Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181512
ทั้งหมด:13492750
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ล่องใต้
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ล่องใต้
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 7, 8, 9, 10, 11  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> พักผ่อนหย่อนใจ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 17/05/2017 10:40 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

จากแหลมพรหมเทพ เจ้าถิ่นก็นำผมมายังวัดฉลอง (วัดหลวงพ่อแช่ม) ซึ่งเป็นวัดที่มีชื่อเสียงตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวกบฎอั้งยี่

ในปีพุทธศักราช 2419 กรรมกรเหมืองแร่เป็นจำนวนหมื่น ใน จ.ภูเก็ต และจังหวัดใกล้เคียง ได้ซ่องสุมผู้คนก่อตั้งเป็นคณะขึ้นเรียกว่า อั้งยี่ โดยเฉพาะพวกอั้งยี่ในจังหวัดภูเก็ตก่อเหตุวุ่นวายถึงขนาดจะเข้ายึดการปกครองของจังหวัดเป็นของพวกตน

ทางราชการในสมัยนั้นไม่อาจปราบให้สงบราบคาบได้ พวกอั้งยี่ถืออาวุธ รุกไล่ ยิง ฟันชาวบ้านล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านไม่อาจต่อสู้ป้องกันตนเองและทรัพย์สิน ที่รอดชีวิตก็หนีเข้าป่าไป เฉพาะในตำบลฉลองชาวบ้านได้หลบหนีเข้าป่า เข้าวัด ทิ้งบ้านเรือนปล่อยให้พวกอั้งยี่เผาบ้านเรือน

Click on the image for full size

ชาวบ้านที่หลบหนีเข้ามาในวัดฉลอง เมื่อพวกอั้งยี่รุกไล่ใกล้วัดเข้ามา ต่างก็เข้าไปแจ้งให้หลวงพ่อแช่มทราบ และนิมนต์ให้หลวงพ่อแช่ม หลบหนีออกจากวัดฉลองไปด้วย หลวงพ่อแช่มไม่ยอมหนี ท่านว่า ท่านอยู่ที่ วัดนี้ตั้งแต่เด็กจนบวชเป็นพระ และเป็นเจ้าวัดอยู่ขณะนี้ จะให้หนีทิ้งวัดไปได้อย่างไร

เมื่อหลวงพ่อแช่มไม่ยอมหนีทิ้งวัด ชาวบ้านต่างก็แจ้งหลวงพ่อแช่มว่า เมื่อท่านไม่หนีพวกเขาก็ไม่หนี จะขอสู้มันละ พ่อท่านมีอะไรเป็นเครื่องคุ้มกันตัวขอให้ทำให้ด้วย หลวงพ่อแช่มจึงทำผ้าประเจียดแจกโพกศีรษะคนละผืน เมื่อได้ของคุ้มกัน คนไทยชาวบ้านฉลองก็ออกไปชักชวนคนอื่นๆ ที่หลบหนีไปอยู่ตามป่า กลับมารวม พวกกัน อยู่ในวัด หาอาวุธ ปืน มีด เตรียมต่อสู้กับพวกอั้งยี่

Click on the image for full size

พวกอั้งยี่ เที่ยวรุกไล่ฆ่าฟันชาวบ้าน ไม่มีใครต่อสู้ก็จะชะล่าใจ ประมาทรุกไล่ฆ่าชาวบ้านมาถึงวัดฉลอง ชาวบ้านซึ่งได้รับผ้าประเจียดจากหลวงพ่อแช่มโพกศีรษะไว้ก็ออกต่อต้านพวกอั้งยี่ พวกอั้งยี่ไม่สามารถทำร้าย ชาวบ้านก็ถูกชาวบ้านไล่ฆ่าฟันแตกหนีไป ครั้งนี้เป็นชัยชนะครั้งแรกของไทยชาวบ้านฉลอง

Click on the image for full size

ข่าวชนะศึกครั้งแรก ของชาวบ้านฉลอง รู้ถึงชาวบ้านที่หลบหนีไปอยู่ที่อื่น ต่างพากลับมายังวัดฉลอง รับอาสาว่า ถ้าพวกอั้งยี่มารบอีก ก็จะต่อสู้ ขอให้หลวงพ่อแช่มจัดเครื่องคุ้มครองตัวให้ หลวงพ่อแช่มก็ทำผ้าประเจียดแจกจ่ายให้คนละผืน พร้อมกับแจ้งแก่ชาวบ้านว่า "ข้าเป็นพระสงฆ์จะรบราฆ่าฟันกับใครไม่ได้ พวกสูจะรบก็คิดอ่านกันเอาเอง ข้าจะทำเครื่องคุณพระให้ไว้สำหรับป้องกันตัวเท่านั้น" ชาวบ้านเอาผ้าประเจียดซึ่งหลวงพ่อแช่มทำให้โพก ศีรษะเป็นเครื่องหมาย บอกต่อต้านพวกอั้งยี่

พวกอั้งยี่ให้ฉายาคนไทยชาวบ้านฉลองว่า "พวกหัวขาว" ยกพวกมาโจมตีคนไทยชาวบ้านฉลองหลายครั้ง ชาวบ้านถือเอากำแพงพระอุโบสถเป็นแนวป้องกัน อั้งยี่ไม่สามารถตีฝ่าเข้ามาได้ ภายหลังจัดเป็นกองทัพเป็น จำนวนพัน ตั้งแม่ทัพ นายกอง มีธงรบ ม้าล่อ เป็นเครื่องประโคมขณะรบกัน ยกทัพเข้าล้อมรอบกำแพงพระอุโบสถ ยิงปืน พุ่งแหลน พุ่งอีโต้ เข้ามาที่กำแพง เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่บรรดาชาวบ้านซึ่งได้เครื่องคุ้มกันตัวจากหลวงพ่อ แช่มต่างก็แคล้วคลาดไม่ถูกอาวุธของพวกอั้งยี่เลย

Click on the image for full size

คณะกรรมการเมืองภูเก็ต ได้ทำรายงานกราบทูลไปยังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คณะกรรมการเมืองนิมนต์หลวงพ่อแช่ม ให้เดินทางไปยังกรุงเทพมหานคร มีพระประสงค์ทรงปฏิสันฐานกับหลวงพ่อแช่มด้วยพระองค์เอง หลวงพ่อแช่มและคณะเดินทางถึงกรุงเทพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานสมฌศักดิ์หลวงพ่อแช่ม เป็นพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญานมุนี ให้มีตำแหน่งเป็นสังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ต อันเป็นตำแหน่งสูงสุดซึ่งบรรพชิตจักพึงมีในสมัยนั้นในโอกาสเดียวกัน ทรงพระราชทานนามวัดฉลองเป็นวัดไชยาธาราราม


Last edited by black_express on 17/05/2017 10:46 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 17/05/2017 10:43 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

นอกจากหลวงพ่อแช่มแล้ว ที่วัดฉลองยังมี หลวงพ่อช่วง และหลวงพ่อเกลื้อม ที่ชาวบ้านเคารพศรัทธาเลื่อมใสเช่นกัน โดยนอกจากความศักดิ์สิทธิ์แล้ว ท่านทั้งสองยังมีชื่อเสียงทางด้านการปรุงสมุนไพรและรักษาโรคด้วย ดังนั้น แม้ท่านได้มรณภาพไปแล้ว ชาวบ้านที่มีเรื่องทุกร้อน ก็ยังคงมากราบไหว้บนบานไม่ขาดสาย
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 17/05/2017 10:59 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

หลังจากอิ่มบุญกุศลแล้ว คุณนพก็พาผมมาอิ่มท้องมื้อเที่ยงบ้างล่ะ ที่ร้านหมี่สะปำ ซึ่งผมเพิ่งเห็นและได้ชิมลิ้มรสเป็นครั้งแรกเช่นกัน Razz

Click on the image for full size

หลังจากอิ่มอร่อยที่ร้านหมี่สะปำ คุณนพก็ขับรถผ่านถนนโน้น ออกถนนนี้ ทำให้ผมมีโอกาสรู้จักตัวเมืองภูเก็ตไปด้วย

Click on the image for full size

แล้วมาหยุดอยู่ที่หน้าคฤหาสน์แห่งหนี่ง ที่ประตูมีป้ายบอกไว้ว่า "บ้านชินประชา"

ลองฟังประวัติของบ้านหลังนี้กันสักหน่อยดีไหมครับ ?

บ้านชินประชาสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2466 (ค.ศ.1903) หรือในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยพระพิทักษ์ชินประชา (ตันม่าเสียง)

บิดาของท่านคือ หลวงบำรุงจีนประเทศ (ตันเนียวยี่) เป็นชาวฮกเกี้ยนที่รับราชการทหารในประเทศจีน

ต่อมาบิดาท่านได้เดินทางมายังประเทศไทยในปี พ.ศ.2397 (ค.ศ.1854) หรือในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ประกอบกิจการทำเหมืองแร่ดีบุกที่เกาะภูเก็ต และกิจการค้าขายที่เกาะปีนัง

พระพิทักษ์ชินประชา (ตันม่าเสียง) ผู้สร้างบ้านหลังนี้ ถือกำเนิดที่เกาะภูเก็ตในปี พ.ศ.๒๔๒๖ (ค.ศ.๑๘๘๓) เมื่ออายุได้ 20 ปี

ท่านได้สร้างบ้านหลังนี้ตามแบบ ชิโน-โปรตุกีส เป็นหลังแรกของจังหวัดภูเก็ต หรือที่เรียกว่า "อังม่อเหลา" เฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่เป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษเมืองจีน วัสดุส่วนอื่นของบ้านนั้นส่วนใหญ่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เนื่องจากการค้าขายทางเรือผ่านเกาะปีนังมายังภูเก็ตในสมัยนั้นเฟื่องฟู เช่น รั้วบ้านจากฮอลแลนด์ กระเบื้องปูพื้นจากอิตาลี ฯลฯ

ปัจจุบันบ้านชินประชามีอายุกว่า 100 ปี และมีลูกหลานนับเนื่องเป็นรุ่นที่ 6 แล้ว

ลูกหลานพระพิทักษ์ชินประชาผู้สร้างบ้านหลังนี้ (ตระกูลตัณฑวณิช) ได้อนุรักษ์ตัวบ้านและข้าวของเครื่องใช้ต่างๆไว้เป็นอย่างดี และเปิดบ้านให้นักท่องเที่ยวเข้าชมโดยมีลูกหลานตระกูลตัณฑวานิชนำชม เพื่อให้ได้มีโอกาสได้เรียนรู้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนภูเก็ตในอดีต

นอกจากนั้น บ้านชินประชายังได้อนุรักษ์การแต่งกายของคนภูเก็ตสมัยก่อนที่เรียกว่า “การแต่งกายแบบบาบ๋า ย่าหยา” ซึ่งผู้มาเยี่ยมชมสามารถลองใส่ชุด ย่าหยา ถ่ายรูปได้อีกด้วย

สำหรับผู้ที่ไปชม จะเป็นนักท่องเที่ยวฝรั่งแทบทั้งนั้นครับ ส่วนนักท่องเที่ยวไทยนั้นแทบจะไม่ปรากฎเลย ยกเว้นนักเรียนมัธยม อัตราค่าเข้าชม คนละ 100 บาท แต่นักท่องเที่ยวต่างประเทศ คนละ 150 บาท

แต่งานนี้ ผมขอสละสิทธิ์โดยไม่บอกเหตุผลแก่คุณนพที่ทำหน้างงๆ เนื่องจากท้องตึง หนังตาเริ่มหย่อน เลยขอกลับไปเอนหลังที่บ้านคุณนพดีกว่า
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 17/05/2017 11:08 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

บ่ายสี่โมงครึ่งวันนั้น คุณนพได้บอกให้ผมอาบน้ำ เปลี่ยนชุดแต่งตัวใหม่ ก่อนที่จะนำไปส่งที่จุดจอดรถทัวร์บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีย์ - ท้าวศรีสุนทร (สี่แยกท่าเรือ) รอขึ้นกรีนบัสสายภูเก็ต - เชียงราย ส่วนตัวแกนั้น นั่งเป็นเพื่อนอยู่พักหนึ่งก็ขอตัวไปนอนที่บ้าน เพราะอัดยาแก้แพ้เข้าไปช่วงบ่ายวันนั้นเอง

บ่ายห้าโมงเย็น กรีนบัส รถทัวร์บ้านเฮาก็มาถึง ผมปลงย่ามเข้าใต้ท้องรถแล้วรู้สึกโล่งตัว สบายใจอย่างบอกไม่ถูก นั่งดูรถทัวร์แล่นผ่านพังงา ทับปุด เข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 415 ไปยัง อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 401 ผ่าน อ.บ้านตาขุน อ.พนม อ.คีรีรัฐนิคม สู่ทางหลวงสายเอเซียหมายเลข 41 ที่ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ก่อนที่จะมาหยุดพักปล่อยให้ผู้โดยสารแวะทานข้าวมื้อดึกที่ร้าน "คุณสาหร่าย" อ.เมืองฯ จ.ชุมพร เจ้าประจำของคนนั่งรถทัวร์สายใต้

มารุ่งเช้าอีกทีที่ถนนกาญจนาภิเษก อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ขณะที่ชาวกรุงกำลังกระวีกระวาดขับรถไปทำงาน หยุดให้ผู้โดยสารแวะทานข้าวมื้อสายอีกที่ครัวร้อยหม้อ (แต่งานนี้ไม่ฟรี ผู้โดยสารต้องจ่ายเอง) ที่ จ.อ่างทอง ก่อนที่จะเข้าถนนสายอินทร์บุรี - วังทอง มาาแวะส่งผู้โดยสารที่สถานีขนส่งจังหวัดพิษณุโลกที่สี่แยกอินโดจีน

ราวบ่ายโมงเศษ รถก็ถึงสถานีขนส่งอุตรดิตถ์ ถึงตาผมลงบ้างล่ะครับ

ในส่วนของตะลอนทัวร์ภาคใต้ ขอสิ้นสุดเพียงแค่นี้ Laughing
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/05/2017 9:58 pm    Post subject: Reply with quote

black_express wrote:
Click on the image for full size

ราวปี พ.ศ.2529 ลูกศิษย์เยาวชนชนบทที่ผมเคยอบรมมา ได้เดินทางไปทำงานที่ภูเก็ต และส่งภาพ ส.ค.ส.มาส่งความสุขทักทายผม

แต่ถึงกระนั้น ผมก็ไม่มีโอกาสไปเยือนภูเก็ตจนแล้วจนรอดจนกระทั่งมีโอกาสตอนเกษียณอายุนี่แหละ

ผมรู้สึกว่า ต้นตาล มีส่วนช่วยทำให้แหลมพรหมเทพสวยงามมีเอกลักษณ์ครับ น่าเสียดายที่ระยะหลังต้นตาลทรุดโทรมไปมาก อาจเป็นเพราะอายุและโรคแมลงรบกวน ถ้าไม่มีการปลูกทดแทนก็น่าเป็นห่วงครับ

Arrow http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2009/01/X7402733/X7402733.html
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 19/05/2017 11:39 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size


Click on the image for full size

ตามที่ผมเห็นในวันนั้น ต้นตาลยังไม่ถึงกับโทรมครับ Razz
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/05/2017 8:39 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณมากครับพี่ตึ๋ง ดีใจที่ต้นตาลยังอยู่ดีครับ Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 22/05/2017 2:19 pm    Post subject: Reply with quote

เสียดายที่ผมถ่ายไม่เต็มแหลมพรหมเทพมาให้ อ.เอก ดูครับ Laughing
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 28/06/2017 4:13 pm    Post subject: Reply with quote

ต้องขออภัยที่ห่างเหินไปนาน ด้วยเหตุขี้เกียจและมัวแต่ไปเรื่องธุระให้ลูกผมครับ Laughing เลยไม่ได่ต่ออีก 2 จังหวัดที่เหลือ และผมก็ไม่เคยไปด้วยสิ

Click on the image for full size

หลังจากกลับมาจากล่องใต้ พักผ่อนที่บ้านพอหายเมื่อยขบ โครงการใหม่ก็เกิดขึ้นในหัวสมองโดยเร็ว นั่นคือไปเบิ่งอีสาน ช่วงต้นหนาวที่จังหวัดตั้งใหม่ถอดด้าม คือ บึงกาฬ กับ อำนาจเจริญ แถมมีรถทัวร์ไป จ.บึงกาฬ ผ่านอุตรดิตถ์บ้านผมด้วยสิ

ไปถามเส้นทางเดินรถของสองบริษัทที่จะไป จ.บึงกาฬ เพื่อจองตั๋ว ได้รับคำชี้แจงว่ามี กรีนบัส รถทัวร์บ้านเฮา จาก จ.เชียงราย กับบริษัทเพชรประเสริฐทัวร์ (คันสีเหลือง) จาก จ.เชียงใหม่ ไป จ.บึงกาฬ

แต่กรีนบัสนั้น จะแวะเข้า จ.ขอนแก่น และ จ.อุดรธานี ก่อน ส่วน บริษัทเพชรประเสริฐทัวร์ จะผ่าน จ.เลย แวะผ่าน จ.อุดรธานี ก่อนจะเข้า จ.บึงกาฬ จบลงด้วยคำถามว่าผมจะเลือกใช้บริการของบริษัทใด ?

ขออธิบายข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเพชรประเสริฐทัวร์สักเล็กน้อย บริษัทที่ว่านี้แต่เดิม เป็นบริษัทรถประจำทางประจำ จ.เพชรบูรณ์ สีแดงเลือดหมู วิ่งระหว่าง อ.หล่มสัก ผ่านตัวจังหวัดเพชรบูรณ์ ไปสุดสายส่งผู้โดยสารที่สถานีรถไฟตะพานหิน ก่อนที่จะรับผู้โดยสารจากรถไฟไปยัง จ.เพชรบูรณ์ และ อ.หล่มสัก พอรัฐบาลได้ก่อสร้างทางหลวงสายพุแค - หล่มสักแล้วเสร็จ เลยกลายเป็นรถร่วม บขส. วิ่งแทบผูกขาดระหว่างกรุงเทพฯ - หล่มสัก จนกระทั่ง บขส.เพิ่งจะได้รถใหม่ๆ มาวิ่งแข่งขันในตอนหลังนี้เอง

เส้นทางอีกเส้นหนึ่งที่บริษัทนี้แอบโกยเงินเงียบๆ ช่วงตื่นพลอย คือเส้นทางสายแม่สอด - บ่อไร่ แต่ปัจจุบันกิจการเหมืองพลอยเริ่มวาย เลยเปลี่ยนสายทางมายัง อ.แหลมงอบ จ.ตราด และขยายกิจการเดินรถไปตามเส้นทางสู่จังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนเส้นทางข้ามภาคเช่น แม่สอด - มุกดาหาร , เชียงใหม่ - อุบลราชธานี , หล่มสัก - ระยอง , เชียงใหม่ - นครพนม , เชียงใหม่ - บึงกาฬ และล่าสุดคือสาย แม่สอด - สวนผึ้ง

คราวนี้ทางบริษัทจะเปลี่ยนสีรถเป็นสีเหลือง นัยว่า ให้ผู้โดยสารสังเกตได้ง่ายจากรถทัวร์บริษัทอื่น หากจอดใกล้เคียงกัน

ผมคิดว่าเพิ่งใช้บริการของกรีนบัสมาได้ไม่กี่วันจากภูเก็ตมาอุตรดิตถ์ ลองอีกบริษัทดูสิ ดังนั้น ตั๋วจองช่วง อุตรดิตถ์ - บึงกาฬ ก็อยู่ในมือผมอย่างง่ายดาย ยิ่งไม่อยู่ในช่วงเทศกาลล่ะก็ เป็นโอกาสเหมาะเชียวล่ะ

Click on the image for full size

ตกเย็นวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2559 ผมก็คว้าเป้มารอขึ้นรถที่สถานีขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์ พร้อมกับฝันหวานว่ามีโอกาสได้ทานมื้อเย็นฟรีแถวๆ พิษณุโลก เหมือนที่เคยนั่งรถสมบัติทัวร์ แต่เอาเข้าจริงๆ ก็เปล่า พวกเล่นจอดที่ร้านครัวเทียนหอม ต.ป่าเซ่า อ.เมืองอุตรดิตถ์ ก่อนที่จะปล่อยให้ผู้โดยสารที่ท้องกิ่วมาตั้งแต่เชียงใหม่ลงไปทานข้าวเป็นเวลา 20 นาที แถมต้องจ่ายเงินเองด้วยนะ

จากพิษณุโลก รถทัวร์เจ้านี้จะวิ่งแซงสลับกันกับสมบัติทัวร์สายเชียงราย - นครพนม ผ่าน อ.นครไทย ซึ่งบรรยากาศข้างนอกหน้าต่างเริ่มเย็นลงตามลำดับ (จากมือสัมผัส) โดยมีรถบรรทุกยางแผ่นจาก อ.ทาลี่ จ.เลย แล่นสวนมาเป็นระยะๆ ประมาณ 23.30 น. ก็เห็นไฟพราวพร่างจากตัวชุมชน อ.ด่านซ้าย ที่อยู่เบื้องล่าง แตคามภาพจะเป็นเวลาช่วงกลางวันครับ

แต่ช้าก่อน ต้องชลอความเร็วลงเขาชันน้องๆ ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1095 (สายแม่มาลัย) แถวห้วยน้ำดัง ร่วม 3 กม. ถึงจะเข้าสู่ตัวอำเภอด่านซ้ายได้

จากนั้น รถจะวิ่งไปบนเส้นทางหลวงหมายเลข 203 ซึ่งแปลงร่างกลายเป็นทางหลวงหมายเลข 21 ไปแล้วตอนนี้ ฝ่าฟ้าใส อากาศเย็นเจี๊ยบ ถึง อ.ภูเรือเวลาประมาณ 00.30 น. ของวันใหม่

01.30 น. ถึงสถานีขนส่งจังหวัดเลย

02.30 น. รถจอดส่งผู้โดยสารที่หน้าสถานีรถไฟอุดรธานี ก่อนเข้าสู่ถนนนิตโย (ทางหลวงหมายเลข 22) ก่อนที่จะเลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลขตองสอง (ทางหลวงหมายเลข 222) จาก อ.พังโคน จ.สกลนคร ไปสุดสายที่สถานีขนส่งจังหวัดบึงกาฬซึ่งตั้งอยู่หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองบึงกาฬพอดี ในเวลา 06.00 น.พอดี

Click on the image for full size

ลงจากรถได้ ผมก็กวักมือเรียกสารถึสกายแล็บที่คลุมหน้าคลุมมือเป็นอ้ายโม่งกันลมหนาวมาสอบถามเรื่องที่พักทันที แต่คำตอบที่ได้นั้น ทำให้ความฝันลดลงเหลือครึ่งเดียวเท่านั้น

Click on the image for full size

"ผมไม่แน่ใจนะครับ เพราะตอนนี้โรงแรมในบึงกาฬเต็มหมด เพราะทาง สปจ.บึงกาฬ กำลังประกวดการแข่งขันโปงลางนักเรียนของจังหวัด ขนาดบางโรงเรียนที่จองโรงแรมไม่ทันต้องขอพักนอนที่โรงเรียนแถว อ.บุ่งคล้า โน่น"

ถ้างั้น พาผมไปส่งที่เขื่อนริมแม่น้ำโขงก็แล้วกัน จะได้มีโอกาสเห็นตัวเมืองปากซันด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 28/06/2017 4:21 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

รถสกายแล็บมาส่งผมที่เขื่อนริมโขงหน้าตัวเมืองบึงกาฬ ป้ายยืนยันจากเทศบาลตำบลบึงกาฬอีกป้ายหนึ่ง ซึ่งทำให้ผมสงสัยว่า หากท้องที่ใดยกฐานะเป็นอำเภอเมือง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นควรจะได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองโดยอัตโนมัติ

Click on the image for full size

สภาพเชื่อนริมแม่น้ำโขงก็เป็นไปตามที่ผมถ่ายภาพให้ดูครับ

Click on the image for full size

มีบรรดาเวทีแข่งขันโปงลางของบรรดาเด็กนักเรียนตามที่เห็น ผมลองไปสอบถามห้องว่างกับเจ้าของโรงแรมริมโขงแห่งหนึ่ง แกส่ายหัวยืนยันตามที่สารถีรถสกายแล็บบอกไว้ทุกประการ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> พักผ่อนหย่อนใจ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 7, 8, 9, 10, 11  Next
Page 8 of 11

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©