Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264880
ทั้งหมด:13576163
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว Airport Link
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว Airport Link
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 124, 125, 126 ... 159, 160, 161  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44541
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/12/2016 7:47 pm    Post subject: Reply with quote

คลังกลับลำไม่รับโอนที่ดินมักกะสันล้างหนี้ ติดวัตถุประสงค์ กม.เวนคืน รถไฟฯ ปัดฝุ่นแผนเดิมพัฒนาเอง
โดย MGR Online 1 ธันวาคม 2559 17:04 น. (แก้ไขล่าสุด 1 ธันวาคม 2559 17:43 น.)

คลังกลับลำไม่เอาที่ดินมักกะสันแลกหนี้ ร.ฟ.ท. “ออมสิน” เตรียมหารือธนารักษ์ขอความชัดเจนก่อน ยัน ร.ฟ.ท.พร้อมปัดฝุ่นการศึกษาเดิมเพื่อพัฒนาเอง วงในเผยโอนธนารักษ์พัฒนาที่ดินรถไฟซึ่งเวนคืนมานั้น ส่อประเด็นข้อกฎหมาย ขณะที่ส่งแผนพัฒนาสถานีแม่น้ำ และบางซื่อแปลง A ไปยัง สคร.แล้ว รอ PPP เคาะเปิดประมูล

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงการโอนสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินมักกะสัน จำนวน 497.11 ไร่ ให้แก่กระทรวงการคลังเพื่อชำระหนี้ 6.1 หมื่นล้านบาท ตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ด ว่าล่าสุดได้พบกับนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และมีแนวคิดว่าไม่อยากให้โอนแล้ว เนื่องจากโอนให้แล้วทางคลังจะต้องจ้างคนอื่นมาพัฒนาต่อ ขณะที่หากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีความพร้อมควรจะทำเอง เรื่องนี้นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ จะมาหารือกับตนและ ร.ฟ.ท.ในเร็วๆ นี้เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันให้ชัดเจน

ทั้งนี้ ในส่วนของ ร.ฟ.ท.ไม่มีปัญหาในการพัฒนาที่ดินมักกะสันเอง เพราะก่อนหน้านี้ได้เคยมีการศึกษาแผนงานพัฒนาที่ดินมักกะสันไว้แล้ว ซึ่งจะมีพื้นที่สวนสาธารณะประมาณ 100 ไร่ และพัฒนาบึงมักกะสันให้เกิดความสวยงามจนกระทั่งแนวคิดในเรื่องการโอนให้กรมธนารักษ์ ทำให้ยุติแผนดังกล่าว ดังนั้นหากจะให้ ร.ฟ.ท.ทำเองเหมือนเดิมสามารถนำผลการศึกษาเดิมออกมาปัดฝุ่นได้

“เรื่องโอนที่ดินมักกะสันให้คลังเพื่อชำระหนี้นั้นเป็นมติ คนร. แต่หากจะไม่ให้โอนแล้วก็ต้องมาหารือร่วมกันว่าการรถไฟฯ จะพร้อมหรือไม่ ขณะนี้ในส่วนการพัฒนาพื้นที่แปลงใหญ่ เช่น สถานีแม่น้ำ 77.5 ไร่ มูลค่าประมาณ 13,317.24 ล้านบาท และบางซื่อแปลง A ของการรถไฟฯ นั้นได้ส่งเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อเข้าสู่คณะกรรมการ PPP แล้ว”

รายงานข่าวแจ้งว่า การโอนที่ดินมักกะสันให้คลังเพื่อชำระหนี้นั้นเป็นนโยบายซึ่งเมื่อมีการตรวจสอบในหลายประเด็นพบว่าติดประเด็นข้อกฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความในข้อกฎหมาย ร.ฟ.ท.แล้วว่า สามารถนำที่ดินเวนคืนมาเพื่อกิจการรถไฟไปใช้กิจการอื่นหรือพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ แต่กรณีการโอนให้กรมธนารักษ์แล้วจะต้องตีความตามกฎหมายของกรมธนารักษ์ในการนำที่ดินไปใช้ไม่ตรงต่อวัตถุประสงค์เดิมได้หรือไม่ ซึ่งยังไม่ชัดเจนทำให้เกิดปัญหาในการรับโอนไป อย่างไรก็ตาม หากสรุปไม่โอนที่มักกะสัน จะต้องหารือในประเด็นหนี้สินของ ร.ฟ.ท.ว่าจะทำอย่างไรต่อไป

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ส่วนต่อขยายช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 21.8 กม. วงเงิน 31,139.35 ล้านบาทนั้น กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอ สคร.เร็วๆ นี้ โดยได้ศึกษาแนวทางการร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP-Net Cost ใน 2 รูปแบบ คือ 1. รัฐลงทุนงานโครงสร้างพื้นฐาน งานโยธา วงเงินกว่า 20,000 ล้านบาท ส่วนเอกชนลงทุนวางราง จัดหาระบบอาณัติสัญญาณและตัวรถ พร้อมเดินรถ วงเงินกว่า 10,000 กว่าล้านบาท 2. ให้เอกชนลงทุน100% ทั้งงานโยธาและระบบรถ ทั้งนี้ ในการร่วมลงทุนจะไม่มีเงื่อนไข การันตีเรื่องจำนวนผู้โดยสาร ตามที่ภาคเอกชนเสนอจากการสัมมนาเพื่อประเมินความสนใจของภาคเอกชน (Market Sounding) เพราะรัฐจะไม่รับภาระเพิ่ม เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้ลงทุนโครงสร้างส่วนแรก ช่วงพญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิไปแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 04/01/2017 1:38 am    Post subject: Reply with quote

แอร์พอร์ตลิงก์ปรับความถี่รับปีใหม่ เหลือ 10 นาที/ขบวน
โดย MGR Online
2 มกราคม 2560 17:21 น. (แก้ไขล่าสุด 2 มกราคม 2560 17:28 น.)

รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ปรับความถี่รับปีใหม่ โดยวันจันทร์-วันศุกร์ เป็น 10 นาที/ขบวน และวันเสาร์-อาทิตย์ เป็น 12 นาที/ขบวน เพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ประชาชนที่ต้องใช้บริการ หลังจากปรับโฉม รถ Express line 4 ขบวนเป็น City Line เสร็จแล้ว เพิ่มขีดรับผู้โดยสารเป็น 72,000 คน/วัน

นายประเสริฐ อัตตะนันทน์ กรรมการ และรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ เปิดเผยว่า เนื่องด้วยกระทรวงคมนาคมมีนโยบายในการเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ บริษัทฯ จึงดำเนินการปรับตารางเดินรถให้มีความถี่มากขึ้น เพื่อให้สามารถรองรับกับความต้องการใช้บริการของประชาชนที่มีเป็นจำนวนมาก โดยในวันจันทร์-วันศุกร์ จะเดินรถด้วยความถี่ 10 นาที ซึ่งจะสามารถช่วยเพิ่มจำนวนเที่ยวในการให้บริการรถไฟฟ้าฯจากเดิม 154 เที่ยวต่อวัน เป็น 195 เที่ยวต่อวัน


ส่วนในวันเสาร์-อาทิตย์นั้นจะเดินรถด้วยความถี่ 12 นาที โดยจะสามารถช่วยเพิ่มจำนวนเที่ยวในการให้บริการรถไฟฟ้าฯ จากเดิม 140 เที่ยวต่อวัน เป็น 182 เที่ยวต่อวัน ทั้งนี้มั่นใจว่าการปรับความถี่ตารางเดินรถจะสามารถช่วยอำนวยความสะดวก และรองรับความต้องการใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ของประชาชนได้เป็นอย่างดี

สำหรับการปรับความถี่การเดินรถครั้งนี้ เป็นผลจากที่ได้มีการปรับปรุงรถไฟฟ้าด่วน (Express line) จำนวน 4 ขบวน ให้เป็นรถธรรมดา (City Line) ซึ่งทำให้ขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจากเฉลี่ย 340 คน/ขบวน เป็น 740 คน/ขบวน หรือเพิ่มขึ้นจากเฉลี่ย 61,500 คน/วัน เป็น 72,000 คน/วัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 16/01/2017 12:29 pm    Post subject: Reply with quote

“สามารถ” ปูดรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์เสี่ยงอันตราย แผ่นเหล็กประทับรางเคลื่อน
โดย MGR Online
16 มกราคม 2560 11:25 น. (แก้ไขล่าสุด 16 มกราคม 2560 11:36 น.)
สามารถ แฉ นอตยึดแผ่นเหล็กรองรับรางแอร์พอร์ตลิงก์หลุด 159 จุด โชคดีตรวจพบทัน
มติชน
วันที่: 16 มกราคม 2560 เวลา: 12:39 น.

อดีต ส.ส.ปชป.ปูดรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์เสี่ยงวิกฤต เหตุนอตยึดแผ่นเหล็กกับรางหลุด ทำแผ่นเหล็กประทับรางเคลื่อน ระบุเกิดจากการขาดการดูแลซ่อมบำรุง คนในเมาท์รอเอื้อเอกชนเข้ามามำ หากินกับความเสี่ยงผู้โดยสาร

นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวเรื่อง “แอร์พอร์ตลิงก์ยังน่าห่วง” ว่า ได้เขียนเรื่องรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์มาเป็นระยะใน 2-3 ปีที่ผ่านมา เพราะห่วงใยผู้โดยสารจนถึงวันนี้ก็ยังคงเป็นห่วงจึงต้องเขียนเรื่องนี้อีกเพราะไม่ต้องการให้ผู้โดยสารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ตื่นตระหนกตกใจ แต่ต้องการให้ผู้บริหารแอร์พอร์ตลิงก์ หรือบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ตระหนักถึงการเข้มงวดกวดขันในการซ่อมบำรุงรักษารถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารและพนักงานทุกคน เพราะเมื่อไม่นานมานี้ การเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์บริเวณโค้งลาดกระบังมีการชะลอความเร็วจาก 45 กิโลเมตร (กม.) ต่อชั่วโมง (ชม.) เป็น 30 และ 15 กม.ต่อ ชม.ตามลำดับ ให้เหตุผลภายในองค์กรว่าแผ่นเหล็กประกบราง (หรือเหล็กรองรับราง) เคลื่อนตัวเนื่องจากนอตยึดแผ่นเหล็กหลุด เพราะตัวพุกที่ใช้ยึดไม่ยึดติดกับคอนกรีต จึงจำเป็นต้องลดความเร็วลง หากไม่ลดความเร็วอาจทำให้รถไฟฟ้าตกรางได้ ตามรายงานของฝ่ายซ่อมบำรุงรักษาระบุว่าจะต้องซ่อมบำรุงแผ่นเหล็กประกับรางถึง 159 จุด แบ่งเป็นจุดวิกฤต 59 จุด ไม่วิกฤต 100 จุด

นายสามารถระบุต่อว่า ประเด็นที่มีการวิจารณ์กันในหมู่คนทำงานด้านบำรุงรักษาที่แอร์พอร์ตลิงก์ คือ 1. เหตุใดจึงปล่อยให้เกิดปัญหาวิกฤตขึ้น เพราะหากมีการซ่อมบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นการซ่อมบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) ปัญหาวิกฤตก็จะไม่เกิดขึ้น โชคดีที่มีการตรวจพบจุดวิกฤตเสียก่อน หากตรวจไม่พบก็อาจทำให้รถไฟฟ้าตกรางได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง

2. มีการกล่าวหาว่า เหตุที่ปล่อยให้เกิดปัญหาวิกฤตก็เพราะเป็นความประสงค์ของผู้บริหารบางคนที่ต้องการว่าจ้างเอกชนรายหนึ่งให้มาทำการซ่อมบำรุงรักษาโดยไม่มีการประมูล หรือไม่มีการแข่งขัน เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายนั้นหรือไม่ โดยผู้บริหารเหล่านั้นจะอ้างว่าจำเป็นต้องเร่งซ่อมบำรุงรักษา มิฉะนั้น จะเกิดอุบัติเหตุรถไฟฟ้าตกราง ถึงเวลานี้มีการซ่อมจุดวิกฤตทั้ง 59 จุดเสร็จเรียบร้อยไปแล้ว

อนึ่ง การมุ่งจ้างเอกชนรายนั้นทำให้ดูเสมือนว่าพนักงานของแอร์พอร์ตลิงก์ไร้ความสามารถ เป็นผลให้พนักงานซ่อมบำรุงรักษาขาดขวัญและกำลังใจ จนทำให้พนักงานหลายคนรวมทั้งระดับวิศวกรอาวุโสต้องลาออก

3. มีการกล่าวหาอีกว่าเอกชนรายนั้นไม่มีประสบการณ์การซ่อมบำรุงรักษางานดังกล่าว เมื่อได้รับงานแล้วก็ไปว่าจ้างต่อ ที่สำคัญมีการพูดกันหนาหูว่าผู้บริหารบางคนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเอกชนรายนั้น ที่ตนนำเสนอเรื่องนี้ก็เพราะเป็นห่วงผู้โดยสาร และไม่ต้องการให้มีการหากินบนความเสี่ยงต่อความปลอดภัยในการให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์

ต้นฉบับดูที่นี่
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10208146134716254&set=a.3937093950938.2144377.1387533272&type=3
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 16/01/2017 7:34 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“สามารถ” ปูดรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์เสี่ยงอันตราย แผ่นเหล็กประทับรางเคลื่อน
โดย MGR Online
16 มกราคม 2560 11:25 น. (แก้ไขล่าสุด 16 มกราคม 2560 11:36 น.)
สามารถ แฉ นอตยึดแผ่นเหล็กรองรับรางแอร์พอร์ตลิงก์หลุด 159 จุด โชคดีตรวจพบทัน
มติชน
วันที่: 16 มกราคม 2560 เวลา: 12:39 น.

ต้นฉบับดูที่นี่
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10208146134716254&set=a.3937093950938.2144377.1387533272&type=3


งานนี้ Airport Link ชี้แจงครับ
https://www.facebook.com/AirportRailLink/posts/1348372538517713
https://www.facebook.com/AirportRailLink/posts/1348382878516679

แอร์พอร์ตลิงค์แจงเข้มงวดตรวจสอบซ่อมบำรุง
Thai PBS
16 มกราคม 2560 19:46
แอร์พอร์ตลิงก์ แจงมีระบบตรวจสอบซ่อมบำรุง เข้มงวด รูปภาพที่แชร์ คืออุปกรณ์ในศูนย์ซ่อม
มติชน
วันที่: 16 มกราคม 2560 เวลา: 19:59 น.
แอร์พอร์ตลิงก์แจงตรวจสอบการซ่อมบำรุงเข้มงวดเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร
โดย MGR Online
16 มกราคม 2560 22:49 น. (แก้ไขล่าสุด 17 มกราคม 2560 09:16 น.)


รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ แจงความเข้มงวดการซ่อมบำรุงของบริษัทฯ เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร หลังอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กพาดพิงถึงระบบการซ่อมบำรุง

วันนี้ (16 ม.ค.2560) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดเผยว่า จากกรณีที่นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กพาดพิง และระบุถึงระบบการซ่อมบำรุงของบริษัทฯ ว่ามีปัญหาในการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ บริเวณโค้งลาดกระบังมีการชะลอความเร็วจาก 45 กม.ต่อ ชม.เป็น 30 และ 15 กม.ต่อ ชม.ตามลำดับ ซึ่งมีการให้ข้อมูลภายในว่าแผ่นเหล็กประกบราง (หรือเหล็กรองรับราง) เคลื่อนตัวเนื่องจากนอตยึดแผ่นเหล็กหลุด เพราะตัวพุกที่ใช้ยึดไม่ยึดติดกับคอนกรีต จึงจำเป็นต้องลดความเร็วลง หากไม่ลดความเร็วอาจทำให้รถไฟฟ้าตกรางได้ และตามรายงานของฝ่ายซ่อมบำรุงรักษาระบุว่าจะต้องซ่อมบำรุงแผ่นเหล็กประกบรางถึง 159 จุด แบ่งเป็นจุดวิกฤต 59 จุด และไม่วิกฤต 100 จุด

นายสามารถ ระบุว่า บริษัทฯ ไม่มีการซ่อมบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอจนทำให้เกิดปัญหาขึ้น รวมทั้งยังพาดพิงด้วยว่าสาเหตุที่เกิดปัญหาขึ้น เป็นเพราะผู้บริหารบางคนต้องการว่าจ้างเอกชนรายหนึ่งให้มาทำการซ่อมบำรุงรักษาโดยไม่มีการประมูล หรือไม่มีการแข่งขัน เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายนั้น

บริษัทฯ ขอชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนและขอชี้แจงรายละเอียดดังต่อไปนี้

1.บริษัทมีการซ่อมบำรุงรักษา หรือที่เรียกว่าซ่อมบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) อย่างสม่ำเสมอ มีการตรวจสอบและประเมินด้วยสายตา (Visual Inspection) ทุก 4 เดือน และทำการตรวจสอบซ่อมบำรุงตาม (Overall Project Management) OPM – 0070 หรือคู่มือซ่อมบำรุงของผู้วางระบบฯ ที่ระบุว่าชุดอุปกรณ์ยึดเหนี่ยวรางจะต้องมีการเปลี่ยนทุก 10 ปี ซึ่งบริษัทได้ติดตั้งชุดอุปกรณ์ยึดเหนี่ยวรางมาเป็นระยะเวลา 9 ปี ทั้งนี้อุปกรณ์ยึดเหนี่ยวรางทั้งระบบรถไฟฟ้าระยะทาง 28 กิโลเมตร มีประมาณ 400,000 ตัว สำหรับบริเวณทางโค้งลาดกระบังระยะทาง 3 กิโลเมตร มีประมาณ 20,000 ตัว เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารบริษัทได้ดำเนินการแก้ไขชุดอุปกรณ์ยึดเหนี่ยวรางบริเวณทางโค้งลาดกระบังไปแล้ว 160 จุด ตั้งแต่เดือนธันวาคม2558–พฤษภาคม 2559 และได้เสริมกำลังคนเพิ่มเติมในวิศวกรรมระบบรางตั้งแต่เดือนเมษายน 2559 เพื่อเพิ่มความถี่ในการตรวจสอบ และประเมินด้วยสายตา (Visual Inspection) จากเดิมทุก 4 เดือนเป็นทุก 1 เดือน

2.บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสาร และจากการเพิ่มความถี่ในการตรวจสอบทุกๆ 1 เดือน ทำให้ตรวจพบในเดือนกันยายน 2559 ว่าจะต้องมีการซ่อมบำรุงแก้ไข จำนวน 159 จุด ซึ่งถูกบรรจุอยู่ในแผนการซ่อมบำรุงรักษาตามวาระแล้วต่อมาเดือนธันวาคมได้ทำการตรวจสอบและประเมินด้วยสายตา (Visual Inspection) พบว่ามีจุดที่ต้องดำเนินการซ่อมบำรุงแก้ไขทันที 50 จุด ตามเอกสารประเมินความเสี่ยง (Risk Assetment) โดยส่วนความปลอดภัยและคุณภาพของบริษัท ซึ่งต้องดำเนินการแก้ไขทันทีเพื่อความปลอดภัยในการให้บริการเดินรถไฟฟ้า

3.สำหรับบริษัทเอกชนที่เข้ามาดำเนินการซ่อมบำรุงชุดอุปกรณ์ยึดเหนี่ยวรางนั้น เป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ในการซ่อมบำรุงรางให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย รวมถึงเป็นผู้ชนะการสอบราคาของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ในโครงการจ้างตัดต่อรางบริเวณรอยเชื่อมบนทางประธานและทำการตรวจสอบวิเคราะห์สภาพความทนทานต่อการใช้งาน และทดสอบความแข็งแรงรอยเชื่อมแบบ Thermit ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในงานซ่อมบำรุงและมูลค่างานในการจ้างซ่อมชุดอุปกรณ์เครื่องยึดเหนี่ยวรางมีมูลค่า 250,000 บาท

ทั้งนี้ ในการซ่อมบำรุงชุดอุปกรณ์เครื่องยึดเหนี่ยวรางในจุดที่ต้องดำเนินการแก้ไขทันที 50 จุดนั้น บริษัทฯได้ดำเนินการแก้ไขแล้ว โดยคณะประเมินความเสี่ยงได้ทำการประเมินความปลอดภัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

สำหรับรูปภาพที่ปรากฏในเฟซบุคของนายสามารถและสื่อสังคมออนไลน์ เป็นรูปภาพของอุปกรณ์ที่อยู่ในพื้นที่โรงล้างรถไฟฟ้าภายในศูนย์ซ่อมบำรุง และอยู่ในแผนงานซ่อมบำรุงตามวาระแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2017 4:31 pm    Post subject: Reply with quote

อาจารย์สามารถเปิดศึกสงครามน้ำลายกะทาง Airport Link โต้คำชี้แจงของรฟท.
http://news.mthai.com/politics-news/544515.html
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10208153416298289&set=a.3728713981569.2140239.1387533272&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 23/01/2017 7:40 pm    Post subject: Reply with quote

หวั่นปชช.ได้รับอันตราย! สตง.สั่งแอร์พอร์ตลิงค์แจงข่าวน็อตยึดรางหลุดใน 15 วัน
เขียนโดยisranews
เขียนวันที่ วันเสาร์ ที่ 21 มกราคม 2560 เวลา 11:40 น.
สตง.ทำหนังสือถึง บ.รถไฟ ร.ฟ.ท.ฯ ขอให้ชี้แจงข่าวกรณีแผ่นเหล็กประกบราง Airport Rail Link บริเวณโค้งลาดกระบังเคลื่อนตัว เหตุน็อตยึดหลุด ภายใน 15 วัน ระบุหากเป็นความจริงอาจทำให้ปชช.ได้รับอันตราย-ราชการเสียหาย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 28/01/2017 11:38 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ซ้อมแผนเผชิญเหตุ สร้างเชื่อมั่นบริการรวดเร็ว ปลอดภัย
โดย MGR Online
28 มกราคม 2560 14:20 น.
แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จัดฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุของระบบราง ครั้งที่ 2 จำลองเหตุการณ์รถไฟฟ้าจอดกลางเส้นทางหลัก เนื่องจากไม่ได้รับการจ่ายไฟจากระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือหัว และอพยพผู้โดยสารโดยวิธีTrain to Track (จากรถไฟฟ้าไปสู่ราง)ตามบันทึกข้อตกลงการเผชิญเหตุ 13 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเชื่อมั่น การแก้ปัญหาเมื่อรถไฟฟ้าเกิดขัดข้องได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และสามารถได้กลับมาให้บริการได้อย่างรวดเร็ว

รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 27 ม.ค. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ได้จัดฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุของระบบการขนส่งสาธารณะทางรางในกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล ครั้งที่ 2 ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อเผชิญเหตุตามแผนบริหารความเสี่ยง และแผนเผชิญเหตุของระบบการขนส่งสาธารณะทางรางในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ที่ทำขึ้นเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหากรณีเกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิคของระบบขนส่งสาธารณะทางรางในกรุงเทพมหานคร ณ สถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน

โดยมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานการฝึกซ้อม และมีนายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม , รศ.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ประธานกรรมการบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด เข้าร่วมสังเกตการณ์การฝึกซ้อม

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง รักษาการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มสายงานปฏิบัติการ และซ่อมบำรุง บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงคมนาคมได้ร่วมกับหน่วยงานภายใต้สังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 13 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ กรมการขนส่งทางบก สำนักงานนโยบาย และแผนการขนส่งและจราจร องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BEM บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS และบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อเผชิญเหตุตามแผนบริหารความเสี่ยงและเผชิญเหตุของระบบการขนส่งสาธารณะทางรางในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหากรณีเกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิคของระบบขนส่งสาธารณะทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลนั้น


ตามขั้นตอนและวิธีการที่ได้กำหนดไว้ในคู่มือแผนบริหารความเสี่ยงและเผชิญเหตุของระบบการขนส่งสธารณะทางรางในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เพื่อที่ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสามารถแก้ไข และบรรเทาเหตุการณ์จนสามารถกลับมาให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจากบันทึกความร่วมมือดังกล่าวได้กำหนดให้ผู้ให้บริการรถเดินรถไฟฟ้า ได้แก่ BEM ,BTS และ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุฯ เป็นประจำทุก4 เดือน ซึ่งบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพจัดการฝึกซ้อมเผชิญเหตุฯครั้งที่ 2

โดยได้กำหนดให้มีการฝึกซ้อมในเหตุการณ์รถไฟฟ้าจอดกลางเส้นทางหลักเนื่องจากไม่ได้รับการจ่ายไฟจากระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือหัว และได้จำลองเหตุการณ์ในการฝึกซ้อมออกเป็น 2 เหตุการณ์ คือ การอพยพผู้โดยสารจากขบวนรถไฟฟ้าไปยังขบวนรถไฟฟ้าช่วยเหลือ (Train To Train) และ อพยพผู้โดยสารลงราง (Train To Track) ซึ่งเป็นการจำลองเหตุกาณ์เดียวกันกับการฝึกซ้อมแผนอพยพเคลื่อนย้ายผู้โดยสารกรณีเกิดเหตุขัดข้องกับรถไฟฟ้าที่บริษัทฯจัดเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง เพื่อเตรียมความพร้อมในการอพยพผู้โดยสารจากขบวนรถไฟฟ้าที่เสียในเส้นทางหลักอยู่แล้ว โดยครั้งล่าสุดได้ทำการฝึกซ้อมในวันที่ 29 มีนาคม 2559 และมีการสมมุติให้มีการฝึกซ้อมดังนี้

สมมุติให้เวลา 12.30 น. เกิดเหตุการณ์กระแสไฟที่จ่ายให้ขบวนรถไฟฟ้า ไม่สามารถจ่ายไฟได้ ตั้งแต่สถานีพญาไท ถึงสถานีมักกะสัน ทั้งฝั่งขาเข้าและขาออก และทำให้รถไฟฟ้า City01 หยุดกลางเส้นทางหลักโดยจอดเลยสถานีมักกะสันมุ่งหน้าไปทางสถานีสุวรรณภูมิ 200 เมตร ฝั่งขาออก โดยมีผู้โดยสารติดอยู่ในขบวนรถจำนวนมาก และไม่สามารถนำรถไฟฟ้าขบวนช่วยเหลือมาทำการต่อพ่วงเพื่อทำการอพยพผู้โดยสารแบบ Train to Platform (จากรถไฟฟ้าไปชานชาลา) สามารถนำรถไฟฟ้าขบวนช่วยเหลือมาจอดเทียบเพื่ออพยพแบบ Train to Train (จากรถไฟฟ้าไปรถไฟขบวนช่วยเหลือ) ได้ ให้หัวหน้าควบคุมการเดินรถ สั่งการให้พนักงานขับรถ City01 ทำการอพยพผู้โดยสารโดยวิธีTrain to Track (จากรถไฟฟ้าไปสู่ราง) โดยให้ทีมช่วยเหลือจากสถานีมักกะสันไปช่วยทำการอพยพและนำทางผู้โดยสารกลับมายังสถานีมักกะสัน

และให้หัวหน้าที่ควบคุมการเดินรถ สั่งการให้มีการเดินรถแบบ Short Loop (การเดินรถแบบรอบเส้นทางระยะสั้น)ระหว่างสถานีหัวหมากถึงสถานีสุวรรณภูมิ ส่วนสถานีที่เหลือให้ทำการปิดสถานี

ทั้งนี้เชื่อมั่นว่าการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุฯในครั้งนี้ จะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความพร้อมในการปฏิบัติตามคู่มือแผนบริหารความเสี่ยงและเผชิญเหตุของระบบการขนส่งสาธารณะทางรางในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล และประสานงานร่วมกัน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหากรณีเกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิคของระบบขนส่งสาธารณะทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และสามารถได้กลับมาให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 02/02/2017 11:48 am    Post subject: Reply with quote

"บีทีเอส-ซีเมนส์"สนเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ 40 ปี 4 หมื่นล้าน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
2 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 07:00:58 น.


ร.ฟ.ท.ชงบอร์ด PPP ดึงเอกชนลงขัน 4.1 หมื่นล้าน แอร์พอร์ตลิงก์สายเก่าพ่วงต่อขยาย "พญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง" ให้สัมปทาน 40 ปี "ซีเมนส์-อัลสตรอม-บีทีเอส" สนลงทุน ด้าน สคร.สั่งรถไฟทำรายละเอียดเพิ่ม 30 วัน คาดเสนอ ครม.อนุมัติไม่ทัน เม.ย.นี้

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ได้ส่งแผนลงทุนโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์พญาไท-สุวรรณภูมิ กับส่วนต่อขยายพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง เงินลงทุน 41,863.30 ล้านบาท ไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ (สคร.) พิจารณาโครงการ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการ (บอร์ด) PPP อนุมัติ

ดึงเอกชนลงทุน 40 ปี 4 หมื่น ล.

เนื่องจากโครงการนี้จากผลการศึกษาได้ข้อสรุปจะให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนในกิจการของรัฐ ปี 2556 รูปแบบ PPP Net Cost รัฐลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน งานโยธา ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ ส่วนเอกชนลงทุนขบวนรถ บริหารงาน และบำรุงรักษาทั้งระบบตลอดอายุสัมปทาน 40 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อเสนอของเอกชนที่สนใจจะลงทุนด้วยเช่นกัน แต่ทั้งหมดเป็นรูปแบบการลงทุนเบื้องต้นที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์โครงการ

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่าคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.) มีมติให้เอกชนร่วมลงทุนบริการเดินรถของแอร์พอร์ตลิงก์ และเป็นผู้บริหารจัดการหลักในรถไฟชานเมืองสายสีแดงแทน ร.ฟ.ท. แต่ ร.ฟ.ท.ขอบริหารรถไฟสายสีแดงเอง ส่วนแอร์พอร์ตลิงก์จะให้เอกชนมาร่วมดำเนินการโครงการตามมติ คนร.

โดยมีกรอบวงเงินทั้งโครงการ 41,863.30 ล้านบาท แยกเป็นค่าจ้างที่ปรึกษา ค่ารื้อย้ายและค่าเวนคืนที่ดิน 1,390 ล้านบาท งานโยธา 16,174 ล้านบาท งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล 8,481 ล้านบาท และจัดหาตู้รถไฟฟ้า 15,816 ล้านบาท ซึ่งรัฐจะลงทุน 26,046 ล้านบาท และเอกชนลงทุน 15,816 ล้านบาท

"เอกชนที่สนใจลงทุนต้องรับโอนธุรกิจจากรถไฟ มี 3 ส่วน คือ บุคลากร สินทรัพย์และสิทธิ์ในการเดินรถ ในส่วนของบุคลากรจะมีการโอนถ่ายไปจากบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของรถไฟ เพราะเอกชนรายใหม่ที่เข้ามาจะได้สิทธิ์เดินรถแอร์พอร์ตลิงก์สายเก่าและสายใหม่" แหล่งข่าวกล่าวและว่า

ปีนี้เปิดประมูล-ตอกเข็มปีหน้า

หลังจากบอร์ด PPP อนุมัติ ตามแผนงานของ ร.ฟ.ท. คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติภายในเดือน เม.ย.นี้ จากนั้นเดือน มิ.ย.จะประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมประมูล และเปิดยื่นซองในเดือน ก.ย. และประมาณเดือน ธ.ค. 2560-ม.ค. 2561 จะเสนอให้ ครม.อนุมัติ และเซ็นสัญญาก่อสร้างในเดือน ก.พ. 2561 จะใช้เวลาดำเนินการ 4 ปี คาดว่าจะเปิดบริการส่วนต่อขยายพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 20.7 กม. ในปี 2565 จะมีผู้โดยสารประมาณ 217,140 เที่ยวคน/วัน ในขณะที่ส่วนแอร์พอร์ตลิงก์ช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ จะให้เอกชนเข้ามาเดินรถในปี 2561

"ระบบรถที่จะนำมาวิ่งบริการจะเป็นระบบเดิม ที่วิ่งด้วยความเร็ว 160 กม./ชม. ซึ่งเอกชนจะต้องซื้อรถในปี"63 จำนวน 52 ตู้ เป็นรถประเภท City Line ทั้งหมด"

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ทั้งนี้จากการทดสอบความสนใจของเอกชนในการลงทุนที่มีเทคโนโลยีระบบรถไฟและระบบที่เกี่ยวข้อง ปรากฏว่าทางบริษัท ซีเมนส์ จำกัด, บริษัท มารุเบนิ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท อัลสตรอม (ประเทศไทย) จำกัด ให้ความสนใจในหลักการของโครงการ เนื่องจากโครงการมีขนาดใหญ่และได้ขอรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อศึกษาข้อมูลสำหรับความเป็นไปได้ในการเข้าร่วมโครงการ

บีทีเอสสนใจลงทุน

ด้านบริษัทเอกชนที่มีประสบการณ์ในการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงได้สอบถามไปยังบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี มีความสนใจในการลงทุนโครงการตั้งแต่ก่อสร้างงานโยธา ระบบไฟฟ้า ขบวนรถ การดำเนินการและซ่อมบำรุง ซึ่งโครงการมีผลตอบแทนด้านการเงินสูงมากกว่า 10% แต่มีข้อเสนอให้รัฐกำหนดรูปแบบการสนับสนุนให้เอกชน เช่น การรับประกันปริมาณผู้โดยสาร พร้อมกับเปิดโอกาสในการรับคนของแอร์พอร์ตลิงก์เดิมเข้าร่วมงานด้วย

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.บีทีเอสซี กล่าวว่า สนใจลงทุนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ เนื่องจากเป็นธุรกิจหลักของบริษัท และมีแนวเส้นทางต่อเชื่อมกับบีทีเอสที่สถานีพญาไท แต่ขอดูรายละเอียดของโครงการ

"รูปแบบลงทุนจะให้สัมปทานเอกชน 40 ปีก็น่าสนใจ แต่ต้องขึ้นอยู่กับโมเดลธุรกิจด้วย เพราะแนวจะซ้อนทับกับสายสีแดง และสายสีเขียว ซึ่งรัฐจะต้องช่วยสนับสนุนการลงทุนให้เอกชนด้วย"

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ล่าสุด สคร.สั่งให้ ร.ฟ.ท.ทำรายละเอียดข้อมูลโครงการเพิ่มเติมให้เสร็จใน 30 วัน เพื่อให้ข้อมูลชัดเจนขึ้น ก่อนเสนอคณะกรรมการ PPP พิจารณา เช่น สมมุติฐานการวิเคราะห์รูปแบบโครงการ การจัดทำทดสอบความสนใจเอกชน ที่ท้วงติงว่าสอบถามเอกชนน้อยเกินไป คาดว่าจะเสนอให้ ครม.อนุมัติไม่ทันเดือน เม.ย.นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 24/02/2017 1:31 pm    Post subject: Reply with quote

ครบ 6 ปีแอร์พอร์ตลิงก์ ผู้โดยสารทะลุ 108 ล้านคน จ่อซื้อรถเพิ่ม 15 ตู้
โดย MGR Online
24 กุมภาพันธ์ 2560 07:41 น. (แก้ไขล่าสุด 24 กุมภาพันธ์ 2560 08:50 น.)

แอร์พอร์ตเรลลิงก์เปิดบริการรวม 6 ปี ขนผู้โดยสารรวมถึง 108.3 ล้านคน เตรียมปรับแผนเร่งจัดหาตู้รถไฟฟ้าเพิ่มอีก 15 ตู้ใช้งานช่วงจัดซื้อรถใหม่ 7 ขบวนยังไม่คืบ เตรียมทำแผนชงการรถไฟฯ ภายในปีนี้ ส่วนการซ่อมบำรุงใหญ่รถ 9 ขบวนเริ่มตั้งแต่ พ.ค. 60

นายวิสุทธิ์ จันมณี กรรมการ รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ รฟฟท.อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อจัดหาตู้รถไฟฟ้าเพิ่มให้เพียงพอต่อการรองรับผู้ใช้บริการ โดยปัจจุบันรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์รวม City Line และ Express Line มีทั้งหมด 9 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ จะปรับเพิ่มเป็นขบวนละ 6-7 ตู้ ซึ่งเบื้องต้นประเมินว่าต้องจัดหาอีก 15 ตู้ โดยกำลังหารือกับบริษัทซีเมนส์ ซึ่งเป็นระบบและรถไฟฟ้าที่แอร์พอร์ตเรลลิงก์ใช้อยู่ปัจจุบัน เพราะต้องดูรายละเอียดเรื่องระบบ และการใช้งานต่างๆ ด้วย

ทั้งนี้ คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปีนี้ก่อนนำเสนอไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อขออนุมัติงบประมาณ และเริ่มการสั่งผลิตช่วงปี 2561 เมื่อนำมาวิ่งบริการแล้วจะสามารถรองรับผู้โดยสารเพิ่มได้อีก 40,000 คนต่อวัน นอกจากนี้ รฟฟท.ยังเตรียมดำเนินการซ่อมบำรุงใหญ่ (Overhaul) รถไฟฟ้าทุกขบวน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่ง 1 ขบวนจะใช้เวลา 1 เดือน แต่มั่นใจว่าจะไม่กระทบต่อการให้บริการ เพราะที่เหลืออีก 8 ขบวนยังบริหารจัดการให้รองรับเพียงพอต่อความต้องการได้

ขณะเดียวกัน รฟฟท.ยังมีแผนที่จะปรับปรุงตู้สัมภาระ ซึ่งอยู่ในขบวนรถไฟฟ้า Express Line ที่ปัจจุบันปรับตู้โดยสารมาเป็นแบบ City Line ทั้งหมดแล้วด้วยการเพิ่มที่นั่งจากเดิมมี 200 ที่นั่ง เป็น 700 ที่นั่ง เหลือเพียงตู้สัมภาระที่ยังไม่ได้ปรับปรุง โดยมีทั้งหมด 4 ตู้ (ขบวนละ 1 ตู้) ซึ่งจะต้องมีการทำที่นั่งผู้โดยสารและติดเครื่องปรับอากาศและระบบต่างๆ เพิ่มเติม วงเงินรวมประมาณ 20 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดพร้อมให้บริการได้ช่วงปลายปีนี้

“ยอมรับว่าแผนจัดซื้อรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 7 ขบวนจะเดินไปลำบากและคงอีกยาวไกล ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะจบ ดังนั้นเราก็ต้องมาบริหารจัดการเท่าที่เราสามารถทำได้ก่อน เช่น การจัดหาตู้รถมาเพิ่ม ซึ่งเป็นนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่สั่งการมาช่วงปลายปี 2559” นายวิสุทธิ์กล่าว

นายวิสุทธิ์กล่าวเพิ่มเติมว่า รฟฟท.ยังมีแผนปรับปรุงการให้บริการเพื่อความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร ด้วยการย้ายเครื่องจำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติทั้ง 8 สถานีให้อยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และมีแผนจะเพิ่มปริมาณตู้ให้มากขึ้นภายในสถานีที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก เช่น สถานีพญาไทเดิมมีอยู่ 9 เครื่อง จะเพิ่มอีก 3 เครื่อง สถานีลาดกระบังเดิมมี 5 เครื่อง จะเพิ่มอีก 3 เครื่อง และสถานีสุวรรณภูมิเดิมมี 9 เครื่อง จะเพิ่มอีก 1 เครื่อง

ด้านนายสุเทพ พันธุ์เพ็ง รักษาการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มสายงานปฏิบัติการ และซ่อมบำรุง รฟฟท. เปิดเผยว่า แผนการจัดซื้อรถไฟฟ้า 7 ขบวนนั้น ล่าสุดคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟฟท. และบอร์ด ร.ฟ.ท.ได้มีมติเห็นชอบให้ รฟฟท.ทำการปลดล็อกระบบของซีเมนส์ก่อน เพื่อให้สามารถรองรับการเชื่อมต่อสายทางรถไฟฟ้าอื่นๆ ได้ในอนาคต โดยมีวงเงินปลดล็อก 1,900 ล้านบาท ซึ่งทราบว่า ร.ฟ.ท.ได้ส่งเรื่องไปตามขั้นตอนเพื่อเสนอของบประมาณแล้ว และเมื่อปลดล็อกระบบเรียบร้อยแล้วจึงจะสามารถดำเนินการเปิดประกวดราคาเพื่อจัดหาขบวนรถใหม่ได้

ทั้งนี้ ในปี 2559 รฟฟท.มีผู้โดยสาร 21.1 ล้านคน โดยจากที่เปิดให้บริการมารวม 6 ปี ตั้งแต่ปี 2553 ถึงปัจจุบันวันที่ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาพบว่ามีปริมาณผู้โดยสารรวมที่ 108.3 ล้านคน เฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 10-12% ต่อปี โดยขณะนี้ รฟฟท.มีผู้โดยสารวันธรรมดาที่ 6.8-7 หมื่นคนต่อวัน วันเสาร์-อาทิตย์เฉลี่ยที่ 5 หมื่นคนต่อวัน

นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังมีนโยบายด้านการให้บริการเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มาใช้บริการอีกด้วย โดยนโยบายที่สำคัญในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ การปรับเปลี่ยนภายในขบวนรถไฟฟ้าด่วน 4 ขบวน และการปรับเปลี่ยนตารางเดินรถทั้งวันจันทร์-ศุกร์ และวันเสาร์-อาทิตย์ ให้มีความถี่มากขึ้น ซึ่งทั้ง 2 นโยบายได้ช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย และเพิ่มความสามารถในการรองรับผู้โดยสารในแต่ละวัน สังเกตได้จากยอดจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้นจนทำลายสถิติยอดผู้โดยสารสูงสุด (New High) ไปเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 ที่จำนวน 80,706 คน

รายงานข่าวแจ้งว่า ตั้งแต่เดือนเมษายนนี้ รฟฟท.ได้ร่วมกับสายการบินเวียตเจ็ท จัดทำโปรโมชันกระตุ้นการขาย โดยผู้โดยสารที่มีบัตรสมาร์ทพาสของแอร์พอร์ตเรลลิงก์สามารถนำมาใช้เป็นส่วนลดในการซื้อตั๋วโดยสารเวียตเจ็ท 10% และสายการบินเวียตเจ็ทจะมีการจำหน่ายบัตรสามาร์ทพาสแอร์พอร์ตเรลลิงก์บนเครื่องบินด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 13/03/2017 7:06 pm    Post subject: Reply with quote

RT@ThonGThonGZa: แอร์พอร์ทลิ้งเสียอีกละ หายใจไม่ออก มีผดสทุบส่วนฉุกเฉินเปิดประตู เพื่อหาอากาศหายใจ คนแน่นมาก ระหว่างสถานีราชปรารถไปรามคำแหง

18:40 AirportRailLink แจ้งขบวนรถไฟฟ้าขัดข้อง ระหว่างสถานีมักกะสัน>รามคำแหง เกิดความล่าช้าประมาณ 30 นาที เจ้าหน้าที่กำลังเร่งดำเนินการแก้ไข
https://www.facebook.com/js100radio/photos/a.121434294546813.13344.116483835041859/1381997838490446/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 124, 125, 126 ... 159, 160, 161  Next
Page 125 of 161

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©