Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181743
ทั้งหมด:13492981
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการรถไฟฟ้าภูเก็ต
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการรถไฟฟ้าภูเก็ต
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 10, 11, 12 ... 25, 26, 27  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 31/01/2017 6:51 pm    Post subject: Reply with quote

จ่อชงโครงการสร้างรถไฟฟ้าในภูเก็ตเข้าครม.
31 มกราคม 2560 เวลา 18:18 น.
รมว.คมนาคมเผยเตรียมเสนอโครงการสร้างรถไฟฟ้ารางเบา 23สถานี วงเงินประมาณ 23,498 ล้านบาท ระยะทาง 60 กิโลเมตร จากท่านุ่น ไป อ่าวฉลอง ในจังหวัดภูเก็ตให้ครม.พิจารณา ค่าโดยสารตลอดสาย 160 บาท

โดยมีรูปแบบทางวิ่งเป็นระดับพื้นดินตลอดเส้นทาง ยกเว้นหน้าสนามบินภูเก็ต ที่จะเป็นทางยกระดับ และสถานีถลางซึ่งเป็นสถานีใต้ดิน นอกจากนี้จะมีการใช้ช่องจราจรร่วมกับรถยนต์ในบางช่วง อาทิ บริเวณแยกสนามบิน แยกบางคู สะพานเกาผี และถนนเจ้าฟ้าตะวันออก.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 05/02/2017 4:56 am    Post subject: Reply with quote

ภูเก็ตเปิด‘โมโนเรล’ปี64 ลากยาว60กม.23สถานีถึงท่านุ่น พังงา
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2560
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,231 วันที่ 5 – 8 กุมภาพันธ์ 2560

ผู้ว่าฯภูเก็ตเผย โมโนเรลรอจัดหาผู้ร่วมทุน ระยะทาง 60 กม. 23 สถานี ปลายทางถึงท่านุน พังงา คาดเปิดบริการปี 64 เร่งระดมสมองประชุมวางแผนพัฒนาจังหวัดระยะยาว 10 ปี

นายโชคชัย เดชอมรธัญ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาหรือโมโนเรลในจังหวัดภูเก็ตว่า ขณะนี้ได้รับการประสานงานจาก สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ (สนข.) ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรอการดำเนินงานในการร่วมลงทุน หรือ PPP (public private partnership) ในการจัดหาผู้ร่วมลงทุนในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งจะอยู่ในช่วงปี 2560 และขอยืนยันว่าคนภูเก็ตจะได้ใช้รถไฟฟ้ารางเบาในปี 2564 ที่จะถึงนี้ อย่างแน่นอน โดยใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง 3 ปี คือ ปี 2561 2562 และ 2563 ตามแผนที่กำหนด

ทั้งนี้ ในส่วนของเส้นทางการเดินรถนั้น จะเริ่มจากสถานี ท่านุ่น จ.พังงา เข้าเส้นทางหลักวิ่งผ่านสนามบิน เข้าเส้นถนนเทพกระษัตรี ผ่านตัวเมืองไปจนถึง 5 แยกฉลอง ระยะทาง 60 กม. มีสถานีย่อย 23 สถานี

ในระยะเวลา 3 ปีนี้ ภูเก็ต จะมีการก่อสร้างเกิดขึ้นอย่างมากมาย และโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบา ที่จะก่อสร้างเส้นทางรองรับ จะใช้เส้นทางบนเกาะกลางถนนเท่านั้น หากแล้วเสร็จในอนาคตจะอำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาในจังหวัดภูเก็ตได้เป็นอย่างมาก เพื่อรองรับระบบการคมนาคม ที่สะดวก รวดเร็วทันสมัย และช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร รองรับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจของภูเก็ต ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้สื่อข่าวจังหวัดภูเก็ตรายงานว่า จังหวัดภูเก็ตถือว่าเป็นจังหวัดที่ได้รับการคัดเลือกจากรัฐบาลให้เป็นจังหวัดนำร่องในหลายๆ โครงการ เช่น โครงการบริษัทประชารัฐรักสามัคคี การเป็นจังหวัดนำร่องในส่วนของการเป็นซูเปอร์คลัสเตอรด้านดิจิตอล คู่กับจังหวัดเชียงใหม่หรือการประกาศให้เป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลของภูมิภาค หรือมารีน่าฮับ การเป็นเมือง Mice City 1 ใน 5 เมืองของประเทศ และการได้รับการคัดเลือกจากยูเนสโก้ให้เป็น 1 ใน 18 เมือง Gastronomy ของโลก เป็นต้น สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของจังหวัดภูเก็ตทั้งในเรื่องของที่ตั้งและศักยภาพของเมืองในด้านต่างๆ เป็นอย่างดี

เมื่อเร็วๆนี้ได้มีการประชุมระดมสมองเพื่อการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตร่วมกันระหว่าง ภาคส่วนราชการ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในวันนี้นั้น มีเป้าหมายเพื่อร่วมกันคิดระดมสมองในการวางแผนพัฒนาจังหวัดภูเก็ตให้เป็นเมืองที่พัฒนาแล้วในอนาคต

ทั้งนี้ การดำเนินการครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายของการจัดทำแผนพัฒนาเมืองในระยะยาว เป็นเวลา 10 ปี (พ.ศ.2561-2570) โดยจะเป็นการร่วมคิดร่วมทำในลักษณะประชารัฐร่วมกันจากทุกภาคส่วน ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หอการค้าจังหวัดภูเก็ต สภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต สมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดภูเก็ต สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต สมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต บริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน เพื่อ บูรณาการแผนพัฒนาจังหวัด และหาจุดร่วมในการพัฒนาร่วมกันทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

โดยจะดำเนินการร่วมกันครอบคลุมในพื้นที่ 3 อำเภอ โดยจัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน ระหว่าง วันที่ 25 มกราคม 2560 เวลา 13.00-16.30 น. ณ โรงแรมโบ๊ทลากูนรีสอร์ท ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยทุกภาคส่วนที่อยู่ในพื้นที่อำเภอถลางจำนวน 200 คน ครั้งที่ 2 วันที่26 มกราคม 2560 เวลา 08.00-12.00 น. ณ โรงแรมแกรนด์เมอร์เคียว ภูเก็ต ตำบลป่าตองอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยทุกภาคส่วนในพื้นที่อำเภอกะทู้ จำนวน150 คน ครั้งที่ 3 วันที่ 30 มกราคม2560 เวลา 13.00-16.30 น. ณโรงแรมรอยัล ภูเก็ต ซิตี้ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยทุกภาคส่วนที่อยู่ในพื้นที่เมืองภูเก็ต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 05/02/2017 9:17 pm    Post subject: Reply with quote

รถรางไฟฟ้าภูเก็ตนัดฟังเสียงประชาชน6-7ก.พ.
เดลินิวส์
อาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 15.43 น.

รถรางไฟฟ้าภูเก็ตนัดฟังเสียงประชาชน 6-7ก.พ. ปรับรูปแบบทางวิ่ง2สะพานประวัติศาสตร์ท้าวเทพกระษัตรี-ศรีสุนทร วางทางวิ่งตรงกลางช่องว่างสะพาน หวั่นวางบนสะพานรับน้ำหนักไม่ไหว

รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) แจ้งความคืบหน้าผลการศึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาหรือรถรางภูเก็ตว่า ขณะนี้สนข. ได้ปรับแบบโครงการตามที่กรมทางหลวง(ทล.)ให้แก้ไขแบบช่วงผ่านสะพานข้ามทางแยก 2 สะพานสำคัญ จากที่วางรางรถไฟฟ้าบนกลางสะพานศรีสุนทรหรือสะพานสารสิน 2 และสะพานท้าวเทพกระษัตรี ให้รถไฟฟ้าวิ่งแต่ทล.กังวลว่าจะทำให้เกิดอันตราย ไม่ปลอดภัย เพราะสะพานอาจรับน้ำหนักไม่ไหว ทำให้ ต้องปรับด้วยการวางรางรถไฟฟ้าตรงช่องว่างระหว่างกลางของทั้ง 2สะพานแทน
โดยวันที่ 6-7 ก.พ. นี้จะนำรูปแบบโครงการที่ได้ปรับแก้นำเสนอประชาชนชาวจ.ภูเก็ตเพื่อรับฟังความคิดเห็น มาพิจารณาสรุปผลโครงการให้สมบูรณ์ขึ้น จากนั้นจะปรับแก้แบบโครงการฉบับสมบูรณ์ส่งกระทรวงคมนาคมภายในเดือนมี.ค.60เพื่อให้กระทรวงพิจารณาเห็นชอบและนำเสนอการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)เจ้าของโครงการดำเนินการหารูปแบบการลงทุนและนำเสนอครม.ต่อไป

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า นอกจากนี้การแก้ไขปัญหาจุดตัด จุดกลับรถและทางลอดต่างๆ บนทางหลวงสาย 402หรือถนนเทพกระษัตรีที่ยังกังวลเมื่อรถไฟฟ้าต้องใช้ทางระดับดินร่วมกับยานพาหนะอื่นๆบนท้องถนน หวั่นปัญหาอุบัติเหตุ นั้น มีข้อสรุปในจุดตัดจะสร้างอุโมงค์ทางลอด6 ช่วงตลอดแนวเส้นทาง แบ่งเป็นช่วงจากสะพานสารสินมาถึงแยกเข้าสนามบินภูเก็ต 3จุดและจากแยกสนามบินภูเก็ตจะเข้าเมืองจนถึงบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตอีก 3จุดความยาวอุโมงค์จุดละ800 เมตร-2กม. ลึกไม่เกิน 7-8 เมตรให้รถไฟฟ้ารางเบาวิ่งในอุโมงค์ เพื่อลดจุดตัดกับรถอื่นๆ พร้อมติดสัญญาณไฟประมาณ3-4 จุด

นอกจากนี้ได้แก้ปัญหาเรื่องเขตทาง เดิมต้องเวนคืนขยายเขตทางให้กว้างขึ้น เนื่องจากถนนสายนี้มีขนาด 6ช่องจราจรไปกลับ ด้านละ 3 ช่องทางเพื่อลดผลกระทบกับประชาชนจะไม่เวนคืนขยายเขตทางเพิ่ม โดยนอกเมืองจะรื้อเกาะกลางทำช่องรถไฟฟ้ารางเบา2ช่องด้านละ1ช่อง พร้อมติดตั้งแผงคอนกรีตกั้นช่องระหว่างรางรถไฟฟ้ากับส่วนของถนนเนื่องจากนอกเมืองใช้ความเร็วสูง60-80 กม. ต่อชม.แต่ช่องจราจรของรถจะเท่าเดิมฝั่งละ3 ช่อง ลดความกว้างช่องจราจรลงจากเดิม 3.50 เมตรเหลือ 3.25 เมตร ส่วนในเมืองไม่มีเกาะกลางต้องใช้ช่องจราจรด้านซ้ายชิดทางเท้าด้านละ1ช่อง รวม 2 ช่อง ฝังรางรถไฟฟ้า ลดช่องจราจรลงเหลือด้านละ 2 ช่องแต่ไม่กั้นแผงคอนกรีตระหว่างรางกับช่องรถยนต์เนื่องจากรถไฟฟ้ารางเบาจะใช้ความเร็วลดลงเหลือประมาณ30 กม.ต่อชม. เพื่อความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุอันตราย

สำหรับรถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ตสายท่านุ่น-สนามบิน-ห้าแยกฉลอง มีระยะทาง60 กม . 23 สถานี ใช้งบลงทุน 23,499 ล้านบาท เริ่มจากสถานีรถไฟท่านุ่น ใช้เกาะกลางทางหลวง402 ผ่านสถานที่ราชการสำคัญ จากนั้นเบี่ยงเข้าถนน 4026 ( ถนนท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดภูเก็ต ) รับผู้โดยสารแล้วเข้าถนน4031 (ถนนเจ้าฟ้าตะวันออก) ผ่านสถานีศักดิเดช สิ้นสุดที่สถานีห้าแยกฉลอง ใช้เวลาเดินทางตลอดสาย 1 ชม. 10 นาที
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/02/2017 10:31 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รถรางไฟฟ้าภูเก็ตนัดฟังเสียงประชาชน6-7ก.พ.
เดลินิวส์
อาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 15.43 น.

สนข.เดินหน้ารับฟังความคิดเห็นโครงการรถไฟฟ้ารางเบา คาดปี 64 ได้เห็น
โดย MGR Online 7 กุมภาพันธ์ 2560 13:49 น. (แก้ไขล่าสุด 7 กุมภาพันธ์ 2560 15:15 น.)

ศูนย์ข่าวภูเก็ต - สนข.รับฟังความคิดเห็นการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ครั้งสุดท้าย โครงการรถไฟฟ้ารางเบา ยันรัฐบาลพร้อมสนับสนุน แต่ขึ้นอยู่กับความต้องการของคนภูเก็ต ระบุหากทุกขั้นตอนเสร็จภายในปีนี้ สามารถเริ่มโครงการได้ในปี 2561 ใช้งบประมาณในการดำเนินการ 24,000 ล้านบาท

Click on the image for full size

เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้ (7 ก.พ.) ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลวิชิต นายธีระ อนันตเสรีวิทยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชน ครั้งที่ 4 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) การศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต หรือโครงการรถไฟฟ้ารางเบา เส้นทางจากท่านุ่น-ท่าอากาศยานภูเก็ต-เมืองภูเก็ต-ฉลอง ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนขนส่งและจราจร (สนข.) จัดขึ้นเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 4 ก่อนที่สรุปนำเสนอรัฐบาลในการพิจารณาต่อไป โดยมี นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนเข้าร่วม

Click on the image for full size

นายธีระ อนันตเสรีวิทยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรถไฟฟ้ารางเบาสำหรับการคมนาคมขนส่งในจังหวัดภูเก็ต เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยว รวมทั้งแก้ไขปัญหาการจราจรของจังหวัดภูเก็ตอันเป็นผลกระทบจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว การดำเนินโครงการนี้จะสำเร็จเป็นรูปธรรมนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน

Click on the image for full size

ด้านนายชัยวัฒน์ กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 มี.ค.2555 และเมื่อวันที่ 22 ต.ค.2555 มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม พิจารณาศึกษาความเหมาะสม และดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดทำรายละเอียดแผนงานโครงการ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเป็นการสนับสนุน และรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคใต้

ในส่วนของจังหวัดภูเก็ต จัดทำโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบารอบเกาะภูเก็ต และเส้นทางสนามบิน ทาง สนข.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการวางแผน ออกแบบแผน และบูรณาการการจัดทำแผนด้านการขนส่ง รวมทั้งขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติจึงมอบหมายให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการศึกษา ออกแบบและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบขนส่งมวลชนภูเก็ตในเส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง เพื่อพัฒนาระบบขนส่งจังหวัดภูเก็ต ให้มีมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพรองรับการขยายตัวด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว อำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยว รวมทั้งเพื่อแก้ปัญหาการจราจรของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของอุตสหกรรมท่องเที่ยว

Click on the image for full size

ส่วนจุดสิ้นสุดโครงการอยู่บริเวณทางเหนือของห้าแยกฉลอง บนถนนเจ้าฟ้าตะวันออก ห่างจากห้าแยกฉลอง ประมาณ 200 เมตร รวมระยะทาง 60 กิโลเมตร รูปแบบทางวิ่ง เป็นทางวิ่งระดับพื้นดินตลอดเส้น ยกเว้นหน้าสนามบินเป็นทางยกระดับ และมีบางจุดที่ต้องวิ่งลงใต้ดิน จำนวนสถานีทั้งสิ้น 23 สถานี

รูปแบบสถานีเป็นแบบ Modern และ Sino Portuguese ระบบรางเป็นขนาดรางมาตรฐาน ส่วนใหญ่เป็นทางคู่โดยมีทางเดียวในช่วงท่านุ่น-ประตูเมืองภูเก็ต และช่วงทางแยกถลาง ใช้ช่องจราจรร่วมกับรถยนต์บริเวณสามแยกสนามบิน แยกบางคู ช่วงในเมืองสะพานเกาะผี และถนนเจ้าฟ้าตะวันออก และมีการปรับเปลี่ยนการจราจรในเมืองช่วงนอกเมือง ความเร็วสูงสุด 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนในเมืองจะใช้ความเร็ว 20-40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความจุของระบบ 2,000 คนต่อชั่วโมง

Click on the image for full size

นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมกลุ่มย่อยการมีส่วนร่วมของประชาชน การศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีการประชุมทั้งหมด 4 ครั้ง การประชุมในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) โดยจะมีการนำเสนอผลการศึกษาโครงการในด้านต่างๆ เช่น การปรับปรุงแนวเส้นทางของโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต การปรับปรุงจุดกลับรถระดับดินและการก่อสร้างทางลอดของแนวเส้นทางโครงการระบบขนส่งมวลชนภูเก็ต บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 (ถนนเทพกระษัตรี) และมาตรการแก้ไขและลดผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ

Click on the image for full size

ซึ่งการประชุมได้เน้นการรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ การตอบข้อซักถามจากผู้เข้าร่วมประชุมและตอบชี้แจงข้อซักถามต่างๆ อย่างเปิดกว้าง เพื่อช่วยกันระดมความคิดเห็นร่วมคิดร่วมสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดแรกของประเทศไทยในจังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลให้ความสำคัญให้เกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพ เพื่อรองรับระบบการคมนาคมที่สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย และช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร รองรับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจของภูเก็ต ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Click on the image for full size

ทั้งนี้ ในส่วนของเส้นทางการเดินรถไฟรางเบานั้น ใช้งบประมาณก่อสร้าง 24,000 ล้านบาท โครงการเริ่มจากสถานีท่านุ่น จ.พังงา เข้าเส้นทางหลักวิ่งผ่านสนามบิน เข้าเส้นถนนเทพกระษัตรี ผ่านตัวเมืองไปจนถึง 5 แยกฉลอง ระยะทาง 60 กม. มีสถานีย่อย 23 สถานี จะใช้เส้นทางบนเกาะกลางถนนเท่านั้น โดยมีกำหนดระยะเวลาการก่อสร้าง 3 ปี

Click on the image for full size

ความคืบหน้าของโครงการฯ อยู่ระหว่างรอการดำเนินงานในการร่วมลงทุน หรือ PPP (public private partnership) ในการจัดหาผู้ร่วมลงทุนในเรื่องต่างๆ ซึ่งจะอยู่ในช่วงปี 2560 โดยคาดว่าคนภูเก็ตจะได้ใช้รถไฟฟ้ารางเบาในปี 2564 โดยโครงการนี้จะอำนวยความสะดวกให้แก่พี่น้องประชาชน และนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาในจังหวัดภูเก็ตได้เป็นอย่างมาก เพื่อรองรับระบบการคมนาคมที่สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย และช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร รองรับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจของภูเก็ต ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งความเป็นไปได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความต้องการของชาวภูเก็ต
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2017 5:59 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:

สนข.เดินหน้ารับฟังความคิดเห็นโครงการรถไฟฟ้ารางเบา คาดปี 64 ได้เห็น
โดย MGR Online 7 กุมภาพันธ์ 2560 13:49 น. (แก้ไขล่าสุด 7 กุมภาพันธ์ 2560 15:15 น.)


ชาวภูเก็ตต้านหวั่นสร้างรถไฟฟ้ารางเบารถติดหนัก
เดลินิวส์
อังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 22.24 น.


ชาวภูเก็ตหวั่นสร้างรถไฟฟ้ารางเบารถติดหนัก- ขาดทุนแล้วเจ๊งเหมือนรถไฟฟ้าสายสีม่วง สนข.ยันรับฟังเสียงประชาชนเพื่อลดผลกระทบ






              เมื่อวันที่ 7  ก.พ.   นายชัยวัฒน์   ทองคำคูณ   ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)  กล่าวในการประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่4 โครงการรถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต  เพื่อสรุปผลการศึกษาออกแบบโครงการและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ครั้งสุดท้าย  เพื่อรับฟังความคิดเห็นประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องว่า   ภูเก็ตเป็นจังหวัดแรกในภูมิภาคที่จะมีรถรางไฟฟ้าใช้ เพราะ สนข. ศึกษาออกแบบเป็นจังหวัดแรก   พบว่าสนามบินภูเก็ตเติบโตสูงนักท่องเที่ยวมากทุกปี  รถรางภูเก็ตจะรองรับการเดินทางและแก้ปัญหาจราจรแต่โครงการจะเกิดได้ต้องมาจากความร่วมมือของประชาชนและผู้เกี่ยวข้อง   เพราะใช้เงินลงทุนสูง  ส่วนกลางแค่ศึกษาออกแบบผู้เกี่ยวข้องต้องดำเนินการต่อบริหารจัดการให้ใช้งาน30-40 ปี  เกิดประโยชน์กับชาวภูเก็ตจริงๆ  ประชาชนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้รถยนต์หันมาใช้ขนส่งสาธารณะมากขึ้น
                นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า   ผลการศึกษารถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ตสายท่านุ่น-สนามบิน-ห้าแยกฉลอง มีระยะทาง 60 กม.  23สถานี   แบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะแรก ช่วงท่านุ่น-สนามบินภูเก็ต   14กม. ระยะ2ช่วงสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ง 46กม. ใช้งบลงทุน 24,000 ล้านบาท  แนวเส้นทางจากสถานีรถไฟท่านุ่น   ใช้เกาะกลางถนนทางหลวง402(ถนนเทพกระษัตรี)  สร้างรางรถไฟฟ้าระดับดิน   เชื่อมสถานีรถไฟผ่านสถานที่ราชการสำคัญ   จากนั้นเบี่ยงเข้าถนน 4026 ( ถนนท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดภูเก็ต  ) รับผู้โดยสารแล้วเข้าถนน4031 (ถนนเจ้าฟ้าตะวันออก)   สิ้นสุดที่สถานีห้าแยกฉลอง   ใช้เวลาเดินทางตลอดสาย  1 ชม. 10 นาที  
                นายชัยวัฒน์  กล่าวด้วยว่า    สนข.พร้อมรับฟังข้อกังวลของประชาชนและผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำข้อมูลไปหาแนวทางลดผลกระทบ  โดยจะก่อสร้างระยะที่ 2ช่วงสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง   46 กม. ก่อนเนื่องจากมีความพร้อมเรื่องพื้นที่  มีปริมาณการเดินทางสูงและแก้ปัญหารถติด คาดว่าจะเริ่มก่อสร้าง ในปี 61  ส่วนระยะที่2เริ่มปี 62  ไม่มีการเวนคืนจะใช้ผิวจราจรเกาะกลางนอกเมืองช่องจราจรกว้าง 6 ช่องด้านละ 3 ช่อง จะกั้นพื้นที่เฉพาะรถรางไฟฟ้าความเร็ว60-80กม.ต่อชม.  ส่วนในเมืองช่องแคบแค่ 4ช่องไปกลับด้านละ 2 ช่อง จะไม่กั้นช่องแต่จะฝังรางบนถนนช่องซ้ายสุด และแชร์เลนร่วมกับรถทั่วไป   ใช้ความเร็ว 20-30 กม.ต่อชม.  ทั้ง 2 ระยะเสร็จเปิดบริการปลายปี 63หรือต้นปี 64  
                นายชัยวัฒน์  กล่าวด้วยว่า   สนข.จะเร่งสรุปผลการศึกษาและรูปแบบก่อสร้างเดือนก.พ.นี้จากนั้นจะเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาในเดือน มี.ค. ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ต่อไป  เพื่อส่งต่อโครงการให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เป็นผู้ศึกษารูปแบบการลงทุนและหาแหล่งเงินทุน  คาดว่า รฟม. ใช้เวลาศึกษา 9-10เดือน ปลายปี 60 ได้ข้อสรุป  เพื่อเริ่มก่อสร้างให้ทันปี  61
                ด้านนายธีระ  อนันตเสรีวิทยา    รองผวจ.ภูเก็ตกล่าวว่า     ภูเก็ตกำลังประสบปัญหาการจราจรอย่างหนัก   รถรางไฟฟ้าภูเก็ตเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นมาก  แต่โครงการใช้งบประมาณค่อนข้างมาก  หวังว่าประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีแนวความคิดเห็นตรงกัน เพื่อประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาจราจรเมืองภูเก็ต
                ผู้สื่อข่าวรายงานว่า    ผลการประชุม ประชาชนส่วนใหญ่กังวลเรื่องปัญหาการจัดจราจรระหว่างก่อสร้าง โดยเฉพาะช่วงสถานีเมืองเก่า-สถานีห้องสมุด  และช่วงสถานีอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรี-ท้าวศรีสุนทร  ที่มีปัญหารถติดหนัก  เพราะถนนทั้ง3สายช่วงในเมืองแคบแค่ 4  ช่องไปกลับ  ไม่ต้องการให้รถรางมาเป็นภาระเรื่องปัญหาจราจรมากขึ้น  อีกทั้งเมื่อเปิดให้บริการ  หากบริหารจัดการจราจรไม่ดี  จะยิ่งเพิ่มปัญหารวมทั้งขาดทุนเหมือนรถไฟฟ้าสายสีม่วง(บางใหญ่-เตาปูน)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2017 10:02 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.แคะแล้ว! รถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต มูลค่า 2.4 หมื่นล้าน เชื่อแก้จราจรติดขัด-ผู้ให้บริการรถหวั่นรายได้หด
มติชน

วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา : 15:55 น.

ที่ห้องประชุมระแงง ชั้น 3 เทศบาลตำบลวิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายธีระ อนันตเสรีวิทยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นประธานเปิดการประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชน ครั้งที่ 4 (การสรุปผลการศึกษาโครงการ) การศึกษาความเหมาะสม ออกแบบและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต รถไฟฟ้ารางเบา โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนและประชาชนเข้าร่วม

นายธีระ กล่าวว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้วยการจัดทำโครงการรถไฟฟ้ารางเบา สำหรับการคมนาคมขนส่งในจังหวัดภูเก็ต เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว รวมทั้งเพื่อแก้ปัญหาการจราจรขนส่งของจังหวัดภูเก็ต เนื่องจากที่ผ่านมามีปัญหาค่อนข้าง และส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวซึ่งมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง


ด้านนายชัยวัฒน์ ได้กล่าวชี้แจงว่า การจัดประชุมกลุ่มย่อยการมีส่วนร่วมของประชาชน การศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ตครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 4 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) โดยจะมีการนำเสนอผลการศึกษาของโครงการในด้านต่างๆ เช่น การปรับปรุงแนวเส้นทางของโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต การปรับปรุงจุดกลับรถระดับดิน การก่อสร้างทางลอดของแนวเส้นทางโครงการระบบขนส่งมวลชนภูเก็ต บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 (ถนนเทพกระษัตรี) และมาตรการแก้ไขและลดผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ

“ในการประชุมนั้นเน้นการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ รวมทั้งตอบข้อซักถามจากผู้เข้าร่วมประชุมและตอบชี้แจงข้อซักถามต่าง ๆ อย่างเปิดกว้าง เพื่อช่วยกันระดมความคิดเห็นร่วมคิดร่วมสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดแรกของประเทศไทยในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ให้เกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพ เพื่อรองรับระบบการคมนาคม ที่สะดวก รวดเร็วทันสมัย และช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร รองรับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจของภูเก็ต ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป” นายชัยวัฒน์ กล่าว

นายชัยวัฒน์ กล่าวด้วยว่า รูปแบบของโครงการนี้ จะเป็นรถไฟฟ้ารางเบา แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรก เริ่มต้นจากสถานีท่านุ่น จ.พังงา ถึง สนามบินภูเก็ต กับช่วงที่ 2 จากสนามบินภูเก็ต ถึง ห้าแยกฉลอง รวมระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร มีสถานีย่อย 23 สถานี รูปแบบสถานีเป็นแบบ Modern และ Sino Portuguese ระบบรางเป็นขนาดรางมาตรฐาน ส่วนใหญ่เป็นทางคู่ โดยมีทางเดียวในช่วงท่านุ่น-ประตูเมืองภูเก็ต และช่วงทางแยกถลาง ใช้ช่องจราจรร่วมกับรถยนต์ บริเวณสามแยกสนามบิน แยกบางคู ช่วงในเมืองสะพานเกาะผี และถนนเจ้าฟ้าตะวันออก และมีการปรับเปลี่ยนการจราจรในเมืองช่วงนอกเมือง ความเร็วสูงสุด 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนในเมืองจะใช้ความเร็ว 20-40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความจุของระบบ 2,000 คนต่อชั่วโมง โดยจะก่อสร้างบนพื้นผิวถนน และอาจจะมีลอดใต้ดินบ้างบางช่วงที่เป็นจุดตัด ใช้งบก่อสร้างประมาณ 24,000 ล้านบาท หากไม่มีปัญหาอะไรคาดว่าจะลงมือก่อสร้างได้ในปี 2561 ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี

“หลังจากรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้แล้ว จะสรุปข้อมูลนำเสนอคณะรัฐมนตรี และจะมอบให้ทาง รฟม.รับช่วงดำเนินการต่อ และจะต้องไปหารือในเรื่องของการลงทุน ซึ่งคาดว่าจะอยู่ในรูปแบบของการร่วมทุน หรือ PPP (public private partnership) เพื่อจัดหาผู้ร่วมลงทุนต่อไป” นายชัยวัฒน์ กล่าว


นอกจากนี้ เมื่อได้สอบถามในส่วนของประชาชนส่วนใหญ่ในจังหวัดภูเก็ตต้องการให้มีการก่อสร้างโครงการดังกล่าวมาช่วยลดปัญหาหารจราจรที่นับวันจะยิ่งมีความแออัด ถึงแม้จะมีโครงการแก้ปัญหาในด้านอื่นๆเช่น อุโมงทางลอด ทางแยก แต่ก็ไม่ได้ทำให้จำนวนรถบนถนนลดลง หากมีการใช้รถไฟฟ้ารางเบามาวิ่งจะช่วยแก้ปัญหาการใช้รถส่วนตัว ลดจำนวนรถที่ออกมาวิ่งได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการรถบริการส่วนหนึ่งที่กังวลว่า การนำรถไฟรางเบามีใช้ ถึงแม้จะมีผลดีต่อการจราจร แต่ก็ทำให้รายได้ของรถบริการลดลงด้วยเช่นกัน เนื่องจากนทท.มีตัวเลือกใหม่ๆในการเดินทาง ภาครัฐควรพิจารณารายละเอียดปลีกย่อยให้ถี่ถ้วน เพื่อให้เหลือทางให้ได้ทำกินกับผู้ประกอบการบ้าง หากยังพอมีทางทำกินบ้างก็คงไม่คัดค้านการพัฒนาแต่อย่างใด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2017 7:17 pm    Post subject: Reply with quote

ขุดอุโมงค์ ลอดทางแยก 6 แห่งเพื่อให้รถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ดผ่านได้โดยไม่เกิดการจราจร
1. ด่านท่าฉัตรไชย
2. ถนนเทพกษัตรีย์ หน้าโรงเรียนหงส์หยก บำรุง ที่บ้านสวนมะพร้าว ถลาง
3. ถนนเทพกษัตรีย์ ใต้มัสยิดไม้ขาว (มัสยิด รอว์ดาตุลจานาห์) 1900 เมตรจากหัวสนามบินภูเก็ตที่ไม้ขาว
4. ถนนเทพกษัตรีย์ ตรง ห้างคุณแม่จุใกล้โรงเรียนเมืองถลาง
5. ถนนเทพกษัตรีย์ ตรง สถานีตำรวจถลาง
6. ถนนเทพกษัตรีย์ ตรง ห้างเทสโก้โลตัส
http://www.thephuketnews.com/six-tunnels-touted-in-revamped-phuket-light-rail-plans-60952.php#AL5eVTVvS6iQ788e.97
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/03/2017 9:07 pm    Post subject: Reply with quote

รัฐทุ่ม70,000ล้าน! ลุยคมนาคม ดัน 'ภูเก็ต' นครแห่งอันดามัน
กรุงเทพธุรกิจ 20 มีนาคม 2560

"อาคม" ลั่นทุ่มงบกว่า70,000ล้าน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนาดใหญ่จ.ภูเก็ต ขับเคลื่อนสู่การเป็นนครแห่งอันดามัน

เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมไวท์เฮ้าส์ โรงแรมโบ๊ทลากูนรีสอร์ท ต.เกาะแก้ว อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการสัมมนาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว และการแก้ไขปัญหาการจราจรจังหวัดภูเก็ต รวมทั้งบรรยายพิเศษ เรื่อง “กระทรวงคมนาคมกับการขับเคลื่อนภูเก็ตสู่การเป็นนครแห่งอันดามัน” ซึ่งทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม จัดขึ้น

โดยมีนายสนิท ศรีวิหคและ นางศิวพร ฉั่วสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สนข. พล.ต.ต.ธีระพล ทิพย์เจริญ ผบก.ภ.จว.ภูเก็ต นายสุรชัย ชัยวัฒน์ ประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนผู้แทนจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม หน่วยงานราชการของจังหวัดภูเก็ต หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา นักวิชาการท้องถิ่น องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม ภาคธุรกิจการท่องเที่ยว หอการค้า ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวถึงการจัดสัมมนาในครั้งนี้ว่า เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคม ด้านพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของจังหวัดภูเก็ตทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ตลอดจนสร้างความเข้าใจ การรับรู้ และการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนของจังหวัดภูเก็ต เกี่ยวกับการพัฒนาโครงการต่างๆด้านคมนาคมขนส่ง ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านการท่องเที่ยว และการแก้ไขปัญหาจราจรตลอดจนรับฟังความความคิดเห็น และข้อเสนอแนะสำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดทำแผนงานโครงการด้านคมนาคมขนส่งของจังหวัดภูเก็ต ที่สอดคล้องกับความต้องการของ
ประชาชน

ขณะที่นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า เส้นทางคมนาคมขนส่งหลักของจังหวัดภูเก็ต คือ ทางหลวงหมายเลข 402 ซึ่งเป็นเส้นทางเดียวที่เชื่อมระหว่างจังหวัดพังงากับภูเก็ต และเป็นถนนสายหลักของจังหวัด ประกอบกับการเจริญเติบโตด้านการท่องเที่ยวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดอย่างมาก สาเหตุหลักนอกจากการใช้พาหนะในการขนส่งนักท่องเที่ยวแล้ว ยังเกิดจากการใช้รถส่วนบุคคลในการเดินทางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเกินขีดความสามารถในการรองรับของถนน รวมทั้งระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองภูเก็ต ไม่ได้รับความนิยมและไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่

“เนื่องจากปัญหาการการจราจรของภูเก็ตนั้นมีปัญหาเกือบทุกเรื่อง ทางกระทรวงฯ จึงมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้องเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งภายในจังหวัดภูเก็ต เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรและเสริมสร้างศักยภาพให้เป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก โดยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับทางแยกหลักบนถนนทางหลวง 402 ด้านการก่อสร้างทางลอด สะพานกลับรถ การวางแผนการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงสายใหม่ เพื่อแบ่งเบาภาระของทางหลวงสายหลัก การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะเพื่อให้เป็นทางเลือกหลักในการเดินทางของประชาชน และนักท่องเที่ยว”

นายอาคม กล่าวถึงโครงการต่างๆ ที่กระทรวงคมนาคมเข้ามาดำเนินการในจังหวัดภูเก็ต ว่า เริ่มตั้งแต่สนามบินภูเก็ตซึ่งมีความแออัด และขณะนี้ได้มีการแก้ไขไปแล้วระดับหนึ่ง โดยเฉพาะในส่วนของอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ซึ่งได้มีการก่อสร้างใหม่และเปิดใช้ไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงตัวอาคารผู้โดยสารเดิมซึ่งเป็นอาคารผู้โดยสารในประเทศ แต่คงไม่ได้หยุดแค่นี้เนื่องจากยังมีส่วนขยายเพิ่มเติมในระยะต่อไป

ปัญหาการจราจรทางบกนั้น รัฐบาลตั้งแต่ คสช. เป็นต้นมา ได้สนับสนุนงบประมาณในการแก้ปัญหาบนเส้นทางหลัก 402 มาตั้งแต่ปี 2557 โดยมีการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดบริเวณทางแยก และได้มีการเปิดใช้ไปแล้ว 2 อุโมงค์ คือ อุโมงค์ทางลอดแยกดาราสมุทร กับอุโมงค์แยกสามกอง และในปี 2560 เปิดใช้เพิ่มอีกหนึ่งทางลอด คือ ทางลอดแยกบางคู ซึ่งขณะนี้เปิดให้ใช้แล้ว 1 ช่องการจราจรเพื่อบรรเทาปัญหาจราจร จากนั้นจะเป็นทางลอดห้าแยกฉลอง และทางลอดแยกสนามบิน รวมทั้งหมด 5 ทางลอด นอกจากนี้ยังได้มีการยังสรรงบประมาณในการก่อสร้างยูเทิร์นเกือกม้า จำนวน 2 จุด อยู่ระหว่างเริ่มดำเนินการก่อสร้าง รวม 6 โครงการ งบ 3,300 ล้านบาท

ขณะเดียวกันยังมีโครงการขนาดใหญ่ที่เริ่งดำเนินการตั้งแต่ปี 2560 ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้ารางเบา (Tram way)ขณะนี้การออกแบบเสร็จแล้ว และจะยื่นขออนุญาตจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)ได้ภายในปีนี้ วงเงินลงทุนประมาณ 33,000 ล้านบาท, โครงการอุโมงค์กะทู้-ป่าตอง ซึ่งการทางพิเศษแห่งประเทศไทยทำการศึกษาเสร็จแล้ว และอยู่ระหว่างการผลักดันเพื่อขอกรอบเงินลงทุนเป็นทางด่วน โดยอยู่ในขั้นตอนการนำเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยระบายการจราจรได้ ส่วนในอนาคตได้เตรียมการไว้ในปี 2561 การจัดทำทางหลวงแนวใหม่สาคู-เกาะแก้ว ระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 13,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีโครงการของทางหลวงชนบท และโครงการขยายอาคารเพิ่มเติม พื้นที่จอดและแท็กซี่ในส่วนของสนามบินภูเก็ต รวมประมาณ 12,000 ล้านบาท

นายอาคม กล่าวสรุปในตอนท้าย ว่า เมื่อรวมงบประมาณในการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของจังหวัดภูเก็ตในระยะเร่งด่วนตามแผนงานที่กำหนดไว้ในปี 2560 จะใช้งบประมาณ 71,000 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณในการลงทุนดังกล่าว เมื่อเทียบกับรายได้ของจังหวัดภูเก็ตในแต่ละปีรวมประมาณ 300,000-400,000 ล้านบาท ถือเป็นเมืองท่องเที่ยวนานาชาติอันดับหนึ่งที่ทำรายได้ให้กับประเทศ จำเป็นที่จะต้องมีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นที่เพื่อรองรับการเติบโตด้านการท่องเที่ยวดังกล่าว

แต่สุดท้ายที่จำเป็นสำหรับภูเก็ต ไม่ว่าจะมีการขยายถนนมากน้อยเพียงใดก็ตามหากไม่มีการจัดระบบการจราจรให้เหมาะสมก็จะยังคงมีรถติดอยู่ โดยจะต้องทำควบคู่กันไปในระหว่างที่มีการก่อสร้าง เนื่องจากพบว่า ปัญหารถติดจะเกิดขึ้นในช่วงเช้ากับช่วงเย็นที่มีการมีการเดินทางเพื่อรับ-ส่งบุตรหลานไปยังสถานศึกษา โดยจะมีจำนวนรถนับพันคัน ซึ่งได้มีการหารือกับผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ตในการช่วยกันแก้ปัญหาดังกล่าว เพราะเราไม่ได้ก่อสร้างอย่างเดียว แต่จะมาดูในเรื่องการบริหารจัดการด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่มอบหมายให้เข้ามาดูแลเมืองท่องเที่ยวหลักในภูมิภาค ประกอบด้วย ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา และหาดใหญ่ จ.สงขลา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 21/03/2017 9:54 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รัฐทุ่ม70,000ล้าน! ลุยคมนาคม ดัน 'ภูเก็ต' นครแห่งอันดามัน
กรุงเทพธุรกิจ 20 มีนาคม 2560


สนข.วางโครงข่าย รถไฟฟ้ารางเบา ก่อสร้าง 3 ปี แก้วิกฤติจราจรภูเก็ต
โดย MGR Online
21 มีนาคม 2560 08:47 น.

สนข.วางโครงข่าย รถไฟฟ้ารางเบา ก่อสร้าง 3 ปี แก้วิกฤติจราจรภูเก็ต
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

"คมนาคม"เร่งแก้ปัญหาจราจร จังหวัดภูเก็ต เสริมโครงข่ายทางหลวงสายใหม่เพื่อแบ่งเบาภาระของทางหลวงสายหลัก ผุดระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Tramways)
พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเพื่อให้เป็นทางเลือกหลักในการเดินทางให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว สนข.เผยก่อสร้าง 3 ปี ดันภูเก็ตสู่นครแห่งอันดามัน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังการเป็นประธาน เปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เรื่อง "การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม เพื่อขับเคลื่อนจังหวัดภูเก็ตสู่นครแห่งอันดามัน"ว่า เส้นทางคมนาคมขนส่งหลักของจังหวัดภูเก็ต คือทางหลวงหมายเลข 402 ซึ่งเป็นเส้นทางเดียวเท่านั้นที่เชื่อมระหว่างจังหวัดพังงากับจังหวัดภูเก็ต และเป็นถนนสายหลักของจังหวัดในปัจจุบันเกิดปัญหาการจราจรติดขัดเป็นอย่างมาก สาเหตุหลักคือการใช้รถส่วนบุคคลในการเดินทางเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเกินขีดความสามารถในการรองรับของถนน ประกอบกับระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองภูเก็ตไม่ได้รับความนิยม และไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่

ดังนั้น กระทรวงคมนาคมจึงได้มอบนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในจังหวัดภูเก็ต เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรและเสริมสร้างศักยภาพให้เป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก โดยการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับทางแยกหลัก
บนทางหลวงหมายเลข 402 โดยการก่อสร้างทางลอด สะพานกลับรถ การวางแผนการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงสายใหม่เพื่อแบ่งเบาภาระของทางหลวงสายหลัก การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเพื่อให้เป็นทางเลือกหลักในการเดินทางให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว เป็นต้น

ซึ่งโครงการสำคัญต่างๆ ได้บรรจุอยู่ในแผนปฏิบัติการด้านการคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2560 ของกระทรวงคมนาคม ประกอบด้วย 1) ทางอากาศ ได้แก่ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต 2) ทางน้ำ ได้แก่ โครงการลงเรือขึ้นเครื่อง 3) ทางบก ได้แก่ โครงการพัฒนาระบบโครงข่ายถนน การเพิ่มประสิทธิภาพทางแยก เช่น โครงการก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่ สาคู – เกาะแก้ว โครงการก่อสร้างสะพานเทพศรีสินธุ์ (คลองเกาะผี) และโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเบา (Tram way) รวมทั้ง การก่อสร้างทางพิเศษสายกระทู้ – ป่าตอง

นายอาคากล่าวว่า การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในจังหวัดภูเก็ตให้ประสบผลสำเร็จและบรรลุเป้าหมายได้นั้น จะต้องมีการบูรณาการระบบคมนาคมขนส่งให้เกิดการเชื่อมโยง(Connectivity) ,ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทาง(Mobility) และทุกคนสามารถเข้าถึงการบริการได้อย่างเสมอภาค(Accessibility) ด้วยแนวคิดในการบริหารงานคมนาคมแบบ "One Transport "ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ภูเก็ต การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่ต้องมาพร้อมกับการวางผังเมืองที่เหมาะสม เป็นระเบียบและสวยงาม เพื่อให้จังหวัดภูเก็ตพัฒนาสู่นครแห่งอันดามันต่อไป

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะด้วยระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Tramways) จะช่วยแก้ไขปัญหาจราจรของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งวิกฤติอย่างหนัก รวมทั้งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเมืองโดยเฉพาะพื้นที่รอบสถานี แต่จะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างดำเนินโครงการประมาณ 3 ปี ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการในพื้นที่ รวมทั้งประชาชนด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/03/2017 12:48 pm    Post subject: Reply with quote

เผยโฉมรถรางไฟฟ้าภูเก็ต
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 27 มี.ค. 2560 05:15

“รายงานวันจันทร์”-ยกระดับ “ภูเก็ต” เป็นศูนย์กลางอันดามัน

Click on the image for full size

จังหวัดภูเก็ต ไข่มุกแห่งอันดามัน เศรษฐกิจกำลังขยายตัวแบบก้าวกระโดด ล่าสุดสถิติมีนักท่องเที่ยวถึง 15 ล้านคน/ปี ดังนั้น รัฐบาลจึงส่งเสริมให้ภูเก็ตเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวนานาชาติ โดยเร่งพัฒนาระบบขนส่งทุกระบบเพื่อรองรับ หนึ่งในนั้นคือโครงการรถไฟฟ้ารางเบา (Tramway)

โดยมีสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม ขณะนี้การศึกษาเกือบจะเสร็จสมบูรณ์ และเห็นเป็นรูปร่างชัดเจน ซึ่งคุณ ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผอ.สนข. มีข้อมูลชี้แจงให้ทราบผ่าน "รายงานวันจันทร์"

Click on the image for full size

ถาม-ที่มาของรถไฟฟ้ารางเบา

ผอ.สนข. - ตามแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งของประเทศระยะเร่งด่วน ปี 2560 มีทั้งหมด 36 โครงการ วงเงินลงทุน 8.9 แสนล้านบาท หนึ่งในนั้นคือโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต เพื่อรองรับการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก สนข.ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสม และสอบถามความเห็นประชาชนในพื้นที่ พบว่า ส่วนใหญ่ไม่เอาระบบลอยฟ้า เพราะบดบังทัศนียภาพเมืองและได้ข้อสรุปว่า ระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมก็คือ รถไฟฟ้ารางเบา หรือรถราง (Tram) ระดับดินตลอดแนวเส้นทาง บนทางหลวงหมายเลข 402 หรือถนนเทพกระษัตรี ตั้งแต่ท่านุ่น-ห้าแยกฉลอง ระบบรางคู่ โดยประชาชนกว่าร้อยละ 80 เห็นด้วยกับโครงการและเร่งรัดให้ดำเนินการโดยเร็ว ผลการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในเดือน มี.ค.นี้ คาดว่าจะดำเนินการได้ปลายปีนี้ เริ่มก่อสร้างปี 2561 ใช้เวลา 3ปี

ถาม-รายละเอียดโครงการ

ผอ.สนข.-เส้นทางรถราง เริ่มจากท่านุ่น บริเวณสะพานสารสิน เชื่อมจังหวัดพังงากับภูเก็ต ข้ามสะพานไปตามแนวเกาะกลางถนนเทพกระษัตรี ช่วงท่านุ่น-ประตูเมืองภูเก็ต ใช้ระบบรางเดี่ยว เมื่อถึงแยกสนามบินภูเก็ต แนวเส้นทางจะเบี่ยงออกทางซ้าย ตีโค้งเปลี่ยนเป็นยกระดับเข้าสนามบินเพื่อรับผู้โดยสาร เมื่อออกจากสนามบินแนวเส้นทางจะกลับสู่เกาะกลางถนนตามเดิม เป็นระบบรางคู่ ช่วงผ่านจุดตัดทางแยกจะใช้รูปแบบทางลอดมีทั้งหมด 6 จุด แนวเส้นทางไปสิ้นสุดที่ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 60 กม.

Click on the image for full size

มีทั้งหมด 24 สถานี ได้แก่ 1.สถานีท่านุ่น 2.สถานีท่าฉัตรไชย 3.สถานีประตูเมืองภูเก็ต 4.สถานีท่าอากาศยานภูเก็ต 5.สถานีเมืองใหม่ 6.สถานีโรงเรียนเมืองถลาง 7.สถานีถลาง 8.สถานีอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร 9.สถานีเกาะแก้ว 10.สถานีขนส่ง 11.สถานีราชภัฏภูเก็ต 12.สถานีทุ่งคา 13.สถานีเมืองเก่า 14.หอนาฬิกา 15.สถานีบางเหนียว 16.สถานีห้องสมุดประชาชน 17.สถานีสะพานหิน 18.สถานีดาวรุ่ง 19.สถานีศักดิเดชน์ 20.สถานีวิชิต 21.สถานีเจ้าฟ้า–ตะวันออก 22.สถานีป่าหลาย 23.สถานีโคกตนด และ 24.สถานีฉลองตัวรถรางมีลักษณะเหมือนรถไฟ น้ำหนักเบากว่า ขบวนรถยาว 30 เมตร กว้าง 2.40 เมตร ใช้ไฟฟ้าจากสายด้านบน ขนาด 750 V ในเขตนอกเมือง ความเร็วสูงสุด 80-100 กม. ต่อ/ชม. ช่วงในเมืองความเร็วสูงสุด 20-40 กม.ต่อ/ชม. ความจุขบวนรถ 200 คน ค่าโดยสาร 18 บาท +2.5 บาท/กม. เฟสแรกจะทำจากท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง มูลค่า 23,000 ล้านบาท รูปแบบลงทุนแบบ PPP มอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการ เริ่มก่อสร้างปี 2561 ใช้เวลา 3 ปี เป็นรถรางสายแรกในภูมิภาค ซึ่งรัฐบาลจะทำให้เห็นเป็นรูปธรรมเร็วที่สุด.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 10, 11, 12 ... 25, 26, 27  Next
Page 11 of 27

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©