Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179815
ทั้งหมด:13491047
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - แผนแม่บทรถไฟทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ แหลมฉบัง-สัตหีบ-มาบตาพุด
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

แผนแม่บทรถไฟทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ แหลมฉบัง-สัตหีบ-มาบตาพุด
Goto page 1, 2, 3, 4  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/05/2017 6:17 pm    Post subject: แผนแม่บทรถไฟทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ แหลมฉบัง-สัตหีบ-มาบตาพุด Reply with quote

“อุตตม” เร่งเครื่องอีอีซีสั่งศึกษารถไฟรางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ ชงนายกฯ 16 มิ.ย.
โดย MGR Online 4 พฤษภาคม 2560 14:27 น. (แก้ไขล่าสุด 4 พฤษภาคม 2560 15:16 น.)

“อุตตม” นั่งหัวโต๊ะประชุมขับเคลื่อนอีอีซีมอบให้ สนข.ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาหลักการสร้างรถไฟรางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ (แหลมฉบัง-สัตหีบ-มาบตาพุด) แบบไร้รอยต่อให้เสร็จ 1 เดือน ก่อนเสนอที่ประชุมครั้งหน้าและชงนายกฯ เคาะ 16 มิ.ย. พร้อมเร่งพลังงานศึกษาลงลึกจัดหาไฟรับ พร้อมประกาศอีอีซีดีเป็นเขตส่งเสริมอุตสาหกรรม

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กรศ.) เมื่อ 4 พ.ค. 60 ว่า ที่ประชุมมีมติให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นเจ้าภาพร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) การท่าเรือแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดทำแผนแม่บทพัฒนาระบบรถไฟรางคู่เชื่อมเข้ากับ 3 ท่าเรือ (แหลมฉบัง-สัตหีบ-มาบตาพุด) อย่างไร้รอยต่อ เพื่อทำให้ระบบการขนส่งสินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้นในการรองรับการเติบโตการลงทุนในพื้นที่อีอีซี โดยขอให้ศึกษาเสร็จภายใน 1 เดือนเพื่อนำเสนอ กรศ.วันที่ 26 พ.ค. พิจารณารายละเอียดก่อนนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเขต ศก.ภาคตะวันออกที่มีนายกฯ เป็นประธาน 16 มิ.ย.

“ระบบรางเป็นเรื่องใหญ่ นักลงทุนให้ความสนใจเรื่องนี้มาก ถ้าระบบรถไฟขนคน ขนของไม่มีประสิทธิภาพเพียงพออุตสาหกรรม และเมืองก็เกิดลำบากมาก โครงข่ายพื้นฐานจึงสำคัญและช่วยให้ประสานการรถไฟให้พิจารณาการเชื่อมโยงระบบขนส่งจากอีอีซีไปยังกัมพูชาผ่านทางอรัญประเทศที่ดำเนินการอยู่ให้เร็วขึ้น” รมว.อุตสาหกรรมกล่าว

นอกจากนี้ยังได้พิจารณาเรื่องของพลังงานให้เพียงพอในพื้นที่อีอีซีโดยเฉพาะไฟฟ้าเป็นหลักเพื่อรองรับอุตสาหกรรมใหม่ๆ ซึ่งกระทรวงพลังงานโดยสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้รายงานความคืบหน้าที่จะทำการศึกษาเชิงลึกว่าความต้องการใช้ไฟใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นอย่างไร ซึ่งเบื้องต้นปริมาณไฟที่ต้องการใช้มากขึ้นอีก 400 เมกะวัตต์ปี 2579 ซึ่งระยะสั้นเพียงพอแต่ในอีก 5 ปีข้างหน้าอาจไม่พอจำเป็นต้องศึกษาเชิงลึกหาแนวทางรองรับทั้งปริมาณที่เพียงพอและคุณภาพที่รองรับอุตสาหกรรมที่เป็นอีคอมเมิร์ซปาร์กซึ่งสำคัญไฟต้องนิ่ง

ที่ประชุมยังเห็นชอบประกาศให้จัดตั้งเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิตอล (อีอีซีดี) โดยให้กระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ศึกษาความเหมาะสมของโครงการเพิ่มเติม เพื่อให้มีส่วนในการสร้างประโยชน์ต่อประชาชนในท้องถิ่น และมีมาตรการเยียวยาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นแก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน พร้อมกำหนดให้มีแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตส่งเสริมและแผนที่แนวเขตที่ชัดเจน แผนการเผยแพร่ผลการศึกษาเพื่อรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย ประชาชน และชุมชนที่เกี่ยวข้อง พร้อมการนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพิจารณาในครั้งต่อไป

“ผมยังได้เสนอให้ทางการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ไปจัดพื้นที่รองรับวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) รองรับในพื้นที่อีอีซีด้วยโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเช่น การใช้ห้อง LAB ทดลองงานเบื้องต้น” นายอุตตมกล่าว

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ กรศ. กล่าวว่า การชักชวนนักลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายพบว่านักลงทุนสนใจอย่างมากที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่อีอีซี โดยเฉพาะในส่วนของการลงทุนศูนย์ซ่อมบำรุงท่าอากาศยานที่นอกเหนือจากแอร์บัส SAAB ล่าสุดยังมีอุตสาหกรรมอากาศยานของประเทศสิงคโปร์ ขณะเดียวกัน บ.ฟูจิฟิล์มสนใจในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Medical Hub ส่วนอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้ามีทั้งฮอนด้า โตโยต้า ซูซูกิ เมอร์เซเดสเบนซ์ แล้ว เซี่ยงไฮ้มอเตอร์ก็สนใจเช่นกัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2017 4:35 pm    Post subject: Reply with quote

ผุดทางคู่ 1.7 แสนล้าน กรศ.ดัน 10 โครงการเชื่อม 3 ท่าเรือแบบไร้รอยต่อ
ออนไลน์เมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,259 วันที่ 7 - 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560




กรศ.เปิดแผนลงทุนรถไฟทางคู่ 1.7 แสนล้าน ใน10 โครงการ เชื่อมโยง 3 ท่าเรือแหลมฉบัง-สัตหีบ-มาบตาพุด คาดระยะแรกเริ่มก่อสร้างในปี 2563

ในการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(กรศ.) เม่อวันที่ 4 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) การ่าเรือแห่งประเทสไทย การนิคมอุตสาหกรรม (กนอ.) การท่าเรือสัตหีบ ร่วมกันเร่งศึกษาแผนแม่บทโครงข่ายรถไฟทางคู่เชื่อมดยงกับ 3 ท่าเรือ ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือสัตหีบ และท่าเรือมาบตาพุด และการขนส่งสินค้าในภูมิภาคอย่างไรรอยต่อให้แล้วเสร็จใน 1 เดือนเพื่อนำเสนอในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในวันที่ 16 มิถุนายนนี้

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กรศ.) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า สำหรับการพัฒนารถไฟทางคู่เพื่อเชื่อมโยงท่าเรือทั้ง 3 แห่งแบบไร้รอยต่อ จะใช้บงลงทุนประมาณ 1.7 แสนใน 10 โครงการ ระยะเวลา 10 ปี (2561-2570) แบ่งการก่อสร้างเป็น 3 ระยะ โดยระยะแรกจะดำเนินการเชื่อมโยง 3 ท่าเรือ จะดำเนินการ

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพทางรถไฟช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา ระยะทาง 125 กิโลเมตร มูลค่า 8000 ล้านบาท
โครงการเดินรถไฟขนสินค้าไทย-กัมพูชา
โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด ระยะทาง 70 กิโลเมตร มูลค่า 15000 ล้านบาท และ
โครงการเชื่อมสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD) ฉะเชิงเทรา - มูลค่า 10000 ล้านบาท

ส่วนระยะที่ 2 จะเป็นการรองรับนิคมอุตสาหกรรม ที่จะมี
โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-ระยอง ระยะทาง 79 กิโลเมตร และ
ช่วงระยอง-มาบตาพุด ระยะทาง 22 กิโลเมตร มูลค่า 22,220 ล้านบาท
โครงการรถไฟทางเดี่ยว ช่วงระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทาง 150 กิโลเมตร มูลค่า 18,860 ล้านบาท และ

การดำเนินงานในระยะที่ 3 เป็นการก่อสร้างเชื่อมโยงกับภูมิภาค จะเป็น
โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงระยอง-จันทรบุรี-ตราด ระยะทาง 188 กิโลเมตร - มูลค่า 22500 ล้านบาท
โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงคอลงสิบเก้า-อรัญประเทศ ระยะทาง 174 กิโลเมตร
โครงการรถไฟทางคู่ช่วงท่าแฉลบ-พานทอง ระยะทาง 120 กิโลเมตร
โครงการไอซีดี หนองปลาดุก

ทั้งนี้ จากการลงทุนในโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จภายในปี 2570 จะช่วยให้สามารถขนส่งสินค้าทางรางได้ 42 ล้านตันต่อปี จากปัจจุบันการขนส่งทางรางมีเพียง 11 ล้านต้นต่อปี ซึ่งจะช่วยให้เกิดการขนส่งสินค้าในภูมิภาคได้สะดวกขึ้น และยังช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศ ที่มีการตั้งเป้าหมายการขนส่งด้วยระบบรางได้ 20-30 % ของการขนส่งสินค้าทั้งประเทศ และยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนที่จะมาลงทุนในอีอีซีอีกด้วย

โดยในส่วนของการดำเนินงานระยะแรก ในส่วนของโครงการรถไฟทางคู่ช่วงศรีราชา-สัตหีบ-มาบตาพุด และการแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา จะศึกษาและออกแบบในรายละเอียดให้แล้วเสร็จภายในปี 2561 และใน 6 เดือนแรกของปี 2562 จะดำเนินการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอให้แล้วเสร็จ และในเดือนกรกฎาคม 2562 จะประกาศเชิญชวนผู้รับเหมาก่อสร้าง และเริ่มก่อสร้างในปี 2563 คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2565


//---------------

ชงลงทุน3.3แสนล. นายกฯไฟเขียว3ท่าเรือ-รถไฟทางคู่16มิ.ย.
ออนไลน์เมื่อ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,266 วันที่ 1- 3 มิถุนายน พ.ศ. 2560

กรศ.เร่งขับเคลื่อนพัฒนา 3 ท่าเรือ และระบบรถไฟทางคู่เสนอ“ประยุทธ์” ไฟเขียวลงทุน16 มิ.ย.นี้ โดยดึงเอกชนเข้าร่วมพัฒนาโครงการ

ในการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(กรศ.) มีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่ากระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานได้เห็นชอบการลงทุนใน3 ท่าเรือหลัก ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 และท่าเรือสัตหีบ และการเชื่อมโยงระบบรถไฟทางคู่กับ 3 ท่าเรือแบบไร้รอยต่อ

โดยเฉพาะท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 นั้น การลงทุนจะเป็นในรูปแบบเอกชนเข้าร่วมลงทุน(พีพีพี) ซึ่งจะใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 1.41 แสนล้านบาทแบ่งเป็นการลงทุนในส่วนของท่าเรือเอง 5.43 หมื่นล้านบาทและเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน8.70 หมื่นล้านบาท มีอายุสัญญาไม่ตํ่ากว่า 30 ปี ขณะที่ท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 การก่อสร้างและบริหารท่าเรือจะเป็นในรูปแบบให้เอกชนร่วมลงทุน(พีพีพี)เช่นกัน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์หน้าท่า และบริหารท่าในรูปแบบสัมปทาน ใช้งบลงทุนรวม 10,154 ล้านบาท

ส่วนท่าเรือสัตหีบจะใช้เงินลงทุนราว 2,041 ล้านบาทใช้พัฒนา 13 โครงการ โดยจะใช้เงินทุนหมุนเวียนของกองทัพเรือประมาณ 642 ล้านบาท และขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล 1,399 ล้านบาท

สำหรับการพัฒนา โครงข่ายรถไฟทางคู่เพื่อเชื่อมโยง 3 ท่าเรือ แบบไร้รอยต่อ เพื่อเป็นประตูการค้าในกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี ซึ่งได้มอบหมายให้สนข.ไปศึกษากรอบแนวคิดการการพัฒนาโครงข่ายเป็น 2 ระยะโดยเป็นระยะเร่งด่วน 3 โครงการและระยะถัดไปอีก 6 โครงการรวมเม็ดเงินลงทุนราว 1.8 แสนล้านบาท ในช่วงระยะเวลา 11 ปี (2560-2570)

นายคณิศ แสงสุพรรณเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) เปิดเผยว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 16 มิถุนายนนี้ทางกรศ.จะนำแนวทางการลงทุนของ 3 ท่าเรือและการเชื่อมโยง 3 ท่าเรือโดยระบบรถไฟทางคู่แบบไร้รอยต่อและการขนส่งสินค้าในภูมิภาคเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา

โดยในส่วนของการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 นั้นขณะนี้อยู่ระหว่างการทบทวนผลการศึกษาความเป็นไปได้บางประเด็น และการศึกษารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(อีเอชไอเอ) ได้ดำเนินการไป 2 ครั้งแล้ว และจะเปิดทำประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นครั้งที่ 3 ภายในเดือนกันยายนนี้และคาดว่าจะประกาศเชิญชวนนักลงทุนจากทั่วโลกได้ประมาณเดือนตุลาคมปีนี้ ซึ่งทางการนิคมอุตสาหกรรมฯ (กนอ.) แจ้งว่าจะเร่งดำเนินการพัฒนาให้เสร็จเร็วขึ้น 1 ปี หรือแล้วเสร็จในปี 2565 ส่วนท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3ได้มีการจัดทำรายงานอีเอชไอเอเสร็จแล้วและในเดือนมิถุนายนนี้จะส่งรายงานเพิ่มเติม และคาดว่าเดือนธันวาคมปีนี้ น่าจะผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการได้ และจะไปเริ่มก่อสร้างในปี 2563

นายคณิศ กล่าวอีกว่าสำหรับโครงข่ายรถไฟทางคู่เชื่อมโยง 3 ท่าเรือแบบไร้รอยต่อ จะมี 3 โครงการเร่งด่วน ที่จะให้แล้วเสร็จในปี 2565 ได้แก่

1. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชาระยะทาง 125 กิโลเมตร มูลค่า 8000 ล้านบาท
2. โครงการรถไฟทางคู่ช่วงศรีราชา-มาบตาพุดระยะทาง 70 กิโลเมตร มูลค่า 15000 ล้านบาท และ
3. โครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์(ไอซีดี) มูลค่า 10000 ล้านบาท เพื่อรองรับการรวบรวมและกระจายสินค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประเทศกัมพูชา

ทั้งนี้ การเร่งพัฒนาท่าเรือและการเชื่อมโยงโดยระบบรถไฟทางคู่ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในอีอีซี - นอกจากนี้ ยังมีโครงการ ทางคู่จากศรีราชาไประยอง และ ระยองไปมาบตาพุดมูลค่า 22220 ล้านบาท และ มีโครงการ ทางคู่ ระยอง - จันทบุรี - ตราด มูลค่า 18880 ล้านบาทและ ทางเดี่ยวสายใหม่ ระยอง - จันทบุรี มูลค่า 22,500 ล้านบาทด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
nutsiwat
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 03/03/2011
Posts: 684
Location: สถานีเรณูนคร

PostPosted: 02/06/2017 12:59 pm    Post subject: Reply with quote

ดีมากเลยครับ ถ้าหากโครงการได้ขยายไปถึง จ.จันทบุรี และ จ.ตราด ได้ อย่างน้อยๆ ก็เอาไว้ขนส่งสินค้าการเกษตรหลายอย่าง และขบวนรถโดยสารได้ครับ
_________________
Laughing Laughing Laughing Laughing
--------------------------

สถานีต่อไป สถานีเรณูนคร
next station Renunakorn
Back to top
View user's profile Send private message Yahoo Messenger MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 08/06/2017 2:19 am    Post subject: Reply with quote

ถก กมธ.ร่วมไทย-ญี่ปุ่นร่วมดันโปรเจกต์ 1.5 ล้านล้านในอีอีซี-ร่วมพัฒนา 4.0 เชื่อมโยงเพื่อนบ้าน
โดย MGR Online
7 มิถุนายน 2560 20:20 น.

กรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-ญี่ปุ่น ถกหาแนวทางร่วมพัฒนาโครงการ 1.5 ล้านล้านในอีอีซี ประเมินควาคืบหน้ารถไฟชินคันเชน กทม.-เชียงใหม่ ระบบรางในกทม.-ปริมณฑล พร้อมเชื่อมโยงการพัฒนากับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ทั้งเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมโยงทางดิจิทัล-การค้า-อุตสาหกรรม

วันนี้(7 มิ.ย.) ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย – ญี่ปุ่น (High Level Joint Commission: HLJC) ครั้งที่ 3 ณ ทำเนียบนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น โดยมีนายโยะชิฮิเดะ สึกะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น กับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานร่วม การหารือครอบคลุมความร่วมมือยุทธศาสตร์เศรษฐกิจรอบด้าน

หัวใจสำคัญของการหารือครั้งนี้ คือ การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจ ที่มุ่งเน้น 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงความร่วมมือที่เป็นไปได้ในการพัฒนา “4 พื้นที่เพื่อการพัฒนา – 15 โครงการหลัก – 5 โครงการลำดับสูงสุดในปี 2560” ที่จะมีการลงทุน 43,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ(ประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท) ในระยะเวลา 5 ปี ซึ่งรวมถึงโครงการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาและศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน โครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกกรุงเทพฯ – ระยอง โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ท่าเรือสัตหีบ และท่าเรือมาบตาพุด รวมทั้งการพัฒนาเมืองใหม่ 3 แห่งในภาคตะวันออก

ที่ประชุมยังได้แสดงความยินดีกับการลงนามบันทึกแสดงเจตจำนงด้านความร่วมมือเพื่อพัฒนา EEC ระหว่างกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น(METI) กับกระทรวงอุตสาหกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือของญี่ปุ่นด้านการยกระดับอุตสาหกรรมไทย

ทั้งสองฝ่ายได้ประเมินความคืบหน้าความร่วมมือระบบรางในภาพรวม โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ซึ่งจะใช้เทคโนโลยี “ชินคันเซ็น” ของญี่ปุ่น และการใช้เทคโนโลยีระบบรางของญี่ปุ่นเพื่อพัฒนารถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งได้แสดงความยินดีต่อผลการศึกษาขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) เรื่องรถไฟขนส่งสินค้าในไทย เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตามแนวตะวันออก – ตะวันตก เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาค และการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีบางซื่อ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทการพัฒนาเมืองและพื้นที่รอบสถานีรถไฟ ในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายได้แสดงความยินดีกับการลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคมกับกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่นในด้านระบบรางอีกด้วย

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เน้นย้้ำความสำคัญของการร่วมมือกันจัดตั้งศูนย์รวมข้อมูลในไทยโดยใช้เทคโนโลยีสถานีอ้างอิงและปรับข้อมูลดาวเทียมนำทาง (Continuously Operating Reference Station: CORS) เพื่อสร้างสังคมที่มีความก้าวหน้าทางระบบสารสนเทศ โดยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีระบบดาวเทียมเพื่อการนำร่องและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ของญี่ปุ่น ในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายได้แสดงความยินดีกับการลงนามบันทึกความร่วมมือด้านการจัดตั้งศูนย์รวมข้อมูลดังกล่าว ระหว่างกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่นกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายแสดงความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะร่วมกันพัฒนาความเชื่อมโยงในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ ความเชื่อมโยงทางดิจิทัลสำหรับการค้าและการเงินรูปแบบใหม่ การยกระดับการค้าข้ามชายแดน การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาคเพื่อรองรับอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งจะเป็นเนื้อหาสาคัญในแผนแม่บทกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ซึ่งไทยจะเสนอในห้วงการเป็นประธาน ACMECS ในปี 2561

ที่ประชุมยังได้หารือความร่วมมือในการเสริมสร้าง SMEs ไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการเชื่อมโยงทางดิจิทัลระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (CLMVT) ทั้งนี้ สองฝ่ายได้แสดงความยินดีกับการลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทยกับญี่ปุ่นด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคอุตสาหกรรมของไทยและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในสาขาเฉพาะ ซึ่งรวมถึงยานยนต์ ระบบราง และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ทั้งสองฝ่ายแสดงความยินดีต่อการลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารญี่ปุ่น กับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และดิจิทัล การลงนามบันทึกแสดงเจตจำนงระหว่างประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ประจำกรุงเทพฯ กับอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และการลงนามบันทึกแสดงเจตจำนงระหว่างประธาน JETRO กรุงเทพฯ กับผู้อำนวยการสานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) และผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 16/06/2017 1:06 pm    Post subject: Reply with quote

nutsiwat wrote:
ดีมากเลยครับ ถ้าหากโครงการได้ขยายไปถึง จ.จันทบุรี และ จ.ตราด ได้ อย่างน้อยๆ ก็เอาไว้ขนส่งสินค้าการเกษตรหลายอย่าง และขบวนรถโดยสารได้ครับ


"สมคิด"เร่ง100โปรเจ็กต์อีอีซี ผุดเพิ่มรถไฟใหม่เชื่อมท่าเรือ1.7แสนล้าน

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
16 มิถุนายน 2560 เวลา 08:30:23 น.

"สมคิด" บุกคมนาคม เกาะติดแผนลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ เผยพอใจผลงานเข้าเป้า สั่งปั๊ม 100 โครงการ ลงทุนกว่า 5.9 แสนล้าน หนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ขีดเส้นสิ้นปีประมูลไฮสปีดกรุงเทพฯ-ระยอง เดินหน้าถกญี่ปุ่นขยายเส้นทางไปถึงอยุธยา เร่ง ร.ฟ.ท.ล้างท่อทางคู่ 5 สายให้จบ ก.ย. ด้าน สนข.ชงลงทุน 1.7 แสนล้าน ผุดรถไฟสายใหม่เชื่อมขนส่งสินค้าท่าเรือพื้นที่อีอีซี "อาคม" จัดทัพทางคู่เฟส 2 เสนอ ครม.อนุมัติ 7 สายรวด ก.ค.-ส.ค.นี้

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า ผลติดตามความก้าวหน้าโครงการลงทุนของคมนาคมเป็นไปตามเป้าหมาย ทั้งเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี และการลงทุนระบบคมนาคมขนส่งเร่งด่วนปี 2559-2560 จำนวน 56 โครงการ เงินลงทุนร่วม 2 ล้านล้านบาท ที่เดินหน้าตามแผนงาน ส่งผลให้เกิดการลงทุนและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ มีนักลงทุนจีนและญี่ปุ่นให้ความสนใจเข้าร่วมลงทุนรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-โคราช และกรุงเทพฯ-เชียงใหม่

ทั้งนี้ ให้คมนาคมเร่งโครงการคมนาคมและโลจิสติกส์ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มี 100 โครงการ เงินลงทุน 594,807 ล้านบาท ให้เสร็จ 5 ปี (2560-2564 ) โดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 193 กม. เงินลงทุน 152,528 ล้านบาท รถไฟทางคู่ และสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องลาดกระบัง (ICD) จะต้องดำเนินการให้ได้ปีนี้

สิ้นปีประมูลไฮสปีดระยอง

"รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยองต้องประมูลในปี′60ส่วนต่อขยายไปอยุธยาที่ญี่ปุ่นสนใจ คมนาคมต้องหารือกับญี่ปุ่นอีกครั้ง ขณะที่กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ทางญี่ปุ่นกำลังศึกษาความเหมาะสมโครงการ อยากให้สร้างเร็ว ๆ ซึ่งความคุ้มค่าวัดกันที่เศรษฐกิจในจังหวัด ความเจริญ จะวัดจำนวนผู้โดยสารไม่ได้" นายสมคิดกล่าวและว่า

รถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง ได้แก่
ลพบุรี-ปากน้ำโพ 148 กม. วงเงิน 23,920 ล้านบาท,
มาบกะเบา-จิระ 132 กม. วงเงิน 28,104.31 ล้านบาท,
นครปฐม-หัวหิน 165 กม. วงเงิน 19,269.89 ล้านบาท,
หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ 90 กม. วงเงิน 9,853 ล้านบาท และ
ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กม. วงเงิน 16,234.64 ล้านบาท

ได้รับรายงานจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะทยอยประมูลเดือน ก.ค.-ก.ย.นี้ ส่วนรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หัวหิน อยู่ระหว่างการพิจารณาของคมนาคมเพื่อเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) พิจารณาต่อไป

มิ.ย.ขอไฟเขียวรถไฟไทย-จีน

ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 250 กม. เงินลงทุน 179,412 ล้านบาท เป็นความร่วมมือของรัฐบาลไทยและจีน คาดว่าจะเสนอขออนุมัติโครงการจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เดือน มิ.ย.นี้

ส่วนรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 จำนวน 7 เส้นทาง ได้แก่
ปากน้ำโพ-เด่นชัย 285 กม. วงเงิน 64,921 ล้านบาท,
จิระ-อุบลราชธานี 309 กม. วงเงิน 49,951 ล้านบาท,
ขอนแก่น-หนองคาย 174 กม. วงเงิน 23,727 ล้านบาท,
ชุมพร-สุราษฎร์ธานี 167 กม. วงเงิน 34,726 ล้านบาท,
สุราษฎร์ธานี-สงขลา 324 กม. วงเงิน 51,065 ล้านบาท,
หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ 45 กม. วงเงิน 23,727 ล้านบาท และ
เด่นชัย-เชียงใหม่ 189 กม. วงเงิน 63,353 ล้านบาท

จะทยอยเสนอให้ ครม.อนุมัติเปิดประมูลโครงการภายในเดือน ก.ค.-ส.ค.นี้

"เส้นทางอยุธยา-ระยองที่ญี่ปุ่นเสนอ มองว่าโครงการเป็นประโยชน์ ซึ่งตามข้อกำหนดที่คณะกรรมการอีอีซีให้คมนาคมศึกษา คือ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ จากอู่ตะเภา สุวรรณภูมิและดอนเมือง หากญี่ปุ่นอยากเชื่อมไปถึงอยุธยาก็ให้เริ่มช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ก่อน"

ผุดเส้นทางใหม่เชื่อมท่าเรือ

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่านอกจากนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ได้เสนอโครงการพัฒนาระบบรถไฟขนส่งสินค้าเชื่อมท่าเรือพื้นที่อีอีซี เงินลงทุนรวม 171,380 ล้านบาท เริ่มศึกษาโครงการปี 2560 ก่อสร้างปี 2562-2563 ได้แก่

1. เพิ่มประสิทธิภาพทางรถไฟช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา 125 กม. วงเงิน 8,000 ล้านบาท,
2. เดินรถไฟขนสินค้าไทย-กัมพูชา และก่อสร้างสถานี CY ที่ ต.คลองลึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว วงเงิน 3,000 ล้านบาท,
3. รถไฟทางคู่ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด 70 กม. วงเงิน 15,400 ล้านบาท

4. ก่อสร้าง ICD แก่งคอย เป็นศูนย์รวมและกระจายสินค้านำเข้า-ส่งออกไปภาคอีสานและ สปป.ลาว วงเงิน 10,000 ล้านบาท,
5. รถไฟทางคู่ช่วงศรีราชา-ระยอง 79 กม. และช่วงระยอง-มาบตาพุด 22 กม. วงเงิน 22,220 ล้านบาท,
6. รถไฟทางเดี่ยวช่วงระยอง-จันทบุรี-ตราด 150 กม. วงเงิน 22,500 ล้านบาท,
7. รถไฟทางคู่ช่วงระยอง-จันทบุรี-ตราด 150 กม. วงเงิน 18,860 ล้านบาท,
8. รถไฟทางคู่ช่วงคลองสิบเก้า-อรัญประเทศ 174 กม. วงเงิน 26,100 ล้านบาท,
9. รถไฟทางคู่ช่วงท่าแฉลบ-พานทอง 120 กม. วงเงิน 40,800 ล้านบาท และโครงการ ICD หนองปลาดุก วงเงิน 4,500 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
casanotoey
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 03/07/2006
Posts: 412

PostPosted: 17/06/2017 11:10 am    Post subject: Reply with quote

แก่งคอย จะมีทั้งศูนย์ซ่อมใหญ่ และ จะมี ย่านICD ด้วย จะมีพื้นที่พอเหรอครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 18/06/2017 12:21 am    Post subject: Reply with quote

ระบบรถไฟเชื่อมท่าเรือใน‘อีอีซี’ ลุ้นสร้างทางสายเก่า-ใหม่
ออนไลน์เมื่อ
17 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,270 วันที่ 15 - 17 มิถุนายน พ.ศ. 2560

Click on the image for full size


กำลังฮอตสำหรับการเร่งผลักดันระบบโครงข่ายการคมนาคมขนส่งและเส้นทางเชื่อมโยงพื้นที่การพัฒนาตามแนวระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ของรัฐบาลที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นำทัพการพัฒนาโดยให้กระทรวงคมนาคมเร่งสนับสนุนด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะระบบรางที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ได้รับผิดชอบในฐานะเจ้าของโครงการ


ทั้งนี้ตามแผนที่คณะกรรมการอีอีซีและกระทรวงคมนาคมกำหนดไว้สำหรับการพัฒนาระบบรถไฟเชื่อมท่าเรือในอีอีซีแบ่งออกเป็น 3 ระยะรวมวงเงินกว่า 1.71 แสนล้านบาท

โดยระยะแรก จะมีโครงการ

1. เพิ่มประสิทธิภาพทางรถไฟช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา 125 กม. วงเงิน 8,000 ล้านบาท,
2. เดินรถไฟขนสินค้าไทย-กัมพูชา และก่อสร้างสถานี CY ที่ ต.คลองลึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว วงเงิน 3,000 ล้านบาท,
3. รถไฟทางคู่ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด 70 กม. วงเงิน 15,400 ล้านบาท
4. ก่อสร้าง ICD แก่งคอย เป็นศูนย์รวมและกระจายสินค้านำเข้า-ส่งออกไปภาคอีสานและ สปป.ลาว วงเงิน 10,000 ล้านบาท,

ส่วนระยะที่ 2 มีโครงการ
5. รถไฟทางคู่ช่วงศรีราชา- ปลวกแดง - ระยอง 79 กม. และช่วงระยอง-มาบตาพุด 22 กม. วงเงิน 22,220 ล้านบาท,

สำหรับระยะที่ 3 ประกอบไปด้วย
6. รถไฟทางเดี่ยวช่วงระยอง-จันทบุรี-ตราด 150 กม. วงเงิน 22,500 ล้านบาท,
7. รถไฟทางคู่ช่วงระยอง-จันทบุรี-ตราด 150 กม. วงเงิน 18,860 ล้านบาท,
8. รถไฟทางคู่ช่วงคลองสิบเก้า-อรัญประเทศ 174 กม. วงเงิน 26,100 ล้านบาท,
9. รถไฟทางคู่ช่วงท่าแฉลบ-พานทอง 120 กม. วงเงิน 40,800 ล้านบาท และ
10. โครงการ ICD หนองปลาดุก วงเงิน 4,500 ล้านบาท - และโครงการเชื่อมการขนส่งสินค้าในภูมิภาคด้วยรถไฟทางคู่

โดยปี 2560 นี้บางส่วนอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียดและการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) จะเริ่มเข้าสู่การประกวดราคาช่วงปี 2562 เป็นต้นไปเช่นเดียวกับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและการก่อสร้างจะเห็นความชัดเจนในปี 2563 เป็นส่วนใหญ่ ส่วนจะเป็นไปตามแผนหรือไม่นั้นคงต้องจับตามองกันต่อไปว่ารัฐบาลใหม่จะให้ความสนใจโครงการในอีอีซีกันมากน้อยเพียงใด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/03/2018 12:26 pm    Post subject: Reply with quote

ส่วนต่อขยายรถไฟทางคู่ภาคตะวันออก
ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,349 วันที่ 18-21 มีนาคม พ.ศ. 2561 หน้า 12

เงินลงทุนรวม 171,380 ล้านบาท เริ่มศึกษาโครงการปี 2560 ก่อสร้างปี 2562-2563 ได้แก่

1. ระยะเร่งด่วน: เชื่อมสามท่าเรือ
1.1 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพทางรถไฟช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา 125 กม. วงเงิน 8,000 ล้านบาท - track rehab รางเก่าหรือเปล่า เพราะ มี ตั้งสามรางแล้ว หรือไม่ก็ราง 4 เพื่อ เตรียมการติดระบบรถไฟฟ้า ในอนาคต -

1.2 เดินรถไฟขนสินค้าไทย-กัมพูชา และก่อสร้างอาคารสถานี และ CY ที่ กม. 259+000 ต.คลองลึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว วงเงิน 3,000 ล้านบาท

1.3 รถไฟทางคู่ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด และ เขาชีจรรย์ - ท่าเรือสัตหีบ ระยะทางรวม 70 กม. วงเงิน 15,400 ล้านบาท

1.4 ก่อสร้าง ICD แก่งคอย เป็นศูนย์รวมและกระจายสินค้านำเข้า-ส่งออกไปภาคอีสานและ สปป.ลาว วงเงิน 10,000 ล้านบาท,

2. ระยะ กลาง - รับรองนิคมอุตสาหกรรม
2.1.ๅ รถไฟทางคู่ช่วงศรีราชา-ระยอง 79 กม. โดยผ่านทางหนองยายบู่ หนองค้อ ทางหลวง 331 หนองขาม, นิคมอุตสาหกรรมเหมราช ทางต่างระดับพันเสด็จนอก เขาคันทรง ทางหลวง 3027 นิคมอุตสาหกรรมบ่อวิน บ้านสุรศักดิ์ ทางหลวง 3574 เทศบาลตำบลจอมพลเจ้าพระยา หนองค้างคาว มาบกระโดน, อบต. ตาสิทธิ์, บ้านเขาน้อย ปลวกแดง วัดปากแพรก หนองกรับ นิคมอุตสาหกรรม โรจนะที่บ้านค่าย เทศบาลบ้านค่าย - แยกเกาะกลอย - สถานีระยองน่าจะอยู่แถว ไออาร์พีซี

2.1.2 ช่วงระยอง-มาบตาพุด 22 กม. วงเงิน 22,220 ล้านบาท, จากมาบตาพุด ไปตามทางหลวง
363 ตำบลเนินพระ ทางหลวง 364 วัดทับมา ทางหลวง 36 ตลาดน้ำเกาะกลอย สถานีระยองน่าจะอยู่แถว ไออาร์พีซี


2.2 รถไฟทางเดี่ยวช่วงระยอง-จันทบุรี-ตราด 150 กม. วงเงิน 22,500 ล้านบาท งานนี้่ ไปตามถนนสุขุมวิท จนถึงเมืองตราด

3. ระยะต่อไป:เชื่อมโยงภูมิภาค
3.1 รถไฟทางคู่ช่วงระยอง-จันทบุรี-ตราด - คลองใหญ่ 188 กม. วงเงิน 18,860 ล้านบาท และ ทาง เชื่อมไปชายแดนกัมพูชา แต่ แย่หน่อยที่ จากแผนที่ ทางรถไฟจากออกชายแดนที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พนมสามโก (Phnum Samkoh Wildlife Sanctuary - តំបន់អភិរក្ស ភ្នំសំកុះ) รอยต่อแดนระหว่าง พระตะบองกะเกาะกง แทนที่จะเป็นบ้านหาดเล็ก คงเพราะบ้านหาดเล็กที่น้อยเกินไป ทั้งยังล่อแหลมต่อการโดนจู่โจมได้ง่าย - ถ้าไปออกทางบ้านผักกาดหรือโป่งน้ำร้อน ชาวตราดก็อด หรือถถ้าไม่อดก็ต้องทำทางอ้อมโลกที่ด่านฝั่งจันทบุรี - แต่ จะให้ดี ถ้าใครมีแผนที่ตามแผนก็เอาให้ดูหน่อย จะเได้วิเคราะห์ถูกต้อง

3.2 รถไฟทางคู่ช่วงคลองสิบเก้า-อรัญประเทศ 174 กม. วงเงิน 26,100 ล้านบาท,
3.3 รถไฟทางคู่ช่วงท่าแฉลบ-พานทอง 120 กม. วงเงิน 40,800 ล้านบาท - งานนี้จะสะพานทีปากน้ำบางปะกง ปากน้ำเจ้าพระยา และ ปากน้ำท่าจีนกันอย่างไงดี สะพาน แบบสะพานข้ามแม่น้ำคง หรือสะพานแขวนก็เหมาะนะ นี่ยังไม่นับการเชื่อมทางรถไฟ สายมหาชัยด้วยอีกนะ
3.4 โครงการ ICD หนองปลาดุก วงเงิน 4,500 ล้านบาท

นี่คิดที่ 120 - 150 ล้านบาทต่อกิโลเมตร นะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/03/2018 12:36 pm    Post subject: Reply with quote

ส่วนข้อมูลจากสภาพัฒน์ จะเป็นแบบนี้:
รถไฟ จำนวน 5 โครงการ วงเงิน 258,583.48 ล้านบาทประกอบด้วย
1) รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-ระยอง 152,518 ล้านบาท เป็นโครงการ PPP
เริ่มดำเนินการในปี 2561
2) สถานีรถไฟอู่ตะเภา 100 ล้านบาท ดำเนินการในปี 2560 เสร็จปี 2562 แต่เพิ่งจะเอาจริงก็ปี 2561 ก็ต้องยืดระยะเวลาออกไป
3) รถไฟเชื่อมต่อระหว่างท่าเรือแหลมฉบัง-ท่าเรือน้ำลึกทวาย 85,817.48 ล้านบาท บางส่วนของโครงการเป็น PPP เริ่มดำเนินการในปี 2560-2567 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบ
4) รถไฟทางคู่ ศรีราชา-เขาชีจรรย์-มาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด 45 ล้านบาท เพื่อศึกษาความเหมาะสมเริ่มดำเนินการในปี 2561 และ
5) รถไฟรางเบา เมืองพัทยา 20,130 ล้านบาท เป็นโครงการ PPP เริ่มดำเนินการในปี 2560-2563 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสม แต่ เอาเข้าจริงรอให้ รถไฟความไวสูงเชื่อมสามสนามบินให้เป็นรูปเป็นร่างเสียก่อนจะดีกว่า
http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6381

EEC โดยรวม
https://pantip.com/topic/36612779

โครงการรถไฟ

1. หน่วยงานรับผิดชอบ : การรถไฟแห่งประเทศไทย

2. ลักษณะโครงการ :
(1) สายมาบตาพุด-ระยอง : วัตถุประสงค์เพื่อขยายโครงข่ายทางรถไฟในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกจากบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดไปยังเขตอุตสาหกรรมและท่าเรือระยองเพื่อรองรับความต้องการด้านการขนส่งและสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อพื้นที่บริเวรชายฝั่งทะเลตะวันออก ระยะที่ 2 ก่อสร้างทางขนาดกว้าง 1 เมตร ใช้รางเหล็กหนัก 100 ปอนด์ต่อหลา มีสถานี 1 แห่ง คือ สถานีปลายทางที่ระยองตั้งอยู่ใกล้กับสวนอุตสาหกรรมทีพีไอ ในเขต ต.เชิงเนิน และต.บ้านแลง อ.เมือง จ.ระยอง ระยะทาง 24 กม. ใช้งบลงทุนประมาณ 3,674 ล้านบาท

(2) สายเชื่อมโยงท่าเรือแหลมฉบัง - ปลวกแดง- ระยอง : วัตถุประสงค์เพื่อวางแผนพัฒนาขยายเครือข่ายเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือแหลมแบังกับแหล่งอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดระยอง เพื่อลดต้นทุนการขนส่งวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ระหว่างท่าเรือกับโรงงานเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ โดยก่อสร้างทางขนาดกว้าง 1 เมตร รางเหล็กขนาดน้ำหนัก 100 ปอนด์ต่อหลา ทางสายหลักยาวประมาณ 76 กิโลเมตร และมีทางสายแยกเข้าสู้โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในแนวเส้นทางรวม 6 แห่ง ระยะทาง 23 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น 99 กิโลเมตร ใช้งบลงทุนประมาณ 10,520 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง 8,332 ลานบาท และค่าจัดซื้อรถจักร รถพ่วง 2,188 ล้านบาท

2.2 รถไฟชนิดทางคู่

(1) สายหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา : ก่อสร้างรถไฟทางคู่ในเส้นทางรถไฟชานเมืองระยะทาง 45 กม. - สำเร็จไปแล้ว เมื่อปี 2546

(2) ทางคู่ช่วงศรีราชา-ฉะเชิงเทรา พร้อม Chord Line ที่สถานีชุมทางฉะเชิงเทราและชุมทางบ้านภาชี : วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความจุของทาง รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการขนส่งในเส้นทางรถไฟบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกให้สามารถรองรับปริมาณการขนส่ง โดยขบวนรถคอนเทนเนอร์ ซึ่งจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต อันเนื่องจากการขยายท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง ขั้นที่ 2 โดยก่อสร้างทางขนาดกว้าง 1 เมตร ใช้รางเหล็กขนาดหนัก 100 ปอนด์ต่อหลา เพิ่มขึ้นอีก 1 ทางคู่ขนานกับทางเดี่ยวเดิมที่มีอยู่แล้วระยะทาง 69 กม. วงเงินลงทุน 5,044 ล้านบาท - สำเร็จไปแล้ว เมื่อปี 2554
http://manopkong.tripod.com/data/Project.htm
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 23/05/2018 12:35 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.อนุมัติงบกลางกว่า 145 ล้าน เพิ่มประสิทธิภาพรถไฟสายตะวันออก หนุน EEC
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 18:05:
ปรับปรุง: 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 18:15:

ครม.อนุมัติงบกลางกว่า 145 ล้านให้ ร.ฟ.ท.ศึกษาโครงการเพิ่มประสิทธิภาพรถไฟช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด และออกแบบรายละเอียดการเพิ่มระบบอาณัติสัญญาณและระบบไฟฟ้าเพื่อเชื่อมต่อกับสายสีแดง เพิ่มขีดความสามารถขนส่งสู่ท่าเรือแหลมฉบัง, สัตหีบ และมาบตาพุด

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 22 พ.ค. ได้อนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียดและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จำนวน 145,301,100 บาท ประกอบด้วย ค่าตอบแทนบุคลากรหลัก 62,814,573.00 บาท ค่าใช้จ่ายบุคลากรสนับสนุน 37,262,000.00 บาท ค่าใช้จ่ายตรง35,718,847.56 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 จำนวน 9,505,679.44 บาท

การขอรับการสนับสนุนงบกลางในครั้งนี้เป็นการดำเนินการตามมติคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2560 ที่มอบให้ ร.ฟ.ท.เร่งรัดจัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียดและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรอบวงเงินงบประมาณไม่เกิน 200 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

ในโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา ทบทวนรายละเอียดเพิ่มความจุของทางรถไฟ และจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา (ปัจจุบันมีทางรถไฟ 3 ราง) จะก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มขึ้น 1 ทาง โดยสามารถเชื่อมโยงกับเส้นทางรถไฟทางคู่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (แหลมฉบัง-ศรีราชา-ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย) และเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟทางคู่ ช่วงหนองคาย-ขอนแก่น-นครราชสีมา-แก่งคอย-ฉะเชิงเทรา

ศึกษาความเหมาะสม และออกแบบรายละเอียดการเพิ่มระบบอาณัติสัญญาณและระบบไฟฟ้าเพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) เพื่อรองรับการให้บริการระบบรถไฟฟ้าชานเมืองร่วมกับระบบรถไฟทางไกล และศึกษาความเหมาะสมเพื่อแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟ ช่วงฉะเชิงเทรา-ศรีราชา เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและความสะดวกในการให้บริการ

ส่วนโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด ศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียดและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มขึ้น 1 ทาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางรถไฟสู่ท่าเรือสำคัญทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และท่าเรือมาบตาพุด

ครม.อนุมัติงบฯ 145 ล.ศึกษารถไฟทางคู่เชื่อมท่าเรืออีอีซี
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 09:03:

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วานนี้ (22 พ.ค.) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติงบประมาณเพื่อจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมออกแบบรายละเอียดและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วงเงิน 145 ล้านบาท



ทั้งนี้จะก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มขึ้น 1 เส้นทาง เพื่อเชื่อมกับเส้นทางรถไฟทางคู่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (แหลมฉบัง-ศรีราชา-ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย) และเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟทางคู่ช่วงหนองคาย-ขอนแก่นนครราชสีมา-แก่งคอย-ฉะเชิงเทรา และเพิ่มรถไฟทางคู่ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด อีก 1 เส้นทาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางรถไฟสู่ท่าเรือสำคัญ 3 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และท่าเรือมาบตาพุด
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3, 4  Next
Page 1 of 4

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©