Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181596
ทั้งหมด:13492834
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมบันทึกมักกะสัน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมบันทึกมักกะสัน
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44334
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/01/2017 4:23 pm    Post subject: Reply with quote

สคร.จี้รถไฟส่งแผนมักกะสัน ลุ้นนายกฯชี้ขาดสิทธิ์ต้นม.ค.
โดย ฐานเศรษฐกิจ - 4 January 2560

แผนพัฒนาที่ดินมักกะสันไม่คืบ สคร.จี้การรถไฟฯเร่งส่งแผน ก่อนเสนอบอร์ดฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจ 5 ม.ค.2560 ลุ้นซูเปอร์บอร์ดชี้ขาด

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การประชุมคณะอนุกรรมการฟื้นฟูหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ วันที่ 5 มกราคม 2560 นี้ โดยมีพล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานอนุกรรม การพิจารณากลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ จะประชุมแผนฟื้นฟูหน่วยงานรัฐวิสาหกิจทั้ง 7 แห่งว่ามีความคืบหน้าไปอย่างไรโดยเฉพาะหน่วยงานสำคัญอย่างองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่จะติดตามเป็นพิเศษ

โดยเฉพาะโครงการที่ต้องการความชัดเจนและติดตามเร่งด่วน คือ คืบหน้าโครงการการพัฒนาที่ดินบริเวณมักกะสัน ซึ่งแต่เดิมนั้น สคร. เตรียมเสนอให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือ ซูเปอร์บอร์ด พิจารณาว่าจะให้สิทธิ์หน่วยงานใดเป็นฝ่ายพัฒนาพื้นที่ระหว่างกรมธนารักษ์ หรือการรถไฟแห่งประเทศไทย

ทั้งนี้หากกำหนดให้กรมธนารักษ์เป็นผู้พัฒนาพื้นที่แล้ว ร.ฟ.ท. สามารถลดภาระหนี้ที่มีสูง 1.8 แสนล้านบาท ให้เหลือ 1.2 แสนล้านบาทได้ทันที เนื่องจากมติเดิมของคนร.อนุมัติให้การรถไฟฯส่งมอบพื้นที่มักกะสันจำนวน 497 ไร่ ให้กรมธนารักษ์บริหาร แลกกับการลดหนี้มูลค่า 6.1 หมื่นล้านบาท การโอนที่ดินมักกะสันให้กรมธนารักษ์กลับไปบริหารก็ยังเป็นส่วนหนึ่งในวิธีที่ช่วยให้ ร.ฟ.ท. ที่อยู่ระหว่างการทำแผนฟื้นฟูกิจการมีสถานะการเงินดีขึ้นด้วย

“ตามแผนเดิมสคร.จะต้องเสนอให้นายกฯ พิจารณาภายให้ทันในเดือนธันวาคม 2559 แต่การที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ยังไม่เสนอแผนการพัฒนาเข้ามาทำให้ สคร. ยังไม่สามารถเสนอให้นายกฯ พิจารณาได้ว่าจะตัดสินให้สิทธิ์ว่าหน่วยงานใดพัฒนาที่ดินมักกะกันแน่ ส่วนตัวคงไม่สามารถทำอะไรได้ ต้องรอกระทรวงคมนาคมเสนอแผนพัฒนาเข้ามาก่อน ก่อนที่จะเสนออีกครั้งในเดือนมกราคม 2560”

นายเอกนิติ กล่าวนอกจากนี้ในการประชุมนัดวันที่ 5 มกราคม 2560 จะมีการติดตามแผนฟื้นฟูของทั้ง 7 หน่วยงานรัฐวิสาหกิจร่วมกัน คือบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ ธพว. (เอสเอ็มอีแบงก์) และ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ว่าในปี 2560 นั้นจะมีหน่วยงานไหนบ้างที่จะหลุดจากแผนฟื้นฟูได้ รวมถึงแนวโน้มตลอดจนผลงานของทั้ง 7 แห่งในปี 2559 ที่ผ่านมา ความคืบหน้าเบิกจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจทั้งหมด

“ผลการทำงานของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในปี 2559 ที่ผ่านมาโดยเฉพาะความคืบหน้าการเบิกจ่ายของแต่ละแห่งจะถูกนำมาประกอบในการประเมินผลการการทำงานของซีอีโอแต่ละรัฐวิสาหกิจด้วย ซึ่งขณะนี้ได้สรุปผลงบลงทุน-และงบเบิกจ่ายไปให้ประธานบอร์ดทุกแห่งในการพิจารณาความดีความชอบของซีอีโอด้วย ซึ่งในปี 2560 แน่นอนว่ายุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่จะเน้นเรื่องการลงทุนโครงการขนาดใหญ่โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด หน่วยงานรัฐวิสาหกิจจึงถือเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลและที่สำคัญตั้งแต่ต้นปี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เตรียมที่จะประชุมแผนการเบิกจ่ายและการลงทุนปี 2560 ในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแล้ว”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,223 วันที่ 1 – 4 มกราคม 2560
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2017 12:21 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเร่งแผนปฏิรูปการรถไฟฯให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานมากขึ้น พร้อมเตรียมพัฒนาสถานีมักกะสันให้เป็น "สถานีกลาง 2 (Grand Station 2)" เพื่อให้บริการรถไฟความเร็วสูงเส้นทาง กรุงเทพฯ-ระยอง ในอนาคต ส่วนสถานีกลางบางซื่อจะเป็นชุมทางหลักของรถไฟฟ้าความเร็วสูง และรถไฟฟ้าสายต่างๆในกรุงเทพฯและปริมณฑล
https://www.facebook.com/ThailandSkyline/photos/a.485893644885568.1073741828.485891468219119/856945294447066/?type=3&theater

โปรเจ็กต์ยักษ์‘มักกะสัน’ จับตาร.ฟ.ท.รักษาผลประโยชน์ตัวเอง?
โดย ฐานเศรษฐกิจ - 16 January 2560357
ออนไลน์เมื่อ 16 มกราคม 2560
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,227 วันที่ 15 – 18 มกราคม 2560

จัดได้ว่าเป็นที่ดินอีกหนึ่งทำเลทองของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่รัฐบาลหลายยุคหลายสมัยมีความพยายามจะนำไปพัฒนาหารายได้เชิงพาณิชย์แต่ก็ไม่สามารถทำได้สำเร็จ เบื้องต้นพบว่ามีการศึกษาความเหมาะสม การศึกษาออกแบบรายละเอียดตลอดจนการศึกษาความเป็นไปได้หรือแม้กระทั่งการศึกษาความคุ้มค่าด้านการลงทุนครั้งแล้วครั้งเล่า หมดงบประมาณเพื่อทบทวนผลการศึกษาไปจำนวนไม่น้อย แต่ก็ยังเสนอรัฐบาลอนุมัติให้ดำเนินการไม่สำเร็จสักที

ช่วงที่นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ทำหน้าที่ปลัดกระทรวงคมนาคม ก็ได้เสนอให้ย้ายโรงงานไปอยู่แก่งคอยในรูปแบบ “ชุมชนคนรถไฟ” ตามผลการศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดยเสนอรัฐบาลคิดค่ารื้อย้ายเป็นเงินไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาท โดยกำหนดเป็นเงื่อนไขเอาไว้ในรายละเอียดร่างเอกสารเอกสารประกวดราคาและให้เอกชนผู้ลงทุนพัฒนามักกะสันนั่นแหละรับไปดำเนินการ

ต่อมาในยุคพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำรัฐบาล นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ทำหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอให้กระทรวงการคลังเช่าบริหารที่ดินระยะ 50 ปี และสามารถต่อสัญญาได้อีก 50 ปี รวมเป็น 100 ปีเพื่อนำรายได้ไปหักลบกลบหนี้ของ ร.ฟ.ท.ที่มีอยู่ขณะนั้นราว 1 แสนล้านบาท โดยมอบหมายให้กรมธนารักษ์เข้าไปบริหารจัดการพื้นที่ รูปแบบเปิดโอกาสให้เอกชนร่วมลงทุนแต่ก็เจอปมปัญหาความไม่ชัดเจนเรื่องการนำที่ดินที่ได้จากการเวนคืนไปพัฒนาหารายได้เชิงพาณิชย์ผิดกฏหมายหรือไม่ ส่งผลให้โครงการล่าช้าออกไปอีกครั้ง

ล่าสุดได้มีความพยายามนำที่ดินแปลงทำเลทองไปพัฒนาหารายได้เชิงพาณิชย์ในชยุคคสช.นี้โดยคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) มีมติให้ร.ฟ.ท.เร่งโอนที่ดินมักกะสันไปให้กระทรวงการคลัง เพื่อเปิดทางให้กรมธนารักษ์รับไปบริหารจัดการพัฒนาโครงการตามวัตถุประสงค์ แต่ก็ไม่สามารถทำได้ง่ายๆเนื่องจากร.ฟ.ท.ยื่นหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาว่าร.ฟ.ท.มีอำนาจหน้าที่บริหารพื้นที่ดังกล่าวและสามารถนำไปพัฒนาหารายได้เชิงพาณิชย์ได้หรือไม่ จนความพยายามดังกล่าวมาสำเร็จในยุคนี้

คนร.ชี้ ร.ฟ.ท. เป็นเจ้าภาพ

โดยในครั้งนี้นายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ออกมาเปิดเผยถึงกรณีที่ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.) ครั้งล่าสุดว่ามีแนวโน้มให้ร.ฟ.ท. ได้รับหน้าที่บริหารจัดการพื้นที่ดังกล่าว โดยไม่ต้องโอนมอบพื้นที่ให้กระทรวงการคลัง แต่มีเงื่อนไขว่าร.ฟ.ท. จะต้องเสนอแผนดำเนินการให้กระทรวงการคลังพิจารณาเพื่อให้เห็นแนวทางความเป็นไปได้ว่าจะสามารถหารายได้จากการพัฒนาที่ดินแปลงดังกล่าวมาชดเชยหรือจ่ายภาระหนี้ราว 1 แสนล้านบาท ห้หมดหรือลดน้อยลงไปได้อย่างไร

ปัจจุบันที่ดินมักกะสันมีทั้งหมด 745 ไร่ แต่เหลือพื้นที่ที่สามารถนำไปพัฒนาได้ราว 497 ไร่เท่านั้นเนื่องจากส่วนหนึ่งเป็นบึงน้ำมักกะสันราว 133 ไร่ เป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ ถนนโลคัลโรดเลียบทางรถไฟ ถนนนิคมการรถไฟ 39 ไร่ ก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ 27.5 ไร่ และทางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ 47 ไร่

แม้ ร.ฟ.ท.เจ้าของที่ดินมีแนวโน้มจะได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพบริหารจัดการ ก็ต้องลุ้นเนื้อในแผนพัฒนามักกะสัน โปรเจ็กต์ระดับแสนล้านบาท เพราะเพียงแค่มูลค่าที่ดินกว่า 6-7 หมื่นล้านบาทแล้ว จะประกอบด้วยอะไรบ้าง ในการสร้างสรรค์ทำเลทองให้เป็นทำเลแพลทินัม กลายเป็นแลนด์มาร์คสำคัญของการลงทุน

ซึ่งถือเป็นโจทย์ท้าทายของการรถไฟฯ เนื่องจากมีบางฝ่ายแคลงใจในฝีมือบริหารจัดการของ ร.ฟ.ท. ว่าจะสามารถทำได้ดีหรือไม่ จึงได้มีการตั้งข้อสังเกตหลายประการจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) หรือแม้กระทั่งคนในกระทรวงคมนาคมเองก็ตาม

ตามแผน ร.ฟ.ท.จะเปิดโอกาสให้เอกชนร่วมลงทุนและเอกชนจะเข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดการ ซึ่งนางสิริมา หิรัญเจริญเวช รองผู้ว่าการกลุ่มการบริหารทรัพย์สิน ร.ฟ.ท. ยืนยันว่าพร้อมรับหน้าที่บริหารจัดการพื้นที่ดังกล่าวนี้เองตามขั้นตอนการที่จะต้องปฏิบัติตามพ.ร.บ.การร่วมลงทุนในกิจการของรัฐปี พ.ศ.2556

โดยเบื้องต้นนั้นได้นำเสนอแผนให้สคร.และคนร.พิจารณาไปรอบหนึ่งแล้วพร้อมมั่นใจว่าระยะเวลา 30 ปีแรกจะสร้างรายได้จำนวนเท่าไหร่ ระยะเวลา 60 ปีและ 99 ปีจะสร้างรายได้เท่าไหร่ ซึ่งตามกรอบวงเงินที่กรมธนารักษ์เสนอจ่ายให้ร.ฟ.ท. ราว 6.3 หมื่นล้านบาทนั้นนางสิริมายืนยันว่าตามแผนของร.ฟ.ท.ที่นำเสนอไปยังจะทำรายได้สูงกว่า 6.5 หมื่นล้านบาท

สัญญา30ปีแรกต่อได้อีก50 ปี

นอกจากนั้น ร.ฟ.ท.ยังจะได้กำหนดสัญญาไว้หลายปีโดยแบ่งเป็น 30 ปีแรก 50 ปีต่อไปโดยจะมีการพิจารณาภายหลังการครบกำหนดสัญญาในแต่ละปีที่สิ้นสุดให้สอดคล้องกับปัจจุบันอีกครั้ง อีกทั้งยังย้ำชัดเจนว่าจะอ้างอิงตามผลการศึกษาเดิมของ ร.ฟ.ท. และยังจะให้มีการปรับผลการศึกษาให้สอดคล้องกับปัจจุบันเมื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติดำเนินการต่อไป

ดังนั้นแผนการพัฒนาเชิงพาณิชย์บนทำเลทองใจกลางเมืองอย่างมักกะสันจะสามารถทำได้สำเร็จในยุคคสช.บริหารประเทศได้หรือไม่ คงต้องติดตามความคืบหน้ากันอย่างต่อเนื่องเนื่องจากการพัฒนาที่ดินแปลงนี้ยืดเยื้อมานาน มีการอ้างถึงผลประโยชน์ของแต่ละหน่วยเข้ามาเกี่ยวข้อง แม้กระทั่งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ร.ฟ.ท.ยังออกมาปกป้องว่าเป็นที่ดินที่น่าจะมีการประเมินมูลค่าได้มากกว่า 6.3 หมื่นล้านบาท

ท้ายที่สุดนั้นใน1-2 ปีนี้คงจะมีคำตอบให้หลายคนหายสงสัยว่า ร.ฟ.ท. จะบริหารจัดการอย่างไร ทำได้สำเร็จหรือไม่ เพื่อปกป้องประโยชน์ของการรถไฟฯเอาไว้ให้ได้นานเท่านาน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44334
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/02/2017 10:39 pm    Post subject: Reply with quote

คลังล้มแผนที่ดินมักกะสัน
โพสต์ทูเดย์ 27 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:16 น.

คลังจ่อพับแผนบริหารที่ดินมักกะสันแลกหนี้ 6.1 หมื่นล้าน ปล่อย รฟท.บริหารหารายได้ใช้หนี้แสนล้าน

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เปิดเผยความคืบหน้าการพัฒนาที่ดินมักกะสันว่า หลังจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เสนอขอเป็นผู้พัฒนาที่ดินมักกะสันเอง แทนการมอบให้กรมธนารักษ์ไปบริหารจัดการเพื่อแลกกับภาระหนี้ 6.1 หมื่นล้านบาทนั้น ทาง คนร.ได้มอบหมายให้ รฟท.กลับไปทำแผนและรายละเอียดการบริหารจัดการที่ดิน และแนวทางการชำระหนี้มาเสนอ คนร.

ทั้งนี้ คนร.ได้ให้หลักการว่า กรณีที่ รฟท.ต้องการบริหารที่ดินมักกะสันเอง ขอให้รายได้ทั้งหมดที่ได้จากการบริหารที่ดินดังกล่าวต้องนำมาชำระหนี้เงินต้น และดอกเบี้ยของ รฟท.ที่มีภาระหนี้สินอยู่ราว 1.1 แสนล้าน แบ่งเป็นหนี้สินในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ 3.3 หมื่นล้านบาท และหนี้สินสะสมเดิมอีก 6.1 หมื่นล้านบาท โดยจะไม่ให้นำไปรวมในผลดำเนินงานปกติของ รฟท. เนื่องจากมีผลดำเนินงานขาดทุนตกปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาท

นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า กรมธนารักษ์อยู่ระหว่างรอการตัดสินใจของ คนร. เกี่ยวกับแผนบริหารที่ดินมักกะสัน ที่ รฟท.จะเสนอให้พิจารณา คนร. พิจารณา หาก คนร.มีมติเห็นชอบแผนดังกล่าว เท่ากับให้ รฟท.เป็นผู้บริหารที่ดินมักกะสัน ดังนั้นแผนที่จะให้กรมธนารักษ์เข้าไปบริหารที่ดินมักกะสันเพื่อแลกกับภาระหนี้ 6.1 หมื่นล้านบาท คงต้องยุติแนวคิดดังกล่าวลง ทั้งหมดนี้ต้องรอมติ คนร.อย่างเป็นทางการก่อน

นายอำนวย ปรีมนวงศ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะทำงานกำกับติดตามการพัฒนาที่ดินไม่ได้ใช้เพื่อการเดินรถของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า ทาง รฟท.มีแผนตั้งบริษัทลูกมาบริหารที่ดินที่ไม่ได้ใช้เดินรถและไม่เกิดประโยชน์ 3.9 หมื่นไร่ ซึ่ง รฟท.จะถือ 100% เป้าหมายคือเพื่อบริหารจัดการที่ดินของ รฟท.ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากปัจจุบัน รฟท.มีรายได้จากที่ดินทั้งหมดเพียงกว่า 2,000 ล้านบาท/ปี ซึ่งโครงการพัฒนาที่ดินตรงมักกะสันก็จะอยู่ในแผนพัฒนาที่ รฟท.ที่จะให้บริษัทลูกที่ตั้งขึ้นใหม่เข้ามาบริหารด้วย

ทั้งนี้ เบื้องต้น รฟท.เตรียมจ้างเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญมาบริหารงานไปก่อนเพื่อทำระบบข้อมูลฐาน เนื่องจาก รฟท.ไม่มีฐานข้อมูลที่ดิน นอกจากนี้ยังต้องจัดทำร่างสัญญาประกวดราคา การคัดเลือกผู้เช่าและผู้ที่จะเข้ามาบริหารที่ดิน โดยระหว่างนี้ ทาง รฟท.ก็เตรียมตั้งบริษัท เพื่อรอรับการถ่ายงานจากเอกชน คาดว่าใช้เวลา 3-5 ปี ถึงจะให้บริษัทลูกที่จะจัดตั้งขึ้นมาบริหารงานต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 26/06/2017 2:18 am    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นจีบทำศูนย์อสังหาฯ มักกะสัน ชี้เชื่อมอีอีซี-มีไฮสปีด'ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา'
ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด
10 มิถุนายน 2560

ญี่ปุ่นสนใจลงทุนที่ดินย่านมักกะสันของการรถไฟฯ พัฒนาเป็นศูนย์อสังหาริมทรัพย์ ชี้เชื่อมต่ออีอีซีภาคตะวันออก และมีรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินคือ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา ส่วนสถานีกลางบางซื่อญี่ปุ่นไม่สนบอกพื้นที่เล็กเกิน
นายพิชิต อัคราทิตย์ รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับรองอธิบดีกรมเมืองฝ่ายวิศวกรรม กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(ไจก้า) ว่า หารือความคืบหน้ากรณีญี่ปุ่นเสนอศึกษาแผนการพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ และพื้นที่โดยรอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์คมนาคมพหลโยธิน
ครั้งนี้ฝ่ายไทยขอให้ญี่ปุ่นศึกษาความสามารถในการแข่งขันของคู่แข่งเอกชน ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงใหญ่บริเวณโดยรอบเพิ่มเติมด้วย และแนวโน้มความต้องการของนักลงทุนที่จะเข้ามาพัฒนาพื้นที่บริเวณดังกล่าว ญี่ปุ่นจะเข้ามาสำรวจและสอบถามความต้องการผู้ประกอบการในไทยจำนวน 5 บริษัท และผู้ประกอบการญี่ปุ่นจำนวน 5 บริษัท เพื่อให้เห็นความต้องการในภาพรวม
นอกจากนี้ยังขอให้ญี่ปุ่นนำต้นแบบการพัฒนาเมืองสมาร์ตซิตี้ หรือเมืองประหยัดพลังงาน ที่ไจก้าเคยศึกษาร่วมกับกระทรวงพลังงานมาประยุกต์กับสถานีกลางบางซื่อด้วย คาดว่าญี่ปุ่นจะเสนอผลการศึกษาฉบับเต็มให้ไทยได้ในกลางเดือนส.ค.นี้
นายพิชิตกล่าวอีกว่าฝ่ายไทยยังเห็นชอบร่วมกัน ให้ญี่ปุ่นศึกษาแผนการพัฒนาที่ดินเพิ่มเติมอีก 3 แปลงคือ ที่ดินกม.11 ย่านพหลโยธิน 359 ไร่, ที่ดินย่านมักกะสัน 571 ไร่ และที่ดินย่านสถานีแม่น้ำ คลองเตย 279 ไร่ โดยญี่ปุ่นจะเสนอผลการศึกษา ได้ในเดือนมี.ค.2561
"เราถามไปว่านักลงทุนญี่ปุ่นสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่แปลงเอ ของสถานีกลางบางซื่อหรือไม่ ทางญี่ปุ่นตอบว่าไม่สนใจเนื่องจากพื้นที่เล็กเกินไป แต่สนใจพัฒนาพื้นที่แปลงมักกะสันมากกว่า เพื่อต่อยอดเป็นธุรกิจอสังหา ริมทรัพย์ เพราะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่"นายพิชิตกล่าว
รมช.คมนาคมกล่าวอีกว่า ที่สำคัญเป็นพื้นที่เชื่อมต่อเข้าพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ในอนาคตจะมีรถไฟฟ้าความเร็วสูง เชื่อมการเดินทางระหว่าง 3 สนามบิน คือ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา อีกด้วย หากเปิดประมูลเชื่อมั่นว่าญี่ปุ่นจะเข้าเป็นหนึ่งในนักลงทุนต่างชาติที่ร่วมแข่งขันแน่นอน
[url][/url]
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 28/06/2017 2:45 am    Post subject: Reply with quote

นี่ครับ Makkasan Complex ที่ Design Concept ออกแบบ ที่กลายเป็นแผลในใจคนจพำนวมนมากเหลือเกิน
http://designconceptarchitect.com/Master_Planning_Makkasan_Complex.html
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44334
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/08/2017 6:22 pm    Post subject: Reply with quote

รมช.คมนาคม คาดร.ฟ.ท.จะเปิดประมูลพื้นที่บางซื่อและมักกะสันได้ปี 61
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2560 17:31:11 น.

นายพิชิต อัคราทิตย์ รมช.คมนาคม กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาทดสอบความสนใจของนักลงทุน (Market Sounding) โครงการทบทวนเพื่อศึกษาเพิ่มเติมผลการศึกษาความเหมาะสมด้านธุรกิจและการลงทุนโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณพื้นที่ย่านมักกะสัน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตาม พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 ว่า ในส่วนของ รฟท.นั้นจะมีการจัดตั้งบริษัท บริหารสินทรัพย์ ภายใน 2 เดือน ซึ่งจะเสนอเรื่องให้คณะกรรมการคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) พิจารณาได้ปลายเดือน ก.ย.นี้ และจะเสนอ ครม.ขออนุมัติ โดย รฟท.จะถือหุ้น 100% แยกการบริหารจาก รฟท. เพื่อให้มีความคล่องตัวในการจ้างบุคลากรทั้งหมด, การระดมทุน คาดว่า ในปี 2561 จะเปิดประมูลพื้นที่บางซื่อและมักกะสันได้

โครงการนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ 1 ใน 4 ผืนใหญ่ใน กทม.และอยู่ใจกลางเมือง หากสามารถพัฒนาไปในทิศทางที่เหมาะสมจะส่งผลให้เกิดการเปิดพื้นที่ใหม่ ทำให้ กทม.เปลี่ยนไป เป็นเมืองที่มีความทันสมัยระดับสากล ทั้งทางเศรษฐกิจ จะมีผลด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบ ธุรกิจเศรษฐกิจ

บริเวณย่านมักกะสันเป็นจุดเชื่อมต่อด้านโลจิสติกส์ที่สำคัญ โดยเฉพาะมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมกับ 3 สนามบิน และยังมีระบบรถไฟทางคู่เชื่อมสถานีบางซื่อไปทั่วประเทศ และสามารถเชื่อมประเทศอาเซียนและจีนตอนใต้อีกด้วย โดยเป็นส่วนสำคัญที่จะปฎิรูปเพิ่มรายได้ แก้ปัญหาขาดทุนของ รฟท. การสัมมนานี้จะรับฟังความเห็นนักลงทุนเพื่อเป็นจุดเรื่มต้นในการออกแบบโครงการ

บริเวณมักกะสันมีพื้นที่ทั้งสิ้น 508.92 ไร่ การศึกษาทบทวนแบ่งออกเป็น 4 โซน ได้แก่ โซน A ขนาด 139.82 ไร่ เป็นส่วนธุรกิจการค้า สถานีรถไฟความเร็วสูง โรงแรม ร้านค้าปลอดภาษี ศูนย์ประชุม ห้างสรรพสินค้า โซน B ขนาด 179.02 ไร่ เป็นย่านธุรกิจสำนักงาน ธนาคาร โรงแรม โซน C ขนาด 151.40 ไร่ เป็นที่อยู่อาศัยและสาธารณสุข โรงเรียน และโซน D ขนาด 38.68 ไร่ เป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44334
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/08/2017 9:54 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดทำเลทองมักกะสัน 2 แสนล้าน
โพสต์ทูเดย์ 31 สิงหาคม 2560 เวลา 21:30 น.

Click on the image for full size

นิด้าเผยผลศึกษาการพัฒนาพื้นที่มักกะสัน แบ่งพัฒนา 4 แปลง รวม 500 ไร่ บิ๊กอสังหารุมตอม คาดมูลค่า 200,000 ล้านบาท

ผศ.ดร.ประดิษฐ์ วิธิศุภกร อธิการบดีสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) ในฐานะประธานที่ปรึกษาโครงการ เปิดเผยว่า รฟท.ได้ดำเนินการว่าจ้างศึกษาแผนพัฒนาพื้นที่มักกะสัน จำนวน 500 ไร่ ซึ่งถือว่าเป็นอีกทำเลทองของเมืองหลวงมูลค่านับแสนล้านบาท โดยจากการศึกษาพบว่าจะพัฒนาตามแนวทางดังนี้

โครงการพัฒนาบริเวณพื้นที่ย่านมักกะสัน มีพื้นที่508.92 ไร่ การดำเนินงานออกเป็น 4 แปลง ประกอบด้วย แปลงเอ 139.82 ไร่ จะพัฒนาเป็นส่วนธุรกิจสำนักงาน อาทิ มักกะสันทาวเวอร์, ศูนย์ข้อมูลธุรกิจ, อาคารสำนักงาน, อุตสากรรมของรัฐ, ธนาคาร และ โรงแรม

แปลงบี 179.02 ไร่ เป็นส่วนธุรกิจการค้า อาทิ สถานีเชื่อมสู่ท่าอากาศยาน, โรงแรม, ร้านค้าปลอดภาษี, ศูนย์ประชุม-สัมมนา, ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว, อาคารสำนักงาน, ห้างสรรพสินค้าและอาคารที่จอดรถ

แปลงซี 151.40 ไร่ ส่วนพิพิธภัณฑ์ รฟท. อาทิ พิพิธภัณฑ์ รฟท., ที่ทำการส่วนราชการและโรงแรม และแปลงดี38.68 ไร่ ส่วนที่อยู่และสาธารณสุข อาทิ โรงพยาบาลระดับนานาชาติ, โรงเรียนนานาชาติ, เวิลด์คิทเช่นมาร์ท, ศูนย์แสดงสินค้าและเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ซึ่งมีแผนจัดทำเป็นครีเอทีฟปาร์คแห่งแรกในประเทศอีกด้วย

ทั้งนี้รฟท.หวังพัฒนาพื้นที่มักกะสันเป็น thailand gateway รองรับการพัฒนาเมืองแบบสมาร์ทซิตี้เชื่อมโยงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจอีอีซี ทั้งยังมีสวนสาธารณะจำนวน 150 ไร่ตามนโยบายรัฐบาลคสช.แบ่งเป็นโซนสวนสาธารณะ 85ไร่และโซนบึงมักกะสัน 65 ไร่ พร้อมเชื่อมต่อระบบการเดินทางอย่างครบครับทั้ง รถไฟความเร็วสูง(สถานีมักกะสัน) รถไฟฟ้าใต้ดิน(สถานีอโศก) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม(สถานีราชปรารภ) นอกจากนี้ยังมีแผนพัฒนารถไฟรางเบาระบบแทรมและรถโดยสารสาธารณะเพื่อรับส่งผู้โดยสารภายในพื้นที่มักกะสันอีกด้วย นอกจากนี้พื้นที่ดังกล่าวยังนับว่าเป็นทำเลทองใจกลางเมืองที่รายล้อมด้วยโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ทั้งโครงการ G Land Tower โครงการที่พักอาศัยไฮเอนด์ the nine และสิงห์คอมเพล็กซ์อีกด้วย

สำหรับเอกชนและนักลงทุนหลายกลุ่มให้ความสนใจเข้าร่วมเวทีรับฟังเสียงภาคเอกชน อาทิ บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, เครือบีทีเอส, บมจ. ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM, ช.การช่าง, ศุภาลัย, พฤกษา, อารียา, แม็คโคร, แมกโนเลีย, เอราวัณ, บิ๊กซี, เซ็นทรัลพัฒนา, เจ้าพระยามหานคร, สยามพิวรรธน์, ภูเก็ตพัฒนาเมือง เป็นต้น

ด้านแหล่งข่าวจากนิด้าระบุว่า โครงการพื้นทีมักกะสันราว 500 ไร่นั้นมีมูลค่าที่ดินเพิ่มขึ้นอย่างมากจากที่รฟท.ศึกษาราคาพื้นที่เมื่อปี 2554 โดยปัจจุบันมีอัตรามูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 100% หรือมูลค่าราว 200,000 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 01/09/2017 11:55 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เปิดทำเลทองมักกะสัน 2 แสนล้าน
โพสต์ทูเดย์ 31 สิงหาคม 2560 เวลา 21:30 น.

ร.ฟ.ท.จับมือนิด้าเปิดเวทีรับฟังความเห็นเอกชนพัฒนาพื้นที่ย่านมักกะสัน
ASTV
31 สิงหาคม 2560 เวลา 17:57:00 โดย: MGR Online
นายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดการสัมมนาทดสอบความสนใจของนักลงทุน โครงการทบทวนเพื่อศึกษาเพิ่มเติมผลการศึกษาความเหมาะสมด้านธุรกิจและการลงทุน โครงการพัฒนาบริเวณพื้นที่ย่านมักกะสัน การรถไฟแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ณ โรงแรม อมารี วอเตอร์เกท ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า โครงการพัฒนาพื้นที่มักกะสันมีผลในทางเศรษฐกิจอย่างมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ใจกลางเมืองที่มีความสำคัญ เป็นศูนย์กลางจุดเชื่อมต่อด้านลอจิสติกส์ ทั้งในกรุงเทพมหานคร ระดับประเทศ รวมไปถึงอาเซียน และยังจะเชื่อมโยงสนามบินหลักทั้ง 3 แห่งของประเทศ ได้แก่ สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา

ทางด้าน รศ.ดร.ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในฐานะหน่วยงานที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวว่า การสัมมนาครั้งนี้คณะที่ปรึกษาได้นำเสนอรายละเอียดการดำเนินโครงการ ตั้งแต่หลักการและเหตุผลในการดำเนินโครงการ การศึกษาโครงการที่ผ่านมา รูปแบบการพัฒนาโครงการ ตลอดจนงานจราจรในพื้นที่ แบ่งเป็น 4 โซน ภายใต้พื้นที่ประมาณ 509 ไร่ ขณะที่พื้นที่โครงการพัฒนาย่านมักกะสัน ร.ฟ.ท. มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 745 ไร่
ทั้งนี้ คณะที่ปรึกษาฯได้นำเสนอการเปิดพื้นที่ส่วนหนึ่งของแปลง A 100 กว่าไร่ เป็นโซนแรกให้เอกชนร่วมลงทุน ก่อนจะจัดการพื้นที่แปลงอื่นๆ อีกประมาณ 200 กว่าไร่ รวมพื้นที่ทั้งหมดสำหรับพัฒนา 330 ไร่ พร้อมทั้งเสนอให้เอกชนที่สนใจลงทุนพื้นที่ที่ติดกับสวนนั้นรับผิดชอบดูแลสวนและหารายได้ควบคู่ไปกับการพัฒนาชุมชนด้วย
ชง คนร.ตั้ง บ.บริหารสินทรัพย์รถไฟ ปลาย ก.ย. ดันปี 61 ประมูลทำเลทอง”บางซื่อ-มักกะสัน“
ASTV
31 สิงหาคม 2560 เวลา 19:10:00

ชง คนร.ตั้ง บ.บริหารสินทรัพย์รถไฟ ปลาย ก.ย. ดันปี 61 ประมูลทำเลทอง”บางซื่อ-มักกะสัน“
"พิชิต"เร่งตั้ง บ.ลูก บริหารสินทรัพย์การรถไฟฯ ชง คนร.ปลาย ก.ย.นี้ คาดเข้า ครม.ได้ใน 2 เดือน แยกอำนาจบริหารออกจาก ร.ฟ.ท. ปี 61 ประมูลนำร่องบางซื่อ,มักกะสันได้ ขณะที่ พัฒนามักกะสัน 508.92 ไร่ มูลค่าเกือบแสนล้าน เผยนโยบาย EEC ช่วยกระตุ้นประมูลโซน A แปลง 1,2,3 กว่า 46 ไร่ได้ก่อน

วันที่ 31 ส.ค.การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้จัดการสัมมนาทดสอบความสนใจของนักลงทุน (Market Sounding ) โครงการทบทวนเพื่อศึกษาเพิ่มเติมผลการศึกษาความเหมาะสมด้านธุรกิจและการลงทุน โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณพื้นที่ย่านมักกะสัน การรถไฟแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 ซึ่งว่าจ้างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ศึกษา ซึ่งมีภาคเอกชน นักธุรกิจ นักลงทุน เข้าร่วมรับฟังความคืบหน้าและเสนอความเห็นในการพัฒนาพื้นที่จำนวนมาก

นายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า มักกะสันเป็นที่ดินแปลงใหญ่ใจกลางเมือง หากสามารถออกแบบการพัฒนาที่เหมาะสม จะเป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มของพื้นที่และทำให้ เปลี่ยนกทม. เป็นเมืองที่มีความทันสมัยระดับสากล ทั้งทางเศรษฐกิจ จะมีผลด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบ ธุรกิจเศรษฐกิจ ซึ่งในส่วนของรฟท.นั้น จะมีการจัดตั้ง บริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นบริษัทลูกขึ้นมาบริหารที่ดิน แปลงใหญ่ ได้ภายใน2 เดือนนี้ ซึ่งจะเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ได้ปลายเดือนก.ย.นี้ และคาดว่าภายใน1 เดือนต่อไป จะเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบได้
ทั้งนี้ รฟท.จะถือหุ้น 100% ในบริษัท บริหารสินทรัพย์ แต่บริษัทลูกนี้จะแยกการบริหารจากรฟท. เพื่อให้มีความคล่องตัวในการจ้างบุคลากรทั้งหมด,ในการระดมทุนและมีระบบการบริหารที่เป็นธรรมาภิบาลเทียบเท่าบริษัทมหาชน ซึ่งจะเสนอครม.เพื่อขอยกเว้นระเบียบรถไฟในบางเรื่องโดยหลังครม.เห็นชอบบริษัท บริหารสินทรัพย์ จะเริ่มพัฒนาโครงการได้ โดยในปี 2561 คาดว่าจะเปิดประมูลพื้นที่บางซื่อและมักกะสัน ได้

ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินนั้น นายพิชิตกล่าวว่า จะเป็นคนละส่วนกับการพัฒนาพื้นที่มักกะสัน ซึ่งคงไม่สามารถยกพื้นที่มักกะสันให้ผู้ที่จะมาลงทุนรถไฟความเร็วสูงได้แต่ทั้งนี้ อาจจะมีการเจรจาตามเงื่อนไขรูปแบบการพัฒนาร่วมกันได้ เช่น การแบ่งให้ลงทุนโดยคิดค่าใช้จ่ายต่ำ ส่วนการพัฒนาพื้นที่มักกะสัน ขณะนี้ยังไม่สรุปต้องระบหังความเก็นจากผู้เกี่ยวข้อง นักลงทุน จากนั้นจะนำไปจัดทำทีโออาร์ และเสนอรัฐบาลขออนุมัติก่อน

"ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินจะเป็นตัวนำลูกค้าเข้ามักกะสัน ดังนั้นจะเป็นโครงการที่มาเสริม ขณะที่การพัฒนาที่ดินรถไฟมีหลายวิธีทั้งการให้เช่า/ร่วมทุนพัฒนา(PPP) หรือ จะพัฒนาเอง โดยใช้ทรัพย์ไปรถไฟระดมทุนมาลงทุน เป็นต้น"

สำหรับมักกะสันมีพื้นที่ทั้งสิ้น508.92 ไร่ เป็นพวงราง 30 ไร่ สวน 150 ไร่ และพื้นที่พาณิชย์ 314 ไร่ ซึ่งการศึกษาทบทวนแบ่งออกเป็น4โซน มูลค่าเกือบแสนล้านบาท ได้แก่ โซน A ขนาด139.82 ไร่ เป็นส่วนธุรกิจการค้า สถานีรถไฟความเร็วสูง โรงแรม ร้านค้าปลอดภาษี ศูนย์ประชุม ห้างสรรพสินค้า โซนB ขนาด 179.02 ไร่ เป็นธุรกิจสำนักงาน ธนาคาร โรงแรม โซนC ขนาด151.40 ไร่ เป็นที่อยู่อาศัยและสาธารณสุข โรงเรียน โซนDขนาด 38.68 ไร่ เป็นพิพิธภัณฑ์ รถไฟ

โดยแบ่งออกเป็น 17 แปลง ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดประมูลโซนA ในแปลง 1,2,3 ได้ก่อน เนื่องจากอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และสอดคล้องกับ นโยบายรัฐบาล และคณะกรรมการEEC ซึ่งเร่งรัดรถไฟฟ้าเชื่อม3 สนามบินโดยคาดว่าจะอนุมัติโครงการได้ในปี 2561 และเริ่มก่อสร้างได้ เพื่อเปิดใช้ในปี 2566
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44334
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/09/2017 10:20 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งประมูลพื้นที่รถไฟ
โพสต์ทูเดย์ 01 กันยายน 2560 เวลา 07:26 น.

นายพิชิต อัคราทิตย์ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดตั้งบริษัทลูกด้านบริหารทรัพย์สิน เพื่อเข้ามาดูแลการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) คาดจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือน พ.ย. เพื่ออนุมัติให้ดำเนินการจัดตั้งบริษัทได้ต่อไป

ทั้งนี้ หลังจัดตั้งบริษัทดังกล่าวจะเดินหน้าร่างเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) ของโครงการพื้นที่แปลงเอ สถานีกลางบางซื่อ ขนาด 32 ไร่ มูลค่า 1 หมื่นล้านบาท และพื้นที่แปลงเอ บริเวณมักกะสัน พื้นที่ราว 130 ไร่ เปิดประมูลให้ได้ในปี 2561

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าการจัดตั้งบริษัทลูกด้านบริหารทรัพย์สินนั้น รฟท.จะเป็นผู้ถือหุ้น 100% เพื่อให้มีความอิสระในการบริหารและแบ่งแยกงานของบุคลากรภายในองค์กร ส่วนประเด็นด้านความคล่องตัวในการบริหารนั้นกระทรวงคมนาคมยังไม่มีแผนเสนอออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แบบเฉพาะเจาะจงเหมือนรัฐวิสาหกิจรายใหญ่รายอื่น แต่อาจอาศัยมติ ครม.เพื่อขอยกเว้นข้อกฎหมายบางข้อที่เพื่อให้บริหารงานไม่มีอุปสรรค

ด้าน นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รฟท. กล่าวว่า การเปิดให้เอกชนเข้ามาพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณมักกะสัน ในประเด็นระยะเวลาสัมปทานที่เหมาะสมทั่วไปน่าจะอยู่ 30 ปี แต่กรณีการลงทุนห้างสรรพสินค้าและที่พักอาศัยรวมถึงคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่นั้นเอกชนมองว่า 30 ปี ยังไม่คุ้มค่า จึงอาจขยายเวลาสัมปทานเป็น 50 ปี หรือ 99 ปีก็เป็นได้

นายประดิษฐ์ วิธิศุภกร อธิการบดี ในฐานะประธานที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า จะเสนอผลศึกษาโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์เข้าคณะกรรมการบริหารกิจการ (บอร์ด) รฟท.และกระทรวงคมนาคมก่อนเสนอเข้าที่ประชุม ครม.ภายในปีนี้ เพื่อเปิดประมูลโครงการพื้นที่แปลงเอ มูลค่าหลายหมื่นล้านภายในไตรมาสแรกของปี 2561

แหล่งข่าวจากสถาบันพัฒนบริหาร ศาสตร์ (นิด้า) ในฐานะเป็นที่ปรึกษาโครงการพัฒนาพื้นที่ รฟท. ระบุว่า โครงการพื้นที่มักกะสัน 500 ไร่ มีมูลค่าที่ดินเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับการศึกษาของ รฟท.เมื่อปี 2554 โดยปัจจุบันมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 100% หรือประมาณ 2 แสนล้านบาท โดยหวังพัฒนาพื้นที่มักกะสันเป็น thailand gateway รองรับการพัฒนาเมืองแบบสมาร์ทซิตี้เชื่อมโยงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจอีอีซีและเชื่อมต่อระบบการเดินทางทุกประเภท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44334
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/09/2017 12:27 pm    Post subject: Reply with quote

ผ่าแผนพัฒนาพื้นที่ ‘มักกะสัน’ สู่สมาร์ทซิตี้
เรื่องโดย คมชัดลึก | ภาพโดย คมชัดลึก 4 กันยายน 2560 05:08 น.

อภิมหาโปรเจกต์ขนาดใหญ่ใจกลางกรุงบนเนื้อที่กว่า 745 ไร่ ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เตรียมเนรมิตให้เป็นเมืองใหม่ หรือ สมาร์ท ซิตี้บริเวณพื้นที่ย่านมักกะสันเพื่อรองรับการคมนาคมขนส่งทั้งระบบที่เป็นจุดบรรจบของไฮสปีดเทรนทั้ง 3 สาย กลายเป็นประตูสู่กรุงเทพฯ ที่เปิดรับผู้มาเยือนจากทั่วโลก

มักกะสันเป็น 1 ใน 4 ที่ดินแปลงใหญ่ของกรุงเทพฯ ซึ่งหากพัฒนาได้ตามเป้าหมายก็จะทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ทันสมัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถรองรับโลจิสติกส์ในระดับประเทศและอาเซียน เชื่อมต่อโครงการกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 ท่าอากาศยาน โครงการรถไฟฟ้า 3 เส้นทาง และรถไฟทางคู่ รวมทั้งจะส่งผลดีต่อการปฏิรูปการรถไฟฯ

พิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวระหว่างเป็นประธานในพิธีเปิดงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นสรุปผลการทบทวน/ศึกษาเพิ่มเติมความเหมาะสมด้านธุรกิจและการลงทุนโครงการพัฒนาบริเวณพื้นที่ย่านมักกะสันของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ตาม พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) พ.ศ.2556 โดยมีนักลงทุนหลายกลุ่มให้ความสนใจเข้าร่วมงานสัมมนาดังกล่าวกว่า 200 ราย อาทิ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, เครือบีทีเอส, บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM, ช.การช่าง, ศุภาลัย, พฤกษา, อารียา, แม็คโคร, แมกโนเลีย, เอราวัณ, บิ๊กซี, เซ็นทรัลพัฒนา, เจ้าพระยามหานคร, สยามพิวรรธน์, ภูเก็ตพัฒนาเมือง เป็นต้น

สำหรับโครงการดังกล่าวการรถไฟฯเป็นผู้ว่าจ้างให้สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์หรือนิด้าเป็นผู้ออกแบบสำรวจและทำการศึกษาจนได้ผลสรุป โดยมีการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 โซน ได้แก่
โซนเอ(A) ซึ่งเป็นส่วนธุรกิจการค้า จำนวน 139.82 ไร่ประกอบด้วย สถานีเชื่อมสู่ท่าอากาศยาน โรงแรม ศูนย์ประชุม-สัมมนา ห้างสรรพสินค้าและอาคารจอดรถ
โซนบี (B) เป็นส่วนอาคารสำนักงาน จำนวน 179.2 ไร่ ประกอบด้วย มักกะสัน ทาวเวอร์ ศูนย์ข้อมูลธุรกิจ อาคารสำนักงาน อุตสาหกรรมของรัฐ ธนาคาร
โซนซี(C) เป็นส่วนของพิพิธภัณฑ์ จำนวน 151.0 ไร่ ประกอบด้วยส่วนที่อยู่อาศัยและสาธารณสุข ประกอบด้วยโรงพยาบาลระดับนานาชาติ โรงเรียนนานาชาติ ศูนย์แสดงสินค้าและ
โซนดี(D) เป็นส่วนพิพิธภัณฑ์การรถไฟฯ จำนวน 38.6 ไร่ ประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์การรถไฟ ที่ทำการส่วนราชการ โดยแต่ละโซนนั้นยกเว้นโซนดีจะถูกกำหนดให้มีพื้นที่สีเขียวหรือสวนสาธารณะไม่ต่ำกว่า 15 ไร่

"มักกะสันเป็นกุญแจสำคัญที่จะพัฒนาการรถไฟฯ ให้เป็นองค์กรชั้นนำต่อไปได้ การพัฒนาทรัพย์สินที่การรถไฟฯ มีอยู่กว่า 3 แสนล้านบาทให้ได้ผลตอบแทนในลักษณะที่เป็นราคายุติธรรม ก็สามารถทำให้การรถไฟฯ เปลี่ยนโฉมไปเลย"

รมช.คมนาคมกล่าวต่อไปว่าประเด็นสำคัญตอนนี้คือการตั้งบริษัทลูกเพื่อบริหารทรัพย์สินของการรถไฟฯ ซึ่งจะทำให้โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ มีความชัดเจนมากขึ้น โดยกระทรวงคมนาคมตั้งเป้าหมายจะเสนอเรื่องการตั้งบริษัทลูกให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) พิจารณาในปลายเดือนกันยายนนี้และจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในเดือนตุลาคม 2560

เบื้องต้นจะขอให้ ครม.เห็นชอบการจัดตั้งบริษัทดังกล่าว โดยยกเว้นระเบียบ 2 ส่วนเพื่อให้มีความคล่องตัวในลักษณะเดียวกับ ปตท. หรือการบินไทย คือ 1.ยกเว้นระเบียบการจ้างบุคลากรทั้งหมดให้ไม่ต้องอิงกับ พ.ร.บ.การรถไฟฯ เพราะต้องการจ้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง 2.ขอให้ใช้โครงการระดมทุนด้วยตัวเองได้อย่างอิสระ เช่น ออกตราสารหนี้ หรือกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) รูปแบบต่างๆ เป็นต้น หากเป็นไปตามแผนก็คาดว่าจะเปิดประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้ภายในปี 2561 แต่ตอนนี้ยังระบุไม่ได้ว่าจะเปิดประมูลพื้นที่มักกะสันแปลงใด รูปแบบใด และเมื่อใด เพราะการพัฒนาพื้นที่มักกะสันเพิ่งอยู่ในระยะเริ่มต้นและสามารถปรับเปลี่ยนได้อีก จึงต้องรอรายละเอียดที่ชัดเจนอีกครั้ง

ขณะที่วรวุฒิ มาลารองผู้ว่าการรฟท.ฝ่ายบริหารทรัพย์สินระบุว่าพื้นที่ทรัพย์สินของการรถไฟฯเป็นของทุกคน ดังนั้นการพัฒนาพื้นที่จะต้องให้มีทุกคนมีส่วนร่วมว่าอยากได้พื้นที่ออกมาเป็นหน้าตาอย่างไร ซึ่งการออกแบบจะมุ่งไปที่ 3 กลุ่มเป้าหมายคือพื้นที่สีเขียว พื้นที่ธุรกิจและที่อยู่อาศัยของประชาชน โดยพื้นที่แต่ละแห่งของการรถไฟฯจะต้องเชื่อมโยงกัน ถือเป็นการเริ่มต้นการพัฒนากทม.ไปอีกจุดหนึ่ง

เราอยากให้มักกะสันเป็นจุดเชื่อมโลจิสติกส์ของกทม. รถไฟความเร็วสูงก็มาจอดเป็นสถานที่สุดท้ายที่นี่ ตอนนี้การรถไฟฯอยู่ในช่วงปฏิรูปหน่วยงานและการพัฒนาระบบโลจิสติกส์"รองผู้ว่าการรฟท.กล่าว

รศ.ดร.ประดิษฐ์ วรรณรัตน์อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวถึงที่มาของโครงการ โดยระบุว่าการรถไฟฯได้ว่าจ้างนิด้าเป็นที่ปรึกษาเพื่อทบทวนโครงการพัฒนาพื้นที่ย่านมักกะสัน เนื่องจากผลการศึกษาเดิมจัดทำไว้ตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งตอนนี้สภาพแวดล้อมก็เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว ขณะเดียวกันการบังคับใช้กฎหมายพีพีพีก็เปลี่ยนจากฉบับปี 2535 เป็นปี 2556"

การศึกษาใหม่ยังอ้างอิงผลการศึกษาเดิมบางส่วน โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 โซนเท่าเดิม แต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายมากขึ้น โดยเฉพาะนโยบายการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ของรัฐบาล"

อธิการบดีนิด้าเผยต่อว่าในเฟสแรกจะเปิดประมูลพื้นที่โซนเอและโซนซีบางส่วน เนื่องจากเป็นพื้นที่ว่างเปล่า จากนั้นจะทยอยเปิดประมูลแปลงอื่นๆ ตามมา ขณะเดียวกันจะขอให้นักลงทุนพัฒนาพื้นที่โซนบีและโซนซี บางส่วนเป็นพื้นที่สีเขียวด้วย ซึ่งแต่ละโซนจะต้องไม่ต่ำกว่า 15 ไร่

นับเป็นอีกก้าวของการพัฒนาพื้นที่ย่านมักกะสันของการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นสมาร์ท ซิตี้ที่มีความพร้อมในทุกๆ ด้านและเป็นหน้าด่านแรกการเปิดประตูสู่กรุงเทพฯอีกด้วย

หลากมุมมองต่อการพัฒนาพื้นที่"มักกะสัน"

สำหรับมุมมองของผู้ประกอบการและนักลงทุนที่เข้าร่วมฟังสรุปผลโครงการในครั้งนี้ ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการพัฒนาพื้นที่ย่านมักกะสันเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเมืองหลวง หากแต่ยังคงไว้ซึ่งสถาปัตยกรรมยุคบุกเบิกสมัยรัชกาลที่5 เปลี่ยนโรงซ่อมรถจักร เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา ยกระดับโรงพยาบาลรถไฟสู่สากลไว้รองรับลูกค้าชาวต่างชาติ

ตัวแทนจากสมาคมสถาปนิกสยามฯให้มุมมองว่านอกจากของเดิมที่มีอยู่แล้วจะต้องเพิ่มของใหม่เข้าไปด้วยสำหรับอาคารพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการรถไฟตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ส่วนระบบโลจิสติกส์นอกจากการขนส่งระบบรางทั้งรถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าแล้วจะต้องให้ความสำคัญคมนาคมทางน้ำด้วย เนื่องจากพื้นที่อยู่ไม่ไกลกับคลองแสนแสบ มีเรือวิ่งประจำอยู่แล้ว เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวด้วย

"การออกแบบพัฒนาย่านมักกะสันควรจะเอาแบบอย่างการคมนาคมทางบกของโตเกียว อินเตอร์เนชั่นเนล ฟอรั่มในโตเกียว มาผนวกกับของเมืองอัมสเตอร์ดัมที่มีจุดเด่นระบบการขนส่งทางน้ำมาไว้ด้วยกัน เพราะของเรามีพร้อมอยู่แล้ว"

อำพน ทองรัตน์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยเห็นด้วยกับการพัฒนาพื้นที่ย่านมักกะสัน โดยให้มุมมองไว้ 3 ประเด็นคือ
1.การประหยัดพลังงาน รูปแบบของอาคารจะต้องประหยัดพลังงานเป็นสำคัญ อย่างเช่นการใช้โซลาร์เซลล์บนหลังคาโรงซ่อมรถจักร เป็นต้น
2.การพัฒนายกระดับโรงพยาบาลรถไฟสู่อินเตอร์เพื่อรองรับผู้ให้บริการชาวต่างชาติด้วยและ
3.การอนุรักษ์อาคารพิพิธภัณฑ์เดิมเอาไว้ เป็นอาคารที่สร้างมาตั้งแต่ปี 2450 สมัยล้นเกล้าฯรัชกาลที่5 เป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามมากและการปรับเปลี่ยนโรงซ่อมรถจักรที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์จะต้องอนุรักษ์ไว้ ไม่ทำลายทิ้งเมื่อมีการย้ายโรงซ่อมรถจักรไปยังที่แห่งใหม่

"โรงพยาบาลรถไฟมีที่ตั้งทำเลที่ดีมากๆ เพราะติดถนนทั้ง 3 สาย มีเนื้อที่มากถึง 30 ไร่ เป็นโรงพยาบาลที่มีเนื้อที่มากที่สุดในประเทศไทย จะต้องมีการพัฒนา ยกระดับไปสู่ธุรกิจมากขึ้น"อำพน กล่าวย้ำ

อย่างไรก็ตามทางการรถไฟฯจะทำการประชาพิจารณ์โครงการโดยให้ผู้เกี่ยวข้องหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมรับฟังสรุปผลการศึกษาอีกครั้งในวันอังคารที่ 5 กันยายน นี้ ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกต ประตูน้ำ เวลา 13.00-16.00 น.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
Page 5 of 9

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©