Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179697
ทั้งหมด:13490929
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - การสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านของจีนแผ่นดินใหญ่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

การสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านของจีนแผ่นดินใหญ่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 38, 39, 40 ... 134, 135, 136  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/07/2017 7:52 am    Post subject: Reply with quote

China-Myanmar Railway project to speed up
Yunnan Daily 14 July, 2017 00:00 00 AM / LAST MODIFIED: 13 July, 2017 09:01:07 PM

Click on the image for full size
A bridge in the Dali-Ruili Railway which is under contruction. Online Photo

It takes RMB 300 to 500 million to build an airport with a 3-km runway, and the airport will be operational in around two years. In comparison, the cost of building railways through the mountains of Yunnan is around RMB 100 million per kilometer.“It seems that developing civil aviation in mountainous regions is more cost- and time-effective. However, it fails to meet the need of mass freight transportation. The geographic advantages of Yunnan still have to be translated into economic growth by developing highway or railway transport,” pointed out by Zhang Guangbin, an Associate Professor of Yunnan Normal University. The China-Myanmar Railway will allow freight transport directly from China to the Indian Ocean, greatly shortening transport distance by about 3,000 nautical miles compared with the route via the Strait of Malacca.

Right now, a railway from Dali City to Ruili City on Sino-Myanmar border is under construction. A branch line of the section from Mangshi to Houqiao, a Chinese port on Sino-Myanmar border has also been included in the China’s Mid-and-Long-Term Railway Network Planning 2016-2030.

Yunnan has been establishing itself as a gateway linking China, South Asian and Southeast Asia. The China-Vietnam Railway traversing Yunnan has been operational since 2014. The China sections of other four international railways are also under accelerated construction. Among them, the 330-km Dali-Ruili line will pass by a number of key towns in the region with a design speed of 140 km/h.

“The railway will make its way through the formidable Gaoligong Mountains with extremely complex geographic terrains and geological conditions. So it takes more time,” introduced a local official.

The latest news show that the roughest tunnel project of the railway construction has seen surprising advancement, and the railway is expected to be commissioned as of 2021 based on the current construction speed.

A leading official from Yunnan Provincial Reform and Development Commission told us that Yunnan is going to invest around RMB 300 billion on railway projects in the coming five years.

An optional plan for the railway beyond Ruili may be extending it all the way to Houqiao Port, thus completing the China section of the international railway. Located 60 km to the west of the Chinese frontier city Tengchong, Houqiao is only 13 km away from the nearest Myanmar town.

According to the local development plan for the coming five years, Tengchong (Houqiao) Border Economic Cooperation Zone, with highway, railway and aviation networks available, will become an important functional hub in the Bangladesh-China-India-Myanmar Economic Corridor.

The railway to Houqiao was included in Yunnan’s Mid-and-Long-Term Railway Development Plan passed by the provincial government last October. This project is expected to start in five years, which was also reaffirmed by a press conference on the interpretation of the transport infrastructure development plan of the province.

“We are prepared for the project and look forward to seeing it included in the national plan,” said a local official. (Yunnan Daily)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 15/07/2017 1:13 am    Post subject: Reply with quote

เพลง อี้ต้าอี้ลู่ (One Belt One Road) โดยศิลปินไทย - อยากขี่รถไฟจากหนองคายผ่านลาว ไปเมืองจีน (สำนักข่าวซินหัว 28 มิถุนายน 2017)
http://news.xinhuanet.com/world/2017-06/28/c_129642813.htm

ทางรถไฟสายทรานสเอเซีย เชื่อมกะเพื่อนบ้าน (สำนักข่าวซินหัว 29 มิถุนายน 2017)
http://news.xinhuanet.com/world/2017-06/29/c_1121233557.htm

ผู้ว่าคุนหมิงเยือนไทยเดือนหน้า หารือเชื่อมโยงจีน-อีอีซี
ฐานเศรษฐกิจ
14 กรกฎาคม 2560



ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยภายหลังการเข้าร่วมประชุมเอเชียโป๋อ้าว (Boao Forum for Asia) ที่โรงแรมแชงกรีลา เมื่อเร็วๆนี้ (11 ก.ค.) ว่า ทุนจีนมีความสนใจจะเข้ามามีบทบาทในพื้นที่อีอีซีมาก โดยผู้แทนของธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank หรือ AIIB) และกองทุนเส้นทางสายไหม (Silk Road Fund)ของจีนซึ่งให้ความสนับสนุนกว่า 70 โครงการในประเทศต่างๆ แต่ยังไม่มีในไทย ก็ได้ยืนยันว่า จีนต้องการให้มีการเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐานของเอเชียเข้าด้วยกัน และพร้อมให้การสนับสนุนโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในไทย ครอบคลุมถึงการเชื่อมโยงด้านซัพพลายเชนด้วย


ล่าสุดทางรัฐบาลท้องถิ่นของมณฑลยูนนานได้จัดทำผลการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวเส้นทางสายไหมในส่วนที่พาดผ่านไทยและลาว (ซึ่งก็คือแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง) พบว่ามีหลายจุดในแนวเส้นทางที่สามารถพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นมา โดยเขตเศรษฐกิจพิเศษในคุนหมิง (เมืองหลวงของมณฑลยูนนาน) เน้นอุตสาหกรรมไฮเทค ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่อีอีซีของไทย

“ทางจีนเห็นศักยภาพที่จะเชื่อมโยงความร่วมมือไทยจีนในเรื่องนี้ เดือนหน้า (สิงหาคม) ทางผู้ว่านครคุนหมิงจะนำคณะมาเยือนไทย จะมีการหารือกันว่าจะเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างคุนหมิงกับอีอีซีได้อย่างไรบ้าง หลังจากที่ทางคุนหมิงเองเขาได้นำเสนอเรื่องนี้ให้รัฐบาลของเขาพิจารณาแล้ว”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 20/07/2017 5:58 pm    Post subject: Reply with quote

เนปาลเจรจาให้จีนแดงลงทุนทำทางรถไฟข้ามแดนจากทิเบตไปกรุงกาฏมัณฑุประเทศเนปาล ยาว 550 กิโลเมตร (400 กิโลเมตรในจีน และ 150 กิโลเมตรในเนปาล) มูลค่า 8000 ล้านเหรียญสหรัฐ ใช้เวลาก่อสร้าง 8 ปี
http://www.railnews.in/nepal-in-talks-with-china-to-build-8-billion-cross-border-rail-link/
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/08/2017 3:53 pm    Post subject: Reply with quote

รัฐบาลลาวสั่งการทุกหน่วยงาน ดำเนินการโครงการรถไฟจีน-ลาวให้คืบหน้าตามแผน

สำนักข่าวซินหัว อ้างอิงรายงานข่าวของสื่อลาว รายงานว่า รัฐบาลลาวได้จัดการประชุมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทุกหน่วยงานดำเนินนโยบายรองรับการก่อสร้างเส้นทางรถไฟจีน-ลาว และเส้นทางรถไฟ ช่วงที่ 2 (ลาว-ไทย) ให้คืบหน้าไปตามแผน โดยที่ประชุมเน้นย้ำความสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีความจำเป็นต่อการก่อสร้างเส้นทางรถไฟจีน-ลาวอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ เครื่องจักร เชื้อเพลิง ยานพาหนะ และแรงงาน ทั้งนี้ การก่อสร้างเส้นทางรถไฟจีน-ลาว ตามแผนที่ตั้งไว้คาดว่าจะแล้วเสร็จในวันที่ 31 ธ.ค. 2564 และเปิดให้บริการในปี 2565

เส้นทางรถไฟจีน-ลาวเริ่มต้นก่อสร้างเมื่อเดือน ธ.ค. 2559 ต้นทางเริ่มจากชายแดนยูนนาน-ลาว (บ่อหาน-บ่อเต็น) ไปถึงเวียงจันทน์ รวมระยะทาง 400 กม. โดยร้อยละ 60 ของเส้นทางเป็นสะพานและอุโมงค์ กำหนดความเร็ว 160 กม./ชม. มี 32 สถานี ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี ใช้เงินลงทุน 40,000 ล้านหยวน เป็นโครงการเส้นทางรถไฟในต่างประเทศสายแรกที่จีนเป็นผู้ลงทุนหลัก บริหารจัดการร่วมกัน และเชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟของจีน โดยทั้งเส้นทางใช้เครื่องจักรและมาตรฐานการก่อสร้างของจีน

ส่วนเส้นทางรถไฟ ช่วงที่ 2 (ลาว-ไทย) คาดจะเริ่มก่อสร้างได้ในปลายปี 2560 หรือต้นปี 2561 ใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี ใช้เงินลงทุน 30 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

http://www.thaiembbeij.org/thaibizchina/th/china-economic-business/result.php?SECTION_ID=468&ID=17880

http://yndaily.yunnan.cn/html/2017-07/28/content_1165341.htm?div=-1
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 10/08/2017 5:32 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดปูมพญามังกร : ภูมิรัฐศาสตร์ รถไฟไทย-อาเซียน

คอลัมน์ ASEAN SECRET

โดย ดุลยภาค ปรีชารัชช
วันที่ 10 สิงหาคม 2560 - 17:01 น.

ขณะที่ประเด็นรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง โดยพุ่งเป้าไปที่การใช้อำนาจ ม. 44 ของ คสช. เพื่อรวบรัดผลักดันโครงการแบบเร่งด่วน ปริศนาที่น่าคิดต่อ คือทำไมจีนถึงต้องเร่าร้อนต่อการผันทางรถไฟมาไทยและอาเซียน และปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อการคืบคลานลงใต้ของพญามังกร

แน่นอน การตอบคำถามเหล่านี้ย่อมมีหลากหลายแนวทาง แต่ที่เด่นชัดที่สุดหนีไม่พ้น “ความทะเยอทะยานทางภูมิรัฐศาสตร์” (Geopolitical Ambition) ของจีน

ในแง่ยุทธศาสตร์ โครงการรถไฟความเร็วสูงในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS-Greater Mekong Sub Region) เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิด “อี้ไต้ อี้ลู่” (Yi Dai, Yi Lu) หรือ “หนึ่งแถบ หนึ่งถนน” (One Belt, One Road) ที่สื่อถึงการเรืองอำนาจภูมิรัฐศาสตร์ของจีน เปิดแนวรุกทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์บนกระดานยูเรเซีย ผ่านการพลิกฟื้นเส้นทางสายไหมทางบกและทะเล

โดยจีนแบ่งระเบียงโลจิสติกส์บก ออกเป็น 6 แถบ ได้แก่
1.เส้นทางยูเรเซียจากภาคตะวันตกจีนถึงภาคตะวันตกรัสเซีย
2.เส้นทางจีน-มองโกเลีย-รัสเซียตะวันออก
3.เส้นทางภาคตะวันตกจีน-เอเชียกลาง-ตุรกี
4.เส้นทางจีน-อินโดจีน-สิงคโปร์
5.เส้นทางจีน-เมียนมา-บังกลาเทศ-อินเดีย
6.เส้นทางจีน-ปากีสถาน ส่วนระเบียงขนส่งทะเล เริ่มจากชายฝั่งจีน ผ่านสิงคโปร์ มาเลเซีย มหาสมุทรอินเดียและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

จากจินตกรรมภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Imagination) การประกอบกำลังเศรษฐกิจระหว่างจีนกับอาเซียน โดยเฉพาะการประกบกันของระเบียงบกหมายเลข 4 และ 5 กับระเบียงทะเล ในส่วนที่ผ่านชายฝั่งเอเชียอาคเนย์ จำเป็นต้องสร้างทางรถไฟ พร้อมโครงข่ายโลจิสติกส์อื่น ๆ เช่น ท่าเรือและถนนนานาชาติ เพื่อเนรมิตแถบผนึก (Sealing Belt) รองรับการแปะหมุดพญามังกรลงบนแผ่นดินอุษาคเนย์

ในเอกสารสำคัญเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ อี้ไต้ อี้ลู่ ของจีน ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่โดยคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ รวมถึงกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงพาณิชย์จีน ได้ตอกย้ำให้จีนใช้ประโยชน์จากเขตปกครองตนเองกวางสีในฐานะเพื่อนบ้านใกล้ชิดอาเซียน พร้อมเร่งระดมพลังจากเขตเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้และปากแม่น้ำไข่มุกเพื่อขยายแนวระเบียงโลจิสติกส์เชื่อมโยงอาเซียน และเพื่อเป็นการทอดสมอทางยุทธศาสตร์ (Strategic Anchor) สำหรับตอกหมุดเดือยหมุน (Pivot) ระหว่างเอเชียใต้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนจำเป็นต้องสถาปนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งแบบเร่งด่วน โดยปั้นให้มณฑลยูนนานเป็นแกนยุทธศาสตร์โยงภูมิภาคทั้งสองเข้าด้วยกันผ่านเส้นทางสายไหมทางบกและทะเล

ทว่าในแง่ยุทธวิธี จีนกลับพบอุปสรรคภูมิรัฐศาสตร์ซึ่งตั้งอยู่ริมขอบอินโดจีน อันได้แก่ เวียดนามและเมียนมา ซึ่งเป็นรัฐที่มีนัยสำคัญต่อจีน ทั้งในแง่การเชื่อมต่อระเบียงบกจากกวางสีเข้ามหาสมุทรแปซิฟิก (กรณีเวียดนาม) กับการเชื่อมต่อระเบียงบกจากยูนนานเข้ามหาสมุทรอินเดีย (กรณีเมียนมา)

อย่างไรก็ตาม ทั้งสองรัฐต่างพยายามลดทอนความเข้มข้นอิทธิพลของจีนลงบางส่วน ซึ่งความขัดแย้งเรื่องดินแดนและชาตินิยมในทะเลจีนใต้ กระตุ้นให้เวียดนามลังเลใจที่จะพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้ากับจีน ขณะที่เมียนมาหันเข้าหาสหรัฐอเมริกาและโลกตะวันตกมากขึ้น หลังปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ ฉะนั้นจีนจึงถูกบีบคั้นทางยุทธศาสตร์จนต้องตัดสินใจบุกทะลวงเข้าไปในไทย ลาว และกัมพูชา ซึ่งถือเป็นแกนกลางที่ตั้งประกบกับปีกซ้ายและขวาของดินแดนอินโดจีน

ผลจากแรงรุกทางภูมิรัฐศาสตร์จีน ทำให้ปักกิ่งเริ่มพัฒนา “โครงข่ายรถไฟมหาเอเชีย” หรือ “Pan-Asia Railway Network” เป็นระยะทางราว 4,500-5,500 กิโลเมตร เพื่อโยงแนวติดต่อระหว่างจีนกับอาเซียน โดยแบ่งออกเป็นสามเส้นทางหลัก ได้แก่ 1.เส้นตะวันตก จากคุนหมิง ตาลี่ เข้าย่างกุ้ง กรุงเทพฯ แล้วออกกัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ 2.เส้นตะวันออก จากคุนหมิง ฮานอย โฮจิมินห์ซิตี้ แล้ววกเข้าพนมเปญ กรุงเทพฯ กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ 3.เส้นกลาง จากคุนหมิง ยู่ซี เวียงจันทน์ กรุงเทพฯ กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์

แผนภูมิรัฐศาสตร์รถไฟนี้จะทำให้คุนหมิงและกรุงเทพฯ กลายเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์หลักในอาเซียนพื้นทวีป และทำให้จีนสามารถใช้ไทย ลาว และกัมพูชาเชื่อมทะลุเข้าไปในปีกซ้ายและปีกขวาอินโดจีน ผ่านเส้นทางรถไฟสายกลางที่เชื่อมต่อกับสายตะวันตกและสายตะวันออก พร้อมกันนั้นการรุกเข้ากรุงเทพฯ ยังทำให้ทุนและวัฒนธรรมจีนไหลลงใต้สู่มาเลเซีย-สิงคโปร์ จนทำให้จีนสามารถใช้ไทยเป็นหัวหาดในการปักหมุดอินโดจีน และเคลื่อนกำลังลงอาเซียนพื้นสมุทรได้รวดเร็วขึ้น

หากจีนเนรมิตโครงข่ายรถไฟมหาเอเชียสำเร็จ ก็เท่ากับว่าเส้นทางบก จากจีนเข้าอินโดจีน-สิงคโปร์ และจากจีนเข้าเมียนมาทะลุบังกลาเทศ-อินเดีย จะถูกเชื่อมต่อกับเส้นทางสายไหมทางทะเล จนทำให้พญามังกรทอดกายเลื้อยได้ถึงสามอนุทวีปและสองมหาสมุทร นั่นคือ เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย โดยการโอบล้อมเช่นนี้ ทำให้จีนมีฐานกระโจนทางยุทธศาสตร์ (Strategic Springboard) ที่แข็งแกร่งขึ้นในการรุกเข้าไปในยุโรป รัสเซีย และแอฟริกา ถือเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายหลักในแผนยุทธศาสตร์ อี้ไต่ อี้ลู่

ที่จริงแล้วความทะเยอทะยานภูมิรัฐศาสตร์ของจีนมิใช่จินตนาการที่ไร้หลักการ หากแต่เป็นธรรมชาติการผงาดขึ้นมาของรัฐมหาอำนาจ ซึ่งมีตัวแบบเทียบเคียงในประวัติศาสตร์ เช่น ทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย (Trans-Siberia) กับการเรืองอำนาจของจักรวรรดิรัสเซียและสหภาพโซเวียตบนพื้นทวีปยูเรเซีย และ การครอบครองเมืองท่าชายทะเลกับการแผ่แสนยานุภาพกองทัพเรือของจักรวรรดิอังกฤษ

ทว่า สำหรับการเติบโตของจีนในศตวรรษที่ 21 นี้ จีนกลับใช้พลังโลจิสติกส์เพื่อผนวกอำนาจทั้งทางบกและทางทะเล จนกล่าวได้ว่า โครงการรถไฟจีนที่รัฐไทยและอาเซียนกำลังเผชิญอยู่นั้น ได้ทำให้เกิดสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกในกลุ่มรัฐขนาดเล็กและรัฐขนาดกลาง ที่มีดินแดนตั้งอยู่ในเขตผลประโยชน์ของจีน ซึ่งเป็นรัฐขนาดใหญ่และมีเจตนาแน่วแน่ในการโจนทะยานทางภูมิรัฐศาสตร์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 22/08/2017 10:33 am    Post subject: Reply with quote

คิอดสร้างบทางรถไฟเชื่อมกะอัฟกานิสถานเพื่อฟื้นฟูกิจการผลิตหินอ่อนที่จีนไปเปิดโรงงานหินอ่อนที่อัฟกานิสถาน ตามแผน the Belt and Road Initiative แม้ว่ารถสินค้าจีนแดงมาถึงชายแดนอัฟกานิสถานที่ Hairatan แต่ปลายปี 2016 แต่ต้องเสียภาษีศุลกากรหลายต่อที่ คาซักสถานและอุซเบกิอสถาน และ ที่ Hairatan เลยคิดจะทำเส้นทางที่ตรงกว่านั้น

http://www.chinadaily.com.cn/business/2017-08/21/content_30901476.htm
Mongwin wrote:
ขยายไม่หยุด! จีนปล่อยรถไฟขนส่งสินค้าเชื่อมชิงไห่-รัสเซีย
ฐานเศรษฐกิจ 21 August 2017

วันนี้ (21 ส.ค. 60) - สำนักข่าวซินหัวรายงาน ว่า ขบวนรถไฟขนส่งสินค้าจีน-ยุโรปสายใหม่ล่าสุดออกวิ่งแล้วเมื่อวันเสาร์ (19 ส.ค.) เชื่อมโยงรัสเซียกับเมืองเก๋อเอ่อร์มู่ มณฑลชิงไห่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน

รถไฟซึ่งบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์เก็บผลิตภัณฑ์สารเคมี ได้เดินทางออกจากจีนโดยผ่านเขตเทือกเขาสูงอาลาซานโข่วของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ และจะวิ่งผ่านคาซัคสถานก่อนถึงจุดหมายที่เมืองเปียร์มในรัสเซีย

การเดินทางที่มีระยะทางราว 6,360 กิโลเมตร จะใช้เวลาสิบวัน ซึ่งน้อยกว่าวิธีการเดินเรือสินค้าทางทะเล ที่ใช้เวลากว่าสามสิบวัน

"บริการรถไฟขนส่งฯ สายใหม่ช่วยกระตุ้นการแข่งขันของสินค้าท้องถิ่นในระดับระหว่างประเทศ" เมิ่ง ห่าย เจ้าหน้าที่รัฐบาลในชิงไห่กล่าว

ปัจจุบันเมืองต่างๆ มากกว่า 20 แห่งในจีน ได้เปิดให้บริการรถไฟขนส่งสินค้าที่มีเส้นทางสู่เอเชียกลางและยุโรป ซึ่งเป็นไปตามแผนริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative) ของปักกิ่ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 23/08/2017 11:20 am    Post subject: Reply with quote

ลงทุนรถไฟในปากีสถาน โดยทำ Havelian land port เชื่อมปากีสถานกะ เมืองคัชการ์ตามทางหลวงคาราโครัมก่อน นำลงทางรถไฟไปส่งเมืองท่า Gwadar Port ตรงช่องแคบฮอร์มุซเพื่อการขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางผ่านปากีสถานมายังจีนแดงได้ นอกจากนี้จีนแดงมาตั้งโรงไฟฟ้าให้ปากีสถานอีกด้วย
http://www.chinadaily.com.cn/business/2017-05/15/content_29346858.htm


Last edited by Wisarut on 24/08/2017 10:14 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/08/2017 5:43 pm    Post subject: Reply with quote

จีนเปิดเส้นทางรถไฟขนส่ง ชิงไห่-รัสเซีย เพิ่มศักยภาพการค้า
โดย MGR Online 23 สิงหาคม 2560 15:36 น.

Click on the image for full size
รถไฟขนส่งจากมณฑลชิงไห่ ไปยังรัสเซีย เริ่มต้นขึ้นแล้วเมื่อวันอาทิตย์ 20 ส.ค. 60 (ภาพจาก พีเพิลเดลี่)

พีเพิลเดลี่ สื่อจีน รายงาน เส้นทางรถไฟขนส่งเส้นทางใหม่เชื่อมจีนกับทวีปยุโรป ระหว่างมณฑลชิงไห่ ของจีน และ ประเทศรัสเซีย ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 ส.ค. ที่ผ่านมา

เส้นทางสายนี้ เชื่อมไฉต๋ามู ( Qaidam Basin) มณฑลชิงไห่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เข้ากับเมืองเปียร์ม ของประเทศรัสเซีย โดยผ่าน ซินเจียง ของจีน และประเทศคาซัคสถาน ครอบคลุมระยะทางประมาณ 6,360 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 10 วัน ซึ่งใช้เวลาน้อยกว่าการขนส่งทางน้ำถึง 30 วัน

"บริการใหม่นี้สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติของสินค้าในท้องถิ่นจีน " นายเหมิง ไห่ ผู้ว่าเมืองไห่ซี เขตปกครองตนเองชนชาติมองโกลและทิเบต มณฑลชิงไห่

เส้นทางรถไฟ ชิงไห่-รัสเซีย เป็นหนึ่งในนโยบาย หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทางของจีน ที่ตอนนี้มีรถไฟขนส่งจากเมืองต่างๆในจีน กว่า 20 เมือง ไปยังพื้นที่ในเอเซียกลางและยุโรป

Click on the image for full size
รถไฟขนส่งจากมณฑลชิงไห่ ไปยังรัสเซีย เริ่มต้นขึ้นแล้วเมื่อวันอาทิตย์ 20 ส.ค. 60 (ภาพจาก พีเพิลเดลี่)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 24/08/2017 10:20 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟขนสินค้าจากเจิ้นโจวมณฑลเหอหนานไปนครมืวนิกประเทศเยอร์มันี เริ่ม 22 สิงหาคม 2017 ใช้เวลาเดินทาง 15-16 วัน ก่อนจะเดินทางกลับเมื่อ 5 กันยายน 2017 หลังจากที่ขนสินค้ายังท่าเรือฮัมบูร์กแต่ปี 2013 แล้ว โดยหมายใจวส่าจะสามารถนำเข้ารถบีเอ็มดับบลิว รถปอร์เช่ รถเบนซ์, และหัวเทียนกะเครื่องไฟฟ้า Bosch จากนครมิวนิก มาขายที่เมืองจีนได้ หลังจากจีนแดงได้ส่งออกelectrical machineries, hot press templates, bearing parts, และ LED lights ไปแล้ว
http://www.chinadaily.com.cn/world/2017-08/23/content_30998091.htm
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 24/08/2017 11:12 am    Post subject: Reply with quote

ลาวคือหนึ่งตัวเชื่อมสำคัญในแผนการ ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ ของจีน
โดย เดวิด ฮุตต์

20 สิงหาคม 2560 22:35 น. (แก้ไขล่าสุด 21 สิงหาคม 2560 01:08 น.)
(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)

Laos is a key link for China’s Obor ambitions
By DAVID HUTT, @davidhuttjourno
15/07/2017

ขณะที่ลาวคือตัวเชื่อมโยงสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการ One Belt, One Road อันลือลั่นของจีน กระนั้นก็ตาม ลาว –ประเทศแห่งแผ่นดินปิดและมีรัฐบาลคอมมิวนิสต์เป็นผู้บริหารประเทศ- จะเกร็งแกมกลัวต่อการนำอนาคตของระบบเศรษฐกิจไปผูกพันพึ่งพิงจีนอย่างสุดโต่ง หรือไม่ คำเฉลยเรื่องนี้เป็นอะไรที่จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดยิ่งยวด

สิบหกปีหลังจากที่มีการเสนอแนวคิดในระดับทวิภาคีเป็นครั้งแรก ก็เพิ่งจะเมื่อเมื่อปีที่แล้วที่การดำเนินงานได้เริ่มต้น นั่นก็คือ การจัดสร้างทางรถไฟความยาว 414 กิโลเมตรเพื่อเชื่อมโยงแผ่นดินจีนตอนใต้ไปยังดินแดนของลาว ผู้เป็นเพื่อนบ้านเก่าแก่ของจีน

หากสำเร็จเสร็จสิ้นได้ภายในปี 2021 ตามที่วางแผนไว้ เส้นทางรถไฟความเร็วสูง มูลค่า 6,000 ล้านดอลลาร์ จะเป็นโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ราคาแพงที่สุดในประวัติศาตร์ชาติลาวกันเลยทีเดียว กล่าวคือตัวเลขดังกล่าวเทียบเท่าได้กับเฉียดๆ จะครึ่งหนึ่งของจีดีพีปีปัจจุบันของประเทศลาว ผู้เป็นประเทศไซส์เล็กที่ฝังตัวอยู่ในโอบล้อมของประเทศใหญ่อย่างจีน ไทย และเวียดนาม

ในส่วนสำหรับจีนผู้เป็นสถาปนิกโครงการและเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง ทางรถไฟสายนี้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความริเริ่ม“หนึ่งแถบเศรษฐกิจ หนึ่งเส้นทาง” หรือ One Belt, One Road (OBOR) มูลค่าหนึ่งล้านล้านดอลลาร์ จะช่วยเชื่อมโยงจีนไปสู่นานาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นวิสัยทัศน์ว่าด้วยการเชื่อมเส้นทางพาณิชย์แบบยิงยาวไม่มีการขาดตอนในระหว่างคุนหมิงในภาคใต้ของจีน ไปจรดยังประเทศเกาะผู้มั่งคั่งอย่างสิงคโปร์

ในส่วนสำหรับลาว ทางรถไฟสายนี้คือสัญลักษณ์แห่งความเปลี่ยนแปลงวิถีดั้งเดิมที่ลาวปักหลักเป็นประเทศปลีกวิเวกมาช้านาน ดังจะได้ยินบ่อยครั้งที่เจ้าหน้าที่ภาครัฐของลาวจะประกาศวาทะเปี่ยมโวหารว่า จะทำการแปลงโฉมลาว จากการเป็น แผ่นดินปิด (Land Lock) สู่สถานภาพ แผ่นดินเชื่อมโยง (Land Link)

โครงการไซส์มโหฬารที่จ่อจะสร้างความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่แก่ลาว มิได้มาจากลมเหนือเท่านั้น หากเล็งแลไปทางซีกตะวันออกของลาว ก็มีอีกหนึ่งอภิมหาโครงการที่ลาวเตรียมจะจัดใหญ่ให้แก่อนาคตของชาติ กล่าวคือ การสร้างทางหลวงแผ่นดินมาตรฐานสมัยใหม่เพื่อเชื่อมโยงเวียงจันทร์กับกรุงฮานอย เมืองหลวงของเวียดนาม ทั้งนี้ ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา รัฐบาลลาวสั่งการให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการวิจัยถึงความเป็นไปได้ที่จะดำเนินโครงการร่วมลงทุนกับเวียดนามเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกในเวียดนามตอนกลาง โดยจะถือเป็นปัจจัยความสำคัญเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม

ลาวนั้นไม่เหมือนประเทศเพื่อนบ้านรอบตัว ลาวขาดแคลนอุตสาหกรรมการผลิตที่สำคัญอย่างเพียงพอ เพราะมองกันว่าการผลิตขึ้นใช้ในประเทศ จะต้องบวกต้นทุนค่าขนส่งสินค้าในระดับที่สูงลิบลิ่วเข้าไปด้วย ทั้งนี้ แม้ลาวจะมีขนาดพื้นที่ประมาณเดียวกับฝรั่งเศส แต่ลาวมีภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยภูเขาราว 70% ของพื้นที่ทั้งหมด

แน่นอนว่าความเปลี่ยนแปลงที่ก่อตัวอยู่นี้ ดูจะเข้าทีดีไม่น้อย แต่ต้องไม่ลืมว่ามันจะทำให้ลาวเป็นประเทศที่ไม่ปลีกวิเวกอีกต่อไป โดยลาวจะมีความสัมพันธ์ที่แนบชิดมากขึ้นกับบรรดาประเทศเพื่อนบ้านทั้งปวง เรื่องใหญ่อย่างนี้ หมายถึงการปรับตัวครั้งสำคัญ ทั้งนี้ แม้ลาวผู้เป็นชาติที่แปะยี่ห้อคอมมิวนิสต์ ได้ผละจากสถานภาพอันปิดสนิทตั้งแต่เมื่อทศวรรษ 1990 แต่ลาวก็ยังมีภาพลักษณ์ว่าเป็นประเทศที่ไม่ใคร่จะเป็นที่รู้จักมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ความจริงประการนี้เป็นอะไรที่จริงที่สุด อีกทั้งมีนัยยะเชิงธุรกิจอย่างที่สุดด้วย กล่าวคือ ผลการศึกษาวิจัยและจัดอันดับโดยธนาคารโลก พบว่าในบรรดาประเทศย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความยากในการทำธุรกิจสุดๆ 3 อันดับแรกนั้น ลาวเป็นประเทศที่มีความยากในการทำธุรกิจอันดับที่ 3 กันเลยทีเดียว โดยเป็นรองเพียงประเทศเมียนมาร์ และติมอร์ เลสเต

องค์ประกอบใหญ่ยักษ์ของปัญหานี้ ได้แก่ รัฐบาลที่เคร่งครัดในระบบรัฐการอย่างรุนแรงมาก สำหรับนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่แล้ว ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดในบรรดาสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ลาวคือ ฝ่ายที่ฝักใฝ่ฮานอย ฝ่ายที่ฝักใฝ่ปักกิ่ง

ความแตกต่างและแตกแยกดังกล่าวมีตัวชี้บ่งประการสำคัญคือ ปัจจัยว่าเป็นเจนเนอเรชั่นใด พวกรุ่นเก่ามักที่จะฝักใฝ่ฮานอย ส่วนพวกรุ่นใหม่มักจะฝักใฝ่ปักกิ่ง นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยในเชิงภูมิศาสตร์ด้วย คือสำหรับคนในแผ่นดินตอนเหนือมักจะฝักใฝ่จีน และสำหรับคนในแผ่นดินตอนใต้มักจะฝักใฝ่เวียดนาม

นักวิเคราะห์บางรายฟันธงว่าในหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังการประชุมใหญ่สมัชชาพรรคครั้งที่ 8 ในปี 2006 ฝ่ายที่ฝักใฝ่ปักกิ่งเป็นฝ่ายได้เปรียบ ในกาลต่อมา ณ ปี 2013 พบว่าจีนกลายเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดของลาว โดยที่เวียดนามถูกแซงและลดลงไปสู่อันดับที่สอง กระนั้นก็ตาม ไม่ใช่ว่านักวิเคราะห์ทุกรายจะเห็นด้วยกับการวิเคราะห์แบบที่ดูตามอิทธิพลของเม็ดเงิน

“ในหลายปีมานี้ มีนักข่าวเยอะเลยที่เข้าใจผิดฉกรรจ์” กล่าวโดยเอียน แบร์ด แห่งภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน เมื่อปีที่แล้ว “พวกนี้เห็นเม็ดเงินไหลจากจีนเข้าสู่ลาว แล้วก็คิดว่ามันหมายถึงการที่จีนมีฐานะการเมืองที่แข็งแกร่งในลาว ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องเดียวกันเลย”

ประเด็นมีอยู่ว่าจีนและเวียดนามลงทุนในลาวในแบบที่แตกต่างกัน และเงินทุนก็ไหลเข้าไปผ่านช่องทางที่แตกต่างกัน

จีนมักจะไปในงานโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ยักษ์ และพยายามเสาะหาโอกาสสร้างความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ในรัฐบาลกลาง ดังเหตุนี้ อิทธิพลจีน อีกทั้งโครงการของจีนจึงมักจะโดดเด่นเห็นชัดเจน

ส่วนสำหรับเวียดนามแล้ว เวียดนามทราบดีว่าอำนาจมหาศาลนั้นอยู่ในมือของทางการท้องถิ่น ด้วยเหตุฉะนี้ ฮานอยมักที่จะถักทอความผูกพันอยู่กับเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด และธุรกิจที่มีขนาดย่อมลงมา โดยเน้นให้เป็นธุรกิจของบุคคลสำคัญและทรงอิทธิพลในพรรค อาจารย์แบร์ดกล่าวอย่างนั้น

ทั้งนี้ หากว่าจะมีฝ่ายฝักใฝ่จีนอยู่ในพรรค ก็น่าจะเป็นส่วนน้อยเท่านั้น ตัวอย่างคือ ท่านสมสะหวาด เล่งสะหวัด ถูกมองว่าเป็นฝ่ายเชียร์จีนในโปลิตบูโร และเป็นอภิมหาเศรษฐีหมายเลขหนึ่งของลาว แต่การณ์ปรากฏว่าสมสะหวาดถูกถอดจากอำนาจการกำหนดนโยบายระดับสูงสุดเรียบร้อยโรงเรียนลาว เมื่อปีที่แล้ว

บัวสอน บุบผาวัน เป็นอีกหนึ่งขาใหญ่ที่เชื่อกันว่าโปรปักกิ่ง เขาหลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2010 โดยที่รัฐบาลชุดของเขามัวหมองหนักด้วยข้อกล่าวหาเรื่องคอร์รัปชั่น

นักวิเคราะห์ในสกุลที่ไม่เห็นด้วยกับสมมุติฐานเรื่องการเมืองแบ่งขั้วภายในประเทศลาว ให้ความเห็นว่าวัตถุประสงค์แท้จริงของรัฐบาลลาวคือการสร้างสมดุลเชิงผลประโยชน์ระหว่างสองชาติเพื่อนบ้านผู้เรืองอำนาจและทรงพลัง โดยเน้นว่าจะต้องพึ่งพิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากเกินไป กระนั้นก็ตาม สิ่งที่เห็นได้ชัดนับจากการประชุมใหญ่สมัชชาพรรค ครั้งที่ 10 เมื่อปีที่แล้ว คือ ความพยายามของรัฐบาลลาวในอันที่จะขยายสายสัมพันธ์ให้ไกลออกไปมากกว่าแค่จีนกับเวียดนาม

ในเดือนกันยายนปีที่แล้ว การเยือนกรุงเวียงจันทร์ของนายบารัค โอบามา (ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาในช่วงนั้น) นับว่าเป็นวโรกาสที่ยิ่งใหญ่วาระหนึ่ง เพราะนอกจากจะเป็นครั้งแรกในรอบ 41 ปีที่ประธานาธิบดีอเมริกันเดินทางมาเยือนลาว หากยังเป็นเพราะทัวร์ครั้งดังกล่าวเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ารัฐบาลคอมมิวนิสต์ลาวเริ่มทอดสัมพันธ์กับโลกตะวันตกเป็นครั้งแรก ในอันที่จะสร้างความหลากหลายให้แก่ความสัมพันธ์ต่างประเทศของชาติลาว

นายกรัฐมนตรีทองลุน สีสุลิด มีนโยบายเพิ่มตัวเลือกในด้านนักลงทุนจากย่านเอเชีย โดยในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ท่านทองลุนได้รับคำเชิญจากนายกรัฐมนตรีลี เซียนลุงให้ไปเยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ มูลค่าการค้าระหว่างลาวกับสิงคโปร์อยู่ที่ 51 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีที่แล้ว ในรอบหลายปีที่ผ่านมา สิงคโปร์มีการลงทุนในลาวรวมได้ประมาณ 284 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

แม้นักวิเคราะห์พากันเชื่อว่าลาวจะยังเดินหน้าพึ่งพิงจีนแบบหนักมากทั้งในเชิงเงินกู้และการลงทุน (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากลาวจะสามารถบรรลุสถานภาพประเทศที่มีรายได้สูงกว่าระดับกลางภายในปี 2030 ดั่งที่ประกาศความตั้งใจไว้) แต่ก็ปรากฏสัญญาณหลายต่อหลายคราว่า ท่านทองลุนตั้งใจมุ่งมั่นจะลบล้างภาพที่ถูกมองว่าประเทศของตนเป็นเด็กในคาถาของประเทศเพื่อนบ้านทางตอนเหนือผู้ซึ่งใหญ่ยักษ์กว่านั้นมหาศาล

กระนั้นก็ตาม ยังมีอยู่บ้างที่มองความเคลื่อนไหวทั้งหลายทั้งปวงว่าเป็นความจำเป็นเพื่อให้บรรลุความสำเร็จด้านการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไว และรวมถึงการเร่งพัฒนาแหล่งทรัพยากรที่ใช้สร้างไฟฟ้าพลังงานน้ำ “หากลาวจะต้องก้าวขึ้นเป็น ‘แบตเตอรี่แห่งเอเชีย’ เรื่องนี้อาจจะเป็นอะไรที่ทะเยอทะยานมากเกิน” ท่านทองลุนได้กล่าวในระหว่างให้สัมภาษณ์เมื่อไม่นานมานี้ โดยพาดพิงถึงการที่ลาวเร่งผุดเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำเพื่อการส่งออก เป็นจำนวนมาก

เมื่อปีที่แล้ว รัฐบาลของท่านทองลุนมีคำสั่งห้ามเปิดพื้นที่แพลนท์เทชั่นขนาดใหญ่โตเพื่อปลูกกล้วย ซึ่งกิจกรรมเศรษฐกิจดังกล่าวนี้กำลังบูมสนั่นโดยพลังขับเคลื่อนของนักลงทุนจีนในทางตอนเหนือของประเทศลาว สืบเนื่องจากปรากฏรายงานการใช้สารเคมีกันอย่างขนานใหญ่ ส่งผลเป็นมลพิษร้ายแรงที่ทำลายแหล่งน้ำ ตลอดจนส่งผลร้ายต่อสุขภาพของแรงงานลาวที่ทำงานในพื้นที่เหล่านั้น ต่อมาไม่นาน รัฐบาลของท่านทองลุนยังมีคำสั่งห้ามส่งออกไม้ซุงอีกต่างหาก โดยที่ว่าการส่งออกไม้ซุงส่วนใหญ่นั้นมุ่งหน้าไปยังตลาดจีนนั่นเอง

ไม่ต้องคลางใจกันเลยว่าท่านทองลุนเข้าใจนัยยะทางการเมืองได้เป็นอย่างดี ว่าการทำลายสภาพแวดล้อมและการปล่อยให้มีการเกษตรดุดันโดยปราศจากการตรวจสอบปฏิบัติการภาคสนามนั้น เป็นภัยคุกคามต่อความชอบธรรมของพรรคในสายตาและความรับรู้ของมวลชนอย่างที่สุด

“เราสามารถมีการลงทุนต่างชาติ แต่เราก็ต้องได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์ด้วย” ท่านทองลุนกล่าว พร้อมเสริมว่า “ควรจะต้องมีความเป็นธรรมกันด้วย”

หากพิจารณาในเชิงถ้อยคำการเมืองที่กำกวมสไตล์ลาว นี้อาจตีความได้ว่าเป็นการยอมรับว่านโยบายก่อนหน้านี้ส่งเสริมความไม่เท่าเทียม กระนั้นก็ตาม นี้เป็นสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นว่า การลงทุนต่างชาติไม่ใช่ว่าจะเป็นที่ต้อนรับแบบเดิมๆ แบบที่ว่าการลงทุนต่างชาติทุกสิ่งอย่างโอเคได้หมดไม่ว่าลาวต้องแบกต้นทุนภายในพื้นถิ่นของตนในระดับที่สูงเพียงใด

อันที่จริงแล้ว ลาวมีข้อได้เปรียบไม่ใช่น้อยเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเป็นแผ่นดินเชื่อมโยงที่สำคัญเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ด้วยว่าทำเลของแผ่นดินลาวนับเป็นศูนย์กลางแห่งอนุภูมิภาคลุ่มแม่โขงสำหรับ 3 ประเทศใหญ่ทางเศรษฐกิจที่โอบล้อมอยู่โดยรอบ ไม่ว่าจะเป็นไทย เวียดนาม หรือจีน กล่าวก็คือว่าลาวเป็นแผ่นดินเชื่อมโยงสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเส้นทางขนส่งของโครงการ One Belt, One Road ที่จีนได้ดำริริเริ่มขึ้นมา

กระนั้นก็ตาม บททดสอบรายการใหญ่ยักษ์ทั้งในเชิงการเมืองและเชิงสังคมกำลังรอเวลาพิสูจน์ใจของผู้นำลาว นั่นคือโครงการเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำจำนวน 7 โครงการภายใต้การสนับสนุนทางการเงินจากจีน โดยมีแผนงานว่าจะถูกจัดสร้างขึ้นตามรายทางสายน้ำแม่โขง ปัญหาที่รอท่าอยู่โดยมีโอกาสสูงที่จะอักเสบขึ้นเป็นวิกฤตคือ ผลกระทบของโครงการต่อประเทศเพื่อนบ้าน ที่ผ่านมาทางการเวียดนามส่งเสียงบ่นมาตลอดหลายปีว่า เขื่อนนานาโครงการของลาวมีผลต่อปริมาณสายน้ำที่จะต้องไหลต่อไปเวียดนาม และกำลังคุกคามชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนหลายแสนราย

ลาวจะต้องเช็คทางลมให้ดีเชียวว่า ฝั่งฮานอยจะออกอาการแรงเพียงใด หากปริมาณสายน้ำในส่วนของเวียดนามได้รับผลกระทบจริงจัง อีกทั้งความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมที่ตามกันมาอีกเป็นพรวนอุบัติขึ้นในวงกว้าง เพราะในโมงยามเหล่านั้น ลาวจะเดินนโยบายอย่างไรเพื่อตอบโจทย์ได้ทั้งด้านผลกำไรที่ได้รับจากการส่งออกไฟฟ้าพลังงานน้ำไปยังจีน ตลอดจนประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ และตอบโจทย์ได้ในด้านสายสัมพันธ์กับประเทศพี่เอื้อยเก่าแก่รายนี้ นี่เป็นความเสี่ยงเชิงการทูตจากการบูรณาการและเชื่อมโยงกับภูมิภาคมากมหาศาลขึ้นมานั่นเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 38, 39, 40 ... 134, 135, 136  Next
Page 39 of 136

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©