RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181682
ทั้งหมด:13492920
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 67, 68, 69 ... 155, 156, 157  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 07/08/2017 2:24 am    Post subject: Reply with quote

ผู้โดยสารตกค้าง BTS หมอชิตเพียบ หลัง จนท.กั้นบันไดทางขึ้น

โดย MGR Online
6 สิงหาคม 2560 14:38 น.

วันนี้ (6 ส.ค.) เวลา 13.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายเล็กน้อย หลังเจ้าหน้าที่รถไฟฟ้าปิดกั้นบันไดทางขึ้นชานชาลาของสถานีรถไฟฟ้า เนื่องจากบริเวณชานชาลามีผู้โดยสารยืนรอจนเต็มพื้นที่ จึงต้องปิดกั้นทางขึ้นบันไดในทุกเส้นทาง เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้โดยสารล้นทะลักบนชานชาลา จนเกิดการเบียดเสียดและอันตรายได้ เนื่องจากเป็นสถานีที่บนชานชาลาไม่มีแผงกั้น และป้องกันคนตกรางรถไฟ
ทั้งนี้ ผู้โดยสารได้ยืนรอเพื่อขึ้นไปบนชานชาลาของสถานีจำนวนมาก ท่ามกลางบรรยากาศที่ร้อนอบอ้าว และมีเสียงบ่นเล็กน้อยถึงความล่าช้า เพราะไม่สามารถเดินทางได้
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ได้ประกาศให้ผู้โดยสารที่ไม่ต้องการรอและต้องการออกจากสถานีให้สามารถคืนบัตรโดยสารได้ โดยเริ่มทยอยปล่อยผู้โดยสารขึ้นไปบนชานชาลาเป็นล็อตๆ หลังรถไฟฟ้าทยอยเข้าเทียบชานชาลา
บีทีเอสแจงขบวนที่สถานีหมอชิตล่าช้า เหตุจุดกลับรถขัดข้อง
โดย MGR Online
6 สิงหาคม 2560 14:59 น.

จากกรณีความล่าช้าของขบวนรถไฟฟ้า ทางบีทีเอสชี้แจงว่า สาเหตุเกิดจากจุดสับรางที่เป็นจุดกลับรถของสถานีหมอชิตเกิดขัดข้อง ทำให้ขบวนต้องล่าช้าไป 10 นาที ทั้งนี้ ผู้โดยสารโปรดเผื่อเวลาการเดินทาง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 07/08/2017 6:51 pm    Post subject: Reply with quote

ทำรีเวิร์สฯสะพานตากสิน รับขยายรางรถไฟฟ้า BTS
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
7 สิงหาคม 2560 05:15
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 08/08/2017 6:50 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าบีทีเอสมีผู้โดยสารเฉลี่ย 1.2 ล้านคน/วัน
Positioning Magazine Online
8 สิงหาคม 2017
- แบ่งเป็นผู้หญิงราว 70% ผู้ชาย 30%
- 70% เป็นพนักงานออฟฟิศ
- 90% จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป
- ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ย 10,000-35,000 บาท
- สถานีสยาม, อโศก, หมอชิต และศาลาแดง มีทราฟิกมากที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 17/08/2017 10:48 am    Post subject: Reply with quote

กทม.เร่งเคลียร์สิ่งกีดขวางรอบลิฟท์คนพิการ 19 สถานีบีทีเอส
โดย MGR Online

16 สิงหาคม 2560 09:03 น.
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ทางกทม. ได้ดำเนินการสำรวจและรื้อย้ายสาธารณูปโภค เช่น เสาไฟฟ้า และเสากล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่กีดขวางทางขึ้น-ลงและบริเวณโดยรอบลิฟท์คนพิการของสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้ง 19 สถานีแล้ว เพื่อให้ผู้พิการที่ใช้รถวีลแชร์สามารถผ่านได้สะดวกมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม กทม.จะเร่งดำเนินการรื้อย้ายสาธารณูปโภคที่กีดขวางทางขึ้น-ลง และบริเวณโดยรอบลิฟท์คนพิการทั้งหมด เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการที่จะใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส หรือข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามได้สะดวกขึ้น
นอกจากนี้ หากพบป้ายรถโดยสาร ป้ายจราจร หรือสาธารณูปโภคอื่นๆ ที่กีดขวางทางขึ้น-ลง จะขยับจุดติดตั้งใหม่บริเวณใกล้เคียง เพื่อไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ใช้บริการรถประจำทางเช่นกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/08/2017 8:30 am    Post subject: Reply with quote

กทม. ยึดอำนาจ “บีทีเอส” อนุมัติสกายวอล์ก แก้กฎเรียกแป๊ะเจี๊ยะค่าพ่วง”ตึก-รถไฟฟ้า” เลิกเก็บปีละ 5 พัน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 23 สิงหาคม 2560 - 00:41 น.

สกายวอล์กบูมจัด สถานีรถไฟฟ้าสายเก่า-ใหม่เอกชนรุมตอม “กทม.” เล็งปั๊มรายได้เพิ่ม ทบทวนระเบียบขอเชื่อมทางใหม่ ปลดล็อกจากเดิมจัดเก็บจิ๊บ ๆ แค่ปีละ 5 พันบาท ดึงอำนาจออกใบอนุญาตเชื่อมทางรถไฟฟ้าบีทีเอส-ส่วนต่อขยาย-สายใหม่ เผยเกณฑ์พิจารณามีค่าตอบแทนรายปี 4% คำนวณจากราคาประเมินที่ดินในทำเลก่อสร้างสกายวอล์ก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อานิสงส์จากรัฐบาลเร่งลงทุนรถไฟฟ้าทำให้ปัจจุบันมี 81 สถานี อนาคตปี 2572 มีถึง 266 สถานี ปัจจุบัน 81 สถานี มีภาคเอกชนขอเชื่อมทางเดินยกระดับหรือสกายวอล์ก (Sky Walk) 30-40 สถานี ประกอบกับรัฐบาล คสช.ประกาศผลักดันบังคับใช้กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในวันที่ 1 มกราคม 2561 ซึ่งราคาประเมินสูงขึ้น หน่วยงานรัฐจึงมองเห็นช่องทางขยายรายได้เพิ่มขึ้น โดยเริ่มมีการทบทวนปรับปรุงกฎระเบียบในการขอเชื่อมทาง

กทม.รื้อกฎขานรับภาษีที่ดิน

นายสุธน อาณานุกุล ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ กทม.อยู่ระหว่างปรับปรุงระเบียบการคิดค่าตอบแทนจากการให้เอกชนสร้างสกายวอล์กเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้งในส่วนสัมอฃปทาน บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ส่วนต่อขยายที่ กทม.ลงทุนสร้างเอง ได้แก่ ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง กับตากสิน-บางหว้า, สายสีเขียวต่อขยายหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต กับแบริ่ง-สมุทรปราการ และโครงการในอนาคต อาทิ สายสีทอง (กรุงธนบุรี-ประชาธิปก)

“ที่ผ่านมาเอกชนเชื่อมทางต้องไปขอกับบีทีเอส โดย กทม.เป็นเพียงผู้ออกใบอนุญาตเท่านั้น ต่อไปนี้แนวทางปฏิบัติให้มาขออนุญาตกับ กทม.ทั้งหมด ความคืบหน้าภายใน 1-2 เดือนนี้เตรียมเสนอร่างประกาศฉบับใหม่ให้ผู้ว่าราชการ กทม.พิจารณา คาดว่าน่าจะผลักดันออกมาบังคับใช้ได้ภายในปีนี้”

สถานีช่องนนทรีจ่าย 5 พัน/ปี

ทั้งนี้ เกณฑ์เดิม กทม.ออกประกาศ “การอนุญาตและค่าตอบแทนการสร้างทางเชื่อมระหว่างระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร” ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2555 มีสาระสำคัญ เช่น ความกว้าง ต้องเพียงพอต่อการสัญจรและเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (2542) ภายใต้ พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ 2524 ฯลฯ ความสูง รถดับเพลิงเข้า-ออกได้สะดวก ฯลฯ

และด้านค่าตอบแทน ผลตอบแทน 5-25% ของมูลค่างาน รวมทั้งมีค่าตอบแทนรายปีอีกปีละ 4% ของราคาประเมินที่ดินบริเวณทางเชื่อมที่ก่อสร้าง ปัจจุบัน กทม.มีรายได้จากสกายวอล์กเพียง 1 แห่ง ที่สถานีช่องนนทรี คิดเป็นรายได้รับปีละ 5,000 บาท

สำหรับอัตราผลตอบแทนใหม่ กทม.ใช้รูปแบบเดียวกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่เรียกเก็บเป็นก้อน และคิดค่าเช่ารายปี

“รายได้จากสกายวอล์ก ปีงบประมาณ 2559 อยู่ที่ 1,011 ล้านบาท ในปีหน้าเป็นต้นไปรัฐบาลจะบังคับใช้กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แนวโน้มทำให้ กทม.มีรายได้จัดเก็บเพิ่มขึ้น เพราะเราคิดรายได้โดยคำนวณจากฐานราคาประเมินที่ดินในทำเลที่สร้างสกายวอล์ก” นายสุธนกล่าว

รฟม.คิดเหมา 15 ปี 30 ล้าน

แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีเอกชนขอสร้างทางเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าหลายแห่ง มีทั้งสกายวอล์กและอุโมงค์ใต้ดิน รฟม.คิดค่าตอบแทนแห่งละ 30 ล้านบาท เวลา 15 ปี เงื่อนไขจ่ายเงินก้อนแรกวันเซ็นสัญญา 20% จากนั้นคิดผลตอบแทนรายปี ปรับเพิ่มปีละ 5-10% ต่อได้อีก 15 ปี แต่ต้องพิจารณาค่าตอบแทนใหม่ อาทิ สถานีสามย่านบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทสร้างอุโมงค์เชื่อมสถานีลุมพินีทะลุเข้าโครงการวัน แบงค็อก, สถานีเพชรบุรี บมจ.สิงห์ เอสเตท สร้างอุโมงค์เชื่อมโครงการสิงห์คอมเพล็กซ์ ฯลฯ

BTS ปรับขึ้น 1.2 แสน/ตร.ม.

แหล่งข่าวจากบีทีเอสซีเปิดเผยว่า เงื่อนไขสร้างทางเชื่อมพิจารณารายสถานี มีค่าเชื่อมทางเฉลี่ย 100,000-120,000 บาท/ตร.ม. ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 40,000-60,000 บาท/ตร.ม.

ปัจจุบันขอเชื่อม อาทิ สถานีหมอชิต บีทีเอสลงทุน 200 ล้านบาท เชื่อมสถานีถึงซอยพหลโยธิน 18 และเดอะไลน์ หมอชิต-จตุจักร 480 เมตร แล้วเสร็จต้นปี 2561, สถานีปุณณวิถี MQDC ในเครือซีพีขอเชื่อมโครงการ Whizdom 101 จากสถานีถึงสะพานลอยซอยสุขุมวิท 101/1, ปลายปีนี้ กทม.เตรียมเปิดใช้สกายวอล์กบีทีเอส บางนา-อุดมสุข 1.7 กม. วงเงิน 450 ล้านบาท ฯลฯ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/08/2017 7:23 pm    Post subject: Reply with quote

BTS แจ้งขอปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าใหม่เริ่ม 1 ต.ค.นี้
โดย MGR Online 28 สิงหาคม 2560 18:49 น.

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 บริษัทฯ จะปรับราคาค่าโดยสารที่เรียกเก็บสำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอสในส่วนของเส้นทางสัมปทานระยะทาง 23.5 กิโลเมตร สายสุขุมวิท สถานีหมอชิต - สถานีอ่อนนุช และสายสีลม สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ - สถานีสะพานตากสิน ไม่รวมส่วนต่อขยายของกรุงเทพมหานคร จากราคา 15 – 42 บาท เป็น 16 – 44 บาท โดยจะเรียกเก็บสถานีแรก 16 บาท สองสถานี ราคา 23 บาท สามสถานี ราคา 26 บาท สี่สถานี ราคา 30 บาท ห้าสถานี ราคา 33 บาท หกสถานี ราคา 37 บาท เจ็ดสถานี ราคา 40 บาท แปดสถานีเป็นต้นไป ราคา 44 บาท ซึ่งอัตราใหม่นี้เพิ่มขึ้น 1 – 3 บาท เมื่อเทียบกับค่าโดยสารเดิม

ทั้งนี้ การปรับราคาค่าโดยสารใหม่ยังคงอยู่ต่ำกว่าเพดานอัตราค่าโดยสารตามสัญญาสัมปทานซึ่งอยู่ในอัตรา 20.11 – 60.31 บาท

การปรับอัตราค่าโดยสารครั้งนี้บริษัทฯ จะปรับราคาจำหน่ายเที่ยวเดินทาง 30 วัน ทั้งสำหรับประเภทบุคคลทั่วไปและนักเรียนนักศึกษา ซึ่งเป็นบัตรโดยสารราคาพิเศษด้วย โดยปรับขึ้นเที่ยวละ 1 บาท ดังนี้ คือ สำหรับบุคคลทั่วไป ประเภท 50 เที่ยว 1,300 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 26 บาท 40 เที่ยว 1,080 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 27 บาท 25 เที่ยว 725 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 29 บาท และ 15 เที่ยว 465 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 31 บาท สำหรับนักเรียนนักศึกษา ประเภท 50 เที่ยว 950 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 19 บาท 40 เที่ยว 800 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 20 บาท 25 เที่ยว 550 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 22 บาท และ 15 เที่ยว 360 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 24 บาท

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า บริษัทฯ ได้มีการปรับราคาค่าโดยสารครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2556 ผ่านมากว่า 4 ปีแล้วที่บริษัทฯ ยังไม่ได้ปรับราคาค่าโดยสารพื้นฐานที่เรียกเก็บ ซึ่งสัญญาสัมปทานกำหนดให้บริษัทฯ สามารถปรับค่าโดยสารที่เรียกเก็บได้ทุก 18 เดือน แต่ต้องไม่เกินเพดานอัตราค่าโดยสาร ในขณะที่บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน สูงเพิ่มขึ้นตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งบางรายการสูงขึ้นถึงร้อยละ 20 เช่น ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา เป็นต้น

นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้ลงทุนเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวก และการบริการให้ดียิ่งขึ้น อาทิ การสั่งซื้อรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 46 ขบวน ๆ ละ 4 ตู้ รวมเป็น 184 ตู้ ซึ่งจะเริ่มทยอยนำเข้ามาในประเทศไทยประมาณต้นปีหน้า การปรับปรุงระบบตั๋วโดยสารซึ่งจะเปลี่ยนตู้จำหน่ายบัตรโดยสารเป็นระบบสัมผัส (Touch Screen) ทั้งหมด และสั่งตู้จำหน่ายตั๋วโดยสารที่รับธนบัตรด้วยมาติดตั้งในระบบเพิ่มขึ้นอีก 50 ตู้ โดยจะเริ่มทยอยติดตั้งในปี 2561 ซึ่งปัจจุบันมีอยู่แล้วประมาณ 50 ตู้ กระจายอยู่ในระบบ โดยระหว่างนี้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารที่ต้องแลกเหรียญเพื่อซื้อบัตรโดยสารจากตู้จำหน่ายตั๋ว บริษัทฯ จะจัดเจ้าหน้าที่จำหน่ายตั๋วโดยสารประเภทเที่ยวเดียวในสถานีที่มีจำนวนผู้โดยสารมากในช่วงเวลาเร่งด่วน เช่น ที่สถานีหมอชิต สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สถานีสยาม โดยจะใช้ห้องแลกเหรียญให้มีการจำหน่ายบัตรเที่ยวเดียวด้วย และจะมีการตั้งโต๊ะจำหน่ายตั๋วโดยสารเที่ยวเดียวทุกราคาที่สถานีพญาไท สถานีสยาม สถานีอโศก เป็นต้น โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2560 เป็นต้นไป

นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังจะมีการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์อิเล็คทรอนิกส์บนชั้นชานชาลาเพื่อแจ้งความถี่ในการให้บริการรวมถึงแจ้งเหตุรถไฟฟ้าขัดข้องและข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ และมีแผนที่จะลงทุนติดตั้งประตูกั้นชานชาลาอัตโนมัติในสถานีต่างๆ เพิ่มมากขึ้น บริษัทฯ จึงมีความจำเป็นในการขอปรับราคาค่าโดยสารที่เรียกเก็บในครั้งนี้ ซึ่งการปรับค่าโดยสารครั้งนี้จะมีการปรับโดยเฉลี่ยเพียงประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น

ทั้งนี้ อัตราค่าโดยสารใหม่จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 เป็นต้นไป แต่ทั้งนี้บริษัทฯ จะยังคงราคาเดิมเป็นเวลา 6 เดือน จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2561 สำหรับผู้ใช้บัตรแรบบิทประเภทเติมเงิน ดังนั้น บริษัทฯ จึงอยากเชิญชวนผู้โดยสารที่เคยซื้อบัตรโดยสารเที่ยวเดียวเปลี่ยนมาใช้บัตรเติมเงินเพื่อความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ส่วนผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ยังจะได้รับส่วนลดครึ่งราคาจากอัตราราคาใหม่เมื่อใช้บัตรแรบบิทสำหรับผู้สูงอายุโดยสามารถเดินทางได้ไม่จำกัดเวลา

อนึ่ง อัตราค่าโดยสารที่เรียกเก็บนั้น เมื่อเปิดให้บริการในวันที่ 5 ธันวาคม 2542 บริษัทฯ ได้จัดเก็บในอัตรา 10 – 40 บาท และได้มีการปรับครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2549 เป็น 15 -40 บาท ครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2556 เป็น 15 - 42 บาท และครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 นับตั้งแต่รถไฟฟ้าบีทีเอสเปิดให้บริการใน ปี 2542 หรือเมื่อเทียบกับที่รถไฟฟ้าให้บริการจะครบ 18 ปี ในเดือนธันวาคม 2560 จะเห็นได้ว่าบริษัทฯ มีการปรับราคาน้อยครั้งมาก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 29/08/2017 7:15 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
BTS แจ้งขอปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าใหม่เริ่ม 1 ต.ค.นี้
โดย MGR Online 28 สิงหาคม 2560 18:49 น.



โปรโมตผิดเวลา? รุมถล่ม BTS ปรับราคาขึ้น แต่ประชาสัมพันธ์อ้าง “โปรโมชั่นค่าโดยสาร”
โดย MGR Online
29 สิงหาคม 2560 14:54 น. (แก้ไขล่าสุด 29 สิงหาคม 2560 15:22 น.)


ชาวเน็ตฉุนบีทีเอสประกาศขึ้นราคา แต่โปรโมต “โปรโมชั่นค่าโดยสาร” ราคาพิเศษอีก 6 เดือน ชี้ขึ้นราคาแล้วจะต่อให้ราคาเดิมไม่ควรเรียกโปรโมชั่น จับผิดเพิ่งขึ้นค่าโดยสารส่วนต่อขยายจาก 10 เป็น 15 บาท เมื่อเมษายนที่ผ่านมานี้เอง

จากกรณีที่วานนี้ (28 ส.ค.) นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 บริษัทฯ จะปรับราคาค่าโดยสารที่เรียกเก็บสำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอสในส่วนของเส้นทางสัมปทานระยะทาง 23.5 กิโลเมตร สายสุขุมวิท สถานีหมอชิต - สถานีอ่อนนุช และ สายสีลม สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ - สถานีสะพานตากสิน ซึ่งอัตราใหม่นี้เพิ่มขึ้น 1 - 3 บาท เมื่อเทียบกับค่าโดยสารเดิม

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า บริษัทฯ ได้มีการปรับราคาค่าโดยสารครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2556 ผ่านมากว่า 4 ปีแล้วที่บริษัทฯ ยังไม่ได้ปรับราคาค่าโดยสารพื้นฐานที่เรียกเก็บ ซึ่งสัญญาสัมปทานกำหนดให้บริษัทฯ สามารถปรับค่าโดยสารที่เรียกเก็บได้ทุก 18 เดือน แต่ต้องไม่เกินเพดานอัตราค่าโดยสาร ในขณะที่บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน สูงเพิ่มขึ้นตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งบางรายการสูงขึ้นถึงร้อยละ 20

“ทั้งนี้ อัตราค่าโดยสารใหม่จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 เป็นต้นไป แต่ทั้งนี้ บริษัทฯ จะยังคงราคาเดิมเป็นเวลา 6 เดือน จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2561 สำหรับผู้ใช้บัตรแรบบิทประเภทเติมเงิน ดังนั้นบริษัทฯ จึงอยากเชิญชวนผู้โดยสารที่เคยซื้อบัตรโดยสารเที่ยวเดียวเปลี่ยนมาใช้บัตรเติมเงินเพื่อความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ส่วนผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ยังจะได้รับส่วนลดครึ่งราคาจากอัตราราคาใหม่เมื่อใช้บัตรแรบบิทสำหรับผู้สูงอายุโดยสามารถเดินทางได้ไม่จำกัดเวลา”

ล่าสุด วันนี้ (29 ส.ค.) เฟซบุ๊กรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้เผยแพร่รายละเอียดการปรับขึ้นราคาดังกล่าว พร้อมกับภาพโดยใช้คำว่า “โปรโมชั่นค่าโดยสาร เริ่ม 1 ต.ค. 60 (Promotional prices for travel, effective from 1st October 2017)” ทำให้ผู้ใช้บริการบางส่วนเข้าไปแสดงความเห็นโจมตีกันมากมาย อย่างเช่น

ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อบัญชี Rainbeau Rojbunthueng ระบุว่า โปรโมชั่น น่าจะหมายความว่า ข้อเสนอพิเศษ รึป่าวคะ แต่การที่ขึ้นราคาในอัตราที่ใช้เป็นการทั่วไป ควรใช้คำว่าอัตราค่าโดยสารมั๊ยคะ อย่าเรียกว่าเป็นโปรโมชั่นเลย เสียความรู้สึก

Suthee Rueangjamroon ส่วนต่อขยายก้อพึ่งขึ้นราคา จาก 10 บาท เปน 15 บาท อันนี้แบบรายเดือนจาก 960 บาท ก็พึ่งขึ้นเป็นราคา 1,040 บาท แล้วเนี่ยจะขึ้นอีกมาเป็น 1,080 บาท แล้วบอกว่ายังไม่เคยขึ้น ไม่เข้าใจ ส่วนต่อขยาย ทำไม ให้ กทม. เข้ามาร่วมด้วย กทม. เก็บกินสบาย เที่ยวละ 15 บาท ไปกลับ 1 วัน เสียส่วนต่อขยาย 30 บาท แพงจัง

แอร์ก็ไม่เย็น รถก็จะพัง กระตุกๆๆๆ ตอนเช้าระยะรถวิ่งก้อนานไปหน่อย เพราะตอนเช้า คนเยอะมากๆๆ จะขี่กันอยู่ละ ควรปรับปรุง ทุกอย่าง อ่อ!! แล้วช่องที่แตะตั๋วก็เล็กไปนะ ไปดูงานต่างประเทศกันมาไม่ได้ช่วยให้มีการพัฒนากันเลยนะ ควรจะทำให้ช่องใหญ่ๆๆ หน่อย ถ้าคนมีกระเป๋าเดินทางจะได้ลากผ่านได้เลย เหมือนที่ สิงค์โปร์ อะ

Vitit Leamrungfa BTS เป็นระบบขนส่งมวลชนสายเดียวบนโลกนี้ ที่ไม่เก็บค่าโดยสารตามจริงตามระยะทางของผู้โดยสาร แค่นี้ก็น่าเกลียดและเอาเปรียบคนไทยมากพอแล้ว ยังจะปรับขึ้นราคาอีก ถามจริงๆ ไม่รู้สึกละอายบ้างเหรอ จะสูบเลือดสูบเนื้อประชาชนไปถึงไหนครับ





ขณะที่ตารางการปรับค่าโดยสาร ระบุว่า เมื่อใช้บัตรโดยสารประเภทเติมเงินเดินทาง เดินทางราคาเดิม (15 - 42 บาท) จนถึง 31 มี.ค. 2561 ขณะที่ภาพอื่นๆ ระบุโปรโมชั่นเที่ยวเดินทาง 30 วัน สำหรับบุคคลทั่วไป, เที่ยวเดินทาง 30 วัน สำหรับนักเรียน นักศึกษา และบัตรแรบบิทสำหรับผู้สูงอายุ


ขณะที่เมื่อตรวจสอบข่าวย้อนหลัง พบว่า เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา รถไฟฟ้าบีทีเอสเพิ่งประกาศปรับราคาค่าโดยสารส่วนต่อขยายสายสุขุมวิทและสีลมจากเดิม 10 บาท เป็น 15 บาท ส่งผลให้ค่าโดยสารสูงสุด 57 บาท (อ่าน : ขึ้นราคา! บีทีเอสส่วนต่อขยาย ค่าโดยสารพุ่งสูงสุด 57 บาท - เปิดสถานีสำโรงจันทร์นี้ 1 เม.ย. 2560)

ขณะที่การปรับค่าโดยสารของรถไฟฟ้าบีทีเอสในภาพรวมครั้งที่แล้วเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2556 (ประกาศเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2556) โดยปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารใหม่เป็น 15 - 42 บาท จากเดิม 15 - 40 บาท ส่วนโปรโมชันเที่ยวเดินทาง 30 วันของเด็กและผู้ใหญ่ก็ขยับขึ้น 1 บาท และ 2 บาท/เที่ยวตามลำดับ โดยการปรับขึ้นคราวที่แล้วก็มีการคงอัตราค่าโดยสารเก่าสำหรับผู้ใช้บัตรแรบบิท หรือบัตรบีทีเอส สมาร์ทพาส ประเภทเติมเงิน จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2556 (อ่าน : รถไฟฟ้าบีทีเอสขึ้นค่าโดยสารเป็น 15 - 42 บ.เริ่ม 1 มิ.ย.นี้ 29 เม.ย. 2560)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 30/08/2017 10:42 am    Post subject: Reply with quote

ปี61ตัดงบรถไฟฟ้ากทม.ต้องเป็นหนี้บีทีเอสพันล้าน
เดลินิวส์
อังคารที่ 29 สิงหาคม 2560 เวลา 12.33 น.

สภาฯตัดงบรถไฟฟ้า กทม.ต้องเป็นหนี้บีทีเอสพันล้าน เหตุจับยัดพิจารณามากะทันหัน



เมื่อวันที่ 28ส.ค.ร.ต.ต.เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ ประธานสภากทม.พร้อมด้วยนายคำรณ
โกมลศุภกิจ ประธานคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี2561และคณะร่วมแถลงข่าว โดยร.ต.ต.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า จากที่ พล.ต.อ.อัศวินขวัญเมือง
ผู้ว่าฯกทม.ได้เสนอของบประมาณรายจ่ายกรุงเทพมหานครประจำปีจำนวนกว่า 79,000ล้านบาทนั้นทางคณะกรรมการฯมีการปรับลดงบประมาณทั้งสิ้นเป็นเงิน3,004 ล้านบาท โดยเป็นการพิจารณาตัดงบประมาณจากสำนักทั้ง20สำนักงาน แต่ในส่วนของสำนักงานเขตทั้ง50เขต โดยในแต่ละหน่วยงานนั้นมีการปรับ ลดตามปกติ

"แต่ที่ปรับลดมากที่สุด 2สำนักคือโครงการงบผูกพันของสำนักการโยธา(สนย.)จำนวนประมาณ1,000 ล้านบาทเป็นงบประมาณในส่วนของการจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเวนคืนโครงการต่างๆจากที่ขอมาประมาณ4,000 ล้านบาทเนื่องจากเกรงว่าจะใช้งบประมาณไม่ทันจึงขอหักไว้หากต้องการใช้ก็สามารถขอเพิ่มมาใหม่ได้ และสำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.)เป็นงบประมาณที่ให้บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัดหรือเคทีใช้ในการบริหารรถไฟฟ้าของ จำนวน 1,000ล้านบาท"

ทั้งนี้การแปรญัตติงบประมาณกลับมาของฝ่ายบริหารนั้นก็เป็นอำนาจที่ทำได้ตามระเบียบวิธีงบประมาณ แต่ทั้งนี้แม้จะแปรญัตติกลับมาเป็นในจำนวนเงินเท่าเดิมทั้งหมดก็ตาม แต่ไม่ใช่โครงการที่ของบประมาณมาแต่เดิมทั้งหมดมีการปรับเปลี่ยนโครงการเป็นโครงการใหม่ด้วย ตามที่คณะกรรมการว่าสมควรให้ผ่านงบประมาณได้

ด้านนายคำรณ กล่าวว่างบบริหารรถไฟฟ้าที่กทม.จะดำเนินการผ่านเคที นั้น คณะกรรมการฯก็ยังยืนยันว่าไม่เหมาะสมเพราะสภากทม.ยังยู่ระหว่างการตั้งคณะกรรมการวิสามัญศึกษาขอบเขตอำนาจหน้าที่ของเคที จึงยังไม่ผ่านการพิจารณาเช่นกันส่วนรายละเอียดในเรื่องอื่นๆ จะมีการตั้งข้อสังเกตและให้ความเห็นในโครงการต่างในที่ประชุมสภากทม.ให้เห็นชอบในวาระที่2และ3ในวันที่ 30ส.ค.นี้

ขณะที่นายสุธน อาณากุล ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.) เปิดเผยว่า ในส่วนของ งบประมาณ 1,000ล้านบาทที่ขอในปีงบประมาณ 2561นั้นเป็นงบที่ใช้ในโครงการติดตั้งระบบเดินรถและบริหารจัดการเดินรถระบบขนส่งมวลชนสายสีเขียวเส้นทางแบริ่ง-สมุทรปราการที่ เคที ว่าจ้าง บีทีเอสเป็นผู้เดินรถโดยมีงบประมาณ รวม 20,000ล้านบาท และเคทีจะต้องจ่ายให้ บีทีเอสปีละ1,000 ล้านบาทซึ่งปี 61เป็นปีแรกที่ต้องจ่ายทั้งนี้หากงบประมาณที่ขอไปไม่ได้รับการจัดสรรเคทีก็อาจจะต้องรับภาระหนี้และดอกเบี้ยตามที่ได้ทำสัญญากับบีทีเอส

ส่วนในปีต่อไปกทม.ก็ต้องเสนอของบจากสภากทม.โดยชี้แจงถึงความจำเป็นอีกครั้ง
ทั้งนี้ยอมรับว่ากทม.ยังไม่เคยเสนอรายละเอียดและงบประมาณ ให้ สภากทม.ทราบมาก่อน
เนื่องจากเป็นโครงการที่ กทม.เพิ่งได้รับคืนมาจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
(รฟม.) ดังนั้นปีต่อไปน่าจะมีความพร้อมในการของบประมาณมากกว่านี้.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 01/09/2017 2:00 pm    Post subject: Reply with quote

"เครือข่ายผู้บริโภค ค้านขึ้นราคา BTS ชี้มีเหตุไม่เพียงพอ
เรื่องโดย จักรวาล ส่าเหล่ทู | ภาพโดย Nation TV
31 สิงหาคม 2560 16:00 น.

"เครือข่ายผู้บริโภค" ชี้ BTS ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกผู้พิการ - สูงอายุ แถมกำไรขึ้น ไม่ควรขึ้นค่าโดยสาร จ่อส่งหนังสือ กทม. ทบทวนอนุมัติขึ้นราคาเมื่อวันที่ 31 ส.ค. ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมด้วยตัวแทน เครือข่ายขนส่งมวลชนุกคนต้องขึ้นได้, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค (ภาคประชาชน) (คอบช.) ออกแถลงการณ์คัดค้านการขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS โดยนางสารีกล่าวว่า การขึ้นค่าโดยสารดังกล่าวไม่มีเหตุสมควรให้ขึ้นราคา ซึ่งที่ผ่านมาผลประกอบการของบริษัทบีทีเอส การดำเนินงานในไตรมาสที่ 1 ปี 2560 / 61 ปรับตัวดีขึ้น 100.2% จากปีก่อนเป็น 3,110.3 ล้านบาท และมีรายได้จากระบบขนส่งมวลชนที่สูงมากถึง 196.9% นอกจากนี้บริการขนส่งดังกล่าวผู้พิการ และผู้สูงอายุก็ไม่สามารถเข้าใช้บริการได้ เพราะยังไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกครบถ้วน ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 57 ที่ผ่านมา อีกทั้งที่ผ่านมามีงานวิจัยจากองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค (ภาคประชาชน) ในหัวข้อ "โครงสร้างราคาที่เป็นธรรมของรถไฟฟ้า" ซึ่งในงานวิจัยชี้ว่า รถไฟฟ้าของไทยเก็ยค่าโดยสารแพงมา เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆด้วยสกุเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งค่าบริการ 10 สถานีของรถไฟฟ้า BTS อยู่ที่ 3.41 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่โตเกียว ประเทศอยู่ปุ่นอยู่ที่ 1.9 ดอลลาร์สหรัฐ และของสิงค์โปร์อยู่ที่ 2.5 ดอลลาร์สหรัฐ หรือแม้แต่รถไฟฟ้าสายสีม่วงก็ยังมีค่าบริการอยู่ที่ 3.01 ดอลลาร์สหรัฐ จะเห็นได้ว่า BTS มีค่าบริการที่สูงมากน.ส.สารีกล่าวต่อไปว่า ด้วยเหตุนี้ จึงขอให้ทาง กทม. ผู้ที่มีอำนาจในการกำกับดูแลทบทวนการอนุญาตให้ขึ้นราคาครั้งนี้ และขอให้บริษัทชะลอการขึ้นราคาจนกว่าจะมีการดำเนินให้มีเครื่องอำนวยความสะดวกทั้ง 23 สถานี คือให้มีที่ว่างสำหรับเก้าอี้เข็นคนพิการมีความกว้างไม่น้อยกว่า 120 ซม. และให้มีรายจับสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 80 ซม. รวมถึงให้ติดสัญลักษณ์คนพิการทั้งในและนอกตัวรถที่จัดสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ด้วย ทั้งนี้การเพิ่มค่าโดยสารไม่ได้หมายความว่าจะมีเพื่อนำเอากำไรมาสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก เพราะเงินที่ทำส่วนนี้ไม่ใช่ของ BTS หากเป็นงบจาก กทม. ที่จะต้องทำตามคำพิพากษาของศาล ที่ยังทำไม่เสร็จดี แม้ว่าตัวเลขที่ขึ้นจะดูเหมือนไม่เยอะ อยู่ที่ 1- 3 บาท แต่เราคิดว่าจากข้อมูลที่เรามี เราอยากให้มีการจัดการโดยที่ BTS ร่วมมือกับ กทม. เพื่อปรับปรุงให้มีเครื่องอำนวยความสะดวกให้เสร็จก่อนที่จะขึ้นราคา โดยเราจะทำหนังสือเรื่องนี้ถึง กทม. ในเร็วๆนี้ขณะที่นายมานิตย์ อินทรพิมพ์ ตัวแทนเครือข่ายขนส่งมวลชนุกคนต้องขึ้นได้ กล่าวว่า ที่ผ่านมากลุ่มคนพิการได้ใช้ช่องทางต่างๆ เพื่อเรียกร้องให้มีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกตามกฎหมาย แต่ทาง BTS ก็ทำล่าช้า บางครั้งก็อ้างว่าติดขัดปัญหา หรือบางสถานีแม้ว่ามีสิ่งอำนวยควาสะดวกก็จริง แต่เมื่อเจอฝนก็พังใช้ไม่ได้ ทั้งนี้ในอีก 6 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะมีรถไฟฟ้าเพื่อขึ้นอีกเยอะ อีกทั้งยังมีรถไฟฟ้าความเร็วสูงด้วย ซึ่งในกฎหมายก็ได้มีถ้อยคำสวยหรูระบุให้สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนพิการ ซึ่งเราก็อยากจะเป็นสิ่งสวยงามเหล่านั้นตามถ้อยคำ ถ้าทำได้การขนส่งสาธารณะของไทยก็จะดีมากขึ้น ในส่วนของการยื่นหนังสือถึง กทม. นั้นเราจะแนบรายชื่อของผู้พิการที่ร่วมเรียกร้องด้วย โดยที่จริงแล้วจะมีกี่รายชื่อก็ไม่สำคัญเพราะนี่ถือเป็นความเท่าเทียมของคนพิการกับคนทั่วๆไป เพื่อให้ใช้บริการขนส่งสาธารณะได้ และเป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วย"

กวิน กาญจนพาสน์ “ผมชอบธุรกิจที่ไม่มีคู่แข่ง”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/09/2017 11:22 pm    Post subject: Reply with quote

กทม. แจงจำเป็นต้องขึ้นค่าโดยสารบีทีเอส ตามสัญญาสัมปทาน
ช่อง 8 วันที่ลงข่าว 3 กันยายน 2560 เวลา 05:52 น.

กรุงเทพมหานครยืนยัน การปรับขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นการขึ้นตามสัญญาสัมปทาน ระยะทาง 23.5 กิโลเมตร ไม่รวมส่วนต่อขยาย หลังไม่ได้ปรับขึ้นราคามา 4 ปีแล้ว
นายสุธน อาณากุล ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร ออกมาชี้แจงถึงประเด็นการปรับขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส หลังจากตัวแทนภาคีเครือข่ายภาคประชาชน ได้มีการแถลงข่าวคัดค้านการปรับขึ้นราคาที่จะเริ่มในวันที่ 1 ตุลาคมที่จะถึงนี้ว่า

การขึ้นราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทและสายสีลมนั้น เป็นการปรับราคาค่าโดยสาร ที่เรียกเก็บสำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอส เฉพาะในส่วนของเส้นทางสัมปทาน ระยะทาง 23.5 กิโลเมตร ไม่รวมส่วนต่อขยาย ที่อยู่ในความรับผิดชอบโดยตรงของกรุงเทพมหานคร

โดยการปรับราคาค่าโดยสาร เป็นไปตามสัญญาสัมปทาน ระหว่างกรุงเทพมหานคร กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด ซึ่งระบุว่า บริษัทฯ อาจปรับค่าโดยสารที่เรียกเก็บเป็นคราวๆ ไป และบริษัทสามารถปรับค่าโดยสารได้ทุก 18 เดือน แต่ต้องไม่เกินเพดานอัตราค่าโดยสารขั้นสูงสุด

อย่างไรก็ตาม การปรับราคาค่าโดยสารครั้งล่าสุดนั้น เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2556 หรือเมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้ว ซึ่งตนจะนำเรื่องดังกล่าว เข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารระบบขนส่งมวลชนอีกครั้ง ในเดือนกันยายนนี้ เพื่อหาข้อสรุป และนำเรียนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต่อไป

ส่วนกรณีที่มีการ ระบุว่า ภาครัฐควรจะกำหนดในสัญญาสัมปทานว่า หากมีจำนวนผู้โดยสาร หรือจำนวนคนที่ใช้เกินกว่าเป้าที่ตั้งแล้ว ไม่ควรต้องปรับราคาเพิ่มขึ้นอีกนั้น เนื่องจากในการดำเนินการ รวมทั้งการบริหารจัดการทั้งหมด

เริ่มตั้งแต่การก่อสร้าง การจัดการเดินรถ การบริหารงาน และการจัดการอื่นๆ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด ภาครัฐจึงไม่ได้กำหนดรายละเอียดดังกล่าว ในสัญญาสัมปทานได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 67, 68, 69 ... 155, 156, 157  Next
Page 68 of 157

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©