Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13271041
ทั้งหมด:13582330
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 209, 210, 211 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 25/05/2017 7:10 pm    Post subject: Reply with quote

ใกล้ตอกเข็ม “รถไฟไทย-จีน” มิ.ย.ชง ครม.-เปิดประมูล ส.ค.
โดย MGR Online
24 พฤษภาคม 2560 16:57 น. (แก้ไขล่าสุด 24 พฤษภาคม 2560 17:52 น.)

ใกล้ตอกเข็ม “รถไฟไทย-จีน” มิ.ย.ชง ครม.-เปิดประมูล ส.ค.
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 18 ที่ กรุงเทพ วันที่ 23 พฤษภาคม 2560

ร.ฟ.ท.ชงบอร์ด 29 พ.ค.นี้ขออนุมัติโครงการรถไฟไทย-จีน กรุงเทพฯ-โคราช มูลค่า 1.79 แสนล้าน “อาคม” ขีดเส้นเร่งชง ครม. มิ.ย.นี้ เปิดประมูลก่อสร้างตอนแรก 3.5 กม. ส.ค. คาดตอกเข็ม ก.ย.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 18 ที่กรุงเทพฯ ว่า โดยรวมได้ข้อสรุปแล้ว โดยเฉพาะขั้นตอนการปฏิบัติต่างๆ คงยังเหลือรายละเอียดอีกไม่มาก ซึ่งฝ่ายเทคนิคของทั้งสองฝ่ายจะเร่งหารือให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว ซึ่งจีนต้องการให้ไทยเร่งรัดการนำเสนอโครงการเพื่อขอนุมัติ โดยคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ในเดือน มิ.ย.นี้ โดยจะเป็นการนำเสนอภาพรวมโครงการ เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย โดยจะดำเนินการช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.5 กม. มูลค่า 179,412.21 ล้านบาทเป็นเฟสแรก

ทั้งนี้ ยังคงเป้าหมายที่จะเปิดประมูลก่อสร้างตอนที่ 1 ระยะทาง 3.5 กม. (สถานีกลางดง-ปางอโศก) ค่าก่อสร้างประมาณ 200 ล้านบาทภายในเดือน ส.ค.นี้ และจะเร่งให้ผู้รับเหมาเข้าพื้นที่ในเดือน ก.ย.ทันที

โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ขออนุมัติโครงการในวันที่ 29 พ.ค.นี้ หลังจากที่ได้มีการปรับปรุงรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานให้มีความชัดเจนมากขึ้น หลังจากนั้นจะเสนอคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ด สศช.) ก่อนเสนอ ครม. ซึ่งฝ่ายไทยได้ยืนยันกับจีนว่าจะเสนอขออนุมัติโครงการให้ได้ภายในวันที่ 30 มิ.ย.เพื่อเริ่มต้นโครงการตามแผนงาน ส่วนสัญญา 2.1 ถือเป็นกุญแจที่จะทำให้การออกแบบตอนที่ 2 (ปากช่อง-คลองขนานจิตร) ระยะทาง 11 กม. ตอนที่ 3 (แก่งคอย-โคราช) ระยะทาง 119 กม. ตอนที่ 4 (กรุงเทพฯ-แก่งคอย) ระยะทาง 119 กม. ตามไปได้ต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ฝ่ายจีนยังเป็นห่วงกรณีรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชี EIA อนุมัติแล้ว แต่ช่วงบ้านภาชี-โคราชยังไม่ผ่าน EIA ซึ่งเป็นจุดก่อสร้างของตอนที่ 1, 2 โดยได้ทำรายงานและทำข้อมูลเพิ่มเติมต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ไปรวม 4 ครั้งแล้ว

รวมถึงสัญญางานออกแบบ (EPC 2.1) ซึ่งคาดว่าจะสรุปรายละเอียด ภาระค่าใช้จ่าย และเป็นไปตามระเบียบของไทยได้ภายในเดือน ก.ค.นี้ หลังจาก ครม.อนุมัติโครงการ โดยคณะทำงานสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันแล้ว ดังนั้น เมื่อสามารถลงนามในสัญญางานออกแบบกันได้ ทางจีนจะเร่งออกแบบในตอนที่ 2, 3, 4 ต่อเนื่อง ขณะนี้จะเร่งทยอยเปิดประมูลก่อสร้างตอนที่ 2, 3, 4 ตามลำดับ

สำหรับเงื่อนไขทั่วไปของร่างสัญญาออกแบบนี้ การขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรควบคุมและวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมของฝ่ายจีนนั้น ได้ทำความเข้าใจกับจีนแล้วว่า ทางสภาวิศวกร และสภาสถาปนิกของไทยจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ซึ่งในเรื่องนี้จะต้องเรียบร้อยภายในเดือน ก.ค.

นายอาคมกล่าวว่า ในส่วนของค่าก่อสร้างระยะทาง 3.5 กม.ที่จะเปิดประมูลเร็วๆ นี้นั้น ทางกระทรวงการคลังจะพิจารณาแหล่งเงินกู้ซึ่งอาจจะเป็นงบประมาณ หรือเงินกู้ในประเทศ โดยผู้รับจ้างจะเน้นผู้รับเหมาไทย ขณะที่อุปกรณ์ที่ต้องนำเข้า เช่น ระบบอาณัติสัญญาณ ตัวรถนั้นอาจจะมีการใช้เงินกู้ต่างประเทศ ซึ่งยังมีเวลาพิจารณา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 31/05/2017 1:11 am    Post subject: Reply with quote

“ครม.”ผ่านฉลุยไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ระดมทุนสร้าง2ทางด่วนมูลค่ากว่า4หมื่นล.
มติชน
วันที่ 30 พฤษภาคม 2560 - 17:22 น.


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่า ที่ประชุมครม.ได้เห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ด้านระบบราง ระหว่างกระทรวงคมนาคมของไทย และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวของประเทศญี่ปุ่น เพื่อใช้ในการลงนามในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย – ญี่ปุ่น ครั้งที่ 3 ในวันที่ 5 มิถุนายน 2560 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยมีสาระสำคัญ คือ 1.การพัฒนารถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ซึ่งจะใช้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง (ชินคันเซ็น) ของประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งใช้รางเฉพาะตลอดเส้นทาง แบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ช่วงกรุงเทพฯ – พิษณุโลก และช่วงพิษณุโลก – เชียงใหม่ โดยจะเริ่มดำเนินการในช่วงกรุงเทพฯ – พิษณุโลก ก่อน ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไป และสรุปผลการศึกษาฉบับสุดท้าย คาดว่าจะแล้วเสร็จ ภายในปี 2560 โดยครั้งนี้จะได้หารือรายละเอียดการออกแบบเส้นทางช่วงบางซื่อ – บ้านภาชี รวมถึงการพัฒนาเมืองและพื้นที่เชิงพาณิชย์ตามแนวเส้นทางรถไฟ

นายอาคม กล่าวว่า 2.การพัฒนาเส้นทางรถไฟตามแนวเศรษฐกิจด้านใต้ (ด่านพุน้ำร้อน – ด่านอรัญประเทศ) ทั้ง 2 ประเทศยินดีกับผลการวิเคราะห์และข้อเสนอแนะการศึกษาขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ตามเอ็มโอยูที่ได้ลงนามร่วมกัน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจ รวมถึงการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน 3.การให้บริการขนส่งสินค้าทางรถไฟ โดยการตั้งคณะทำงานเพื่อหารือรายละเอียดในการดำเนินการให้บริการรถไฟรูปแบบใหม่ 4. การพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตก โดยฝ่ายไทยจะเป็นผู้ศึกษาเส้นทางรถไฟช่วงบ้านไผ่ – มุกดาหาร – นครพนม ส่วนไจก้าจะเป็นผู้ศึกษาช่วง บ้านไผ่ – นครสวรรค์ –แม่สอด

นายอาคม กล่าวว่า 5.ระบบการขนส่งมวลทางราง ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงบางซื่อ – รังสิต ซึ่งใช้เงินกู้ และเทคโนโลยีจากญี่ปุ่น ก็ต้องเร่งรัดให้สามารถเดินหน้าได้ตามกำหนด 6.แผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ระยะที่ 2 โดยทางญี่ปุ่นให้การสนับสนุนให้เรื่องของการศึกษา ภายในเดือนมีนาคม 2561 7.การพัฒนาพื้นที่สถานกลางบางซื่อ ทางญี่ปุ่นจะข้อเสนอแนะต่อแผนแม่บทแบบบูรณาการ โดยจัดทำการศึกษา เพื่อวิเคราะและเสนอแนวคิดการพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรถไฟ รวมถึงการบูรณาการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์โดยรอบ


นายอาคม กล่าวว่า ที่ประชุมครม. ยังได้เห็นชอบ การระดมทุนผ่านกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตของประเทศไทย (ไทยแลนด์ ฟิวเจอร์ฟันด์) หรือ ทีเอฟเอฟ ตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง โดยใช้โครงการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)จำนวน 2 โครงการ คือ คือ โครงการทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา –อาจณรงค์) และโครงการทางพิเศษบูรพาวิถี(บางนา-ชลบุรี) มาใช้ระดมทุนเพื่อนำไปก่อสร้างโครงการทางด่วนพิเศษ พระราม 3-ดาวคะนอง วงแหวนรอบนอกกรุงเทพด้านตะวันตก มูลค่า 30,437ล้านบาทและ โครงการทางด่วนขั้นที่ 3ในเส้นทางเอ็น 2 (เกษตรนวมินทร์)มูลค่า 14,382 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 44,819 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าภายใน 2 สัปดาห์นี้กระทรวงคมนาคมจะสามารถเสนอรายละเอียดของโครงการทั้ง 2 โครงการให้ ครม. พิจารณาอนุมัติเพื่อดำเนินการสู่กระบวนการประกวดราคาได้ ทั้งนี้หากเกิดปัญหาจนกระทรวงการคลัง ไม่สามารถระดมทุนเพื่อนำเงินมาก่อสร้างโครงการดังกล่าวมาได้ทัน เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบแต่อย่างใด เพราะกระทรวงคมนาคมสามารถกู้เงินมาใช้ก่อนได้

นายอาคม กล่าวว่า นอกจากนี้ที่ประชุม ได้เห็นชอบขยายการอบวงเงินงบประมาณและระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองแม่สอด และสะพานข้ามแม่น้ำเมยแห่งที่ 2 จ.ตาก ของกรมทางหลวง(ทล.) เพิ่มขึ้น 367.57 ล้านบาท จากเดิมอยู่ที่ 3,900 ล้านบาท เป็น 4,267.57 ล้านบาท เป็นผลมาจากค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้น 167 ล้านบาท จากเดิมอยู่ที่ 3,600 ล้านบาท และค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่ม 200 ล้านบาท เดิมอยู่ที่ 300 ล้านบาท รวมทั้งขยายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณงานก่อสร้างอาคารด่านที่แม่สอด จากปี 2558- 2560 เป็นปีงบประมาณ 2558-2562 เนื่องจากโครงการมีความซับซ้อนมาก โดยเฉพาะงานก่อสร้างหลัก งานภูมิปัตย์ รูปแบบเน้นแสดงเอกลักษณ์แต่ละประเทศเป็นงานที่มีความละเอียดจึงมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนจากการดำเนินงานเองเป็นงานจ้างเหมา และทล. ได้คำนวณราคากลางงานก่อสร้างแล้วส่งผลให้วงเงินเพิ่มขึ้น 167.57 ล้านบาท ทำให้การก่อสร้างอาคารด่านมีวงเงินก่อสร้างเพิ่มเป็น 1,187.57 ล้านบาท จากเดิมอยู่ที่ 1,020 ล้านบาท คาดว่างานก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 2562

“ การก่อสร้างถนนมีความคืบหน้า 80% สะพานที่เชื่อมระหว่างไทยและเมียนมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ที่ยังขาดอยู่คืออาคารด่านยังไม่แล้วเสร็จ และขณะนี้ทางพม่าได้เริ่มส่งมอบพื้นที่เพื่อให้ก่อสร้างอาคารด่านแล้ว ซึ่งเชื่อว่าหากก่อสร้างเสร็จจะช่วยลดความแออัดบริเวณด่านแม่สอดและทำให้การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น”นายอาคม กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 31/05/2017 1:36 am    Post subject: Reply with quote

ครม.เห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือด้านระบบราง ไทย -ญี่ปุ่น
สปริงนิวส์
วันอังคาร 30 พฤษภาคม 2017 9:25 pm


ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม เสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือด้านระบบราง ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุง แก้ไขร่างบันทึกความร่วมมือฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญก่อนการลงนาม และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้อยู่ในดุลยพินิจของ กระทรวงคมนาคม โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง

2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนาม ฝ่ายไทยสำหรับการลงนามดังกล่าว

3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้แทน สำหรับการลงนามดังกล่าว

ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความร่วมมือในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ กระทรวงคมนาคม ดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ด้วย

ร่างบันทึกความร่วมมือด้านระบบราง ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และ MLIT ประกอบด้วย 1) การพัฒนารถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ (BCHSR) 2) การพัฒนาเส้นทางรถไฟตามแนวเศรษฐกิจด้านใต้ 3) การให้บริการขนส่งสินค้าทางรถไฟ 4) การพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (EWEC) 5) ระบบขนส่งมวลชนทางราง 6) แผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่ 2 7) การพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ และ 8) ความร่วมมือเพิ่มเติมสำหรับรถไฟความเร็วสูง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 05/06/2017 5:36 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ครม.เห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือด้านระบบราง ไทย -ญี่ปุ่น
สปริงนิวส์
วันอังคาร 30 พฤษภาคม 2017 9:25 pm



เมื่อญี่ปุ่นเบียดจีนลุ้นขอโอกาสพัฒนาระบบรางของไทย
โดย LeaderCrew - 02 มิถุนายน 2560


ในที่สุดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรี(ครม.) ก็ได้เห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือ(เอ็มโอยู) ด้านระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น(MLT) พร้อมอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมลงนามในเอ็มโอยูดังกล่าวในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-ญี่ปุ่น(HLIC) ครั้งที่3 ที่กรุงโตเกียว ก่อนเดินหน้าขับเคลื่อน 8 แผนพัฒนาให้เป็นรูปธรรม นับว่าเป็นอีกหนึ่งมิติการดำเนินงานด้านการพัฒนาระบบรางของประเทศไทยที่เริ่มจะเห็นภาพชัดเจนด้านความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับญี่ปุ่นตามที่ ครม.ได้เห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือด้านระบบราง ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น(MLT) โดยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจะเดินทางไปเป็นผู้ลงนามในบันทึกความร่วมมือดังกล่าวในโอกาสที่ได้เข้าร่วมคณะของรองนายกรัฐมนตรี(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เพื่อเข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-ญี่ปุ่น(HLIC) ครั้งที่ 3 ในวันที่ 5 มิถุนายน 2560 ณ กรุงโตเกียว เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านระบบรางระหว่างกันอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น



จับตาเบื้องลึกเบื้องหลังการศึกษา

ทั้งนี้ในร่างบันทึกความร่วมมือดังกล่าวได้สรุปสาระสำคัญ 8 แผนการเพื่อการขับเคลื่อนซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นขอเข้าไปเจาะลึกในทุกผลการศึกษาตามที่ฝ่ายไทยเคยได้ศึกษาเอาไว้แล้วทั้งสิ้น ส่วนผลสรุปครั้งสุดท้ายจะเป็นเพียงการดัดแปลงผลการศึกษาของไทยแล้วไปย้อมแมวนำเสนอเป็นผลงานของฝ่ายญี่ปุ่นเองหรือไม่นั้นคงต้องจับตากันต่อไป ไม่ว่าจะเป็นกรณีการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่ดูเหมือนจะล็อคชัดเจนว่าจะใช้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่น(ระบบซินคันเซ็น) รวมถึงการใช้รางเฉพาะตลอดเส้นทาง แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก และช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ โดยจะดำเนินการช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ก่อน และให้เร่งสรุปผลการศึกษาฉบับสุดท้ายภายในปี 2560 โดยจะมีการหารือรายละเอียดของการออกแบบเส้นทาง ช่วงบางซื่อ-บ้านภาชี ที่จะประสานงานกับโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งการก่อสร้างรถไฟชานเมือง รถไฟไทย-จีน ฯลฯ รวมถึงให้ความสำคัญของการพัฒนาเมืองและพื้นที่เชิงพาณิชย์ตามแนวเส้นทางอีกด้วยเนื่องเล็งเห็นว่าญี่ปุ่นมีความชำนาญในเรื่องนี้

นอกจากนั้นยังมีเรื่องการพัฒนาเส้นทางรถไฟตามแนวทางเศรษฐกิจด้านใต้เพื่อเชื่อมกับท่าเรือน้ำลึกทวายของเมียนมาในอนาคต โดยทั้ง 2 ฝ่ายได้ติดตามผลการวิเคราะห์และข้อเสนอแนะการศึกษาขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น(ไจก้า) ตามบันทึกความร่วมมือที่ได้ลงนามร่วมกันเมื่อเดือนพฤษภาคม 2558 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจ รวมถึงการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านไปยังกัมพูชาและเวียดนามผ่านเส้นทางจากกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-สระแก้ว ที่จะเชื่อมกับเมืองปอยเปตของกัมพูชา จึงเป็นเส้นทางเชื่อมโยง 3 ประเทศของรถไฟตามแนวเส้นทางนี้ โดยคาดว่าจะเป็นสำคัญต่อการตัดสินใจลงทุนในท่าเรือน้ำลึกทวายในเมียนมาของญี่ปุ่นที่จะใช้เส้นทางผ่านไทย กัมพูชาและเวียดนามที่จะออกไปยังญี่ปุ่นได้ใกล้ที่สุด



รุกเปิดแนวเส้นทาง4 ประเทศมุ่งสู่ญี่ปุ่น

นอกจากนั้นยังมีเรื่องการให้บริการขนส่งสินค้าทางรถไฟ โดยทั้งไทย-ญี่ปุ่นได้ตั้งคณะทำงานเพื่อหารือรายละเอียดในการดำเนินงานให้บริการทางรถไฟรูปแบบใหม่ร่วมกันต่อไป อีกทั้งยังมีเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก(E-W Economic corridor) ที่สามารถเชื่อมออกสู่เมียนมาผ่านไทยไปยังกัมพูชา เวียตนามที่จะไปสู่ญี่ปุ่นได้อีก 1 เส้นทางโดยเลือกแนวเส้นทางโครงการก่อสร้างทางรถไฟช่วงนครสวรรค์-บ้านไผ่ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการเชื่อมโยงภูมิภาค รวมถึงการส่งผลต่อเศรษฐกิจในอนาคตที่จะเชื่อมกับเส้นทางที่ฝ่ายไทยศึกษาไว้ส่วนหนึ่งแล้วได้ทันที

ประการสำคัญยังมีเรื่องระบบการขนส่งมวลชนทางราง โดยฝ่ายญี่ปุ่นได้แนะนำการใช้เทคโนโลยีรถไฟของญี่ปุ่น สำหรับโครงการรถไฟสายสีแดงที่บางช่วงก่อสร้างแล้วเสร็จและบางช่วงอยู่ระหว่างการก่อสร้างโดยใช้เงินกู้ของญี่ปุ่นไปดำเนินการในบางส่วนนั้น โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะทำงานกันอย่างใกล้ชิดเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีรถไฟของญี่ปุ่น สำหรับระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ซึ่งนี่จัดเป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์ที่ฝ่ายญี่ปุ่นวางแผนเอาไว้ชัดเจนแล้ว

เช่นเดียวกับเรื่องการพัฒนาแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ระยะที่ 2(M-Map 2) MLIT และ JICA แสดงความตั้งใจที่จะสนับสนุนรัฐบาลไทยในการจัดทำแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ- ปริมณฑล ระยะที่ 2 ภายในเดือนมีนาคม 2561 หลังจากที่เฟสแรกไดเร่งก่อสร้างไปแล้วส่วนหนึ่งและยังเหลือการนำเสนอครม.อนุมัติดำเนินการในช่วงปลายปีนี้



รุกฮุบศูนย์กลางคมนาคมระดับอาเซียน

นอกจากนั้นยังต้องจับตากรณีการพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ MLIT และ JICA จะให้ข้อเสนอแนะต่อแผนแม่บทแบบบูรณาการ โดยจัดทำการศึกษาเพื่อวิเคราะห์และเสนอแนวคิดการพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรถไฟ รวมถึงบูรณาการพื้นที่กับหน้าที่ของเมืองหลัก และโครงสร้างองค์กรที่เหมาะสม เช่นเดียวกับเรื่องความร่วมมือเพิ่มเติมสำหรับรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน) ที่ฝ่ายญี่ปุ่นจะให้การสนับสนุนในการวางแผนด้านความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของรถไฟความเร็วสูง โดยใช้เทคโนโลยีญี่ปุ่นที่ทันสมัย และญี่ปุ่นจะให้ความร่วมมือสำหรับความเป็นไปได้กับบทบาทสำคัญของโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกในอนาคต และรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-กัวลาลัมเปอร์ ที่ล่าสุดฝ่ายจีนได้แสดงความชัดเจนในการลงทุนเส้นทางภาคใต้ของไทยแลกกับการตั้งโรงงานเหล็กเพื่อผลิตรางป้อนความต้องการให้โครงการในประเทศไทยและในภูมิภาคนี้

โดยเรื่องดังกล่าวนี้นายอาคมยืนยันชัดเจนว่าเป็นความต่อเนื่องของความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ที่ได้ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมาโดยทั้ง 8 ประเด็นดังกล่าวได้มีความก้าวหน้าตามลำดับ โดยเฉพาะแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือได้แนวเส้นทางแยกชัดเจนแล้วระหว่างรถไฟไทย-จีน กับ รถไฟไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ระหว่างการหารือร่วมกัน ส่วนแนวด้านใต้ขณะนี้ได้มีการทดลองขนส่งด้วยตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ขนาดเล็กซึ่งคาดว่าจะได้รายละเอียดของผลการทดลองในเร็วๆ นี้นั้น เช่นเดียวกับช่วงบ้านไผ่-นครพนมที่ฝ่ายไทยโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ดำเนินการศึกษารองรับไว้แล้ว ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นรับศึกษาช่วงเชื่อมไปยัง อ.แม่สอด จ.ตาก ในเฟสต่อไป

ยุทธศาสตร์ทั้ง 8 ด้านของฝ่ายญี่ปุ่นมีความคืบหน้าแล้วบางส่วนและเมื่อการลงนามในวันที่ 5 มิถุนายน 2560 นี้แล้วเสร็จก็คงจะเห็นความก้าวหน้ามากขึ้นเป็นลำดับ ส่วนฝ่ายไทยจะได้หรือเสียอย่างไรบ้างนั้นคงต้องรับฟังความเห็นของหลายฝ่ายว่าท้ายที่สุดแล้ว…ใครได้ใครเสีย จากความร่วมมือด้านการพัฒนาระบบรางของฝ่ายไทย-ญี่ปุ่นกันแน่????
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 05/06/2017 5:37 pm    Post subject: Reply with quote

ไทยหลุดขบวน เส้นทางสายไหม
โดย LeaderCrew - 17 พฤษภาคม 2560


แม้จะมีเสียงโจมตีและการตั้งข้อระแวงสงสัยในเป้าหมายอันซ่อนเร้นของ “พญามังกร” ต่อโครงการเส้นทางสายไหมยุคใหม่ที่จะเชื่อมโลกสร้างการค้าอย่างสันติวิธีและมีผลประโยชน์ร่วมกัน แต่การประชุมระดับสูง เวทีข้อริเริ่มเส้นทางสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21 (High-Level Dialogue Belt and Road Forum for International Cooperation) เมื่อวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2560 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งปรากฎภาพนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ให้การต้อนรับผู้นำ 29 ชาติที่รับเทียบเชิญเข้าร่วมการประชุมรวมถึงนายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ก็ทำให้งานนี้ยิ่งใหญ่ระดับโลกและโครงการเส้นทางสายไหมของจีนได้ถูกยกระดับสู่สากลและตีตรารับรองไปแล้วโดยปริยาย



ยิ่งในงานนี้ นายสี จิ้นผิง ประกาศทุ่มเทการสนับสนุนการก่อสร้างเส้นทางทั่วเอเชียเชื่อมโยงกับยุโรปและแอฟริกาทั้งหมด รวมถึงทวีปอเมริกา และให้สัญญาจะอัดฉีดเงิน 125,000 ล้านดอลลาร์(ประมาณ 4.3 ล้านล้านบาท) ก็ยิ่งทำให้ผู้นำหลายประเทศที่หวังได้ประโยชน์จากโครงการนี้ ออกหน้ามากล่าวยกย่องจีนสารพัดว่าทั้งคิดสร้างสรรค์ เป็นผู้เปิดมิติใหม่ของความร่วมมือระหว่างภูมิภาคและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนอีกจำนวนมาก

เวทีนี้เท่ากับจีนได้โอกาสประกาศต่อโลกว่าเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจ ไม่ใช้ความแข็งกร้าว อิทธิพลทางทหารบีบคั้นใครเข้าร่วม แต่ใช้โครงการพัฒนาดึงดูดพันธมิตรร่วมสร้างเส้นทางการค้าการลงทุนใหม่อย่างเสรีไม่ใช่กีดกันหรือสร้างกำแพงขวาง เสมือนเป็นการเกทับบลัฟแหลกสหรัฐอเมริกาในยุคโดนัลด์ ทรัมป์ ที่กำลังมั่วอยู่กับการทำให้อเมริกากลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งด้วยการถอนตัวจากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก 12 ประเทศ (Trans-Pacific Partnership: TPP) กำลังสร้างกำแพงคอนกรีตกั้นเม็กซิโก กำลังทะเลาะกับนานาชาติที่ค้าขายแล้วขาดดุล หาว่าเขาเอาเปรียบ และกำลังจะก่อสงความโลกครั้งที่ 3

มองในมุมใกล้ตัว Belt and Road Forum มีผู้นำชาติอาเซียนได้รับบัตรเชิญไปกันเกือบหมด เช่น สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน แห่งกัมพูชา นายโรดริโก ดูแตร์เต ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ นายบุนยัง วอละจิต ประธานสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นายโจโค วิโดโด้ ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย นาจิบ ราซะก์ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย นายเจินดั่ยกวาง ประธานาธิบดีเวียดนาม และนางอองซานซูจี มุขมนตรีแห่งเมียนมา


Photo : http://en.kremlin.ru/events/president/news/54499
แต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย หลุดจากเวทีนี้ไม่ได้รับเทียบเชิญให้เข้าร่วม โดยกระทรวงการต่างประเทศอ้างว่ารัฐบาลจีนได้เชิญรัฐมนตรีจาก 6 กระทรวง ประกอบด้วย กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และตัวแทนของกระทรวงการคลัง เข้าร่วมประชุม ซึ่งมีข้อสังเกตุว่าหลังจบประชุมแล้วก็ไม่ปรากฏข่าวจาก 6 กระทรวงว่าได้อะไรที่เป็นประโยชน์กับไทยติดไม้ติดมือที่กลับมา

กระทรวงการต่างประเทศอ้างแก้เกี้ยวด้วยว่ารัฐบาลจีนเชิญ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุม BRICS Summit ครั้งที่ 9 แทน ในเดือนกันยายนนี้ที่เมืองเซียะเหมินมณฑลฝูเจี้ยนโดยจีนเป็นเจ้าภาพ แต่ก็ยังน่าสงสัยว่าไทยไปเกี่ยวอะไรกับกลุ่ม BRICS ที่ประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้

ลึกๆ แล้วเป็นไปได้หรือไม่ว่าเพราะโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เพื่อเชื่อมต่อจากลาวที่หนองคาย เป็นเส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา- แก่งคอย-กรุงเทพฯ รวม 845 กิโลเมตร ที่ลงนามกันไว้ตั้งแต่ 19 ธันวาคม 2557 เจรจาต่อเนื่องร่วม 20 ครั้งมาจนบัดนี้สองปีครึ่งก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ และจาก 845 กิโลเมตรตอนหลังมาพูดแค่ 250 กิโลเมตรจากนครราชสีมา-กรุงเทพฯ แล้วย่อลงอีกเหลือแค่ 3.5 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อสระบุรี-นครราชสีมาที่สถานีกลางดง จึงดูเหมือนรัฐบาลไทยกับจีนคุยกันไม่ลงตัวในเส้นทางสายนี้

บางคนบอกว่าผู้นำไทยไปงานนี้ก็แค่ไม้ประดับของจีน แต่การเป็นไม้ประดับบนเวทีระดับโลกก็ยังดีกว่าการเป็นไม้ไร้ค่าที่ไม่ถูกเลือก ดังนั้นต้องถามว่าเป็นเรื่องที่ผู้นำไทยรู้สึกหรือไม่ รัฐบาลไทยตระหนักหรือไม่ถึงการส่งสัญญาณจากจีนคิดหรือว่าแค่ตกลงซื้อเรือดำน้ำ 1 ลำจากจีนก็เพียงพอแล้ว ไทยจะยังเล่นการเมืองสองหน้าเสมอไปเช่นในอดีตในขณะนี้โลกเปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยน และกระแสลมกำลังพัดมาทางตะวันออกอย่างนั้นหรือ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 06/06/2017 9:26 am    Post subject: Reply with quote

ล่าสุด ญี่ปุ่นบอกว่ารถไฟเชื่อม สามสนามบิน นั้น ขอให้ ขยายมาอยุธยา นัยว่า เพื่อ ช่วยให้นักท่องเที่ญี่ปุ่นมาทัศนาจรกรุงศรีอยุธยาได้สะดวก และ ช่วยนักลงทุนญี่ปุ่น ที่ ลงทุนนิคมอุตสาหกรรมโรจนะด้วย (โพสต์ทูเดย์ 6 มิถุนายน 2560)

‘สมคิด’ปลื้มญี่ปุ่นขอขยายเส้นทางไฮสปีดเทรน สั่งการคมนาคมเร่งศึกษา-เผย3เอกชนสนใจลงทุนไทย
มติชน
วันที่ 5 มิถุนายน 2560 - 18:11 น.

โตเกียว ญี่ปุ่น: นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังพบภาคเอกชนของญี่ปุ่น 4 ราย ในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ เทคโนโลยีชีวภาพ เคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ และยานยนต์ ในระหว่างการเยือนประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 5-8 มิถุนายน ว่ามีโอกาสสูงที่ทุกบริษัทจะมาลงทุนในไทย ซึ่งมี 3 บริษัทยังไม่เคยเข้ามาลงทุนในไทยเลย ส่วนอีกบริษัทเตรียมขยายการผลิตด้านเครื่องมือแพทย์ โดยแต่ละรายก็แสดงความสนใจในการลงทุนในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี ซึ่งทางกระทรวงอุตสาหกรรมและคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จะหารือในรายละเอียดต่อไป นอกจากนี้ จะยังได้หารือกับบริษัท ฮิตาชิ ซึ่งเป็นบริษัทผลิตรางรถไฟ และหารือกับนายฮิโรชิ โอกาวา ผู้ว่าราชการจังหวัดฟุคุโอกะ โดยเอกชนญี่ปุ่นที่ได้หารือกันประกอบด้วย

1.บริษัท Kyocera Corporation ผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์การแพทย์ที่ทำด้วย Advance materials)
2.บริษัท Spiber Inc. เป็นธุรกิจสตาร์ตอัพ ผลิต bio-based advanced material)
3. บริษัท Kuraray Co., Ltd., Sumitomo Corporation และ PTT Global Chemical Public Company Limited ผู้ผลิตเคมีชนิดพิเศษ Specialty Chemicals) และ
4. บริษัท Subaru Corporation ผู้ผลิตรถยนต์

นายสมคิดกล่าวว่า ทางญี่ปุ่นได้ยื่นข้อเสนอขอขยายเส้นทางรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ที่ไทยเตรียมพัฒนาจากโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-ระยอง เชื่อมต่อ 3 สนามบิน (สนามบินอู่ตะเภา-สนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินดอนเมือง) และเชื่อมต่อพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งทางญี่ปุ่นยื่นข้อเสนอขอขยายเส้นทางมาสิ้นสุดถึงสถานีอยุธยา เนื่องจากเป็นพื้นที่เขตอุตสาหกรรมที่ญี่ปุ่นลงทุนหลายแห่ง หากมีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมจากพื้นที่อีอีซีเข้ามาจะเพิ่มโอกาสด้านการลงทุน


“ ขณะนี้ได้มอบหมายให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ไปศึกษาความคุ้มค่ากับโครงการหากจะต้องขยาย ทั้งงบการลงทุน ความคุ้มค่า และรายละเอียดต่างๆ ซึ่งทางญี่ปุ่นยังระบุถึงความพร้อมในการลงทุน เนื่องจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือไจก้า พร้อมที่จะสนับสนุนเงินกู้หากไทยสนใจดำเนินการก่อสร้าง “ นายสมคิดกล่าว

'สมคิด' แย้ม ญี่ปุ่นสนใจลงทุนรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบินถึงอยุธยา
ไทยรัฐ
5 มิถุนายน 2560 15:50

'สมคิด' เผย ญี่ปุ่น สนใจขอลงทุนขยายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินถึงอยุธยา หวังรองรับโลจิสติกส์ระหว่างเขตเศรษฐกิจอีอีซี และอุตสาหกรรมในอยุธยา แหล่งข่าวจากคมนาคม ชี้อาจเป็นโอกาสดันความคืบหน้าลงทุนพัฒนารถไฟความเร็วสูงไทย–ญี่ปุ่น เดินหน้าเร็วขึ้น
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรเดินทางเยือนญี่ปุ่น เพื่อหารือในประเด็นการค้า การลงทุน ระหว่างวันที่ 5–8 มิ.ย. 60 ว่า ญี่ปุ่นได้ยื่นข้อเสนอขอลงทุนขยายเส้นทางรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด เทรน) ที่ไทยเตรียมพัฒนาจากโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-ระยอง เชื่อมต่อ 3 สนามบิน คือ อู่ตะเภา สุวรรณภูมิ และดอนเมือง ซึ่งจะเชื่อมต่อพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยญี่ปุ่นยื่นข้อเสนอขอขยายเส้นทางมาสิ้นสุดถึงสถานีอยุธยา เนื่องจากเป็นพื้นที่เขตอุตสาหกรรม ที่บริษัทญี่ปุ่นลงทุน หากมีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมจากพื้นที่อีอีซีเข้ามาจะเพิ่มโอกาสด้านการลงทุนได้อีกมาก

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้มอบหมายให้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ไปศึกษาความคุ้มค่าของโครงการหากจะต้องขยาย ซึ่งในส่วนของญี่ปุ่น ได้ระบุถึงความพร้อมในการลงทุน เนื่องจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) มีความพร้อมที่จะสนับสนุนเงินกู้หากไทยสนใจดำเนินการก่อสร้าง นอกจากนี้ การเดินทางเยือนญี่ปุ่นครั้งนี้ ยังได้หารือร่วมกับบริษัท ฮิตาชิ (ด้านรถไฟ) ในประเด็นของการผลิตระบบรางไทยด้วย

ทั้งนี้ เนื่องจากพื้นที่รางรถไฟช่วงดอนเมืองค่อนข้างแออัด เพราะเป็นพื้นที่ที่มีหลายโครงการใช้ทางร่วมกัน รวมถึงรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นความร่วมมือไทย–จีนด้วย จึงเชื่อว่าหากญี่ปุ่นได้ลงทุนขยายเส้นทางรถไฟตามที่ยื่นเสนอมานี้ อาจทำให้โครงการไทย–ญี่ปุ่นเดินหน้าเร็วขึ้นด้วย เพราะจะเป็นการตัดสินใจวางโครงสร้างระบบรางในครั้งเดียว โดยโครงการเชื่อมอีอีซีอาจเดินหน้าพัฒนาระบบรางก่อน หลังจากนั้นโครงการกรุงเทพฯ–เชียงใหม่ จะสามารถใช้รางเชื่อมต่อไปได้ทันที
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 07/06/2017 1:02 am    Post subject: Reply with quote

‘สมคิด’ ฝาก ‘วิษณุ’ ศึกษาข้อ กม.ที่เป็นตัวถ่วงรถไฟไทยจีน-แย้มอาจต้องใช้ ม.44 ปลดล็อก
มติชน
วันที่ 6 มิถุนายน 2560 - 15:00 น.

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้ฝากให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ช่วยศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่เป็นข้อติดขัดจนทำให้การลงทุนในความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีน จนทำให้โครงการไม่ค่อยคืบหน้า เช่น ข้อระเบียบวิศกรคุมงานก่อสร้างที่เป็นคนต่างชาติ ก็ต้องผ่านการอบรมและได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากสภาวิศวกรไทย เป็นต้น และอาจต้องพิจารณาใช้มาตรา 44 ในการปลดล็อกหรือไม่ เพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการเดินหน้าตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่ากำลังเร่งดำเนินการทุกขั้นตอนเพื่อให้โครงการเดินได้ตามแผน โดยได้หารือกับสภาวิศวกรและสภาสถาปนิกแล้ว เพื่อจัดทำรายละเอียดข้อสอบวัดมาตรฐานวิชาชีพวิศวกรเพื่อออกใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (ก.ว.) ระยะเวลา 5 ปี ให้กับบุคลากรชาวจีนเพื่อร่วมกันก่อสร้างตามกฎหมายไทยที่ระบุให้วิศวกรต่างชาติการก่อสร้าง ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ คาดว่าจะจัดสอบได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้ โดยจะเป็นการออกใบอนุญาตเฉพาะดำเนินการโครงการรถไฟไทย-จีนเท่านั้น และไม่ให้ไปรับงานโครงการอื่นในไทย โดยตั้งเป้าหมายเปิดประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้างเดือนกรกฎาคมนี้ หลังมีการลงนามในสัญญา 3 ฉบับ ในเรื่องการออกแบบ การประกวด และระบบรถ เพื่อให้ทันนายกรัฐมนตรีเยือนจีนในเดือนกันยายนนี้ สำหรับไฮสปีดไทย-ญี่ปุ่นอยู่ในขั้นตอนศึกษาและหารือในรายละเอียดในเส้นทาง


นายอาคมกล่าวว่า สำหรับการเยือนญี่ปุ่นร่วมกับนายสมคิด นั้น ได้หารือกับบริษัทฮิตาชิ ผลิตรางรถไฟ และยังมีสินค้าอีกหลายชนิด เช่น กล้องซีซีทีวี ซึ่งแสดงความสนใจลงทุนในไทย แต่ยังดูในเรื่องความต้องการก่อน เพราะหากจะตั้งฐานผลิตต้องมีกำลังการผลิตเพียงพอ ซึ่งได้ชี้แจงว่าจะมีการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟในกลุ่มซีแอมเอ็มวีทีซึ่งก็จะทำให้เกิดความต้องการที่มากขึ้น และไทยเองยังมุ่งในเรืองการทำบิ๊กดาต้า ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงงานบริหารจราจรและระบบความปลอดภัย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/06/2017 9:40 am    Post subject: Reply with quote

ทำไมถึงทำกับประเทศไทยได้!
โดย สิริอัญญา วันพุธที่ 7 มิถุนายน 2560

โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-โคราช ซึ่งเป็นรถไฟความเร็วแค่ 120-180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รางกว้าง 1 เมตร ระยะทาง 200 กิโลเมตรเศษ มีการประมาณค่าก่อสร้างโดยไม่รวมที่ดินถึง 170,000 ล้านบาท และตามข่าวระบุว่าจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในเดือนมิถุนายน ศกนี้

ก็เฝ้าติดตามรอดูอยู่ว่าจะเสนอกันจริงหรือไม่ และจะว่ากันอย่างไร? เพราะเรื่องนี้เป็นประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติและจะมีผลต่อเนื่องไปถึงร้อยปี

มีการแถลงข่าวว่าโครงการดังกล่าวจะแบ่งการก่อสร้างเป็นสี่เฟส เฟสแรกจากบ้านกลางดงถึงบ้านปางสีดา ซึ่งอยู่ระหว่างกรุงเทพฯ กับโคราช ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร วงเงิน 200 ล้านบาท จะสร้างก่อนในเดือนมิถุนายน ศกนี้ แต่ฟันธงได้ว่าเป็นไปไม่ได้ กรณีน่าจะเป็นการผ่อนคลายแรงกดดันจากรัฐบาลที่ต้องการให้รีบก่อสร้างโครงการรถไฟไทย-จีน โดยเร็วเท่านั้น

เฟสที่สอง จากบ้านปางสีดามาทางกรุงเทพฯ ระยะทาง 11 กิโลเมตร และเฟสที่สาม ต่อจากเฟสที่สองมาถึงกรุงเทพฯ ระยะทาง 100 กิโลเมตรเศษ สิริรวมค่าก่อสร้างเฟสที่หนึ่งถึงกรุงเทพฯ ระยะทางราว 125 กิโลเมตร จะใช้เงินราว 100,000 ล้านบาท ส่วนเฟสที่สี่ จากบ้านปางสีดาไปยังโคราช ระยะทางร้อยกิโลเมตรเศษ ก็จะใช้เงินเกือบ 70,000 ล้านบาท รวมแล้วเป็นวงเงินประมาณ 170,000 ล้านบาท

จึงต้องตั้งข้อสังเกตไว้เพื่อให้รัฐบาลและคณะรัฐมนตรีได้ตั้งหลักไว้ก่อนดังนี้

ประการแรก ไม่มีแบบแผนการก่อสร้างทางรถไฟที่ไหนที่จะไปเริ่มต้นการก่อสร้างที่กลางป่า เพราะจะต้องขนรางรถไฟและสิ่งของสัมภาระทั้งหลาย ซึ่งหนักมาก เสียเวลามาก มีค่าใช้จ่ายมาก เขามีปกติสร้างจากต้นทางที่สามารถรับเอารางและวัสดุสิ่งของได้โดยง่าย และใช้ทางรถไฟที่ทำขึ้นนั้นเป็นทางลำเลียงรางและวัสดุต่อไปเป็นทอด ๆ ที่ไหน ๆ เขาก็ทำกันอย่างนี้ แต่ประเทศไทยกำลังจะสร้างนวัตกรรมใหม่ในงานวิศวกรรมรถไฟของโลก คือไปเริ่มต้นสร้างกลางดง กลางป่า ก็คงจะได้เป็นสถิติประดับไว้ในโลกสืบไป

ประการที่สอง ไม่มีแบบแผนการก่อสร้างทางรถไฟที่ไหนที่จะก่อสร้างกันเฟสละ 3.5 กิโลเมตร หรือ 10 กิโลเมตร เหมือนกับที่ประเทศไทยกำลังจะทำกัน ยกตัวอย่างล่าสุด เส้นทางรถไฟทางคู่คุนหมิง-เวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมลาวกับเส้นทางขนส่งหลักของโลกและเส้นทางสายไหม ระยะทาง 418 กิโลเมตร ประเทศลาวซึ่งเป็นประเทศเล็กและยากจนกว่าประเทศไทยเขาก็สร้างรวดเดียว ดังนั้นถ้าประเทศไทยลงมือสร้างเฟสแรก 3.5 กิโลเมตรวันไหน ก็จะเป็นสถิติที่จะประดับไว้ในโลกเช่นเดียวกัน แต่จะเป็นสถิติที่ล้ำเลิศของโลก หรือบัดซบที่สุดของโลก ก็ต้องคอยฟังเสียงวิจารณ์ของชาวโลกกันเอง

ประการที่สาม เมื่อก่อสร้างเฟสแรก 3.5 กิโลเมตรเสร็จแล้ว หากจะตั้งคำถามว่เดินรถได้หรือไม่ ก็ตอบได้โดยไม่ต้องคิดใด ๆ ว่าเดินรถไม่ได้ แม้เมื่อสร้างเฟสที่สองอีก 10 กว่ากิโลเมตร รวมเป็นเกือบ 15 กิโลเมตร ก็ยังคงต้องตอบว่าเดินรถไม่ได้ เพราะรถไฟความเร็วสูงระยะทาง 15 กิโลเมตร จากบ้านกลางดงมานั้นทำไม่ได้ ขืนเอารถไปวิ่งก็คงมีแต่วัว ควาย และผีนั่งเป็นแน่นอน

ประการที่สี่ ต่อให้สร้างเฟสที่หนึ่งถึงเฟสที่สาม มาถึงกรุงเทพฯ ระยะทางราว 125 กิโลเมตร ก็ยังคงต้องตอบว่าเดินรถไม่ได้ เพราะจะเจ๊งไม่เป็นท่า และคนทั้งหลายจะรุมประณามว่าบ้าไปแล้ว เหตุผลก็เพราะว่าคงไม่มีประชาชนจากภาคไหน ๆ รวมทั้งในกรุงเทพฯ นั่งรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ ไปลงที่สถานีกลางดง ซึ่งไม่รู้ว่าจะไปหนไหน เว้นแต่จะไปปิคนิคหรือไปนอนกลางป่า
และในทางตรงกันข้าม ก็คงไม่มีพี่น้องชาวภาคเหนือหรือภาคอีสานที่นั่งรถ นั่งเกวียน หรือเดินเท้ามาขึ้นรถไฟความเร็วสูงที่บ้านกลางดงมากรุงเทพฯ เป็นแน่นอน

ไม่ว่าจะขาไปหรือขากลับล้วนแต่เป็นวิสัยที่คนทั้งหลายจะไม่ไปใช้บริการ เว้นแต่จะไปศึกษาว่าการสร้างรถไฟแบบนี้เป็นนวัตกรรมยอดเยี่ยมของโลกหรือบัดซบที่สุดของโลกเท่านั้น แต่ไม่ว่าจะศึกษาแบบไหน ประเทศไทยก็เสียเงิน 100,000 ล้านบาท โดยได้มาซึ่งเส้นทางรถไฟราว 125 กิโลเมตรแบบที่ว่านี้

ประการที่ห้า เป็นปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาว่า หากจะสร้างเฟสที่หนึ่งมาถึงกรุงเทพฯ ระยะทางราว 125 กิโลเมตร ซึ่งจะไม่มีใครใช้ แต่เวลาจะเสียไปถึง 3-4 ปี เมื่อถึงเวลานั้นรถไฟทางคู่จาก คุนหมิงไปพม่า-อินเดีย, จากคุนหมิงไปเวียดนาม-กัมพูชา, จากคุนหมิงมาถึงเวียงจันทน์ ก็เสร็จสิ้นเรียบร้อยไปแล้ว การขนส่งสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมจากประเทศเหล่านี้ไปทั่วโลกก็จะได้เปรียบประเทศไทย และประเทศไทยก็จะตกโลก ตกรถ เพราะต้องขนส่งสินค้าทางเรือที่แหลมฉบัง มาบตาพุด ซึ่งเสียเวลา แพง และสูญเสียความสด

และปัจจัยนี้จะเป็นเหตุความฉิบหายของประเทศ คือภาคเกษตรไทย ภาคอุตสาหกรรมไทย จะสู้กับใครไม่ได้ จะพินาศวายวอดสิ้น ชะดีชะร้ายนักลงทุนก็จะย้ายฐานการผลิตสินค้าประเภทที่จะต้องส่งไปด้านตะวันตกไปที่พม่า โดยเฉพาะที่ทวายเพื่อขึ้นบกก็ง่าย ลงเรือที่ทะเลอันดามันหรือมหาสมุทรอินเดียก็ง่ายดาย ส่วนประเภทสินค้าที่จะต้องไปส่งด้านตะวันออกก็จะย้ายฐานการผลิตไปที่เวียดนามเพื่อขนส่งไปทั่วโลกทางบกก็ง่าย ไปทางทะเลก็ไปยังด้านตะวันออกรวดเร็วกว่าไทย หรือจะไปทางใต้ก็จะย้ายไปอยู่ทางเขมร เพราะไปลงท่าเรือน้ำลึกที่ปากจะงอยนกแก้วที่อ่าวไทยก็ได้
รากฐานการผลิตภาคอุตสาหกรรมของไทยในภาคตะวันออกเหนือและอีสานที่ทำกันมากว่า 60 ปี และมีวงเงินลงทุนหลายล้านล้านบาท ก็จะถึงกาลพินาศวายวอดสิ้น

ประการที่หก ครั้นจะก่อสร้างรถไฟทางคู่ต่อไปจากบ้านกลางดงไปยังโคราช ก็ต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปี และไปจรดอยู่แค่โคราช มีฐานะเป็นแค่รถไฟภายในประเทศ ไม่สามารถเชื่อมต่อกับเส้นทางหลักของโลกและเส้นทางสายไหมได้ จะยิ่งซ้ำความฉิบหายให้กับประเทศชาติไปอีกนานเท่านาน
เพียงแค่เห็นแก่ประโยชน์ของชาติแต่น้อยนิด ก็ต้องไม่ทำเช่นนี้ และที่จะต้องทำก็คือเร่งสร้างรถไฟทางคู่จากหนองคายเชื่อมกับนครเวียงจันทน์โดยเร็วที่สุด อย่างน้อยก็เป็นการเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟสายหลักของโลกและเส้นทางสายไหม ที่ใครก็ต้องอดทนขนของทางรถยนต์หรือรถไฟแบบเดิมไปที่หนองคาย แล้วขนขึ้นรถไฟทางคู่รางมาตรฐานที่เชื่อมกับทางสายหลักของโลก เพียงแค่นี้ก็ยังนับว่าเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติอยู่บ้าง

ดังนั้นถึงแม้ใครก็ตามที่ใจทมิฬหินชาติคิดจะทำลายชาติบ้านเมือง คิดโกงชาติ ทรยศชาติ ด้วยการลงตราสังข์การคมนาคมทางบกของไทย เพื่อให้ประเทศไทยตกเป็นทาสรถยนต์ตลอดไปก็สุดแท้แต่ใจของผู้ร่วมขบวนการเหล่านั้น ขอเพียงได้ทำทางรถไฟทางคู่รางมาตรฐานจากหนองคายไปเชื่อมกับเส้นทางสายหลักของโลกและเส้นทางสายไหมที่เวียงจันทน์ ก็ยังนับว่าได้ทำคุณไว้แก่ประเทศชาติบ้าง

เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่หลวงของประเทศชาติและประชาชนไทยทุกคน ที่จะต้องทำความรู้ ทำความเข้าใจ ให้ถ่องแท้ โดยเฉพาะคณะทำงานที่เตรียมการสรุปเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรี พึงตั้งใจซื่อตรงต่อประเทศชาติ นำพาต่อประเทศชาติและราษฎร ทำความเข้าใจเรื่องนี้และสรุปเรื่องนี้ให้ถูกตรง ก็เชื่อมั่นได้ว่าคณะรัฐมนตรีที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นั่งหัวโต๊ะอยู่นั้นจักสำแดงความถูกต้องแห่งนโยบายให้ปรากฏไว้ในแผ่นดินอย่างแน่นอน
ระยะเวลาจากนี้ไปสามปีมีความหมายต่อความเจริญรุ่งเรืองและความฉิบหายวายวอดของประเทศชาติและประชาชนอย่างใหญ่หลวงนัก ปวงชนชาวไทยจึงพึงให้ความสนใจติดตามเรื่องนี้ให้จงดีเถิด ทำเรื่องนี้ให้ถูกต้องเพียงเรื่องเดียวก็นับได้ว่าไม่เสียของ!
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 07/06/2017 11:41 am    Post subject: Reply with quote

จับตารมว.คมนาคมเยือนญี่ปุ่น จรดหมึกเดินหน้ารถไฟ “ชิงกันเซ็ง” ไปเชียงใหม่ (ชมคลิป)

โดย MGR Online
7 มิถุนายน 2560 08:17 น.



สื่อมวลชนญี่ปุ่นเปิดเผยรายละเอียดข้อตกลงความร่วมมือโครงการรถไฟความเร็วสูงระหว่างไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งจะมีการลงนามในระหว่างการเยือนญี่ปุ่นของรมว.คมนาคมในสัปดาห์นี้
สำนักข่าว NHK เปิดเผยว่ารัฐบาลญี่ปุ่นและไทย เห็นพ้องเรื่องการใช้ชิงกันเซ็งในโครงการรถไฟความเร็วสูงของไทย ตามแผนสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดเชียงใหม่ ระยะทางกว่า 700 กม.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมของไทย มีกำหนดเดินทางเยือนญี่ปุ่นสัปดาห์นี้ และจะแลกเปลี่ยนบันทึกความร่วมมือเรื่องโครงการนี้กับนายเคอิชิ อิชิอิ รัฐมนตรีกระทรวงที่ดิน สาธารณูปโภค คมนาคมและการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น

รัฐบาลญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการส่งออกเทคโนโลยีรถไฟชิงกันเซ็งอย่างมาก หลังจากต้องพ่ายแพ้ให้กับประเทศจีน ซึ่งทุ่มข้อเสนอพิเศษทางการเงินจนได้คว้าโครงการรถไฟของหลายชาติอาเซียน แต่สำหรับประเทศไทยได้จัดสรรโครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟให้กับทั้งญี่ปุ่นและจีน แต่ก็มีประเด็นว่าจะเชื่อมต่อเทคโนโลยีที่แตกต่างกันของ 2 ประเทศนี้ได้อย่างไร? หรือจะเป็นเหมือนระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯที่สับสนอลหม่านทั้งระบบการเดินรถ และการใช้ตั๋วที่แยกจากกันในแต่ละเส้นทาง.

https://www.youtube.com/watch?v=groU6wISqMY
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/06/2017 4:32 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
จับตารมว.คมนาคมเยือนญี่ปุ่น จรดหมึกเดินหน้ารถไฟ “ชิงกันเซ็ง” ไปเชียงใหม่ (ชมคลิป)
โดย MGR Online 7 มิถุนายน 2560 08:17 น.

"สมคิด"เบียดเวียดนามถก"อาเบะ"จัดทัพธุรกิจยักษ์-SMEเยือนไทยลงพื้นที่EECร่วมลงขันรถไฟเชื่อมEEC-CLMV
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ updated: 07 มิ.ย. 2560 เวลา 15:48:12 น.

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังนำ 6 รัฐมนตรีเศรษฐกิจ เข้าพบหารือกับ นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ณ ทำเนียบรัฐบาล (Cabinet office) ในกรุงโตเกียว ว่า ฝ่ายไทยได้ขอบคุณที่ญี่ปุ่นส่งพระราชสาส์นแสดงความเสียใจต่อการสวรรคตของ รัชกาลที่ 9 และมีพระราชสาส์นแสดงความยินดีต่อการขึ้นทรงราชย์ของรัชกาลที่ 10 พร้อมหารือถึงเรื่องแผนแม่บทการพัฒนา CLMVT ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นให้ความสำคัญ โดยขอให้ญี่ปุ่นมีบทบาทในการสนับสนุน

นอกจากนี้ยังได้หารือในประเด็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ Hi Quality Infrastructure ซึ่งก่อหน้าที่นายสมคิด จะได้เข้าพบหารือกับนายชินโซ อาเบะ นั้น ฝ่ายนายกรัฐมนตรีเวียดนามได้เจรจากับญี่ปุ่นเรื่องรถไฟสาย เวียดนาม-ลาว-ไทย-พม่า เชื่อมกับอินเดีย บังคลาเทศ นอกเหนือจากเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่ญี่ปุ่นต้องการลงทุนอยู่แล้ว และต้องการให้พิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจัง

"นายกรัฐมนตรี อาเบะ รับฟังเรื่องนี้อย่างตั้งใจ" นายสมคิดกล่าว และว่า ไทยจะเป็นศูนย์กลางการพัฒนากลุ่ม CLMVT โดยภาคอีสาน จะกลายเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคนี้ ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นให้การสนับสนุนอย่างดี

ในการนี้มีการกล่าวถึงการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงสายใหม่ ที่จะเป็นวาระสำคัญในการลงทุนของเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) คือเส้นทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเข้าไปในเขต EEC เพิ่มเติมจากเส้นทางเชียงใหม่-พิษณุโลก เมื่อถึงอยุธยาก็จะแยกเส้นทางฉีกไปทางภาคตะวันออก เพื่อเชื่อมเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรม ในย่านนิคมอุตสาหกรรมอยุทยาและเขต EEC เข้าด้วยกัน

"รถไฟความเร็วสูงเส้นใหม่นี้ ราคาแพงก็ต้องทำเพราะมีประโยชน์มาก จะทำให้เกิดการพัฒนาเมือง และมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจกว้างขวาง จึงต้องพิจารณาว่าไทยมีงบประมาณเท่าไร จะใช้ไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ ร่วมกับการลงทุนจากภาคเอกชน เพื่อบริหารงบประมาณให้ได้ วันจันทร์ที่จะถึงนี้ (12 มิย.) จะเดินทางไปกระทรวงคมนาคม เพื่อติดตามงานและฝากเรื่องนี้ให้นายอาคม รมว.นำไปพิจารณา" นายสมคิดกล่าว

นายสมคิด ได้กล่าวกับนายชินโช อาเบะ ด้วยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ขอเชิญให้นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เดินทางไปเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ตามวันเวลาที่เหมาะสม ซึ่งในระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน นั้นกระทรวง METI ของญี่ปุ่นจะนำคณะนักลงทุนขนาดใหญ่และนักธุรกิจเอสเอ็มอี. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศญี่ปุ่น (JETRO) และสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (Keidanren) ไปจัดสัมมนาและลงพื้นที่ EEC ด้วย

ในช่วงเช้าวันที่ 7 มิถุนายน นายสมคิด ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในสัมมนา Thailand towards Asian Hub ซึ่งเจโทร JETRO จัดร่วมกับบีโอไอ. เพื่อโรดโชว์แผนการลงทุนในพื้นที่ EEC มีนักธุรกิจญี่ปุ่นให้ความสนใจเข้าร่วมฟังกว่า 1,000 คน
นายสมคิดกล่าวตอนหนึ่งว่า "ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไทยได้เปลี่ยนวิกฤติการณ์ทางการเมืองให้เป็นโอกาสแห่งการปฏิรูปประเทศ ไม่ว่าจะในภาคเศรษฐกิจหรือในภาครัฐ ในภาคเศรษฐกิจ โครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่หยุดนิ่งมานานได้รับการผลักดันในแทบทุกด้าน ด้วยโครงการลงทุนกว่า 43 พันล้านเหรียญสหรัฐใน 5 ปีข้างหน้า ทั้งในด้านบริหารจัดการน้ำ ด้านพลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคม และการสื่อสาร ไม่ว่าถนน รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ สนามบิน ท่าเรือ การพลังงาน การลงทุนด้านดิจิทัล"

นายสมคิดกล่าวด้วยว่า "เส้นทางรถไฟฟ้า 3 เส้นเริ่มต้นแล้วในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา และจะตามมาด้วยเส้นทางรถไฟรางคู่ 6 สาย ที่จะเกื้อกูลต่อระบบ logistic ของประเทศ ซึ่งจะประมูลประกวดราคาและจัดซื้อจัดจ้างใน 3 เดือนข้างหน้า"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 209, 210, 211 ... 547, 548, 549  Next
Page 210 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©