RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181685
ทั้งหมด:13492923
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 154, 155, 156 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 26/06/2017 11:06 pm    Post subject: Reply with quote

ยอมจ่ายซื้ออนาคต! บิ๊กเนมแห่ลงทุนบูมเมืองใต้ดิน-สกายวอล์กเชื่อมรถไฟฟ้า

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 26 มิถุนายน 2560 เวลา 17:52:23 น.


"ห้าง-คอนโด-โรงแรม" ยอมจ่ายซื้ออนาคต บิ๊กเนมแห่ลงทุนบูมเมืองใต้ดิน-สกายวอล์กเชื่อมรถไฟฟ้า "เจริญ" ผุดอุโมงค์ ทางเดินลอยฟ้าทะลุสถานีสามย่าน ลุมพินี บางโพ ดึงคนเข้าโปรเจ็กยักษ์ ซีพีปั้นแลนด์มาร์กสุขุมวิท 101 -ไอคอนสยาม "บิ๊กซี" ยึดสายสีม่วง "เดอะมอลล์-ซีคอน" ปลุกสถานีบางแค-ภาษีเจริญ "เซ็นทรัล-เมเจอร์-SCB" ขอเชื่อมสายสีเขียวใหม่

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า ขณะนี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ได้มีการต่อยอดลงทุนเชื่อมโครงการระบบขนส่งมวลชนกันมากขึ้น เช่น "สามย่าน มิตรทาวน์" มิกซ์ยูสมูลค่า 8,500 ล้านบาท พัฒนาโดย บมจ.แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ย่านพระราม 4 พื้นที่ 13 ไร่ โดยเช่าที่จากสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ ที่เปิดเกมรุกเพื่อรองรับโครงการในอนาคตที่จะแล้วเสร็จปลายปี 2562

ยึด 2 สถานีสามย่าน-ลุมพินี

โดยทุ่มเงิน 300 ล้านบาท สร้างอุโมงค์ลอดใต้ ถ.พญาไท 200 เมตร เชื่อมรถไฟใต้ดินสถานีสามย่านและจามจุรีสแควร์ เพื่อสร้างเป็นจุดปลายทางแห่งใหม่ คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการกว่า 20,000-25,000 คนต่อวัน รวมถึงเป็นจุดเชื่อมการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างเมืองเก่าเยาวราชและเมืองใหม่สาทร สีลม สยามสแควร์

แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สถานีสามย่านเป็นที่ของจุฬาฯ ที่รฟม.ขอเช่า 30 ปี มูลค่า 70 ล้านบาท เพื่อสร้างสถานี และเป็นที่ราชการไม่สามารถเวนคืนที่ดินได้ โดยมีข้อตกลงหากจะพัฒนาต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าจะไม่คิดค่าตอบแทน กรณีโครงการสามย่านมิตรทาวน์ทางจุฬาฯ ทำหนังสือมาขอ และ รฟม.ไม่คิดค่าตอบแทน

"ปกติถ้าเอกชนมาขอสร้างทางเดินเชื่อมไม่ว่าสกายวอล์ก หรืออุโมงค์กับสถานี จะคิดค่าตอบแทนแห่งละ 30 ล้านบาท เวลา 15 ปี วันเซ็นสัญญาจ่าย 20% จากนั้นคิดผลตอบแทนเป็นรายปีและปรับเพิ่มปีละ 10%"

ทะลวงสถานีลุมพินี

แหล่งข่าวกล่าวว่า ล่าสุดมีเอกชนติดต่อขอสร้างเชื่อมจำนวนมาก ในส่วนของรถไฟฟ้าใต้ดินนอกจากสถานีสามย่าน บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ท ของนายเจริญ ก็ขอสร้างอุโมงค์เชื่อมสถานีลุมพินีหัว-ท้ายทะลุเข้าโครงการ "วัน แบงค็อก" ซึ่งได้สิทธิ์พัฒนาที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พื้นที่ 104 ไร่ มูลค่าโครงการ 1.2 แสนล้านบาท

"ลุมพินีต่อไปจะเป็นสถานีใหญ่เหมือนพระราม 9 ที่เซ็นทรัลเจาะอุโมงค์เชื่อมศูนย์การค้า ทำให้เดินทางสะดวกและทันสมัย ซึ่งสถานีสามย่านจะใหญ่ไม่แพ้กัน"

นอกจากนี้มี "สถานีสุขุมวิท" ฝั่งซอยคาวบอย บจ.บีแอนด์จี ขอทำทางเดินเชื่อมระดับดินเข้าอาคาร 3 ชั้น ซึ่งด้านล่างเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดิน ชั้นบนสุดเชื่อมกับบีทีเอส

สิงห์-จีแลนด์ปักธง

ขณะที่ "สถานีเพชรบุรี" บมจ. สิงห์ เอสเตท ของตระกูลภิรมย์ภักดี ขอสร้างทางเดินใต้ดินทะลุโครงการสิงห์คอมเพล็กซ์ มิกซ์ยูสมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท แยกอโศก-เพชรบุรีที่ดินสถานทูตญี่ปุ่นเดิม

"สถานีพระราม 9" หลังเซ็นทรัลขอเจาะอุโมงค์เชื่อม ล่าสุดมีโครงการ "ไนน์สแควร์ พระราม 9" ตรงข้ามฟอร์จูน ของ บมจ.แกรนด์ คาแนล แลนด์ (จีแลนด์) ขอสร้างอุโมงค์เชื่อมสถานี และ "สถานีศูนย์วัฒนธรรม" ในอนาคตจะเป็นจุดเชื่อมสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ที่ห้างเอสพลานาด ของกลุ่มสยามฟิวเจอร์ มีแผนจะสร้างทางใต้ดินเชื่อมกับสถานีเช่นกัน

ดุสิตธานีทุ่มสร้างใต้ดิน

นอกจากนี้ยังมีโครงการมิกซ์ยูส มูลค่า 36,700 ล้านบาท ของโรงแรมดุสิตธานี ที่ร่วมทุน "เซ็นทรัลพัฒนา" พัฒนาที่ดินหัวมุม ถ.สีลม-พระราม 4 ซึ่งได้สิทธิเช่าเพิ่มจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บนที่ดิน 23 ไร่ จะสร้างอุโมงค์เชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสีลมกับศูนย์การค้าใต้ดินเป็นลักษณะไลฟ์สไตล์มอลล์แบบโลว์ไรส์ 2-3 ชั้น อยู่ชั้นใต้ดิน 2 ชั้น ที่จอดรถอีก 2 ชั้น

ห้างชานเมืองแห่ต่อเชื่อม

แหล่งข่าวจากรฟม.กล่าวอีกว่า รถไฟฟ้าสายสีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่) กลุ่มเซ็นทรัลได้ขอทำทางเชื่อมที่สถานีตลาดบางใหญ่เข้าศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา เวสต์เกต กับเซ็นทรัล พลาซา รัตนาธิเบศร์ เชื่อมสถานีแยกนนทบุรี 1 ส่วนบิ๊กซีขอเชื่อมสถานีตลาดบางใหญ่กับสถานีบางกระสอ แต่โรงแรมริชมอนด์ที่จะเชื่อมสถานีบางกระสอขอชะลอไว้ก่อน

"สายสีน้ำเงินต่อขยาย" บางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค กลุ่มเดอะมอลล์บางแค และศูนย์การค้าซีคอน บางแค ขอทำทางเชื่อมเข้าห้างแล้ว เช่นเดียวกับสถานีบางโพ- สถานีเตาปูนที่ศูนย์การค้าเกตเวย์ บางโพของนายเจริญก็ขอสร้างทางเชื่อมเช่นกัน



สายสีเขียวคึกคัก

ขณะที่"สายสีเขียว"แบริ่ง-สำโรง" มีเทศบาลสมุทรปราการขอสร้างทางเดินเชื่อมสถานีสมุทรปราการกับหอชมเมือง มีร้านค้าOTOP อยู่บริเวณทางเดินด้วย

นอกจากนี้มี "ศูนย์การค้าโรบินสัน สมุทรปราการ" ขอเชื่อมห้างกับสถานีแพรกษา และคอนโดมิเนียม "โมโทรโพลิส" จะสร้างทางเชื่อมกับสถานีสำโรง อนาคตจะเป็นจุดเชื่อมต่อกับสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)"สายสีเขียว"หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าวขอสร้างทางเดินเชื่อมกับสถานีห้าแยกลาดพร้าว กลุ่มเมเจอร์และธนาคารไทยพาณิชย์ขอสร้างทางเชื่อมกับสถานีรัชโยธิน และตลาดยิ่งเจริญของตระกูล "ธรรมวัฒนะ" ขอสร้างทางเชื่อมกับสถานีสะพานใหม่

แห่เชื่อม BTS ไม่หยุด

สำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอส แม้จะเปิดมาร่วม 17 ปี ขณะนี้ยังมีกลุ่มผู้ประกอบการขอสร้างทางเดินลอยฟ้าเชื่อมกับสถานีตามแนวเส้นทางไม่ขาดสาย

แหล่งข่าวจากบมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันมีขอสร้างทางเดิน (สกายวอล์ก) 3-4 สถานี ได้แก่ สถานีหมอชิต บีทีเอสลงทุนกว่า 200 ล้านบาท สร้างทางเชื่อมเกาะใต้โครงสร้างรถไฟฟ้าขนานไปกับเกาะกลาง ถ.พหลโยธิน เชื่อมสถานีหมอชิตถึงซอยพหลโยธิน18 เข้ามอลล์ในโครงการเดอะไลน์ หมอชิต-จตุจักร ระยะทาง 480 เมตร ล่าสุดเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาแล้ว จะแล้วเสร็จต้นปี 2561 อนาคตจะสร้างต่อไปยังธนาคารทหารไทย

และมีสถานีชิดลมที่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ขอเชื่อมเข้าอาคารสำนักงานใหญ่, สถานีเพลินจิตมีธนาคารกรุงศรีอยุธยาขอเชื่อมสำนักงานใหม่ ตรงหัวมุมถนนวิทยุกับศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี สถานีนานา มีบมจ.แกรนด์ แอสเสท โฮเทล แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ เชื่อมกับโรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ และสถานีอโศก มีนักลงทุนญี่ปุ่นขอสร้างเชื่อมเข้าโรงแรมฝั่งตรงข้ามศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21

ซีพีปั้นแลนด์มาร์กใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สถานีปุณณวิถี กลุ่ม MQDC (แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น) ของตระกูล "เจียรวนนท์" ขอสร้างทางเชื่อมเข้าโครงการ Whizdom 101 โปรเจ็กต์มิกซ์ยูสมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาท จากสถานีบีทีเอสถึงสะพานลอยคนเดินข้ามบริเวณซอยสุขุมวิท 101/1 พร้อมบันไดขึ้นลง

ขณะที่โครงการ "ไอคอนสยาม" มิกซ์ยูสมูลค่า 5 หมื่นล้านบาท ที่ร่วมทุนระหว่างกลุ่มแมกโนเลียฯ เครือซีพีกับสยามพิวรรธน์ พัฒนาที่ดิน 50 ไร่ ริมเจ้าพระยา พัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย ศูนย์การค้า พิพิธภัณฑ์ และคอนโดมิเนียมซูเปอร์ลักเซอรี่ โดยทุ่ม 2,000 ล้านบาท สร้างโมโนเรลสายสีทอง เชื่อมบีทีเอสสถานีกรุงธนบุรีกับไอคอนสยาม

ด้านสี่แยกปทุมวัน มีการโหมสร้างทางเดินลอยฟ้า ทั้งกลุ่มมาบุญครอง สยามดิสคัฟเวอรี่ ลงทุนกว่า 300 ล้านบาท สร้างสกายวอล์กเชื่อม 4 ด้าน มีห้างมาบุญครอง สยามดิสคัฟเวอรี่ หอศิลป์กรุงเทพฯ และโรงภาพยนตร์สกาล่า "กลุ่มย่านราชประสงค์" ลงทุน 300 ล้านบาท สร้างสกายวอล์กจากศูนย์การค้าแพลทินัม ประตูน้ำ ผ่านเซ็นทรัลเวิลด์ แล้วยกข้ามถนนเชื่อมกับบิ๊กซี ศูนย์การค้าเกษร พลาซ่า แล้วเชื่อมกับสกายวอล์กเดิม ที่สร้างไปถึงบีทีเอสสถานีเพลินจิต ปัจจุบันเปิดใช้แล้ว"

ในเดือน ส.ค.นี้ กทม.เตรียมเปิดใช้สกายวอล์กเชื่อมบีทีเอสบางนาและอุดมสุข ระยะทาง 1.7 กม. ค่าก่อสร้าง 450 ล้านบาท ปัจจุบันมีผู้ประกอบการในแนวเส้นทางขอสร้างทางเชื่อมเข้ากับอาคารบ้างแล้ว เช่น โครงการเดอะโคสต์ แบงค็อก, ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าไบเทค และโครงการแบงค็อกมอลล์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้มีเอกชนหลายรายทุ่มเงินสร้างทางเชื่อมกับสถานีบีทีเอส อาทิ กลุ่มเซ็นทรัลเชื่อมศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี กับสถานีเพลินจิต วงเงิน 100 ล้านบาท, กลุ่มเมอร์คิวรี่ ลงทุน 60-70 ล้านบาท เชื่อมอาคารสำนักงานกับสถานีชิดลม, สำนักงานทรัพย์สินจุฬาฯ ลงทุน 200 ล้านบาทสร้างทางเชื่อมสยามสแควร์วันกับสถานีสยามสแควร์, ศูนย์การค้ามาบุญครองลงทุนกว่า 200 ล้านบาท ปรับปรุงทางเดินเชื่อมสถานีสนามกีฬาแห่งชาติใหม่ คอนโดมิเนียมเลอรัก ของ บจ.วรลักษณ์ พร๊อพเพอร์ตี้ ของ "วิชัย พูลวรลักษณ์" ลงทุน 70 ล้านบาท เชื่อมสถานีพระโขนง, สถานีพร้อมพงษ์ มีศูนย์การค้าดิ เอ็มโพเรียมของกลุ่มเดอะมอลล์ สร้างทางเชื่อมระหว่างดิ เอ็มโพเรียม 1 และ 2 กว่า 100 ล้านบาท , สถานีช่องนนทรี มีคอนโดฯซูเปอร์ลักเซอรี่ "มหานคร" และทางเชื่อมแยกสาทร-นราธิวาสที่กลุ่มนายเจริญออกเงิน 100 ล้านบาทให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) ก่อสร้างเชื่อมเข้าตึกเอ็มไพร์สทาวเวอร์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 28/06/2017 12:07 pm    Post subject: Reply with quote

ดีเดย์ ส.ค.นี้ ตอกเสาเข็มรถไฟฟ้าสายสีชมพู-เหลือง ส่วนสีส้มตะวันออก 10 ก.ค.
ข่าวสด
วันที่ 27 มิถุนายน 2560 - 15:39 น.


นายภคพงค์ ศิริกันทรมาศ รองผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังร่วมประชุมกับนายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม และผู้บริหารจากกรมทางหลวง และกรมทาหลวงชนบท เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ภายในโครงการรถไฟฟ้า ว่า มีการพิจารณาเรื่องการใช้พื้นที่ดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าหลายเส้นทางเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อโครงสร้างของระบบขนส่งของหน่วยงานปัจจุบันที่มีอยู่

สำหรับโครงการถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. วงเงิน 5.2 หมื่นล้านบาท นั้น รฟม. เสนอขอใช้พื้นของกรมทางหลวง (ทล.) บริเวณแขวงการทางบริเวนหน้าวัดศรีเอี่ยมจำนวน 10 ไร่ ก่อสร้างเป็นอาคารจอดแล้วจร (จอดและรับส่งคน) และศูนย์ซ่อม รวมทั้งขอใช้พื้นที่เกาะกลางถนนตลอดแนวถนนศรีนครินท์ก่อสร้างเป็นต่อหม้อ ซึ่ง ทล. เห็นชอบในหลักการ แต่ขอให้ รฟม. ทำการจัดสร้างทางระบายน้ำเพิ่มเติมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ เนื่องจากเดิมมีการใช้พื้นที่เกาะกลางเป็นทางระบายน้ำ เบื้องต้น รฟม. เตรียมที่สร้างทางระบายน้ำ ตามแนวทางเท้าทั้ง 2 ฝั่งถนน เพื่อใช้เป็นทางระบายน้ำ

ส่วนสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี 34.5 กิโลเมตร กม. วงเงิน 5.4 หมื่นล้านบาท รฟม. ขอใช้พื้นที่บริเวณแขวงการทางหลักสี่ เพื่อใช้ก่อสร้างเป็นสถานีหลักสี่ ซึ่ง ทล. เห็นชอบ แต่ขอให้ปรับแบบเพื่อลดขนาดพื้นที่ลงอีก

นายภคพงศ์กล่าวต่อถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม ระยะทาง 16.4 กม. วงเงิน 1.1 แสนล้าน และ สีม่วงใต้ เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ-วงแหวนกาญจนาภิเษก ระยะทาง 23.6 กม. วงเงิน 131,171 ล้านบาท นั้น รฟม. จะต้องกลับไปพิจารณารายละเอียดด้านเทคนิคเพิ่มเติมว่างานก่อสร้างรถไฟฟ้าจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างสิ่งก่อสร้างเดิมหรือไม่ โดยสีส้มต้องไปดูว่างานก่อสร้างใหม่จะไม่ส่งผลกระทบต่อเสาของสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ส่วนรถไฟฟ้าสีม่วงใต้จะต้องไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสะพานพระปกเกล้า และสะพานพระราม 3 บริเวณแยกมไหสวรรย์


“สำหรับรถไฟฟ้าเหลืองและชมพู คาดว่าจะเคลียร์พื้นที่จบและให้ผู้รับเหมาได้เข้าพื้นที่เริ่มก่อสร้างได้ไม่เกินไตรมาสที่ 3 หรือเดือนส.ค.-ก.ย. นี้ โดยสีเหลืองจะให้เข้าพื้นที่บริเวณศรีนครินทร์ก่อน ส่วนพื้นที่ในเมืองอาจจะชะลอไว้นิดนึงเพื่อไม่ให้กระทบกับจราจรมากไปกว่านี้ เพราะปัจจุบันยังมีการก่อสร้างสายสีเขียวอยู่ ส่วนสายสีชมพูจะเริ่มก่อสร้างเกาะกลางก่อนและน่าจะเข้าพื้นที่มากกว่าสีอื่น เพราะพื้นที่ไม่ทับซ้อนกับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายอื่น ส่วนสีส้มตะวันออก จะเริ่มตอกเสาเข็มทดสอบการรับน้ำหนักวันที่ 10 ก.ค. นี้ บริเวณหน้าบริษัท มิสทีส รามคำแหง” นายภคพงค์กล่าว

นายภคพงศ์กล่าวว่า ขณะนี้ รฟม. ได้ประสานกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เพื่อเตรียมปรับการจราจรรองรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้งหมดแล้ว ซึ่งทางตำรวจก็ขอให้ รฟม. เร่งทำแผนประชาสัมพันธ์เรื่องการปิดกั้นพื้นที่เพื่อช่วยลดปัญหาจราจรด้วย

นอกจากนี้ รฟม. อยู่ระหว่างเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาออกประกาศเวนคืนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู, เหลือง และส้มเป็นการเร่งด่วน เพื่อให้อำนาจฝ่ายกรรมสิทธิ์ที่ดิน รฟม. เวนคืนพื้นที่ของเอกชนซึ่งไม่ยอมตกลงเจรจา เมื่อประกาศมีผล รฟม. ก็ต้องวางค่าเวนคืนเป็นระยะเวลา 60 วัน จึงสามารถครอบครองพื้นที่ได้ ถ้าไม่ออกประกาศดังกล่าว รฟม. ก็ต้องออก พ.ร.บ.เวนคืนเป็นรายแปลง ซึ่งต้องใช้เวลากว่า 2 ปีจึงจะเวนคืนที่ดินของเอกชนได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 28/06/2017 12:23 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟโมโนเรล Innovia Monorail 300 ของบอมบาดิเอร์
https://www.facebook.com/RenderThailand/photos/a.1648065022120387.1073741828.1648054742121415/1849423321984555/?type=3&theater

ต้นฉบับเป็นไฟล์ PDF โหลดได้ที่นี่ครับ
http://www.monorails.org/pdfs/INNOVIA%20300.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 29/06/2017 12:52 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม. เตรียมเสนอครม. จ่อเวนคืนแนวรถไฟฟ้า3สาย
คมชัดลึก
วันที่ 28 มิถุนายน 2560 -

นายภคพงค์ ศิริกันทรมาศ รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยหลังการประชุมแนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นที่โครงการรถไฟฟ้าที่มี นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานเมื่อวันที่ 27มิ.ย.60ว่า รฟม. ได้หารือกับกระทรวงคมนาคม กรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เพื่อขอใช้พื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาแล้วพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาใดๆ แต่ขอให้รฟม. กลับไปพิจารณาเทคนิคการก่อสร้างเพิ่มเติมในบางพื้นที่เพื่อไม่ให้กระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท โดยเมื่อรายละเอียดต่างๆ ชัดเจนแล้วจึงอนุญาตให้ผู้รับเหมาเข้าพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าได้

สำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร มีประเด็นเรื่องการจัดทางระบายน้ำ เพราะการก่อสร้างรถไฟฟ้าต้องใช้พื้นที่เกาะกลาง ซึ่งเป็นทางระบายน้ำในปัจจุบัน รฟม.จึงแก้ปัญหาด้วยการต่อท่อระบายน้ำจากเกาะกลางไปทางเท้าและขยายทางเท้าให้กว้างขึ้นเพื่อให้ระบายน้ำได้เท่าเดิม

นอกจากนี้ จะขอใช้พื้นที่สำนักงานแขวงการทางวัดศรีเอี่ยมประมาณ 10 ไร่ ก่อสร้างเป็นจุดจอดแล้วจร (Park&Ride) ของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ซึ่งในเบื้องต้น กรมทางหลวงได้เห็นชอบหลักการแล้ว แต่พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ดินราชพัสดุ ดังนั้น รฟม. จึงต้องเสนอเรื่องต่อกรมธนารักษ์เพื่อขอเปลี่ยนชื่อผู้ใช้พื้นที่ต่อไป

ด้านรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร มีปัญหาบริเวณสถานีหลักสี่ เพราะการก่อสร้างจะเข้าไปในพื้นที่แขวงการทางหลักสี่ประมาณ 15% ดังนั้น กรมทางหลวง จึงขอให้ปรับแบบจุดดังกล่าวเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบหรือส่งผลกระทบน้อยที่สุด

การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กิโลเมตรจะต้องพิจารณาไม่ให้กระทบกับโครงสร้างสะพานพระปกเกล้าและสะพานพระราม 3 ส่วนรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงตลิ่งชัน (บางขุนนนท์) -ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง 16.4 กิโลเมตรจะต้องพิจารณาไม่ให้กระทบกับตอม่อสะพานพระปิ่นเกล้า

“คิดว่าจะให้เอกชนเข้าพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าเหลือง-ชมพูได้ไม่เกินไตรมาสที่ 3 หรือเดือน ส.ค.- ก.ย. นี้ สายสีเหลืองจะให้เข้าพื้นที่บริเวณศรีนครินทร์ก่อน ส่วนพื้นที่ในเมืองอาจจะชะลอไว้นิดนึงเพื่อไม่ให้กระทบกับจราจร เพราะตอนนี้มีการก่อสร้างสายสีเขียวอยู่ ส่วนสายสีชมพูจะเริ่มสร้างจากเกาะกลางและน่าจะเข้าพื้นที่ได้เยอะกว่า เพราะไม่ซ้อนทับกับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายอื่น ด้านรถไฟฟ้าส้มตะวันออก ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี จะเริ่มตอกเสาเข็มทดสอบการรับน้ำหนักวันที่ 10 ก.ค. นี้ บริเวณมิสทีส รามคำแหง” นายภคพงค์กล่าว

ขณะนี้ รฟม.ได้ประสานกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เพื่อเตรียมปรับการจราจรรองรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้งหมดแล้ว ซึ่งทางตำรวจขอให้รฟม.เร่งทำแผนประชาสัมพันธ์เรื่องการปิดกั้นพื้นที่เพื่อช่วยลดปัญหาจราจรด้วย

นอกจากนี้ รฟม. กำลังเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาออกประกาศเวนคืนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู, เหลือง และส้มเป็นการเร่งด่วน เพื่อให้อำนาจฝ่ายกรรมสิทธิ์ที่ดิน รฟม. เวนคืนพื้นที่ของเอกชนซึ่งไม่ยอมตกลงเจรจา เมื่อประกาศมีผล รฟม.ต้องวางค่าเวนคืนเป็นระยะเวลา 60 วัน จึงสามารถครอบครองพื้นที่ได้

“ถ้าไม่ออกประกาศ รฟม.ก็ต้องออก พ.ร.บ.เวนคืนเป็นรายแปลง ซึ่งต้องใช้เวลากว่า 2 ปีจึงจะเวนคืนที่ดินของเอกชนได้”

นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า การปล่อยกู้ในโครงการลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้า 2 สาย คือสายสีชมพู และสายสีเหลืองนั้น ธนาคารคาดว่าจะสรุปเรื่องการหาพันธมิตรปล่อยกู้ หรือซินดิเคทได้ภายใน 2 เดือนนี้ โดยเบื้องต้นคาดว่าโครงการนี้จะใช้เงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ประมาณ 7-8 หมื่นล้านบาท ซึ่งธนาคารกรุงเทพเป็นธนาคารหลักในการให้สินเชื่อ ร่วมกับธนาคารอื่น

นายชาติศิริ กล่าวอีกว่าในปีนี้จะมีการเบิกใช้เงินกู้ไม่มาก ส่วนใหญ่จะไปเบิกใช้ในปีหน้า และปีถัดไป ซึ่งโครงการลงทุนนี้ ก็จะส่งผลดีต่อเอสเอ็มอีในอุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้างด้วย ซึ่งธนาคารกรุงเทพก็มีลูกค้าในกลุ่มนี้อยู่ด้วย

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.60 ร.ฟ.ท. ได้เปิดประมูลงานก่อสร้างรถไฟทางคู่ 2 สัญญา ได้แก่ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านกลับ-โคกกระเทียม (ทางรถไฟยกระดับ) ระยะทาง 29 กิโลเมตร วงเงิน 10,147 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ สัญญาที่ 3 งานอุโมงค์รถไฟ ระยะทาง 8 กิโลเมตร วงเงิน 9,399 ล้านบาท

ร.ฟ.ท. จะเปิดขายเอกสารประกวดราคาทั้ง 2 สัญญาไปจนถึงวันที่ 4 ก.ค. นี้ จากนั้นจะให้เวลาเอกชนจัดทำข้อเสนอ 45 วัน ก่อนแจ้งผลผู้มีสิทธิ์เสนอราคาในวันที่ 28 ส.ค. และประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์วันที่ 7 ก.ย.

ในเบื้องต้นคาดว่าจะมีผู้รับเหมาไทยเข้าร่วมประมูลงานอุโมงค์ เส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ แบบเดี่ยวได้ 3 ราย ได้แก่บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือITD,บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)หรือCKและบริษัท ไรท์ทันเน็ลลิ่ง จำกัด

ส่วนงานก่อสร้างทางยกระดับเส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ คาดว่าจะมีเอกชนไทยเข้าร่วมประมูลแบบเดี่ยวได้ 4 ราย คือITD, CK,บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)หรือSTECและบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน)หรือNWR

อย่างไรก็ตาม เมื่อ ร.ฟ.ท. เปิดประมูลงานโยธางรถไฟทางคู่ 2 สัญญานี้เรียบร้อยแล้ว ก็จะพิจารณาเปิดประมูลระบบอาณัติสัญญาณรถไฟทางคู่ที่เหลืออีก 3 สัญญา ได้แก่ สายเหนือ, สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ เพื่อให้ครบตามคำสั่งคณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 29/06/2017 5:16 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีชมพู เปิดพื้นที่พัฒนาเมืองกทม.โซนเหนือ
ออนไลน์เมื่อ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,273 วันที่ 25 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560





โครงการดังกล่าวนี้อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ล่าสุดเซ็นสัญญาก่อสร้างอย่างเป็นทางการกับบริษัทรับเหมาเรียบร้อยแล้ว คาดว่าปลายปีนี้คงจะได้เห็นการเปิดพื้นที่เริ่มก่อสร้างมากขึ้นจากที่ปัจจุบันมีการสำรวจพื้นที่บางจุดเพื่อตรวจสอบระบบสาธารณูปโภคก่อนจะมีการรื้อย้ายครั้งใหญ่เพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู

รถไฟฟ้าเส้นทางนี้ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่มีส่วนช่วยกระจายความเจริญของเมืองโดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครโซนเหนือ คาบเกี่ยวกลุ่มจังหวัดนนทบุรีบางส่วน ผ่านถนนแจ้งวัฒนะ รามอินทรา ก่อนเข้าสู่พื้นที่เขตมีนบุรีแน่นอนว่าแจ้งวัฒนะ รามอินทรา และมีนบุรีจะเห็นความเจริญเกิดขึ้นแน่หากเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการซึ่งตามแผนคาดว่าประมาณปี 2563

รถไฟฟ้าสายสีชมพู ถูกออกแบบให้เป็นระบบรองโดยคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 ได้มีมติให้รฟม.ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว(Monorail) ในรูปแบบ PPP Net Cost โดยภาครัฐลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส่วนภาคเอกชนลงทุนค่างานโยธา งานระบบรถไฟฟ้า-ขบวนรถไฟฟ้าและค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ รวมทั้งบริหารการเดินรถ-ซ่อมบำรุง โดยเอกชนร่วมลงทุนเป็นระยะเวลา 33 ปี 3 เดือน(รวมระยะเวลาการก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน และระยะเวลาการเดินรถ 30 ปี) โดยรฟม.ดำเนินการตามขั้นตอนของพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐพ.ศ.2556



เมื่อเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะสามารถรองรับการเดินทางในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑลด้านเหนือในแนวตะวันตก-ตะวันออก ที่จะเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างจังหวัดนนทบุรีกับกรุงเทพตามแนวถนนติวานนท์ แจ้งวัฒนะ และรามอินทราไปจนถึงมีนบุรี ที่ปัจจุบันจัดเป็นพื้นที่ที่น่าสนใจสำหรับการพัฒนาที่อยู่อาศัยและแหล่งพาณิชยกรรม ได้รับอานิสงส์ในการช่วยกระจายความเจริญไปยังพื้นที่ชานเมือง

ประการสำคัญสายสีชมพูจัดว่าเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าเชื่อมโยงกับระบบขนส่งมวลชนอื่นทั้งในพื้นที่นนทบุรีที่จะเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ถนนแจ้งวัฒนะจะเชื่อมกับทางด่วน โดยจะเชื่อมไปยังพื้นที่เมืองทองแหล่งธุรกิจขนาดใหญ่ในโซนดังกล่าว เชื่อมกับรถไฟสายสีแดงที่ถนนวิภาวดีรังสิต เชื่อมบีทีเอสหรือสายสีเขียวที่วงเวียนหลักสี่ ต่อไปจะเชื่อมกับทางด่วนอาจณรงค์-รามอินทรา และรถไฟฟ้าสายสีเทาที่ย่านวัชรพล ก่อนที่จะไปสิ้นสุดที่มีนบุรีที่จะเชื่อมกับสายสีส้ม

โดยรถไฟฟ้าสายสีชมพูสามารถรองรับผู้โดย สารได้ถึง 1-4.4 หมื่นคน/ชั่วโมง/ทิศทาง ซึ่งบีทีเอสได้เลือกบริษัท บอมบาดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ซิกแนล(ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ดำเนินการทั้งระบบอาณัติ สัญญาณ ขบวนรถ ระบบขายตั๋วและจัดเก็บค่าโดยสาร ใช้ขบวนรถ 288 ตู้ หรือ 72 ขบวนขบวน ละ 4 ตู้ ตัวรถมีความกว้าง 3 เมตร ยาวราว 11 เมตร วิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง จึงเรียกได้ว่ารถไฟฟ้าสายสีชมพูจะเอื้อต่อการเดินทางอย่างเป็นระบบและครบวงจรได้อีกไม่กี่ปีนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/07/2017 11:12 pm    Post subject: Reply with quote

รมว.คมนาคม ให้หน่วยงานเกี่ยวข้องเร่งเคลียร์พื้นที่ใช้ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม-สีเหลือง-สีชมพู-สีม่วง
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 5 กรกฎาคม 2560 18:05:56 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เป็นประธานประชุมพิจารณาการขอใช้พื้นที่ของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยได้มอบให้ รฟม. หารือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับการใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าให้ได้โดยเร็ว เพื่อลดความเสี่ยงจากการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า และอาจเกิดภาระทางการเงินการคลังแก่ภาครัฐในอนาคต รวมทั้งให้โครงการรถไฟฟ้าสามารถก่อสร้างและเปิดให้บริการได้ตามกำหนด ดังนี้

1) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ได้แก่ แนวทางการจัดการจราจร เพื่อก่อสร้างสถานีรามคำแหง 12 และการทับซ้อนกับโครงการต่อขยายทางยกระดับถนนรามคำแหง บริเวณแยกลำสาลี - คลองบางชัน

2) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง ได้แก่ สะพานข้ามแยกบางกะปิ อุโมงค์ทางลอดพัฒนาการ สะพานข้ามแยกพรีเมียร์ สะพานข้ามคลองแสนแสบ และทางแยกต่างระดับศรีกรีฑา

3) โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ได้แก่ พื้นที่บริเวณหน้าศาลปกครอง เพื่อก่อสร้างทางขึ้น - ลงสถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ และพื้นที่บริเวณหน้ากรมการกงสุล

4) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ ได้แก่ การก่อสร้างปล่องระบายอากาศบริเวณหน้าหอสมุดแห่งชาติ

ทั้งนี้ หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการขอใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้างโครงการถไฟฟ้า ได้แก่ รฟม. กรุงเทพมหานคร กรมการปกครอง กรมการกงสุล และกรมศิลปากร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 06/07/2017 2:00 am    Post subject: Reply with quote

ทุ่มแสนล้านขยาย "รถไฟฟ้าสายสีม่วง" เชื่อม "เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ" รับเปิดหวูด 1 สถานี
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
พุธที่ 5 กรกฎาคม 2560 เวลา 21:00:24 น.


รฟม.เริ่มทดสอบระบบแล้ว ! รถไฟฟ้าเชื่อมต่อสถานีฟันหลอ "เตาปูน-บางซื่อ" รับเปิดบริการ ส.ค.นี้ คาดคนใช้สายสีม่วงเพิ่มแน่ เร่งเสนอ ครม.ไฟเขียวแสนล้าน สร้างส่วนต่อขยายถึงราษฎร์บูรณะ เตรียมชงเพิ่มอีก 2 สาย "ส้มตะวันตกและน้ำเงินสาย 4" ชะลอช่วงต่อไปบางปู-ลำลูกกา รอข้อยุติ กทม.ถ่ายโอนทรัพย์สินสายสีเขียว

นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกุล รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม ผู้รับสัมปทานเดินรถสายสีน้ำเงิน กำลังทดสอบระบบการเดินรถเชื่อมต่อ 1 สถานีจากบางซื่อ-เตาปูน ระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่) กับสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง) คาดว่าจะเปิดบริการได้ระหว่างวันที่ 11-15 ส.ค. 2560 และจะทำให้ผู้โดยสารของสายสีม่วงเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 3.1-3.2 หมื่นเที่ยวคน/วัน ที่เพิ่มขึ้น 30% นับจากเปิดบริการวันที่ 6 ส.ค. 2559

เปิด 1 สถานีคนใช้สีม่วงเพิ่ม

"ตั้งเป้าจะมีคนใช้สายสีม่วงเพิ่มขึ้นแน่นอน เพราะสะดวกขึ้น ส่วนค่าโดยสารอยู่ระหว่างพิจารณา จะมีจัดโปรโมชั่นหรือเก็บเท่าเดิม อย่างไรก็ตาม เมื่อนั่งสายสีม่วงจากสถานีปลายทางถึงหัวลำโพงสถานีปลายทางของสายสีน้ำเงิน จะเก็บค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 70 บาท เพราะจะยกเว้นค่าแรกเข้าต่อที่ 2 ให้ ส่วนระบบฟีดเดอร์มารับส่งคนฟรีที่สถานีของสายสีม่วง รอดูผลตอบรับจากการเปิดใช้ 1 สถานีก่อน"

นอกจากนี้ รฟม.อยู่ระหว่างเร่งหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างของสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ให้กับกลุ่มบีทีเอสเพื่อดำเนินการก่อสร้าง หลังจากออกแบบรายละเอียดเสร็จแล้ว รวมถึงส่งมอบพื้นที่ของสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ให้กับผู้รับเหมางานด้านโยธาทั้ง 5 สัญญา เพื่อให้การก่อสร้างเดินหน้าไปตามแผนงานที่กำหนด โดยสายสีชมพูกับเหลืองจะสร้างเสร็จในปี 2563 ส่วนสีส้มจะเสร็จในปี 2566

เร่งต่อขยายเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ

นายธีรพันธ์กล่าวอีกว่า สำหรับรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายใหม่ เตรียมจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติโครงการ จำนวน 5 สายทาง รวมมูลค่ารวม 253,600 ล้านบาท จะเสนอได้ภายในเดือน ก.ค.นี้ คือ ส่วนต่อขยายสายสีม่วงช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กม. เงินลงทุน 101,112 ล้านบาท แยกเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 15,913 ล้านบาท สำรวจอสังหาริมทรัพย์ 32 ล้านบาท ก่อสร้างงานโยธา 70,295 ล้านบาท สิ่งก่อสร้างทดแทนหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้าง 1,335 ล้านบาท จ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานก่อสร้าง 2,865 ล้านบาท และค่า Provisional Sum (ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด) ของงานโยธา 10,672 ล้านบาท

ตามแผนของ รฟม.หลัง ครม.ไฟเขียว จะเดินเปิดประมูลก่อสร้างทันที โดยจะดำเนินการขออนุมัติโครงการจาก ครม.ควบคู่ไปกับการรอผลอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ที่ขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ ในช่วงราษฎร์บูรณะ-วงแหวนกาญจนาภิเษก ระยะทางประมาณ 5 กม.



ลดขนาดที่จอดรถเหลือ50 ไร่

หลัง รฟม.ขอทบทวนขนาดของจุดจอดรถและศูนย์ซ่อมบำรุง (เดโป้) ยุบเหลือที่คลองบางไผ่เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงแห่งเดียว และลดขนาดศูนย์ซ่อมบำรุงบริเวณวงแหวนกาญจนาภิเษกเป็นพื้นที่จอดรถไฟฟ้า ขนาด 50 ไร่ ส่วนจุดจอดแล้วจร มี 2 แห่ง ที่สถานีบางปะกอกกับสถานีราษฎร์บูรณะ

แนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นเป็นทางวิ่งยกระดับจากสถานีเตาปูนไปตามแนวถนนตัดใหม่ของกทม.(ถนนสายง 8 ตามผังเมืองรวมกรุงเทพฯ 2556) แล้วลดระดับลงเป็นทางวิ่งใต้ดิน ผ่านเข้าพื้นที่กรมสรรพาวุธทหารบก เลี้ยวเข้าถนนทหาร ถนนสามเสน ถนนพระสุเมรุ ถนนมหาไชย ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เมื่อลอดผ่านสี่แยกมไหสวรรย์แล้วเปลี่ยนเป็นทางวิ่งยกระดับไปตามถนนสุขสวัสดิ์ สิ้นสุดปลายทางที่บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงข้างด่านเก็บค่าผ่านทางถนนวงแหวนกาญจนาภิเษก รวมระยะทาง 23.6 กม. เป็นทางวิ่งใต้ดิน 12.6 กม. และทางวิ่งยกระดับ 11 กม. มี 17 สถานี เป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี

ขณะที่ระบบจะใช้ระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ มีความจุสูง ความเร็วสูงสุด 80 กม./ชม. ระบบจ่ายไฟฟ้าขับเคลื่อน 750 โวลต์ กระแสตรงจากรางที่ 3 โดยในปีแรกที่เปิดเดินรถจะใช้รถทั้งหมด 38 ขบวน (จำนวนรถ 4 ตู้ต่อขบวน) คาดการณ์ผู้โดยสารในปีแรกเปิดบริการ มีผู้โดยสาร 477,098 คน-เที่ยว/วัน อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 12.95% ผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) 4.59%

ชะลอสีเขียวลำลูกกา-บางปู

นอกจากนี้ยังมีสายสีส้มตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์) ระยะทาง 13.4 กม. ค่าก่อสร้าง 109,342 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการสภาพัฒน์ และสายสีน้ำเงินต่อขยาย (บางแค-พุทธมณฑลสาย 4) ระยะทาง 8 กม. ค่าก่อสร้าง 21,197 ล้านบาท รอผลศึกษารูปแบบการลงทุน PPP การเดินรถ

ส่วนสีเขียวต่อขยาย (สมุทรปราการ-บางปู) ระยะทาง 9.2 กม. เงินลงทุน 12,146 ล้านบาท กับสีเขียวต่อขยาย (คูคต-ลำลูกกา) ระยะทาง 6.5 กม. ค่าก่อสร้าง 9,803 ล้านบาท อยู่ระหว่างรอความชัดเจนการโอนทรัพย์สินสายสีเขียวกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) ล่าสุดชะลอการเสนอโครงการให้ ครม.พิจารณาออกไปก่อน จนกว่าจะได้ข้อยุติ

จะเร่งรัดเสนอโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ให้ ครม.พิจารณาให้ครบทุกเส้นทางภายในปี 2560 เพื่อการก่อสร้างจะได้ต่อเนื่องจากเส้นทางกำลังก่อสร้าง ได้แก่ สายสีน้ำเงินต่อขยาย (บางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค) ระยะทาง 27 กม. มีความคืบหน้า 92.39% จะเปิดบริการในปี 2563 สายสีเขียวต่อขยาย (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ระยะทาง 18.4 กม. คืบหน้า 30.60% จะเปิดบริการปี 2563 และสีเขียวต่อขยาย (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ระยะทาง 12.8 กม. เปิดบริการก่อน 1 สถานีถึงสำโรง จะเปิดใช้ตลอดเส้นทางปี 2561
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 06/07/2017 10:44 am    Post subject: Reply with quote

เร่งยิกเวนคืน "ส้ม-ชมพู-เหลือง" หวั่นค่าโง่-ปิดช่องผู้รับเหมาขอต่อเวลา
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
6 กรกฎาคม 2560 เวลา 07:45:59 น.


หลัง "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" จดปากกาเซ็นสัญญาก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย 3 สี "ส้ม-ชมพู-เหลือง" มูลค่าลงทุนร่วม 2 แสนล้านบาทไปร่วม 4 เดือนดูเหมือนยังไม่ฉลุยเท่าที่ควร เนื่องจากยังมีหลายพื้นที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าใช้พื้นที่

ล่าสุด "รฟม." ได้เปิดประชุมร่วมกับกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) มี "ชาติชาย ทิพย์สุนาวี" ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน แต่ยังไม่มีข้อสรุปสุดท้าย 100%

ว่ากันว่า...ที่ยังคาราคาซัง เป็นเพราะมีความคลางแคลงใจจากเจ้าของพื้นที่ โดยเฉพาะสายสีชมพู และสายสีเหลืองที่ รฟม.เปิดให้เอกชนลงทุนทั้งโครงการ จะเป็นการนำที่ดินของรัฐไปเอื้อประโยชน์ต่อเอกชนที่รับสัมปทานหรือไม่ แม้ว่า รฟม.จะเป็นผู้เวนคืนที่ดินก็ตาม

โดยสีเหลือง "ลาดพร้าว-สำโรง" ตลอด 30.4 กม. มีเวนคืน 765 แปลง รวม 155 ไร่ สิ่งปลูกสร้าง 184 หลัง ค่าเวนคืน 6,013 ล้านบาท แนวจะเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดินแยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปตาม ถ.ลาดพร้าว ถึงแยกบางกะปิ เลี้ยวขวาเข้า ถ.ศรีนครินทร์ แยกพัฒนาการ ศรีนุช ศรีอุดม ศรีเอี่ยม ลาซาล ถึงแยกศรีเทพา เลี้ยวขวา ถ.เทพารักษ์ สิ้นสุดที่แยกสำโรง มี 23 สถานี



"สีชมพู" แคราย-มีนบุรี 34.5 กม. มีเวนคืน 648 แปลง รวม 279 ไร่ สิ่งปลูกสร้าง 185 หลัง ค่าเวนคืน 6,847 ล้านบาท แนวเริ่มที่ศูนย์ราชการนนทบุรีเชื่อมกับสีม่วง วิ่งเข้า ถ.ติวานนท์ เลี้ยวขวาห้าแยกปากเกร็ด ผ่าน ถ.แจ้งวัฒนะ รามอินทรา สิ้นสุดที่มีนบุรี มีเวนคืนจุดขึ้น-ลง 30 สถานี และอีก 5 จุดใหญ่ แยกปากเกร็ด เมืองทอง หลักสี่ วงเวียนหลักสี่ และมีนบุรี กว่า 280 ไร่

แหล่งข่าวจาก รฟม.กล่าวว่า ในการเจรจากับกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บีทีเอส-ซิโน-ไทยและราชบุรีโฮลดิ้ง) มีความกังวลใจเรื่องส่งมอบพื้นที่ เพราะตามสัญญาระบุจะต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จใน 3 ปี 3 เดือน

ล่าสุดทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ให้รฟม.เร่งรัดส่งมอบพื้นที่ของทั้ง 2 เส้นทาง ให้สามารถก่อสร้างและเปิดให้บริการได้ตามกำหนด เพื่อลดความเสี่ยงจากการส่งมอบพื้นที่ล่าช้าและอาจเกิดภาระทางการเงินการคลังแก่ภาครัฐในอนาคต

โดย รฟม.สรุปการขอใช้พื้นที่ของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าของ รฟม. ยังไม่ได้ข้อยุติ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานได้ และอาจมีความเสี่ยงจะถูกเรียกร้องค่าชดเชยและขอขยายเวลาดำเนินงานจากผู้รับจ้างงานโยธา เพราะไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ได้ทันตามกำหนดเวลา

มีจุดที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ มี "สีส้ม" ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ทาง ทช. ยังไม่ให้ใช้บริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ สร้างทางขึ้นลงสถานีสนามหลวง

"สีเหลือง" ติดขอใช้พื้นที่ทล. 3 บริเวณ ได้แก่ เกาะกลางถ.ศรีนครินทร์และถ.เทพารักษ์ สร้างทางวิ่งและสถานี 9.3 กม., ทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม สร้างทางวิ่ง สถานี และอาคารจอดแล้วจรและ บริเวณทางคู่ขนานและทางหลักของถ.บางนา-ตราด สร้างทางเชื่อมอาคารจอดแล้วจร

"สีชมพู" มี 2 พื้นที่ยังไม่ได้ข้อยุติกับ ทล. มีพื้นที่สำนักงานเครื่องกลและสื่อสาร ถ.แจ้งวัฒนะ เพื่อก่อสร้างทางขึ้นลง สถานีศรีรัช และพื้นที่หมวดการทางหลักสี่ เพื่อก่อสร้างสถานีหลักสี่

และ "สีม่วง" ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะยังมีพื้นที่ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ คือ การขอใช้พื้นที่กับ ทช. ตามแนวเส้นทาง 3 แห่ง เพื่อก่อสร้างเป็นปล่องระบายอากาศและทางออกฉุกเฉินตามแนวเส้นทาง

ขณะที่ "สีส้ม ตลิ่งชัน-มีนบุรี" ตลอดเส้นทาง 37.5 กม. มีเวนคืน 1,357 แปลง รวม 171 ไร่ สิ่งปลูกสร้าง 989 หลัง ค่าเวนคืน 21,522 ล้านบาท มี 29 สถานี

ในเฟสแรก "ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี" 21.2 กม. แนวเริ่มที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมเข้าศูนย์ซ่อมบำรุง สำนักงาน รฟม.ไป ถ.พระราม 9 ถ.รามคำแหง แยกลำสาลี สิ้นสุดที่สุวินทวงศ์ ใกล้จุดตัดกับ ถ.รามคำแหง มีเวนคืน 594 แปลง อาคาร 222 หลัง วงเงิน 9,625 ล้านบาท

ล่าสุดกรุงเทพมหานคร (กทม.) ยังไม่ให้ใช้พื้นที่เกาะกลางถ.พระราม 9 และรามคำแหงยังติดการก่อสร้างโครงการทางยกระดับที่ซ้อนทับกับโครงสร้างงานโยธาช่วงแยกลำสาลี - คลองบ้านม้า

จากปัญหาดังกล่าวที่อาจจะกระทบชิ่งต่อแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้า ทาง "ธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล" รักษาการผู้ว่าการ รฟม.ย้ำว่า จะให้ผู้รับเหมาเข้าพื้นที่ส่วนที่สามารถเข้าได้ก่อน โดยทยอยดำเนินการแบบคู่ขนานไป อย่างไรก็ตามคาดว่าจะไม่เกิดปัญหาตามมาภายหลังแน่นอน

โดยเฉพาะสายสีชมพูกับสีเหลืองที่เอกชนเป็นผู้ลงทุน เพราะช่วงนี้เอกชนกำลังออกแบบยังมีเวลาที่จะเร่งขอใช้พื้นที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ คาดว่าเร็ว ๆ นี้จะแจ้งให้ผู้รับเหมาเข้าเจาะสำรวจระบบสาธารณูปโภค
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2017 10:06 am    Post subject: Reply with quote

หวั่นรถไฟฟ้าส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างล่าช้า สั่งเคลียร์แบบร่วม กทม.ในพื้นที่ทับซ้อน
โดย MGR Online

6 กรกฎาคม 2560 15:54 น. (แก้ไขล่าสุด 6 กรกฎาคม 2560 16:28 น.)

คมนาคมเร่งเคลียร์แบบก่อสร้างรถไฟฟ้า 4 สาย โดยเฉพาะจุดทับซ้อนโครงการของ กทม. หวั่นส่งมอบพื้นที่ล่าช้าซ้ำรอยที่ผ่านมา สั่ง รฟม.ประสาน กทม.ออกแบบการใช้พื้นที่ร่วมอย่างใกล้ชิด

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมพิจารณาการขอใช้พื้นที่ของหน่วยงานต่างๆ เพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยได้มอบหมายให้ รฟม.หารือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับการใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าให้ได้โดยเร็ว เพื่อลดความเสี่ยงจากการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า และอาจเกิดภาระทางการเงินการคลังแก่ภาครัฐในอนาคต รวมทั้งให้โครงการรถไฟฟ้าสามารถก่อสร้างและเปิดให้บริการได้ตามกำหนด

ทั้งนี้ มี 4 โครงการที่ต้องดำเนินการ คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ได้แก่ แนวทางการจัดการจราจร เพื่อก่อสร้างสถานีรามคำแหง 12 และการทับซ้อนกับโครงการต่อขยายทางยกระดับถนนรามคำแหง บริเวณแยกลำสาลี-คลองบางชัน ของกรุงเทพมหานคร (กทม.)

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ได้แก่ สะพานข้ามแยกบางกะปิ อุโมงค์ทางลอดพัฒนาการ สะพานข้ามแยกพรีเมียร์ สะพานข้ามคลองแสนแสบ และทางแยกต่างระดับศรีกรีฑา

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ได้แก่ พื้นที่บริเวณหน้าศาลปกครอง เพื่อก่อสร้างทางขึ้น-ลงสถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ และพื้นที่บริเวณหน้ากรมการกงสุล และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ได้แก่ การก่อสร้างปล่องระบายอากาศบริเวณหน้าหอสมุดแห่งชาติ

นายภคพงษ์ ศิริกันทรมาศ รองผู้ว่าฯ รฟม. กล่าวว่า งานที่ทับซ้อนกับ กทม.นั้น ทาง กทม.จะไปศึกษารายละเอียด และมีการออกแบบร่วมกันกับ รฟม. เพื่อให้ รฟม.สามารถเตรียมพื้นที่ และได้แบบร่วมกันที่เหมาะสม เช่น บริเวณสายสีสัมนั้น กทม.มีโครงการทำทางลอดตามแนวถนนรามคำแหงใต้ไปจนถึงแยกต่างระดับกาญจนาภิเษก โดย รฟม.จะก่อสร้างก่อน ซึ่งจำเป็นต้องก่อสร้างเสาของรถไฟฟ้าลงตรงกลางทางลอด เบื้องต้นได้ประสานรูปแบบเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยภายในทางลอด โดย กทม.รับไปพิจารณา เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2017 3:40 pm    Post subject: Reply with quote

ทุบสะพานบางกะปิ ขุดรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
เดลินิวส์
ศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2560 เวลา 10.45 น.

รฟม.เคลียร์พื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าส้ม-เหลือง-ชมพู เตรียมทุบสะพานบางกะปิสร้างใหม่ใช้ร่วมกัน ของบ กทม. 250 ล้าน ขณะที่ศาลปกครอง-กงสุล ขอให้ช่วยขยับสถานี เหตุบังทัศนียภาพอาคาร

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุม เพื่อขอใช้พื้นที่หน่วยงานต่างๆ ก่อสร้างรถไฟฟ้าของ รฟม. โดยมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เป็นประธานว่า ได้เชิญหน่วยงานราชการที่มีการก่อสร้างเดิม และโครงการที่จะก่อสร้างใหม่ ซึ่งทับซ้อนกับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าของ รฟม. ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ศาลปกครอง กรมการกงสุล และกรมศุลกากร มาหารือ เพื่อวางแผนการก่อสร้างร่วมกัน และแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อน โดย กทม. เป็นหน่วยงานที่มีพื้นที่ทับซ้อนกับงานก่อสร้างของ รฟม.มากที่สุด อาทิ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม(ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) ทาง กทม. มีโครงการต่อขยายทางยกระดับถนนรามคำแหง บริเวณแยกลำสาลี-คลองบางขัน ซึ่งจะก่อสร้างโครงสร้างทางยกระดับอยู่บนโครงสร้างของสถานี และอุโมงค์ของรถไฟฟ้า บริเวณสถานีลำสาลี และสถานีคลองบ้านม้า โดย รฟม. เสนอว่า กทม ควรก่อสร้างไปพร้อมกันเลย เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการก่อสร้างทางยกระดับของกทม. ในอนาคต ซึ่ง กทม.เห็นด้วย และรับกลับไปจัดหางบประมาณมาให้ รฟม. ดำเนินงานก่อสร้างต่อไป


นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กทม.ยังมีโครงการสร้างทางลอด บนถนนรามคำแหง บริเวณใต้แยกต่างระดับกาญจนาภิเษก ยาวตลอดแนวเขตทางไปจนถึงจุดต่างระดับ ซึ่งจะทับซ้อนกับ รฟม. ที่ต้องมีการก่อสร้างเสาตอม่อรถไฟฟ้าบริเวณกึ่งกลางทางลอด ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันว่า รฟม. สามารถสร้างเสาตอม่อไปก่อนได้ โดยไม่ต้องรอการก่อสร้างของ กทม . แต่ กทม. ต้องก่อสร้างระบบความปลอดภัยภายในอุโมงค์ทางลอดด้วย เพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้ทางให้แก่ประชาชน เนื่องจากจะมีเสาต่อม่อรถไฟฟ้าปักอยู่กึ่งกลางทางลอด โดย กทม.ก็ยินดี ขณะเดียวกันบริเวณถนนราษฎร์พัฒนา ทาง กทม. มีโครงการก่อสร้างสะพานลอยรถยนต์เชื่อมทางเข้าและออก ซึ่งทับซ้อนกับสถานีราษฎร์พัฒนา รฟม. จึงต้องปรับแบบก่อสร้างทางยกทางระดับสูงขึ้นอีก 8 เมตร ตลอดแนว เพื่อไม่ให้ทับซ้อนกับสะพานลอยของกทม. ทำให้ รฟม. มีภาระต้นทุนการก่อสร้างเพิ่มขึ้น 150 ล้านบาท แต่ กทม. ได้รับที่จะกลับไปพิจารณาปรับแบบก่อสร้างใหม่ โดยอาจสร้างเป็นทางลอดใต้ดินแทน เพื่อลดภาระค่าก่อสร้างให้ รฟม.

นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่า ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง จะทับซ้อนบริเวณสะพานข้ามแยกบางกะปิของ กทม. ที่ก่อสร้างไว้เดิม กับเสาตอม่อรถไฟฟ้า สถานีหน้าเดอะมอลล์บางกะปิ ของ รฟม.ที่จะก่อสร้างใหม่ ซึ่งเดิม รฟม.จะก่อสร้างเสาตอม่อด้วยการถ่างสะพานบางกะปิออกแล้วปักเสาตอม่อตรงกลางตลอดแนว แต่ กทม. มองว่าระยะปักเสาที่ห่างกันเพียง 15 เมตรถี่เกินไป จึงเสนอให้ รฟม. ทุบสะพานบางกะปิออก เพื่อก่อสร้างโครงสร้างขึ้นมาใหม่แล้วใช้โครงสร้างเสาร่วมกัน โดยสะพานรถยนต์ของกทม.จะใช้โครงสร้างอยู่ระดับ 2 และรถไฟฟ้าใช้ระดับ 3 (ชั้นบนสุด) ซึ่ง รฟม. ไม่ขัดข้อง แต่จะต้องก่อสร้างไปพร้อมกัน โดย กทม.จะต้องไปจัดหางบก่อสร้าง จำนวน 250 ล้านบาท มาสนับสนุนการก่อสร้างด้วย ซึ่งกทม.จะนำเสนอขอรับการจัดสรรงบจากสภา กทม. ต่อไป สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรีนั้น ศาลปกครอง ได้ขอให้ รฟม.ขยับทางขึ้น-ลง ของสถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติออกไป ไม่ให้บดบังทัศนียภาพตัวอาคารของศาลปกครอง ขณะที่กรมการกงสุล ขอให้ รฟม.ปรับเลื่อนสถานีศูนย์ราชการฯ ไปทางฝั่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ เนื่องจากมองว่าสถานีจะบดบังอาคารของกรมการกงศุล ซึ่ง รฟม.ก็รับไว้พิจารณา
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 154, 155, 156 ... 277, 278, 279  Next
Page 155 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©