RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180324
ทั้งหมด:13491558
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โคราชก็อยากได้ระบบขนส่งมวลชนเหมือนกัน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โคราชก็อยากได้ระบบขนส่งมวลชนเหมือนกัน
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/06/2017 10:27 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เคาะรถไฟฟ้ารางเบาโคราช
เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2560 เวลา 13.14 น.


เคาะรถไฟฟ้ารางเบาโคราช
เศรษฐกิจ
พฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2560 เวลา 13:14:00

รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) แจ้งความคืบหน้าโครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมาว่า เมื่อวันที่ 19มิ.ย. ที่ผ่านมา ได้ประชุมคณะกรรมการกำกับการศึกษาโครงการฯที่สนข.ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.)เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบเกี่ยวกับผลการศึกษาที่เลือกใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเบา(แทรม) หรือรถรางซึ่งมีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีความคุ้มค่าในการลงทุนมากกว่ารถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษหรือบีอาร์ที ซึ่งมี 3เส้นทาง คือสายสีเขียวโคกกรวด-จอหอ สายสีส้มดูโฮม-วิ่งวนในเมืองชั้นในและสายสีม่วงเซฟวัน-จอหอ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/07/2017 5:40 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมผุดรถไฟฟ้ารางเบา 3 เส้นทางเชื่อมทั่วเมืองโคราช
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 31 กรกฎาคม 2560 - 15:55 น.

Click on the image for full size

นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 31กค สนข ได้เปิดสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 โครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา โดยสนข. ได้ศึกษาเพื่อจัดทำแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนคราชสีมา เพื่อเป็นแผนที่นำทาง (Road map) ครอบคลุมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการจราจรและขนส่งสาธารณะ และเพื่อให้การเดินทางสัญจรในจังหวัดนครราชสีมา มีความคล่องตัวสามารถเชื่อมโยงการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะได้อย่างเป็นรูปธรรม ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล อันจะนำไปสู่การบรรเทาสภาพปัญหาการจราจร

จากผลการศึกษาพบว่า ระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมคือ ระบบรถแบบ LRT หรือ Light Rail Transit System รถไฟฟ้ารางเบา ซึ่งจะเป็นระบบหลัก และมีระบบรถโดยสาร (Bus Technology) เป็นระบบรอง คาดว่าจะใช้เงินลงทุนรวม 32,600 ล้านบาท

แบ่งเป็น 3 เส้นทางหลัก ได้แก่ สายสีเขียว สายสีส้ม และสายสีม่วง ซึ่งจุดจอด/สถานี จะมีระยะห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร โดยการก่อสร้างจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย

ระยะที่ 1 : 2 เส้นทาง ได้แก่ สายสีส้มเข้ม เส้นทางเริ่มจากแยกประโดก – ถนนช้างเผือก – คูเมืองเก่า ระยะทาง 9.81 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี และสายสีเขียวเข้ม เส้นทางเริ่มจากตลาดเซฟวัน – ถนนมุขมนตรี – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.17 กิโลเมตร จำนวน 18 สถานี

ระยะที่ 2 : สายสีม่วงเข้ม เส้นทางเริ่มจากตลาดเซฟวัน – ถนนมิตรภาพ – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.92 กิโลเมตร จำนวน 9 สถานี

ระยะที่ 3 : สายสีส้มอ่อน เส้นทางเริ่มจากโรงเรียนเทศบาล 1 – หัวทะเล – ดูโฮม ระยะทาง 5.37 กิโลเมตร จำนวน 4 สถานี สายสีเขียวอ่อน เส้นทางเริ่มจากสถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 3 (ห้วยบ้านยาง) – ตลาดเซฟวัน และสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ บ้านนารีสวัสดิ์ – สำนักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา สาขา 2 ระยะทาง 12.12 กิโลเมตร จำนวน 13 สถานี และสายสีม่วงอ่อน เส้นทางเริ่มจากมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล – แยกจอหอ – ค่ายสุรนารายณ์ ระยะทาง 4.48 กิโลเมตร จำนวน 3 สถานี

“ขณะนี้ผลการศึกษาได้ผ่านขั้นตอนการสรุปผลการศึกษาระบบเทคโนโลยีและโครงข่ายที่เหมาะสมรวมถึงการคัดเลือกเส้นทางสำหรับเป็นโครงการนำร่อง
เพื่อออกแบบแนวคิดเบื้องต้น (Conceptual Design) แล้ว โดยครั้งนี้ สนข ได้นำเสนอผลการศึกษามารับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ไปประกอบการพิจารณาดำเนินโครงการต่อไป”นางวิไลรัตน์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/08/2017 12:25 pm    Post subject: Reply with quote

ชาวโคราช จัดหนัก!! ไม่อารถไฟฟ้ามวลเบาผ่าเมือง

31 กรกฎาคม 2560

ชาวโคราช จัดหนัก ประชาพิจารณ์ครั้งสุดท้าย เสียงส่วนใหญ่ไม่รับโครงการรถไฟฟ้ามวลเบาผ่าเมือง สนข.หน้าแตก ต้องนำกลับมาทบทวนใหม่
ที่โรงแรมดุสิตปริ๊นเซส โคราช จังหวัดนครราชสีมา เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 31 กรกฎาคม ว่าที่ร้อยตรีนิรันดร์ ดุจจานุทัศน์ ปลัดจังหวัดนครราชสีมา พร้อมนางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ร่วมเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 (ปัจฉิมนิเทศ) โครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา โดยมีนายสุรวุฒิ เชิดชัย นายกเทศมนตรีนคร (ทน.) นครราชสีมา ผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชนและประชาชน จำนวน 400 คน ร่วมรับฟังการนำเสนอภาพรวมผลการศึกษาแผนแม่บทระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมกับเมืองนครราชสีมา เพื่อรับฟังความคิดเห็นประชาชนก่อนจัดทำร่างแผนแม่บท ฯ
บรรยากาศค่อนข้างคึกคัก เนื่องจากมีการแจกใบปลิวระบุข้อความห้ามจอดรถตลอดแนว ถนนมุขมนตรี ถนนโพธิ์กลาง ถนนสุรนารี ทำให้ผู้ประกอบการค้า ประชาชนเกรงจะได้รับผลกระทบจากรูปแบบโครงการ ฯ ได้ทยอยเดินทางมาร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ผู้จัดการสัมมนา ฯ ต้องสำรองเก้าอี้นั่งเพิ่มจำนวนกว่า 100 ตัว จนร้อยโทสำรวย เกียนประโคน หัวหน้าชุดปฏิบัติการ กองร้อยรักษาความสงบ อ.เมือง นครราชสีมา สังกัดมณฑลทหารบกที่ 21 ค่ายสุรนารี (ร้อย รส.อ.เมือง มทบ.21 ) นำกำลังมาดูรักษาความสงบเรียบร้อย ป้องปรามการเคลื่อนไหวที่หมิ่นเหม่ข้อกฎหมายและสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด
ช่วงเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น เสียงส่วนใหญ่ไม่ต้องการโครงการ ฯ ดังกล่าว เนื่องจากแนวเส้นทางผ่าใจกลางเมือง ไม่สามารถตอบโจทย์การขนส่งสาธารณะได้ถูกต้อง การห้ามจอดรถยนต์ในเขตเมือง ซึ่งถนนค่อนข้างคับแคบ จุดจอดรถอยู่หน้าร้านค้า จะทำให้เกิดผลกระทบอย่างต่อเนื่อง
นายสุรวุฒิ ฯ นายก ทน.นครราชสีมา กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า ได้รับทราบข้อมูลเบื้องต้นช่วงเส้นทางผ่านย่านกลางเมือง ไม่ให้จอดรถยนต์ริมสองฝั่งถนน จึงขอให้ สนข.ทดลองนำรถบัสพลังงานไฟฟ้ามาวิ่งก่อน จะได้ทราบปัญหาที่แท้จริง ตนในฐานะตัวแทนชาวโคราช อยากให้ทุกคนมีความคิดเห็นตรงกัน จะได้ไม่เกิดความขัดแย้งภายหลัง
ผศ.ดร.รัฐพล ภู่บุบผาพันธ์ ที่ปรึกษาโครงการ ฯ ฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมจราจร เปิดเผยว่า ผลการศึกษาพบระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมกับเมืองนครราชสีมา คือ ระบบรถแบบ LRT หรือ Light Rail Transit System ซึ่งเป็นระบบหลักและมีระบบรถโดยสาร (Bus Technology) เป็นระบบรอง มี 3 เส้นทางหลัก ได้แก่ สายสีเขียว สายสีส้ม และสายสีม่วง ซึ่งจุดจอด/สถานีในระยะห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร โดยก่อสร้างแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 สายสีส้มเข้ม จำนวน 2 เส้นทาง เริ่มจากทางแยกประโดก-คูเมืองเก่า ระยะทาง 9.81 กิโลเมตร และสายสีเขียวเข้ม ตลาดเซฟวัน-ถนนมุขมนตรี-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.17 กิโลเมตร ระยะที่ 2 สายสีม่วงเข้ม ตลาดเซฟวัน-ถนนมิตรภาพ-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.92 กิโลเมตร
ระยะที่ 3 สายสีส้มอ่อน โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร)-หัวทะเล-ดูโฮม ระยะทาง 5.37 กิโลเมตร สายสีเขียวอ่อน ห้วยบ้านยาง-สำนักงานขนส่งนครราชสีมา สาขา 2 (จอหอ) ระยะทาง 12.12 กิโลเมตร และสายสีม่วงอ่อน มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล-ค่ายสุรนารายณ์ ระยะทาง 4.48 กิโลเมตร รวมมูลค่าทั้งสิ้น 32,000 ล้านบาท
นางวิไลรัตน์ ฯ รอง ผอ.สนข. เปิดเผยว่า จังหวัดนครราชสีมา ถือเป็นประตูสู่อีสาน ซึ่งมีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดและมีจำนวนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค มีศักยภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยว การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงกับเมืองหลักในภูมิภาค จึงมีความสำคัญในกรอบยุทธศาสตร์การเพิ่มศักยภาพรวมในระยะยาว สนข.จึงดำเนินการจัดทำแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา เพื่อเป็นแผนที่นำทาง ( Road Map ) ครอบคลุมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม เพื่อให้การเดินทางสัญจรมีความคล่องตัวสามารถเชื่อมโยงการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะได้อย่างเป็นรูปธรรม ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล สามารถบรรเทาปัญหาจราจรในอนาคต
ที่ผ่านมา สนข. ได้ลงพื้นที่จัดประชุมกลุ่มย่อย เพื่อหารือหรือพบปะกับกลุ่มผู้นำชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 ครั้ง และจัดสัมมนาระดมความคิดเห็นจำนวน 2 ครั้ง เพื่อให้ประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรู้และมีส่วนร่วมการดำเนินโครงการตั้งแต่ขั้นตอนศึกษา การวางแผนและการตัดสินใจการดำเนินโครงการ ฯ เป็นไปด้วยความโปร่งใสชอบธรรมและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม
หลังการสัมมนาครั้งนี้ สนข.จะนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ไปประกอบการสรุปผลการศึกษาโครงการ ฯ ระยะเวลาประมาณ 5 ปี จะสามารถพัฒนารูปแบบการให้บริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการจราจรและขนส่ง รวมทั้งส่งเสริมการเดินทางให้มีความสะดวกสบาย มีความปลอดภัย ช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตได้ดีขึ้น หากเสียงส่วนใหญ่ไม่ต้องการ ขั้นตอนขณะนี้ยังไม่ได้ออกแบบโครงการ ฯ เป็นเพียงผลการศึกษาแผนแม่บท ฯ กระบวนการต่อไปต้องนำผลการศึกษาทั้งหมดกลับมาทบทวนอีกครั้ง เพื่อพิจารณาปรับรูปแบบโครงการให้เหมาะสมตรงความต้องการของชาวโคราชมากที่สุด

Note: นับวันชาวโคราชที่เป็น voting Bank ของนายกเล็กชักจะโชว์ความโง่เขลาเบาปัญญาให้คนเมืองอื่นเขาหัวเราะเยาะเอาและทำให้ชาวโคราชที่ไม่เห็นดีเห็นงามกะนายกเล็กและพวกอยากจะเอาปี๊บคลุมหัวหนะสิครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/08/2017 6:09 pm    Post subject: Reply with quote

คำชี้แจงจากคนโคราชที่อยู่ในเหตุการณ์:
Wasborn wrote:
ต้องเข้าใจก่อนว่า นี่เป็นแค่แผนแม่บทครับ.. ไม่ใช่การปฏิเสธงบประมาณ.. และ ชาวเน็ตก็เข้าใจแบบนี้กันซะส่วนใหญ่.. ว่าไม่เอางบ..จากที่อ่านๆคอมเม้นมาตามเพจ..

แผนแม่บทต้องสร้างไว้รองบประมาณมา..
แต่กว่า สนข. จะนำเสนอเข้า คมนาคม พอผ่านคมนาคม กว่าจะเข้า ครม. งบจะมาก็อีกนานมาก.. ไม่ใช่ใน 5 ปีนี้แน่.. ถ้าได้ใน 5 ปี.. ถือว่า โคตรฟลุ๊ค..


การทำประชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็น.. ตอนนี้ ก่อนงบมา.. ดีกว่า ทำตอนงบมาแล้วมากครับ.. ดัง ตย. รางคู่ ในปัจจุบัน.. ที่ต้องมาแก้แบบกันวุ่นวาย.. ทำให้เลื่อนงานออกไป..

สนข. เขาเลยต้องจัดงานนี้มา..

ให้กลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยนั้นออกมา.. และ เอาเหตุผลของคนกลุ่มนี้มาปรับกับโครงการ.. จะมาว่าเขาออกมาค้าน ออกมาถ่วงความเจริญก็ไม่ถูก.. คนที่ด่า หาได้รู้เรื่องอะไรไม่..

ส่วนกลุ่มคนที่เห็นด้วยเขาก็มานะครับ.. แต่ไม่ได้เสนออะไร..เพียวแค่มาขัดคอคนที่ไม่เห็นด้วย..

แผนแม่บทที่ดีต้องออกมาให้ทั้งสองฝ่ายยอมรับ..
ไม่งั้นก็คิดเองทำไรเองไปเลยหน่วยงานเดียว.. อย่าง ความเร็วสูง..

ถ้ารีบพัฒนา อย่าง ขอนแก่น.. อยากได้ไวๆ ที่แรกของประเทศ ก็ต้อง ลงขัน จากเอกชนครับ..

แต่ที่โชคดีไม่ต้อง ลงขัน.. เหมือน ขอนแก่น
คือ เชียงใหม่ กับ ภูเก็ต ตอนนี้ผ่านคมนาคม กำลัง เสนอ ครม. คาดว่าภายใน 2 ปี งบคงมาแน่.. สำหรับสองจังหวัดนี้..

ส่วนโคราช ต้องต่อคิวรอครับ.. และ อยู่ที่ สนข. เลย ว่าอยากจะดันโคราชแค่ไหน.. ผมว่า โคราช ยังอีกนานประมาณช่วง ปี 65-70 น่าจะได้ช่วงนั้น..

ส่วนเนื้อหาการประชุม เดี๋ยวรอ เว็บ โครงการนำเอกสารขึ้นมาก่อน.. เดี๋ยวผมจะมาชำแหละอีกที..

http://www.korat-publictransport.sut.ac.th
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/08/2017 6:24 pm    Post subject: Reply with quote

ส่อแววเหลว…ลงทุนกว่า3หมื่นล้าน พัฒนาขนส่งสาธารณะเมืองโคราช
โดย LeaderCrew 4 ส.ค. 60

แม้ว่าโครงการรถไฟทางคู่จะส่อแววยืดเยื้อในช่วงผ่านสถานีนครราชสีมาเนื่องจากประชาชนในพื้นที่ต้องการให้ปรับแก้ไขเป็นโครงสร้างทางยกระดับ ทั้งๆ ที่ตอนเปิดรับฟังความเห็นกลับไม่มีการนำเสนอในเรื่องนี้จนกระทั่งนำไปสู่การนำเสนอโครงการให้รัฐบาลอนุมัติงบประมาณไปดำเนินการและเริ่มดำเนินการก่อสร้างในบางช่วงไปแล้วนั้น ปมปัญหานี้ยังต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาว่าท้ายที่สุดแล้วการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) หรือประชาชนในพื้นที่รอบสถานีนครราชสีมาจะมีทางออกในเรื่องนี้อย่างไร

พื้นที่ อปท. ตามแนวเส้นทางโครงพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะหลักในเขตเมืองนครราชสีมา
ประการสำคัญเบื้องลึกเบื้องหลังโครงการนี้ดูเหมือนว่าเริ่มจะมีเสียงปฏิเสธโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลที่ส่อแววว่าปล่อยให้ดำเนินการไปก่อนแล้วค่อยล้มทีหลังเพื่อดิสเครดิตขยายไปสู่พื้นที่จังหวัดอื่นๆ ส่วนจะเป็นจริงหรือไม่นั้นชาวโคราชกลุ่มหนึ่งนั้นย่อมรู้ดี เช่นเดียวกับกลับมองข้ามในประเด็นที่ว่างบประมาณเพิ่มทั้งๆ ที่รัฐบาลอนุมัติให้ดำเนินการไปแล้ว จะต้องมีการขอปรับแก้ไขในภายหลัง นอกจากนั้นยังจะเสนอให้ยกระดับเส้นทางยาวไกลถึง 15 กิโลเมตร แน่นอนว่าการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ.) จะต้องดำเนินการเพิ่มเติมอีกหรือไม่ ล่าช้าออกไปอีกกีปี แถมยังจะไปกระทบกับการก่อสร้างและให้บริการเดินรถเส้นทางอื่นช่วงถัดไปที่จะต้องดำเนินการต่อเนื่อง

สิ่งสำคัญได้มองข้ามความปลอดภัยหรือไม่เพราะรถไฟทางคู่เน้นขนสินค้าหนัก แน่นอนว่าเมื่อยกระดับขึ้นไปบนดินย่อมจะมีผลกระทบต่างๆ ตามมามากมายแน่โดยเฉพาะที่จะเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอันเกิดจากน้ำหนักของการบรรทุก การดูแลบำรุงรักษา เป็นภาระของรัฐบาลเพียงเพื่อไม่ให้รถไฟทางคู่แบ่งแยกชุมชนทั้งๆ ที่ ร.ฟ.ท. ออกแบบทางข้ามทางแยกไว้ตามจุดต่างๆ รองรับไว้แล้วแต่ยังมีผู้อ้างว่าเป็นการแบ่งแยกพื้นที่ออกจากกันทั้งๆ ที่ปัจจุบันเส้นทางก็เหมือนแบ่งแยกออกเป็น 2 ส่วนเพียงแต่ก้าวข้ามไปมาหากันได้ แต่หากรู้ไม่ว่านั่นย่อมไม่ปลอดภัยในการให้บริการเดินรถ หากมีการเพิ่มความเร็วและขบวนถี่ขึ้นไปอีกหรือจะปล่อยให้ตายอีกกี่ศพถึงจะให้มีการก่อสร้างในช่วงดังกล่าวนี้

ล่าสุดประชาชนชาวนครราชสีมากลุ่มหนึ่งยังออกมาต่อต้านไม่เอาโครงการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) นำเสนอเสียงส่วนใหญ่ไม่ต้องการโครงการดังกล่าว เนื่องจากแนวเส้นทางผ่าใจกลางเมือง ไม่สามารถตอบโจทย์การขนส่งสาธารณะได้ถูกต้อง การห้ามจอดรถยนต์ในเขตเมือง ซึ่งถนนค่อนข้างคับแคบ จุดจอดรถอยู่หน้าร้านค้า จะทำให้เกิดผลกระทบอย่างต่อเนื่อง

เทคโนโลยีระบบขนส่งสาธารณะที่เสนอในเขตเมืองนครราชสีมา

ประเด็นเหล่านี้สนข.คงได้ศึกษามาอย่างรอบคอบ ผู้ที่กล่าวอ้างเพียงเอาความรู้สึกมาตัดสินหรือไม่ มองผลกระทบในอนาคตไว้หรือไม่ หากไม่แก้ไขวันนี้อีกกี่ปีถึงจะให้เริ่มดำเนินการ ถึงวันนั้นหากงบประมาณสูงเกินไปก็คงจะไม่คุ้มค่าในการลงทุน ยิ่งหากสภาพการจราจรติดขัดอย่างมากผลกระทบเหล่านั้นย่อมส่งผลถึงการประกอบธุรกิจตามมาอย่างแน่นอน เนื่องจากปัจจุบันสภาพการจราจรนอกเขตเมืองได้รับความสะดวกมากกว่า ความเจริญจึงขยายออกสู่นอกเมือง แน่นอนว่าบริษัท ห้างร้านในเมืองย่อมได้รับผลกระทบตามไปด้วย เพราะบางพื้นที่ปลอดน้ำท่วม มีความสะดวกด้านการเดินทางนั่นเอง

ประการสำคัญในการต่อต้านโครงการดังกล่าวยังมีนายสุรวุฒิ เชิดชัย ลูกชาย”เจ้เกียว” สุจินดา เชิดชัย ในฐานะนายกเทศมนตรีนครราชสีมา ได้แสดงความคิดเห็นผ่านสื่อชัดเจนว่า ได้รับทราบข้อมูลเบื้องต้นช่วงเส้นทางผ่านย่านกลางเมือง ไม่ให้จอดรถยนต์ริมสองฝั่งถนน จึงขอให้ สนข.ทดลองนำรถเมล์โดยสารพลังงานไฟฟ้ามาวิ่งก่อน จะได้ทราบปัญหาที่แท้จริง ทั้งๆที่ช่วงแรกที่มีการรับฟังความเห็นไม่ได้มีการนำเสนอประเด็นเหล่านี้ไว้เลย จนจะสรุปรายละเอียดแล้วค่อยมานำเสนอ ประเด็นนี้มองไปได้อีกทางหนึ่งว่า เจ้เกียวได้รับผลกระทบจากการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในพื้นที่นครราชสีมาหรือไม่ หรือเพียงเพื่อต้องการให้กลุ่มเชิดชัยได้ดำเนินการเท่านั้น ทั้งสัมปทานเดินรถและการบริหารจัดการ ตลอดจนการเดินรถฟีดเดอร์รูปแบบต่างๆด้วยการใช้รถเมล์โดยสารสาธารณะที่กลุ่มเชิดชัยดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน


รูปแบบบริเวณจุดเปลี่ยนเส้นทาง (Interchange) บริเวณลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

สนข.ยันยังไม่ได้ออกแบบรายละเอียด

ความขัดแย้งระหว่างการเร่งผลักดันนโยบายของรัฐยังไม่รวดเร็วขนาดนั้นเพราะ สนข.โดยนางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รอง ผอ.สนข. กลับมองอย่างแตกต่างว่า จังหวัดนครราชสีมา ถือเป็นประตูสู่อีสาน ซึ่งมีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดและมีจำนวนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค มีศักยภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยว การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงกับเมืองหลักในภูมิภาค จึงมีความสำคัญในกรอบยุทธศาสตร์การเพิ่มศักยภาพรวมในระยะยาว สนข.จึงดำเนินการจัดทำแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา เพื่อเป็นแผนที่นำทาง (Road Map) ครอบคลุมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม เพื่อให้การเดินทางสัญจรมีความคล่องตัวสามารถเชื่อมโยงการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะได้อย่างเป็นรูปธรรม ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล สามารถบรรเทาปัญหาจราจรในอนาคต

โดยช่วงที่ผ่านมา สนข. ได้ลงพื้นที่จัดประชุมกลุ่มย่อย เพื่อหารือหรือพบปะกับกลุ่มผู้นำชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 ครั้ง และจัดสัมมนาระดมความคิดเห็นจำนวน 2 ครั้ง เพื่อให้ประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรู้และมีส่วนร่วมการดำเนินโครงการตั้งแต่ขั้นตอนศึกษา การวางแผนและการตัดสินใจการดำเนินโครงการฯ เป็นไปด้วยความโปร่งใสชอบธรรมและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม

ดังนั้นภายหลังการสัมมนาครั้งสุดท้ายเสร็จเรียบร้อยแล้ว สนข.จะนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ไปประกอบการสรุปผลการศึกษาโครงการเพื่อที่จะสามารถพัฒนารูปแบบการให้บริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการจราจรและขนส่ง รวมทั้งส่งเสริมการเดินทางให้มีความสะดวกสบาย มีความปลอดภัย ช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตได้ดีขึ้น พร้อมยืนยันว่าหากเสียงส่วนใหญ่ไม่ต้องการ ขั้นตอนขณะนี้ยังไม่ได้ออกแบบโครงการ เป็นเพียงผลการศึกษาแผนแม่บท กระบวนการต่อไปต้องนำผลการศึกษาทั้งหมดกลับมาทบทวนอีกครั้ง เพื่อพิจารณาปรับรูปแบบโครงการให้เหมาะสมตรงความต้องการของชาวโคราชมากที่สุดก่อนที่จะนำเสนอรัฐบาลพิจารณาต่อไป ส่วนจะปีไหนเมื่อไหร่นั้นยังไม่กำหนดชัดเจนอีกเช่นเดียวกัน


แผนพัฒนาพื้นที่สอดคล้องต่อการบูรณาการเชื่อโยงระบบขนส่งสาธารณะ
มีทั้งเฟสแรกและส่วนต่อขยาย

สอดคล้องกับที่ผศ.ดร.รัฐพล ภู่บุบผาพันธ์ ที่ปรึกษาโครงการ ฯ ฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมจราจร ยังได้ชี้ให้เห็นถึงผลการศึกษาพบระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมกับเมืองนครราชสีมา ว่าระบบรถแบบ LRT หรือ Light Rail Transit System ซึ่งเป็นระบบหลักและมีระบบรถโดยสาร (Bus Technology) เป็นระบบรอง มี 3 เส้นทางหลัก ได้แก่ สายสีเขียว สายสีส้ม และสายสีม่วง ซึ่งจุดจอด/สถานีในระยะห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร

โดยโครงการดังกล่าวจะก่อสร้างเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สายสีส้มเข้ม จำนวน 2 เส้นทาง เริ่มจากทางแยกประโดก-คูเมืองเก่า ระยะทาง 9.81 กิโลเมตร และสายสีเขียวเข้ม เริ่มต้นจากตลาดเซฟวัน-ถนนมุขมนตรี-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.17 กิโลเมตร ระยะที่ 2 สายสีม่วงเข้ม เริ่มจากตลาดเซฟวัน-ถนนมิตรภาพ-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.92 กิโลเมตร

ระยะที่ 3 สายสีส้มอ่อน โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร)-หัวทะเล-ดูโฮม ระยะทาง 5.37 กิโลเมตร สายสีเขียวอ่อน ห้วยบ้านยาง-สำนักงานขนส่งนครราชสีมา สาขา 2 (จอหอ) ระยะทาง 12.12 กิโลเมตร และสายสีม่วงอ่อน มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล-ค่ายสุรนารายณ์ ระยะทาง 4.48 กิโลเมตร รวมมูลค่าทั้งสิ้น 32,000 ล้านบาท

ท้ายที่สุดแล้วโครงการนี้จะเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมได้หรือไม่ เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรทั้งในวันนี้และในอนาคตหากเมืองมีการเติบโตจากอานิสงส์ของการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนอย่างรถไฟความเร็วสูงและมอเตอร์เวย์ในวันนี้ สิ่งสำคัญหากไม่เริ่มในวันนี้อาจจะส่งผลให้ชาวโคราชสูญเสียโอกาสในการใช้งบประมาณก้อนโตกว่า 3.2 หมื่นล้านบาทไปหรือไม่ โครงการดังกล่าวเบื้องลึกเบื้องหลังจะเอื้อประโยชน์ให้ใครหรือไม่ อีกไม่กี่ปีนี้คงจะมีคำตอบให้อย่างแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/08/2017 1:33 pm    Post subject: Reply with quote

อ้าง‘โคราชไม่เอารางเบา’ หากต้านเยอะ‘พับโครงการ’
ออนไลน์เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๔ เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐
ตีพิมพ์ใน นสพ.โคราชคนอีสาน
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๒๔๕๐
วันศุกร์ที่ ๑๑ - วันอังคารที่ ๑๕ เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐

ให้ข้อมูลบิดเบือน สื่อบางสำนักเสนอข่าว ทำให้ชาวโคราชเห็นผิดไม่เอา LRT ถึงขั้นบอกไม่จำเป็นต้องมีระบบใดในเขตเมือง “มทส.” ผู้ศึกษาย้ำ หากต่อต้านเยอะ คมนาคมอาจพับโครงการ ยอมรับเสียดาย เพราะแก้ปัญหารถติดในเมืองได้

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๘.๓๐ น. สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ ๓ (ปัจฉิมนิเทศ) โครงการศึกษาแผนแม่บทจราจร และแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมือง ณ ห้องสุรนารี เอ โรงแรมดุสิตปริ๊นเซสโคราช โดยมว่าที่ร้อยตรีนิรันดร์ ดุจจานุทัศน์ ปลัดจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการ สนข. เป็นประธานเปิดการสัมมนาร่วมกัน และมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ประชาชน และสื่อมวลชน เข้าร่วมสัมมนาประมาณ ๒๔๐ คน เช่น นายสุรวุฒิ เชิดชัย นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา นายทวิสันต์ โลณานุรักษ์ อดีตประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา นายไพสิทธิ์ ปิติทรงสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น ตามที่ ‘โคราชคนอีสาน’ เสนอข่าวโดยละเอียดไปแล้ว ในฉบับที่ ๒๔๔๘ วันที่ ๑-๕ เดือนสิงหาคม ๒๕๖๐ นั้น

‘โคราชคนอีสาน’ สัมภาษณ์ เภสัชกรจักริน เชิดฉาย อดีตประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมาซึ่งเปิดเผยว่า ในการสัมมนาครั้งที่ ๓ นั้น เป็นการสรุปผลการศึกษาของสนข. ซึ่งว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.) ทำการศึกษาระบบขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ปัญหาการจราจรในเขตเมือง ซึ่งในการปัจฉิมนิเทศ ครั้งนีเป็นการสรุปมาให้ฟังว่าโครงการได้เลือกระบบไหนในการดำเนินโครงการ และด้วยเหตุผลอะไร เป็นการชี้แจงให้ประชาชนทราบว่าสาเหตุที่เลือกระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) เกิดจากเหตุใด และแสดงเหตุผลถึงการเลือกเส้นทางเดินรถตามแผนเพราะเหตุใด

พาดหัวข่าวบิดเบือน

เภสัชกรจักริน กล่าวย้อนไปว่า เหตุที่ ระบบนี้เป็นระบบที่มีการใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก และที่สำคัญระบบรางสามารถเข้ามาในเขตเมืองได้ ซึ่งขณะนี้โจทย์ของเราคือการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของเขตเมืองชั้นใน เนื่องจากเศรษฐกิจในเขตเมืองชั้นในมีลักษณะแย่หรือกำลังจะล่มสลายไป หากมีระบบขนส่งสาธารณะนี้เกิดขึ้น จะทำให้ระบบเศรษฐกิจในเขตเมืองฟื้นคืนกลับมาได้บางส่วน และที่สำคัญคือการเลือกเส้นทางเดินรถนั้น จะสามารถตอบโจทย์ตรงนี้ได้ ขณะนี้มี ๓ เส้นทาง แต่เส้นทางที่โครงการจะเริ่มดำเนินการก่อน คือเส้นทางสายสีเขียวและสายสีส้มที่จะผ่านมาในเขตเมือง โดยมีเหตุผลที่ว่าสายสีเขียวมีการเชื่อมโยงกับรถไฟความเร็วสูงที่สถานีหัวรถไฟ ซึ่งตรงนี้เส้นทางมีความสำคัญต้องผ่านถนนมุขมนตรีและเชื่อมต่อมาลานย่าโม และลานย่าโมจะเป็นศูนย์กลางจุดเชื่อมต่อของรถไฟฟ้ารางเบาสายสีเขียวกับสายสีส้ม โดยสายสีเขียวจะมีการวิ่งผ่านเมืองเชื่อมต่อไปยังสถานีขนส่งแห่งที่ ๒ (บขส.๒) การที่มีจุดเชื่อมต่อเส้นทางหลักจากสถานีรถไฟความเร็วสูงไปถึงสถานีขนส่งแห่งที่ ๑ (บขส.๑) และ บขส.๒ ได้ ผู้โดยสารจะสามารถเดินทาง ต่อไปสถานที่อื่นได้นอกจากในเมือง ส่วนสายสีส้มนั้น จะเข้ามาเส้นในเมืองและวิ่งวนอยู่ในเขตเมือง ระยะที่สอง คือสายสีม่วงที่จะวิ่งมาตามถนนสายมิตรภาพ ผ่านเดอะมอลล์ อ้อมไปเทอร์มินอล และไปอ้อมเซ็นทรัลพลาซาใหม่ จากนั้นจะมาบรรจบที่บ้านเกาะ และจะมาเชื่อมต่อกับทุกสายที่เป็นส่วนขยายในระยะสุดท้าย

“ในวันที่มีการปัจฉิมนิเทศนั้น พี่น้องบางส่วนมาร่วมด้วยความตื่นตระหนกและกลัวว่าจะหาที่จอดรถไม่ได้ เพราะมีผู้บริหารบางคนรวมทั้งสื่อบางสำนักไปให้ข้อมูลผิดๆ ว่า ระบบรางเบาจะไม่สามารถจอดรถได้ทั้งสองฝั่งถนน ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ไม่ใช่ข้อเท็จจริงทั้งหมดของโครงการ จึงทำให้ประชาชนมีความตื่นตระหนกถึงขั้นออกมาบอกว่าไม่จำเป็นต้องมีระบบใดๆ ในเขตเมืองซึ่งมีบางคนเท่านั้นที่มีความเข้าใจผิด เพราะได้รับข้อมูลที่ผิดๆ มา โดยนายกเทศมนตรี (นายสุรวุฒิ เชิดชัย) ก็เสนอให้ทดลองวิ่งก่อนว่าจะมีผลกระทบเช่นไรกับประชาชน เช่น ควรจะมีการนำรถบัสที่มีอยู่ มาวิ่งในเส้นทางที่กำหนดไว้เป็นเส้นทางรถรางก่อนว่าจะมีผลเป็นอย่างไร มีน้อยคนมากที่บอกว่าไม่มีความจำเป็นต้องใช้หรือหาระบบอื่นมาทดแทนเพียงแต่มีการบิดเบือนข่าวจากบางสำนักข่าวที่พาดหัวข่าวว่า ‘ชาวโคราช จัดหนัก!! คนโคราชไม่เอารถไฟฟ้ารางเบาผ่าเมือง’ เท่านั้น ที่ทำให้ประชาชนเห็นผิดว่าชาวโคราชไม่เอาระบบนี้ ทั้งที่มีประชาชนเพียงบางคนเท่านั้นถูกจัดตั้งมา ให้ถือป้ายเข้ามาในงาน แต่ไม่ถึงขั้นประท้วงแต่อย่างใด” ภก.จักริน กล่าว

ภก.จักริน เปิดเผยอีกว่า “โดยส่วนตัวแล้ว ตนคิดว่าระบบนี้เป็นระบบที่ดีที่สุดและตนก็สนับสนุนระบบนี้มาตั้งแต่ต้น หลังผ่านการปัจฉิมนิเทศครั้งนี้ไปแล้ว สนข.จะเปลี่ยนให้ รฟม. (การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย) เข้ามาทำการออกแบบและก่อสร้างแทน เรียกว่า ‘ดีเทล ดีไซน์’ ซึ่งตนได้เสนอแนวความคิดไปว่า จะต้องถามชาวโคราชทุกกลุ่มก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง และเพื่อให้ชาวโคราชเห็นประโยชน์ร่วมกันในการกำหนดเส้นทางรวมทั้งรูปแบบอีกครั้งหนึ่ง แต่รูปแบบที่สรุปแล้ว คือรูปแบบรถไฟฟ้ารางเบา

ไม่เอา Smart เอา Strong

ด้านนายพีรพล หล้าวงษา อาชีพทนายความ ซึ่งเข้าร่วมเวทีปัจฉิมนิเทศด้วยนั้น แสดงความคิดเห็นว่า ตนเป็นคนโคราชตั้งแต่เกิดได้เห็นความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจังหวัดมาโดยตลอด สมัยก่อนเราเคยใช้จักรยาน รถสามล้อปั่น เคยใช้บริการรถเมล์ เป็นวิวัฒนาการที่มีการเปลี่ยนแปลงมาถึงทุกวันนี้ โดยเป็นการดำเนินชีวิตของประชาชนที่อยู่ในเมืองการค้าขายในอดีตนั้นจะค้าขายกันข้างถนน ตลอดระยะการเปลี่ยนแปลงที่ผ่านเข้ามาระบบการค้าขายข้างถนนถูกกระทบและเป็นการกระทบที่รุนแรงมาก จากห้างใหญ่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น ทำให้วิถีชีวิตการค้าของเมืองโคราชเปลี่ยนไป ผู้ค้าขายข้างถนนต่อสู้กับทุกอย่าง ดังนั้น เราต้องกลับมามองดูถึงสิ่งที่เราจะพัฒนานั้นว่า ส่งเสริมวิถีชีวิตของเราให้ดีขึ้นเพียงใด มีผลกระทบไหม ถึงตอนนี้เราต้องเปลี่ยนตัวเองกับสิ่งที่เกิดขึ้นให้ Strong ให้ได้ เราจะไม่เอา Smart แต่เราจะเอา Strong จากตรงนี้ที่มองดู ตนไม่ปฏิเสธระบบขนส่งมวลชนแต่การที่ประชาชนผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะรถไฟฟ้ารางเบาที่เป็นบริการสาธารณะรูปแบบใหม่นั้น ประชาชนจะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วย ตนจึงอยากสอบถามว่าผู้รับผิดชอบโครงการจะสามารถตอบโจทย์ด้านภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของประชาชนได้หรือไม่ และถ้าเป็นไปได้จะสามารถปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้ารางเบาให้เท่ากับค่ารถโดยสารสองแถวที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้หรือไม่

“ตนไม่ได้ปฏิเสธระบบรถไฟฟ้ารางเบา ไม่ว่าจะอยู่ลอยฟ้า บนดิน หรือแม้แต่ใต้ดิน ตนคิดว่าผู้ศึกษาโครงการน่าจะกลับไปคิดใหม่ว่าเมืองโคราชน่าจะเหมาะสมกับระบบไหนที่ไม่กระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชน และต้องส่งเสริมระบบการค้าให้มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ได้ด้วยตนเอง เมืองโคราชต้องเป็น Strong City” ทนายพีรพล กล่าว


ผศ.ดร.รัฐพล ภู่บุบผาพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมจราจร มทส.

พลิกพื้นเมืองให้น่าอยู่

นอกจากนี้ “โคราชคนอีสาน” ยังสัมภาษณ์ ผศ.ดร.รัฐพล ภู่บุบผาพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมจราจร มทส. หนึ่งในคณะผู้ศึกษาฯ กล่าวอีกว่า ปัญหาเดียวกัน หากมองในอีกมุม โครงการนี้ไม่ได้มองแค่การลดปัญหาการจราจรเท่านั้น แต่ในภาพรวมเราต้องการปรับปรุงเมือง เป็นการใช้โอกาสตรงนี้นำระบบขนส่งสาธารณะเข้ามาพลิกฟื้นเมืองให้มีความน่าอยู่มากยิ่งขึ้น และทำให้เมืองเก่าที่มีแต่ความซบเซา มีสิ่งดึงดูดเหมือนกับเป็นแม่เหล็กดึงดูดคนเข้ามาใช้ และคนก็สามารถเดินจับจ่ายใช้สอย ทำให้เศรษฐกิจในเมืองพลิกฟื้นกลับคืนมาได้ สำหรับประโยชน์ของประชาชนที่จะได้รับจากระบบขนส่งสาธารณะนี้คือ คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเมืองที่จะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นการลดปัญหาการจราจรได้หากเราสามารถส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งสาธารณะเป็นทางเลือกในการเดินทาง และมีการสร้างโครงข่ายให้ทั่วถึง ตรงนี้ตนมองว่าคุณภาพชีวิตของประชาชนในเมืองโคราชก็จะดีขึ้นหากมองในแง่ของการพัฒนาเศรษฐกิจ ชุมชนที่อยู่ในบริเวณที่รถรางผ่านจะได้รับผลประโยชน์เป็นอย่างมาก

ระบบขนส่งสาธารณะแบบบูรณาการ

สำหรับประเด็นที่ว่า โครงข่ายรถไฟฟ้ารางเบายังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึงนั้น ผศ.ดร.รัฐพล ยอมรับว่า “มูลค่าการลงทุนของโครงการนี้มีมูลค่าสูง เราต้องแยกเป็น ๒ ระบบ คือระบบหลักกับระบบรอง ระบบหลักที่เราสร้างไว้ จะทำหน้าที่เป็นเสมือนโครงข่ายที่ขนคนจำนวนมาก แน่นอนจะต้องมีระบบรองมาเชื่อมต่อกับเส้นหลัก เช่น รถสองแถวที่วิ่งอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะต้องปรับบทบาทหน้าที่ของตัวเองเป็นตัวรองรับ หรือประเภทรถตุ๊กตุ๊ก รถแท็กซี่ รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ จะเข้ามาเติมจากเส้นหลักของเรา ซึ่งระบบรถขนส่งรถสองแถว ในแผนแม่บทเสนอให้ต้องมีการปรับเส้นทาง ทำหน้าที่รับส่งคนจากชุมชน จากในพื้นที่ตรอกซอกซอยเพื่อเชื่อมเข้าหาระบบราง ซึ่งถ้ามองเฉพาะระบบหลักอย่างเดียวย่อมที่จะไม่สามารถเข้าไปถึงทั่วทุกพื้นที่ได้แน่นอนทั้งนี้ถ้ามีการมองโดยภาพรวมทั้งระบบหลักและระบบรองว่าต้องมีการปรับไปพร้อมกันด้วย ตรงนี้ก็จะสามารถครอบคลุมทุกพื้นที่ได้มากขึ้น”

เคาะประตูบ้านพูดคุย

“ในส่วนของการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชนนั้น ควรที่จะมีการลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนที่อยู่ตามแนวเส้นทางรถรางผ่าน เพราะเท่าที่รับฟังมาประชาชนมีความกังวลมากที่สุดคือผู้ที่อยู่ตามแนวเส้นทางเดินรถ โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่บริเวณในเมืองตามแนวถนนโพธิ์กลาง ถนนมุขมนตรี โดยทีมงานชุดใหม่ต้องลงพื้นที่เคาะประตูบ้านประชาชนบริเวณนั้น เพื่อนัดประชุมทำความเข้าใจกัน พูดคุยถึงข้อกังวลของประชาชนที่มีต่อโครงการ มีการชี้แจงข้อมูล และจัดการสัมมนาให้กับคนที่อยู่ตามแนวเส้นทางเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อรวบรวมข้อมูลและมีการจัดการรายละเอียดของความต้องการตรงนั้นว่าเป็นอย่างไรซึ่งตรงนี้จะเป็นกลยุทธ์ที่จะมีการดำเนินงานในอนาคต” ผศ.ดร.รัฐพล กล่าว

ต่อต้านเยอะอาจพับโครงการ

ผศ.ดร.รัฐพล กล่าวอีกว่า หากโครงการนี้ไม่เกิดขึ้นจะเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก พอทราบว่ามีคนต่อต้านเยอะ และบอกว่าไม่เอา ก็เป็นไปได้ที่ สนข. กระทรวงคมนาคม อาจจะพับโครงการนี้ไป เช่นเดียวกันกับโครงการอุโมงค์ทางลอด ถ้ามีงบประมาณให้ และพร้อมที่จะเสนอเพื่อดำเนินการก่อสร้างให้แต่ประชาชนไม่เอา ไม่เห็นด้วยมีการคัดค้านอย่างเดียว ก็อาจเป็นไปได้ที่เขาจะต้องโยกงบประมาณไปที่อื่นหรือไปทำโครงการที่จังหวัดอื่นแทน

เมื่อ “โคราชคนอีสาน” ถามว่า หากจะใช้ระบบรถประจำทางด่วนพิเศษ (BRT) มาทดแทน สนข.จะสามารถพิจารณางบประมาณได้หรือไม่? ผศ.ดร.รัฐพล ตอบว่า ถ้ามีการออกแบบรายละะเอียดอีกครั้ง ก็อาจเป็นไปได้ที่จะมีการปรับรายละเอียด แต่จากผลการวิเคราะห์และการศึกษาของเราพบว่า ระบบ BRT อาจจะมีมูลค่าการลงทุนน้อยในระยะสั้น แต่ถ้าเปรียบเทียบในระยะยาวแล้ว ระบบ LRT จะมีมูลค่าการดำเนินการที่ถูกกว่า ทั้งนี้ หากถามว่าจะนำระบบ BRT มาใช้จะเป็นไปได้ไหม ตนคิดว่าน่าจะเป็นไปได้ สำหรับการทบทวนโครงการใหม่ของ สนข. และหากประชาชนในพื้นที่มองว่า ระบบรางจะเป็นการจำกัดพื้นที่เกินไป ไม่มีความยืดหยุ่น ทำให้ข้อกังวลของประชาชนเกี่ยวกับการจอดรถเกิดขึ้น เราก็อาจจะมีการวางระบบใหม่คือ บริเวณชานเมืองอาจใช้ระบบรางในการวิ่งรับผู้โดยสาร สำหรับในเขตเมืองอาจจะใช้ระบบ BRT ในการวิ่ง เพื่อเป็นการยืดหยุ่นระบบพื้นที่การจราจรก็อาจเป็นได้ แต่เมื่อเปรียบเทียบด้านความปลอดภัยแล้ว ระบบ BRT ความปลอดภัยจะขึ้นอยู่กับคนขับ แต่ระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) จะมีความปลอดภัยที่สูงกว่า เพราะมีระบบรางเป็นตัวควบคุม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/10/2017 3:18 am    Post subject: Reply with quote

20 ต.ค. ฟังเสียงโคราชต้านรถไฟฟ้ารางเบา
วันอังคารที่ 17 ตุลาคม 2560 เวลา 17.00 น.
วันที่ 20 ต.ค. นี้ ฟังความคิดเห็นสร้างรถไฟฟ้ารางเบาใน จ.นครราชสีมา ประชาชนแนวถนนมนตรีและถนนโพธิ์กลาง กังวลเมื่อมีรถไฟฟ้าวิ่งผ่านหน้าบ้านจะเสียช่องทางจอดรถริมถนน

รายงานข่าวจากสำนักงานโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) แจ้งความคืบหน้าโครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมาว่า
หลังผลการศึกษาโครงการพบว่าเหมาะสมกับการใช้รถไฟฟ้ารางเบาเป็นโครงสร้างทางวิ่งระดับพื้นดินมีโครงข่ายครอบคลุมตัวเมือง แหล่งกิจกรรมและศูนย์การค้า เนื่องจากมีความคุ้มทุนในการลงทุนมากกว่า โดยมี 3 เส้นทาง คือ

สายสีเขียว สีส้ม และสีม่วงระยะทางรวม 70 กม. รวม 75 สถานี
แบ่งเป็นสายสีเขียว เส้นทางชลประทาน-สำนักงานขนส่ง2 มี 34 สถานี ระยะทาง 30 กม.,
สายสีส้ม เส้นทางดูโฮม-โรงพยาบาลป.แพทย์ มี 22 สถานี ระยะทาง 20 กม. และสายสีม่วง
เส้นทางตลาดเซฟวัน-ค่ายสุรนารายณ์ มี 22 สถานี ระยะทาง 20 กม.วงเงินลงทุน 32,000
ล้านบาท

โดยวันที่ 20 ต.ค. นี้สนข. จะจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นและทำความข้าใจกับประชาชนชาวจ.นครราชสีมา ที่ยังมีบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการและมีการคัดค้านโดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณถนนมุขมนตรีและถนนโพธิ์กลางตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้ารางเบาทั้ง3ถ
เส้นทางวิ่งผ่าน ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยเนื่องจากปกติเคยจอดรถหน้าบ้านตัวเองได้
แต่เนื่องจากถนนช่วงดังกล่าวมีลักษณะคับแคบ หากมีรถไฟฟ้ารางเบาวิ่งบนดินซึ่งต้องแชร์เลนถนนจึงกลัวผลกระทบที่เกิดขึ้นเพราะจะเสียผิวจราจรและทำให้ไม่สามารถจอดรถริมถนนเหมือนเดิมได้และเดินทางไม่สะดวกรวมทั้งยังกลัวผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอากาศถ่ายเทไม่สะดวกน
จึงเสนอให้ใช้ระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ(บีอาร์ที)

ทดลองวิ่งก่อนนำรถไฟฟ้ารางเบามาใช้ขณะที่ข้อดีและข้อเสียของรถไฟฟ้ารางเบาและบีอาร์ทีเบื้องต้นด้านความคุ้มค่านั้นต้นทุนและค่าบริหารจัดการมีความใกล้เคียงกันแต่ในระยะยาวระบบรถไฟฟ้ารางเบามีความคุ้มค่ามากกว่า

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า หลังจากลงพื้นที่ครั้งนี้แล้วสนข.จะนำความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่มาประกอบการรายงานโครงการดังกล่าวเพื่อสรุปผลการศึกษาโครงการฉบับสมบูรณ์ให้สนข.น
นำเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาเห็นชอบในเดือน พ.ย.และเสนอผลการศึกษาไปที่คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.)พิจารณาให้ทันภายในปีนี้ ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบต่อไปส่วนรูปแบบการลงทุนจะเป็นแบบเอกชนร่วมลงทุน (พีพีพี)
แต่ขณะนี้ยังไม่สรุปว่าจะให้หน่วยงานไหนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการต่ออาจจะเป็นการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) หรือหน่วยงานท้องถิ่นดำเนินการก็ได้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/11/2017 5:32 pm    Post subject: Reply with quote

โปรเจกต์ปีหน้า คมนาคม ผุดรถไฟฟ้า 'ภูเก็ต-ขอนแก่น-โคราช-เชียงใหม่'
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 2 พ.ย. 2560 14:33

คมนาคม ลุยเพิ่ม 8 โปรเจกต์ปีหน้า งบ 1.03 แสนล้าน ผุดรถไฟฟ้าภูมิภาค ประเดิมภูเก็ต-ขอนแก่น-โคราช-เชียงใหม่ ด้านสมคิด กำชับจัดลำดับสำคัญลงทุน เน้นสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก...</p><p>เมื่อวันที่ 2 พ.ย. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในปี 61 เตรียมลงทุนเพิ่มอีก 8 โครงการ คาดใช้งบประมาณราว 1.03 แสนล้านบาท ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าภูมิภาค 4 โครงการใน จ.ภูเก็ต จ.ขอนแก่น จ.นครราชสีมา จ.เชียงใหม่, โครงการทางด่วนมอเตอร์เวย์ 2 โครงการ สายรังสิต-บางปะอิน และสายกรุงเทพฯ-มหาชัย, โครงการปรับปรุงสนามบินขอนแก่น และสนามบินกระบี่, โครงการท่าเรือบกที่ จ.ขอนแก่น

ส่วนโครงการที่จะดำเนินการต่อเนื่องจนถึงปี 61 จะมีรวมทั้งสิ้น 51 โครงการ แยกเป็น โครงการที่เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะกรรมการ PPP จำนวน 24 โครงการ และอยู่ระหว่างประกวดราคา 27 โครงการ โดยเป็นโครงการต่อเนื่อง 43 โครงการ งบลงทุน 1.27 ล้านล้านบาท ส่วนอีก 8 โครงการใหม่ในปี 61 จะใช้งบลงทุน 1.03 แสนล้านบาท สำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าภูมิภาค จะเริ่มในหัวเมืองหลักที่มีประชากรหนาแน่นและมีบทบาททางเศรษฐกิจ ซึ่งต่อจาก 4 โครงการแรก ในอนาคตจะมีการลงทุนเพิ่มเติมที่ จ.อุดรธานี และ จ.พิษณุโลก

ขณะที่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การทำงานของกระทรวงคมนาคมมีความคืบหน้า ส่งผลต่อความเชื่อมั่น และการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยได้กำชับให้จัดลำดับความสำคัญของโครงการลงทุน เน้นโครงการที่สนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งโครงการระบบขนส่งทางรางนั้นจะร่าง TOR ให้เสร็จภายในปี 60 ส่วนโครงการสนามบิน ท่าเรือ จะร่าง TOR ให้เสร็จภายในไตรมาสแรกปี 61 ส่วนการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 9 เส้นทางมีความคืบหน้าไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ ขณะที่การตั้งศูนย์ซ่อมอากาศยาน ทางแอร์บัสกับ บมจ.การบินไทย (THAI) จะลงนามร่วมกันในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้

นอกจากนี้ได้มอบหมายให้ 3 หน่วยงานด้านการบินไปหารือการจัดสรรที่จะเป็นผู้บริหารสนามบินภูมิภาคให้ได้ข้อยุติภายในเดือน พ.ย.นี้ เบื้องต้นทาง บมจ.ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) ได้เสนอขอบริหารสนามบินอย่างน้อย 15 แห่ง จากที่กรมท่าอากาศยานดูแลอยู่ 29 แห่ง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/11/2017 2:00 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
โปรเจกต์ปีหน้า คมนาคม ผุดรถไฟฟ้า 'ภูเก็ต-ขอนแก่น-โคราช-เชียงใหม่'
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 2 พ.ย. 2560 14:33



“สมคิด”พอใจแผนลงทุนคมนาคมเบิกจ่ายทะลุเป้า สั่งสร้างรถไฟฟ้าแก้รถติด4หัวเมืองหลักปีหน้านำร่องภูเก็ต
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2560 - 22:22 น.
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมติดตามการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2560

นายสมคิดกล่าวภายหลังการประชุมว่า กระทรวงคมนาคมมีผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ตาม Action Plan 2560 มีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก สามารถเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2560 สูงกว่าเป้า 90%

โดยจะเบิกจ่ายงบประมาณในปีนี้อีก 1.16 ล้านล้านบาท และปีงบประมาณ 2561 จำนวน 800,000 ล้านบาท ส่งผลให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวดีขึ้น ทำให้นักลงทุนต่างชาติมีความเชื่อมั่นในการเข้ามาลงทุนในประเทศ


ส่วนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็นโครงการสำคัญที่กระทรวงคมนาคม ต้องเร่งดำเนินการเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยง 3 ท่าอากาศยาน ได้แก่ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานอู่ตะเภา การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ขอให้เร่งรัดดำเนินการให้เป็นรูปธรรมภายในสิ้นปี 2560 ทั้งนี้ การดำเนินโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ขอให้พิจารณาจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินงาน

โดยมอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เร่งรัดดำเนินโครงการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผนงาน และคาดว่าโครงการรถไฟไทย – จีน ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา จะสามารถเริ่มการก่อสร้างได้ประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน หรือต้นเดือนธันวาคม 2560

นอกจากนี้ ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งรัดดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง เมืองหลักในภูมิภาค 4 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต ขอนแก่น นครราชสีมา และเชียงใหม่ โดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ต ให้เร่งรัดการก่อสร้างภายในปี 2561 และให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ทำการศึกษาเพิ่มเติมอีก 2 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี และพิษณุโลก เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรและส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาค

ขณะเดียวกันยังเร่งลงนามความร่วมมือบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และแอร์บัส ในการดำเนินโครงการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (Maintenance, Repair and Overhaul : MRO) ณ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ได้ภายในปี 2560 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการจัดทำ Aviation Hub

พร้อมมอบให้ 3 หน่วยงานหลักด้านการบิน ได้แก่ กรมท่าอากาศยาน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกันพิจารณาหาแนวทางการบริหารจัดการท่าอากาศยานในภูมิภาค จำนวน 28 แห่ง ที่เหมาะสม โดยให้ได้ข้อสรุปภายในเดือนพฤศจิกายน 2560



ส่วนการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (Thailand Future fund) ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ขณะนี้ผลการศึกษาและกระบวนการขั้นตอนการจัดทำกำลังจะแล้วเสร็จ คาดว่า จะสามารถเปิดขายให้แก่นักลงทุนได้เมื่อตลาดหุ้นของไทยมีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น

พร้อมให้กรมทางหลวงดำเนินการพัฒนาที่พักริมทางหลวง (Rest Area) ตามเส้นทางหลักให้มีความสวยงาม เป็นจุดจำหน่ายสินค้าท้องถิ่น สินค้าเกษตรกรรม และสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว นอกจากนี้ ให้กรมทางหลวงชนบทดำเนินการพัฒนาเส้นทางไปสู่แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในภูมิภาคของไทย

ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงฯ มีแผนปฏิบัติการลงทุนด้านคมนาคมขนส่ง (Action Plan) พ.ศ. 2561 เพื่อการขับเคลื่อนแผนงานต่อเนื่องจากปี 2559 และ 2560 โดยโครงการที่ต่อเนื่องมาจากปี 2560 ประกอบด้วย โครงการที่อยู่ระหว่างการเสนอคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการ PPP จำนวน 24 โครงการ โครงการที่ประกวดราคาแล้วเสร็จ สามารถเริ่มการก่อสร้างได้ จำนวน 27 โครงการ รวมทั้งสิ้นจำนวน 51 โครงการ

โดยในปี 2561 มีโครงการใหม่ จำนวน 8 โครงการ ประกอบด้วย โครงการทางยกระดับอุตราภิมุข รังสิต – บางปะอิน โครงการทางยกระดับบน H35 กรุงเทพฯ – มหาชัย โครงการพัฒนาธุรกิจท่าเรือบก (Dry Port) โครงการพัฒนาท่าอากาศยานกระบี่และท่าอากาศยานขอนแก่น ระบบขนส่งมวลชนทางรางจังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา และเชียงใหม่ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญเนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ มีประชากรจำนวนมาก และมีปัญหาการจราจรหนาแน่น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/11/2017 5:01 pm    Post subject: Reply with quote

ค้าปลีกโคราชเดือด “เซ็นทรัล” ผงาด “เดอะมอลล์-เทอร์มินอล21-คลังพลาซ่า” พร้อมสู้ศึก !
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2560 - 12:53 น.

ค้าปลีกโคราชระอุ เซ็นทรัลพลาซาทุ่มเนรมิตงานฉลองเปิดอลังการ 3 พ.ย.นี้ พร้อมจัดอีเวนต์ถี่ยิบยาวถึงสิ้นปีหน้า ด้าน “เดอะมอลล์ โคราช” ไม่ยอมน้อยหน้า ควักอีก 100 ล้านพลิกโฉมพื้นที่หลังห้างสร้างสปอร์ตคอมเพล็กซ์-ตลาดช็อปปิ้งริมลำตะคอง ขณะที่ค่าย “เทอร์มินอล 21” อัดเงิน 30 ล้าน สร้างสะพานลอยเชื่อม 2 ฝั่งอำนวยความสะดวกลูกค้า ฝั่งเจ้าถิ่น “คลังพลาซ่า” แตะเบรกชะลอสร้างคลังสเตชั่นสาขา 4 รอดูแบบสร้างรถไฟทางคู่ หวั่นเสียหายมากกว่าเดิม

เซ็นทรัลโคราชเปิด 3 พ.ย.

นายปรีชา เอกคุณกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น เปิดเผยว่า ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา เตรียมนับถอยหลังเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ในวันที่ 3 พ.ย. 2560 นี้ ซึ่งเป็นศูนย์การค้าแห่งที่ 31 ของซีพีเอ็นที่ทุ่มงบฯจัดเต็มเตรียมเนรมิตงานฉลองเปิดอย่างอลังการ ในฐานะการเป็นมิกซ์ยูสโปรเจ็กต์สุดยิ่งใหญ่แบบมหานครแห่งอีสาน พร้อมกับการผนึกกำลังกันครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสานของกลุ่มเซ็นทรัล ที่พร้อมกระหน่ำโปรโมชั่นลดสูงสุด 50% และพบกับเซ็นทรัล มิดไนต์เซล ครั้งแรกในอีสาน ระหว่างวันที่ 3-15 พ.ย. 2560 และพิเศษช็อปสุดฟินถึงเที่ยงคืน เฉพาะวันที่ 3-4 พ.ย. พร้อมร่วมกิจกรรมลุ้นชิงรางวัลใหญ่โตโยต้า คัมรี่ 2.5 รุ่นท็อปสุด รถจักรยานยนต์บิ๊กไบก์ สมาร์ทโฟน และอื่น ๆ อีกมากมาย รวมมูลค่ากว่า 12 ล้านบาท และจัดอีเวนต์ถึงปีหน้า

“เซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา พร้อมแล้วที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับธุรกิจศูนย์การค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยมูลค่าการลงทุนโครงการรวมกว่า 10,000 ล้านบาท พื้นที่กว่า 65 ไร่ โดยมุ่งมั่นเป็น lifestyle innovation และศูนย์กลางการใช้ชีวิตแห่งใหม่ที่ตอบรับกับรูปแบบไลฟ์สไตล์ของชาวโคราช และคนอีสานได้ครบทุกมิติ”


เดอะมอลล์ โคราช พร้อมสู้

นายปรีชา ลิ้มอั่ว ผู้จัดการทั่วไปปฏิบัติการ บริษัท เดอะมอลล์ราชสีมา จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์ค้าปลีกโคราชที่เปลี่ยนแปลงในวันนี้ถือเป็นมิติใหม่ คนโคราชจะได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ในอีกไม่กี่วัน การมีห้างหลายแห่งจะเป็นแม่เหล็กสำคัญที่จะดึงคนในต่างจังหวัดให้หลั่งไหลเข้ามา ทั้งมาชม มาแชะ มาช็อปปิ้ง และยังเป็นช่วงใกล้เทศกาลปีใหม่ จึงถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีขึ้นทางเศรษฐกิจของจังหวัด

นอกจากนี้ พืชผลทางการเกษตรมีการขยับตัวดีขึ้น อีกทั้งเรื่องเศรษฐกิจทั้งระดับมหภาค ระดับจังหวัด และระดับประเทศ เริ่มปรับเข้าเกียร์ 3 ขยับถึงเกียร์ 5 แล้ว ตอนนี้เป็นช่วงเร่งสปีด หลังจากนี้เรียกได้ว่าเป็นบรรยากาศของรุ่งอรุณของการค้าขาย และกำลังซื้อต่าง ๆ ก็จะตามมา

สำหรับการเตรียมรับการแข่งขันของตลาดค้าปลีก เดอะมอลล์ได้ดำเนินการอยู่ตลอดเวลา เช่น ปรับเปลี่ยน ขยายพื้นที่ เพราะเดอะมอลล์ โคราช เป็นเสมือนบ้านของคนโคราช เปิดบริการมา 17 ปี อยู่คู่สังคมและทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับทุกภาคส่วนของโคราชมาอย่างยาวนาน และมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ รวมถึงวันลอยกระทงที่จะถึงนี้

“หลังจากที่เซ็นทรัลเปิดแล้ว เราต้องมาดูอีกว่าผลประกอบการเดอะมอลล์เป็นอย่างไร ตอบโจทย์มากแค่ไหน ต้องกลับมาทำการบ้านใหม่เพื่อให้ตอบโจทย์ทั้งแนวคิดการดีไซน์ และตรงใจลูกค้าหรือไม่ เพราะตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป โคราชจะเป็นเมืองแห่งการช็อปปิ้งที่มีศูนย์การค้าแบรนด์ใหญ่มาเปิดครบที่สุดในประเทศ รองจากกรุงเทพฯ”

นายปรีชากล่าวอีกว่า ตอนนี้ยังได้เตรียมพัฒนาพื้นที่ด้านหลังห้าง 17 ไร่ เป็นสปอร์ตคอมเพล็กซ์ เพื่อรองรับเกมการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ และเจาะกลุ่มคนที่สนใจการมาเล่นกีฬา คนชอบการออกกำลังกาย และกีฬาที่สามารถทำในสิ่งที่ตัวเองชอบและรักได้ เป็นแนวทางใหม่ที่จะทำให้ลูกค้าเดอะมอลล์สามารถใช้ชีวิตที่หลากหลายยิ่งขึ้นได้ทั้งวัน ซึ่งต้องใช้งบฯลงทุนประมาณ 100 กว่าล้านบาท

นอกจากนี้ พื้นที่ด้านหลังห้างที่ติดลำตะคองได้มีการปรับพื้นที่ให้เป็นสวนเพื่อพักผ่อน มีดนตรีในสวน เรียกว่าลำตะคองวิลเลจ มีพื้นที่ประมาณ 1,000 ตารางเมตร เปิดให้บริการวันที่ 2 พ.ย. 2560 นี้ รับงานลอยกระทง แหล่งแฮงเอาต์สุดชิลแห่งใหม่ของชาวโคราช ในบรรยากาศริมน้ำสุดชิก พร้อมกิจกรรมลอยกระทงริมน้ำ


เปิด 3 พ.ย. – ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา เตรียมเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ในวันที่ 3 พ.ย.2560 นี้ ซึ่งเป็นศูนย์การค้าแห่งที่ 31 ของค่ายซีพีเอ็น และยังเป็นโครงการมิกซ์ยูส มหานครแห่งอีสานอีกด้วย บนพื้นที่กว่า 65 ไร่ใจกลางเมืองโคราช

เทอร์มินอล 21 อัดโปรโมชั่น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในส่วนของห้างเทอร์มินอล 21 โคราช ยังคงมีการจัดโปรโมชั่นลดราคาเพื่อดึงลูกค้าเข้ามาเที่ยวภายในห้างอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทุกสัปดาห์ และได้มีการขยายพื้นที่จอดรถมากขึ้นอีก รวมทั้งกำลังทุ่มงบประมาณในการก่อสร้างสะพานลอย

ล่าสุดแขวงทางหลวงนครราชสีมาที่ 2 ประกาศปิดถนนหน้าเทอร์มินอล 21 โคราช เพื่อก่อสร้างสะพานลอย ในวันที่ 4-5 พ.ย.นี้ และผู้บริหารเทอร์มินอล 21 โคราช ได้ตัดสินใจซื้อตึกฝั่งตรงข้ามเพื่อเปิดพื้นที่เป็นทางขึ้น-ลงสะพานลอย และทางขึ้น-ลงฝั่งตรงข้ามห้างเชื่อมต่อเข้าศูนย์การค้าที่ชั้น 1 คาดว่าจะใช้งบฯก่อสร้างไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2560 การดำเนินการต่าง ๆ ของเทอร์มินอลเพื่อต้องการอำนวยความสะดวกสบายด้านความปลอดภัยให้กับลูกค้า

เบรกชั่วคราวสร้างคลังสเตชั่น

นายไพรัตน์ มานะศิลป์ รองประธาน บริษัท คลังพลาซ่า จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ชะลอการก่อสร้างโครงการ “คลังสเตชั่น” หนองไผ่ล้อม ซึ่งเป็นสาขาที่ 4 เพื่อดูแบบการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง ที่กำลังจะก่อสร้างเป็นทางยกระดับว่ามีรูปแบบเป็นอย่างไร ซึ่งตนเป็นห่วงเรื่องรูปแบบของการก่อสร้างที่อาจมีกำแพงกั้นจะทำให้ทางเข้าห้างไม่สะดวก เพราะหากสร้างห้างต่อไปก็จะแก้ไขแบบไม่ได้ ทำให้เสียหายมากกว่านี้ จึงต้องหยุดชั่วคราวเพื่อปรับแบบใหม่ให้เข้ากับทางรถไฟที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นการลดความเสี่ยงได้มากกว่า เพราะใช้เงินลงทุนกว่า 750 ล้านบาท

“ได้ทำหนังสือขอหยุดก่อสร้างโครงการคลังสเตชั่นชั่วคราวกับบริษัทผู้รับเหมาทั้งหมดไปเมื่อวันที่ 5 ต.ค.ที่ผ่านมา เพื่อไม่ให้เราเสียหายไปมากกว่านี้หากยังก่อสร้างตามแบบเดิม จึงขอเบรกไว้ชั่วคราว ไม่ได้ล้มโครงการอย่างที่เป็นข่าวลือ หรือมีปัญหาขาดสภาพคล่องเพราะทำธุรกิจค้าปลีกมาถึง 60 ปี ไม่เคยมีปัญหาเรื่องนี้แน่นอน” นายไพรัตน์กล่าว

----

ชงโมโนเรลภูเก็ต-เชียงใหม่เข้าครม.-ขอนแก่นส่อยื้อติดPPP
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 8 มกราคม 2561 - 10:18 น.

รถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต - เป็นที่แน่ชัดรัฐบาลคสช.จะเร่งลงทุนรถไฟฟ้ารางเบาหรือไลต์เรลภูเก็ตเป็นโครงการแรก รูปแบบ PPP มี รฟม.เป็นเจ้าภาพ เพื่อแก้รถติด

สนข.เร่งชง ครม.อนุมัติโมโนเรลแก้รถติดหัวเมืองใหญ่ ประเดิม “ภูเก็ต-เชียงใหม่” ดึงเอกชน PPP ส่วนขอนแก่น รอนโยบายรัฐเคาะ งง! เอกชนท้องถิ่นเดินหน้าประมูล เผยหากสนใจต้องเข้ากระบวนการกฎหมายร่วมทุนเท่านั้น

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หลังคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจเป็นประธาน ได้รับทราบผลการดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะใน 5 เมืองภูมิภาค ได้แก่ ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมาและหาดใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาจราจร คิดเป็นเงินลงทุนรวม 131,525 ล้านบาท

ขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายให้เร่งโครงการที่ภูเก็ตและเชียงใหม่ โดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP ระยะเวลา 30 ปี 40 ปี และ 50 ปี โดยรัฐจะลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนเอกชนลงทุนงานระบบ ซึ่งโครงการถูกบรรจุไว้ใน PPP Fast Track ปี 2560 แล้ว

“จะเดินหน้าภูเก็ตก่อน กระทรวงมอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยหรือ รฟม.เป็นผู้ดำเนินการ อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบ PPP จะเป็นรูปแบบไหน Net Cost (สัมปทาน) หรือ Gross Cost (จ้าง) เพราะ สนข.ศึกษาแค่แผนแม่บทให้เป็นระบบไหนถึงจะเหมาะสมกับพื้นที่ ที่เหลือเป็นหน้าที่ของ รฟม.ทางรองนายกฯ สมคิดต้องการจะให้ได้ผู้ลงทุนภายในปี 2561”


เนื่องจากภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวมากกว่า 12 ล้านคน ผลการศึกษาความเหมาะสมที่ออกมาเป็นรถไฟฟ้ารางเบาหรือไลต์เรล เป็นเส้นทางสายใหม่จากสุราษฎร์ธานี-พังงา-ภูเก็ต ระยะทาง 58.25 กม. เงินลงทุนทั้งโครงการ 39,406.06 ล้านบาท

จุดเริ่มต้นอยู่สถานีรถไฟท่านุ่น จ.พังงา เชื่อมกับระบบรถไฟสายใหม่เส้นทาง จ.สุราษฎร์ธานี ถึง จ.พังงา ส่วนจุดสิ้นสุดโครงการอยู่ทางเหนือของห้าแยกฉลอง บน ถ.เจ้าฟ้าตะวันออก ห่างจากห้าแยกฉลอง ประมาณ 200 เมตร มี 24 สถานี เป็นสถานียกระดับ 1 สถานีที่สนามบินภูเก็ต เป็นสถานีใต้ดิน 1 สถานี ที่สถานีถลาง และมีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง บริเวณ อ.ถลาง แบ่งสร้าง 2 เฟส ระยะแรกจากท่านุ่น-สนามบินภูเก็ต และระยะที่ 2 จากสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง

สำหรับเชียงใหม่ ผลการศึกษาเสร็จแล้วและเสนอไปที่กระทรวงคมนาคมแล้ว อยู่ระหว่างพิจารณารูปแบบและวงเงินลงทุนโครงการ เนื่องจากเงินลงทุนโครงการแตกต่างกันมากถึง 3 เท่า ระหว่างการก่อสร้างระดับดินผสมใต้ดินและใต้ดินทั้งหมด เมื่อกระทรวงได้ข้อสรุปแล้ว จะนำเสนอให้ คจร.พิจารณาต่อไป ก่อนจะเริ่มขั้นตอน PPP

รูปแบบที่เหมาะสมเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา สร้างอยู่ในพื้นที่เขตเมือง มี 3 เส้นทางให้เลือก ระหว่าง เป็นทางวิ่งบนดิน และใต้ดินร่วมกัน เงินลงทุนรวม 106,895 ล้านบาท และทางวิ่งบนดินทั้งหมด เงินลงทุน 28,419 ล้านบาท

ได้แก่ 1.สายสีแดงโรงพยาบาลนครพิงค์-ศูนย์ราชการเชียงใหม่-สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี-ศูนย์ประชุมนานาชาติ-สถานีตำรวจช้างเผือก-แยกข่วงสิงห์-มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่-สถานีขนส่งช้างเผือก-โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม-โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่-ร.ร.วัฒโนทัยพายัพ-สนามบินเชียงใหม่-สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่-ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีหางดง

2.สายสีเขียวแยกรวมโชค-แยกแม่โจ้-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล-สถานีขนส่งอาเขต-โรงพยาบาลแมคคอร์มิคเชียงใหม่-ร.ร.ดาราวิทยาลัย-ร.ร.ปรินส์รอแยลส์วิทยาลัย-ตลาดวโรรส (กาดหลวง)-เทศบาลนครเชียงใหม่-ย่านเชียงใหม่ไนท์บาซาร์-ร.ร.เรยีนาเชลีวิทยาลัย-ร.ร.พระหฤทัย-ร.ร.มงฟอร์ตวิทยาลัย-เชียงใหม่แลนด์-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา-เชียงใหม่แอร์พอร์ต-มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น-สนามบินเชียงใหม่

และ 3.สายสีน้ำเงิน สวนสัตว์เชียงใหม่-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา-มหาวิทยาลัยเชียงใหม่-แยกตลาดต้นพยอม-รพ.มหาราชนครเชียงใหม่-วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร-ประตูท่าแพ-ย่านเชียงใหม่ไนท์บาซาร์ตลาดสันป่าข่อย-สถานีรถไฟเชียงใหม่-แยกหนองประทีป-ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีดอนจั่น-ห้างสรรพสินค้าพรอมเมนาดา

ส่วนขอนแก่น ผอ.สนข.กล่าวว่า ผลการศึกษายังไม่แล้วเสร็จ ซึ่ง สนข.ศึกษาเป็นแผนแม่บทอย่างเดียว ส่วนการลงทุนอยู่ที่นโยบายของรัฐบาล หากเอกชนท้องถิ่นสนใจจะลงทุนจะต้องดำเนินการตามขั้นตอน PPP

รูปแบบโครงการเป็นรถไฟฟ้ารางเบา แนวเส้นทางเชื่อมการเดินทางแนวเหนือ-ใต้ จากบ้านสำราญ-บ้านท่าพระ ระยะทางประมาณ 22.8 กม. มี 16 สถานี เงินลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาท

“การที่เอกชนท้องถิ่นยื่นประมูลโครงการยังไม่ทราบรายละเอียด แต่ สนข.ศึกษาแผนแม่บทไว้ เมื่อเสร็จแล้วเสนอไปที่กระทรวงคมนาคม คาดว่าจะเสนอกลางเดือน ม.ค.นี้ เพื่อกำหนดนโยบายการพัฒนาโครงการ อาจจะให้ รฟม.ดำเนินการเหมือนที่ภูเก็ต และให้เอกชนร่วม PPP งานระบบและจัดหารถ”

ด้าน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นระบบรถไฟฟ้าโมโนเรล เริ่มจากคลองหวะ-สถานีรถตู้ ระยะทาง 12.54 กม. มีสถานี 12 สถานี มูลค่าลงทุน 16,100 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับแก้รายงานอีไอเอ

ขณะที่นครราชสีมา ผลศึกษาใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเบา เป็นระบบหลักในการเดินทางและมีระบบรถโดยสาร เป็นระบบรอง เงินลงทุน 32,600 ล้านบาท แบ่งเป็น 3 เฟส ระยะแรก เงินลงทุน 14,000 ล้านบาท ระยะที่ 2 เงินลงทุน 4,900 ล้านบาท และระยะที่ 3 เงินลงทุน 13,600 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
Page 2 of 9

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©