RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180081
ทั้งหมด:13491313
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 157, 158, 159 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/08/2017 2:06 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล แคราย-ลำสาลีลุ้นลงทุนคู่ขนานทางด่วนขั้นที่ 3
ออนไลน์เมื่อ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,283
วันที่ 30 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560

คงจะได้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นซะทีกรณีรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลช่วงแคราย-ลำสาลี ว่าจะสร้างทดแทนทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วง N1, N2 และ 3 หรือไม่? ล่าสุดสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เร่งศึกษาความเหมาะสมรถไฟฟ้าเส้นทางดังกล่าว เพื่อใช้เสาตอม่อบนถนนประเสริฐมนูกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมเปิดเวทีประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นประชาชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนโดยพุ่งเป้าเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคม-ลดปัญหาจราจรเป็นหลัก

โดยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 1 (ปฐมนิเทศโครงการ) การศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม)ไปเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมที่ผ่านมาเพื่อจะศึกษาทบทวน และเสนอแนะการใช้ประโยชน์จากเสาตอม่อที่ก่อสร้างไว้แล้วบนแนวกึ่งกลางถนนประเสริฐมนูกิจ (ถนนเกษตรฯ-นวมินทร์) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยจะศึกษาความเหมาะสมทางวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน พร้อมเสนอแนะรูปแบบการลงทุนและเปรียบเทียบทางเลือกที่เหมาะสมกับการดำเนินโครงการ รวมถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) การมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนการออกแบบเบื้องต้นและประมาณราคาค่าก่อสร้าง มีระยะเวลาศึกษา 14 เดือน เริ่มศึกษาตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2560 -9 มิถุนายน 2561


ทั้งนี้ในเบื้องต้นได้กำหนดรูปแบบทางเลือกการพัฒนาศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในการพิจารณาไว้ 4 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 การพัฒนาด้วยระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) รูปแบบที่ 2 การพัฒนาด้วยระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และ E-W Corridor รูปแบบที่ 3 การพัฒนาด้วยระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ประกอบด้วย โครงข่ายทดแทน N1 (การเชื่อมต่อ N2 เข้ากับโครงข่ายทางเชื่อมระหว่างทางยกระดับอุตราภิมุขและทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ) เพื่อเชื่อมวงแหวนตะวันออก-ตะวันตก N2 และ E-W Corridor และ รูปแบบที่ 4 การพัฒนาด้วยระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) และระบบทางด่วนบนแนวสายทางเดียวกัน ซึ่งการศึกษาความเหมาะสมของโครงการจะดำเนินการควบคู่กันไปทั้งแนวเส้นทางรถไฟฟ้าและแนวเส้นทางทางพิเศษ

สำหรับแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) เริ่มต้นจากแยกแคราย เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) และสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ไปตามแนวถนนงามวงศ์วาน เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) บริเวณสถานีบางเขน ผ่านแยกเกษตรฯ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (หมอชิต-คูคต) บริเวณสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ถนนนวมินทร์ และไปสิ้นสุดบริเวณถนนรามคำแหง เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี) บริเวณแยกลำสาลี รวมระยะทางประมาณ 21.5 กิโลเมตร

ทั้งนี้การศึกษาความเหมาะสมของโครงการจะต้องพิจารณาการเชื่อมต่อโครงข่ายการขนส่งและจราจรในภาพรวม และความเป็นไปได้ในการเชื่อมต่อโครงข่ายฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ ด้วยซึ่ง สนข.จะได้นำเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมภายในเดือนกันยายนปีนี้

โดยตามแผนมีเป้าหมายหลักเพื่อเพิ่มความสะดวก ความปลอดภัย และประหยัดเวลาการเดินทางของประชาชน นอกจากนี้ยังเป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบทางพิเศษระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยลดปัญหาการจราจรบริเวณถนนงามวงศ์วานและถนนประเสริฐมนูกิจได้อีกทางหนึ่ง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/08/2017 6:46 pm    Post subject: Reply with quote

THE INSIDER รายการถามซึ่งหน้าเรื่องปากท้องประชาชน วันพุธนี้ (17 พ.ค. 2560) กับคำถามที่รัฐบาลต้องตอบ
"ภายใน 8 ปี จะมีรถไฟฟ้า 10 สาย ทำได้จริง หรือ แค่ฝันไป ?" และ "รถไฟฟ้า ยิ่งเร่งสร้าง ยิ่งไม่ปลอดภัย รัฐบาลเอาความปลอดภัยของคนกรุงฯ เป็นตัวประกันหรือเปล่า ? “ฟังชัด ๆ ทุกคำตอบจากปากมือขวาด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล
และ สุดยอดภารกิจแบบ THE INSIDER ที่พาประชาชนคนธรรมดา ลงไปดูอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร ใช้เวลาขุดแค่ 2 เดือน ปลอดภัยจริงไหม ? คืนวันพุธที่ 17 พฤษภาคมนี้ 20.30 น. รู้กัน ทางช่อง 9 MCOT HD หมายเลข 30


https://www.youtube.com/watch?v=iai1LWtgdRE
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/08/2017 7:31 pm    Post subject: Reply with quote

บี้ BTS-BEM จูน”ระบบตั๋วร่วม” พ่วงบัตรสวัสดิการ
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 2 สิงหาคม 2560 - 19:04 น.

Click on the image for full size

“อาคม” เร่งระบบตั๋วร่วม ดีเดย์ ส.ค.ชง ครม.ไฟเขียว ดันคิกออฟพร้อมบัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อย ต.ค.นี้ หนุนคลังเต็มสูบ ดึงใช้รถไฟฟ้าฟรี เพิ่มจากรถเมล์-รถไฟ สั่งเจรจาบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน ยกเครื่องระบบรับบัตรแมงมุม วงในเผยคาดอาจดีเลย์ สุดท้ายเป็นได้แค่ตั๋วต่อ รอ พ.ร.บ.คลอด คาดกลางปีหน้าฉลุยเต็มรูปแบบ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอกระทรวงการคลังให้บัตรสวัสดิการจะรองรับผู้มีรายได้น้อย สามารถใช้กับรถไฟฟ้าได้ตามโควตาค่าเดินทางที่รัฐจัดสรรให้ เนื่องจากในบัตรสวัสดิการนั้น จะใส่ระบบบัตรแมงมุมด้วย ซึ่งปัจจุบันบัตรสวัสดิการใช้ได้กับรถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) รถโดยสารบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และรถไฟเท่านั้น


“จะขอคณะรัฐมนตรีให้ขยายฐานการบริการของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย จากเดิมสามารถขึ้นรถไฟและรถเมล์ ขสมก.ฟรี ต่อไปจะรวมถึงรถไฟฟ้าทุกระบบด้วย คาดว่าจะเริ่มได้ในเดือน ต.ค.พร้อมกับระบบตั๋วร่วมหรือบัตรแมงมุมที่เราจะนำมาใช้บริการ”

ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การที่รัฐบาลตั้งเป้าจะให้วันที่ 1 ต.ค. 2560 สามารถนำบัตรสวัสดิการให้ใช้กับรถไฟฟ้าได้ด้วยนั้น จากการประเมินสถานการณ์แล้ว คาดว่าจะไม่สามารถดำเนินการได้ทัน และทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ผู้รับผิดชอบจัดทำระบบตั๋วร่วม ได้แจ้งผ่านอธิบดีกรมบัญชีกลางไปแล้ว เนื่องจากบัตรแมงมุมยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ

“เหมือนกับเราขายสินค้าแต่ไม่มีคนซื้อ เราก็ต้องพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้มีคนซื้อของเรา เงินที่กระทรวงการคลังจัดสรรให้เฉลี่ยคนละ 600 บาท ต่อเดือน หากไม่อยากเสียโอกาสก็ต้องเร่งให้สามารถรองรับบัตรสวัสดิการนี้ได้”

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ทาง สนข.เตรียมเสนอแผนการจัดทำตั๋วร่วม เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการ ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา คาดว่าจะเสนอ ครม.ได้ภายในต้นเดือน ส.ค.นี้ จากนั้นหน่วยงานที่เป็นโอเปอเรเตอร์ คือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะดำเนินการเจรจากับเอกชนอย่าง บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อปรับปรุงระบบฮาร์ดแวร์รถไฟฟ้าสามารถรองรับบัตรแมงมุมได้

“ต.ค.นี้ การใช้บริการบัตรแมงมุมยังคงเป็นรูปแบบการใช้แบบตั๋วต่อ คือ ถือบัตรใบเดียวสามารถเข้าใช้รถไฟฟ้าได้ทุกระบบ รวมถึงรถเมล์ ขสมก. โดยจ่ายค่าโดยสารปกติ ส่วนการลดราคาหรือมีส่วนลดให้กับการบริการภาคขนส่งต้องรอมติ ครม.ก่อน ขณะนี้กำลังเร่งติดตั้งเครื่องอ่านระบบตั๋วร่วมกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ และสายสีม่วง” แหล่งข่าวกล่าวและว่า

ส่วนหน่วยงานบริหารจัดการตั๋วร่วม (CTC) จะจัดตั้งหน่วยงาน ประกอบด้วย สนข. รฟม. และธนาคารกรุงไทย เป็นผู้บริหารจัดการไปก่อน เนื่องจากต้องรอ พ.ร.บ.ระบบตั๋วร่วมมีผลบังคับใช้ ซึ่งจะให้อำนาจหน่วยงานที่กำกับดูแลตั๋วร่วม กำหนดอัตราค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียมตั๋วร่วม และกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ภายในวันที่ 21 ส.ค.นี้ จะเปิดรับฟังประชาพิจารณ์ คาดว่าจะเสนอ ครม.ปลาย ส.ค.-ก.ย. 2560 จากนั้นจะเสนอคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อนุมัติ ซึ่งตั๋วร่วมจะได้ใช้เต็มรูปแบบน่าจะประมาณกลางปี 2561
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/08/2017 3:09 pm    Post subject: Reply with quote

สำรวจสาธาณูปโภคถนนศรีนครินทร์ก่อนสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
https://www.facebook.com/CRSTECONYL/posts/449848645388919
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/08/2017 12:33 am    Post subject: Reply with quote

เปิดผังใหม่เกาะรัตนโกสินทร์ สผ.ผนึกจุฬาฯกำหนด 12 พื้นที่รองรับรถไฟฟ้า
ออนไลน์เมื่อ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2560
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,284 วันที่ 3 -5 สิงหาคม พ.ศ. 2560

นายพุฒิพงศ์ สุรพฤกษ์ รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่าอยู่ระหว่างการเร่งจัดทำโครงการ แผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ ขึ้น โดยมอบหมายให้ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ปรึกษาโครงการ โดยได้จัดให้มีการเปิดรับฟังความเห็นไปแล้วครบ 3 ครั้ง ทั้งนี้เมื่อแล้วเสร็จจะเร่งนำเสนอคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า เสนอรัฐบาลเร่งผลักดันต่อไป

โดยในครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกำหนดกรอบนโยบายการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ของกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2560-2575 เพื่อให้ครอบคลุมด้านต่างๆได้แก่ ด้านภูมิทัศน์ ด้านการจราจร ด้านการใช้ที่ดิน ด้านสาธารณูปโภค ด้านสาธารณูปการ ด้านการท่องเที่ยว และด้านกายภาพและวิถีชุมชนซึ่งจะนำไปสู่การอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

ทั้งนี้ได้กำหนดพื้นที่ดำเนินการออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ บริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก ฝั่งธนบุรีตรงข้ามบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ และพื้นที่ต่อเนื่องบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก ตั้งแต่แนวคลองรอบกรุง(คลองบางลำพู-คลองโอ่งอ่าง) ถึงแนวคลองผดุงกรุงเกษม

โดยได้ดำเนินการเปิดรับความเห็นประชาชนและผู้เกี่ยวข้องไปแล้ว 3 ครั้งพร้อมกับการลงพื้นที่ย่อยอีกจำนวน 6 ครั้งซึ่งได้เห็นภาพรวมการจัดทำและร่างแผนแม่บทที่ชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะรายละเอียดผังแม่บทเชิงพื้นที่ เบื้องต้นนั้นพบว่าบริบทการเปลี่ยน แปลงมีผลกระทบอย่างมากจึงต้องศึกษาเพื่อรองรับการเปลี่ยน แปลงที่ย่อมกระทบการดำรงชีวิตและแหล่งวัฒนธรรม จึงต้องการรับฟังความเห็นจากหลายฝ่ายนอกเหนือจากมิติของนักวิชาการ

“ผังเดิมใช้งานมานาน 15 ปีแล้วจึงไม่สอดคล้องกับปัจจุบัน โดยได้เร่งสำรวจแหล่งคุณค่าทางมรดกทั้งหลายมาไว้ในผังดังกล่าว อีกทั้งต่อไปนี้ช่วงครึ่งเทอมยังจะให้มีการทบทวนเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงเกาะรัตนโกสินทร์ โดยไม่เน้นเฉพาะมิติทางกายภาพเท่านั้น ต้องสอดคล้องกับเศรษฐกิจ สังคมและชุมชนอีกด้วย พร้อมกับบูรณาการให้เข้าได้กับแผนอื่น อาทิ ผังเมืองรวม เช่นเดียวกับเรื่องการใช้ที่ดินจะต้องมีแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินชัดเจน จะต้องกำหนดการใช้ประโยชน์เอาไว้ด้วย”


โดยมีเป้าหมายหลักของการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตน โกสินทร์ทั้งสิ้น 8 ประการ คืออนุรักษ์แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าในพื้นที่ กำหนดแนวทางการจัดการอย่างเป็นระบบ กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินและการควบคุมอาคารให้เหมาะสม จัดระเบียบการจราจรในพื้นที่ เน้นการใช้ระบบขนส่งสาธารณะผสานกับการเดินเท้า การออกแบบภูมิทัศน์เมืองเพื่อการสื่อความหมายและสร้างความต่อเนื่องเชิงพื้นที่ ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและชุมชน ส่งเสริมเศรษฐกิจในระดับชุมชน จัดระเบียบการท่องเที่ยว สำหรับรองรับการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ และการปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและสอดคล้องกับความต้องการในอนาคต

ประการสำคัญปัจจุบันพบว่าเศรษฐกิจเปลี่ยนไปเนื่องจากกระแสการท่องเที่ยวที่ปรับเปลี่ยนจึงพบว่ามีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่เกาะรัตน โกสินทร์แต่ละปีมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งรัฐบาลยังได้ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 2-3 เส้นทางผ่านเข้ามาในพื้นที่ก็น่าจะเป็นอานิสงส์ทำให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์เพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปีนี้จึงจำเป็นต้องมีผังแม่บทใช้เป็นกรอบการพัฒนารองรับไว้ตั้งแต่วันนี้ เบื้องต้นได้มีการสำรวจโบราณสถานโบราณวัตถุพบแล้ว 311 แห่ง จากที่ได้กำหนดพื้นที่ศึกษาไว้ 12 พื้นที่ อาทิ คลองบางกอกน้อย-บางกอกใหญ่ เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน ถนนราชดำเนินตั้งแต่วัดราชนัดดา เป็นต้น

“แผนดังกล่าวจะมีกรอบที่ชัดเจนสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกัน แนวคิดการอนุรักษ์แบบใหม่ เน้นมิติด้านต่างๆ กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ชัดเจน และยืดหยุ่นสามารถปรับแก้ไขได้ด้วยซึ่งแผนเก่าทำได้ยาก ประการสำคัญจะสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทด้านสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยยังจะต้องให้มีการทบทวนแผนทุกระยะ 5 ปี ซึ่งจะทบทวนแผนเก่าที่อาจยกเลิกไปและเติมให้สมบูรณ์มากขึ้น”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/08/2017 11:01 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล จุดเชื่อมต่อใหม่คนกรุง
โพสต์ทูเดย์ 06 สิงหาคม 2560 เวลา 18:53 น.

Click on the image for full size

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 เพื่อศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ซึ่งจะเป็นระบบขนส่งมวลชนที่สำคัญอีกสายหนึ่งที่เชื่อมต่อประชาชนจากชานเมืองเข้าสู่กรุงเทพฯ

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ระบุว่า รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลเป็นหนึ่งในโครงการที่รัฐบาลให้ความสำคัญเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างทิศตะวันตกและทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีปัญหาจราจรอย่างหนักจากปริมาณการเดินทางของประชากร 17 ล้านคนในแต่ละวัน สอดคล้องกับแผนสนับสนุนให้ประชากรเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ (Shift mode) ปัจจุบันปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้าเติบโตเฉลี่ยปีละ 10%

อย่างไรก็ตาม โครงการนี้จะทำหน้าที่เป็นระบบเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟฟ้าสายหลัก หรือฟีดเดอร์ ซึ่งจะมีจุดตัดผ่านรถไฟฟ้าสายหลักถึง 6 จุด เช่นเดียวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองและรถไฟฟ้าสายสีเทา ที่อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อบรรจุเข้าสู่แผนแม่บทรถไฟฟ้าเฟส 2 อีกจำนวน 10 สาย คาดว่าผลศึกษาของไจก้าจะแล้วเสร็จช่วงต้นปี 2561 ก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติดำเนินการต่อไป

ทั้งนี้ บริษัทที่ปรึกษาเสนอ 4 ทางเลือกในการแก้ปัญหาการจราจรดังกล่าว คือ 1.สร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล 2.สร้างทางด่วนเกษตร-วงแหวนตะวันออก 3.สร้างทางด่วนจากบางใหญ่-วงแหวนตะวันออก และ 4.สร้างทั้งรถไฟฟ้าและทางด่วนบนเส้นทางเดียวกัน

"ความเห็นส่วนตัวมองว่ารูปแบบที่ 4 มีความเป็นไปได้มากที่สุด เพื่อให้เกิดประโยชน์กับการขนส่งทุกรูปแบบทั้งรถไฟฟ้าและการเชื่อมต่อทางด่วนศรีรัช-โทลล์เวย์-ฉลองรัชเข้าด้วยกัน"อาคม ระบุ

อย่างไรก็ตาม หากเลือกระบบรถไฟฟ้า จะเลือกใช้รถไฟฟ้ารางเบา (Light rail) เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินโครงการและการก่อสร้าง เพราะไม่ต้องออกแบบรายละเอียดเหมือนรถไฟฟ้าสายหลักที่เป็น Heavy rail สำหรับรูปแบบการลงทุนมีโอกาสที่จะเปิดให้เอกชนลงทุน 100% ส่วนกรอบวงเงินและปริมาณผู้โดยสารต้องรอผลศึกษาด้านแนวเส้นทางและเลือกรูปแบบที่ชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง

สำหรับแผนขยายทางด่วนตอน N2-วงแหวนรอบนอกตะวันออก ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้บรรจุไว้ในแผนลงทุนเร่งด่วนปี 2560 โดยจะใช้เงินจากกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFF) นั้นสามารถดำเนินการต่อไปได้เลยเพื่อเตรียมรองรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สนข.กล่าวว่า การศึกษาความเหมาะสมในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลครั้งนี้ มีระยะเวลา 14 เดือน กำหนดเวลาแล้วเสร็จช่วงกลางปี 2561 รวมทั้งยังต้องศึกษารายละเอียดอีกหลายด้าน ส่วนแนวเส้นทางและรูปแบบโครงการจะได้ข้อสรุปภายในปลายปีนี้

"ถ้าหากโครงการไม่มีปัญหาอะไร คาดว่าจะเสนอเข้ากระทรวงคมนาคมและจัดทำการศึกษาแนวทางเปิดร่วมทุนโครงการราว 9 เดือนก่อนส่งต่อให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการร่างเอกสารประกวดราคาและประมูลรวมถึงลงนามสัญญาภายใน 6 เดือน หรือช่วงปลายปี 2562 โดยใช้เวลาก่อสร้างราว 3 ปี ก่อนเปิดให้บริการในปี 2565" ชัยวัฒน์ กล่าว

ทั้งนี้ รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลจะตอบโจทย์การเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟฟ้าของคนกรุงเทพฯ เติมเต็มทุกจุดหมายปลายทางที่ระบบขนส่งเข้าไม่ถึง เนื่องจากมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 6 สาย แนวเริ่มจากแยกแคราย เชื่อมสายสีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่) และสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ไปตามแนวถนนงามวงศ์วาน เชื่อมกับสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ที่สถานีบางเขน ผ่านแยกเกษตร เชื่อมกับสายสีเขียว (หมอชิต-คูคต) ที่สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แล้วไปตามแนวถนนเกษตร-นวมินทร์ (ประเสริฐมนูกิจ) ถนนนวมินทร์และสิ้นสุดบริเวณถนนรามคำแหง เชื่อมกับสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) บริเวณแยกลำสาลี ระยะทางรวม 21.5 กม. ประกอบด้วย 22 สถานี หรือ 1 กิโลเมตร/สถานี

อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างทางด่วนควบรถไฟฟ้าเป็นแนวทางที่น่าสนใจ เพราะประชาชนจะได้ประโยชน์สูงสุดจากตัวเลือกการเดินทาง ขณะที่ระบบตัวรถนั้นมีตัวเลือกสองรูปแบบ คือ 1.รถไฟโมโนเรล 2.รถไฟอัตโนมัติแบบไร้คนขับ (AGT : Automated Guided Transit) ซึ่งรูปแบบที่สองจะยืดหยุ่นมากกว่าในการบำรุงรักษาและบริหาร เพราะเป็นอาณัติสัญญาณแบบสากลที่สามารถใช้ได้กับตู้ขบวนทุกรุ่นแตกต่างจากรถไฟโมโนเรลที่ใช้ได้แค่ตู้ยี่ห้อเดียว และยังได้รับความนิยมจากประเทศชั้นนำต่างๆ อาทิ อังกฤษ ญี่ปุ่น เยอรมนี และฝรั่งเศส</p>

ชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า เบื้องต้นได้กำหนดสถานีต่างๆ ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล รวม 22 สถานี ประกอบไปด้วย
1.ศูนย์ราชการนนทบุรี ตรงข้ามไทยคม
2.งามวงศ์วาน ใกล้ซอยงามวงศ์วาน 3
3.บัวขวัญ ตรงชุมชนวัดบัวขวัญ
4.แยกพงษ์เพชร
5.ชินเขต หน้าซอยงามวงศ์วาน 43
6.บางเขน หน้าเรือนจำคลองเปรม
7.คุณหญิงอิศรา หน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
8.เกษตร ทางแยก
9.กรมยุทธโยธาทหารบก
10.ลาดปลาเค้า 39
11.ประเสริฐมนูกิจ 25
12.เสนานิเวศน์
13.สตรีวิทยา 2
14.ประดิษฐ์มนูธรรม บริเวณจุดตัดทางด่วน
15.คลองลำเจียก จุดตัดถนนลำเจียก
16.รามอินทรา-นวมินทร์ จุดตัดนวมินทร์
17.นวลจันทร์ แยกซอยนวลจันทร์ 11
18.โพธิ์แก้ว บนถนนนวมินทร์ตัดถนนโพธิ์แก้ว
19.นวมินทร์ 73
20.แฮปปี้แลนด์ จุดตัดนวมินทร์กับแฮปปี้แลนด์
21.การเคหะแห่งชาติ และ
22.ลำสาลี บริเวณแยกลำสาลี

สำหรับกรณีที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คัดค้านการก่อสร้างรถไฟฟ้าและทางด่วนตัดผ่านมหาวิทยาลัยนั้น สนข.จะเร่งหาข้อสรุปแนวเส้นทางว่าจะต้องตัดผ่านหรือเบี่ยงเส้นทางอ้อมไม่ให้ผ่านมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตามถ้าหากต้องอ้อมแนวเส้นทางนั้นมั่นใจว่าการเวนคืนพื้นที่จะไม่กระทบกรอบทำให้โครงการล่าช้าเนื่องจากเน้นแนวเส้นทางที่เป็นพื้นที่ กทม.เพื่อความสะดวกในการใช้สอยพื้นที่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้เข้าร่วมงานและประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาและใช้ประโยชน์พื้นที่ตามแนวเส้นทาง อย่างไรก็ตามชาวบ้านส่วนมากได้คัดค้านการสร้างทางด่วนควบคู่รถไฟฟ้าเพราะมองว่าเป็นการทับซ้อนเส้นทางและมีความเสี่ยงด้านชีวิตและทรัพย์สินมากกว่าการสร้างรถไฟฟ้าอย่างเดียว

ขณะที่ที่ดินตามแนวเส้นทางดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างมากจากนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะย่านถนนเกษตร-นวมินทร์ ซึ่งมีโครงการที่พักอาศัยเกิดขึ้นมากมาย อีกทั้งยังมีแผนจะพัฒนาเป็นอาคารศูนย์การประชุมและแสดงสินค้า อาคารสำนักงาน โรงแรม 200 ห้อง และที่จอดรถกว่า 2,000 คัน เช่นเดียวกับที่ดินตามแนวเส้นทางด่วนฉลองรัชหรือที่เรียกว่าพื้นที่เลียบทางด่วน (เลียบด่วน) ซึ่งมีโครงการที่พักอาศัยและห้างสรรพสินค้าชั้นนำมากมายทั้งเครือเซ็นทรัลกรุ๊ป และเครือ เค.อี.แลนด์ ผู้พัฒนาโครงการบ้านจัดสรร ห้างสรรพสินค้าคริสตัล พาร์คและคอมมูนิตี้มอลล์ระดับไฮเอนด์อย่างเดอะ คริสตัล และซีดีซีอีกด้วย

ทั้งนี้ การเกิดขึ้นของรถไฟฟ้าสายสีทอง นอกจากจะเชื่อมต่อการเดินทางของคนกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกสู่ตะวันตกแล้ว ยังจะเปิดย่านเศรษฐกิจแห่งใหม่ของคนเมืองอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/08/2017 1:20 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
บี้ BTS-BEM จูน”ระบบตั๋วร่วม” พ่วงบัตรสวัสดิการ
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 2 สิงหาคม 2560 - 19:04 น.


สนข. เตรียมเสนอแผนจัดทำตั๋วร่วมให้ครม. พิจารณา
6 สิงหาคม 2560 เวลา 12:56น.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เตรียมเสนอแผนการจัดทำตั๋วร่วมให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการ คาดเปิดใช้กลางปี 2561

สนข. เตรียมเสนอแผนจัดทำตั๋วร่วมให้ครม. พิจารณา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอแผนการจัดทำตั๋วร่วมให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการ หาก ครม.เห็นชอบแล้ว การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จะดำเนินการเจรจากับบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัดมหาชน ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส และ บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด มหาชน ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อปรับปรุงระบบฮาร์ดแวร์รถไฟฟ้าสามารถรองรับบัตรแมงมุมได้


โดยจะจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาบริหารจัดการตั๋วร่วม พร้อมทั้งเปิดรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวันที่ 21 สิงหาคมนี้ คาดว่าระบบตั๋วร่วมจะสมบูรณ์และเปิดใช้บริการอย่างเป็นทางการกลางปี 2561
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/08/2017 5:34 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีชมพู-เหลือง อืด เลื่อนเข้าพื้นที่ก่อสร้างเป็นปีหน้า
วันที่ 10 สิงหาคม 2560 - 14:57 น.

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการและผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส เปิดเผยถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี วงเงิน 5.4 หมื่นล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง วงเงิน 5.2 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างรอส่งมอบพื้นที่จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) คาดว่าจะเริ่มเข้าพื้นที่และก่อสร้างได้ม.ค. ปีหน้า

ส่วนการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูอีก 2-3 กิโลเมตร (กม.) เพื่อเชื่อมต่อไปยังอิมแพ็ค เมืองทองธานี และการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเพิ่มเติมอีก 2.6 กม. จากรัชดาไปถึงแยกรัชโยธิน เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ขณะนี้รฟม. อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Project Feasibility Study) เมื่อแล้วเสร็จจะมีการนำเสนอให้คณะกรรมการจัดระบบการจราจร (คจร.) พิจารณา โดยคาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการทั้งหมดประมาณ 1 ปี จากนั้นจะดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งคาดกระบวนการทั้งหมดจะอยู่ภายใต้สัญญาการก่อสร้าง ที่มีกรอบดำเนินการภายใน 39 เดือน

นายสุรพงษ์ กล่าวถึงโครงการบีทีเอสสนใจเข้า ร่วมลงทุนในอนาคตว่า คือโครงการรถไฟฟ้าสายส้ม ทั้ง ช่วงตะวันออก ศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และช่วงตะวันตก ตลิ่งชัน – ศูนย์วัฒนธรรม แต่หากสัญญาการเดินรถถูกพ่วงเข้ากับสัญญาการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกที่ขณะยังไม่ได้เปิดประมูล ทางบีทีเอสก็พร้อมที่จะเข้าร่วมลงทุน

เนื่องจากขณะนี้บีทีเอส ก็มีความพร้อมในเรื่องของการก่อสร้าง เนื่องจากมีพันธมิตร ในกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) คือ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ได้ร่วมมือกันในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีเหลือง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/08/2017 10:04 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รถไฟฟ้าสายสีชมพู-เหลือง อืด เลื่อนเข้าพื้นที่ก่อสร้างเป็นปีหน้า
วันที่ 10 สิงหาคม 2560 - 14:57 น.


รถไฟฟ้า “ชมพู-เหลือง” เริ่มก่อสร้างต้นปี 61
โดย MGR Online

10 สิงหาคม 2560 19:34 น. (แก้ไขล่าสุด 10 สิงหาคม 2560 19:47 น.)

บีทีเอสรอ รฟม.ส่งมอบพื้นที่ พร้อมลุยก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลือง ต้นปี 2561 ขณะที่ข้อเสนอส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานีและเชื่อมสายสีเขียวรัชโยธินนั้นรอ รฟม.ศึกษาความเป็นไปได้ และ EIA ยันพร้อมลงทุนหวังเปิดบริการพร้อมเส้นทางหลักเพื่อความสะดวกผู้โดยสาร

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส เปิดเผยถึงการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ส่งมอบพื้นที่ โดยคาดว่าจะเริ่มส่งมอบและเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ประมาณต้นปี 2561 จากนั้นจะมีเวลาในการดำเนินการก่อสร้าง 39 เดือน ตามสัญญาสัมปทาน

ส่วนข้อเสนอการต่อขยายเส้นทางเพิ่มเติมทั้ง 2สาย คือ ช่วงต่อขยายสายสีชมพู เข้าโครงการเมืองทองธานีอีก 2 สถานี ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร และช่วงต่อขยายสายสีเหลือง โดยการเชื่อมต่อไปตามถนนรัชดาภิเษกไปยังโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว บริเวณแยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร อีก 2 สถานี รฟม.อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในโครงการ และต้องผ่านกระบวนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และนำเสนอต่อคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ก่อน

ซึ่งบีทีเอสพร้อมเป็นผู้ลงทุนในส่วนต่อขยาย คาดว่าจะสามารถได้ข้อสรุปทั้งหมดภายใน 1 ปีหลังจากนี้ และประเด็นส่วนต่อขยายนี้ควรจะสรุปและก่อสร้างให้เสร็จพร้อมกับเส้นทางหลักเพื่อเปิดให้บริการพร้อมๆ กันตลอดสายทาง

ทั้งนี้ หากการก่อสร้างในส่วนต่อขยายดังกล่าวล่าช้า หรือแล้วเสร็จไม่พร้อมกับเส้นทางหลัก คาดว่าจะไม่กระทบต่อปริมาณผู้โดยสารที่คาดการณ์ไว้ของแต่ละสายทางมากนัก เนื่องจากจะต้องมีระบบฟีดเดอร์อื่นเชื่อมอยู่แล้ว แต่ยอมรับว่าผู้โดยสารอาจจะไม่สะดวกเท่ากับการมีรถไฟฟ้าวิ่งเข้าไปเชื่อมโดยตรง ทั้งนี้ การมีส่วนต่อขยายดังกล่าวล่าช้าน่าจะกระทบในแง่ของความเชื่อมั่นมากกว่า
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/08/2017 9:51 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.รายงานความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟฟ้า
กรุงเทพธุรกิจ 15 สิงหาคม 2560

รฟม.รายงานความก้าวหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบจำนวน 4 โครงการ

รฟม.รายงานความก้าวหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. จำนวน 4 โครงการ (ข้อมูล ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2560) ดังนี้

  1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางเเค เเละช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ความก้าวหน้า ร้อยละ 94.62

  2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงเเบริ่ง-สมุทรปราการ ความก้าวหน้า ร้อยละ 100.00

  3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ความก้าวหน้า ร้อยละ 39.07

  4. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมเเห่งประเทศไทย-มีนบุรี ความก้าวหน้า ร้อยละ 1.40
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 157, 158, 159 ... 277, 278, 279  Next
Page 158 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©