Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181664
ทั้งหมด:13492902
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 223, 224, 225 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/08/2017 5:46 pm    Post subject: Reply with quote

กรศ.ติดตามคืบหน้ารถไฟเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน
INN News ข่าวเศรษฐกิจ วันพุธที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2560 13:55 น.

กรศ. ติดตามคืบหน้ารถไฟเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เปิดเอกชนร่วมลงทุนปลายปีนี้งบ 2.8 แสนล้าน ค่าโดยสาร 300 - 500 บาท

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กรศ.) ครั้งที่ 4 ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน ได้ติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการศึกษาโครงการเกือบแล้วเสร็จกว่าร้อยละ 95 ซึ่งจากนี้จะรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน พร้อมจัดทำรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยคาดว่าจะสามารถประกาศเชิญชวนให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบการลงทุนร่วมระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ได้ในช่วงปลายปีนี้ ด้วยงบลงทุนประมาณ 280,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนก่อสร้างและให้บริการรถไฟความเร็วาสูงประมาณ 200,000 ล้านบาท และ ลงทุนพัฒนาสถานีมักกะสัน พื้นที่เขิงบพาณิชย์บริเวณสถานี 80,000 ล้านบาท ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้นจะใช้เวลาเดินทาง 45นาทีระหว่างสนามบินสุวรรณภูมิ - สนามบินอู่ตะเภา มีค่าโดยสารประมาณ 300 บาท ส่วนสนามบินดอนเมือง - อู่ตะเภา มีค่าโดยสารประมาณ 500 บาท โดยช่วงที่ผ่านกรุงเทพชั้นในจะใช้ความเร็วที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และนอกเมืองจะวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 09/08/2017 5:51 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
กรศ.ติดตามคืบหน้ารถไฟเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน
INN News ข่าวเศรษฐกิจ วันพุธที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2560 13:55 น.


กางแผนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบินเคาะราคา300-500บาท/เที่ยว
โดย MGR Online
9 สิงหาคม 2560 16:00 น. (แก้ไขล่าสุด 9 สิงหาคม 2560 16:15 น.)
บอร์ดอีอีซีกางแผนคมนาคมเตรียมเปิดพีพีพีลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ 2.8 แสนล้านบาท คาดเชิญชวนเอกชนลงทุนได้ปลายปีนี้ กำหนดค่าโดยสาร 300 บาทต่อเที่ยวสำหรับด่วนพิเศษสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา 500 บาทต่อเทียวเส้นทางด่วนพิเศษดอนเมือง-อู่ตะเภา

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(บอร์ดอีอีซี) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(บอร์ดบริหารอีอีซี)ที่มี นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมรับทราบผลการศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินที่ประกอบด้วย อู่ตะเภา สุวรรณภูมิ ดอนเมือง แบบไร้รอยต่อ ของกระทรวงคมนาคม ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)ได้สรุปวงเงินลงทุนจำนวน 280,000 ล้านบาท แล้วและกำหนดรูปแบบให้เอกชนลงทุนร่วมกับรัฐซึ่งคาดว่าจะสามารถประกาศเชิญชวนให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนได้ภายในปลายปีนี้

ทั้งนี้การลงทุนก่อสร้างและให้บริการรถไฟความเร็วสูงประมาณ 200,000 ล้านบาท และรัฐลงทุนพัฒนาสถานีมักกะสัน และพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีรถไฟความเร็วสูงอื่นอีกประมาณ 80,000 ล้านบาท กำหนดราคาค่าโดยสาร 500 บาทต่อเที่ยวสำหรับเส้นทางด่วนพิเศษดอนเมือง-อู่ตะเภา และ 300 บาทต่อเที่ยวสำหรับเส้นทางด่วนพิเศษสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ขณะที่ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในเขตนอกเมือง และ160 กิโลเมตรที่ผ่านกรุงเทพชั้นใน
" การลงทุนจะใช้รูปแบบการร่วมลงทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน หรือพีพีพีที่ขณะนี้ร่างหลัก เกณฑ์ เงื่อนไขดังกล่าวต้องมีกฏหมายลำดับรอง 6 ฉบับ ขณะนี้เสร็จ 3 ฉบับและกำลังรออีก 3 ฉบับที่คาดว่าจะเสนอได้สัปดาห์หน้าและคาดว่าจะบังคับใช้ได้ในปลายปีนี้อย่างเร็วหรือต้นปีอย่างช้าซึ่งโครงการพื้นฐานต่างๆ ก็จะเดินหน้าตามระเบียบนี้ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 "นายคณิศกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 10/08/2017 10:53 am    Post subject: Reply with quote

อีอีซีทุ่ม2.8แสนล้าน รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
โดย ผู้จัดการรายวัน
10 สิงหาคม 2560 06:10 น.


บอร์ดอีอีซีกางแผนคมนาคมเตรียมเปิดพีพีพีลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ 2.8 แสนล้านบาท คาดเชิญชวนเอกชนลงทุนได้ปลายปีนี้ กำหนดค่าโดยสาร 300 บาทต่อเที่ยวสำหรับด่วนพิเศษสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา 500 บาทต่อเทียวเส้นทางด่วนพิเศษดอนเมือง-อู่ตะเภา

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(บอร์ดบริหารอีอีซี)ที่มี นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมรับทราบผลการศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินที่ประกอบด้วย อู่ตะเภา สุวรรณภูมิ ดอนเมือง แบบไร้รอยต่อ ของกระทรวงคมนาคม ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)ได้สรุปวงเงินลงทุนจำนวน 280,000 ล้านบาท แล้วและกำหนดรูปแบบให้เอกชนลงทุนร่วมภาครัฐ ซึ่งคาดว่าจะสามารถประกาศเชิญชวนให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนได้ภายในปลายปีนี้

ทั้งนี้การลงทุนก่อสร้างและให้บริการรถไฟความเร็วสูงประมาณ 200,000 ล้านบาท และรัฐลงทุนพัฒนาสถานีมักกะสัน และพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีรถไฟความเร็วสูงอื่นอีกประมาณ 80,000 ล้านบาท กำหนดราคาค่าโดยสาร 500 บาทต่อเที่ยวสำหรับเส้นทางด่วนพิเศษดอนเมือง-อู่ตะเภา และ 300 บาทต่อเที่ยวสำหรับเส้นทางด่วนพิเศษสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ขณะที่ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในเขตนอกเมือง และ160 กิโลเมตรที่ผ่านกรุงเทพชั้นใน

นอกจากนี้บอร์ดบริหารอีอีซียังรับทราบความคืบหน้าการจัดทำระเบียบการร่วมทุนเอกชนให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนในอีอีซี ที่ปัจจุบันร่างประกาศ เรื่องหลัก เกณฑ์ วิธิการ เงื่อนไข และกระบวนการในการร่วมลงทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน พ.ศ....(พีพีพี) ที่ต้องมีกฎหมายลำดับรอง 6 ฉบับ ขณะนี้

เสร็จแล้ว 3 ฉบับ คาดว่าจะเสนอสัปดาห์หน้าอีก 3 ฉบับจะได้รับการพิจารณาจากผู้เกี่ยวข้อง จากนั้นจะเสนอร่างประกาศฯต่อบอร์ดบริหาร และบอร์ดนโยบาย คาดว่าจะแล้วเสร็จและประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาบังคับใช้ได้ปลายเดือนธันวาคม 2560 สอดรับ 4 โครงสร้างพื้นฐานที่จะเข้าโครงการพีพีพีที่จะเริ่มประมูลตั้งแต่ปลายนี้ถึงต้นปี 2561 ประกอบด้วย รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3

ทั้งนี้บอร์ดบริหารอีอีซี ยังเห็นชอบความคืบหน้าโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา ที่ดำเนินการโดย การบินไทย จำกัด(มหาชน) โดยโครงการจะสร้างรายได้ให้ประเทศมากกว่า 3,500 ล้านบาทต่อปี โดยบอร์ดบริหารยังรับทราบว่ามีบริษัทต่างชาติสนใจและต้องการลงทุนศูนย์ซ่อม สนามบินอู่ตะเภาจำนวนมาก อาทิ แอร์บัส โบอิ้ง ซาบ มิตซูบิชิ และมีบริษัทจากเกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จึงมีมติให้สำนักงานการท่าอากาศยานอู่ตะเภาและ สำนักงานอีอีซี จัดหาพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อรับการลงทุนเพิ่มเติมจากโครงการของการบินไทย

นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) กล่าวว่า บอร์ดบริหารเห็นชอบหลักการ สำหรับหลักเกณฑ์การจัดตั้ง เขตส่งเสริมเพื่อกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยเอกชนที่สนใจลงทุนตั้งนิคมฯสามารถยื่นขอเป็นเขตส่งเสริมฯ ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ที่มีความพร้อมอยู่แล้วในอีอีซี 4 แห่ง ประกอบด้วย นิคมฯเหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด 4 รองรับอุตฯหุ่นยนต์ ยานยนต์อนาคต การบินและชิ้นส่วน นิคมฯอมตะ มีความพร้อมเป็นเมือง อัจฉริยะด้านการศึกษาและความรู้เทคโนโลยี และนิคมฯปิ่นทอง 5 รองรับอุตฯยานยนต์อนาคต โดยทั้ง 3 แห่งจะเสนอบอร์ดนโยบายอนุมัติเป็นเขตส่งเสริมต่อไป พื้นที่รวมประมาณ 15,000-16,000 ไร่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 10/08/2017 11:30 am    Post subject: Reply with quote

ชุมชนระยองหนุนพัฒนาอีอีซี จี้สร้างรถไฟความเร็วสูงขอสถานีลงมาบตาพุด
ออนไลน์เมื่อ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,281 วันที่ 23 - 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560






ชุมชนระยอง หนุนอีอีซี จี้ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เรียกร้องขอสถานีจอดที่มาบตาพุด พร้อมให้ภาครัฐจัดสรรงบประมาณเป็นการเฉพาะ สร้างสถานบริการให้เพียงพอ รองรับแรงงานทะลัก

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากการลงทุนพื้นที่รับฟังความคิดเห็นระดับชุมชนในจังหวัดระยอง ต่อการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี เมื่อช่วงกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีผู้แทนประมาณ 300 คนเข้าร่วม เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยต่อการพัฒนาอีอีซี และต้องการเห็นจังหวัดระยองได้รับการพัฒนาให้เป็นจังหวัดชั้นนำ


โดยมีความเห็นว่า ภาครัฐควรดูแลประชาชนชาวระยอง เนื่องจากเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศ โดยการจัดสรรงบประมาณดำเนินโครงการเป็นพิเศษ เนื่องจากยังมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาเดิมๆ ของจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นปัญหามลพิษ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ไฟฟ้าและประปายังไม่เพียงพอ ประชาชนโดยรอบโรงงานมีอาการเจ็บป่วย และมีประชากรแฝงจำนวนมากจากผู้ที่มาทำงานและครอบครัว

ทั้งนี้ ได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับทางคณะทำงานอีอีซีว่า ต้องการให้มีการสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงตรงพื้นที่มาบตาพุด เนื่องจากเป็นที่ตั้งของโรงงาน อุตสาหกรรมและมีประชากรในพื้นที่จำนวนมาก ควรให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก การพัฒนาคนและการศึกษาให้มีขีดความสามารถด้านการศึกษาวิจัย เพื่อรองรับกับการพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมในอีอีซี การส่งเสริมให้ชุมชนมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในรูปแบบสภาองค์กรชุมชนตำบล ขอให้พัฒนาโรงพยาบาล และโรงเรียน เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากรจากการพัฒนา และให้พัฒนาเมืองระยองเป็นเมืองอัจฉริยะ เพื่อรองรับการอยู่อาศัยของนักลงทุน

ทั้งนี้ จากความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ จะนำไปพิจารณาปรับปรุงและจัดลำดับความสำคัญโครงการ แล้วส่งให้สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(สกรศ.) เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการอีอีซี เสนอต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีต่อไป

นายอิทธิ แจ่มแจ้ง ประธานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนจังหวัดระยอง กล่าวว่า ข้อเสนอของชุมชน ต้องการให้โครงการรถไฟความเร็วสูง “กรุงเทพฯ-ระยอง” ระยะทาง 194 กิโลเมตร เริ่มดำเนินการโดยเร็วเพราะปัจจุบันพื้นที่มาบตาพุด เป็นแหล่งการพัฒนาอุตสาหกรรม ขาดระบบการขนส่งมวลชนที่ดี ทั้งที่เรื่องนี้ถูกกำหนดไว้ในแผนการพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ดในอดีต

โดยชุมชนต้องการให้ตั้งสถานีรถไฟไว้ทั้ง 2 แห่ง ได้แก่สถานีรถไฟความเร็วสูงสนามบินอู่ตะเภา เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการสนามบิน-กรุงเทพฯ- สุวรรณภูมิ โดยทางรถไฟความเร็วสูง สถานีรถไฟความเร็วสูงมาบตาพุด ระยอง เสนอให้ใช้บริเวณพื้นที่ตั้งสถานีรถไฟเดิมหรือใกล้ศูนย์ราชการจังหวัดระยอง โดยจะต้องหลีกเลี่ยงการตั้งสถานีไว้ในเขตชุมชนเมืองระยอง เพราะปัจจุบันมีปัญหาเรื่องอุทกภัยนํ้าท่วมในตัวเมืองระยอง และการจราจรติดขัดถึงขั้นวิกฤติยากต่อการแก้ไขอยู่แล้ว

อีกทั้งต้องเตรียมความพร้อมการให้บริการของหน่วยงานรัฐ เช่น โรงพยาบาล สถานีบริการทางด้านสุขภาพตำบล สถานศึกษา ยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น และมีการจัดสรรงบประมาณแบบสมดุล เนื่องจากในพื้นที่อีอีซี จะเกิดการหลั่งไหลของคนเข้ามาในพื้นที่จำนวนมากนอกเหนือจากประชากรที่เป็นจริงตามทะเบียนราษฎร์ หลายเท่าตัว

ดังนั้นการจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น ขยะล้นเมือง ระบบระบายนํ้า-นํ้าท่วมการจราจร สุขภาพชุมชน ปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมฯลฯ สมควรให้จัดงบประมาณสนับสนุนแบบสมดุลให้กับท้องถิ่น เทศบาลและอบจ. ซึ่งต่างจากพื้นที่อื่นที่จัดสรรงบประมาณแบบรายหัวประชากร

marut wrote:
เขารู้หรือเปล่าว่าสถานีระยองน่ะยกระดับบนถนนสาย 36 ไม่ได้ตั้งขวางทางน้ำ 5555

เอาจริงถ้าจะ "เพิ่ม" สถานีมาบตาพุด ผมก็เห็นด้วยนะ แต่ถ้าจะให้ "ย้าย" สถานีระยองไปอยู่ตรงมาบตาพุด ก็อย่าได้เรียกเมืองระยองว่า "เมืองอัจฉริยะ" เลย

เมืองเดิมแออัด ปัญหาเยอะ ให้เอาสถานีรถไฟไปไว้นอกเมือง สร้างเมืองใหม่ คือ ตรรกะแบบคนโบราณยุคขอมยุคพระเวทชมพูทวีปมากๆ เมืองเก่าปัญหาเยอะหรอ ทิ้งร้างซะ สร้างเมืองใหม่ดีกว่า แบบนี้เหรอ


boatzzz wrote:
ที่เค้าเชียร์สถานีมาบตาพุตเพราะตระกูล ปิตุ... เค้ารวมเงินซื้อที่ดินแถวตลาดลานปูน มาบตาพุตไว้ตั้งแต่มีข่าวรถไฟฟ้า กรุงเทพ-ระยอง แล้วครับ กว้านซื้อไว้หลักร้อยล้าน ต้องรอหมดยุคตระกูลนี้ระยองจะเจริญกว่านี้คับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 10/08/2017 1:07 pm    Post subject: Reply with quote

คลอดผลการศึกษารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-ระยอง
ฐานเศรษฐกิจ
9 สิงหาคม 2560

บอร์ดบริหารอีอีซี รับทราบผลการศึกษารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง ลงทุน 2.8 แสนล้านบาท สร้างเสร็จปี 2566 เก็บค่าโดยสาร 300-500 บาทต่อเที่ยว พร้อมสั่งขยายพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภารองรับการลงทุนเพิ่ม


นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กรศ.) เปิดเผยภายหลังการประชุม กรศ.มีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ศึกษาแนวทางที่รถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยง 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อเสร็จแล้ว โดยรถไฟความเร็วสูงนี้จะวิ่งรับส่งผู้โดยสารจากสนามบินดอนเมือง-สนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภาและพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี โดยไม่ต้องเปลี่ยนขบวน และใช้เวลาเดินทางระหว่างสนามบินสุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา 45 นาที โดยมีสถานีมักกะสันเป็นสถานีกลางของรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

โดยในส่วนช่วงที่ผ่านกรุงเทพชั้นในจะใช้ความเร็วที่ 160 กม./ชม. และจะวิ่งความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม. ในเขตนอกเมือง และมีรถด่วนพิเศษเชื่อม 3 สนามบิน และรถธรรมดาที่จอด 10 สถานีระหว่างทาง ส่วนรูปแบบการลงทุนจะให้เอกชนลงทุนทั้งหมด ประกอบด้วย การก่อสร้าง และให้บริการรถไฟความเร็วสูงมูลค่าประมาณ 2 แสนล้านบาท และลงทุนพัฒนาสถานีมักกะสัน รวมทั้งพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงอื่นๆใช้งบก่อสร้างประมาณ 8 หมื่นล้านบาท รวมเงินลงทุนทั้งโครงการประมาณ 2.8 แสนล้านบาท

สำหรับโครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการตามระเบียบการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนแล้วตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และจะประสานงานให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออกที่สนามบินอู่ตะเภา เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันทันทีที่ 2 โครงการแล้วเสร็จในปี 2566 ซึ่งคาดว่าจะออกหนังสือชี้ชวนการลงทุน (ทีโออาร์) ได้ภายในปลายปีนี้ และเริ่มประมูลได้ในช่วงต้นปีหน้า

“จากการประเมินเบื้องต้น คาดว่าค่าโดยสารรถระหว่างสนามบินดอนเมืองไปยังสนามบินอู่ตะเภาจะอยู่ที่ 500 บาทต่อเที่ยว และจากสนามบินสุวรรณภูมิไปยังสนามบินอู่ตะเภาค่าโดยสารอยู่ที่ 300 บาทต่อเที่ยว ซึ่งใกล้เคียงกับค่าโดยสารทางรถสาธารณะในปัจจุบัน แต่มีความรวดเร็ว และสะดวกสบายมากกว่า”

นายคณิศ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานเดินหน้าได้รวดเร็ว คณะอนุกรรมการจัดทำระเบียบการร่วมทุนเอกชนในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (คณะอนุกรรมการ พีพีพี) และสำนักนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้จัดทำร่างกฎหมายลำดับรองที่จำเป็นในการทำงาน 3 ฉบับ ได้แก่ 1. ร่างกฎหมายลำดับรองเรื่อง รูปแบบและรายละเอียดของรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ รวมถึงแนวทางและวิธีการในการสนับสนุนเอกชน 2. ร่างกฎหมายลำดับรองเรื่อง คุณสมบัติที่ปรึกษา และ3. ร่างกฎหมายลำดับรอง เรื่องการประกาศเชิญชวน วิธีประกาศเชิญชวน วิธีการคัดเลือกของคณะกรรมการคัดเลือก และหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเอกชน

โดยโครงการร่วมลงทุนเอกชนที่จะเร่งรัดในโครงการอีอีซี จะมี 4 โครงการ คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยง 3 สนามบิน และโครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 ซึ่งความคืบหน้าของทั้ง 2 โครงการนี้ได้จำทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเสร็จแล้ว ส่วนอีก 2 โครงการ คือ โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำผลศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

นายคณิศ กล่าวว่า ที่ประชุม กรศ. ยังมีมติให้กองทัพเรือ สำนักงานการท่าอากาศยานอู่ตะเภา และสำนักงาน อีอีซี ไปดำเนินการจัดหาพื้นที่เพิ่มเติมสำหรับการลงทุนศูนย์ซ่อมอากาศยาน และอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน เนื่องจากมีนักลงทุนต่างชาติหลายรายสนใจเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ เช่น โบอิ้ง ซาบ มิตซูบิชิ บริษัทผลิตชิ้นส่วนอากาศยานจากเกาหลีใต้ และสิงคโปร์ เป็นต้น ซึ่งแต่เดิม ได้จัดเตรียมพื้นที่รองรับเฉพาะโครงการร่วมลงทุนของการบินไทยกับแอร์บัส ดังนั้นจึงจำเป็นต้องขยายพื้นที่เพื่อรองรับนักลงทุนเหล่านี้เพิ่มเติม

สำหรับโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา จะประกอบด้วยโรงซ่อมเครื่องบินแห่งใหม่ภายใต้แนวคิด Smart Hangar รองรับการซ่อมบำรุงอากาศยานยุคใหม่ โดยเฉพาะ Airbus A350 และยังประกอบด้วยส่วนสำคัญอื่นๆ เช่น โรงซ่อมวัสดุคอมโพสิต ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของลำตัวเครื่องบินสมัยใหม่ ศูนย์อะไหล่ชิ้นส่วน และอุปกรณ์อากาศยาน พร้อมศูนย์ฝึกช่างอากาศยานชั้นสูง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/08/2017 5:24 pm    Post subject: Reply with quote

อาคมลงพ.ท.ตรวจแนวก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-โคราช
ฐานเศรษฐกิจ 13 August 2017

Click on the image for full size

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ลงพื้นตรวจแนวเส้นทางการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม และนายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่ตรวจแนวเส้นทางการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะที่ 1 ตั้งแต่สถานีรถไฟกลางดง จนถึง สถานีรถไฟปางอโศก ตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ด้วยรถยนต์รางสำรวจเส้นทางรถไฟ ระยะทาง 5 กิโลเมตร โดยมี ผู้บริหารหน่วยงานสังกัดกระทรวงฯ การรถไฟแห่งประเทศไทย กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบทในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ให้การต้อนรับ ในวันที่ 13 สิงหาคม 2560
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/08/2017 2:29 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูง “ดอนเมือง-อู่ตะเภา” ลงทุน3แสนล้าน สัมปทาน50ปี
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 14 สิงหาคม 2560 - 13:25 น.

ค่าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมอีอีซีบาน 3 หมื่นล้าน ร.ฟ.ท.ปรับแบบวิ่งเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ดึงเอกชนลงทุน 3 แสนล้านทั้งโครงการ รับสัมปทาน 50 ปี เพิ่มออปชั่นจูงใจได้สิทธิพัฒนาที่มักกะสัน 204 ไร่ พ่วงเชิงพาณิชย์รอบ 10 สถานี มีบริการ 2 ระบบ “City Line และรถด่วนพิเศษ” ใช้เวลาเดินทาง 1-2 ชั่วโมง ดีเดย์ พ.ย.ขายทีโออาร์

ตอกเข็มปลายปีหน้า เปิดใช้ปี”66 ผู้โดยสาร 169,500 เที่ยวคน/วัน

นายจเร รุ่งฐานีย รองผู้ว่าการกลุ่มบริหารรถไฟฟ้า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อวันที่ 9 ส.ค.2560 ได้รายงานความก้าวหน้าต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ถึงผลการศึกษาควบรวมโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ กับรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-ระยอง ให้เป็นโครงการเดียวกัน มีผู้เดินรถรายเดียวกัน เพื่อเชื่อมการเดินทาง 3 สนามบิน คือ สนามบินดอนเมือง-สนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา อย่างไร้รอยต่อ


ผลสรุปการศึกษาโครงการจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร เป็นระบบรถไฟความเร็วสูง แบ่ง 2 ช่วง คือ พญาไท-ดอนเมืองและลาดกระบัง-ระยอง พร้อมทางรถไฟเชื่อมเข้าออกสนามบิน รวมระยะทาง 260 กม. มี 10 สถานี ได้แก่ ดอนเมือง บางซื่อ มักกะสัน สุวรรณภูมิ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา อู่ตะเภา และระยอง

โดยการเดินรถช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ ความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. ช่วงลาดกระบัง-ระยอง ความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม. ระยะเวลาเดินทางหากจอดทุกสถานีจากดอนเมือง-ระยอง ประมาณ 2 ชม. ส่วนขบวนรถด่วนพิเศษจากดอนเมือง-อู่ตะเภา ประมาณ 1 ชม. อัตราค่าโดยสาร City Line เริ่มต้น 13 บาท คิดเพิ่ม 2 บาท/กม. ขณะที่รถไฟความเร็วสูง เริ่มต้น 20 บาท คิดเพิ่ม 1.8 บาท/กม.



รูปแบบจะเป็นทางยกระดับสองทางวิ่ง มีอุโมงค์ทางคู่ 3 ช่วง ได้แก่ บริเวณ ถ.พระราม 6-ถ.ระนอง 1, เข้าออกสถานีสุวรรณภูมิ, ผ่านเขาชีจรรย์และเข้าออกสถานีอู่ตะเภา มีศูนย์ซ่อมบำรุงเดิมที่คลองตัน รองรับรถไฟ City Line และศูนย์ซ่อมบำรุงใหม่ที่ฉะเชิงเทรา 400 ไร่ รองรับรถไฟความเร็วสูง

“จะให้เอกชนลงทุน รูปแบบ PPP Net Cost เป็นระยะเวลา 50 ปี วงเงินกว่า 308,000 ล้านบาท ทั้งงานโยธาและระบบรถไฟฟ้า วงเงิน 226,000 ล้านบาท และได้สิทธิพัฒนาพื้นที่สถานีมักกะสัน 204 ไร่ ให้เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงกรุงเทพฯกับอีอีซี หรือการเป็น “EEC Gateway” รวมถึงพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง วงเงิน 82,000 ล้านบาท เป็นการจูงใจเอกชนมาลงทุน ซี่งโครงการมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 12.8% และทางการเงิน 2.4%”

ทั้งนี้เงินลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 30,000 ล้านบาท เนื่องจากมีการปรับแบบก่อสร้างให้สามารถวิ่งเข้าสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินอู่ตะเภา รวมถึงปรับปรุงรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์เดิมให้รองรับรถไฟความเร็วสูงได้ด้วย คาดว่าจะเริ่มประกาศขายทีโออาร์ประมาณเดือน พ.ย.นี้ จะได้เอกชนผู้ลงทุนและเริ่มงานก่อสร้างได้ช่วงปลายปี 2561 แล้วเสร็จเปิดบริการกลางปี 2566 คาดว่ามีผู้โดยสารอยู่ที่ 169,550 เที่ยวคนต่อวัน


Last edited by Mongwin on 15/08/2017 12:51 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 14/08/2017 9:55 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถไฟความเร็วสูง “ดอนเมือง-อู่ตะเภา” ลงทุน3แสนล้าน สัมปทาน50ปี
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 14 สิงหาคม 2560 - 13:25 น.


อย่าลืม Link ครับ -
https://www.prachachat.net/property/news-21905

30000 ล้านบาทที่เกินมาเพื่อ ให้รถไฟความไวสูงเข้าสู่สนามบินสุวรรณภูมิ และ
สนา่มบินอู่ตะเภา โดยตรง ก็ถือว่าไม่เลวร้ายนัก
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/08/2017 10:06 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณมากครับ Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/08/2017 12:41 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ขอแจงรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน
บ้านเมือง วันอังคาร ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2560, 12.22 น.

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ชี้แจงประเด็น ข้อสังเกตโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ประกอบด้วย สนามบินอู่ตะเภา สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง มีแผนการเดินรถโดยให้รถไฟความเร็วสูงวิ่งจากสนามบินดอนเมือง ผ่านเข้าสถานีมักกะสันก่อนจะวิ่งต่อไปที่สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา ตามลำดับ เอื้อประโยชน์ให้เอกชนได้ประโยชน์จากการใช้ที่ดินย่านมักกะสันในเชิงการค้าพาณิชย์หรือไม่ ซึ่งเป็นที่ดินอันได้มาจากการเวนคืน เป็นการขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายและขัดรัฐธรรมนูญ รวมถึงหลักความเป็นธรรม นั้น

นายอานนท์ กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน Airport Rail Link ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างส่วนต่อขยายจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และก่อสร้างส่วนต่อขยายจากสถานีลาดกระบัง ไปยังสนามบินอู่ตะเภาและ จ.ระยอง การเดินรถผ่านสถานีมักกะสัน โดยใช้โครงสร้างเดิมของ Airport Rail Link และใช้เขตทางเดิมของการรถไฟ ที่มีอยู่จะทำให้ลดภาระค่าก่อสร้างลงได้อย่างมาก หากเปิดแนวเส้นทางใหม่ จะส่งผลกระทบในหลายด้าน จำเป็นต้องเวนคืนที่ดินในเขตใจกลางเมือง ทำให้ค่าก่อสร้างของโครงการสูงขึ้นมาก นอกจากนี้ ที่ดินบริเวณย่านมักกะสันของการรถไฟ อยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการของการรถไฟ โดยจะเปิดให้เอกชนเช่าใช้พื้นที่ในช่วงระยะเวลาหนึ่งโดยจ่ายผลตอบแทนให้การรถไฟ ในอัตราที่เหมาะสมและเป็นธรรมตามศักยภาพของพื้นที่ โดยกรรมสิทธิ์ที่ดินยังเป็นของการรถไฟ การมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงผ่านที่ดินย่านมักกะสันจะส่งผลให้การพัฒนาพื้นที่มีศักยภาพสูงขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะเกื้อกูลให้ผลตอบแทนจากการร่วมลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินมีค่าสูงขึ้น ลดภาระค่าชดเชยโครงการของภาครัฐในอีกทางหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ที่ดินบริเวณย่านมักกะสัน ที่การรถไฟ ได้มาโดยพระบรมราชโองการ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา และประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาที่ดินหลายบทบัญญัติ ซึ่งการรถไฟฯ ได้เคยหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับประเด็นการนำที่ดินของการรถไฟฯ บริเวณโรงงานมักกะสันไปทำโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์

โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีคำวินิจฉัยเรื่องเสร็จที่ 1597/2559 เมื่อพฤศจิกายน 2559 สรุปได้ว่าที่ดินที่ได้มาโดยบทบัญญัติดังกล่าว ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมรถไฟที่จะใช้ตามวัตถุประสงค์ของกรมรถไฟได้ ต่อมาเมื่อที่ดินนั้นโอนมาเป็นของการรถไฟ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 การรถไฟ ย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับกรมรถไฟ และสามารถนำที่ดินดังกล่าวมาดำเนินการใด ๆ ตามวัตถุประสงค์ของการรถไฟฯ ได้ สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในการจัดหาที่ดินมาให้กรมรถไฟนั้น เป็นเพียงวัตถุประสงค์เบื้องต้น เมื่อกาลเวลาได้ล่วงเลยไปหมดความจำเป็นที่จะดำเนินการตามวัตถุประสงค์เดิม หรือมีความจำเป็นต้องนำที่ดินนั้นไปใช้ทำกิจการอื่นใด ก็ย่อมเป็นไปตามวิวัฒนาการขององค์กรที่เป็นเจ้าของที่ดิน หรือความจำเป็นของประเทศได้ ดังนั้นเมื่อการรถไฟฯ มีอำนาจในการจัดการและนำมาซึ่งความเจริญของกิจการรถไฟ เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน และธุรกิจอื่นซึ่งเป็นประโยชน์แก่กิจการรถไฟ ซึ่งรวมถึงการให้เช่าและดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินใด ๆ ตามมาตรา 6 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 การนำที่ดินบริเวณโรงงานมักกะสันไปทำโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ จึงสามารถดำเนินการได้โดยไม่ขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายและขัดรัฐธรรมนูญ รวมถึงหลักความเป็นธรรม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 223, 224, 225 ... 542, 543, 544  Next
Page 224 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©