RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180615
ทั้งหมด:13491850
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/10/2013 8:09 am    Post subject: Reply with quote

วันนี้ในอดีต : 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) - กบฏบวรเดช - พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ยกกองกำลังจากภาคอีสานเข้ามากรุงเทพฯ โดยมีการต่อสู้กันครั้งแรกเกิดขึ้นที่อำเภอปากช่อง มีการจับคนของรัฐบาลเป็นเชลยที่โคราช จากนั้นคณะผู้ก่อการได้ยกกองกำลังเข้ามาทางดอนเมืองและยึดพื้นที่เอาไว้ โดยเรียกชื่อคณะตัวเองว่า คณะกู้บ้านเมือง และเรียกแผนการปฏิวัติครั้งนี้ โดยใช้กองกำลังทหารจากหัวเมืองต่าง ๆ เข้าล้อมเมืองหลวงว่า แผนล้อมกวาง

Yuri Alexandrovish Orlov wrote:
คุณตาเคยเล่าว่า คุณทวดเคยเป็นทหารสังกัดมลฑลทหารนครราชสีมา และตาบอดเพราะเหตุการณ์นี้... - หา! นี่คุณทวดของเราอยู่ฝ่ายกบฏเหรอเนี่ย?! (มิน่า ทำไมคุณตาแกไม่ชอบจอมพลแปลก)


https://www.facebook.com/photo.php?fbid=425313514241890&set=a.285202071586369.57228.285181208255122&type=1&theater


Last edited by Wisarut on 06/11/2020 12:55 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/11/2013 7:50 pm    Post subject: Reply with quote

โรงแรมวังพญาไท ที่กรมรถไฟเช่ามาจากพระคลังข้างที่ นั้น เปิด 18 กุมภาพันธ์ 2468 (ปัจจุบันต้องนับว่าเป็นต้นปี 2469 เพราะเป็นปี 1926) ปิดเอา เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2475 เพราะพิษเศรษกิจตกต่ำ จนมีคนยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ไปที่สำนักนายกรัฐมนตรีขอให้ปิดโรงแรมวังพญาไทเสีย
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=419641784810663&set=a.123471934427651.24700.121587384616106&type=1&relevant_count=1


Last edited by Wisarut on 06/11/2020 12:55 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/07/2017 11:01 am    Post subject: Reply with quote

โคลงนิราศล่องแก่งแม่ปิงโดย จางวางเอกพระยาบุรุษรัตนราชวัลลภ (นพ ไกรฤกษ์) คราวที่ตามเสด็จพระวิมาดาเธอ เมื่อปี 2470 ตีพืมพ์ครั้งแรก ในงาน พระราชทานเพลิงศพ พระยาเพ็ชร์ พิสัยศรีสวัสดิ์ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อปี 2505 มีการโดยสารรถไฟพระที่นั่งจากสถานีหลวงจิตรลดา ไปเชียงใหม่ด้วย
http://www.sac.or.th/databases/siamrarebooks/th/website/oldbook/detailbook/10349

โคลงสุภาพเรื่องนิราศชะอำ ฝีพระโอษฐ์ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พ.ศ.2471 คราวที่ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ บุกเบิกหาดชะอำ พิมพ์ เมื่อปี 2472 ที่ สำนักพิมพ์โรงพิมพ์อักษรนิติบางขุนพรหม - โดยออกเดินทางในเวลาเจ็ดนาฬิกา จากสถานีรถไฟหัวลำโพงและมีการบันทึกถึงชื่อสถานที่ต่างๆ ระหว่างการเดินทาง ได้แก่ สถานีจิตรลดา สามเสน บางซื่อ บางซ่อน สะพานพระราม บ้านบางตำรุ ตลิ่งชัน ศาลาธรรมสพน์ ศาลายา วัดสุวรรณ งิ้วราย สะพานเสาวภา บ้านเขมร ท่าแฉลบ นครปฐม สนามจันทร์ โพรงมะเดื่อ บางตาล หนองปลาดุก บ้านโป่ง นครชุมน์ คลองตาคต บ้านเขือง เจ็ดเสมียน บ้านกล้วย สะพานจุฬาลงกรณ์ เมืองราชบุรี บ้านคูบัว บ้านปากท่อ บ้านโขต คลองประดู่ หนองปลาไหล เมืองเพชรบุรี ห้วยเสือ เขาทโมน หนองไม้เหลือง หนองจอก หนองศาลาจนกระทั่งถึงชะอำจังหวัดเพชรบุรี - น่าจะเป็นรถเร็วขบวน 11 (กรุงเทพ - หัวหิน)
http://www.sac.or.th/databases/siamrarebooks/th/website/oldbook/detailbook/2918

นิราศนราธิปฯ เรียก ดุษฎี จารึก ไปปักษ์ใต้ ฝีพระโอษฐ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ คราวที่ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เสด็จหาดใหญ่ พิมพ์ เมื่อปี 2472 แจกในงานปีใหม่ 2472 ในเล่มมีสารบาญเรื่อง สารบาญรูป และการเดินทางด้วยรถไฟ (รถด่วนสายใต้แน่ๆ) และรถยนต์ ตั้งแต่กรุงเทพฯจนถึงหาดใหญ่ และกลับถึงกรุงเทพ ตอนสุดท้ายเป็นอวสานพจนาท รวม ๑๓๙ หน้า
http://www.sac.or.th/databases/siamrarebooks/th/website/oldbook/detailbook/2916


Last edited by Wisarut on 24/01/2022 12:35 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3291
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 22/07/2017 8:42 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

โคลงสุภาพเรื่องนิราศชะอำ ฝีพระโอษฐ์ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พ.ศ.2471 คราวที่ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ บุกเบิกหาดชะอำ พิมพ์ เมื่อปี 2472 ที่ สำนักพิมพ์โรงพิมพ์อักษรนิติบางขุนพรหม - โดยออกเดินทางในเวลาเจ็ดนาฬิกา จากสถานีรถไฟหัวลำโพงและมีการบันทึกถึงชื่อสถานที่ต่างๆ ระหว่างการเดินทาง ได้แก่ สถานีจิตรลดา สามเสน บางซื่อ บางซ่อน สะพานพระราม บ้านบางตำรุ ตลิ่งชัน ศาลาธรรมสพน์ ศาลายา วัดสุวรรณ งิ้วราย สะพานเสาวภา บ้านเขมร ท่าแฉลบ นครปฐม สนามจันทร์ โพรงมะเดื่อ บางตาล หนองปลาดุก บ้านโป่ง นครชุมน์ คลองตาคต บ้านเขือง เจ็ดเสมียน บ้านกล้วย สะพานจุฬาลงกรณ์ เมืองราชบุรี บ้านคูบัว บ้านปากท่อ บ้านโขต คลองประดู่ หนองปลาไหล เมืองเพชรบุรี ห้วยเสือ เขาทโมน หนองไม้เหลือง หนองจอก หนองศาลาจนกระทั่งถึงชะอำจังหวัดเพชรบุรี - น่าจะเป็นรถเร็วขบวน 11 (กรุงเทพ - หัวหิน)
http://www.sac.or.th/databases/siamrarebooks/main/index.php/literature/2012-04-26-03-37-29/89-niratchaam


(๘๖) O รถเผ่น ผ่านบ้านโขด เขาเหลา
เป็นถิ่น หินรากเขา ต่อยใช้
มีทาง ทอดรางเอา สิลาสดวก ดลเอย
ครั้นลุถิ่น หินใกล้ กว่านี้ แหนงเพียร


นอกจากงานเขียนของคุณสรศัลย์ แพ่งสภา ที่เคยเล่าไว้ในหนังสือ "ของเก่าเราลืม รถไฟ เรือเมล์ ทะเล รถราง" ในนามปากกา "ฒ ผู้เฒ่า" ผมก็เพิ่งเห็นชื่อ บ้านโขด ในโคลงสุภาพเรื่องนี้ Arrow กำลังจะเดาว่าชื่อบ้านโขด น่าจะเป็นชื่อเดิมของชุมชนบริเวณนี้ ส่วนเขาเหลา หรือเขาหลาว ก็เป็นเพียงชื่อภูเขา แต่พอกรมรถไฟเข้ามาระเบิดหินที่นี่ แล้วมีการใช้ชื่อเขาหลาวเป็นชื่อหน่วยงาน ก็เลยพลอยทำให้ชื่อบ้านโขดเลือนหายไปด้วยรึเปล่า ตรงนี้ก็แค่เดานะครับ Wink
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/09/2018 5:30 pm    Post subject: Reply with quote

พระราชบันทึกทรงเล่า2475พระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ'ถ้าจะตายก็ตายด้วยกัน'!

27 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เวลา 14:20 น.

cr: หนังสือเบื้องแรกประชาธิปตัย บันทึกความทรงจำของผู้อยู่ในเหตุการณ์ สมัย พ.ศ.2475-2500 รวบรวมและจัดพิมพ์โดยสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2516

ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยคณะผู้ก่อการเพื่อให้ประเทศสยามได้มาสู่ระบอบประชาธิปไตย เมื่อเช้าตรู่ของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 นั้น ได้มีผู้เขียนถึงบทบาทและการวางแผนปฏิบัติงานกันแล้วในหลายแง่หลายมุมด้วยกัน แต่ทั้งหมดนั้นยังมิเคยมีผู้ใดได้นำเอาเรื่องที่น่าสนใจจากอีกด้านหนึ่งมาเรียบเรียงให้เหตุการณ์นั้นมีความสมบูรณ์ขึ้นเท่าที่จะสามารถกระทำได้

นั่นคือเหตุการณ์ทางด้านที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งทรงครองราชย์อยู่ในขณะนั้น แม้ว่าพระองค์จะเสด็จสวรรคตแล้วก็ตาม

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะกรรมการสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยได้เข้าเฝ้าฯ ขอทราบเหตุการณ์ดังกล่าว ณ พระตำหนักวังศุโขทัย พระองค์ทรงเข้าพระทัยแจ่มแจ้งในเจตนาของคณะกรรมการสมาคมฯ ได้ทรงเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นพระราชทานเท่าที่ยังทรงจำได้

ในขณะที่เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยการนำของ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ดำเนินไปในเวลาเช้าตรู่ของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ในพระนครนั้น เป็นเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวลหัวหินในเช้าวันนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินีทรงกอล์ฟอยู่ท่าม
กลางบรรดาข้าราชบริพาร

"เช้าวันนั้น รู้เรื่องกันที่สนามกอล์ฟนั่นแหละ" สมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ทรงเล่า "พอเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว พระยาอิศราฯ เป็นคนไปกราบบังคมทูลให้ในหลวงทรงทราบ ในหลวงก็รับสั่งว่า ไม่เป็นไรหรอก เล่นกันต่อไปเถอะ แต่ฉันกลับก่อนแล้ว จึงไม่ทราบเรื่องจนเสด็จฯ กลับมาก็รับสั่งกับฉันว่า ว่าแล้วไหมล่ะ ฉันทูลถามว่าอะไรใครว่าอะไรที่ไหนกัน จึงรับสั่งให้ทราบว่ามีเรื่องยุ่งยากทางกรุงเทพฯ ยึดอำนาจและจับเจ้านายบางพระองค์ ระหว่างนั้นก็ทราบข่าวกระท่อนกระแท่นจากวิทยุ แต่ก็ไม่แน่ว่าอะไรเป็นอะไร มีเจ้านายอยู่กันหลายองค์ที่หัวหิน เช่น กรมสิงห์ (เสนาบดีกลาโหม)



ต่อมาในหลวงก็ทรงได้รับโทรเลขมีความว่า ทางกรุงเทพฯ ได้ส่งเรือรบมาทูลเชิญเสด็จฯ กลับ ในหลวงรับสั่งว่ามาก็มาซิ หลังจากนั้นเป็นเวลาประมาณเที่ยงเศษ หลวงศุภชลาศัยก็มาถึง พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (สมุหราชองครักษ์) สั่งให้ปลดอาวุธเสียก่อนถึงจะให้เข้าเฝ้าฯ ทางวังไกลกังวลน่ะก็เตรียมพร้อมอยู่เหมือนกัน ทหารรักษาวัง กองร้อยพิเศษไปตั้งปืนที่หน้าเขื่อน เสร็จแล้วหลวงศุภฯ ก็ขึ้นมาข้างบน มาอ่านรายงานอะไรต่ออะไรก็จำไม่ได้แล้ว แต่มีความสำคัญว่าทูลเชิญเสด็จฯ กลับโดยเรือหลวงสุโขทัย ในหลวงท่านรับสั่งว่าไม่กลับหรอกเรือสุโขทัย พวกนั้นจึงกลับไป ระหว่างนั้นเราก็ปรึกษากันว่าจะทำอย่างไร บางคนก็กราบบังคมทูลว่าให้เสด็จฯ ออกไปข้างนอกเสียก่อนแล้วค่อยต่อรองกันทางนี้ ท่านรับสั่งว่า ไม่ได้ ไม่อยากให้มีการรบพุ่งกัน เพราะจะเสียเลือดเนื้อประชาชนเปล่าๆ เจ้านายหลายองค์ก็ถูกจับเป็นประกันอยู่ เพราะฉะนั้นจะยังไม่ทำอะไร แต่ก็รับสั่งว่าจะต้องมาปรึกษาฉันก่อนว่าจะไปหรือจะอยู่ เพราะฉันต้องไปกับท่าน" สมเด็จฯ ทรงเล่า

"เมื่อฉันได้รู้เรื่องจากในหลวง ฉันก็บอกว่าไม่ไปหรอก ยังไงก็ไม่ไปตาย ก็ตายอยู่แถวนี้ ท่านรับสั่งว่าตกลงจะกลับ ในตอนนั้นฉันจำได้ว่าเป็นเวลาเย็นแล้ว กรมพระกำแพงฯ ซึ่งจะหนีจากกรุงเทพฯ ไปได้อย่างไรไม่รู้ ได้ขอเข้าเฝ้าฯ ท่านบอกว่าไม่มีประโยชน์หรอก เขาเข้ากันได้หมดแล้ว ทุกคนจึงได้แต่ฟังเอาไว้เฉยๆ แต่ก็ตกลงว่าจะเดินทางกลับโดยรถไฟ

ฉันมาถึงที่สถานีสวนจิตรลดาเมื่อประมาณสัก 7 ทุ่มเห็นจะได้ แหมเงียบจริงๆ พอในหลวงเสด็จพระราชดำเนินจากรถไฟ มีราษฎรคนหนึ่งอยู่ที่สถานีกราบถวายบังคมแล้วก็ร้องไห้ ไม่ทราบเหมือนกันว่าเป็นใคร อายุประมาณ 30 กว่าเห็นจะได้ ในหลวงไม่ได้รับสั่งอะไร เราก็กลับมากันที่วังนี่ (วังศุโขทัย) ตลอดทางเงียบแล้วก็เศร้า เราผ่านพระที่นั่งอนันตสมาคมก็ไม่มีอะไร มาทราบเอาทีหลังว่าบนพระที่นั่งอนันตฯ เขาตั้งปืนไว้เต็มหมด เพราะรู้ว่าเราจะมาทางนั้น



จนวันรุ่งขึ้นตอนเย็น ฉันจำไม่ได้แน่ว่ามีใครบ้าง ก็มาเข้าเฝ้าฯ ขอพระราชทานอภัยโทษ เวลาที่เขามากัน มีรถถังมาสัก 4-5 คันเห็นจะได้จอดอยู่หน้าวัง"

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงเท้าความย้อนหลังให้ฟังต่อไปอีกว่า "ความจริงเรื่องปฏิวัตินี่นะ ในหลวงท่านทรงเดาไว้นานแล้วว่าจะมีปฏิวัติ แต่จะเดาจากอะไรยังไงไม่ทราบ อีกอย่างใครต่อใครหลายคนก็รู้ว่า ในหลวงจะพระราชทานรัฐธรรมนูญอยู่เหมือนกัน เพราะท่านได้ทรงร่างไว้แล้ว แต่ระหว่างที่ทรงหารือกับเจ้านายผู้ใหญ่ๆ น่ะ ก็มีการคัดค้านกันบ้าง ท่านก็เลยรับสั่งว่าถึงให้ไปก็เหมือนกัน ยังไงก็ต้องปฏิวัติ โดยอ้างว่าไม่พอใจ พวกเจ้านายผู้ใหญ่ได้กราบทูลขอให้ระวังพระองค์ เฉพาะอย่างยิ่งวันฉลองพระนคร ในหลวงท่านรับสั่งว่าวันนั้นน่ะไม่มีหรอก เพราะมีคนรู้กันมาก ถ้าจะระวังก็ต้องหลังจากวันงานผ่านไปเสียก่อน"

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงเล่าต่อไปว่า "ในหลวงได้รับสั่งไว้แล้วว่าไม่ให้ยุ่ง ตอนนั้นเจ้านายถูกจับกันมาก ขืนรบกันพวกที่ถูกจับอยู่แล้วก็ต้องตายก่อน นองเลือดกันเปล่าๆ ถ้าจะให้คนอื่นตายแล้วหนีเอาตัวเองรอด ท่านไม่เอา เมื่อกรมพระกำแพงฯ ขึ้นไปกราบบังคมทูลเหตุการณ์ ในหลวงทรงรับสั่งว่ารบกันก็ไม่มีประโยชน์ มารู้เอาตอนที่กลับมาแล้วว่าพวกทหารมหาดเล็กทุกคนขังตัวเองหมด มีทหารปืนใหญ่ที่อยู่ในบังคับบัญชาของในหลวงก็ได้รับคำสั่งให้ไปประจำเสียที่เขาพระบาท ถึงแม้แต่พระองค์เจ้าบวรเดช ในหลวงก็เคยรับสั่งห้ามว่าไม่ให้ทำอะไรเป็นอันขาด ขึ้นชื่อว่าเจ้าล่ะก็ไม่ให้ทำอะไรทั้งนั้น ถ้าทำจะยิ่งร้ายใหญ่ ถ้าเผื่อเป็นคนอื่นเขาจะปฏิวัติซ้อนมาชิงอำนาจถวาย นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ว่าเจ้าทำไม่ได้ ในหลวงทรงเตือนเอาไว้เฉยๆ แล้วก็ไม่ได้ทรงทราบอะไรจากพระองค์เจ้าบวรเดชอีกว่าจะคิดทำอะไรหรืออย่างไร แต่ผลที่สุดก็เกิดขึ้นจนได้

เมื่อพระยามโนฯ เป็นนายกฯ แล้วในหลวงก็ยังรับสั่งว่า พอมีหวังที่จะพยุงกันให้เรียบร้อยไปได้ แต่พอมาถึงตอนที่หลวงประดิษฐ์ฯ เขียนโครงการเศรษฐกิจขึ้นมานั่นน่ะ เราก็ค้านไป ในหลวงรับสั่งว่าชักไม่ค่อยจะดีเสียแล้ว รู้สึกว่าจะมีเรื่องยุ่ง จนกระทั่งถึงปี 76 ท่านรับสั่งว่าหมดหวังที่จะช่วยให้เรียบร้อยเสียแล้ว"

ก่อนที่พระองค์เจ้าบวรเดชจะปฏิวัตินั้น ทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ได้เสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระตำหนักไกลกังวลเช่นเคย และเมื่อเกิดเรื่องขึ้น ในหลวงก็ยังคงประทับอยู่ในวังไกลกังวล



"วันหนึ่งขณะประทับที่หัวหิน ท่านวิบูลย์ฯ (หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์) ซึ่งเป็นราชเลขานุการในพระองค์ได้เข้ามากราบบังคมทูล ขอให้เสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับที่บางปะอิน"

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงเล่าว่า "ในหลวงทรงรับสั่งว่าไปทำไมกันบางปะอิน ไปให้บวรเดชจับหรือ ไม่ไป อยู่นี่แหละ แล้วก็เรียกหลวงศรสุรการให้ไปบอกว่าไม่ยอมเข้ากับใครทั้งสองข้าง ไม่ว่าข้างไหน จะเป็นกลางอยู่เฉยๆ ต่อมาทรงทราบข่าวว่าหลวงพิบูลสงครามจะส่งรถไฟมาเชิญเสด็จกลับ ก็รับสั่งว่ายังไม่กลับ แต่ก็ทรงตัดสินพระทัยเสด็จพระราชดำเนินสงขลา

ตอนนั้นเรามีเรือยนต์พระที่นั่งอยู่ ขนาดเล็ก ตกลงออกเรือกันตอนกลางคืน มีทหารรักษาวังไปด้วย มีปืนกลไป ข้าราชบริพารตอนนั้นที่จำได้ก็มีอย่างท่านประสพศรี (ราชองครักษ์-ทบ.) ท่านครรชิต (ราชองครักษ์-ทร.) มีพ่อ มีแม่ ฉัน แล้วก็น้องชายอีกคน มีท่านกมลีสาณ ม.ร.ว.สมัครสมาน กฤดากร (ทำการแทนราชเลขานุการในพระองค์) ร่วมไปในเรือด้วย ก่อนจะออกเดินทางก็ทรงคิดว่าจะเรียบร้อยหมดทุกอย่าง แต่คลื่นมันเหลือเกิน อาวุธตกน้ำกันเกือบหมด พอเรือไปได้หน่อยก็เห็นเรือยามฝั่งมา ก็ว่า เอ๊ะ เห็นจะไม่ได้การ ก็เตรียมตัวสู้กันละ เพราะไม่รู้ว่าใครเป็นใคร แต่พอเรือเข้ามาใกล้ เขาก็ให้สัญญาณว่ามาโดยความหวังดี จะมารับใช้ พอโผล่เข้ามาก็เป็นหลวงปฏิวัติฯ เข้าใจกันว่าพระยาวิชิตฯ ใช้ให้มา ในหลวงทรงรับสั่งว่าขอบใจมาก กลับไปเถอะ ไม่ต้องมาหรอก ฉันจะไปเอง แล้วก็แล่นเรือกันต่อไป

นอกจากผู้คนที่เอาลงเรือมานั้น ยังมีเหลืออยู่ที่วังไกลกังวลอีกหลายคน ซึ่งมอบให้ท่านชิ้น (ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์) เป็นหัวหน้าดูแล ก็ให้ตามไปโดยรถไฟ ทีนี้ตอนนั้นก็คิดกันว่าจะไปเอารถไฟที่ไหน เลยตกลงใจให้เจ้ากาวิละวงศ์ (ข้าราชการกรมรถไฟ) ซึ่งอยู่ที่วังด้วย เป็นคนไปที่เพชรบุรี เพราะใกล้ที่สุด เรียกว่าไปขโมยรถไฟมา แล้วมารู้ทีหลังว่าเขาก็ไปเอามาจนได้ มีกรมพระยานริศฯ กรมพระยาดำรงฯ อยู่ที่หัวหินขึ้นรถไฟไปด้วย

พวกที่อยู่ในเรือตกกลางคืนก็ไม่ได้นอนกันหรอก นั่งดูกันจนกระทั่งเกือบสว่าง เรือเกือบถึงชุมพรแล้ว เกิดน้ำมันในเรือหมด ก็ตัดสินใจเข้าฝั่ง อาหารก็ไม่มีด้วยเหมือนกัน ส่งคนขึ้นไป 3 คน ดูเหมือนจะเป็นท่านครรชิต, ม.ร.ว.สมัครสมาน ใครอีกคนจำไม่ได้ให้ไปหาพระราชญาติรักษา เป็นเจ้าเมืองชุมพรอยู่ ให้ไปขอน้ำมัน พวกที่ไปหาอาหารก็กลับมา มีอาหารมาปิ่นโตเดียว ก็แบ่งกันกินคนละเล็กละน้อย คอยจนกระทั่งพระราชญาติฯ เอาน้ำมันมาให้ก็จัดแจงเติมแล้วก็ออกเดินทางกันต่อไปอีก



เรือออกจากชุมพรไปได้สักครึ่งทางเห็นจะได้ เรืออิสต์เอเซียติก เป็นเรือขนสินค้าธรรมดานี่แหละ เราก็เลยหาทางเยกให้เขาหยุดเพราะเรือของเราคงจะไปไม่ถึงสงขลาแน่ ขอให้ทางเรือเขาช่วยรับพวกเราไปส่งสงขลา ก็เป็นอันตกลงกัน เรืออิสต์เอเซียติกพาไปจนรู้สึกใกล้สงขลา ดูเหมือนจะเป็นตอนเช้า ก็เห็นเรือรบ 2-3 ลำตามมา กัปตันเรือเขาก็ถามว่าจะให้แล่นเลยไปส่งสิงคโปร์ไหม เราก็บอกว่าไม่ต้อง ทางเรือรบเขาก็ให้สัญญาณมาว่าจะมาอารักขาพระองค์ ไม่ได้มาทำอันตรายหรอก ในหลวงท่านรับสั่งว่า ก็ดี แต่จะไปเอง"

ดังนั้นเมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงสงขลาแล้ว ก็ประทับที่ตำหนักเขาน้อย ส่วนกลุ่มที่มาทางรถไฟนั้น สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงเล่าว่า "ก่อนที่รถไฟจะแล่นถึงประจวบฯ นั้น มีการสั่งให้ระเบิดสะพานรถไฟเสีย แต่บังเอิญคนที่รับคำสั่งไม่ยอมทำตาม ต่อเมื่อรถไฟแล่นผ่านไปแล้วจึงได้ระเบิด ทุกคนก็รอดมาได้"

สำหรับความรู้สึกส่วนพระองค์นั้น สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงเล่าว่า "ฉันไม่คิด ไม่รู้สึกอะไรทั้งนั้น ถ้าจะตายก็ตายด้วยกัน"

ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับที่ตำหนักเขาน้อย สงขลานั้น "ไม่รู้ว่าจะทำอะไร ก็เล่นเทนนิสกัน" สมเด็จฯ ทรงเล่าต่อ "ตอนนั้นหลวงประกอบนิติสารเป็นผู้พิพากษาอยู่ที่นั่นก็มาเล่นด้วย พอมาตอนหลังได้ข่าวว่าถูกจับติดคุก หลวงประกอบฯ น่ะมาเล่นอยู่ด้วยหนเดียวเท่านั้นแท้ๆ หม่อมทวีวงศ์ฯ มาเล่นอยู่ด้วยอีกคน แต่ไม่ถูกจับ"

ระยะเวลาที่ประทับตำหนักเขาน้อย สงขลานั้น เป็นเวลาประมาณเกือบสองเดือนจึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับพระนคร ทรงเล่าต่อว่า "ก่อนออกเดินทาง ในหลวงท่านส่งพ่อฉันให้ไปอยู่ที่ปีนังเสีย เพราะรู้มาว่าทางรัฐบาลเขาอยากได้ตัวเต็มทีเหมือนกัน ตอนกลับเราก็กลับทางเรือก็เรือลำเก่าของอิสต์เอเซียติกนั่นแหละ กลับพระนครคราวนี้ก็มาประทับที่สวนจิตรลดา ระยะนี้รู้สึกว่าเหตุการณ์ไม่ค่อยจะดีนัก และก็ดูเหมือนว่าจะมีอะไรรุนแรงมากขึ้นทุกทีระหว่างในหลวงกับคณะรัฐบาล รถถังก็วิ่งกันเกลื่อน จะเข้ามาเมื่อไหรก็ได้"

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดานี้ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงเล่าถึงเหตุการณ์คืนวันหนึ่งให้ฟังว่า "คืนนั้น ในหลวง ฉัน แล้วก็ ม.ร.ว.สมัครสมานขึ้นไปอยู่บนชั้น 3 ด้วยกัน ท่านรับสั่งว่าถ้าจะมีเรื่องเกิดขึ้น ท่านก็จะยิงพระองค์เอง แล้วให้สมัครเป็นคนยิงฉัน ส่วนสมัครจะทำอะไรกับตัวเองหรือไม่ก็ช่าง แต่ก็ไม่มีเหตุการณ์อะไรที่ร้ายแรงจนถึงกับจะทรงทำอย่างที่รับสั่งไว้" และตลอดเวลาที่ประทับอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใช้เวลาให้หมดไปด้วยการทรงพระอักษรบ้าง อ่านหนังสือบ้าง

และในที่สุดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงตัดสินพระราชหฤทัยเสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศอังกฤษ

"ถ้าจะพูดกันแล้ว ในตอนนั้น ทางรัฐบาลเขาก็ไม่อยากให้ไปเหมือนกัน แต่ท่านไม่สบายจริงๆ หมอบอกว่าพระเนตรอีกข้างจะบอดอยู่แล้ว ให้เสด็จฯ ไปรักษาเสีย ก็เลยตัดสินพระทัยไป" (ประทับ ณ Knowle Cranleigh, Surrey).
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/01/2019 8:35 pm    Post subject: Reply with quote

Nakhonlampang wrote:
Wisarut wrote:

โคลงสุภาพเรื่องนิราศชะอำ ฝีพระโอษฐ์ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พ.ศ.2471 คราวที่ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ บุกเบิกหาดชะอำ พิมพ์ เมื่อปี 2472 ที่ สำนักพิมพ์โรงพิมพ์อักษรนิติบางขุนพรหม - โดยออกเดินทางในเวลาเจ็ดนาฬิกา จากสถานีรถไฟหัวลำโพงและมีการบันทึกถึงชื่อสถานที่ต่างๆ ระหว่างการเดินทาง ได้แก่ สถานีจิตรลดา สามเสน บางซื่อ บางซ่อน สะพานพระราม บ้านบางตำรุ ตลิ่งชัน ศาลาธรรมสพน์ ศาลายา วัดสุวรรณ งิ้วราย สะพานเสาวภา บ้านเขมร ท่าแฉลบ นครปฐม สนามจันทร์ โพรงมะเดื่อ บางตาล หนองปลาดุก บ้านโป่ง นครชุมน์ คลองตาคต บ้านเขือง เจ็ดเสมียน บ้านกล้วย สะพานจุฬาลงกรณ์ เมืองราชบุรี บ้านคูบัว บ้านปากท่อ บ้านโขต คลองประดู่ หนองปลาไหล เมืองเพชรบุรี ห้วยเสือ เขาทโมน หนองไม้เหลือง หนองจอก หนองศาลาจนกระทั่งถึงชะอำจังหวัดเพชรบุรี - น่าจะเป็นรถเร็วขบวน 11 (กรุงเทพ - หัวหิน)
http://www.sac.or.th/databases/siamrarebooks/main/index.php/literature/2012-04-26-03-37-29/89-niratchaam


(๘๖) O รถเผ่น ผ่านบ้านโขด เขาเหลา
เป็นถิ่น หินรากเขา ต่อยใช้
มีทาง ทอดรางเอา สิลาสดวก ดลเอย
ครั้นลุถิ่น หินใกล้ กว่านี้ แหนงเพียร


นอกจากงานเขียนของคุณสรศัลย์ แพ่งสภา ที่เคยเล่าไว้ในหนังสือ "ของเก่าเราลืม รถไฟ เรือเมล์ ทะเล รถราง" ในนามปากกา "ฒ ผู้เฒ่า" ผมก็เพิ่งเห็นชื่อ บ้านโขด ในโคลงสุภาพเรื่องนี้ Arrow กำลังจะเดาว่าชื่อบ้านโขด น่าจะเป็นชื่อเดิมของชุมชนบริเวณนี้ ส่วนเขาเหลา หรือเขาหลาว ก็เป็นเพียงชื่อภูเขา แต่พอกรมรถไฟเข้ามาระเบิดหินที่นี่ แล้วมีการใช้ชื่อเขาหลาวเป็นชื่อหน่วยงาน ก็เลยพลอยทำให้ชื่อบ้านโขดเลือนหายไปด้วยรึเปล่า ตรงนี้ก็แค่เดานะครับ Wink


โคลงสุภาพเรื่องนิราศชะอำ ฝีพระโอษฐ์ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พ.ศ.2471 คราวที่ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ บุกเบิกหาดชะอำ มีให้อ่านออนไลน์ด้วยครับ ดูได้ที่นี่
https://archive.org/details/unset00002404
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/03/2020 8:24 pm    Post subject: Reply with quote

รัชกาลที่ 7 คราวเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2469 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หยุดขบวนรถไฟพระที่นั่งระหว่างทางก่อนถึงเชียงใหม่ บริเวณโค้งก่อนข้ามสะพานสามหอ แล้วทรงเสด็จขึ้นประทับด้านหน้าหัวรถจักรเพื่อทรงถ่ายภาพยนตร์ทิวทัศน์บริเวณสองข้างทางรถไฟ ทางด้านขวาคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ทรงนำกล้องบันทึกภาพยนตร์ถวายให้รัชกาลที่ 7 แล้วทรงตามเสด็จขึ้นประทับด้านหน้าหัวรถจักรในคราวนั้นด้วย
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/4066436023370432

รัชกาลที่ 7 คราวเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2469 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หยุดขบวนรถไฟพระที่นั่งระหว่างทางก่อนถึงนครลำปาง บริเวณโค้งแก่งหลวง เพื่อทรงถ่ายภาพยนตร์รูปลำธาร น้ำตก และ ช้างกำลังลากซุง ถัดพระองค์มาทางซ้ายคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ตามเสด็จในคราวนั้นด้วย
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/4065560103458024
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/11/2020 1:01 pm    Post subject: Reply with quote

นี่ครับแผนล้อมกวาง => แผนผังการรบ (ของฝ่ายบวรเดช) สมรภูมิบางเขน 11 - 12 ตุลาคม พ.ศ. 2476 โดย หลวงลบบาดาล ตีพิมพ์ใน เมื่อข้าพเจ้าก่อการกบฎ เล่ม 1 โดยหลวงโหมรอนราญ (ตุ๊ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา )

https://www.facebook.com/2483RG/posts/1125394757894097

รังปืนกลฝ่ายบวรเดช
อำนวยการสร้างโดยหลวงจรูญฤทธิไกร อดีตนายทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่งประดับเหรียญ ครัว เดอ แกร์
.
.
"16.00 น. เห็นทหารราบเดินขึ้นมาตามทางรถไฟ ไม่ต่ำกว่า 200 คน เข็นรถ ข.ต. บรรทุกไม้หมอนรถไฟ และเหล็กรางรถมาด้วย หลวงจรูญอำนวยการขนลงจากรถ และสร้างรังปืนกลทันที นี่เป็นรังปืนกลอยู่ทิศเหนือสะพานรถไฟบางเขน ข้าพเจ้ายืนดูอยู่ด้วยความชื่นชม นึกชมเชยหลวงจรูญอยู่ในใจว่าช่างรอบคอบป้องกันอันตรายให้ทหาร ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่ดีผู้หนึ่ง ที่ตั้งยิงนี้มั่นคงแข็งแรงที่สุด ป้องกันอันตรายจากเครื่องบินได้ดี กระสุนระเบิดจากปืนใหญ่ต้องมาถูกจังหน้าและระเบิดขึ้นจึงจะพังได้
.
แต่หลวงลบบาดาลกลับแสดงกิริยาหมั่นไส้ พูดประชุดว่า "คอนกรีตหนา 10 เมตรซี คุณหลวง ไม่มีปืนใหญ่ในเมืองไทยยิงทลายได้" หลวงจรูญออกจะเคืองมาก แต่ก็มิได้โต้ตอบประการใด
https://www.facebook.com/2483RG/posts/1125386981228208

การรถไฟกับกบฎบวรเดช
https://www.slideshare.net/cheeptham333/1-7792530

รถไฟไทยกับเหตุการณ์กบฏบวรเดช.
https://www.facebook.com/media/set/?vanity=222323771159492&set=a.911072752284587
Wisarut wrote:
วันนี้ในอดีต : 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) - กบฏบวรเดช - พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ยกกองกำลังจากภาคอีสานเข้ามากรุงเทพฯ โดยมีการต่อสู้กันครั้งแรกเกิดขึ้นที่อำเภอปากช่อง มีการจับคนของรัฐบาลเป็นเชลยที่โคราช จากนั้นคณะผู้ก่อการได้ยกกองกำลังเข้ามาทางดอนเมืองและยึดพื้นที่เอาไว้ โดยเรียกชื่อคณะตัวเองว่า คณะกู้บ้านเมือง และเรียกแผนการปฏิวัติครั้งนี้ โดยใช้กองกำลังทหารจากหัวเมืองต่าง ๆ เข้าล้อมเมืองหลวงว่า แผนล้อมกวาง ตีพิมพ์ใน เมื่อข้าพเจ้าก่อการกบฎ เล่ม 1 โดยหลวงโหมรอนราญ (ตุ๊ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา )

Yuri Alexandrovish Orlov wrote:
คุณตาเคยเล่าว่า คุณทวดเคยเป็นทหารสังกัดมลฑลทหารนครราชสีมา และตาบอดเพราะเหตุการณ์นี้... - หา! นี่คุณทวดของเราอยู่ฝ่ายกบฏเหรอเนี่ย?! (มิน่า ทำไมคุณตาแกไม่ชอบจอมพลแปลก)


https://www.facebook.com/photo.php?fbid=425313514241890&set=a.285202071586369.57228.285181208255122&type=1&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/11/2020 8:31 pm    Post subject: Reply with quote

นิราศนราธิป ฯ เรียก ดุษฎี จารึก ไปปักษ์ใต้ เมื่อ วันอาทิต ที่ ๒๒ เมษายน - อังคาร ที่ ๑ พฤษภาคม
พุทธศํกราช ๒๔๗๑ ไปทางรถไฟ ดูได้ที่นี่ครับ: Arrow นิราศนราธิป-ฯ-เรียก-ดุษฎี-จารึก-ไปปักษ์ใต้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/12/2020 11:20 am    Post subject: Reply with quote

เจ้ากาวิละวงศ์ วิศวกรกระดูกเหล็กแห่งกรมทาง
ม.ล. ชัยนิมิตร นวรัตน
29 มกราคม 2563 เวลา 09:19 น.
.
ในหนังสือ “คือเส้นทางสร้างชาติไทย” มีเรื่องของบรรพชนกรมทางรุ่นบุกเบิกท่านหนึ่ง ชื่อของท่านเห็นแล้วรู้สึกคุ้นมาก ตั้งแต่พระนาม “พระเจ้ากาวิละ” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าเชียงใหม่ ปกครองดินแดนล้านนาไททั้ง ๕๗ เมือง หลังจากกองทัพไทยได้ขับไล่พม่าผู้ยึดครองมานมนานกว่าสองร้อยปีออกไปได้ เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ถือเป็นชั้นหลานทวด ชีวิตของท่านมีสีสันมากไม่ใช่เฉพาะเรื่องการงานสร้างถนนหนทาง แต่เพราะไปเกี่ยวพันกับเหตุการณ์น่าสนใจในประวัติศาสตร์หลายเรื่อง
.
เมื่ออายุ ๓ ขวบ เจ้าแม่ของเจ้ากาวิละวงศ์ถึงแก่กรรม เจ้าพ่อจึงนำตัวท่านกับพี่สาวมากรุงเทพในสมัยปลายรัชกาลที่ ๕ เพื่อยกให้เจ้าดารารัศมีโดยหวังอนาคตที่ดีกว่า พระราชชายาเลี้ยงดูอุปการะไว้ยังพระบรมมหาราชวังฝ่ายในจนถึง ๘ ขวบ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าฯโปรดให้พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร ออกไปเป็นราชทูตที่ฝรั่งเศส จึงทรงพระกรุณาให้ทั้งสองพี่น้องติดตามไปเรียนหนังสือที่นั่นด้วย
.
หลังจากอยู่ที่ปารีสปีเศษ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์ได้ส่งเจ้ากาวิละวงศ์ไปเรียนพับบลิกสกูลในอังกฤษที่ Timsbury แต่ทุกครั้งที่ปิดเทอมก็ได้ไปพำนักที่สถานทูตสยามในกรุงปารีส และย้ายไปเข้ามัธยมจนเข้ามหาวิทยาลัยที่นั่น จบได้ปริญญาตรี
.
สมัยเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯยังทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปก และศึกษาอยู่ในยุโรปนั้น ทรงรู้จักเจ้ากาวิละวงศ์ตั้งแต่สิบขวบ ทรงเล่าให้นักเรียนไทยรุ่นหลังๆฟังว่า “ตากา” มีหมัดมฤตยู เด็กๆลือกันว่าเคยชกเด็กฝรั่งหมอบไปหลายคน จึงนับถือเจ้ากาเป็นไอดอล ยิ่งตอนเป็นหนุ่มรูปหล่อ ร่างกายสูงใหญ่ ถือว่าเป็นขวัญใจเลยทีเดียว
.
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ในทวีปยุโรป พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯทรงส่งทหารอาสาไปร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตร เจ้ากาวิละวงศ์ได้สมัครเข้าร่วมในกองทัพสยามด้วย ได้รับยศสิบโท ประจำการในกองบินทหารบก มีหน้าที่เป็นล่ามประจำคณะ ทำความดีความชอบได้เลื่อนยศสูงขึ้นเรื่อยๆจนเป็นนายดาบ(ระดับประทวนที่สูงกว่าจ่าสิบเอก)
หลังสงครามได้เข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยก่อสร้างสะพานและถนนแห่งชาติของฝรั่งเศส (École nationale des ponts et chausses) จบแล้วฝึกงานกับการรถไฟที่นั่นประมาณปีเศษ จึงได้เดินทางกลับเมืองไทย
.
เจ้ากาวิละวงศ์แรกเข้ารับราชการที่กรมรถไฟหลวงเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๖๖ มีตำแหน่งเป็นนายช่างผู้ช่วย ควบคุมการก่อสร้างสะพานพระราม ๖ บริษัท เล เอตาบริดจ์มองต์ ไตเต ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้ออกแบบรับเหมา ก่อนที่สะพานจะเสร็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯได้เสด็จสวรรคตไปแล้ว องค์ผู้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงกระทำพิธีเปิดสะพานในปี ๒๔๖๙ จึงเป็นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เจ้ากาได้เฝ้ารับเสด็จ
.
พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและมณฑลพายัพ เจ้านายฝ่ายเหนือนำโดยพระราชชายา เจ้าดารารัศมี และเจ้าหลวงแก้วนวรัฐ ได้จัดถวายการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติสูงสุด ในวันที่ทรงช้างพระที่นั่งแห่เข้าเมือง เจ้ากาได้รับหน้าที่เป็นควาญท้ายช้างทรงของสมเด็จพระบรมราชินี เสด็จตามช้างทรงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีขบวนช้างในขบวนเสด็จยิ่งใหญ่อลังการกว่า ๘๐ เชือก หลังจากนั้น ได้ร่วมฟ้อนกับเจ้านายฝ่ายเหนือเพื่อนำขบวนบายศรีทูลพระขวัญด้วย
.
๓๓ ปีต่อมา เจ้ากาวิละวงศ์ยังได้มีโอกาสสนองพระมหากรุณาธิคุณ โดยร่วมฟ้อนกับเจ้านายฝ่ายเหนือในการนำขบวนบายศรีทูลพระขวัญ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในคราวเสด็จเยือนเชียงใหม่เป็นครั้งแรกในปี ๒๕๐๑ เช่นกัน
.
สมัยก่อนโน้นกระทรวงคมนาคมมีเพียง ๓ กรม คือกรมรถไฟ กรมทาง และกรมไปรษณีย์โทรเลข หากนายช่างกรมใดขาดก็จะยืมตัวจากอีกกรมหนึ่งไปใช้งานได้ เจ้ากาวิละวงศ์จึงต้องทำงานสลับไปสลับมาระหว่ากรมทางกับกรมรถไฟ
ในปี ๒๔๖๙ เจ้ากาวิละวงศ์ได้เลื่อนตำแหน่งหน้าที่เป็นนายช่างภาคของกรมทาง ได้รับมอบหมายให้สำรวจเส้นทางที่จะสร้างถนนจากขอนแก่นไปหนองคาย และนครพนม และอีกเส้นทางหนึ่งระหว่างบ้านหมี่-บัวชุม-บัวใหญ่ ขณะที่ขึ้นเครื่องบินตรวจการณ์ปีกสองชั้นของทหารจากโคราชย้อนลงไปสำรวจแนวทางนั้น นักบินเกิดหลงทิศ พาเครื่องบินไปน้ำมันหมดเกือบถึงชายแดนพม่าโน่น ต้องร่อนลงแล้วโดนยอดไม้ตีลังกาตกในป่าบ้านหม่องกั๊วะ อำเภออุ้มผาง จากภาพที่ถ่ายจากกล้องของท่านเองจึงเห็นเครื่องบินหงายท้อง แต่ไม่ระเบิดไฟลุกไหม้เพราะน้ำมันคงแห้งถังจริงๆ ตัวท่านก็อึดมากเพียงแต่ข้อกระดูกไหล่หลุด ชาวบ้านช่วยมัดกับเฝือกเสร็จแล้วยังสามารถยืนถ่ายรูปกับทรากเครื่องบินได้ แถมยังเดินเท้าบุกป่าฝ่าดงกว่าจะได้นั่งเกวียนนั่งรถ ต่อรถไฟจนมาถึงกรุงเทพ แล้วเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช เพียงเดือนเศษเท่านั้นก็หายเป็นปกติ
ฉายาวิศวกรกระดูกเหล็กคงได้มาแต่บัดนั้น
.
ครั้นถึงปีพ.ศ. ๒๔๗๕ ได้เกิดเหตุใหญ่ในบ้านเมือง ทหารในนามคณะราษฎรเข้ายึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน หลังจากนั้นก็มีการโยกย้ายข้าราชการมากมายทั้งทหารและพลเรือน เป็นเหตุให้เจ้ากาวิละวงศ์ต้องจากกรมทางหลวงมาสังกัดกระทรวงวัง มีตำแหน่งเป็นนายช่างพิเศษกรมวังนอก
.
ถัดมาในปี ๒๔๗๖ คณะกู้บ้านกู้เมืองนำโดยพลเอก พระองค์เจ้าบวรเดชได้เคลื่อนทัพทหารหัวเมืองจากโคราชมาหยุดที่ดอนเมือง หวังขู่ให้รัฐบาลคณะราษฎรลาออก แต่รัฐบาลเลือกที่จะรบให้แตกหัก เวลานั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯและพระบรมราชินีประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ สวัสดิกุล ราชเลขานุการในพระองค์ได้กราบบังคมทูล ขอให้เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่บางปะอิน พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่าไปทำไมกันบางปะอิน ไปให้บวรเดชจับหรือ แล้วทรงเรียกหลวงศรสุรการ นายทหาราชองครักษ์ ให้ไปแจ้งให้ทั้งสองฝ่ายรู้ว่าจะทรงเป็นกลาง ไม่เข้ากับฝ่ายใดทั้งสิ้น
.
๑๗ ตุลาคม ๒๔๗๖ เมื่อทรงทราบข่าวว่ารัฐบาลจะส่งทั้งรถไฟและเรือรบไปหัวหินเพื่อกราบบังคมทูลเชิญให้เสด็จกลับพระนคร จึงทรงตัดสินพระทัยจะเสด็จไปสงขลาในค่ำคืนนั้นเอง โดยเสด็จออกทางชายหาดหน้าวังไกลกังวลโดยเรือบต ขึ้นประทับเรือพระที่นั่งศรวรุณมุ่งลงใต้ นอกจากพระเจ้าอยู่หัวกับพระราชินีแล้ว มีผู้ตามเสด็จอีกเพียง ๑๐ คน มีพลประจำเรือพร้อมทหารรักษาวัง อีกเจ็ดนาย อาวุธมีเพียงปืนกลมือเท่านั้น
.
เรือศรวรุณจัดเป็นเรือยามฝั่งขนาดไม่ใหญ่นัก ใช้เครื่องน้ำมันก๊าด ความเร็ว ๑๕ น็อต (๒๗ กม./ชม) ไม่มีเข็มทิศและแผนที่เดินเรือทะเลลึก ในขณะที่สงขลาอยู่ห่างออกไปถึง ๖๕๐ กม. พอเดินทางฝ่าคลื่นลมมาเช้าที่ปากน้ำชุมพรก็ต้องจอด ส่งคนเข้าเมืองไปขอน้ำมันจากข้าหลวง แล้วส่งอีกส่วนหนึ่งไปหาอาหาร พวกนี้กลับมาพร้อมปิ่นโตเพียงเถาเดียว แบ่งกันได้คนละเล็กละน้อย ต้องคอยอยู่นานเพราะน้ำมันก๊าดของทางราชการมีไม่พอ พระราชญาติรักษาข้าหลวงต้องให้คนไปเที่ยวกว้านซื้อทั่วเมืองกว่าจะได้ตามที่ต้องการ หลังจากส่งเสบียงและเติมน้ำมันเต็มถังแล้ว เรือศรวรุณก็ออกเดินทางต่อไป แม้สภาวะคลื่นลมจะแรงยิ่งขึ้นก็ตาม
.
ส่วนเจ้านายอีกหลายพระองค์ที่ประทับอยู่หัวหินยังตกค้างอยู่ ทั้งสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ และสมเด็จกรมพระยานริศฯ ฯลฯ ไม่สามารถโดยเสด็จทางเรือได้ และยังมีข้าหลวงมหาดเล็กหลายสิบคน กับทหารรักษาวัง ๒ กองร้อยอีกด้วย พระเจ้าอยู่หัวได้รับสั่งไว้ให้ ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน หรือท่านชิ้น ท่านผู้นี้ทรงเป็นพระเชษฐาของพระราชินี และเป็นผู้บังคับการกองทหารรักษาวัง ให้จัดการหารถไฟตามไปด้วยกันทั้งหมด
.
เวลานั้น เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ ซึ่งอยู่ระหว่างทำงานสำรวจเส้นทางจากประจวบไปด่านสิงขร พอมีข่าวไม่ดีก็ได้มาเฝ้าอยู่ที่วังไกลกังวลด้วย ครั้นคนของกรมรถไฟหลวงไม่กล้าจัดขบวนรถให้ตามที่ทางวังสั่งไป เพราะกลัวอำนาจนายพันเอกพระวิสดารดุลยะรัถกิจ อธิบดีกรมรถไฟคนใหม่ที่รัฐบาลเพิ่งส่งมารับตำแหน่งมากกว่า เจ้ากาจึงอาสาที่จะไปกับท่านชิ้น นำทหารรักษาวังไปยึดหัวรถจักรและรถโบกี้โดยสารจากสถานีวังก์พงก่อนถึงปราณบุรี ใต้ลงไปจากหัวหิน ๒๐ กิโลเมตร ซึ่งพวกคนรถไฟที่นั่นก็ยอมหลีกทางให้โดยดี
.
เมื่อพร้อมแล้ว รถไฟขบวนพิเศษก็ออกเดินทางจากสถานีหัวหินลงใต้ โดยเจ้ากาเป็น พขร.ด้วยตนเอง ให้ทหารรัษาวัง ๑ หมู่ เป็นคนโยนฟืนและเป็นช่างไฟหน้าเตา ขบวนรถถึงสถานีประจวบแล้วไปต่อไม่ได้ เพราะถูกตำรวจ ร่วมกับพนักงานรถไฟและพวกข้าราชการฝ่ายที่ประจบรัฐบาล รวมตัวกันได้กลุ่มหนึ่งมาวางเครื่องกีดขวางรางไว้ แล้วจะขอปลดอาวุธ
ม.จ.ศุภสวัสดิ์สั่งการให้ทหารรักษาวังติดดาบและเล็งปืนใส่จึงชะงักอยู่ จนหม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม ข้าหลวงทรงมาไกล่เกลี่ยไม่ให้ยิงกัน หลังการเจรจา ทหารรักษาวังยอมให้พวกนั้นค้นขบวนรถเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีทหารฝ่ายพระองค์บวรเดชปะปนมาด้วย แต่ฝ่ายค้นก็รื้อข้าวของกระจุยกระจายเหมือนแกล้ง แต่เมื่อไม่พบอะไรก็จำยอมหลีกทางให้ขบวนรถ เมื่อออกจากประจวบมาแล้ว ทราบว่ามีคำสั่งให้ระเบิดสะพานรถไฟเสียตั้งแต่ก่อนถึงสถานี แต่ผู้ที่รับคำสั่งแสร้งโง่ แกล้งจุดระเบิดให้หลังจากที่รถไฟแล่นผ่านมาแล้ว
.
ถึงชุมพร ขบวนรถยังถูกกักที่สถานีอีก พระราชญาติรักษาต้องมาออกคำสั่งปล่อยให้เดินทางต่อไปได้ ต่อมาท่านข้าหลวงคนนี้ถูกปลดเพราะรัฐบาลไม่พอใจ หลายปีหลังจากนั้นยังได้ยัดข้อหากบฏให้อีก ศาลพิเศษอยุติธรรม พ.ศ. ๒๔๘๒ พิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิต
.
อย่างไรก็ดี ก่อนที่ขบวนรถจะถึงสุราษฎร์มีข่าวว่า นายกรัฐมนตรียินยอมตามโทรเลขของสมุหราชองครักษ์ ให้ปล่อยขบวนรถผ่านตลอด เจ้ากาซึ่งมีอาการไข้ขึ้นสูง ถึง ๑๐๔ ฟาเรนไฮต์ และไม่ค่อยได้กินข้าวกินน้ำจึงได้พักผ่อน ให้คนอื่นขับรถจักรต่อไปจนถึงสงขลา
.
ส่วนเรือพระที่นั่งศรวรุณนั้นโชคดี ได้พบกับเรือสินค้า ชื่อวลัยของบริษัทอิสต์เอเชียติกกลางทะเลลึกในตอนเช้าวันที่สาม กัปตันชาวเดนมาร์กได้ทูลเชิญให้พระเจ้าอยู่หัวและพระราชินีเสด็จขึ้นประทับบนเรือ พร้อมกับบรรดาผู้ตามเสด็จและลูกเรือทุกคน แล้วพ่วงเรือศรวรุณไว้ท้าย วิ่งย้อนกลับไปส่งยังสงขลาโดยปลอดภัย
.
เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ ไม่มีดวงจะต้องไปติดคุกติดตะรางเพราะเป็นฝ่ายเจ้าในข้อหากบฏต่อรัฐบาล เพราะรัฐบาลเพ่งเล็งแต่ ม.จ.ศุภสวัสดิ์ ซึ่งหนีไปปีนังพร้อมๆกับเสด็จพ่อและเจ้านายทุกพระองค์แล้ว
แต่เจ้ากาก็ถูกแขวนอยู่จนกระทั่ง พ.ศ.๒๔๗๘ จึงได้ย้ายไปทำงานที่กรมโยธาเทศบาล พ.ศ.๒๔๘๐ ได้ไปเป็นนายช่างภาค กำกับการภาคอีสาน พ.ศ.๒๔๘๕ เป็นนายช่างกำกับเขต นครราชสีมา พ.ศ. ๒๔๘๖ ย้ายกลับมาสังกัดกรมทางหลวง พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงมีคำสั่งให้ย้ายไปเป็นนายช่างหัวหน้ากองก่อสร้างประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
.
ตำแหน่งดังกล่าวสำคัญมากแต่คงไม่มีใครอยากจะไป เวลานั้นเป็นช่วงปลายสงคราม จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีต้องการย้ายเมืองหลวงอย่างเร่งด่วนจากกรุงเทพไปอยู่ที่นั่นเพื่อเตรียมการจะแตกหักกับญี่ปุ่น แต่แผนนี้ไม่สำเร็จเพราะแพ้เชิงการเมืองของนายปรีดี พนมยงค์ ในทางลับคือหัวหน้าเสรีไทยสายในประเทศที่ต้องการกำจัดจอมพล ป. ผู่ที่สัมพันธมิตรหมายหัวว่าเป็นศัตรูให้พ้นจากตำแหน่ง จึงให้ส.ส.ในคาถาของตนโหวตคว่ำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว นายกรัฐมนตรีจึงต้องลาออกตามกติกา เรื่องนี้แทบทุกคนก็เต็มใจจะโหวตล้มอยู่แล้ว ไม่มีใครอยากย้ายไปตายด้วยไข้ป่าในเพชรบูรณ์ เวลานั้นคนงานที่รัฐบาลส่งไปบุกเบิกงานก่อสร้างพากันล้มตายราวกับใบไม้ร่วง แต่นายช่างกระดูกเหล็กไม่ตาย กลับมารับราชการต่อในกรุงเทพมีตำแหน่งเป็นผู้เชี่ยวชาญกรมทางหลวง
เจ้ากาวิละวงศ์ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่ทรหดมากสมฉายา ระหว่างอยู่ในหน้าที่นี้ เคยเดินสำรวจป่าเขาอันทุรกันดารเป็นระยะทางนับร้อยกิโลเมตร เพื่อจะหาแนวทางของถนนที่จะตัดจากอำเภอแม่สรวย ไปอำเภอฝางด้วย

เมื่อเหตุร้ายต่างๆทางการเมืองภายนอกและภายในสงบลง ในพ.ศ. ๒๔๙๒ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีได้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจากประเทศอังกฤษกลับสู่ประเทศไทย ทว่าเวลานั้นพระตำหนักวังศุโขทัย แม้ว่าจะเป็นสมบัติส่วนพระองค์ที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีพันปีหลวงทรงใช้พระราชทรัพย์สร้างพระราชทานเป็นของขวัญเนื่องในการอภิเษกสมรสก็ตาม แต่ก็กลับกลายไปเป็นของสำนักงานทรัพย์สินฯซึ่งถูกรัฐบาลคณะราษฎรยึดไปสังกัดกระทรวงการคลังแล้ว และใช้เป็นที่ทำการของกระทรวงสาธารณสุข
ดังนั้น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงได้เชิญเสด็จไปประทับ ณ พระตำหนักของสมเด็จพระบรมราชชนก ในวังสระปทุม
.
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี มิได้ทรงรบกวนสมเด็จพระศรีนครินทร์นานเกินควร เพราะทรงมีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จไปประทับอยู่ต่างจังหวัด เพื่อจะทรงพักผ่อน ทำไร่ ทำสวน จึงโปรดให้เจ้ากา ซึ่งมาถวายการรับใช้ใกล้ชิดอยู่ด้วยความกตัญญู ไปเสาะหาที่ดินอันเหมาะสมให้ ซึ่งไปได้ห่างจากตัวเมืองจันทบุรี ๕ กิโลเมตร ประมาณ ๗๓๐ ไร่ ทรงพอพระทัย จึงทูลลาออกจากวังสระปทุมมาทรงสร้างวังสวนบ้านแก้ว แล้วประทับอยู่ด้วยความสุขจวบจนพระชมมายุสูงขึ้น และพระพลานามัยไม่สมบูรณ์แล้ว รัฐบาลในพ.ศ. ๒๕๑๕ ได้กราบบังคมทูลขอให้เสด็จกลับมาประทับ ณ วังศุโขทัย ซึ่งได้ย้ายกระทรวงออกไปแล้วและทำการบูรณะใหม่ถวาย และขอพระกรุณาทูลเกล้าถวายเงิน ๑๘ ล้านบาท เพื่อขอรับพระราชทานที่ดินวังสวนบ้านแก้ว เพื่อจัดตั้งวิทยาลัยครูจันทบุรีสืบไป
.
เจ้ากาวิละวงศ์ ยังคงทำงานกรมทางภาคอีสาน จนพ.ศ. ๒๔๙๓ ในฐานะที่เป็นผู้อำนวยการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำลำโดมใหญ่ บนถนนสถิตนิมานกาล อุบลราชธานี ด้วยแบบวิศวกรรมอันทันสมัย ใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กโค้งหิ้วรับตัวสะพาน แล้วถ่ายน้ำหนักลงบนตอม่อโดยไม่มีเสากลาง สำเร็จงดงาม ชาวบ้านตื่นเต้นมาก เพราะเคยเห็นแต่สะพานไม้ที่ใช้เสามากมาย รัฐบาลจึงให้เกียรติขนานนามสะพานนี้อย่างเป็นทางการว่า "สะพานกาวิละวงศ์"
.
เมื่อองค์การสหประชาชาติจัดตั้ง สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียแปซิฟิก Economic Commission For Asia And The Far East (ECAFE) ขึ้น เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจของเมืองไทยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในกรมทางไม่มีใครเหมาะสมเท่าท่านทั้งด้านความรู้และประสบการณ์ เจ้ากาวิละวงศ์จึงถูกส่งไปร่วมทำงานในฐานะเจ้าหน้าที่ประสานนโยบาย ท่านทำงานตรงนี้ได้สองปีจึงเกษียณอายุเมื่อพ.ศ. ๒๕๐๐ ปัจจุบันองค์การอีคาเฟ่นี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นแอสแคป (ESCAP)
.
หลังจากนั้นชีวิตของท่านก็อยู่กับงานอดิเรกในด้านการถ่ายภาพ ซึ่งท่านมีชำนาญมาแต่เก่าก่อน บรรดาภาพที่ท่านถ่ายไว้เมื่อครั้งทำงานเกี่ยวกับถนนและสะพานมีนับพันรูป แต่ละรูปได้เขียนบันทึกเรื่องราวไว้เป็นอย่างดี ทำให้มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มาก แล้วท่านยังได้ร่วมก่อตั้งสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยขึ้น ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ สมาคมนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับเข้าอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์
.
เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ ได้สมรสกับเจ้าศิริประกาย มีบุตรธิดา ๓ คน คือ เจ้าพงษ์กาวิล เจ้าศิริกาวิล และเจ้ากอแก้วประกายกาวิลคนสุดท้อง ท่านหลังนี้คือไฮโซเซเลบตัวจริงเสียงจริงของฟ้าเมืองไทย เมื่อสูงวัยเป็นเจ้าป้าผู้มีจิตใจดี ไม่เคยนินทาว่าร้ายใคร มีน้ำใจ ไม่ถือตัว และนิสัยรื่นเริงสนุกสนาน ตามบทสรุปที่ผู้ใกล้ชิดทุกคนกล่าวขวัญถึง
เมื่อเจ้าศิริประกายถึงแก่กรรม ท่านได้สมรสใหม่อีกครั้งกับคุณถนิม (นาวานุเคราะห์) แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน
.
วิศวกรกระดูกเหล็กเริ่มมีอาการป่วยกระเสาะกระแสะตั้งแต่ปี ๒๕๐๖ เริ่มจากไหล่ที่เคยหลุดคราวเครื่องบินตกเกิดอักเสบและอาการลุกลามไปที่อื่นจนเดินไม่ถนัดเหมือนเดิม หลังจากนั้นก็ต้องเข้าโรงพยาบาลแทบจะทุกปี คราวหนึ่งลำไส้ไม่ทำงาน ระหว่างที่ป่วยอยู่โรงพยาบาลนั้น สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ได้เสด็จไปเยี่ยมเจ้ากาถึง ๒ ครั้งจนหาย เข้าโรงพยาบาลครั้งสุดท้ายด้วยอาการของโรคเบาหวาน แต่หมอกลับเจอว่าเป็นมะเร็งที่ปอดและตับอ่อน แต่ไม่ได้เจาะตรวจเพราะอายุมากแล้ว
เมื่อเห็นว่าไม่มีทางหาย เจ้ากาวิละวงศ์ จึงตัดสินใจกลับมารักษาตามอาการที่บ้าน อยู่ได้อีก ๒ เดือนจึงได้ถึงแก่กรรมด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๑๐ สิริอายุรวม ๗๐ ปีกับอีก ๒ วัน
.
ชีวิตของเจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่อุทิศให้กับสองเรื่อง คือความจงรักภักดีและกตัญญูต่อพระองค์ผู้ทรงมีพระคุณ และการงานในหน้าที่ ไม่ว่าจะต้องสมบุกสมบันเท่าไหนก็ไม่ท้อถอย นับเป็นตัวอย่างอันดีต่ออนุชน(หากเข้ามาอ่าน)
.
(อย่าละเลยที่จะดูรูปที่ผมหามาประกอบเรื่องและอ่านคำบรรยายภาพนะครับ)
.
อ่านต่อ "ชีวิตคู่หลังสมรสสองครั้งของเจ้ากา"
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2872934629436883&id=1174884455908584
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  Next
Page 9 of 10

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©