Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179688
ทั้งหมด:13490920
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - การรื้อถอนอาคารสถานีรถไฟเนื่องจากโครงการรถไฟทางคู่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

การรื้อถอนอาคารสถานีรถไฟเนื่องจากโครงการรถไฟทางคู่
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 04/05/2017 10:25 am    Post subject: Reply with quote

คำอธิบายว่าทำไมอาคารสถานีรถไฟจำนวน 17 หลัง จากทั้งหมด 19 หลัง ในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ประกอบด้วยอาคารสถานีรถไฟบ้านเกาะ หนองแมว โนนสูง บ้านดงพลอง บ้านมะค่า พลสงคราม บ้านดอนใหญ่ เมืองคง โนนทองหลาง หนองบัวลาย หนองมะเขือ เมืองพล บ้านหัน บ้านไผ่ บ้านแฮด ท่าพระ และขอนแก่น ถึงต้องถูกรื้อครับ
Quote:
“ขั้นตอนอย่างนี้ครับ ช่วงออกแบบศึกษา จะมีการ hearing ประชาพิจารณ์ในพื้นที่ ถ้ามีการ raise สถานีขึ้นมาว่า ความประสงค์ของท้องถิ่นอยากจะอนุรักษ์ที่ตรงนี้ จะถูกใส่ใน report และใส่ในการออกแบบไว้ด้วย จะเผื่องบประมาณรองรับไว้ให้เลย ถ้าที่ผ่านมา ไม่มีการ request เรื่องนี้ขึ้นมา ผมจะมองข้ามไป”

http://program.thaipbs.or.th/Plikpomnews


ค้านการรื้อสถานีเก่า
https://www.youtube.com/watch?v=3YWrh5hOY6M&feature=share


Last edited by Wisarut on 04/05/2017 11:52 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/05/2017 10:51 am    Post subject: Reply with quote

^^^

https://www.youtube.com/watch?v=3YWrh5hOY6M
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/05/2017 1:07 pm    Post subject: Reply with quote

พบเครื่องส่งสัญญาณขอทางรถไฟอายุกว่า100ปี
โพสต์ทูเดย์ 04 พฤษภาคม 2560 เวลา 11:05 น.

Click on the image for full size

นายนิคม หมากกลาง อายุ 60 ปี พ่อค้าร้านกาแฟโบราณ ตั้งอยู่ที่สถานีรถไฟหนองแมว ต.ด่านคล้า อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ได้พาผู้สื่อข่าวเดินชมสวนหย่อมของสถานีรถไฟหนองแมว 1 ใน 10 สถานีรถไฟเก่าที่ต้องถูกรื้อถอนเพื่อสร้างสถานีใหม่ตามโครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ เส้นทางจิระ-ขอนแก่น

นคราชสีมา-พบเครื่องส่งสัญญาณขอทางรถไฟโบราณอายุกว่า100ปีในสถานีรถไฟหนองแมว

สถานีแห่งนี้ได้มีการจัดสวนหย่อมอย่างสวยงาม บริเวณรอบตัวอาคารสถานีรถไฟเก่าอายุกว่า 60 ปี มีลำต้นขนาดใหญ่ 3 คนโอบ ที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของชาว ต.ด่านคล้า ไปแล้ว โดยเฉพาะต้นมะขามขนาดใหญ่ 2 ต้น ซึ่งมีอายุกว่า 60 ปี เนื่องจากปลูกพร้อมกับการสร้างสถานีรถไฟหนองแมวแห่งนี้

นายนิคม หมากกลาง พ่อค้าร้านกาแฟโบราณข้างสถานีรถไฟหนองแมว ยอมรับว่าการสร้างสถานีใหม่เป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะจะทำให้การสัญจรไป-มา สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เพียงแต่ขอให้อนุรักษ์ตัวอาคารสถานีรถไฟเก่านี้ไว้ ให้ลูกหลานได้ดูและศึกษาประวัติศาสตร์ด้วย

"ขณะนี้ช่างของบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง ก็กำลังจะรื้อตัวอาคารแล้ว และทราบข่าวว่าทางจังหวัดได้มีการเตรียมที่จะอนุรักษ์ไว้ จึงทำให้ชาวบ้านใน ต.ด่านคล้ารู้สึกดีใจมาก และพร้อมให้การสนับสนุนเต็มที่ ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้นำไปสร้างไว้ให้มีรูปแบบเดิมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตัวอาคารสถานี สวนหย่อม และอยากให้นำต้นมะขามอายุกว่า 60 ปี 2 ต้นที่เป็นสัญลักษณ์ของสถานีไปปลูกด้วย" นายนิคมกล่าว

ที่สถานีรถไฟหนองแมวยังมีเครื่องส่งสัญญาณขอทางรถไฟโบราณ อายุเกือบ 100 ปี ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ใช้งานแล้ว ตั้งอยู่ในตัวอาคารจำหน่ายตั๋ว แต่เนื่องจากว่าเป็นสมบัติของการรถไฟแห่งประเทศไทย ดังนั้น หากจะนำไปอนุรักษ์ไว้ก็ต้องมีการเจรจาขอซื้อไว้ด้วยเช่นกัน.

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 04/05/2017 8:09 pm    Post subject: Reply with quote

ชาวตำบลท่าพระ (ชานนครขอนแก่น) ระดมทุนรักษาอาคารสถานีท่าพระ ร่วมกะท่าผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น

https://www.facebook.com/1PMThaiPBS/videos/441458212874368/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 05/05/2017 8:35 pm    Post subject: Reply with quote

ขอนแก่นตั้งหน่วยเฉพาะกิจเจรจาการรถไฟ ขอ 7 สถานีเก่าที่จะถูกรื้อ ตั้งพิพิธภัณฑ์ ลั่นใช้งบตัวเอง
มติชน
วันที่: 4 พฤษภาคม 2560 เวลา: 18:31 น.

เมื่อเวลา 16.30 น. วันที่ 4 พฤษภาคม นายพงษ์ศักดิ์ ปรีชาวิทย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยได้มีโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กิโลเมตร สถานีรถไฟ 19 สถานี ป้ายหยุดรถ 7 แห่ง ย่านเก็บกองและขนถ่ายตู้สินค้า 3 แห่ง ซึ่งมีวันเริ่มต้นสัญญา 19 กุมภาพันธ์ 2559 วันสิ้นสุดสัญญา 18 กุมภาพันธ์ 2562 ค่าก่อสร้าง 23,430,000,000 บาท

นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า ในส่วน จ.ขอนแก่น มี 7 สถานี คือ 1.สถานีขอนแก่น 2.สถานีท่าพระ 3.สถานีบ้านแฮด 4.สถานีบ้านไผ่ 5.สถานีบ้านหัน 6.สถานีเมืองพล 7.สถานีหนองมะเขือ ในเขต อบต.หนองมะเขือ อ.พล ซึ่งต้องถูกทุบทิ้งตามโครงการดังกล่าว ทางจังหวัดจึงแต่งตั้งนายชัยธวัช เนียมศิริ รอง ผวจ.ขอนแก่น เป็นประธานชุดเฉพาะกิจเพื่อขอสถานีรถไฟจำนวน 7 สถานีมาจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ใน จ.ขอนแก่น โดยดูความเหมาะสมแต่ละพื้นที่

“ขณะนี้ทราบว่าเทศบาลนครขอนแก่นได้ทำเรื่องมาที่จังหวัดเพื่อขอย่านเก็บกองและขนถ่ายตู้สินค้า 1 แห่ง ป้ายหยุดรถ 1 แห่ง ส่วนสถานีรถไฟขอนแก่นเอามาไม่ได้เพราะเป็นปูนจึงต้องทุบทิ้ง ส่วนเทศบาลตำบลท่าพระได้ขอสถานีรถไฟท่าพระ บ้านพักนายสถานี อุปกรณ์การรถไฟบางส่วนที่ไม่ใช้แล้ว และจังหวัดได้ดำเนินการขอสถานีบ้านแฮดเพื่อไปจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ในวัดเจติยภูมิ บ้านขาม ต.บ้านขาม อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น สถานที่ประดิษฐานองค์พระธาตุขามแก่น” นายพงษ์ศักดิ์กล่าว

นายพงษ์ศักดิ์กล่าวอีกว่า ประชาชนเห็นว่าควรอนุรักษ์สถานีรถไฟทั้ง 7 แห่งไว้ให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้เห็นและศึกษาความเป็นมาของรถไฟไทยในครั้งอดีตว่ารูปแบบเป็นอย่างไร ที่มาเป็นอย่างไร มีความหมายกับคนไทยมากแค่ไหน โดยเฉพาะสถานีรถไฟแต่ละแห่งสวยงามเป็นสถาปัตยกรรมที่ควรอนุรักษ์ไว้ อย่าทุบทิ้งทำลายเด็ดขาด ทางจังหวัดจึงต้องรีบดำเนินการโดยด่วน จัดตั้งทีมเฉพาะกิจที่ขอสถานีรถไฟ 7 แห่ง จาก รฟท. โดยจังหวัดเป็นศูนย์กลาง ให้อำเภอที่มีสถานีรถไฟเป็นเจ้าภาพหลัก ซึ่งจะต้องบูรณาการในองค์กรท้องถิ่นในพื้นที่ที่มีสถานีรถไฟตั้งอยู่ ต้องดำเนินการหางบประมาณของแต่ละพื้นที่ในการขอสถานีรถไฟมาจัดตั้งในพื้นที่นั้น เป็นพิพิธภัณฑ์ดึงดูดนักท่องเที่ยว ขอเพียงให้ รฟท.ยินยอมให้จังหวัดรื้อถอนได้เท่านั้น ทางจังหวัดจะดำเนินการทันทีด้วยงบประมาณของตนเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 09/05/2017 9:23 pm    Post subject: Reply with quote

กรมศิลปากรทิ้ง คนโคราชและคนขอนแก่นไม่ทิ้ง อาคารเก่าสถานีรถไฟ มีประวัติศาสตร์สังคมไทยร่วมสมัย
ที่มา : มติชน ฉบับวันอังคารที่ 2 พฤษภาคม 2560 หน้า 1

ต้องร่วมกันชยันโตขอบคุณอย่างยิ่งยวด ต่อกรมศิลปากรที่ปฏิเสธคุณค่าอาคารเก่าสถานีรถไฟ ตามที่มีผู้เสนอให้ประกาศเป็นอาคารอนุรักษ์ (ทั้งๆ ไม่ควรทำอย่างนั้น)
เพราะส่งผลกระทบดีเยี่ยมและยิ่งใหญ่ ผลักดันให้มีพลังสำนึกรักบ้านเกิด แล้วสร้างสรรค์ชุมชนท้องถิ่นโดยระดมทุนอนุรักษ์อาคารเก่าสถานีรถไฟบางแห่งทั้งที่โคราชและที่ขอนแก่น
แม้เหตุการณ์ข้างหน้ายังไม่มั่นคงแข็งแรงวางใจได้ แต่ความเคลื่อนไหวดีๆ อย่างนี้ นับว่ามีค่านักต่อสำนึกสาธารณะของสังคมไทย
รถไฟเป็นสัญลักษณ์ของความทันสมัยในโลกเทคโนโลยี ที่ลดความเหลื่อมล้ำการขนส่งมวลชนในระบอบประชาธิปไตย นักโบราณคดีที่ขาดสำนึกเหล่านี้ย่อมปฏิเสธคุณค่าอาคารเก่าสถานีรถไฟ


รัชกาลที่ 5 (ทรงยืนบนหมอนรางรถไฟ ทรงผ้าพันพระศอ) ก่อนทรงทดลองนั่งรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่ชาวอังกฤษเป็นแม่งานสร้าง (ภาพจากหนังสือพิมพ์อังกฤษ BLACK AND WHITE, 2 May 1896 หนังสือพิมพ์หายากของ ไกรฤกษ์ นานา)

ทางรถไฟถึงโคราช พ.ศ. 2443
ร.5 โปรดให้ทำทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา แล้วเสร็จ และเปิดการเดินรถตั้งแต่เดือนธันวาคม 2443
ต่อมา พ.ศ. 2460 จึงเริ่มก่อสร้างทางรถไฟต่อจากสถานีนครราชสีมา ไปยังอุบลราชธานี
นับแต่นั้น โคราชถูกเรียกเป็นประตูสู่ที่ราบสูง เพราะการคมนาคมสะดวกที่สุด โดยทางรถไฟ

รถไฟถึงโคราช
เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2434
พ.ศ. 2439 สร้างทางรถไฟเสร็จสายแรก กรุงเทพฯ-อยุธยา ร.5 เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟสายแรก เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2439
การก่อสร้างได้ดำเนินต่อเนื่องจนถึงสถานีนครราชสีมา โดยในวันที่ 21 ธันวาคม 2443 ร.5 พร้อมด้วยราชินีเสด็จเปิดเดินรถจากกรุงเทพฯ ถึงสถานีนครราชสีมา และได้เสด็จโดยขบวนรถไฟพระที่นั่งประพาส จ. นครราชสีมา ด้วย


รัชกาลที่ 5 พร้อมด้วยพระบรมวงศ์ประทับอยู่บนซาลูนหลวงในวันเปิดเส้นทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่ชาวอังกฤษเป็นแม่งานสร้าง (ภาพจากหนังสือพิมพ์อังกฤษ BLACK AND WHITE, 2 May 1896 หนังสือพิมพ์หายากของ ไกรฤกษ์ นานา)

ทางรถไฟ กับทางเกวียน
“เส้นทางรถไฟของเรา อยู่ไม่ไกลจากทางเกวียนมากนัก” เป็นข้อความในบันทึกของ ลูอิส ไวเลอร์ วิศวกรชาวเยอรมัน ผู้เข้ามาควบคุมการก่อสร้างทางรถไฟให้แก่รัฐบาลสยามเมื่อ พ.ศ. 2436 (สมัย ร.5)
เขียนบันทึกเล่าเรื่องไว้เมื่อเดินทางโดยรถไฟถึงโคราช ว่าเส้นทางรถไฟสายโคราชตัดผ่านช่องเขาไปทางมวกเหล็ก ปากช่อง เป็นแนวเดียวกับทางเกวียนชาวบ้านที่ใช้เดินทางสมัยโบราณ
(กำเนิดการรถไฟในประเทศไทย ลูอิส ไวเลอร์ เขียน ถนอมนวล โอเจริญ, วลิตา ศรีอุฬารพงศ์ แปล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2556 หน้า 51)

รถไฟสายแรกในสยาม
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชทานพระบรมราชานุมัติให้กรมรถไฟจ้างมิสเตอร์แคมป์แบลล์สร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมา ขึ้นเป็นทางสายแรกของกรมรถไฟ เป็นทางขนาดกว้าง 1.435 เมตร
การสร้างทางรถไฟสายนี้ได้เริ่มสร้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2434
วันที่ 21 ธันวาคม 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการเดินรถจากพระนครถึงสถานีนครราชสีมา และได้เสด็จโดยขบวนรถไฟพระที่นั่งประพาส จ. นครราชสีมา ด้วย
การก่อสร้างทางรถไฟสายแรกจากกรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมา ซึ่งได้กระทำในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระยะทาง 264 กิโลเมตร สิ้นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 17,585,000.- บาท หรือประมาณกิโลเมตรละ 66,360.- บาท
(จากหนังสือการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2439-2512. พระนคร : รพ.การรถไฟฯ. 2513, หน้า 174-176.)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 09/05/2017 9:25 pm    Post subject: Reply with quote

โคราชเดินหน้าวางแผนรื้อย้ายสถานีรถไฟเก่าเพื่อเก็บอนุรักษ์
มติชน


เผยแพร่ 8 พฤษภาคม 2560
โคราชเดินหน้าวางแผนรื้อย้ายสถานีรถไฟเก่าเพื่อเก็บอนุรักษ์ เสียดาย สนฟ.พลสงคราม-บ้านมะค่า ถูกรื้อเสียหายจนไม่สามารถประกอบอนุรักษ์ไว้ได้

เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยถึงความคืบหน้าการรื้อย้ายสถานีรถไฟเก่าทั้ง 10 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อทำการอนุรักษ์ไว้ว่า ภายหลังจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ได้ให้ความอนุเคราะห์บริจาคสถานีรถไฟเก่าอายุกว่า 70 ปี จำนวน 10 สถานี ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้ทางจังหวัดนำไปอนุรักษ์ไว้ เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะมีการรื้อย้ายเพื่อสร้างสถานีรถไฟใหม่ ตามโครงการรถไฟรางคู่เส้นจิระ-ขอนแก่น



ล่าสุดขณะนี้ทางจังหวัดได้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไปทำการสำรวจสถานีรถไฟเก่าทั้ง 10 แห่งแล้ว เพื่อเตรียมการรื้อย้ายไปอนุรักษ์ไว้ในสถานที่ที่เหมาะสม โดยมีแผนการดำเนินการดังนี้ 1.สถานีรถไฟบ้านเกาะ อ.เมือง มีการรื้อถอนไปแล้ว และมีการหารือกับชุมชนแล้วมีความเห็นว่าจะนำไปอนุรักษ์ไว้ที่วัดบ้านเกาะใต้

2.สถานีรถไฟหนองแมว อ.โนนสูง มีกำหนดรื้อย้ายวันที่ 20 พฤษภาคมนี้ โดยจะย้ายไปอนุรักษ์ไว้ในสวนสาธารณะใกล้เคียงสถานีเก่า

3.สถานีรถไฟโนนสูง อ.โนนสูง จะดำเนินการรื้อย้ายวันที่ 8 พฤษภาคมนี้ โดยเทศบาลตำบลโนนสูงมีความประสงค์จะนำไปอนุรักษ์ไว้บริเวณสวนสาธารณะของเทศบาล

4.สถานีรถไฟดงพลอง อ.โนนสูง ไม่มีการรื้อถอน เพราะไม่กีดขวางทางการก่อสร้าง ดังนั้นชุมชนจึงสามารถอนุรักษ์ไว้ที่เดิมได้

5.สถานีรถไฟบ้านมะค่า อ.โนนสูง ถูกรื้อถอนไปแล้ว และวัสดุที่ถูกรื้อถอนมีความเสียหายไม่สามารถแยกวัสดุเพื่อนำกลับมาสร้างใหม่ได้ ทางชุมชนจึงไม่ประสงค์จะอนุรักษ์ไว้

6.สถานีรถไฟพลสงคราม อ.โนนสูง ถูกรื้อถอนไปแล้วและวัสดุเสียหายไม่สามารถนำกลับมาก่อสร้างใหม่ได้ ชาวบ้านจึงไม่ประสงค์จะอนุรักษ์ไว้

7.สถานีดอนใหญ่ อ.คง ยังไม่มีรื้อถอน โดยพร้อมที่จะย้ายไปอนุรักษ์ไว้ฝั่งตรงข้ามกับสถานีเก่า

8.สถานีเมืองคง ยังไม่รื้อถอน โดยพร้อมที่จะย้ายไปอนุรักษ์ไว้ฝั่งตรงข้ามสถานีเก่า

9.สถานีรถไฟโนนทองหลาง อ.บัวใหญ่ มีกำหนดรื้อถอนเดือนมิถุนายน 2560 ขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจ และ

10.สถานีรถไฟหนองบัวลาย อ.บัวลาย มีกำหนดรื้อถอนวันที่ 15 พฤษภาคมนี้ โดยเทศบาลตำบลหนองบัวลาย ได้ประชุมประชาคมแล้ว มีมติให้อนุรักษ์สถานีรถไฟไว้ และจะใช้สถานที่หนองโสน เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์รถไฟหนองบัวลายต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 09/05/2017 9:30 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ยินดีมอบอาคารสถานีรถไฟเก่าให้ฟรี หากย้ายในรัศมีไม่เกิน100เมตร
มติชน
5 พฤษภาคม 2560
ความคืบกรณีนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้ขอความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่มีอาคารสถานีรถไฟเก่าตั้งอยู่ในเส้นทางของโครงการรถไฟทางคู่ ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น จำนวน 10 สถานี จัดกิจกรรมระดมทุนอนุรักษ์สถานี ฯ เพื่อธำรงรักษาสถาปัตยกรรมผังเมืองและมรดกของชาติ รวมทั้งเป็นสมบัติของชุมชนในท้องถิ่น มิเช่นนั้นผู้รับจ้างจะถูกรื้อถอนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม นี้

นายวิเชียร ผวจ.นครราชสีมา เปิดเผยว่า ขอขอบคุณผู้บริหาร รฟท. ซึ่งมีมติเห็นชอบกับแนวทางของจังหวัดนครราชสีมา โดยนายประเสริฐ อัตตะนันทน์ รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ฐานะดูแลรับผิดชอบหน่วยธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน ได้แจ้งว่า รฟท.สนับสนุนให้จังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการอนุรักษ์อาคารสถานีรถไฟหลังเก่าไว้ โดยยินดีมอบให้ตามที่ต้องการ หากพื้นที่ตั้งใหม่ อยู่ในรัศมีไม่เกิน 100 เมตร สามารถดำเนินการทางเทคนิคยกตัวอาคารไปตั้งในสภาพเหมือนเดิมและ รฟท.ยกให้ฟรี นอกเงื่อนไขนี้ จังหวัดนครราชสีมา ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน เฉลี่ยสถานีละ 1.5 แสนบาท

กรณีรื้อถอนตามกำหนดสัญญาจ้าง ตนได้สั่งการให้ อปท. จัดส่งนายช่างโยธา ลงพื้นที่ร่วมกับตัวแทน รฟท. หรือผู้รับจ้าง ก่อนรื้อถอน ให้สำรวจโดยถ่ายภาพ เก็บข้อมูลสิ่งปลูกสร้างอย่างละเอียด เพื่อให้การประกอบขึ้นใหม่มีความสมบูรณ์ที่สุด

ส่วนข้อสรุปของ อปท.ทั้ง 10 แห่ง โดยมี 1.สถานีบ้านเกาะ อ.เมือง รื้อถอนแล้ว ได้หารือกับชุมชนซึ่งมีความประสงค์อนุรักษ์ไว้ โดยนำไปตั้งไว้ที่วัดบ้านเกาะ ซึ่งได้คุยกับทางวัดแล้วสามารถอนุญาตให้นำไปตั้งไว้ได้ 2.สถานีหนองแมว อ.โนนสูง กำหนดหรือถอนวันที่ 15 พฤษภาคม ได้หารือกับชุมชนได้ประสงค์อนุรักษ์ไว้ 3.สถานีโนนสูง อ.โนนสูง กำหนดหรือถอนวันที่ 8 พฤษภาคม สำนักงานเทศบาลตำบล (ทต.) โนนสูง รับดำเนินการไว้ โดยนำไปไว้ที่บริเวณชุมชนสวนผัก ทต.โนนสูง เพื่อเป็นสวนสาธารณะ สวนสุขภาพพร้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ 4.สถานีดงพลอง อ.โนนสูง ไม่รื้อถอน เนื่องจากไม่กีดขวางทางก่อสร้าง 5.สถานีมะค่า อ.โนนสูง รื้อถอนแล้วแต่ชาวบ้านต้องการอนุรักษ์ไว้ 6.สถานีพลสงคราม อ.โนนสูง รื้อถอนแล้ววัสดุเสียหายและไม่สามารถแยกวัสดุ เพื่อนำกลับมาสร้างใหม่ได้ รวมทั้งไม่มีงบประมาณดำเนินการ 7.สถานีดอนใหญ่ อ.คง ยังไม่รื้อถอนแต่มีความพร้อมย้ายอาคารไปไว้ที่วัดดอนใหญ่ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับสถานีเดิม 8. สถานีเมืองคง อ.คง ยังไม่ได้รื้อถอน แต่พร้อมจะย้ายสถานีไปอยู่ฝั่งตรงข้ามสถานีเดิม 9.สถานีโนนทองหลาง อ.บัวใหญ่ ฯ มีกำหนดรื้อถอนในเดือนมิถุนายน อยู่ระหว่างสำรวจ 10. สถานีหนองบัวลาย อ. บัวลาย ฯ กำหนดรื้อถอนในวันที่ 15 พฤษภาคม นี้ เทศบาลตำบล (ทต.) หนองบัวลาย จัดประชาคมมีมติให้อนุรักษ์ไว้และใช้สถานีเป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์รถไฟหนองบัวลาย

ด้านนายพงษ์ศักดิ์ ไทรพิพัฒน์พานิช นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) พลสงคราม อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา เปิดเผยว่า ยุคก่อน พ.ศ 2525 การเดินทางเข้าเมืองหรือขนส่งสินค้าเกษตรกรรม ต้องใช้รถไฟสะดวกที่สุด รวมทั้งพื้นที่รอบสถานีพลสงคราม เป็นที่ตั้งของตลาดสดและร้านค้าต่างๆ เป็นกิจวัตรประจำของคนในท้องถิ่น หากต้องการซื้อสินค้าหรือเดินทางสัญจรก็ต้องมาจุดนัดพบที่นี้ ทำให้ชาวบ้านมีความผูกพันค่อนข้างลึกซึ้ง โยเฉพาะตนและญาติๆ ใช้บริการโดยสารรถไฟไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนเมืองคง อ.คง และเดินทางไปทำธุระในเมือง นครราชสีมา

ผู้รับจ้างได้รื้อถอนในวันที่ 18 เมษายน ที่ผ่านมา ใช้เวลา 3 วัน ทุกอย่างเสร็จสิ้น ก่อนหน้านี้ได้พยายามประสานกับผู้บริหาร รฟท. ซึ่งมีเงื่อนไขค่อนข้างยุ่งยากและไม่มีความชัดเจน จึงเสียโอกาสในการเก็บอนุรักษ์ไว้ หลัง ผวจ.นครราชสีมา ได้เรียกประชุมหารือ อปท.ได้เชิญผู้นำชุมชนและชาวบ้าน มาร่วมวงพูดคุย ทั้งหมดต้องการอยากได้กลับคืนมา ตนพร้อมเจ้าหน้าที่กองช่าง จึงเดินทางไปสถานีรถไฟชุมทางถนนบัวใหญ่ อ.บัวใหญ่ สถานีที่เก็บรักษาซากอาคาร ฯ พบวิธีการของผู้รับจ้างรื้อทิ้งมิใช้รื้อถอนแต่อย่างใด โดยเร่งรื้อค่อนข้างเร็ว ทำให้ซากที่เหลือมีสภาพชำรุดทรุดโทรมเสียหายมากและยังนำซากทั้งหมด โดยมีอาคารสถานี,ร้านค้าและบ้านพักนายสถานีมากองรวมกัน จึงไม่สามารถแยกวัสดุนำกลับมาสร้างใหม่ได้ประกอบกับ อบต.พลสงคราม ไม่ได้เตรียมงบประมาณไว้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 15/05/2017 9:58 am    Post subject: Reply with quote

ผวจ.ปลื้มการรถไฟให้อนุรักษ์สถานีเก่าก่อนถูกรื้อ
กรุงเทพธุรกิจ
13 พฤษภาคม 2560

ผวจ.โคราช ขอบคุณการรถไฟ ให้ฟรีสถานีเก่าที่จะถูกรื้อทำรถไฟรางคู่ แนะท้องถิ่นอีกหลายแห่งทำหนังสือถึงการรถไฟโดยตรงเพื่ออนุรักษ์เป็นประวัติศาสตร์ของเมือง

นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมนายสุรศิษฐ์ อินทกรอุดม นายอำเภอโนนสูง และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมเดินทางมาตรวจเยี่ยมและสอบถามความคืบกรณีเตรียมรื้อย้ายอาคารสถานีรถไฟหนองแมว ต.ด่านคล้า อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็น 1 ใน 10 สถานีที่จะต้องถูกรื้อถอนตามแผนของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เนื่องจากตั้งอยู่ในเส้นทางก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ ชุมทางถนนรถไฟจิระ-ขอนแก่น

นายวิเชียร ฯ ผวจ.นครราชสีมา เปิดเผยว่า ขอขอบคุณผู้บริหาร รฟท. ซึ่งเห็นชอบตามแนวทางของจังหวัดนครราชสีมา ที่ต้องการอนุรักษ์อาคารสถานีรถไฟเก่า โดยยินดีมอบให้ตามที่ต้องการและให้เปล่าแต่ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนต้องดำเนินการเอง นอกจากนี้ยังได้ชี้แนะแนวทางให้แต่ละท้องถิ่นทำหนังสือผ่านนายอำเภอเพื่อเสนอขออนุรักษ์อาคารสถานีรถไฟกับผู้บริหาร รฟท.โดยตรง อ้างอิงหนังสือฉบับแรกของตนที่ดำเนินไปแล้ว หากท้องถิ่นไหน มีงบประมาณไม่เพียงพอ ให้ประสานมาที่ตน เพื่อกำหนดวันเวลาจัดกิจกรรมหารายได้สนับสนุน
ส่วนอาคารสถานีที่ถูกรื้อย้าย 3 แห่ง โดยมีสถานีดงพลอง และสถานีมะค่า อ.โนนสูง พบวัสดุเสียหายและไม่สามารถแยกวัสดุ เพื่อนำกลับมาสร้างใหม่ได้ รวมทั้งไม่มีงบประมาณดำเนินการ จึงไม่พร้อมจะสร้างใหม่ มีเพียงองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บ้านเกาะ อ.เมือง ต้องการกลับมาคืน ขณะนี้นายช่างโยธาได้เดินทางไปตรวจสอบซากที่เก็บรักษาไว้ที่สถานีรถไฟโนนสูง โดยเก็บรวบรวมรายละเอียดเบื้องต้น เพื่อนำมาประกอบขึ้นใหม่ให้มีความสมบูรณ์ที่สุด ภาพรวมของสถานี 7 แห่ง ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เนื่องจากทุกภาคส่วนในท้องถิ่นให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ได้กำหนดสถานที่ตั้งใหม่แล้ว
นายเสมอ ฯ ประธานสภา ฯ เปิดเผยว่า สถานีหนองแมว เคยได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันการรักษาความสะอาดเรียบร้อย บริเวณสถานี ประเภทที่ 2 ( อุดมสมบูรณ์)กองจัดการเดินรถเขต 2 ประจำปี พ.ศ.2557 และชนะเลิศการรักษาความสะอาดเรียบร้อย ในสถานี ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถประจำปี พ.ศ. 2558 ในสมัยที่นายอำพล รัตนิยะ เป็นนายสถานี ฯ อาคารสถานีรถไฟแห่งนี้ ถือเป็นแลนด์มาร์คของท้องถิ่น เป็นหน้าเป็นตาสร้างความภาคภูมิใจ ชาวบ้านจึงต้องการอนุรักษ์ให้ลูกหลาน คนรุ่นใหม่ได้สัมผัส เรียนรู้ ศึกษาประวัติศาสตร์ การเดินทางด้วยรถไฟเท่านั้น ซึ่งถือเป็นการคมนาคมที่สะดวกที่สุดในยุคสมัยกว่า 40 ปี โดยกำหนดไว้ที่สวนสาธารณะข้างสระน้ำหนองสะแก บ้านหนองแมว หมู่ 14 ต.ด่านคล้า อ.โนนสูง ฯ โดยรื้อด้วยความประณีต ทะนุถนอมมากที่สุด ในวงเงินประมาณการ 1.6 แสนบาท เพื่อให้เป็นห้องสมุดและใช้สาธารณะประโยชน์ร่วมของชุมชน
นายสมศักดิ์ ชินกลาง ข้าราชการครูบำนาญ กล่าวเพิ่มเติมว่า ช่วงชีวิตที่ทำหน้าที่ครูผู้สอนโรงเรียนในอำเภอเมือง ได้ใช้บริการรถไฟ เดินทางไปทำงานเป็นประจำ หากอาคารสถานีที่มีอายุกว่า 60 ปี ถูกรื้อออก แม้นอ้างเพื่อความเจริญของท้องถิ่น ตนรู้สึกเสียดาย เพราะผูกพันเสมือนเป็นบ้านหลังที่สอง พื้นที่โดยรอบอาคาร อดีตนายสถานีคนเก่า ได้จัดตกแต่งภูมิทัศน์อย่างสวยงาม โดยมีต้นมะขาม ขนาดลำต้น 3 คนโอบ จำนวน 2 ต้น เป็นร่มเงาสร้างความรื่นรมย์ให้กับผู้มาใช้บริการ ชาวบ้าน ต.ด่านคล้า รู้สึกดีใจที่ ผวจ.นครราชสีมา ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์อาคารสถานีเก่า จึงพร้อมสนับสนุนอย่างเต็มที่
ด้านนายสาธร สินปรุ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย สาขาจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า สมาชิกสหภาพ ฯ ส่วนใหญ่ปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานขับรถไฟ (พขร.) ช่างเครื่องและช่างเทคนิค ต่างผูกพันภาพอาคารสถานีเก่าและชาวบ้านมาใช้บริการรถไฟในท้องถิ่น ตนในฐานะตัวแทนสมาชิกสหภาพ ฯ ขอชื่นชมและขานรับไอเดียของพ่อเมืองโคราช ซึ่งได้ประกาศต่อสาธารณชนพร้อมเป็นแกนกลางประสานทุกภาคส่วนร่วมอนุรักษ์อาคารสถานีรถไฟที่มีอายุกว่า 60 ปี การรื้อทิ้งมิใช่ทางออกที่ดีที่สุด จึงเห็นควรให้ดำเนินการทางเทคนิคในการยกย้ายอาคารไปติดตั้งในพื้นที่ใหม่ที่เหมาะสมตามแนวทางประชารัฐ แทนการรื้อชิ้นส่วนอาคาร เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการประกอบคืน โดยชูเป็น “ โคราช โมเดล ” เพื่อให้การรื้อถอนอาคารสถานีรถไฟในพื้นที่อื่นๆ ใช้เป็นบทเรียนในการดำเนินการ เพื่อมิให้เกิดผลกระทบด้านจิตใจกับชาวบ้านและคนที่รักรถไฟ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 26/05/2017 10:33 am    Post subject: Reply with quote

รื้อแล้ว! สถานีรถไฟหนองแมว โคราช เตรียมย้ายไปประกอบเป็นห้องสมุดสาธารณะ
วันที่ 24 พฤษภาคม 2560 - 16:39 น.

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 24 พฤษภาคม ที่สถานีรถไฟหนองแมว ต.ด่านคล้า อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา นายวุฒิจักษ์ สำราญกลาง กำนันตำบลด่านคล้า อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา พร้อมเจ้าหน้าที่ช่างโยธา สำนักงานเทศบาลตำบล (ทต.) ด่านคล้า อ.โนนสูง และตัวแทนภาคประชาชน ร่วมตรวจสอบการรื้อถอนอาคารสถานีรถไฟเก่า ซึ่งเป็น 1 ใน 10 สถานีที่ต้องถูกรื้อถอนตามแผนของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เนื่องจากตั้งอยู่ในเส้นทางก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ ชุมทางถนนรถไฟจิระ-ขอนแก่น โดยมีทีมช่างจากบริษัทกิจการร่วมค้า ซีเคซีเอช ฐานะผู้รับจ้าง ได้ดำเนินการรื้อถอนแยกชิ้นส่วนในแต่ละจุดอย่างระมัดระวัง ซึ่งมีนายอานนท์ ปลั่งกลาง นายสถานีรถไฟหนองแมวและช่างโยธา ได้บันทึกรายละเอียด โดยถ่ายภาพโครงสร้าง ฯ ทั้งเขียนอักษรและระบุหมายเลขกำกับบนไม้และชิ้นส่วนต่างๆ อย่างละเอียด ซึ่งผนัง ประตู หน้าต่าง ได้รอขนย้ายไปที่สวนสาธารณะหน้าลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) ข้างสระน้ำหนองสะแก บ้านหนองแมว หมู่ 14 ต.ด่านคล้า เพื่อประกอบคืนสภาพให้เป็นห้องสมุดและใช้สาธารณะประโยชน์ร่วมต่อไป

นายวุฒิจักษ์ ฯ กำนันตำบลด่านคล้า อ.โนนสูง ฯ เปิดเผยว่า สถานีหนองแมว เคยได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันการรักษาความสะอาดเรียบร้อย บริเวณสถานี ประเภทที่ 2 ( อุดมสมบูรณ์)กองจัดการเดินรถเขต 2 ประจำปี พ.ศ.2557 และชนะเลิศดารรักษาความสะอาดเรียบร้อย ในสถานี ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถประจำปี พศ. 2558 สถานีรถไฟแห่งนี้ ถือเป็นแลนด์มาร์คของท้องถิ่น เป็นหน้าเป็นตาสร้างความภาคภูมิใจ ชาวบ้านจึงต้องการอนุรักษ์ให้ลูกหลาน คนรุ่นใหม่ได้สัมผัส เรียนรู้ ศึกษาประวัติศาสตร์ การเดินทางด้วยรถไฟเท่านั้น ซึ่งถือเป็นการคมนาคมที่สะดวกที่สุดในยุคสมัยกว่า 40 ปี

“ล่าสุดขั้นตอนการรื้อถอนได้ดำเนินการกว่า 50 % ยังไม่พบปัญหาแต่อย่างใด คาดใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ ส่วนงบประมาณการ 1.6 แสนบาท ซึ่งเป็นค่าประกอบคืนและต่อเติมบำรุงรักษาในส่วนที่ชำรุด ผู้นำชุมชนและชาวบ้านได้เตรียมจัดกิจกรรมทอดผ้าป่าสามัคคี ในวันที่ 10 มิถุนายน นี้ เพื่อหางบสนับสนุน ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่ชาวบ้านยังไม่คุ้นชินและรู้สึกใจหายอาลัยอาวรณ์อาคารสถานี ฯ ซึ่งมีความผูกพันกับวิถีชีวิตท้องถิ่น ”

นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ได้มีคำสั่งที่ 4369/2560 แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานการรื้อถอนสถานีรถไฟ เพื่ออนุรักษ์เป็นมรดกท้องถิ่นของจังหวัด โดย รฟท. ได้รื้อถอนอาคารสถานีรถไฟเก่า ที่อยู่บนเส้นทางก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ–ขอนแก่น รวม 10 สถานี เพื่อให้การประสานงานการรื้อถอนอาคาร ฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ ฯ โดยมีวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา, ท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา และกลุ่มงานอำนวยการสำนักงานจังหวัดนครราชสีมา เป็นกรรมการและเลขานุการ ให้มีอำนาจหน้าที่ ประสานตั้งแต่การรื้อถอนและย้ายติดตั้งใหม่ กับ รฟท. นายอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) อย่างไรก็ตามขอขอบคุณผู้บริหาร รฟท. ซึ่งเห็นชอบตามแนวทางของจังหวัดนครราชสีมา ที่ต้องการอนุรักษ์อาคารสถานีรถไฟเก่า โดยยินดีมอบให้ตามที่ต้องการและให้เปล่าแต่ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนต้องดำเนินการเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  Next
Page 2 of 7

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©