RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180267
ทั้งหมด:13491501
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 150, 151, 152 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/04/2017 1:27 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ลุ้นรถไฟฟ้าชมพู-เหลืองเข้าครม.
เดลินิวส์ จันทร์ที่ 24 เมษายน 2560 เวลา 22.00 น.


จ่อเซ็น “ชมพู-เหลือง” พ.ค.นี้-โอนหนี้สีเขียวไม่จบ กทม.ยื้อค่าเช่า “แบริ่ง-สำโรง”
โดย MGR Online
25 เมษายน 2560 06:49 น. (แก้ไขล่าสุด 25 เมษายน 2560 09:59 น.)


รฟม.เผยอัยการเห็นชอบร่างสัญญาสัมปทานโมโนเรล “ชมพู-เหลือง” แล้ว ลุ้นชง ครม.ใน 1-2 สัปดาห์นี้ เตรียมเซ็น BTS เดินหน้าก่อสร้าง ใน พ.ค. ขณะที่สีม่วงใต้ทยอยจ่อคิว ส่วนน้ำเงินต่อไปพุทธมณฑลสาย 4 ต้องเร่งศึกษาร่วมทุนเอกชน (PPP) เคาะรูปแบบเดินรถ ประมูล/เจรจารายเดิมก่อนชง สศช.อีกรอบ ยอมรับโอนหนี้สีเขียวต่อขยายไม่คืบ กทม.ยังไม่จ่ายค่าเช่าใช้ทาง 1 สถานี

นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการ (กลยุทธ์และแผน) ในฐานะรักษาการผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. มีมูลค่าลงทุนรวม 53,519.50 ล้านบาท และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. มูลค่าลงทุนรวม 51,931.15 ล้านบาท ว่า เมื่อวันที่ 20เม.ย.ที่ผ่านมา สำนักงานอัยการสูงสุดได้ส่งร่างสัญญาของทั้ง 2 โครงการให้ รฟม.เรียบร้อยแล้ว และ รฟม.ได้เสนอไปยังกระทรวงคมนาคมแล้วเพื่อเตรียมเสนอคณะรัฐมตรี (ครม.) เห็นชอบ ซึ่งคาดว่าหากเสนอ ครม.ไม่ทันในวันนี้ (25 เม.ย.) อาจจะเสนอในสัปดาห์หน้า ซึ่งหลังจาก ครม.เห็นชอบคาดว่าจะลงนามสัญญากับผู้ได้รับคัดเลือกทั้ง 2 โครงการ คือ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) (ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (BTS Group) บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)) ได้ในช่วงต้นเดือนหรือกลางเดือน พ.ค.

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. วงเงิน 131,004.30 ล้านบาท ทางคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ดสภาพัฒน์ฯ) ได้เห็นชอบแล้ว คาดว่าจะเสนอ ครม.ได้เร็วๆ นี้ โดยกระทรวงการคลังเสนอแนะให้ใช้เงินกู้เอดีบีดำเนินโครงการ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการเตรียมเอกสารประมูลให้เอดีบีพิจารณาก่อน อย่างไรก็ตาม คาดว่าหลังจาก ครม.เห็นชอบจะเปิดประมูลได้ภายใน 2-3 เดือน และได้ตัวผู้รับจ้างในปลายปี 2560 และเริ่มก่อสร้างได้ในต้นปี 2561

ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 8 กม. วงเงิน 21,120 ล้านบาท ซึ่งบอร์ดสภาพัฒน์ฯ ให้ รฟม.จัดทำเอกสารรายงานการศึกษาการร่วมทุนเอกชน (PPP) เสนอไปพร้อมกันกับการขออนุมัติก่อสร้างโครงการ ขณะนี้ รฟม.กำลังเร่งรัดการศึกษา ซึ่งต้องรอผลศึกษาออกมาก่อนจึงจะบอกได้ว่าจะเป็น PPP แบบใด และควรประมูลหรือให้เอกชนรายเดิมเดินรถต่อเนื่อง

ส่วนสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง 16.4 กม. ล่าสุด รฟม.ได้ปรับลดค่าใช้จ่ายลงอีก 1,800 ล้านบาท จากเดิมวงเงินรวม 111,186 ล้านบาทเหลือ 109,342 ล้านบาท โดยในส่วนของงานโยธาลดลงจาก 90,271 ล้านบาท เหลือ 88,568 ล้านบาท ซึ่งได้สรุปเรื่องเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมแล้วเช่นกัน

โอนหนี้ไม่จบ สีเขียวต่อขยายค้างเติ่งรอชง ครม.

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อขยาย ส่วนเหนือ คูคต-ลำลูกกา 9.4 กม. และส่วนใต้ สมุทรปราการ-บางปู 6.75 กม.นั้น รฟม.ส่งเรื่องให้กระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอ ครม.แล้ว ทั้งนี้ ยังมีประเด็นที่ต้องพิจารณาในเรื่องการโอนหนี้ระหว่าง รฟม.กับ กทม.ในส่วนของสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ที่ยังไม่เรียบร้อย ขณะที่ กทม.ได้ให้ BTS เปิดเดินรถ 1 สถานี จากสถานีแบริ่ง-สำโรงไปแล้ว โดย รฟม.คิดค่าเช่าใช้ราง 8 ล้านบาท/เดือน ซึ่งขณะนี้ กทม.ยังไม่ได้มีการตกลงจ่ายเงินให้ รฟม.แต่อย่างใด โดย กทม.ให้เหตุผลว่าอยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติงบจาก ครม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/04/2017 6:22 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.'เลื่อนเปิดบริการระบบตั๋วร่วม
TNN News
25 เมษายน 2560 เวลา 10.52 น.

โครงการพัฒนาระบบตั๋วร่วมเพื่อนำมาใช้กับระบบขนส่งสาธารณะต้องเลื่อนเปิดให้บริการจากเป้าหมายเดิมในเดือนมิ.ย. เนื่องจากติดปัญหาทางเทคนิค

วันนี้ (25เม.ย. 60) โครงการพัฒนาระบบตั๋วร่วมเพื่อนำมาใช้กับระบบขนส่งสาธารณะต้องเลื่อนเปิดให้บริการตามเป้าหมายเดิมในเดือนมิ.ย. เนื่องจากเหตุผลทางเทคนิค เพราะการติดตั้งระบบใหม่ให้เชื่อมโยงกับระบบเดิมเป็นเรื่องยาก เช่น กรณีรถไฟฟ้าที่มีระบบของตัวเองอยู่แล้ว การนำระบบตั๋วร่วมเข้าไปก็จะต้องใช้เวลา เช่น รถไฟฟ้าใต้ดินมีหัวอ่าน อยู่ 2 ชนิด คือ อ่านการ์ดแบบเอ และ อ่านการ์ดแบบซี เป็นต้น การปรับปรุงระบบจะสามารถเข้าไปดำเนินการได้เฉพาะช่วงหลังเที่ยงคืนถึง 04.00 น. ซึ่งเป็น ช่วงหยุดให้บริการแล้วเท่านั้น แต่การติดตั้งระบบตั๋วร่วมบนรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพราะเป็นการติดตั้งระบบใหม่ เข้าไปเลย โดยขณะนี้ ขสมก. ประมูลได้ตัวผู้ติดตั้งระบบตั๋วร่วมแล้ว คาดว่าจะเปิดให้บริการได้เป็นระบบแรกภายในปี 2560

สาเหตุที่ต้องเร่งให้รถเมล์สามารถเปิดบริการตั๋วร่วมได้ก่อนยังเกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐบาลเรื่องการยกเลิกรถเมล์ฟรี และรถไฟฟรี แล้วแทนที่ด้วยบัตรสวัสดิการของกระทรวงการคลัง ซึ่งหากกระทรวงการคลังดำเนินการได้แล้วเสร็จจะสามารถใช้ระบบตั๋วร่วมเพื่อรองรับการให้บริการรถเมล์ฟรีกับผู้ที่ได้รับสวัสดิการด้วย

สำหรับรถไฟฟ้าสายต่างๆ นั้น เบื้องต้น กำหนดไว้ 2 สาย คือ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยทั้ง 2 หน่วยงานอยู่ระหว่างเตรียมจัดทำTOR เพื่อ จัดจ้างเอกชนติดตั้งระบบตั๋ว คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปีนี้

ที่ผ่านมาคณะกรรมการบริหารจัดการ ตั๋วร่วมได้มีมติให้ รฟม. เป็นผู้บริหารจัดการระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลางและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วมแล้ว โดยรถไฟฟ้าจะมี 2 รายเปิดให้บริการก่อน คือแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ส่วนรถไฟฟ้า บีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดิน เอ็มอาร์ที อยู่ระหว่างการเจรจา
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/04/2017 6:36 pm    Post subject: Reply with quote

ชงครม.อนุมัติรถไฟฟ้าชมพู-เหลือง
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 26 เม.ย. 2560 07:15

แจงปรับปรุงร่องน้ำโขง ยันไม่กระทบชาวบ้าน-สิ่งแวดล้อม

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้รายงานมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก หรือ คจร.ให้ที่ประชุม ครม.รับทราบ ในโครงการพิจารณาแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ซึ่งมีแนวเส้นทางทับซ้อนกับแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-สถานีศิริราช ของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. โดยที่ประชุม คจร. เห็นควรให้การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน แนวเส้นทางรถไฟฟ้าให้สิ้นสุดที่สถานีบางขุนนนท์ (ถ.จรัญสนิทวงศ์) ก่อนในระยะแรก ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-งามวงศ์วาน-เกษตรศาสตร์-ลำสาลี (บึงกุ่ม) นั้น ทาง คจร.มอบหมายให้ สนข. ศึกษาความเหมาะสมของโครงการว่า จะดำเนินการเป็นรถไฟฟ้า หรือโครงการรถโดยสารด่วนพิเศษ หรือบีอาร์ที โดยให้เวลาศึกษา 14 เดือนให้ได้ข้อสรุป

สำหรับการดำเนินการในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้มีการประกวดราคาจนได้บริษัทผู้รับสัมปทานเพื่อเข้าดำเนินโครงการแล้ว คือ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS Group บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH และบริษัทซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC นั้น คาดว่าจะสามารถเสนอให้ ครม.พิจารณาเห็นชอบอนุมัติผลการประกวดราคาในโครงการได้ในสัปดาห์หน้า

ทั้งนี้ นายอาคมยังเปิดเผยถึงการดำเนินการในโครงการปรับปรุงร่องน้ำทางเดินเรือในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ซึ่งประชาชนมีความเป็นห่วงถึงผลกระทบจากโครงการนี้ว่า การดำเนินการในโครงการดังกล่าวได้มีการศึกษาโดยที่ปรึกษาประเทศจีน และใช้เงินในการดำเนินการจากกองทุนความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขงระหว่างอาเซียน-จีน และขณะนี้โครงการดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของการสำรวจร่องแม่น้ำโขง เพื่อเก็บข้อมูลและให้เห็นสภาพธรณีวิทยา กับกระแสน้ำที่ไหลผ่านในช่วงแม่น้ำโขงตอนกลางเท่านั้น ยังไม่มีข้อผูกมัดว่าจะทำอะไรทั้งสิ้น ดังนั้นความห่วงใยที่ประชาชนมองว่าจะมากระทบกับสิ่งแวดล้อม และเกาะแก่งต่างๆนั้น ขอย้ำว่าจะไม่มีเกิดขึ้นแน่นอน เพราะเป็นแค่การสำรวจ อยากให้ประชาชนสบายใจได้.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/04/2017 7:05 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ชงครม.อนุมัติรถไฟฟ้าชมพู-เหลือง
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 26 เม.ย. 2560 07:15


ครม.เห็นชอบนำ Roadmap ของโครงการสาทรโมเดลไปสู่การปฏิบัติ
ฐานเศรษฐกิจ
25 เมษายน 2560 เวลา 2017


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และนายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม แถลงข่าวผลการประชุมคณะรัฐมนตรีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงฯ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2560 ณ ห้องราชดำเนิน กระทรวงคมนาคม

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ประชุมเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2560 และรับทราบมติที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560 ตามที่กระทรวงฯ เสนอ ดังนี้

1. โครงการคมนาคมอย่างยั่งยืน 2.0 (Sustainable Project 2.0) : สาทรโมเดล ครม. เห็นชอบในหลักการ ดังนี้

1.1 การนำ Roadmap ของโครงการสาทรโมเดลไปสู่การปฏิบัติ

1.2 มอบกระทรวงฯ จัดทำ MOU ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

1.3 การให้ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ประชาชนสามารถเข้าร่วมการประชุมในกรณีที่เกี่ยวข้อง

2. ผลการดำเนินงานภายใต้ MOU การมอบหมายให้กรุงเทพฯ เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต และช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

2.1 รับทราบผลการดำเนินงาน มูลค่าโครงการ และขั้นตอนการโอนทรัพย์สินและหนี้สิน โดยในส่วนข้อคัดค้านค่าใช้จ่ายของกรุงเทพฯ จำนวน 3 รายการ คือ ค่าจ้างที่ปรึกษาตาม พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ค่าใช้จ่ายบุคลากรของ รฟม. และค่าภาษีบำรุงท้องที่ มอบหมายให้คณะกรรมการหาข้อสรุปให้ได้ข้อยุติต่อไป

2.2 เห็นชอบให้กรุงเทพฯ บริหารเดินรถไฟฟ้าจากสถานีแบริ่ง – สำโรง จำนวน 1 สถานี เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้โดยเร็ว

2.3 มอบ รฟม. และกรุงเทพฯ เจรจาเกี่ยวกับเงื่อนไขการใช้โครงสร้างของ รฟม. ในการให้บริการเดินรถ

2.4 มอบกรุงเทพฯ รฟม. กระทรวงฯ และกระทรวงการคลัง ร่วมกันพิจารณาแนวทางในการเดินรถและการลงทุนในอนาคตของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสมุทรปราการ – บางปู และช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต

3. การพิจารณาแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มของ รฟม. ซึ่งแนวเส้นทางทับซ้อนกับแนวเส้นทางของโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน – สถานีศิริราช ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

3.1 รับทราบการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน – ศิริราช ของ รฟท. และเห็นควรบรรจุโครงการในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เนื่องจากเป็นแนวเส้นทางตามแผนแม่บทฯ

3.2 เห็นชอบให้ รฟม. ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - ตลิ่งชัน โดยให้แนวเส้นทางสิ้นสุดที่สถานีบางขุนนนท์ (ถนนจรัญสนิทวงศ์) ก่อนในระยะแรก

3.3 มอบ รฟม. และ รฟท. ร่วมกันพิจารณาเรื่องการใช้อัตราค่าโดยสารร่วม โดยไม่คิดค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน

4. การศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม)

4.1 มอบสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาความเหมาะสมโครงการฯ โดยพิจารณาโครงข่ายการขนส่งและจราจรในภาพรวมและการเชื่อมต่อต่าง ๆ ตลอดจนทางเลือกในการเชื่อมต่อโครงข่ายทางยกระดับระหว่างวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก (ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 ) และความเป็นไปได้ในการเชื่อมต่อโครงข่ายทางยกระดับอุตราภิมุขกับทางพิเศษศรีรัช - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตกด้วย

4.2 มอบการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ดำเนินการโครงการระบบทางด่วน ขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยายกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 (ถนนกาญจนาภิเษก) ตามแนวทางที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นชอบ

5. การจัดทำแผนหลักการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองภูมิภาค

มอบ สนข. ดำเนินการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองต้นแบบการพัฒนา จำนวน 3 เมือง ได้แก่ พิษณุโลก อุบลราชธานี และสระแก้ว โดยใช้ผลการศึกษาการจัดทำแผนหลัก การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองภูมิภาคของประเทศ ที่ สนข. ได้ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์เป็นแนวทางในการดำเนินงาน และรายงานผลให้ คจร. ทราบต่อไป

6. ขอความเห็นชอบยกเว้นการปฏิบัติตามมติ ครม. (17 พฤษภาคม 2537)

เห็นสมควรเสนอ ครม. เห็นชอบให้ยกเว้นการปฏิบัติตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2537 เรื่อง พื้นที่ที่กำหนดให้ระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) เป็นระบบใต้ดิน สำหรับการดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายสีทอง (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี – สำนักงานเขตคลองสาน – ประชาธิปก) ของกรุงเทพฯ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/04/2017 12:03 am    Post subject: Reply with quote

คค.หาทางแก้จราจรแยกเกษตร เชื่อมด่วน N2 กับโทลล์เวย์-จ่อปรับสีน้ำตาลเป็น BRT
โดย MGR Online
25 เมษายน 2560 19:09 น. (แก้ไขล่าสุด 25 เมษายน 2560 22:52 น.)


“อาคม” เผย ครม.รับทราบเดินหน้าทางด่วนขั้นที่ 3 ช่วง N2 ตามมติ คจร. เร่ง กทพ.ทบทวนการศึกษาและออกแบบ คาดชง ครม.ในสิ้นปี 60 ก่อสร้างใน 3 ปี ขณะที่โมโนเรลสีน้ำตาลหากไม่คุ้มค่าส่อปรับเป็น BRT แทน พร้อมสั่งศึกษาเชื่อม N2 กับโทลล์เวย์และด่วนศรีรัช-วงแหวน หวั่นมีปัญหากระทบพื้นที่ ม.เกษตรฯ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (25 เม.ย.) รับทราบมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เมื่อวันที่ 9 ก.พ. ซึ่งได้มอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ดำเนินโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ซึ่งอยู่ในแผนปฏิบัติการคมนาคม (Action Plan) ปี 2560 โดย กทพ.อยู่ระหว่างการศึกษาทบทวนการออกแบบรายละเอียด และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้วเสร็จในเดือน พ.ย. 2560 โดยกระทรวงคมนามจะเร่งนำเสนอ ครม.เพื่อขออนุมัติและใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาความเหมาะสมโครงข่ายการขนส่งและจราจรในภาพรวมและการเชื่อมต่อ รวมถึงทางเลือกในการเชื่อมโครงข่ายทางยกระดับระหว่างวงแหวนรอบนอก กทม.ฝั่งตะวันออก และความเป็นไปได้ในการเชื่อมกับดอนเมืองโทลล์เวย์และทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ฝั่งตะวันตก

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สนข.กล่าวว่า ทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือเดิม ช่วง N1, N2 และ N3 เป็นโครงข่ายเชื่อมตั้งแต่วงแหวนตะวันตก-ตะวันออก (E-W Corridor) โดยช่วง N1 ตั้งแต่บางใหญ่-รัตนาธิเบศร์-งามวงศ์วาน ไม่สามารถดำเนินการได้ เหลือเพียง N2 จากถนนประเสริฐมนูกิจข้ามคลองบางบัว ผ่านทางแยกถนนลาดปลาเค้า เชื่อมต่อกับทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) สิ้นสุดส่วนต่อขยายถนนประเสริฐมนูกิจบริเวณถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันออก ได้มีข้อกังวลปัญหาจราจรที่แยกเกษตร

ขณะที่เดิมเห็นว่ารถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลจะเป็นระบบขนส่งฟีดเดอร์ที่ดีในการทดแทน เพราะตลอดแนวเส้นทางจากแคราย-บึงกุ่ม มีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าหลายสาย เช่น สีม่วง, สีแดง, สีเขียว ดังนั้น การศึกษาจะต้องดูผลกระทบจราจรในภาพรวม นอกจากการเชื่อมต่อทางด่วน N2 กับโทลล์เวย์และทางด่วนศรีรัช-วงแหวนฯ แล้ว แนวรถไฟฟ้าสีน้ำตาลที่ขนานไปกับแนว N2 นั้นจะมีความเหมาะสม คุ้มค่าในการลงทุนหรือไม่ หากปริมาณผู้โดยสารยังไม่มากพอ และยังไม่คุ้มค่าในการลงทุน อาจจะกำหนดระยะเวลาในการลงทุนที่เหมาะสมหรืออาจต้องปรับรูปแบบเป็นรถ BRT เป็นต้น

นอกจากนี้ คจร.ยังมีมติเรื่องการทำ MOU มอบหมายให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งรับทราบความคืบหน้า มูลค่าโครงการ ขั้นตอนการโอนทรัพย์สิน หนี้สิน ซึ่ง กทม.ได้คัดค้านค่าใช้จ่าย 3 รายการ คือ ค่าจ้างที่ปรึกษาตาม พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556, ค่าใช้จ่ายบุคลากรของ รฟม., ค่าภาษีบำรุงท้องที่ โดยให้คณะกรรมการฯ เร่งหาข้อยุติ ซึ่งขณะนี้ กทม.ได้เปิดบริการเดินรถ 1 สถานี ช่วงแบริ่ง-สำโรงแล้ว โดยเร่งให้ รฟม.และ กทม.เจรจาเงื่อนไขในการใช้โครงสร้างในการเดินรถ พร้อมทั้งมอบให้ กทม. รฟม. คมนาคม และคลัง หาแนวทางในการเดินรถและลงทุนในอนาคตของสายสีเขียวเหนือ

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-ตลิ่งชันนั้น เห็นชอบตาม คจร.ที่ให้ดำเนินการในเฟสแรกก่อน โดยสิ้นสุดที่สถานีบางขุนนนท์ (ถ.จรัญสนิทวงศ์) เพื่อแก้ปัญหาการทับซ้อนแนวเส้นทางกับโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-สถานีศิริราช ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยให้สถานีบางขุนนนท์เป็นสถานีเปลี่ยนถ่ายระหว่างสายสีส้มกับสายสีน้ำเงิน และมอบให้ รฟม.และ ร.ฟ.ท.ร่วมกันพิจารณาการใช้อัตราค่าโดยสารร่วมโดยไม่คิดค่าแรกเข้า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/04/2017 12:50 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดไทม์ไลน์ปิด 10 ถนน สร้างรถไฟฟ้า 3 สี "ส้ม-ชมพู-เหลือง"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
27 เมษายน 2560 เวลา 07:45:58 น.


กลางปีนี้ลากยาวถึงปี 2562 วิกฤตการจราจรกรุงเทพฯ จะหนักหน่วงมากขึ้น จากการปิดถนนหลัก 10 สาย ปักตอม่อรถไฟฟ้าหลากสีที่ปีนี้จะเริ่มตอกเข็ม 3 สายทาง

เตรียมเปิดไซต์ภายในพ.ค.นี้ "สีส้ม" ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี 21.2 กม. 79,221 ล้านบาท จะใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี มีกำหนดเสร็จเปิดบริการมี.ค. 2566

แนวเส้นทางจะเริ่มที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม จุดเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดิน จากนั้นมุ่งหน้าศูนย์ซ่อมบำรุง แล้วเบี่ยงไป ถ.พระราม 9 เลี้ยวเข้า ถ.รามคำแหง แยกลำสาลี กาญจนาภิเษก สิ้นสุดที่สุวินทวงศ์ ใกล้จุดตัดกับ ถ.รามคำแหง เป็นโครงสร้างใต้ดิน 12.2 กม.จากศูนย์วัฒนธรรม-คลองบ้านม้า จากนั้นเป็นโครงสร้างยกระดับจนถึงปลายทางที่สถานีสุวินทวงศ์ มีเวนคืน 594 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 222 หลัง ค่าเวนคืน 9,625 ล้านบาท

พ.ค.แจ้งรับเหมาเข้าไซต์สีส้ม

"ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ" รองผู้ว่าการด้านวิศวกรรมและก่อสร้าง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า วันที่ 2 พ.ค.นี้จะแจ้งให้ผู้รับเหมาทั้ง 6 สัญญา เริ่มงาน ส่วนการเข้าพื้นที่เริ่มงานก่อสร้างอยู่ที่เอกชนและต้องได้รับอนุญาตจากตำรวจจราจรและกรุงเทพมหานคร (กทม.) ก่อน

"การเข้าพื้นที่คงไม่พร้อมกันทุกจุด จะทยอยเข้าแต่ละจุดตามความพร้อม ขั้นแรกจะเริ่มรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค ซึ่งถนนพระราม 9 และรามคำแหงใต้ดินมีท่อประปาขนาดใหญ่ คาดว่าจะทยอยปิดถนนประมาณ ก.ย.นี้"

ส่วนจุดที่จะเวนคืนอยู่จุดขึ้น-ลง 17 สถานี จุดใหญ่อยู่ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม ประดิษฐ์มนูธรรม ลำสาลี มีนบุรี และสุวินทวงศ์ รวมถึงเวนคืนย่านสถานีคลองบ้านม้า และมีนบุรีที่เป็นจุดก่อสร้างอาคารจอดแล้วจร

สำหรับ 17 สถานี ได้แก่
1.สถานีศูนย์วัฒนธรรม
2.สถานี รฟม.
3.สถานีประดิษฐ์มนูธรรม
4.สถานีรามคำแหง 12
5.สถานีรามคำแหง
6.สถานีราชมังคลา
7.สถานีหัวหมาก
8.สถานีลำสาลี
9.สถานีศรีบูรพา
10.สถานีคลองบ้านม้า
11.สถานีสัมมากร
12.สถานีน้อมเกล้า
13.สถานีราษฎร์พัฒนา
14.สถานีมีนพัฒนา
15.สถานีเคหะรามคำแหง
16.สถานีมีนบุรี และ
17.สถานีสุวินทวงศ์

ชมพู-เหลืองไม่เกินปลายปีนี้

ขณะที่ "สีชมพู" แคราย-มีนบุรี 34.5 กม. 53,519.50 ล้านบาท และ "สีเหลือง" ลาดพร้าว-สำโรง 30.4 กม. 51,931.15 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ ประกอบด้วย บมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โอลดิ้งส์, บมจ. ซิโน-ไทยฯ และ บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งส์ เป็นผู้ก่อสร้างและบริหารการเดินรถทั้งโครงการ

ล่าสุด "ธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล" รักษาการผู้ว่าการ รฟม.กล่าวว่า จะเซ็นสัญญา เม.ย.หรืออย่างช้าต้น พ.ค. นี้ ส่วนการเริ่มงานก่อสร้างขึ้นอยู่กับความพร้อมเอกชน จะต้องออกแบบรายละเอียด รวมถึงขออนุญาตกรมทางหลวงและกทม.เข้าพื้นที่ก่อสร้าง คาดว่าจะเริ่มได้ปลายปีนี้ และสร้างเสร็จเปิดปี 2563

แนว "สีชมพู" จุดเริ่มต้นอยู่หน้าศูนย์ราชการนนทบุรีเชื่อมต่อกับสายสีม่วง วิ่งเข้าถนนติวานนท์ เลี้ยวขวาห้าแยกปากเกร็ด ผ่านถนนแจ้งวัฒนะ ถนนรามอินทรา และมาปลายทางที่มีนบุรี มี 30 สถานี ได้แก่
1.สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
2.สถานีแคราย
3.สถานีสนามบินน้ำ
4.สถานีสามัคคี
5.สถานีกรมชลประทาน
6.สถานีปากเกร็ด
7.สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด
8.สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28
9.สถานีเมืองทองธานี
10.สถานีศรีรัช
11.สถานีเมืองทอง 1
12.สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ
13.สถานีทีโอที
14.สถานีหลักสี่
15.สถานีราชภัฏพระนคร
16.สถานีวงเวียนหลักสี่
17.สถานีรามอินทรา
18.สถานีลาดปลาเค้า
19.สถานีรามอินทรา 31
20.สถานีมัยลาภ
21.สถานีวัชรพล
22.สถานีรามอินทรา 40
23.สถานีคู้บอน
24.สถานีรามอินทรา 83
25.สถานีวงแหวนตะวันออก
26.สถานีนพรัตนราชธานี
27.สถานีบางชัน
28.สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
29.สถานีตลาดมีนบุรี และ
30.สถานีมีนบุรี

ใกล้แยกร่มเกล้า จะมีจุดจอดแล้วจร และศูนย์ซ่อมบำรุงบนพื้นที่ 280 ไร่

ลาดพร้าว-ศรีนครินทร์อ่วม

ส่วน "สีเหลือง" แนวเริ่มต้นที่สถานีลาดพร้าวเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดินแล้วไปตามถนนลาดพร้าว ยกระดับข้ามทางด่วนฉลองรัชจนถึงแยกบางกะปิ เลี้ยวขวาเข้าถนนศรีนครินทร์ จากนั้นยกระดับข้ามทางแยกต่างระดับพระราม 9 แยกพัฒนาการ ศรีนุช ศรีอุดมสุข ศรีเอี่ยม จนถึงแยกศรีเทพา เลี้ยวขวาเข้าถนนเทพารักษ์ และสิ้นสุดปลายทางที่ถนนปู่เจ้าสมิงพราย มีโรงจอดรถพร้อมศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่งและอาคารจอดแล้วจร 1 แห่งที่แยกต่างระดับศรีเอี่ยมมี 23 สถานี ได้แก่
1.สถานีรัชดา
2. สถานีภาวนา
3.สถานีโชคชัย 4
4.สถานีลาดพร้าว 71
5.สถานีลาดพร้าว 83
6.สถานีมหาดไทย
7. สถานีลาดพร้าว 101
8.สถานีบางกะปิ
9.สถานีลำสาลี
10.สถานีศรีกรีฑา
11.สถานีพัฒนาการ
12.สถานีกลันตัน
13.สถานีศรีนุช
14.สถานีศรีนครินทร์ 38
15.สถานีสวนหลวง ร.9
16.สถานีศรีอุดม
17.สถานีศรีเอี่ยม
18.สถานีศรีลาซาล
19.สถานีศรีแบริ่ง
20.สถานีศรีด่าน
21.สถานีศรีเทพา
22.สถานีทิพวัล และ
23.สถานีสำโรง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2017 7:50 pm    Post subject: Reply with quote

เอกชนระแวงตั๋วร่วม
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
3 พฤษภาคม 2560 06:01
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2017 7:55 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เปิดไทม์ไลน์ปิด 10 ถนน สร้างรถไฟฟ้า 3 สี "ส้ม-ชมพู-เหลือง"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
27 เมษายน 2560 เวลา 07:45:58 น.



นนทบุรีถกรับการก่อสร้าง รถไฟฟ้าสายสีชมพูในพื้นที่
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
1 พฤษภาคม 2560 05:10
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/05/2017 7:14 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
นนทบุรีถกรับการก่อสร้าง รถไฟฟ้าสายสีชมพูในพื้นที่
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
1 พฤษภาคม 2560 05:10
นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผวจ.นนทบุรี กล่าวว่า เมื่อวันที่ 27 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้เป็นประธานการประชุมคณะทำงานบริหารพื้นที่การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า สายสีชมพู จังหวัดนนทบุรี ครั้งที่ 1/2560 (ช่วงแคราย-มีนบุรี) เพื่อรับทราบ แนวทางการก่อสร้างจาก รฟม. โดยโครงการมีจุดเริ่มต้นจากสถานีศูนย์ราชการ จังหวัดนนทบุรี เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) และผ่านตาม แนวถนนติวานนท์และถนนแจ้งวัฒนะ โดยบูรณาการทุกหน่วยงานเตรียมความ พร้อมรองรับการก่อสร้างที่จะเกิดขึ้น เพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การใช้พื้นผิวการจราจร การระบายน้ำ ความปลอดภัยในการก่อสร้าง เป็นต้น.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/05/2017 12:34 am    Post subject: Reply with quote

"สมคิด"ปิดบิ๊กดีลแสนล.รถไฟฟ้าเหลือง-ชมพู จับตา"บอมบาดิเอร์-ฉงชิ่ง"แข่งปาดเค้กระบบซูเปอร์โมโนเรล
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
4 พฤษภาคม 2560 เวลา 09:00:08 น.


ดีเดย์ 18 พ.ค. รองนายกฯสมคิด ประธานเซ็นปิดบิ๊กดีลบีทีเอส สร้าง 2 รถไฟฟ้า "ชมพู-เหลือง" มูลค่า 1 แสนล้าน รฟม.เร่งคุย "กทม.-ทางหลวง" ส่งมอบพื้นที่ คาดลงเสาเข็มปลายปีนี้หรืออย่างช้าต้นปี"61 เปิดหวูดปี"63 เผยใช้ระบบซูเปอร์โมโนเรล จับตา "บอมบาดิเอร์-ฉงชิ่ง" ชิงดำเค้ก

นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า วันที่ 18 พ.ค. 2560 รฟม.จะเซ็นสัญญากับกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์, บมจ. ซิโนไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งส์ ผู้ชนะประมูลลงทุน 105,450 ล้านบาทสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูแคราย-มีนบุรี 34.5 กม.วงเงิน 53,519.50 ล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง 30.4 กม. วงเงิน 51,931.15 ล้านบาท มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เป็นประธาน

ทั้ง 2 โครงการ เป็นการให้เอกชนลงทุนรูปแบบ PPP Net Cost ระยะเวลา 33 ปี 3 เดือน รัฐจะเป็นผู้เวนคืนที่ดินและสนับสนุนค่างานโยธาให้ของสายสีชมพูไม่เกิน 20,135 ล้านบาท และสีเหลืองไม่เกิน 22,354 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 10 ปี ส่วนเอกชนเป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้าง จัดหาระบบและขบวนรถ รวมทั้งให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงระบบ พร้อมพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานี 53 สถานี โดย รฟม.จะได้ส่วนแบ่งรายได้ตลอดสัญญา 250 ล้านบาทต่อเส้นทาง

แบ่งงาน 2 ระยะ

"จะแบ่งการดำเนินงาน 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ออกแบบและก่อสร้างงานโยธา ติดตั้งระบบและขบวนรถ 3 ปี 3 เดือน ระยะที่ 2 ให้บริการเดินรถและบำรุงรักษา พร้อมกับพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานี 30 ปี ขั้นตอนหลังเซ็นสัญญากับเอกชน จะเร่งให้เอกชนเริ่มออกแบบรายละเอียดและเริ่มงานก่อสร้าง เพื่อนำเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ"

ส่วนการเข้าพื้นที่ก่อสร้างอยู่ที่เอกชน ซึ่ง รฟม.ได้หารือกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) กับกรมทางหลวง (ทล.) ขอใช้พื้นที่เกาะกลางถนนลาดพร้าว ศรีนครินทร์ ติวานนท์ แจ้งวัฒนะ รามอินทราและมีนบุรี ในหลักการทั้ง 2 หน่วยงานพร้อมให้ความร่วมมือ แต่ขอดูแบบก่อสร้างสุดท้าย ถึงจะให้เข้าพื้นที่ได้ ซึ่งโครงการจะเป็นรูปแบบดีไซน์แอนด์บิวด์หรือออกแบบไปก่อสร้างไป คาดว่าปลายปีนี้หรืออย่างช้าต้นปีหน้าจะเริ่มงานได้ จะใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี เปิดบริการเดือน ส.ค. 2563

ต่อขยายเมืองทอง-รัชดารอ EIA

ส่วนการพิจารณาข้อเสนอเพิ่มเติมซองที่ 3 จะพิจารณาภายหลัง รอบีทีเอสทำรายละเอียดโครงการ เนื่องจากเป็นเส้นทางส่วนต่อขยายใหม่ที่ไม่อยู่ในแผนแม่บทรถไฟฟ้า ต้องทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติ โดยบีทีเอสยืนยันจะสร้างสร้างส่วนต่อขยายภายในระยะเวลากำหนด 3 ปี 3 เดือน จะมีคณะกรรมการมาตรา 43 เป็นผู้รับผิดชอบดูแลทั้งโครงการ



ซึ่งบีทีเอสเสนอแผนลงทุนจะขยายเส้นทางสายสีชมพูออกไปอีก 2.8 กม.จากทางด่วนศรีรัชเข้าไปในเมืองทองธานี มี 2 สถานี ซึ่งสถานีแรกอยู่บริเวณอาคารอิมแพ็คชาเลนเจอร์และสถานีที่2 อยู่ริมทะเลสาบ และสายสีเหลืองจะสร้างเพิ่ม 2.6 กม.จากแยกรัชดา-ลาดพร้าวไปตามแนวถนนรัชดาภิเษกเชื่อมกับสายสีเขียว(หมอชิต-คูคต) ที่แยกรัชโยธิน มี 2 สถานี ซึ่งสถานีแรกอยู่หน้าจันทรเกษมและสถานีพหลโยธิน 24

เปิดโผ 53 สถานี

สำหรับสายสีชมพู มี 30 สถานี ได้แก่ 1.สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี 2.สถานีแคราย 3.สถานีสนามบินน้ำ 4.สถานีสามัคคี 5.สถานีกรมชลประทาน 6.สถานีปากเกร็ด 7.สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด 8.สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 9.สถานีเมืองทองธานี 10.สถานีศรีรัช 11.สถานีเมืองทอง 1 12.สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 13.สถานีทีโอที 14.สถานีหลักสี่ 15.สถานีราชภัฏพระนคร 16.สถานีวงเวียนหลักสี่ 17.สถานีรามอินทรา 18.สถานีลาดปลาเค้า 19.สถานีรามอินทรา 31 20.สถานีมัยลาภ 21.สถานีวัชรพล 22.สถานีรามอินทรา 40 23.สถานีคู้บอน 24.สถานีรามอินทรา 83 25.สถานีวงแหวนตะวันออก 26.สถานีนพรัตนราชธานี 27.สถานีบางชัน 28.สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ 29.สถานีตลาดมีนบุรี และ 30.สถานีมีนบุรี มีจุดจอดแล้วจร และศูนย์ซ่อมบำรุงบนพื้นที่ 280 ไร่

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเหลือง มี 23 สถานี ได้แก่ 1.สถานีรัชดา 2. สถานีภาวนา 3.สถานีโชคชัย 4 4.สถานีลาดพร้าว 71 5.สถานีลาดพร้าว 83 6.สถานีมหาดไทย 7. สถานีลาดพร้าว 101 8.สถานีบางกะปิ 9.สถานีลำสาลี 10.สถานีศรีกรีฑา 11.สถานีพัฒนาการ 12.สถานีกลันตัน 13.สถานีศรีนุช 14.สถานีศรีนครินทร์ 38 15.สถานีสวนหลวง ร.9 16.สถานีศรีอุดม 17.สถานีศรีเอี่ยม 18.สถานีศรีลาซาล 19.สถานีศรีแบริ่ง 20.สถานีศรีด่าน 21.สถานีศรีเทพา 22.สถานีทิพวัล และ 23.สถานีสำโรง

จีน-แคนาดาชิงระบบรถ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเซ็นสัญญาทางบีทีเอสได้เชิญซัพพลายเออร์รถไฟฟ้า 2 โครงการเข้าร่วมงานด้วย โดยระบบรถที่ใช้เป็นซูเปอร์โมโนเรล อยู่ระหว่างเลือกกระบบของบอมบาดิเอร์จากแคนาดาและฉงชิ่งจากจีน ส่วนระบบขายตั๋วคาดว่าจะใช้ระบบจากสเปน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 150, 151, 152 ... 277, 278, 279  Next
Page 151 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©