RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263859
ทั้งหมด:13575142
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ไทยเกือบเสียด้ามขวานทองหากไม่สร้างทางรถไฟสายใต้
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ไทยเกือบเสียด้ามขวานทองหากไม่สร้างทางรถไฟสายใต้

 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/07/2017 12:42 pm    Post subject: ไทยเกือบเสียด้ามขวานทองหากไม่สร้างทางรถไฟสายใต้ Reply with quote

คอลัมน์: กาลครั้งหนึ่ง: ไทยเกือบเสียด้ามขวานทองหากไม่สร้างทางรถไฟสายใต้ (๑)
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- อาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม 2560 00:00:36 น.

เกาะกระแสรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ขี่ไทม์แมชชีน ย้อนกลับไปดูการก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปดูความยากลำบากในการตัดสินใจในยุคล่าอาณานิคม เพราะพลาดนิดเดียวหมายถึงเสียดินแดน การต่อสู้กับเจ้าลัทธิอาณานิคม อังกฤษ ฝรั่งเศส ต้องใช้ลูกล่อลูกชนแบบไหนไทยถึงจะรักษาเอกราชทางดินเดนได้ เป็นสิ่งที่คนรุ่นหลังอย่างเราๆ ท่านๆ ต้องศึกษา

ปรากฏดังเอกสารในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ การสร้างทางรถไฟช่วงต่อจากเพชรบุรีไปยังหัวเมืองมลายูนั้น มีสาเหตุสืบเนื่องมาจากเมื่อประมาณ พ.ศ.2440 (รศ.116) รัฐบาลไทยได้รับข่าวว่ารัฐบาลอังกฤษได้มีโครงการสร้างทางรถไฟจากพม่าผ่านประเทศไทยไปถึงปลายแหลมมลายู ประจวบกับรัฐบาลอังกฤษสนับสนุนให้บริษัทอังกฤษขอสัมปทานการสร้างทางรถไฟสายใต้จากรัฐบาลไทยด้วย ทำให้รัฐบาลไทยเกรงว่า ถ้ายอมเช่นนั้นแล้วอังกฤษอาจถือโอกาสผนวกเอาภาคใต้ของไทยเข้าเป็นอาณานิคม เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของสมาคมพาณิชย์และบรรดาพ่อค้าอังกฤษที่เร่งให้รัฐบาลของตนสร้างทางรถไฟจากจีนภาคใต้ผ่านพม่า ไทยไปตลอดถึงแหลมมลายู

ประกอบกับพระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิริยศิริ) ปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยและนายเวสเตนการ์ด (Westengard) ผู้ช่วยของนายเอดเวิร์ด สโตรเบล (Edward Henry Strobel) ที่ปรึกษาทั่วไปของรัฐบาลไทย ซึ่งกลับจากการตรวจราชการมณฑลภูเก็ต มณฑลไทรบุรี และมณฑลนครศรีธรรมราช ได้เสนอรายงานการตรวจราชการกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเปรียบเทียบการทำนุบำรุงบ้านเมืองและการคมนาคมของหัวเมืองขึ้นในแหลมมลายูของอังกฤษกับหัวเมืองมลายูภายใต้การปกครองของไทยว่า การบริหารการปกครองและการสาธารณูปโภคต่างๆ

โดยเฉพาะการคมนาคมทางบก เช่นถนนและทางรถไฟของฝ่ายอังกฤษเจริญรุดหน้ากว่าของไทยมาก เป็นผลให้การพาณิชย์ของรัฐมลายูของอังกฤษเจริญรุ่งเรืองทำให้รัฐบาลเก็บภาษีได้มาก รัฐบาลสหพันธรัฐมลายาได้นำเอารายได้จากการทำเหมืองแร่มาบำรุงบ้านเมือง ส่วนทางฝ่ายไทยโดยเฉพาะมณฑลภูเก็ตนั้นทำรายได้ให้แก่ประเทศถึงปีละประมาณ 4,000,000 บาท แต่รัฐบาลนำเงินไปปรับปรุงมณฑลนั้นเพียงปีละ 100,000 บาท รายได้ส่วนที่เหลือได้ถูกส่งเข้าเมืองหลวง

นับว่าเป็นการไม่ยุติธรรมแก่มณฑลภูเก็ตและปรากฏว่าความแตกต่างในพฤติกรรมระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหพันธรัฐมลายาของอังกฤษเช่นนี้เป็นเรื่องที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์กันมากโดยเฉพาะในหมู่ข้าราชการชั้นสูงชาวอังกฤษในสหพันธรัฐมลายา

นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวแจ้งว่า รัฐบาลสหพันธรัฐมลายาให้ความสนใจภูเก็ตมาก สิ่งเหล่านี้นับเป็นสัญญาณอันตรายต่ออนาคตของหัวเมืองมลายูในส่วนของไทย

นายเวสเตนการ์ดได้เสนอว่ารัฐบาลควรนำรายได้จากหัวเมืองภาคใต้กลับไปทำนุบำรุงและเปิดบ้านเมืองโดยเร็วก่อนจะสายเกินไป และเขาเห็นว่าการพัฒนาดินแดนดังกล่าวไม่มีเครื่องมืออันใดมีประสิทธิภาพยิ่งกว่าการสร้างทางรถไฟการพัฒนาการคมนาคมด้านรถไฟเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ประกอบกับขณะนั้นรัฐบาลสหพันธรัฐมลายาได้สำรวจเส้นทางรุกล้ำเข้ามาในพระราชอาณาเขตแล้วด้วย

ด้วยเหตุผลทางการเมืองก็เพื่อป้องกันการถือโอกาสเข้าแทรกแซงหัวเมืองมลายูของไทย และเพื่อเป็นการกระชับการปกครองหัวเมืองภาคใต้ของไทยให้ใกล้ชิดกับรัฐบาลกลาง กับทั้งเพื่อเป็นการตัดความรำคาญจากนักล่าสัมปทานขอสร้างทางรถไฟที่มารบกวนอยู่เสมอ รัฐบาลไทยจึงตกลงใจสร้างทางรถไฟสายใต้ลงไปสู่แหลมมลายูด้วยตนเอง โดยเริ่มต้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ.2452 (รศ.128)

กรมหลวงนเรศร์วรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการขณะนั้น ได้กราบบังคมทูลเสนอนายกิตตินส์ ผู้เคยสำรวจเส้นทางและทำกำหนดการก่อ สร้างเสนอต่อเจ้าพระยายมราชเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการคนก่อน เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2449 (รศ.125) ให้เป็นผู้อำนวยการก่อสร้างตามกำหนดการที่กะไว้ ดังนี้

การสำรวจเส้นทาง ได้กำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี
ในปีที่ 1 ให้ส่งเจ้าพนักงานไปสำรวจ 2 พวก พวกหนึ่งสำรวจทางตั้งแต่เมืองเพชรบุรีไปทางใต้ อีกพวกหนึ่งสำรวจตั้งแต่เมืองตรังไปเมืองพัทลุง กลางปีที่ 1 ให้ส่งเจ้าพนักงานอีก 2 พวก ไปสำรวจเส้นทางระหว่างเมืองนครศรีธรรมราชกับเมืองพัทลุงและระหว่างเมืองสงขลากับระแงะ ปลายปีที่ 1 ให้ส่งเจ้าพนักงานอีกพวกหนึ่งไปสำรวจเส้นทางช่องเขาทองระหว่างเมืองไชยา (บ้านดอน) และเมืองนครศรีธรรมราช ระยะทางที่สำรวจได้ในปีที่ 1 จากเพชรบุรีไปทางใต้ประมาณ 140 กิโลเมตร จากนครศรีธรรมราชถึงพัทลุงประมาณ 90 กิโลเมตร จากพัทลุงถึงสงขลา 100 กิโลเมตร จากตรังไปพัทลุงแค่ตำบลทับเที่ยงประมาณ 30 กิโลเมตร และจากสงขลาไประแงะประมาณ 30 กิโลเมตร

ปีที่ 2 สำรวจจากเมืองเพชรบุรีไปชุมพรตอนหนึ่ง จากตรังไปพัทลุงตอนหนึ่ง จากเมืองสงขลาไประแงะอีกตอนหนึ่ง เมื่อเสร็จแล้วให้สำรวจทางจากนครศรีธรรมราชไปไชยา (บ้านดอน) และสำรวจต่อไปเมืองชุมพรต่อไป

ปีที่ 3 สำรวจเส้นทางส่วนที่เหลือให้แล้วเสร็จทั้งหมด
การเสนอกำหนดการสร้างทางรถไฟชั้นแรกจากทางใต้ของคาบสมุทรนั้น เพราะเมืองสงขลาและเมืองตรังเป็นตำบลที่สำคัญ เป็นท่าเรือที่สามารถนำเครื่องเหล็กที่จะใช้สำหรับทำทางรถไฟขึ้นได้สะดวก และสามารถส่งเครื่องเหล็กสำหรับทำทางรถไฟได้ตลอดตอนสงขลาไปพัทลุงและนครศรีธรรมราช ส่วนทางเมืองตรังก็สามารถส่งเครื่องเหล็กไปทางพัทลุงได้สะดวก และจำต้องเดินรถในทันที หากทางตอนใดสร้างเสร็จแล้ว เพื่อผลประโยชน์จากทำเลที่ดินที่มีการเพาะปลูกอุดมสมบูรณ์มาสนับสนุนการ ก่อสร้างนั้นด้วย

ส่วนกำหนดการเดิมที่กำหนดให้สร้างทางสายสงขลาไประแงะไว้ในปีที่ 2 นั้น ให้เปลี่ยนเป็นช่วงหลังสุดของการสร้างทางรถไฟสายใต้ทั้งหมด ส่วนในปีที่ 2 ให้สร้างตอนเมืองนครศรีธรรมราช เมืองไชยา (บ้านดอน) และเมืองชุมพร ทั้งนี้ เพื่อเร่งเชื่อมทางระหว่างเมืองสงขลากับเมืองชุมพรให้ติดต่อกันก่อน ส่วนตอนเมืองเพชรบุรีลงไปเมืองชุมพรให้ค่อยๆ ทำลงไปให้พอทันกับตอนระหว่างเมืองชุมพรไปเมืองสงขลา

แต่ทางตอนใต้เมืองสงขลาลงไปนั้นต้องไม่สร้างให้แล้วเสร็จจนกว่าได้เปิดเดินรถระหว่างกรุงเทพฯ ไปสงขลาและเมืองตรังได้หลายปี ทั้งนี้ เพื่ออุดหนุนให้พ่อค้าในกรุงเทพฯ กระทำการค้าตลอดพระราชอาณาจักร ได้รับประโยชน์ล่วงหน้าไปก่อนเมืองสิงคโปร์

การดำเนินการก่อสร้างนั้น เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการก่อสร้างกรมหลวงนเรศร์วรฤทธิ์ ได้กราบบังคมทูลเสนอนายกิตตินส์ เป็นเจ้ากรมหรือหัวหน้าวิศวกรผู้อำนวยการสร้าง และนายกิตตินส์ได้คัดเลือกเจ้าพนักงานระดับรองลงไปจากกรมรถไฟ 12 คน กรมโยธา 1 คน รวม 13 คน เป็นคนไทย 3 คน อังกฤษ 4 คน เยอรมัน 5 คน และอิตาเลียน 1 คน.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 10/07/2017 12:05 pm    Post subject: Reply with quote

นับว่าเป็นบุญของประเทศไทยนักหนาที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 มิทรงละเลยรายละเอียดจากข้อมูลรายงานตรวจราชการแม้แต่เพียงเล็กน้อยก็ตาม ดังจะเห็นได้จากการก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ระหว่างเมืองเพชรบุรีไปจรดหัวเมืองมลายูของอังกฤษที่เริ่มพร้อมกันตลอดสาย เส้นทางตอนไหนแล้วเสร็จก่อน ก็เปิดใช้งานในช่วงนั้นครับ

แต่ทุกวันนี้ เส้นทางรถไฟสายสุราษฎร์ธานี - ท่านุ่น ที่ประกาศเวนคืนตั้งนานแล้ว ยังเป็นแนวป่าจากสถานีคีรีรัฐนิคมอยู่เลย แถมยังมีชาวบ้านรุกล้ำตลอดแนวทางอีกด้วย เมื่อไหร่จะก่อสร้างสำเร็จสักทีหนอ ?
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 24/07/2017 11:19 am    Post subject: Reply with quote

black_express wrote:
นับว่าเป็นบุญของประเทศไทยนักหนาที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 มิทรงละเลยรายละเอียดจากข้อมูลรายงานตรวจราชการแม้แต่เพียงเล็กน้อยก็ตาม ดังจะเห็นได้จากการก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ระหว่างเมืองเพชรบุรีไปจรดหัวเมืองมลายูของอังกฤษที่เริ่มพร้อมกันตลอดสาย เส้นทางตอนไหนแล้วเสร็จก่อน ก็เปิดใช้งานในช่วงนั้นครับ

แต่ทุกวันนี้ เส้นทางรถไฟสายสุราษฎร์ธานี - ท่านุ่น ที่ประกาศเวนคืนตั้งนานแล้ว ยังเป็นแนวป่าจากสถานีคีรีรัฐนิคมอยู่เลย แถมยังมีชาวบ้านรุกล้ำตลอดแนวทางอีกด้วย เมื่อไหร่จะก่อสร้างสำเร็จสักทีหนอ ?


ก็เล่นไม่ผูกกับเงินกู้เอาไว้ พอจอมพล ป. หมดอำนาจ ทางรถไฟสายนี้ก็เลยจะตายตามไปด้วยนี่ครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Page 1 of 1

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©