้า เดินขึ้นบันได้บีทีเอสอย่างช้าๆ ก็รู้สึกสะเทือนใจ ว่าการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนไม่มีความสะดวกมากนัก แต่เมื่อมองกลับมาที่คนพิการก็ยิ่งเศร้าใจมากกว่า เพราะกว่า 22 ปีที่มีบีทีเอสคนพิการกลับไม่มีโอกาสได้ขึ้นรถไฟฟ้าเลย เพราะวีลแชร์ที่พวกเราใช้ไม่สามารถขึ้นบันไดได้” นายธีรยุทธกล่าวและว่า ประเทศไทยมีคนพิการ 2 ล้านคน จึงอยากให้มาร่วมฟ้องกันให้มากๆ เพราะการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะเป็นสิ่งที่กฏหมายที่กำหนดไว้ชัดเจนมานานแล้ว ประชาชนคนไทยต้องร่วมกันสร้างมาตรฐานของประเทศเราใหม่ให้เข้าถึงได้สำหรับทุกคน และที่สำคัญเราต้องร่วมกันเรียกร้องเพื่อให้สิทธิตามกฏหมายเกิดขึ้นจริง ณ วันนี้

สำหรับการลงชื่อนั้น นายธีรยุทธกล่าวว่า ประชาชนสามารถลงชื่อได้ที่ Facebook เพจ “ขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้” โดยแบ่งเป็นการร่วมลงชื่อ “เพื่อร่วมฟ้อง” ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ได้แก่ คนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฏหมาย ผู้สูงอายุ คนป่วย คนท้อง ขณะที่บุคคลทั่วไปสามารถร่วมลงชื่อเพื่อแสดงการสนับสนุนได้ โดยทางเครือข่ายต้องการให้ได้รายชื่อมากที่สุด ทั้งนี้ ค่าเสียเบื้องต้นที่เราเรียกร้องต่อศาลแพ่ง คือ วันละ 1000 บาท นับจากวันที่ 21 มกราคม ซึ่งเป็นวันที่ศาลแพ่งมีคำสั่งให้สร้างลิฟต์ให้แล้วเสร็จ ถึง ณ วันนี้ก็คนละ 361,000 บาท และจะเพิ่มขึ้นวันละ 1,000 บาท บวกดอกเบี้ยอีกร้อยละ 7.5 จนกว่าจะแล้วเสร็จ เบื้องต้นจำนวนเงินอาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับศาลพิจารณา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 28/02/2017 10:56 am    Post subject: Reply with quote

ลิฟต์ BTS เสร็จเพิ่ม 4 สถานี
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
28 กุมภาพันธ์ 2560 05:01

ราชดำริ, พร้อมพงษ์, ทองหล่อ, อ่อนนุช-1 เม.ย.เปิดแบริ่ง-สำโรง

นายสุธน อาณากุล รอง ผอ.สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) เปิดเผยว่า สำนักการจราจรและขนส่ง ได้หารือกับสำนักการคลัง กทม. เกี่ยวกับแนวทางการชำระเงินค่าโอนกรรมสิทธิ์ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย แบริ่ง-สมุทรปราการ จำนวน 3,557 ล้านบาท แก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งมี 2 แนวทาง คือเสนอขอใช้งบ กทม.ผ่านสภา กทม. และเสนอของบเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ส่วนความคืบหน้าการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ และระบบการเดินรถต่างๆ ซึ่งบริษัท กรุงเทพ–ธนาคม จำกัด หรือเคที รัฐวิสาหกิจของ กทม.ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการนั้น ขณะนี้มีความคืบหน้าแล้วกว่า 70% คาดว่ากลางเดือน มี.ค.2560 จะทดลองเดินรถไฟฟ้าได้ และวันที่ 1 เม.ย.2560 จะเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการสถานีแรก คือจากแบริ่งไปสำโรง โดยยังไม่คิดค่าโดยสาร

นอกจากนี้ นายสุธนได้กล่าวถึงความคืบหน้าการติดตั้งลิฟต์สำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุที่ใช้รถวีลแชร์ ซึ่ง กทม.จะต้องติดตั้งลิฟต์ดังกล่าวจำนวน 19 สถานี ขณะนี้แล้วเสร็จพร้อมใช้งานได้ 4 สถานี คือสถานีราชดำริ พร้อมพงษ์ทองหล่อ และอ่อนนุช โดยเมื่อวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา กทม.ได้เชิญผู้แทนจากกลุ่มผู้พิการใช้รถวีลแชร์ไปดูสถานที่ติดตั้ง พร้อมทดลองใช้ลิฟต์แล้ว อย่างไรก็ตาม กทม.จะพยายามเร่งรัดผู้รับเหมาติดตั้งลิฟต์ในสถานีที่เหลือให้แล้วเสร็จภายในเดือน ส.ค.2560 แต่มี 3 สถานี คือ สถานีศาลาแดง พญาไท สะพานตากสิน ที่อาจจะก่อสร้างล่าช้ากว่าเป้าหมายกำหนด เนื่องจากติดปัญหาการรื้อย้ายสาธารณูปโภคจำนวนมาก อีกทั้งสถานีสะพานตากสินยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องพื้นที่ก่อสร้างลิฟต์ อยู่ระหว่างรอความชัดเจนเรื่องรูปแบบการขยายสถานีจากกรมทางหลวงชนบท.



อ่านข่าวต่อได้ที่:
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 64, 65, 66 ... 155, 156, 157  Next
Page 65 of 157

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©