Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311276
ทั่วไป:13258309
ทั้งหมด:13569585
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 48, 49, 50 ... 148, 149, 150  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44463
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/05/2017 7:53 am    Post subject: Reply with quote

"บิ๊กตู่" สั่ง! ขยายรถไฟสายสีแดงไปถึงฉะเชิงเทรา
SpringNews 7 พ.ค. 60

นายกฯสั่งขยายการก่อสร้างโครงการรถไฟสายสีแดง ไปถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อรองรับการพัฒนาเมืองใหม่ สำหรับคนทำงาน

วันที่ 7 พ.ค.60--นายคณิต แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีบัญชาให้การรถไฟแห่งประเทศไทยศึกษาการขยายโครงการรถไฟสายสีแดงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ให้ไปถึงฉะเชิงเทรา เพื่อรองรับการพัฒนาเมืองใหม่ และอำนวยความสะดวกในการเดินทางสำหรับคนทำงาน เหมือนกับประเทศญี่ปุ่น เพื่อรองรับนโยบายอีอีซี
ฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพ นอกจากจะสามารถต่อยอดการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีอยู่เดิมแล้ว รัฐบาลยังมีเป้าหมายพัฒนาให้ฉะเชิงเทราเป็นโลจิสติกส์ฮับ และเมืองใหม่ สำหรับคนทำงาน โดยจะพัฒนาให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ จะไม่เอาปล่องไฟจากโรงงานอุตสาหกรรมมาให้เหมือนในอดีต เพราะมันไม่ทันสมัย

นายคณิตย้ำว่า วัตถุประสงค์หลักของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี เพื่อเป็นฐานในด้านสะสมการลงทุน และ ฐานสะสมเทคโนโลที่ทันสมัยสำหรับการพัฒนาประเทศในอนาคต มีเป้าหมายผลักดันให้ประเทศไทยก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง ไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งในช่วงแรกของการพัฒนาได้วางให้ 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา เป็นจังหวัดนำร่อง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะใช้พื้นที่ทั้งหมดของ 3 จังหวัดมาทำเป็นเขตส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด

การจัดทำเขตส่งเสริมลงทุนพิเศษใน 3 จังหวัดนั้น จะพิจารณาเป็นจุดๆ เช่น การให้พื้นที่ 6,500 ไร่ บริเวณท่าอากาศยานนานาชาติ อู่ตะเภา เป็นเขตส่งเสริมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือเป็น “เมืองการบินภาคตะวันออก” เป็นต้น

สำหรับพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้ในโครงการอีอีซีในช่วง 5 ปีแรกจะใช้พื้นที่จำกัดไม่เกิน 5 หมื่นไร่ หรือ 0.6%ของพื้นที่ 3 จังหวัด เมื่อรวมกับพื้นที่ที่ใช้ไปแล้วในอดีต 1.18 แสนไร่ หรือ 1.4% ของพื้นที่ใน 3 จังหวัด จะทำให้พื้นที่สำหรับภาคอุตสาหกรรมในอีอีซีมีอยู่ประมาณ 160,000 ไร่ หรือประมาณ 2% ของที่ดินใน 3 จังหวัด และขณะนี้ก็มีพื้นที่ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยของภาคเอกชนที่จะใช้สำหรับภาคอุตสาหกรรมแล้ว 1.2 หมื่นไร่ ดังนั้นพื้นที่ที่จะใช้เพิ่มเติมจึงมีไม่มาก จึงอยากเตือนคนที่เก็งกำไรที่ดินอาจผิดหวัง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 09/05/2017 1:17 am    Post subject: Reply with quote

รับเหมาสายสีแดงป่วนไม่เลิก ติดรื้อท่อก๊าซขอชดเชยพันล้าน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
08 พฤษภาคม 2560 เวลา 09:00:00 น.


รถไฟฟ้าสายสีแดง "บางซื่อ-รังสิต" ป่วนไม่เลิก สองยักษ์รับเหมา "ยูนิค-อิตาเลียนไทย" ขอขยายเวลา 1-3 ปี พร้อมค่าชดเชย 1 พันล้าน ติดรื้อท่อก๊าซ ผู้บุกรุก หวั่นกระทบแผนเปิดใช้ปีཻ การรถไฟฯผนึก วสท.คลอด 10 กฎเหล็กคุมมาตรฐานความปลอดภัย แก้ปัญหาอุบัติเหตุซ้ำซาก

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่าในวันที่ 19 พ.ค. 2560 จะเสนอให้คณะอนุกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฯพิจารณาการขยายเวลาก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วง บางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กม. หลังผู้รับเหมาก่อสร้างทั้ง 2 สัญญาขอขยายเวลาและค่าชดเชย เป็นวงเงินกว่า 1,000 ล้านบาท

ยูนิคฯ-ITD ขอต่อเวลาเพิ่ม

แยกเป็นสัญญาที่ 1 งานสถานีกลางบางซื่อ อาคารซ่อมบำรุงและสถานีจตุจักรของกลุ่มกิจการร่วมค้าเอสยู ประกอบด้วย บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ได้ขอขยายเวลาออกไปอีก 3 ปี พร้อมค่าชดเชย 700 ล้านบาท จากเดิมสิ้นสุดเดือน ก.พ. 2560 เป็นเดือน ก.พ. 2563 เนื่องจากติดรื้อย้ายท่อขนส่งน้ำมันของ บจ.ขนส่งน้ำมันทางท่อ (FPT) ปัจจุบันงานก่อสร้างคืบหน้ากว่า 60% ยังล่าช้าจากแผนงานอยู่ 40%

ส่วนสัญญาที่ 2 งานทางวิ่งรถไฟยกระดับ และระดับดิน พร้อมอาคารสถานี 6 สถานี ได้แก่ บางเขน ทุ่งสองห้อง หลักสี่ การเคหะฯ ดอนเมือง และรังสิต มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้ก่อสร้าง ขอขยายเวลาออกไปอีก 1 ปี พร้อมค่าชดเชยประมาณ 300 ล้านบาท จากเดิมสิ้นสุดเดือน ก.พ. 2560 เป็นเดือน ก.พ. 2561 เนื่องจากติดปัญหารื้อย้ายผู้บุกรุก ปัจจุบันงานก่อสร้างคืบหน้ากว่า 80% ล่าช้าจากแผนงานประมาณ 20%

"หลังอนุบอร์ดเห็นชอบแล้วจะเสนอให้บอร์ดใหญ่พิจารณา คาดว่าไม่เกินสิ้นเดือน พ.ค.นี้ ซึ่งการขยายเวลาครั้งนี้เกิดจากการส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมาไม่ทัน แต่ทั้งโครงการจะต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จปี 2562 และเปิดใช้บริการปี 2563" แหล่งข่าวกล่าวและว่า

ออกกฎ 10 ข้อคาดโทษรับเหมา

อย่างไรก็ตาม จากกรณีของอิตาเลียนไทย ที่เกิดอุบัติเหตุเครนก่อสร้างตกลงมาจนทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 รายนั้น ปัจจุบันได้สั่งให้บริษัททำมาตรการด้านความปลอดภัยตามข้อเสนอแนะของสมาคม วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) จำนวน 10 ข้อ ให้การรถไฟฯพิจารณาเพิ่มเติม ได้แก่

1.เพื่อความแข็งแรงของการยึดชุดล้อเลื่อน คานเหล็ก และขายึด ให้ติดกับเสาตอม่อให้แข็งแรงขึ้น ให้สามารถรับแรงแนวราบทั้งเดินหน้าและถอยหลังได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของน้ำหนักโครงเหล็ก ด้วยวิธีที่เหมาะสม
2.ติดตั้ง Limit Switch เพื่อจำกัดแรงดันและแรงดึงที่ควบคุมการเดินหน้าและถอยหลัง
3.อบรมพนักงาน ช่างเทคนิค และคนงานที่ติดตั้งน้ำหนักชิ้นส่วนคอนกรีตให้เข้าใจถูกต้อง
4.จัดให้มีวิศวกรหรือช่างเทคนิค ตรวจสอบการทำงานอย่างเข้มงวด

5.ให้มีการรัดหัวเสาเหล็กโดยรอบทุกตัว
6.ในกรณีระหว่างการปฏิบัติงาน หากเครื่องจักรเกิดขัดข้องต้องหยุดทันที แล้วแจ้งต่อวิศวกร
7.กั้นพื้นที่ไม่อนุญาตให้คนทำงานอยู่บริเวณเสาตัวแรกของการยกอุปกรณ์
8.กั้นพื้นที่ไม่ให้มีรถสัญจรไปมาขณะยกแท่นเหล็ก
9.ติดตั้งวัสดุทึบป้องกันวัสดุตกหล่นจากที่สูง
10.ต้องตรวจ Launching Truss ทุกตัว

พร้อมกับลงโทษด้วยการสั่งหยุดงานก่อสร้างในส่วนที่เกี่ยวกับติดตั้งคาน ทั้งหมด จนกว่าจะปฏิบัติการตามมาตรการด้านความปลอดภัยที่กำหนด และไม่ใช่เฉพาะงานก่อสร้างของอิตาเลียนไทยยังรวมถึงงานก่อสร้างของยูนิคฯ ด้วย

"ยอมรับว่าการสั่งให้อิตาเลียนไทยหยุดงานก่อสร้าง และต้องทำมาตรการความปลอดภัยตามที่กำหนด จะส่งผลให้งานก่อสร้างล่าช้าจากแผนที่ปรับใหม่ตามที่บริษัทขอขยายเวลาไปเป็น ก.พ.ปีหน้า เพราะจะไม่ขยายเวลาให้อีกแล้ว ถือว่าเป็นการลงโทษอย่างหนึ่ง เพราะตามกฎหมายเราไม่มีอำนาจไปแบล็กลิสต์ได้ ซึ่งได้รายงานให้ไจก้าหรือองค์กรเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น ทราบแล้ว ทั้งนี้อยู่ที่นโยบายของไจก้าจะดำเนินการกับอิตาเลียนไทยอย่างไรต่อไป"

สภาวิศวกรรอสรุป

ด้าน ดร.อมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร เปิดเผยว่า จากกรณีรถไฟฟ้าสายสีแดงมีเหตุการณ์เครนถล่ม ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย สภาได้นำคณะผู้ชำนาญการพิเศษลงพื้นที่เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2560 พบว่า เป็นงานวิศวกรรมควบคุมตาม พ.ร.บ.วิศวกร 2542 ออกแบบโครงเหล็กและควบคุมงานก่อสร้างที่สถานที่ก่อสร้าง หากพบว่ากระทำผิดจะเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม และหากไม่มีวิศวกรควบคุมการก่อสร้างจะมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี

"การตรวจสอบอยู่ระหว่างรอเอกสารและประวัติการทำงานของวิศวกร คาดว่าจะได้ข้อสรุปถึงสาเหตุใน 6 เดือนนี้"

การดำเนินการจรรยาบรรณของสภาวิศวกร จะตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนโดยตั้งไว้ 4 ประเด็นคือ

1.การออกแบบยึดโครงเหล็กเหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากพบการขาดของเหล็ก PT Bar จำนวน 3 เส้น ระหว่างการเคลื่อนที่ของเครน ซึ่งเครนถูกออกแบบมาให้เคลื่อนที่ไปและกลับ หรือเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างเดียว ช่วงที่เกิดถล่ม เป็นช่วงที่มีการลดระดับมีการคำนึงถึงการเลื่อนตัว และแรงที่ต้องใช้มากกว่าปกติ ในการขยับขึ้นหรือลงหรือไม่

2.การก่อสร้างถูกต้องหรือไม่ มีการขันยึด PT Bar ให้เข้ากับหัวเสาอย่างหนาแน่นหรือไม่ ขั้นตอนการก่อสร้างถูกต้องตามที่ได้ออกแบบไว้หรือไม่

3.มีการกำหนดระบบป้องกันอื่นหรือระบบสำรองที่จะยึดโครงเหล็กไม่ให้ตกลงมา และ

4.วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นวัสดุที่ได้มาตรฐาน มีกำลังรับน้ำหนักตามที่ออกแบบหรือไม่

เพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว ได้เตรียมตั้งคณะทำงานกำหนดหลักเกณฑ์มาตรการความปลอดภัยโครงสร้างพื้นฐาน ภายใน 1 เดือน เพื่อให้ข้อเสนอแนะและขอความร่วมมือให้ทำระบบสำรอง หากระบบหลักมีปัญหา เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 09/05/2017 10:41 am    Post subject: Reply with quote

สภาวิศวกรตั้ง 4 ประเด็นเครนรถไฟฟ้าสายสีแดงถล่ม-เตรียมตั้งคณะกรรมการร่วมรัฐ-เอกชน ทำมาตรฐานก่อสร้างระบบราง
มติชน
วันที่: 5 พฤษภาคม 2560 เวลา : 13:26 น.

นายอมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร เปิดเผยว่า จากกรณีเกิดอุบัติเหตุเครนก่อสร้างโครงสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงถล่มระหว่างการก่อสร้าง ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 รายนั้น ความคืบหน้าในส่วนของสภาวิศวกรหลังจากลงพื้นที่นำผู้ชำนาญการพิเศษลงตรวจสอบร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทยแล้ว และพบว่าเหตุการณ์วิบัติที่เกิดขึ้นมาจากฐานรองรับเครนที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างตัวเครนและโครงสร้างเสาคอนกรีต ทางคณะผู้เชี่ยวชาญตรวจพบว่ามีการขาดของเหล็กยึดที่เรียกว่า PT bar จำนวน 3 เส้น

อย่างไรก็ตาม ในประเด็นว่าเหล็กยึดหลุดได้อย่างไรนั้นได้วางกรอบไว้ 5 ประเด็น คือ
1.การออกแบบการยึดโครงเหล็กเข้ากับหัวเสาถูกต้องหรือไม่
2.การก่อสร้างถูกต้องหรือไม่
3.มีการกำหนดระบบป้องกันกรณีอื่นเมื่อ PT bar ขาดหรือไม่ คือระบบสำรองที่จะยึดโครงเหล็กไว้ไม่ให้ร่วงลงมา ซึ่งในทีโออาร์ไม่ได้มีเขียนไว้
4.วัสดุเช่น PT bar ได้มาตรฐานและมีกำลังรับน้ำหนักตามที่ออกแบบหรือไม่

ซึ่งทางสภาฯยังไม่ตัดประเด็นใดประเด็นหนึ่งออกไป และยังต้องรอเอกสารรายชื่อวิศวะกร จากนั้นจะตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนเข้ามาสอบส่วนสาเหตุที่เกิดขึ้น โดยจะเรียกวิศวกรที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลและดำเนินการทางจรรยาบรรณต่อไป หากพบว่าวิศวกรไม่ปฏิบัติตามหลักจะมีบทลงโทษขั้นสูงสุดคือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม และหากไม่มีวิศวกรคุมการก่อสร้างก็จะถือว่าเป็นความผิดตาม พรบ. วิศวกร 2542 ที่มีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ขั้นตอนทั้งหมดจะได้ข้อสรุปภายใน 6 เดือน

“เรื่องนี้ไม่สามารถตอบด้วยตาเปล่าได้ว่าเกิดจากสาเหตุใด หากเป็นเรื่องของความประมาทก็ต้องดำเนินการต่อตามขั้นตอน แต่หากเป็นเรื่องของระบบก็ถือว่าอันตรายก็ต้องเช็คให้รอบคอบว่าจะแก้ไขหรือป้องกันอย่างไร หากจะถามถึงระบบ Fail save ซึ่งเป็นระบบป้องกันนั้น โดยปกติโครงการเช่นนี้จะเน้นความรวดเร็ว การจะมีระบบเพื่อมารองรับจะทำให้การก่อสร้างช้าออกไป แต่ความปลอดภัยต้องมาก่อนก็จำเป็นต้องทำเพราะเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นมาหลายครั้งและในอนาคตประเทศไทยยังมีโครงการเช่นนี้อีก จึงเป็นสิ่งที่สภาต้องเรียกร้องว่าเราอยากเห็นระบบป้องกันสำรองเพื่อให้เกิดความปลอดภัย คือ งานสะดุดได้แต่ต้องปลอดภัย”นายอมรกล่าว

ทั้งนี้ เพื่อให้การก่อสร้างระบบรางที่เกิดขึ้นในอนาคตเป็นไปอย่างปลอดภัยได้มาตรฐาน ภายในเดือนพฤษภาคมนี้จะตั้งคณะทำงานกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการความปลอดภัยในการก่อสร้างโครงสร้างระบบราง มีคณะกรรมการเฉพาะกิจประมาณ 20 ราย ประกอบด้วยตัวแทนจากสภาวิศวกร เอกชนที่เกี่ยวข้องประมาณ 7-8 บริษัท เช่น ผู้รับเหมา ที่ปรึกษาโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานติดตั้งในงานก่อสร้างระบบขนส่งทางราง และภาครัฐ โดยให้แต่ละบริษัทเอกชนมาชี้แจงระบบที่ใช้ และให้บริษัทอื่นรวมทั้งหน่วยงานกลางร่วมวิพากษ์จุดอ่อน เพื่อกำหนดเป็นหลักเกณฑ์แนวปฏิบัติ เพิ่มความปลอดภัยทั้งการก่อสร้างทางเทคนิค การวิเคราะห์ความปลอดภัยของงาน จากนั้นจะนำข้อเสนอแนะเสนอต่อภาครัฐ และคณะรัฐมนตรี(ครม.) ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะนำไปเป็นแนวทางในการก่อสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานในงานระบบรางของรัฐต่อไป

//------------------------------------------------------

สภาวิศวกรคาดใช้เวลา 6 เดือนสรุปเครนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงถล่ม
มติชน
วันที่: 6 พฤษภาคม 2560 เวลา: 20:55 น.

นายอมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร กล่าวถึงกรณีการตรวจสอบสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุเครนก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงถล่มระหว่างการทำงานว่า หลังจากที่ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พบว่าเหล็กยึดหรือ (พีที บาร์) หลุดตรงฐานรองรับเครนที่จุดเชื่อมต่อระหว่างตัวเครนและโครงสร้างเสาคอนกรีต เบื้องต้นได้วางกรอบไว้ 4 ประเด็น ได้แก่
1.การออกแบบการยึดโครงเหล็กเข้ากับหัวเสาถูกต้องหรือไม่
2.การก่อสร้างถูกต้องหรือไม่
3.มีการกำหนดระบบป้องกันกรณีอื่น เมื่อพีที บาร์ขาดหรือไม่
4.วัสดุก่อสร้างได้มาตรฐานและมีกำลังรับน้ำหนักตามการออกแบบหรือไม่

“ขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากจะต้องเรียกตรวจเอกสารเพิ่ม การเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาตรวจเพิ่ม การตรวจสอบว่าในวันดังกล่าวมีการขอทำงานหรือไม่ (เวิร์ค รีเควส) การหารากสาเหตุที่แท้จริง (รูทคอร์ส) รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ ที่ยังไม่ถูกเปิดเผย ซึ่งต้องยอมรับว่ากระบวนการตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุจะต้องใช้เวลาพอสมควร เนื่องจากโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีความซ้ำซ้อน เบื้องต้นคาดว่าจะใช้เวลาเร็วที่สุดอย่างน้อย 6 เดือน จึงจะได้ข้อสรุป” นายอมรกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 14/05/2017 11:13 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.แจงมาตรการล้อมคอก เหตุเครนสายสีแดงร่วง
โดย MGR Online
13 พฤษภาคม 2560 08:56 น. (แก้ไขล่าสุด 13 พฤษภาคม 2560 20:14 น.)
รฟท. สั่งอัพเซฟตี้ เขตก่อสร้างรถไฟฟ้า
ข่าวทั่วไป
คมชัดลึก
13 พฤษภาคม 2560

"การรถไฟฯ วางกฎ 10 ข้อป้องกันเครนก่อสร้างรถไฟฟ้าหล่นเรื่อง
โดย Nation TV | ภาพโดย Nation TV
13 พฤษภาคม 2560 08:37 น.

ร.ฟ.ท.แจงมาตรการดูแลความปลอดภัยระหว่างก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง หลังเหตุฐานเครนร่วงหน้าวัดดอนเมือง พร้อมหารือผู้รับเหมา ที่ปรึกษาคุมงาน และผู้เชี่ยวชาญกำหนดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อความรัดกุมและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนด้วย

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แจ้งว่า ตามที่เกิดอุบัติเหตุโครงสร้าง Front Support ของ Launching truss ร่วงหล่นลงมาบริเวณด้านหน้าวัดดอนเมืองเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 รายซึ่งเป็นคนงานของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต ต่อมาเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2560 ทางวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบอุบัติเหตุดังกล่าวและได้ตั้งข้อสันนิษฐานถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุดังกล่าวตามที่ วสท.ได้ชี้แจงทางสื่อ Social network และแจ้งให้โครงการฯ ผู้รับจ้างบริษัท อิตาเลียนไทยฯนำชิ้นส่วนเหล็ก PT Bar ไปทดสอบการวิเคราะห์ชิ้นงานแบบทำลายของเหล็ก PT Bar ด้วยวิธีการ Microstructure Test

โดยผู้รับจ้างบริษัท อิตาเลียนไทยฯ ที่ปรึกษาควบคุมงาน CSC และการรถไฟฯ พร้อมด้วยพนักงานสอบสวน สน.ดอนเมือง นำชิ้นส่วนเหล็ก PT Bar ในที่เกิดเหตุนำไปทดสอบที่สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (วว.) เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2560 โดยทางสถาบันฯ แจ้งว่าต้องใช้เวลาทดสอบประมาณ 2 เดือนจึงจะทราบผล จากนั้นโครงการฯ จะนำผลการทดสอบดังกล่าวนำส่งให้ เป็นทางการเพื่อประกอบการวิเคราะห์ความสอดคล้องตามข้อสันนิษฐานทางวิศวกรรมเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงต่อไป

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2560 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยจัดการแถลงข่าวกรณีเครนก่อสร้างรถไฟฟ้าล้ม พร้อมทั้งร่วมหารือถึงสาเหตุ และดำเนินการจัดหามาตรการป้องกันเพื่อความปลอดภัยของประชาชน โดยมีหน่วยงานเข้าร่วมแถลงข่าว ประกอบด้วย กระทรวงแรงงาน สถานบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์กรมหาชน) และการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยร่วมกับผู้เกี่ยวข้องในโครงการก่อสร้าง ได้เสนอมาตรการความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างรถไฟฟ้า ดังนี้



1. เพิ่มความแข็งแรงของการยึด ชุดล้อเลื่อน คานเหล็ก และขายึด ให้ติดกับเสาตอม่อให้แข็งแรงขึ้น ให้สามารถรับน้ำหนักแนวราบในทางเดินหน้า และถอยหลังไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของน้ำหนัก (โครงเหล็ก 360 ตัน) และไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของน้ำหนัก โครงเหล็ก และน้ำหนักชิ้นส่วนคานคอนกรีต 129 ตัน ด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่นเพิ่มคานเหล็กและ PT Bar รัดขาเหล็กติดกับเสาโดยมี Safety factor ที่เหมาะสม

2. ติดตั้ง limit switch เพื่อจำกัด แรงดัน และแรงดึงที่ควบคุมการ เดินหน้า และถอยหลัง โครงเหล็ก ให้มีค่าแรงไม่เกิน แรงที่ใช้ออกแบบ

3. จัดอบรมพนักงาน ช่างเทคนิคและคนงานที่ทำการติดตั้งโครงสร้างชิ้นส่วนคานคอนกรีตที่มีน้ำหนัก ให้มีเข้าใจขั้นตอนที่ถูกต้อง และขีดจำกัดของอุปกรณ์

4. จัดให้มีวิศวกรหรือช่างเทคนิค ให้มีหน้าที่ตรวจสอบขั้นตอนการทำงานอย่างเข้มงวด หากพบการทำงานผิดขั้นตอนหรือลัดขั้นตอนให้ถือว่า พนักงานหรือคนงานจงใจกระทำผิดเพื่อเป็นการบ่อนทำลายให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานก่อสร้าง ความผิดเทียบเท่าการกระทำผิดวินัยขั้นร้ายแรง ให้ลงโทษขั้นสูงสุด

5. ให้มีการรัดหัวเสาเหล็กโดยรอบทุกตัว

6. ในกรณีที่เกิดความขัดข้องเครื่องจักรอุปกรณ์ระหว่างปฏิบัติงานต้องหยุดดำเนินการทันที และให้แจ้งวิศวกรควบคุมและหัวหน้าโครงการทันที

7. กั้นพื้นที่ไม่อนุญาตให้คนทำงานอยู่บริเวณเสาตัวแรกของการยกอุปกรณ์

8. กั้นพื้นที่ไม่อนุญาตให้รถผ่านไปมาระหว่างการยกแท่งเหล็ก

9. ติดตั้งวัสดุทึบป้องกันวัสดุตกหล่นจากที่สูง

10. ต้องทำการตรวจ Launching truss ทุกตัว

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2560 ได้มีการประชุมหารือภายในของผู้เกี่ยวข้องในโครงการทุกฝ่าย อาทิ การรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยที่ปรึกษาบริหารโครงการที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง บริษัท อิตาเลียนไทยฯ และผู้รับจ้าง ได้มีการหารือถึงมาตรการการป้องกันในการทำงานเพิ่มเติมนอกเหนือจากมาตรการของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำรายงานฉบับเต็มของที่ปรึกษาควบคุมงาน (CSC) และบริษัท อิตาเลียนไทยฯ เพื่อที่การรถไฟฯ และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยจะได้ประมวลมาตรการต่างๆ เพื่อกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานให้เกิดความรัดกุมและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนโดยจะนำมาตรการไปใช้เป็นมาตรฐานในการกำกับดูแลโครงการอื่นๆ ของการรถไฟฯ ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 17/05/2017 10:58 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีแดงเชื่อมต่อกะ สถานีรถไฟใต้ดินสายสีน้ำเงินที่บางซื่อจริงๆ นะครับ
https://www.facebook.com/RenderThailand/posts/1834104860183068
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 18/05/2017 4:35 pm    Post subject: Reply with quote

รมว.คมนาคม เผยไจก้าห่วงสายสีแดงล่าช้าหลังเกิดอุบัติเหตุทำให้ต้องหยุดก่อสร้างชั่วคราว

ข่าวทั่วไป สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม 2560 15:28:09 น.
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เผยคณะผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) แสดงความเป็นห่วงกรณีเกิดอุบัติเหตุเครนก่อสร้างโครงการรถไฟสายสีแดงหล่นที่หน้าวัดดอนเมือง โดยได้เห็นชอบมาตรการรักษาความปลอดภัยระหว่างการก่อสร้างที่ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) นำเสนอ พร้อมกำชับให้นำไปปฎิบัติอย่างเข้มข้น


นอกจากนี้ ได้มีตั้งคณะกรรมการร่วมที่มีอำนาจสั่งการกรณีเกิดปัญหาหรือคาดว่าจะเกิดปัญหาในระหว่างก่อสร้าง เพื่อเป็นการอุดช่องว่างในการกำกับดูแลระหว่าง ร.ฟ.ท.ในฐานะเจ้าของโครงการกับผู้รับเหมา แม้ว่า ร.ฟ.ท.จะว่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง (CSC) กำกับดูแลการก่อสร้างแล้วก็ตาม แต่อาจจะมีบางเรื่องที่ต้องตัดสินใจอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะการให้หยุดการก่อสร้างชั่วคราวเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

สำหรับคณะกรรมการร่วมฯ ประกอบด้วย ผู้บริหาร ร.ฟ.ท.ระดับรองผู้ว่าการฯ หรือวิศวกรใหญ่ที่ได้รับมอบหมาย, ที่ปรึกษาควบคุมงาน, บริษัทผู้รับเหมา โดยการตัดสินใจจะใช้เกณฑ์ด้านเทคนิคและวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการก่อสร้างที่มีความปลอดภัย ซึ่งจะมีการติดตามการทำงานตลอดเวลา

เนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุระหว่างก่อสร้างสายสีแดงจนต้องสั่งให้ต้องหยุดการก่อสร้างชั่วคราวในจุดที่เป็นปัญหา ส่งผลกระทบทำให้โครงการล่าช้า จากก่อนหน้านี้โครงการได้ล่าช้ามาแล้วจากการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน ดังนั้นกรณีที่จะมีการขยายเวลาก่อสร้างออกไปจะต้องพิจารณาตามความเหมาะสม หรือกรณีจะเร่งรัดจะต้องดูว่ามีผลกระทบต่อความปลอดภัยและคุณภาพของงานหรือไม่

//-------------------
คมนาคม เล็งตั้งบอร์ดความปลอดภัย
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยโพสต์
พฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม 2560 - 15:25


18พ.ค.60 - นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่าองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ ไจก้า มีความห่วงเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยระหว่างการก่อสร้างโครงการ รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต หลังจากเกิดอุบัติเหตุเครมก่อสร้างหล่นทับคนงานเสียชีวิต 3 ราย ดังนั้นกระทรวงคมนาคมจึงเตรียมเสนอแผนการรักษาความปลอดภัยระหว่างการก่อสร้าง โดยจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยขึ้นมาเป็นฝ่ายตรวจสอบการก่อสร้างโครงการ

สำหรับสมาชิกในคณะทำงานดังกล่าวนั้น จะมาจากภาครัฐบาล ,การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) , บริษัทที่ปรึกษาและตัวผู้รับเหมา ซึ่งคณะทำงานดังกล่าวจะพิจารณาตัดสินใจอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ดำเนินงานก่อสร้างแต่ละขั้นตอนด้วยความระมัดระวัง เพื่อควบคุมการทำงานของผู้รับเหมา

"คณะทำงานที่จัดตั้งขึ้นนั้น จะเข้าไปกำกับการทำงานของบริษัทที่ปรึกษาคุมงาน และช่วยอุดช่องว่างการทำงานระหว่างที่ปรึกษาคุมงาน กับเจ้าของโครงการได้ นอกจากนี้ยังมีอำนาจการสั่งให้หยุดงานก่อสร้างชั่วคราว กรณีที่เห็นว่าอาจจะเกิดปัญหาหากปล่อยให้มีการทำงานต่อไป หรือให้หยุดงานเพื่อรอแก้ไขปัญหาที่เกิดจากงานก่อสร้าง "นายอาคมกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 19/05/2017 10:30 am    Post subject: Reply with quote

"ไจก้า"ห่วงรถไฟฟ้าสีแดงสายมรณะ
เดลินิวส์
ศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2560 เวลา 10.04 น.
ไจก้า” เกาะติดสร้างรถไฟฟ้าสีแดง
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
ศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2560 เวลา 05:50

ไจก้า ถกคมนาคม ห่วงความปลอดภัยการก่อสร้างหลังเครนรถไฟสายสีแดงล้มทับคนงาน เห็นชอบตั้งคณะทำงานร่วมฯ ตรวจสอบการทำงานตลอดเวลา เตรียมขยายเวลาการก่อสร้างให้ผู้รับเหมาออกไปอีก


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังคณะผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือไจก้า เข้าพบว่า ได้หารือถึงอุบัติเหตุเครนก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง(บางซื่อ-รังสิต) ที่บริเวณสถานีดอนเมืองล้มทับคนงานจนทำให้มีผู้เสียชีวิต 2ราย เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการที่ใช้เงินกู้จากไจก้า ซึ่งไจก้าได้แสดงความเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยในการก่อสร้าง โดยเน้นย้ำให้คำนึงถึงเรื่องนี้ให้มากที่สุด การหารือครั้งนี้ ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้เสนอแผนมาตรการในการดูแลความปลอดภัยระหว่างการก่อสร้างให้ไจก้าได้พิจารณา ซึ่งทางไจก้าเห็นชอบ และกำชับว่าควรต้องปฏิบัติตามมาตรการดูแลความปลอดภัยดังกล่าวอย่างจริงจังด้วย

นายอาคม กล่าวต่อว่า สำหรับแผนมาตรการฯ ดังกล่าว ได้กำหนดให้ตั้งคณะกรรมการร่วมที่มีอำนาจในการสั่งการให้หยุดงานชั่วขณะระหว่างการแก้ไขปัญหา หรือว่าช่วงที่คาดว่าจะมีปัญหาได้ทันที สำหรับคณะกรรมการชุดดังกล่าว ประกอบด้วย ผู้แทนจาก รฟท. ในระดับผู้บริหาร เช่น รองผู้ว่า รฟท. วิศวกรใหญ่ ที่ปรึกษาคุมงาน และผู้แทนทางบริษัทผู้รับเหมา โดยทำหน้าที่คอยดูแล และตรวจสอบการทำงานของผู้รับเหมา และที่ปรึกษาคุมงานอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา มีอำนาจสั่งการต่างๆ ให้หยุดงานได้ทันที โดยพิจารณาจากเกณฑ์เทคนิคทางด้านวิศวกรรม เช่น เมื่อพบว่าคานก่อสร้างมีอาการติดขัด ก็ต้องสั่งหยุดงานทันที ไม่ใช่ปล่อยให้คนงานเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะขยับเองหรือไม่ อย่างไรก็ตามขณะนี้ได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมฯ แล้ว แต่ระหว่างนี้บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือไอทีดี ยังไม่สามารถเริ่มงานก่อสร้างต่อได้ ต้องรอผลการตรวจสอบจากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ก่อน

นายอาคม กล่าวด้วยว่า ยอมรับว่าขณะนี้โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) มีความล่าช้า มาตั้งแต่แรกแล้ว เนื่องจากเส้นทางการก่อสร้างเป็นเส้นทางที่มีโครงสร้างพื้นฐานอยู่ใต้ดินค่อนข้างมาก จึงต้องใช้เวลาในการจัดการพื้นที่ค่อนข้างมาก อีกทั้งเมื่อมีการเกิดอุบัติเหตุ และสั่งให้หยุดงานการก่อสร้างไปก่อน ก็ยิ่งทำให้ล่าช้าออกไปอีก โดยทางไจก้าเป็นห่วงเรื่องนี้เช่นกัน ดังนั้นคงต้องหารือร่วมกันเพื่อปรับแผนและกรอบเวลาการทำงานใหม่ จากนั้นจะยื่นแผนให้ไจก้าทราบว่าโครงการนี้จะขยายเวลาการก่อสร้างออกไปอีกระยะ แต่จะเป็นเท่าใดนั้นขอดูแผนงานทางด้านวิศวกรรมก่อน

นายอาคม กล่าวต่อว่า ต้องขยายเวลาการก่อสร้างให้กับไอทีดี เพราะความล่าช้าเกิดจากเราเป็นคนสั่งให้ไอทีดีหยุดงานไว้ชั่วคราวด้วย ซึ่งถ้าไม่สั่งให้หยุดงาน ทางไอทีดีก็คงทำงานต่อเลย แต่เราไม่มั่นใจเรื่องความปลอดภัย จึงให้ทำต่อไปไม่ได้ ยืนยันว่ากระทรวงคมนาคมยึดความปลอดภัยเป็นหลัก หากเร่งรัดและปล่อยให้ทำงานต่อไปแบบไม่มีคุณภาพก็ไม่เกิดประโยชน์ ทั้งนี้แต่เดิมมีแผนเปิดให้บริการภายในปี 63
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 23/05/2017 11:05 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ใส่เกียร์ห้ารถไฟฟ้าสีแดง
เศรษฐกิจ
สำนักข่าวไทย
23 พฤษภาคม 2560 เวลา 12:10:35

กรุงเทพฯ 23 พ.ค. - รฟท.ใส่เกียร์ห้าเร่งก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต คืบหน้ากว่าร้อยละ 25 เปิดให้บริการ มิ.ย.63



นายประเสริฐ อัตตะนันทน์ รองผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดผยถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ว่า ขณะนี้สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อคืบหน้าประมาณร้อยละ 52 ขณะที่สัญญา 2 งานก่อสร้างระบบรางสถานีบางซื่อ-รังสิต คืบหน้าประมาณร้อยละ 85 ส่วนสัญญาที่ 3 งานก่อสร้างระบบอาณัติสัญญาณและรถไฟฟ้าประมาณร้อยละ 10 ภาพรวมโครงการล่าช้ากว่าแผนมาจากสัญญา 3 ติดปัญหาข้อกฎหมายจากการประมูลทำให้ล่าช้า 2 ปี ดังนั้น ภาพรวมคืบหน้าเฉลี่ยทั้ง 3 สัญญาจะอยู่ที่กว่าร้อยละ 25 หลังจากเคลียร์ปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดินบางจุดได้แล้ว หลังจากนี้จะเร่งก่อสร้างและมั่นใจว่างานจะเสร็จพร้อมเปิดให้บริการเดือนมิถุนายน 2563 ก่อนถึงกำหนดดังกล่าวจะเดินรถทดสอบระบบ 5-6 เดือน

สำหรับปัญหาความปลอดภัยระหว่างการก่อสร้างนั้น หลังจากมีแนวทางชัดเจนว่าจะมีคณะกรรมการสามารถสั่งหยุดการก่อสร้าง หากพบข้อบกพร่องที่ไม่ปลอดภัย รวมทั้งองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) จะทำแผนคู่มือปฏิบัติด้านความปลอดภัยมาให้ เชื่อว่าปัญหาความปลอดภัยระหว่างการก่อสร้างจะลดลง ส่วนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ในพื้นที่ย่านพหลโยธิน ในอนาคตมั่นใจว่าจะสามารถพัฒนาพื้นที่ทำให้เกิดรายได้ โดย รฟท.จัดทำแผนแยกเป็นโซนเปิดพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั้งย่านศูนย์การค้าและย่านธุรกิจจะช่วยให้พื้นที่พหลฯ สร้างรายได้ให้แก่ รฟท. โดยสถานีกลางบางซื่อจะเป็นพื้นที่สถานีรองรับรถไฟทุกระบบ ชั้นใต้ดินจะเป็นพื้นที่จอดรถ, ชั้นที่ 1 ขึ้นมาจำจำหน่ายตั๋ว, ชั้น 2 ชานชาลาของระบบรถไฟเส้นทางจากทุกภูมิภาค และชั้น 3 เป็นพื้นที่ชานชาลาของรถไฟความเร็วสูง รวมทั้งในอนาคตจะมีการก่อสร้างสำนักงานใหญ่ในพื้นที่ รวมถึงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางเบาหรือโมโนเรลวิ่งรอบพื้นที่พหลฯ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง.-สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 05/06/2017 9:29 am    Post subject: Reply with quote

จ่อชงสายสีแดง"บางซื่อ-มธ.รังสิตและศาลายา”วงเงิน 2.66หมื่นล.ร.ฟ.ท.ตั้งบ.ลูกเดินรถ
โดย MGR Online
5 มิถุนายน 2560 06:36 น.

สนข.สรุปแผนก่อสร้างรถไฟสายสีแดงต่อขยาย แดงเข้ม“รังสิต-มธ.รังสิต” และแดงอ่อน”ตลิ่งชัน-ศิริราช และตลิ่งชัน-ศาลายา”วงเงินรวมกว่า 2.66 หมื่นล. เสนอคมนาคม ด้านร.ฟ.ท.ยันตั้งบริษัทลูกเดินรถเอง ต่อจากสายสีแดง “บางซื่อ-รังสิต” คาดสัญญา 3 สั่งซื้อรถเพิ่มได้ "พิชิต"สั่งร.ฟ.ท.วิเคราะห์ตัวเลขผลตอบแทนที่ขัดเจน ใน1 เดือน เร่งชงคนร.ตัดสินได้ใน ก.ค.

แหล่งข่าวจาก กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ภายในต้นเดือนมิ.ย.นี้ ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะสรุปแผนงานโครงการรถไฟชานเมือง 2 เส้นทาง วงเงินรวม 26,639.07 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในแผนโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ตามแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ด้านคมนาคมขนส่ง พ.ศ. 2560 เสนอต่อกระทรวงคมนาคม ได้แก่ สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต วงเงิน7,596.94 ล้านบาท ,สายสีแดงอ่อน ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 19,042.13 ล้านบาท ซึ่งทั้งสองโครงการได้ออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว และผลศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ได้รับอนุมัติแล้ว

โดยในส่วนของการเดินรถนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้เสนอขอเดินรถสายสีแดงเองตั้งแต่ ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต ซึ่งอยู่ระหว่างเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ด ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเพื่อยืนยันแผน ซึ่งร.ฟ.ท.จะจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาดำเนินการ โดยสัญญา 3 สายสีแดงนั้น คาดว่า จะมีเงื่อนไขที่ร.ฟ.ท.จะสามารถจัดซื้อรถเพิ่มได้ ในราคาเดิม กรณีที่ต้องเดินรถต่อขยายจากรังสิต-มธ.รังสิต และตลิ่งชัน-ศิริราช,ศาลายาด้วย

นายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้เร่งรัดให้ร.ฟ.ท. สรุปรายละเอียด วิเคระห์ตัวเลข ( Feasibility Study ) ในการเดินรถสายสีแดงเอง ซึ่งจะมีการจัดตั้งบริษัทภายใต้การกำกับของ รฟท. เพื่อบริหารโครงการรถไฟสายสีแดง พร้อมทั้งแผนเพิ่มรายได้จากการบริหารทรัพย์สินที่ไม่ใช่จากการเดินรถให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น อย่างน้อย 5% เพื่อลดปัญหาการขาดทุนขององค์กรเสนอภายในเดือนมิ.ย.นี้ เพื่อเร่งจัดทำแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนเสนอ คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ในการประชุมเดือนก.ค.ต่อไป

รายงานข่าวแจ้งว่า ตามขั้นตอนเมื่อการเดินรถชัดเจน ยะทยอยเสนอรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย ต่อเสนอคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ด) สศช. ตามขั้นตอนก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติต่อไป

สำหรับ สัญญา 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน)นั้น ร.ฟ.ท.ได้ลงนามกับกิจการร่วมค้า MHSC (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัท Sumitomo Corporation) ให้เป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างรางรถไฟ,ระบบไฟฟ้าและส่งกำลัง, ระบบอาณัติสัญญาณ, ระบบติดต่อสื่อสาร,ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ และตู้รถโดยสาร มูลค่าสัญญา 32,399.99 ล้านบาท เริ่มงานเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2559 ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (48 เดือน) ประมาณต้นปี 2563

โดยจัดหารถจำนวน 130 ตู้ โดยตามผลศึกษา จะจัดรถออกเป็น 2 ชุด ประกอบด้วย 1.ขบวนละ 4 ตู้ จำนวน 10 ขบวน วิ่งให้บริการช่วงบางซื่อ-รังสิต (รวม40ตู้) 2. ขบวนละ 6 ตู้ จำนวน 7 ขบวน ให้บริการช่วงบางซื่อ-รังสิต และอีก 8 ขบวนให้บริการ ช่วง บางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยอาจจะมีการปรับใหม่อีกครั้งเพื่อให้เหมาะสมกับการจัดความถี่ในการเดินรถ ซึ่งโดยคาดว่าในปีที่เกิดให้บริการสายสีแดงจะมีผู้โดยสารประมาณ 129,000 คน/วัน/ทิศทาง และเพิ่มขึ้นเป็น 230,000 คน/วัน/ทิศทางในปี 2585
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 07/06/2017 1:17 am    Post subject: Reply with quote

จ่อชดเชยสายสีแดงพันล้าน
โพสต์ทูเดย์
06 มิถุนายน 2560 เวลา 08:15 น.
รฟท.เล็งขยายสัญญาสายสีแดง หลังเจอปัญหาส่งมอบพื้นที่ล่าช้า จ่อจ่ายชดเชยเอกชนพันล้าน แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารกิจการ (บอร์ด) รฟท.เตรียมพิจารณาขยายระยะเวลาการก่อสร้างระบบรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 1 และสัญญาที่ 2 พร้อมจ่ายเงินชดเชยแก่ผู้รับเหมาอีก 800-900 ล้านบาท เนื่องจากปัญหาการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า

สำหรับสัญญาที่ 1 ได้แก่ การก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า และศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟทางไกล วงเงิน 29,640 ล้านบาท ของกิจการร่วมค้าเอสยู ซึ่งติดปัญหาการรื้อย้ายท่อน้ำมันของบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ (FPT) โดยสิ้นสุดสัญญาวันที่ 10 ก.พ.ที่ผ่านมา คืบหน้า 57.31% ผู้รับเหมาขอขยายเวลาอีก 1,400 วัน พร้อมขอรับค่าชดเชยตามสัญญา 700 ล้านบาท ซึ่งเบื้องต้น รฟท.พิจารณาขยายเวลาให้ 1,021 วัน เป็นสิ้นสุดสัญญาปี 2563 และจะเสนอให้บอร์ดพิจารณาวงเงินชดเชยตามสัญญา

ขณะที่สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างทางรถไฟบางซื่อ-รังสิต 6 สถานี ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร วงเงิน 23,925 ล้านบาท ของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) มีปัญหาเรื่องพื้นที่กับชุมชนทำให้การส่งมอบพื้นที่ล่าช้า ผู้รับเหมาขอขยายระยะเวลาออกไป 365 วัน เป็นสิ้นสุดสัญญาปี 2561 และขอวงเงินชดเชยราว 100 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม การขยายเวลาสัญญาฉบับที่ 1 และ 2 ออกไปนั้น ไม่ทำให้งานภาพรวมล่าช้า เนื่องจากมีกำหนดเปิดให้บริการตามสัญญาที่ ตามสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้า เครื่องกล และจัดหาตู้รถไฟฟ้า ซึ่งสิ้นสุดในปี 2563

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รักษาการผู้ว่าการ รฟท. เปิดเผยว่า การจ่ายค่าชดเชยให้กับเอกชน ซึ่งมาจากความล่าช้าในการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างนั้น เป็นเงื่อนไขของโครงการที่ใช้เงินกู้จากต่างประเทศ ซึ่ง รฟท.ต้องจ่ายเงินชดเชยในส่วนนี้แน่นอน แต่ยังอยู่ระหว่างหาข้อสรุปเรื่องวงเงินและระยะเวลาการขยายสัญญา

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า สนข.อยู่ระหว่างปรับเส้นทางระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย ระยะทาง 38 กิโลเมตร เนื่องจากไม่ผ่านการเห็นชอบรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 48, 49, 50 ... 148, 149, 150  Next
Page 49 of 150

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©