Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180609
ทั้งหมด:13491844
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 156, 157, 158 ... 228, 229, 230  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/04/2017 8:20 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.ยกระดับความปลอดภัย คุมเข้มทุกสถานี-ขบวนรถไฟฟ้า
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 4 เม.ย. 2560 15:20

รฟม. ยกระดับมาตรการรักษาความปลอดภัย คุมเข้มภายในสถานีและขบวนรถไฟฟ้าทั้ง สายเฉลิมรัชมงคล และสายฉลองรัชธรรม สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้โดยสาร

เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 60 นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากเหตุระเบิดที่บริเวณสถานีรถไฟใต้ดิน นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย ทำให้ รฟม. ตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้โดยสาร จึงได้สั่งการให้ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้า MRT สายเฉลิมรัชมงคล และสายฉลองรัชธรรม และหน่วยงานด้านความปลอดภัยของ รฟม. ดำเนินการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยโดยทันที

โดยเพิ่มระดับความเข้มงวดของมาตรการรักษาความปลอดภัย ทั้งภายในสถานีรถไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้า และบริเวณรอบพื้นที่สถานีรถไฟฟ้า รวมถึงศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าทั้ง 2 แห่ง ดังนี้
1. จัดวางกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง
2. เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสัมภาระผู้โดยสาร
3. ตรวจบริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า MRT และภายในสถานีรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย เพื่อป้องกันเหตุโดยร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่
4. จัดกำลังหน่วยทำลายวัตถุระเบิด (EOD.) และสุนัข K-9 ตรวจตราและเตรียมความพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง 5. เตรียมกำลังหน่วยกู้ภัยพร้อมอุปกรณ์ในที่ตั้งตลอด 24 ชั่วโมง 6. เสริมกำลังเจ้าหน้าคุมเข้มภายในขบวนรถไฟฟ้า

ทั้งนี้ ขอความร่วมมือผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT โปรดให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และหากพบเห็นเหตุการณ์ผิดปกติ สิ่งของต้องสงสัย หรือ บุคคลที่มีพฤติกรรมน่าสงสัย ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหรือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานที่อยู่ในบริเวณนั้นทันที
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/04/2017 2:24 pm    Post subject: Reply with quote

“วิลาศ” ปูดสัญญารถไฟฟ้าสีน้ำเงินเอื้อ “บีอีเอ็ม” สวนทางรายได้ รฟม.จี้ ประมูลใหม่
โดย MGR Online 9 เมษายน 2560 17:14 น. (แก้ไขล่าสุด 9 เมษายน 2560 20:16 น.)

อดีต ส.ส. กทม. สาวไส้ต่อความไม่ชอบมาพากลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ชี้สัญญาแบ่งรายได้เอื้อ “บีอีเอ็ม” อื้อ แต่ รฟม. รายได้หด ทำรัฐเสียประโยชน์ ร้อง “ประยุทธ์” รื้อสัญญาทำการเปิดประมูลใหม่

วันนี้ (9 เม.ย.) นายวิลาศ จันทรพิทักษ์ อดีต ส.ส. กทม. พรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงความไม่ชอบมาพากลของ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (เฉลิมรัชมงคล) ช่วงหัวลำโพง - บางซื่อ ระยะทาง 20 กิโลเมตร ว่า โครงนี้มีสัญญาเริ่มตั้งแต่ปี 2547 - 2572 โดย รฟม. จะได้รับส่วนแบ่งตั้งแต่ปี 2559 - 2572 โดยปี 2559 ได้ส่วนแบ่ง 1 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 300 - 400 ล้านบาท ปี 2560 ได้ 2 เปอร์เซ็นต์ ปี 2563 - 2565 ได้ 5 เปอร์เซ็นต์ และปี 2566 - 2572 ได้ 15 เปอร์เซ็นต์ รวมเป็นเงินประมาณ 50,000 กว่าล้านบาท อีกทั้งหลังจากวันที่ 3 ก.ค. 2572 รถไฟฟ้าเส้นนี้จะตกเป็นของรัฐ ซึ่งแม้มีการจ้างคนมาบริหาร ก็จะต้องแบ่งรายได้ 15 เปอร์เซ็นต์ ทำให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีรายได้ประมาณ 10,000 ล้านบาท และเมื่อสัญญาสิ้นสุดในปี 2592 รวมระยะเวลา 20 ปี รฟม. จะได้รับส่วนแบ่งรายได้ประมาณ 200,000 ล้านบาท แต่เมื่อมีการจัดทำโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ที่มี 2 เส้นทาง คือ บางซื่อ - ท่าพระ ระยะทาง 13 กม. และ หัวลำโพง - บางแค ระยะทาง 14 กม. นั้น คณะรัฐมนตรี (ครม.) ใช้วิธีเจรจาตกลงกับเอกชน แทนที่จะเปิดประมูล อีกทั้งมีมติเห็นชอบให้บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีเอ็ม ที่เป็นผู้เดินรถในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ได้เป็นผู้ดำเนินงานในส่วนต่อขยายดังกล่าวด้วย

นายวิลาศ กล่าวต่อว่า อีกทั้งในสัญญาของส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ระบุว่า รฟม. จะได้รับส่วนแบ่งเมื่อบีอีเอ็มมีผลตอบแทนการลงทุนเกิน 9.75 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งตนเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะในความเป็นจริงไม่มีบริษัทใดในตลาดหลักทรัพย์ที่ทำกำไรได้เกิน 8 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่การแบ่งเปอร์เซ็นต์จากค่าโดยสารเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ ดังนั้นการทำสัญญาโดยไม่แยกส่วนเช่นนี้จะทำให้รัฐเสียประโยชน์

นอกจากนี้ ตามสัญญาเดิมที่ระบุเรื่องการแบ่งรายได้เรื่องค่าพัฒนาเชิงพาณิชย์ของสายเฉลิมรัชมงคล ว่า ถ้ามีการโฆษณาในขบวนรถ หรือสถานีเดินรถ จำนวน 13 สถานี แม้บีอีเอ็มต้องจ่ายเงิน 7 เปอร์เซ็นต์ ของยอดรายได้จากค่าเช่า และค่าโฆษณาดังกล่าว รวมกับเงินที่ต้องจ่ายให้กับ รฟม. ปีละ 50 ล้านบาท แต่สัญญาฉบับใหม่ กลับระบุว่า ค่าพัฒนาเชิงพาณิชย์ทั้งหมดต้องถูกรวมกับค่าโดยสาร และระบุว่า รฟม. จะได้รับส่วนแบ่งต่อเมื่อมีผลตอบแทนการลงทุน 9.75 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป การรวมตัวเลขแบบนี้มีข้อเสียที่อาจเกิดการตบแต่งบัญชีขึ้นได้ อีกทั้งจะทำให้ค่าเช่า ค่าโฆษณา และค่าตั้งเสาโทรคมนาคมในทุกสถานี และในขบวนรถตกเป็นของบีอีเอ็ม จึงขอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทบทวนรายละเอียดของสัญญานี้ และขอให้เปิดประมูลส่วนต่อขยายทั้ง 2 เส้นทาง รวมถึงส่งโครงการดังกล่าวไปให้คณะกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง (ซูเปอร์บอร์ดจัดซื้อจัดจ้าง) ตรวจสอบด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/04/2017 12:12 am    Post subject: Reply with quote

BEM ว่าจ้าง CK จัดหา-ติดตั้งอุปกรณ์ระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 1.96 หมื่นลบ./เล็งออกหุ้นกู้ 1.6 หมื่นลบ.


ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 12 เมษายน 2560 10:23:51 น.
นางพเยาว์ มริตตนะพร กรรมการผู้จัดการ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เปิดเผยว่า บริษัทว่าจ้าง บมจ. ช.การช่าง (CK) เป็นผู้บริหารโครงการ รวมถึงเป็นผู้จัดหาและติดตั้งอุปกรณ์งานระบบรถไฟฟ้าในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ในวงเงิน 19,643 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยเห็นควรเสนอที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2560 เพื่อพิจารณาอนุมัติเรื่องดังกล่าว

และ คณะกรรมการบริษัทพิจารณาเห็นควรเสนอที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2560 เพื่อพิจารณาอนุมัติให้บริษัทออกและเสนอขายหุ้นกู้ประเภทมีหลักประกันและ/หรือไม่มีหลักประกันเพื่อเป็นเงินทุนสำหรับการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ในวงเงินรวมและมูลค่าคงค้างของเงินต้นของหุ้นกู้ไม่เกิน 1.6 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ กำหนดวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2560 ในวันที่ 12 มิ.ย.60 โดยกำหนดให้วันที่ 26 เม.ย.60เป็นวันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้น (Record Date) เพื่อสิทธิเข้าร่วมประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2560 และให้รวบรวมรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยวิธีปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นในวันที่ 27 เม.ย.60 (ขึ้นเครื่องหมาย XM วันที่ 24 เม.ย.60)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/04/2017 12:57 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.ชี้แจงข้อเท็จจริงรายละเอียดในสัญญากับ บริษัท บีอีเอ็มโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ

แหล่งที่มา : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
วันที่ข่าว : 10 เมษายน 2560


จากกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตกรณีโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (เฉลิมรัชมงคล) ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ โดยเรียกร้องให้ทบทวนรายละเอียดของสัญญาในประเด็นกับ บริษัท บีอีเอ็ม ว่าจะมีการแบ่งประโยชน์ให้รัฐ ต่อเมื่อมีผลตอบแทนลงทุนเกิน 9.75 % ส่งผลให้รัฐเสียเปรียบเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในข้อเท็จจริงไม่มีบริษัทใดในตลาดหลักทรัพย์ที่ทำกำไรได้เกิน 8 %นั้น

นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการ (กลยุทธ์และแผน) รักษาการแทนผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนชี้แจงว่าในการคำนวณผลตอบแทนการลงทุนที่เอกชนจะได้รับในภาคธุรกิจและโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ จะใช้ Equity IRR เป็นตัวชี้วัด ซึ่งโดยปกติโครงการที่มีความเสี่ยงสูงเอกชนคาดหวัง IRR สูง และกระทรวงคมนาคมได้กำหนดมาตรฐานหลักเกณฑ์การร่วมทุนของภาคเอกชนที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 12% แต่เนื่องจากโครงการนี้ ผู้เดินรถรายเดิมเป็นผู้ให้บริการอยู่แล้วจึงมีความเสี่ยงในการดำเนินการต่ำกว่ารายอื่น ในการเจรจาจึงต่อรอง IRR ที่ BEM คาดหวังให้ลดลง และได้ข้อสรุปที่ 9.75% ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อรัฐ โดยหาก BEM ได้ IRR เกิน 9.75% จะมีการแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐตามที่ตกลงกัน และหาก BEM ได้ IRR ไม่ถึง 9.75% BEM จะเป็นผู้รับความเสี่ยงแทนรัฐทั้งหมด ทั้งนี้ โดยทั่วไประดับอัตราผลตอบแทนที่อยู่ในเกณฑ์น่าลงทุนของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์จะอยู่ที่ Equity IRR สูงกว่า 10%

ส่วนกรณีการแบ่งรายได้ค่าโฆษณาในขบวนรถหรือสถานีเดินรถ จำนวน 13 สถานีในสัญญาฉบับใหม่ ซึ่งระบุว่าค่าพัฒนาเชิงพาณิชย์ทั้งหมดต้องถูกรวมกับค่าโดยสาร และระบุว่า รฟม.จะได้รับส่วนแบ่งต่อเมื่อมีผลตอบแทนการลงทุน 9.75 % ขึ้นไป ทำให้รัฐเสียประโยชน์ โดยเฉพาะเมื่ออาจเกิดการการตกแต่งบัญชี และจะทำให้ค่าเช่า ค่าโฆษณา ค่าตั้งเสาโทรคมนาคมในทุกสถานีและในขบวนรถตกเป็นของบีอีเอ็มนั้น

นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ในการเจรจาคณะกรรมการฯ ได้พิจารณารายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์เป็นส่วนหนึ่งของรายได้โครงการที่นำมาหาผลตอบแทนการลงทุนที่เหมาะสมแก่เอกชนซึ่งเป็นวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้ใน MRT Standardization สำหรับโครงการรถไฟฟ้า และเป็น ไปตามผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการตาม พ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯ 2556 โดย BEM จะนำรายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ทั้งหมดมาคิดรวมกับรายได้ค่าโดยสารเป็นรายได้ของโครงการเพื่อนำมาคำนวณ IRR ซึ่งต่างจากสัญญาสายเฉลิมรัชมงคลซึ่งมีการกำหนดการแบ่งรายได้แยกเป็นสองส่วนคือรายได้ค่าโดยสาร และรายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์

ผลตอบแทนจากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ของสายเฉลิมรัชมงคลจนถึงปี 2572 ยังคงเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญาสายเฉลิมรัชมงคล ส่วนรายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ของส่วนต่อขยายและสายเฉลิมรัชมงคลหลังจากปี 2572 จะนำมาคำนวณ IRR เพื่อแบ่งผลตอบแทนให้ รฟม. ตามสัญญาใหม่ โดย BEM จะต้องดำเนินการบันทึกบัญชีแยกเป็นรายโครงการ มีการตรวจสอบความถูกต้องรับรองโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และ รฟม. ตามที่กำหนดในสัญญา

นอกจากนี้ BEM จะต้องบันทึกบัญชีแยกรายโครงการระหว่างสายเฉลิมรัชมงคลและส่วนต่อขยาย ทั้งในส่วนของรายได้ (รายได้ค่าโดยสารและรายได้พัฒนาเชิงพาณิชย์) และค่าใช้จ่าย โดยจะต้องส่งงบการเงิน ณ สิ้นปีบัญชี รวมถึงข้อมูลการคำนวณ IRR ที่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องรับรองโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และเป็นไปตามมาตรฐานทางบัญชีและข้อกำหนดการบริหารกิจการของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาสัมปทาน โดย รฟม. จะจัดให้มีผู้ตรวจสอบอิสระด้านการเงินและบัญชีเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการคำนวณผลตอบแทนการลงทุน (Equity IRR) เพื่อให้การคำนวณ Equity IRR และการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างรัฐและเอกชนเป็นไปอย่างโปร่งใส เหมาะสม ตามมติ ครม. วันที่ 28 มีนาคม 2560
https://www.youtube.com/watch?v=2JZV466dQOw
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/04/2017 5:14 am    Post subject: Reply with quote

แฉโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่อล็อบบี้
เดลินิวส์ อาทิตย์ที่ 23 เมษายน 2560 เวลา 12.54 น.

"วิลาศ" แฉโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน อาจเอื้อหุ้นส่วน "บีอีเอ็ม"ไม่ต้องเสียภาษี ปูดทำรัฐขาดทุน ชี้อาจทำสัญญาเร่งรัดไม่มีรายละเอียด

เมื่อวันที่ 23 เม.ย. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการทำสัญญาว่าจ้างเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ว่า ตนเห็นว่าการทำสัญญาโครงการดังกล่าวอาจเป็นการทำลายรายได้รัฐ ซึ่งอาจเพราะเป็นการทำสัญญาที่เร่งรัดหรือไม่ เบื้องต้นยังเห็นว่าอาจมีความผิดปกติในขั้นตอนของสัญญาบางอย่าง แทนที่จะเป็นสักษณะของการประกวดราคาตามแผนงานปกติ แต่กลับมีการใช้วิธีเจรจาต่อรอง และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติไปเมื่อวันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา แต่ไม่มีการรายละเอียดของสัญญาว่ามีอะไรบ้าง เหมือนเป็นการล็อบบี้โครงการหรือไม่

นายวิลาศ กล่าวต่อว่า สัญญาที่ทำกับบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ ระบุให้การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)สนับสนุนให้บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาล จึงทำให้บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ ได้รับผลประโยชน์สูงสุด ส่งผลให้บริษัทดังกล่าวได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรทั้งหมด และภาษีเงินได้นิติบุคคลรวมระยะเวลา 8ปี โดยหุ้นส่วนบริษัทดังกล่าวไม่มีการเสียภาษีด้วยเช่นกัน จึงมองว่าการกระทำในลักษณะนี้เป็นการทำให้ประเทศเสียผลประโยชน์อย่างมหาศาลหรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/04/2017 5:18 am    Post subject: Reply with quote

ราคาอสังหาฯ “เพชรเกษม-บางแค” ขยับรับอานิสงส์รถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 22 เม.ย. 2560 13:13

เอกลักษณ์ในฝั่งธนบุรีที่ดึงดูดให้ผู้คนเดินทางไปเยือนอย่างไม่ขาดสาย ก็คือการเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยวริมฝั่งแม่น้ำเชิงวัฒนธรรม ที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

จากที่มีวัดเก่าแก่ที่มีความสวยงามและมีเรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์มากมาย รวมไปถึงวิถีของชุมชนที่บางส่วนยังคงใช้วิถีชีวิตในรูปแบบดั้งเดิมและบางส่วนมีความสมัยใหม่มากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนผสมที่มีความลงตัว ทำให้พื้นที่บริเวณที่ไม่ไกลจากแม่น้ำเจ้าพระยามีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบโรงแรมเพิ่มมากขึ้น จากวิถีการเดินทางด้วย "รถ-เรือ" นับเป็นสิ่งที่โดดเด่นภายในฝั่งธนบุรี ไม่ว่าจะเป็นทางรถยนต์ ที่เชื่อมต่อไปถนนอื่นได้หลากหลายเส้นทาง ทั้งจากถนนสายหลักอย่างเพชรเกษม ที่เดินทางไปทางราชพฤกษ์ ถนนจรัญสนิทวงศ์หรือไปทางวงเวียนใหญ่ที่เชื่อมไปออกสาทรได้ รวมไปถึงเส้นกัลปพฤกษ์ซึ่งสามารถเดินทางไปสีลม-สาทรได้อย่างสะดวก

และล่าสุดยิ่งเพิ่มความน่าสะดวกสบายให้กับการเดินทางไปย่านธนบุรีด้วย รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายที่เชื่อมต่อกับสายสีเขียวที่สถานีบางหว้าหรือเชื่อมสายสีน้ำเงินเดิมที่สถานีหัวลำโพง และทางเรือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเดินทางจากท่าเทียบเรือประตูน้ำภาษีเจริญถึงท่าเทียบเรือเพชรเกษม 69 รวมระยะทาง 11.5 กม. สามารถเชื่อมต่อการเดินทางไปรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ที่สถานีบางหว้า (ที่ท่าเรือสะพานตากสิน-เพชรเกษม)

เห็นได้ว่าหลังจากที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายมีความคืบหน้ากว่า 80% นั้น ส่งผลให้ราคาอสังหาริมทรพัย์ย่านฝั่งธนบุรีฯ กลายเป็นทำเลที่น่าสนใจและมีความโดดเด่นขึ้นมา แม้ว่าโซนดังกล่าวจะไม่ได้อยู่ใจกลางเมืองแต่โซนนี้ถือว่ามีศักยภาพ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมที่อยู่ในโซนใหม่ๆ เช่น เพชรเกษม ท่าพระ จรัญสนิทวงศ์ จากจุดเด่นเรื่องความสะดวกและความเชื่อมต่อการคมนาคมหลากหลายช่องทางนี้ และมีระดับราคาที่ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับราคาคอนโดมิเนียมที่ติดรถไฟฟ้าบริเวณในเมือง ส่วนทางด้านตลาดเช่ายังคงมีโอกาสที่น่าสนใจ โดยเฉพาะที่อยู่ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยหรือรถไฟฟ้าที่มีอัตราค่าเช่า 10,000-12,000 บาทต่อเดือน

นายอนุกูล รัฐพิทักษ์สันติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เปิดเผยผลวิจัยด้านที่อยู่อาศัยพบว่า ปัจจุบันโซนเพชรเกษม-บางแค เป็นทำเลหนึ่งที่น่าสนใจ นับจากแผนการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าฝั่งธนบุรีมีความคืบหน้าไปมาก เห็นได้จากรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียวที่เปิดให้บริการแล้ว และจะมีรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินทั้งเส้นทางหัวลำโพง-หลักสอง และบางซื่อ-ท่าพระ โดยทั้งสองเส้นทางมีการเชื่อมต่อกันที่สถานีท่าพระ

ปัจจุบันทั้งสองเส้นทางมีการก่อสร้างไปได้มากกว่า 80% เส้นทางหัวลำโพง–หลักสอง คาดว่าจะเปิดให้บริการภายในต้นปี 2562 ส่วนบางซื่อ–ท่าพระ จะเปิดให้บริการภายในปี 2563 ส่งผลให้ในอนาคตประชาชนในพื้นที่สามารถเดินทางเข้าเมืองได้ง่ายขึ้น ทั้งจากการมาเชื่อมต่อกับสายสีเขียวที่สถานีบางหว้า หรือเชื่อมสายสีน้ำเงินเดิมที่สถานีหัวลำโพง พื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตกหรือธนบุรีในปัจจุบันมีถนนเส้นหลักคือเพชรเกษมซึ่งครอบคลุมพื้นที่ของกรุงเทพฯทั้งหมด 4 เขต ได้แก่ บางกอกใหญ่ ภาษีเจริญ บางแค และหนองแขม มีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 550,000 คน และมีความหนาแน่นของประชากรต่อบ้านที่ 2.53 คน ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของคนในกรุงเทพฯ ที่ 2.13 คน นั่นหมายความว่ายังมีความต้องการด้านที่อยู่อาศัยของคนในพื้นที่อยู่ ทำให้เกิดการพัฒนาที่อยู่อาศัยในรูปแบบของคอนโดมิเนียมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของคนกลุ่มนี้

"ปัจจุบันจำนวนอุปทานคอนโดสูง High Rise บนถนนเพชรเกษมช่วงรถไฟฟ้าสายมีน้ำเงินมีจำนวน 5,161 ยูนิต ในขณะที่อุปสงค์อยู่ที่ 3,654 ยูนิต ซึ่งถือว่าเป็นยอดขายอยู่ที่ 71% โดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่ตารางเมตรละ 89,000 บาท หรือรูปแบบ 1 ห้องนอน ราคาเฉลี่ย 2.7 ล้านบาทต่อยูนิต ซึ่งถือว่าต่ำกว่าโครงการที่อยู่ในช่วงปลายสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตั้งแต่บางหว้าถึงตลาดพลู ที่ขายกันอยู่ที่ยูนิตละ 3.2 ล้านบาท อยู่พอสมควร ทั้งๆ ที่ระยะทางห่างจากกันไม่มากนัก ดังนั้นเพชรเกษมถือว่าเป็นทำเลที่มีศักยภาพในการปรับตัวของราคาขึ้นไปอีกเมื่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเริ่มให้บริการในอีก 2-3 ปีข้างหน้า

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาโครงการคอนโดมิเนียมบนถนนเพชรเกษมช่วงรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่อยู่ใกล้กับรถไฟฟ้าในระยะห่างไม่เกิน 200 เมตรเทียบกับโครงการที่อยู่ห่างจากรถไฟฟ้า พบว่าอัตราการตอบรับในปัจจุบันของโครงการที่อยู่ใกล้รถไฟฟ้ามีอัตราการตอบรับสูงกว่า โดยอัตราตอบรับของโครงการที่อยู่ใกล้รถไฟฟ้าระยะทางประมาณ 200 เมตรอยู่ที่ 75% ในขณะที่โครงการที่อยู่ไกลจากรถไฟฟ้ามีอัตราตอบรับ 64% รวมไปถึงระดับราคาเฉลี่ย ที่โครงการที่อยู่ติดกับรถไฟฟ้ามีราคาเฉลี่ยที่สูงกว่า โดยโครงการที่อยู่ใกล้รถไฟฟ้าราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 92,000 บาท/ตารางเมตร ส่วนโครงการที่อยู่ห่างออกไปราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 84,000 บาท/ตารางเมตร"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/04/2017 8:14 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.แจงจ้าง BEM เดินรถไฟฟ้าสีน้ำเงินต่อขยาย ประหยัดงบ 9,800 ล้าน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 24 เม.ย 2560 เวลา 18:40:00 น.

กรณีนายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาระบุถึงการต่อสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 27 กม.ไม่เป็นธรรมในประเด็น

1.การเดินรถต่อเนื่อง 2.เลือกใช้วิธีเจรจาผู้รับสัมปทานเดินรถสายสีน้ำเงินหัวลำโพง-บางซื่อแทนการคัดเลือกเอกชนเดินรถ

3.ผลตอบแทนโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย EIRR 9.75 % เหมาะสม หรือไม่เหมาะสม

4.การใช้พื้นที่เพิ่มอีก 20 ไร่ ในการเป็นพื้นที่ซ่อมบำรุง และ 5.การส่งเสริมการลงทุนผู้ได้รับสัมปทานได้ประโยชน์ในการยกเว้นภาษีนิติบุคคล ในการนำเข้าวัสดุ อุปกรณ์

นายภคพงค์ ศิริกันทรมาศ รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ด้านวิศวกรรมและก่อสร้าง เปิดเผยว่า เมื่อปี 2553 คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้เอกชนร่วมลงทุนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายในรูปแบบ PPP Gross Cost คือรัฐลงทุนในงานโยธา และจ้างเอกชนเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา

โดยทาบทามแหล่งเงินกู้จากรัฐบาลญี่ปุ่น มีผลกระทบกับงานโยธาทำให้ต้องมีศูนย์ซ่อมบำรุงที่เพชรเกษม 48 ขึ้นมา เนื่องจากว่าองค์การเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า) ให้มีการประกวดราคาระบบเดินรถไฟฟ้า รวมทั้งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ความผิดการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ 2542 กำหนด ว่าการประกวดราคา โดยทำให้รายใดได้เปรียบเหนือคู่แข่ง ถือว่ามีความผิด ทำให้ใช้วิธีประกวดราคาระบบเดินรถ

หลังจากเปลี่ยนมาใช้แหล่งกู้ภายในประเทศในงานโยธา มติคณะกรรมการ 13 ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนปี 2535 ในเดือน มี.ค.58 เห็นว่า ให้เจรจารายเดิมคือ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือบีอีเอ็ม และทบทวนรูปแบบการลงทุน เป็น PPP Net Cost คือ เอกชนลงทุนระบบ บริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงระยะเวลา 33 ปี ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนปี 2556 ที่ประกาศใช้ ซึ่งคณะกรรมมาตรา 35 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุนปี 2556 เห็นชอบให้มีการเจรจาตรงกับผู้รับสัมปทานรายเดิม เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์ในการเดินทางต่อเนื่อง

"คล้ายกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่เปิด 1 สถานีแบริ่ง-สำโรง ที่เป็นเอกชนคือ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ที่ประชาชนสามารถนั่งรถขบวนเดียวเข้ามาในพื้นที่ กทม.ได้ โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถ" นายภคพงศ์กล่าวและว่า

ส่วนสาเหตุที่ไม่ทำการประมูลคัดเลือกเอกชน เพราะการเดินรถรายเดิมจะช่วยประหยัดเงินลงทุนในการการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ และศูนย์ซ่อมที่เพชรเกษม 48 ไปได้ 9,800 ล้านบาท และหากมีการประกวดราคา ก็จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ความผิดการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ ปี 42

เนื่องจากบีอีเอ็มมีความได้เปรียบกว่าเอกชนรายอื่น ประกอบกับที่มีคำสั่ง ม.44 ให้อายุสัญญาสัมปทานของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและส่วนต่อขยายสิ้นสุดพร้อมกัน จึงทำให้คณะกรรมการมาตรา 43 ที่เป็นคู่สัญญาของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ และคณะกรรมการ 35 ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ต้องหารือเจรจาเพื่อได้ข้อสรุปด้านสัญญาสัมปทาน และผลตอบแทน

ทาง รฟม.จึงได้ข้อยุติคือให้สัมปทานการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย 33 ปีร่วมการติดตั้งระบบ 3 ปี ใช้โครงสร้างค่าโดยสารอัตราเท่ากับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเดิม คือ 16-42 บาท เดินทางสูงสุดในราคา 42 บาทได้ 38 สถานี

ส่วนผลตอบแทนของสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ (สายเดิม) หากเป็นปัจจุบันอยู่ที่ 28,577 ล้านบาท และ 52,946 ล้านบาท ในอนาคต ส่วนสีน้ำเงินต่อขยายใหม่ หาก IRR อยู่ที่ 9.75-11% ส่วนแบ่งรายได้ระหว่าง รฟม.กับ บีอีเอ็มอยู่ที่ 50:50 ตั้งแต่ 11-15% อยู่ที่ 60:40 และเกิน 15 % อยู่ที่ 75:25

ขณะที่ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจหรือ IRR 9.75% นายภคพงศ์กล่าวว่า บริษัทตลาดหลักทรัพย์การลงทุนโครงการที่ต้องรายงานใช้ตัวเลข IRR เกิน 10% บางโครงการ 15% สาเหตุที่เราเจรจาได้ค่อนข้างต่ำ เพราะผู้เดินรถรายเดิม มีความคุ้นเคย และคาดว่าจะมีความเสี่ยงต่ำกว่ารายอื่น

ด้านการขอยกเว้นบีโอไอของรถไฟฟ้าจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุน และยังเป็นส่วนที่นำไปพิจารณาส่วนแบ่งรายได้ หากได้รับการยกเว้นจะช่วยให้ IRR ได้ตามกำหนดเร็วขึ้น

ทั้งนี้พื้นที่ที่เพิ่มอีก 20 ไร่ เป็นพื้นที่บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงห้วยขวางเดิมของ รฟม.จำนวน 270 ไร่ เนื่องจากบีอีเอ็มต้องเดินรถเพิ่มขึ้นจาก 18 สถานี ระยะทาง 20 กม.เป็น 38 สถานี ระยะทาง 27กม. รวมเป็น 47 กม.จำเป็นต้องเพิ่มบุคลากร และสร้างอาคารเพื่อรองรับส่วนต่อขยาย

ซึ่งอาคารเหล่านี้ก่อนที่จะมีการเดินรถจะต้องโอนเป็นทรัพย์สิน รฟม.ก่อน รวมทั้งระบบการเดินรถของสายสีน้ำเงิน 8,000 ล้านบาท น้ำเงินส่วนต่อขยาย วงเงิน 20,000 ล้านบาทด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/04/2017 1:29 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟม.แจงจ้าง BEM เดินรถไฟฟ้าสีน้ำเงินต่อขยาย ประหยัดงบ 9,800 ล้าน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 24 เม.ย 2560 เวลา 18:40:00 น.


รฟม.สวนกลับ “วิลาศ” ยันสัญญาเดินรถสีน้ำเงิน ทำภายใต้ กม.ร่วมทุนฯ โปร่งใส ประชาชนได้ประโยชน์
โดย MGR Online
24 เมษายน 2560 19:14 น. (แก้ไขล่าสุด 24 เมษายน 2560 21:11 น.)



“รฟม.” แจงสัญญารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ทุกขั้นตอนทำตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 ยึดประชาชนสะดวก ประหยัด ค่าโดยสารไม่เพิ่ม ขณะที่ผลตอบแทน IRR 9.75% เหมาะสม ซึ่ง ครม.ให้ตั้งบุคคลที่ 3 มาตรวจสอบเรื่องรายได้ ป้องกันอนาคตไม่มียัดไส้ ระบุใช้รายเดิมเดิมรถช่วยรัฐประหยัดลงทุน 9,800 ล้าน ขณะที่ไม่ได้ให้พื้นที่เอกชนเพิ่ม และขณะนี้ BEM โอนทรัพย์สินทั้งหมดให้ รฟม.แล้งตามสัญญา BTO ด้าน สคร.ร่วมวงแจง ชี้ กก.PPP พิจารณาตามขั้นตอนไม่มีเร่งรัด เอื้อเอกชน





นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการ (กลยุทธ์และแผน) ในฐานะรักษาการผู้ว่าฯ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า กรณีที่นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ระบุถึงความไม่ชอบมาพากลในการต่อสัญญาโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงิน เช่น กรณีเร่งรัดทำสัญญา, ผลตอบแทนการลงทุน 9.75%, กรณีการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับสัมปทานมากเกินไป เนื่องจากมีการยกเว้นภาษีนิติบุคคล ภาษีนำเข้าอุปกรณ์ รวมถึงกรณีการให้ใช้พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงที่ห้วยขวางเพิ่มอีก 20 ไร่ ขอยืนยันว่า รฟม.ได้ดำเนินการในส่วนของการเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ตามขั้นตอนและสอดคล้องกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 เป็นไปตามกฎกติกา ส่วนที่มีการตั้งข้อสงสัยโครงการนี้ได้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งถูกจับจ้องมาตลอดกรณีเอื้อเอกชน ดังนั้น รฟม.จึงได้ดำเนินการด้วยความระมัดระวัง และปฏิบัติตามระเบียบทุกขั้นตอน

ด้านนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวว่า ในฐานะที่ สคร.เป็นเลขาฯ ของคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ในการพิจารณาโครงการที่รัฐร่วมลงทุนกับเอกชน จะมีขั้นตอน มีกระบวนการไม่สามารถเร่งรัดได้ ประเด็นแรกจะต้องให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด คือ การเดินรถต่อเนื่อง เป็นโครงข่าย (Through Operation) สะดวกรวดเร็วปลอดภัย และการร่วมกับเอกชนหัวใจสำคัญคือ การแบ่งผลประโยชน์ที่เป็นธรรม ดังนั้น เมื่อได้ภาพใหญ่จึงเป็นการพิจารณารูปแบบ จะประมูลหรือไม่ประมูล ซึ่งเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56

เมื่อ กก.PPP เห็นชอบหลักการเดินรถต่อเนื่องแล้ว คณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงพิจารณารูปแบบเป็นการเจรจาตรงกับผู้รับสัมปทานเดินรถเดิม ซึ่ง สคร.ได้เสนอคณะกรรมการ PPP ขณะเดียวกัน ได้มีคำสั่ง คสช.มาตรา 44 ออกมา ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันคือ ให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด สะดวก ปลอดภัย ซึ่งเป็นคำสั่งที่ช่วยให้ กก.มาตรา 43 ซึ่งบริหารสัญญาเดินรถสายสีน้ำเงินเดิม (เฉลิมรัชมงคล) ประชุมร่วมกับ กก.มาตรา 35 (สัญญาสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย) ได้

ทั้งนี้ มีข้อสังเกตของคณะกรรมการข้อตกลงคุณธรรม จะมีเรื่อง EIRR ว่าควรให้บุคคลที่ 3 มาตรวจสอบเรื่องรายได้ ว่าเป็นไปตามที่คำนวนกันไว้หรือไม่ ไม่มีการยัดใส้แอบซ่อยรายได้ ซึ่ง สคร.ได้นำเสนอ ครม.ให้มีมติให้มีคนนอกที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือเป็น กก.ประเมินอิสระ เพื่อความรอบคอบ โปร่งใส และเป็นธรรม

ยันทุกขั้นตอนทำตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) รฟม.กล่าวชี้แจงในฐานะประธานคณะกรรมการมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 ว่า การเจรจากับผู้เดินรถรายเดิม ซึ่งสภาพัฒน์ระบุว่า ควรประมูลคัดเลือกเอกชน แต่เมื่อรฟม.ได้ปรับรูปแบบการลงทุนจาก PPP-Gross Cost โดยรัฐลงทุนงานโยธา เอกชนลงทุนเดินรถ เป็น PPP-Net Cost เพื่อลดภาระภาครัฐ โดยเอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด รัฐไม่ชำระคืน โดยเอกชนได้สิทธิ์เก็บค่าโดยสาร จนถึงผลตอบแทนในระดับที่เหมาะสมรัฐจึงจะได้รับส่วนแบ่งรายได้ ดังนั้นจึงถือเป็นสาระสำคัญ ขณะที่ปี 2558 ตัว พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 มีผลบังคับใช้แล้ว จึงให้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 และตั้งคณะกรรมการมาตรา 35 ขึ้นมาพิจารณาและมีมติให้เจรจาตรงกับผู้เดินรถเดิมสอดคลัองกับคำสั่ง คสช.ที่ 42/2559 เพื่อให้การเดินรถต่อเนื่องที่ประชาชนได้รับความสะดวก

โดยมีตัวอย่างจากโครงการสายสีเขียวที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTS) เดินรถ ช่วง 1 สถานี (แบริ่ง-สำโรง) ไปก่อนเพราะทำให้ประชาชนได้รับความสะดวก ซึ่งสายสีน้ำเงิน มีลักษณะเส้นทางเป็นวงกลม การเดินรถจากบางซื่อ-หัวลำโพง ต่อไปยังท่าพระ-จรัญฯ บางซื่อ-พระราม 4-หัวลำโพง ทำให้โครงข่ายเกิดการต่อเชื่อมฝั่ง กทม.และฝั่งธนบุรี โดยไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถ

ทั้งนี้ ครม.มีมติให้เอกชนร่วมทุนในการเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเมื่อปี 2553 ในรูปแบบ PPP-Gross Cost โดยรัฐลงทุนงานโยธา เอกชนลงทุนเดินรถ โดยมี กก.มาตรา 13 ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 ซึ่งในรายงานศึกษา ระบุเดินรถสายสีน้ำเงินต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ) ต่อเนื่องกับสายสีน้ำเงินเฉลิมรัชมงคล เพื่อเกิดความประหยัดและมีประสิทธิภาพ ขณะนั้นใช้เงินกู้ไจก้าเป็นแหล่งเงิน ซึ่งกังวลกรณีเดินรถต่อเนื่องโดยผู้เดินรถรายเดิม จึงไปกระทบทำให้มีการออกแบบงานโยธาศูนย์ซ่อมที่เพชรเกษม 48 และยังเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดต่อการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) ซึ่งกรณีประมูลจะต้องไม่ให้รายหนึ่งรายใดได้เปรียบคู่แข่ง ซึ่งการเปิดประมูล บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ในฐานะผู้เดินรถสายเฉลิมรัชมงคลมีความได้เปรียบ จึงเป็นเหตุให้เลือกการเดินรถแยกระบบและเปิดประมูล

ต่อมาเมื่องานโยธาเปลี่ยนมาใช้เงินกู้ในประเทศ จึงได้พิจารณาใหม่ในรูปแบบเดินรถต่อเนื่อง เพราะประชาชนจะได้ประโยชน์สูงสุด กก.มาตรา 13 จึงพิจารณา เมื่อ มี.ค. 2558 เห็นควรเจรจากับเอกชนรายเดิม และเสนอปรับรูปแบบการลงทุนเป็น PPP-Net Cost เพื่อลดภาระภาครัฐ โดยเอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด รัฐไม่ชำระคืน โดยเอกชนได้สิทธิ์เก็บค่าโดยสาร จนถึงผลตอบแทนในระดับที่เหมาะสมรัฐจึงจะได้รับส่วนแบ่งรายได้

ใช้ผู้เดินรถรายเดิม รัฐประหยัดลงทุน 9,800 ล้าน

ส่วนประเด็นที่ญี่ปุ่นมีผู้ประกอบการเดินรถ 3 ราย ในการเดินรถต่อเนื่อง นายภคพงศ์กล่าวว่า ทางเทคนิค ทำได้ แต่ผู้ประกอบการ 3 รายต้องมีอาณัติสัญญาณ 3 ระบบ ติดตั้งในรถไฟฟ้า ซึ่งมีค่าติดตั้ง ค่าลงทุนเพิ่มขณะที่สายสีน้ำเงินใช้รายเดียว ประหยัดค่าลงทุนได้ถึง 9,800 ล้านบาท โดยส่วนหนึ่งเป็นค่าระบบอาณัติสัญญาณ และอีกส่วนเป็นค่าอุปกรณ์ซ่อมบำรุงหนัก ที่ศูนย์ซ่อมบำรุง เพชรเกษม 48 ที่ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม ประมาณ 1,800 ล้านบาท เนื่องจากศูนย์ซ่อมบำรุงดังกล่าวจะลงทุนเพียงงานโยธาและโครงสร้างอาคารเท่านั้น เพราะสามารถใช้ศูนย์ซ่อมร่วมของสายเฉลิมรัชมงคลที่ห้วยขวางร่วมกันได้

นอกจากนี้ รฟม.ไม่ได้ให้พื้นที่ศูนย์ซ่อมที่ห้วยขวางเพิ่ม 20 ไร่ โดย BEM ได้สิทธิ์ในการใช้พื้นที่ศูนย์ซ่อมห้วยขวางประมาณ 270 ไร่ โดย 20 ไร่ เป็นส่วนหนึ่งอยู่แล้ว ซึ่ง BEM ต้องลงทุนก่อสร้างอาคาร สำหรับบุคลากรที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการบริหารการเดินรถส่วนต่อขยาย

อย่างไรก็ตาม ในสัญญาเฉลิมรัชมงคล ใช้รูปแบบการลงทุน Build-Operate-Transfer (BOT) ซึ่งภายใต้พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 ผนวกกับ พ.ร.บ.การรถไฟฟ้า 2543 ผู้รับสัมปทานจะต้องลงทุนให้ก่อน และก่อนเปิดเดินรถ จะต้องโอนทรัพยสินคืนให้ รฟม. จากนั้น รฟม.จะให้สิทธิ์ในการเดินรถ หรือรูปแบบ Build-Transfer-Operate (BTO) ดังนั้น เมื่อลงนามสัญญาสัมปทานสายสีน้ำเงินเมื่อ วันที่ 31 มี.ค. 2560 ทาง BEM ได้โอนทรัพย์สินให้ รฟม.แล้ว ทั้งระบบรถ อาณัติสัญญาณ อาคารต่างๆ สายเฉลิมรัชมงคล ที่มีมูลค่าลงทุนประมาณ 16,000 ล้านบาท หักค่าเสื่อมการใช้งานประมาณ 10 ปี เหลือ 8,000 ล้านบาทให้รฟม.แล้ว ส่วนต่อขยาย มูลค่าทรัพย์สินที่โอนให้ รฟม.ประมาณ 20,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ การรวมสัมปทานสายเฉลิมรัชมงคลกับส่วนต่อขยายนั้น เพื่อให้การเดินรถข้ามระบบที่มีสัญญา 2 ส่วน เป็นการเชื่อมโยงที่สมบูรณ์แบบ โดยพบว่าสัญญาสายเฉลิมรัชมงคล ที่เหลือ 10 ปี (2563-2572) มูลค่าประมาณ 21,000 ล้านบาท คิดเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า ขณะที่อัตราค่าโดยสารของส่วนต่อขยายที่มี 38 สถานี ใช้โครงสร้างของสายเฉลิมรัชมงคล คือ 16-42 บาทที่มี 18 สถานี เท่ากับคิดสูงสุดที่ 12 สถานีเท่ากัน แต่เดินทางได้ไกลขึ้น หากไม่รวมสัญญา รัฐต้องเข้าไปอุดหนุนรายได้ให้เอกชน ดังนั้นจึงให้รวมสัญญาและขยายสายเฉลิมรัชมงคลไปสิ้นสุดพร้อมกับส่วนต่อขยายที่ปี 2592 ขณะที่อัตราผลตอบแทนการลงทุน (EIRR) วิเคราะห์สะสมตลอด 33 ปี ซึ่งรถไฟฟ้าใช้เงินลงทุนสูง ระยะคุ้มทุนมากกว่า 10 ปี ซึ่งกำหนด IRR ที่ 9.75% จะคุ้มทุนในปีท้ายๆ ก่อนหมดสัญญา

ส่วนกรณีที่ระบุว่า เอกชนได้รับการยกเว้นเงินภาษีทั้งหมดภายใน 8 ปี นั้น นายภคพงษ์กล่าวว่า ระยะ 8 ปี ยังไม่ครอบคลุมต้นทุนของรถไฟฟ้าเลยซึ่งที่ผ่านมาทั้งสายเฉลิมรัชมงคล และชมพู เหลือง ซึ่งใช้รูปแบบ PPP-Net Cost ได้รับ BOI เหมือนกัน โดยภาษีถือเป็นต้นทุนของโครงการ เมื่อยกเว้นภาษี ต้นทุนลดลง จะสะท้อนกลับไปทำให้ ได้IRRR ตามที่กำหนดเร็วขึ้น ซึ่งรฟม. จะได้รับส่วนแบ่งรายได้เร็วขึ้น เพราะส่วนแบ่งนั้นคิดจาก IRR

https://www.youtube.com/watch?v=OW1LGtaSGRs
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/04/2017 3:23 am    Post subject: Reply with quote

BEM ประกาศตารางการเปิดการเดินรถสายน้ำเงินดั่งนี้
เดือนสิงหาคม 2560 เปิดให้บริการ สถานีเตาปูนเชื่อมต่อสถานีบางซื่อ
เดือนกันยายน 2562 เปิดให้บริการสถานี หัวลำโพงถึงสถานีหลักสอง
เดือนมีนาคม 2563 เปิดให้บริการสถานีเตาปูนถึงสถานีท่าพระ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1602117956505912&set=a.132503016800754.34155.100001231683932&type=3&theater
"ช.การช่าง" จ่อเซ็น 2 หมื่นล้าน วางระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินต่อขยายดันแบ็กล็อกพุ่งแสนล้าน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

updated: 28 เมษายน2560 เวลา 10:50:00 น.

"ช.การช่าง" จ่อเซ็น 2 หมื่นล้าน วางระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินต่อขยายดันแบ็กล็อกพุ่งแสนล้าน มั่นใจซิวเค้กโครงการยักษ์ 20-25%

นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK กล่าวว่า ปีนี้บริษัทจะฉลองครบรอบ 45 ปี ของการดำเนินธุรกิจ พร้อมก้าวสู่การเป็นผู้พัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานระดับภูมิภาค

ด้วย 5 จุดแกร่ง จากวิสัยทัศน์ที่มุ่งคว้าโอกาสทั้งในและต่างประเทศ การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงาน การสร้างกำลังคนที่เปี่ยมคุณภาพ การบริหารการเงินที่แข็งแกร่งพร้อมจะลงทุนในโครงการต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

โดยปีนี้ตั้งเป้ารายได้ 30,000 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทมีงานในมือ (Backlog) มูลค่าประมาณ 85,231 ล้านบาท ได้ลงนามในโครงการต่างๆ ประกอบด้วย ก่อสร้างสถานีเพิ่มแรงดันเป็นสถานีจ่ายน้ำ มูลค่า 303 ล้านบาท, รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี สัญญา ที่ 1 มูลค่า 11,570 ล้านบาท, รถไฟฟ้าสายสีส้ม สัญญาที่ 2 มูลค่า 12,060 ล้านบาท, รถไฟฟ้าสายสีส้ม สัญญาที่ 5 มูลค่า 2,709 ล้านบาท และมอเตอร์เวย์บางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา สัญญาที่ 4 มูลค่า 1,852 ล้านบาท

และโครงการที่จะลงนามในเร็วๆ นี้ คือ จัดหาและติดตั้งอุปกรณ์งานระบบรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ 2 สัญญา มูลค่าประมาณ 19,463 ล้านบาท ซึ่งโครงการเหล่านี้จะทำให้มูลค่างานในมือ ของบริษัทแตะระดับ 100,000 ล้านบาท รับรู้รายได้ถึง 3 ปีข้างหน้า

นางสาวสุภามาส ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK เผยว่า ผลการดำเนินงานงวด ปี 2559 เป็นไปตามเป้าและยังคงรักษาระดับความแข็งแกร่งในการสร้างรายได้และกำไรจากการดำเนินงานได้ในระดับที่ดี

โดยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทจำนวน 2,002 ล้านบาท มีรายได้จากการก่อสร้างและการขายวัสดุรวม 45,768 ล้านบาท อัตรากำไรขั้นต้นในปี 2559 อยู่ที่ 7.08% ซึ่งเป็นที่น่าพอใจ

สำหรับความคืบหน้าของโครงการต่างๆ ที่กำลังดำเนินการนั้น มีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และ บางซื่อ-ท่าพระ ความคืบหน้า 97.6% และสัญญางานวางราง ความคืบหน้า 86.8%

โครงการบริหารโครงการจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์งานระบบรถไฟฟ้า รถไฟฟ้าสายสีม่วง สัญญา 4 ความคืบหน้า 91.8% โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงจิระ-ขอนแก่น ความคืบหน้า 15.0% โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา สัญญา 6 ความคืบหน้า 0.1% โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน (BIC2) ความคืบหน้า 78.5% โครงการไซยะบุรี ความคืบหน้า 71.3% โครงการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อยนาบง ณ สปป.ลาว ความคืบหน้า 38.4%

ทั้งนี้ปี 2560 บริษัทยังมีความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะผลักดันโครงการที่เป็นประโยชน์กับประเทศออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น รถไฟทางคู่ 5 เส้นทางที่รอประมูลในปีนี้ ซึ่งอยู่ในช่วงรัฐบาลกำหนดรูปแบบการประมูล โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย

อาทิ สายสีม่วง ช่วง เตาปูน-ราษฏร์บูรณะ, สายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑล สาย 4, สายสีเขียวเข้ม ช่วงสมุทรปราการ-บางปู, สายสีเขียวเข้ม ช่วงคูคต-ลำลูกกา และสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก โครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิส่วนต่อขยาย (Airport Rail Link), โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต, โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และ E-W Corridor ด้านตะวันออก ซึ่งบริษัทฯ เองก็ได้เตรียมความพร้อมในทุกด้านเพื่อเข้าร่วมประมูลอย่างเต็มที่ และตั้งเป้าที่จะได้ส่วนแบ่งงานในสัดส่วน 20-25% ของมูลค่างานที่ออกมาทั้งหมด

"โครงการภาครัฐปีนี้คาดว่าเปิดประมูลได้ตามแผน ครึ่งปีแรกมีทางคู่ 5 เส้นทาง ครึ่งปีหลังถึงปีหน้ามีทางคู่อีก 7-8 เส้นทาง รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีส้ม สีม่วง สีแดงสีเขียว สุวรรณภูมิเฟส 2 ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์และทางด่วน"

"ในโอกาสครบรอบปีที่ 45 ในปีนี้ บริษัทฯได้ปรับเปลี่ยนและพัฒนากลยุทธ์เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการดำเนินธุรกิจ รองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรอบด้าน สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 และพร้อมที่จะก้าวสู่การเป็นผู้พัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานระดับภูมิภาค นอกจากนี้ยังมีแผนในการจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อเป็นการตอบแทนและให้คืนสู่สังคมอีกด้วย" นางสาวสุภามาสกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2017 7:52 pm    Post subject: Reply with quote

อุโมงค์ไฟฉายเรียก รฟม.จ่าย 100 ล้าน
โดย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
3 พฤษภาคม 2560 05:15
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 156, 157, 158 ... 228, 229, 230  Next
Page 157 of 230

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©