Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179508
ทั้งหมด:13490740
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวความคืบหน้าโครงการทางรถไฟสายนครพนม
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวความคืบหน้าโครงการทางรถไฟสายนครพนม
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 18, 19, 20 ... 43, 44, 45  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/08/2017 11:37 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคม เตรียมชงรถไฟทางคู่ บ้านไผ่-นครพนม ต.ค. นี้
เรื่องโดย Nation TV | ภาพโดย Nation TV19 สิงหาคม 2560 11:03 น.

กระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอ ครม.พิจารณารถไฟทางคู่ ช่วงบ้านไผ่-นครพนม วงเงิน 65,738 ล้าน ต.ค.นี้ คาดจะเริ่มก่อสร้างปลายปี 61 ใช้เวลาก่อสร้าง 7 ปีรองโฆษกกระทรวงคมนาคม สรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ บอกว่า กระทรวงได้ประชุมหารือร่วมกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อพิจารณรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงบ้านไผ่-นครพนม 354 กิโลเมตร วงเงิน 65,738 ล้านบาท ซึ่งที่ประชุมขอให้ ร.ฟ.ท.ปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติม ใน 3 ประเด็น เพราะเป็นเส้นทางรถไฟที่สร้างขึ้นใหม่
1. การเวนคืนที่ดินเท่าที่จำเป็นต่อการก่อสร้าง
2. ปรับปรุงฐานข้อมูลเกี่ยวกับอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจให้เป็นปัจจุบัน และ
3. ให้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตลอดแนวเส้นทาง เป็นเส้นทางรถไฟที่สร้างขึ้นใหม่

ทั้งนี้จะเสนอข้อมูลทั้งหมดอีกครั้ง ช่วงกลางเดือน ก.ย. นี้ โดยคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาช่วงตุลาคม เริ่มก่อสร้างปลายปี 2561 ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 7 ปี


https://www.youtube.com/watch?v=grXyZoAHDcM
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 20/08/2017 12:18 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คมนาคม เตรียมชงรถไฟทางคู่ บ้านไผ่-นครพนม ต.ค. นี้
เรื่องโดย Nation TV | ภาพโดย Nation TV19 สิงหาคม 2560 11:03 น.


เคาะทางคู่บ้านไผ่6.5หมื่นล.
โพสต์ทูเดย์
19 สิงหาคม 2560 เวลา 09:35 น.

คมนาคมจ่อชง ครม.โครงการรถไฟทางคู่บ้านไผ่-นครพนม 6.5 หมื่นล้านบาท หลังทบทวนค่าเวนคืน-แผนพัฒนาอสังหาฯ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/08/2017 7:50 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

รถไฟทางคู่สายใหม่(บ้านไผ่-นครพนม) เพิ่มความสะดวกขนส่งสินค้าและโดยสาร
ฐานเศรษฐกิจ 22 August 2017

นับตั้งแต่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ลงนามสัญญาว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาสำรวจ ออกแบบรายละเอียด ทางวิศวกรรมและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม โดยออกแบบแล้วเสร็จเมื่อปี 2557 แต่ยังต้องดำเนินการขออนุมัติด้านอีไอเออีกประมาณ 6 เดือน ปัจจุบันโครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างเร่งสรุปรายละเอียดเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติเปิดประ กวดราคาก่อสร้างในช่วงปลายปี 2560 หรือช่วงต้นปี 2561

โดยตามผลการศึกษาพบว่าแนวเส้นทางส่วนใหญ่จะผ่านพื้นที่ว่างเปล่า ทุ่งนา ไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง ไม่ผ่านพื้นที่ป่าสงวน การเวนคืนจึงไม่ยุ่งยากและใช้งบประมาณไม่มาก อีกทั้งยังจะเป็นเส้นทางที่เปลี่ยนการเดินทางของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากปัจจุบันที่ใช้รถยนต์เป็นหลักและเกิดอุบัติเหตุบ่อย มาเป็นรถไฟที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและปลอดภัยกว่า แนวเส้นทางจะเลียบชานเมือง ไม่ผ่านชุมชนหนาแน่น มีแนวเขตทางประมาณ 80 เมตรและมีจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้า 2 แห่งที่มุกดาหารและนครพนม ใกล้สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม-คำม่วน) เพื่อรองรับสินค้าจากจีนและลาวอีกด้วย

Click on the image for full size

โครงการดังกล่าวมีระยะทาง 347 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้วงเงินลงทุนประมาณ 4.2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 3.8 หมื่นล้านบาท ค่าเวนคืนประมาณ 3,000 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาประมาณ 700 ล้านบาท มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ประมาณ 12.3% แนวเส้นทางครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม มี 14 สถานี เริ่มจากสถานีบ้านไผ่ กุดรัง บรบือ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เชียงขวัญ โพนทอง หนองพอก นิคมคำสร้อย มุกดาหาร หว้านใหญ่ ธาตุพนม เรณูนคร และสิ้นสุดที่สถานีนครพนม

ทั้งนี้ตามผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่ารูปแบบโครงการเป็นเส้นทางสายใหม่ ไม่มีเขตทางเดิมจึงต้องเวนคืนใหม่ตลอดแนว เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการจะสามารถเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าและนักท่องเที่ยวจากลาวไปสู่จีนได้สะดวกขึ้นโดยจะใช้ระบบรถไฟดีเซลให้บริการด้วยความเร็ว 160 กม./ชม.

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,289 วันที่ 20 - 23 สิงหาคม พ.ศ. 2560
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/09/2017 9:44 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ชงครม.รถไฟทางคู่บ้านไผ่-นครพนม ตค.
INN News วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน พ.ศ.2560 7:34 น.

รฟท. เตรียมชง ครม.เห็นชอบรถไฟทางคู่บ้านไผ่-นครพนม วงเงิน 65,738 ล้าน ต.ค.นี้ คาดจะเริ่มก่อสร้างปลายปี 61

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับสำนักข่าว INN ว่า รฟท. ได้พิจารณารายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงบ้านไผ่-นครพนม 354 กิโลเมตร วงเงิน 65,738 ล้านบาท โดยได้ปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติม ใน 3 ประเด็น ประกอบด้วย การเวนคืนที่ดินเท่าที่จำเป็นต่อการก่อสร้าง ปรับปรุงฐานข้อมูลเกี่ยวกับอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจให้เป็นปัจจุบัน และ ให้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตลอดแนวเส้นทาง เป็นเส้นทางรถไฟที่สร้างขึ้นใหม่

ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถสรุปข้อมูลทั้งหมดและให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา ภายในเดือน ก.ย. นี้ และคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีในเดือน ต.ค. ปี 60 จากนั้นจะเริ่มก่อสร้างปลายปี 2561 ตามแผนงานใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 7 ปี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/09/2017 8:17 am    Post subject: Reply with quote

โครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม
Buncha Yochai Published on Mar 30, 2017


https://www.youtube.com/watch?v=3ENs6_nOTAk
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/10/2017 7:19 pm    Post subject: Reply with quote

กระทรวงคมนาคม เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งในพื้นที่เขตเศรษฐกิจมุกดาหาร เพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 11 ต.ค. 2560

กระทรวงคมนาคม เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งในพื้นที่เขตเศรษฐกิจมุกดาหาร เพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ

นายชัยวัฒน์ ทองคำคุณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. เปิดเผยภายหลังการประชุมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งในพื้นที่เขตเศรษฐกิจมุกดาหาร โดยมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุม ว่า ที่ประชุมได้มีการหารือร่วมกัน 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมการขนส่งทางบก การรถไฟแห่งประเทศไทย กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท กรมการขนส่งทางบก ถึงแนวทางการก่อสร้างสถานีขนส่งสินค้าที่จังหวัดมุกดาหาร ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมการขนส่งทางบก และโครงการก่อสร้างย่านกองเก็บสินค้า หรือ CY ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงบ้านไผ่ – มุกดาหาร – นครพนม ที่อยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. แผนการก่อสร้างเดิมตำแหน่งที่ตั้งของ CY อยู่ห่างไกลกับสถานีขนส่งสินค้า กระทรวงคมนาคม เห็นว่ากิจกรรมของ CY และสถานีขนส่งสินค้าควรจะอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน จึงมอบหมายให้ สนข. ดำเนินการรวบรวมแผนการก่อสร้างของทั้ง 4 หน่วยงานมาเป็นแผนเดียวกัน โดยกรมทางหลวงชนบทดำเนินการก่อสร้างถนนรองรับการขนส่งสินค้าเป็นถนน 6 ช่องจราจร รวมทั้งสะพานข้ามทางรถไฟเพื่อไม่ให้มีจุดตัดทางรถไฟกับถนน เช่นเดียวกับกรมทางหลวงทำถนนยกข้ามพื้นที่ไม่ให้มีจุดตัดทางรถไฟ ทั้งนี้หากสถานีขนส่งทั้ง 2 แห่งมาอยู่จุดเดียวกันจะช่วยประหยัดงบประมาณในการลงทุน และยังส่งผลให้ประสิทธิภาพในการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 02/11/2017 1:38 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” ชงครม.อนุมัติ ลงทุนโครงการระบบรางเกือบ 6 แสนล้าน บ้านไผ่-นครพนม 65,738.91 ล้าน ขอนแก่น-หนองคาย 26,662.40 ล้าน

ขอขอบคุณข่าวจาก หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

“คมนาคม” จ่อชง “ครม.” ส่งท้ายปี 60 ขออนุมัติโครงการระบบรางเกือบ 6 แสนล้านบาท ทั้งทางคู่เฟสสอง 7 สาย ทางคู่สายใหม่ 2 สาย และรถไฟฟ้าสีส้มตะวันตก ก่อนทยอยเปิดประมูลไตรมาสแรกปี 61


นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (ด้านโครงสร้างพื้นฐาน) เปิดเผยว่า ภายในปลายปีนี้คาดว่าจะสามารถเสนอโครงการก่อสร้างระบบรางวงเงินรวมกว่า 5.94 แสนล้านบาท ไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติโครงการได้ ประกอบด้วย รถไฟทางคู่เฟส 2 จำนวน 7 สายทาง วงเงินรวมประมาณ 3.2 แสนล้านบาท และทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง วงเงินรวม 1.51 แสนล้านบาท โดยเฉพาะทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง คือ ช่วงบ้านไผ่-นครพนม วงเงิน 65,738.91 ล้านบาท และช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 85,345 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้สายเด่นชัยฯอยู่ระหว่างรอเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แล้ว

ส่วนสายบ้านไผ่ฯ ล่าสุดการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้นำส่งมายังสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แล้ว จากนั้น สนข.จะนำส่งมายังกระทรวงคมนาคมพิจารณา และขอความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนนำส่งบอร์ด สศช. และ ครม. จึงมั่นใจว่าทั้ง 2 สายทางนี้จะสามารถนำส่ง ครม.ได้ภายในปลายปีนี้แน่นอน

สำหรับทางคู่เฟส 2 จำนวน 7 สายทางนั้น ทาง ร.ฟ.ท.ได้นำส่งมายัง สนข.แล้ว แต่ สนข.ได้ส่งกลับไปให้ทบทวนรายละเอียดเพิ่มเติม โดยเฉพาะการคำนวณค่าเวนคืนที่ดิน เนื่องจาก ร.ฟ.ท.ยังใช้ผลการศึกษาเก่า ขณะที่กรมธนารักษ์มีการประกาศราคาประเมินใหม่ระหว่างปี 2559-2562 แล้ว



ทั้งนี้ หาก ร.ฟ.ท.จัดทำรายละเอียดเสร็จและสามารถนำส่งมายังกระทรวงคมนาคมได้ภายในกลางเดือนพฤศจิกายนนี้ เชื่อว่าจะสามารถนำส่งที่ประชุม ครม.ได้ภายในปลายปีนี้เช่นกัน โดยรถไฟทางคู่เฟส 2 ประกอบด้วย 1.ทางคู่ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย วงเงิน 62,624.17 ล้านบาท 2.ทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี วงเงิน 37,431.22 ล้านบาท 3.ทางคู่ช่วงขอนแก่น-หนองคาย วงเงิน 26,662.40 ล้านบาท 4.ทางคู่ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี 24,293.54 ล้านบาท 5.ทางคู่ช่วงสุราษฎร์ธานี-สงขลา วงเงิน 51,823.28 ล้านบาท 6. ทางคู่ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ วงเงิน 57,374.70 ล้านบาท 7.ทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ วงเงิน 59,924.24 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย วงเงิน 123,354 ล้านบาท ซึ่งล่าสุดทราบว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้จัดทำผลการศึกษาการลงทุนงานระบบและเดินรถ ในรูปแบบรัฐและเอกชนร่วมลงทุน (PPP) เรียบร้อยแล้ว และจำเสนอบอร์ด รฟม.กลางเดือนนี้ คาดว่าจะสามารถนำส่งมายังกระทรวงคมนาคมได้ภายในเดือนธันวาคม 2560

นายพีระพล กล่าวต่อว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2561 (ม.ค.-มี.ค.) คาดว่าจะทยอยเปิดประกวดราคารถไฟทางคู่เฟส 2 และทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง งานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก และโครงการก่อสร้างทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวน รอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 31,244 ล้านบาท ซึ่งเหตุที่โครงการก่อสร้างทางพิเศษสายพระราม 3 เปิดประกวดราคาล่าช้ากว่าแผนที่วางไว้ว่าจะเปิดประกวดราคาได้ภายในเดือนตุลาคม 2560 นั้น เนื่องจากกรมบัญชีกลางประกาศใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดซื้อจัดจ้างใหม่ จึงต้องทำการศึกษา พ.ร.บ.ใหม่และปรับรูปแบบการประกวดราคาให้สอดคล้องกันก่อน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/12/2017 1:02 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเข็นรถไฟทางคู่-สีแดงต่อขยาย ชง ครม.ต้นปี 61 ลุยประมูล 5.2 แสนล้าน
เผยแพร่: 6 ธ.ค. 2560 07:53:00 ปรับปรุง: 6 ธ.ค. 2560 09:53:00 โดย: MGR Online

คมนาคมคาดชงรถไฟทางคู่ ระยะ 2 และรถไฟสายสีแดงต่อขยาย วงเงินกว่า 5.2 แสนล้านเข้า ครม.อนุมัติได้ในต้นปี 61 ขณะที่ ร.ฟ.ท.พร้อมเดินหน้าประมูลหาผู้รับจ้างก่อสร้างทันที ส่วนรถไฟฟ้าสีส้ม ตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-ตลิ่งชัน และสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 เร่ง รฟม.ศึกษา PPP ร่วมทุนการเดินรถ

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง (Action Plan) ปี 2560 จำนวน 36 โครงการ วงเงินลงทุน 895,757.55 ล้านบาท ว่า ในส่วนของระบบรางในความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จำนวน 12 โครงการ วงเงิน 524,635.36 ล้านบาทนั้น อยู่ระหว่างสอบถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) 3 โครงการ คือ รถไฟสายสีแดงเข้ม รังสิต-มธ.รังสิต วงเงิน 7,596.94 ล้านบาท สายสีแดงอ่อน ศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 17,671.61 ล้านบาท รถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงเด่นชัย-เชียงของ วงเงิน 85,345 ล้านบาท

ส่วนรถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ วงเงิน 57,374.70 ล้านบาท ร.ฟ.ท.ทำข้อมูลครบแล้ว กำลังเตรียมสอบถามความเห็นหน่วยงาน ส่วนที่เหลือ ร.ฟ.ท.เตรียมทยอยทำข้อมูลเพิ่มเติมเสนอมายังกระทรวงคมนาคม ได้แก่ ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี วงเงิน 24,293.54 ล้านบาท ช่วงสุราษฎร์ธานี-สงขลา วงเงิน 51,823.28 ล้านบาท ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ วงเงิน 57,374.70 ล้านบาท ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย วงเงิน 62,624.17 ล้านบาท ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี วงเงิน 37,431.22 ล้านบาท ช่วงขอนแก่น-หนองคาย วงเงิน 26,662.40 ล้านบาท ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ วงเงิน 59,924.24 ล้านบาท และทางคู่สายใหม่ ช่วงบ้านไผ่-นครพนม วงเงิน 65,738.91 ล้านบาท

คาดว่าจะสามารถทยอยนำเสนอ ครม.ขออนุมัติได้หมดภายในต้นปี 2561 หาก ครม.เห็นชอบจะสามารถเปิดประมูลได้ทันที ซึ่งภายในเดือน ธ.ค.นี้ กระทรวงคมนาคมจะติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขณะนี้ รฟม.อยู่ระหว่างศึกษาเดินรถ รูปแบบการลงทุน PPP โดยรถไฟฟ้าสายสีส้ม ด้านตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 16.4 กม. วงเงินลงทุน 109,342 ล้านบาทนั้น รฟม.ศึกษา PPP การเดินรถตลอดสาย ทั้งด้านตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งอาจจะรวมการลงทุนโยธาในส่วนของสายสีส้มด้านตะวันตกไปด้วยหรือไม่ ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 วงเงิน 21,197 ล้านบาทนั้น รฟม.อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบการลงทุนและการเดินรถเช่นกัน

รายงานข่าวแจ้งว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ รฟม.ศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบการลงทุนรถไฟฟ้าให้รอบคอบและลดภาระการลงทุนของภาครัฐ ซึ่งในส่วนของสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 นั้นมีระยะทางประมาณ 8 กม. การหาผู้เดินรถรายใหม่อาจจะไม่จูงใจในการลงทุน อาจต้องศึกษาความเป็นไปได้กรณีให้ผู้เดินรถสายสีน้ำเงิน คือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM รับดำเนินการก่อสร้างและเดินรถต่อเนื่องอีกทางเลือกหนึ่งด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/12/2017 9:33 am    Post subject: Reply with quote

“สมคิด” เซ็นปิดดีลทางคู่ 6.9 หมื่นล้าน ต้นปีหน้าโหมสร้างเหนือจดใต้ 702 กม.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 28 ธันวาคม 2560 - 15:23 น.

“สมคิด” เซ็นปิดดีลทางคู่ 6.9 หมื่นล้าน ต้นปีหน้าโหมสร้างเหนือจดใต้ 702 กม. ขอเอกชนกล้าๆ ลงทุนโค้งสุดท้ายรัฐบาลคสช.

ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 28 ธ.ค.2560 การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ได้เซ็นสัญญาก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทางกับบริษัทผู้รับเหมาทั้ง 9 สัญญา รวมระยะทาง 702 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 69,531 ล้านบาท

ประกอบด้วย1. ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 145 กิโลเมตร แบ่งเป็น 2 สัญญาก่อสร้างใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 48 เดือน สัญญา1ช่วงบ้านกลับ-โคกกระเทียม วงเงิน 10,050ล้านบาทและสัญญา2ท่าแค-ปากน้ำโพ วงเงิน8,649ล้านบาท มีกิจการร่วมค้ายูเอ็น-เอสเอช(บมจ.ยูนิคเอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น)ก่อสร้าง

2.มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 136 กิโลเมตร มี 2 สัญญาก่อสร้าง ใช้เวลาดำเนินการ 48 เดือน ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร วงเงิน 7,560ล้านบาทและสัญญา3งานอุโมงค์ วงเงิน9,290ล้านบาท มีบมจ.อิตาเลียนไทยดีเวลลอปเมนต์และกิจการร่วมค้าไอทีดี-อาร์ทีเป็นผู้ก่อสร้าง

3.ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 169 กิโลเมตร มี 2 สัญญาก่อสร้าง ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 36 เดือน สัญญา1 ช่วงนครปฐม-หนองปลาไหล วงเงิน8,198ล้านบาทและสัญญา2ช่วงหนองปลาไหล-หัวหิน วงเงิน 7,520 ล้านบาทมีบจ.เอเอส แอสโซซิเอทเอนยิเนียริ่ง1964 และบมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งฯเป็นผู้ก่อสร้าง

4.ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 84 กิโลเมตร มี 2 สัญญา วงเงิน 5,807 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 30 เดือน มีบมจ.อิตาเลียนไทยฯก่อสร้าง

และ5.ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 168 กิโลเมตร มี 2 สัญญา ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 36 เดือน งานสัญญาที่1ช่วงประจวบ-บางสะพานน้อย วงเงิน 6,465 ล้านบาทและสัญญาที่2ช่วงบางสะพานน้อย-ชุมพร วงเงิน 5,992ล้านบาท มีกิจการร่วมค้าเคเอส-ซีและกิจการร่วมค้าเอสทีทีพี เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคมและรักษาการผู้ว่าการรถไฟฯ กล่าวว่า ปัจจุบันมีรถไฟทางคู่กำลังก่อสร้าง2โครงการได้แก่ สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอยและสายจิระ-ขอนแก่น

และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ทั้ง 9 สัญญา ในครั้งนี้ มีมูลค่าการก่อสร้างทั้งสิ้น รวม 69,531 ล้านบาท และหากการดำเนินการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะเร่งด่วน 7 เส้นทางแล้วเสร็จ การรถไฟฯ จะมีระยะทางเพิ่มขึ้นอีก 995 กิโลเมตร หรือเพิ่มขึ้น 24.6% ของเส้นทางรถไฟทั้งประเทศ

ซึ่งสามารถพลิกโฉมการขนส่งทางรถไฟได้อย่างชัดเจน เพราะจะทำให้มีความจุของทางรถไฟเพิ่ม สามารถรองรับขบวนรถเพิ่มขึ้นได้ไม่น้อยกว่า 2เท่าตัว มีความปลอดภัยในการขนส่งผู้โดยสาร และสินค้าเพิ่มขึ้น สามารถเพิ่มความรวดเร็วและความตรงต่อเวลา ในการเดินขบวนรถไฟได้อีกด้วย

ทั้งนี้การรถไฟฯมีโครงการที่จะพัฒนาทางคู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมพื้นฐานอื่น ๆ เน้นการบริหารจัดการขนส่งมวลชน สินค้าและบริการ ทั้งในพื้นที่ชนบท เมือง และระหว่างประเทศเข้าด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อีกทั้งเป็นการแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟโดยใช้แนวทางการก่อสร้างสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ (Overpass) หรือทางลอดใต้ทางรถไฟ (Underpass) ช่วยเพิ่มความเร็วและความปลอดภัยในการเดินทางด้วยรถไฟ สามารถแก้ไขปัญหาจราจรที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และที่สำคัญจะเป็นการลดอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางรถไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ภายหลังจากการลงนามแล้ว การรถไฟฯ จะให้ผู้รับจ้างเริ่มดำเนินการก่อสร้างในช่วงไตรมาส 1 ปี 2561 ให้แล้วเสร็จตามแผนภายในปลายปี 2565

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า เมื่อรถไฟทางคู่แล้วเสร็จจะช่วยเรื่องระบบโลจิสติกส์ของประเทศในการลดต้นทุนการขนส่งเนื่องจากเมื่อรถไฟสะดวกรวดเร็วขึ้นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนโหมดขนส่งจากทางถนนมาสู่ทางรางมากขึ้น

“ทางคู่นอกจากช่วยลดต้นทุนขนส่ง ยังจะแก้ปัญหาจุดตัดรถไฟเพิ่มความปลอดภัยทางรถไฟ ลดอุบัติเหตุข้ามทางรถไฟ ที่สำคัญคือความตรงต่อเวลาจะมีมากขึ้นใช้เวลาเดินทางไม่เกิน10ชั่วโมง”

ทั้งนี้ในปี2561 กระทรวงจะเสนอคณะรัฐมนตรีพัฒนารถไฟทางคู่ระยะที่2อีก9เส้นทาง เป็นทางคู่สายใหม่2เส้นทางที่รอกันมานาน40-50ปี ได้แก่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของและบ้านไผ่-นครพนม จะมาเติมให้โครงข่ายรถไฟสมบูรณ์มากขึ้น

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเซ็นสัญญารถไฟทางคู่ครั้งนี้จะเป็นจุดพลิกผันที่สำคัญของประเทศในการเปลี่ยนโหมดการคมนาคมครั้งใหญ่ จากเดิมมีแค่ถนนและการบินจะมาสู่ทางรางมากขึ้น การที่พัฒนาเส้นทางรถไฟได้ช้าอาจจะเป็นเพราะองค์กรอ่อนแอยังไม่ได้รับการซัพพอร์ตจากรัฐ ต่อจากนี้ก็ขอให้เดินหน้าเต็มที่รับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึงอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

“รถไฟเป็นโหมดใหญ่ เปลี่ยนโฉมของคมนาคมไทยนอกจากเน้นเส้นทางใหญ่ ต้องมีสายย่อยให้เน้นเชื่อมเมืองรองด้วย จะเกิดการเชื่อมโยงคน สินค้า ท่องเที่ยว บทบาทต่อไปรถไฟจะมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ให้กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท รถไฟ ท่าเรือ เครื่องบินมาทบทวนว่าโครงการไหนควรทำก่อนหลังเพื่อให้เชื่อมโยงกันได้ครบโหมดอีก4-5ปีจะเห็นอะไรใหม่ๆ”

ขณะที่เอกชนถ้าทำได้ให้มาช่วยทำ โครงการไหนไม่ทำก็เป็นภาระของรัฐ ขอบคุณภาคเอกชนมาลงทุน ขอให้ลงทุนเยอะๆ กล้าๆลงทุน ถ้าไม่ลงทุนคนอื่นจะมาลงทุนแทน

นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหารบมจ.อิตาเลียนไทยฯ ในฐานะผู้แทนผู้รับเหมากล่าวว่าจะเริ่มสร้างตั้งแต่ต่นปี2561 และมั่นใจว่าจะก่อสร้างโครงการให้แล้วเสร็จตามกำหนด โดยทยอยเปิดใช้ปี2563-2564เมื่อแล้วเสร็จจะทำให้การเชื่อมต่อรถไฟทางคู่สู่ภูมิภาคได้สะดวกรวดเร็วขึ้นและลดต้นทุนการขนส่งของประเทศในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/01/2018 5:30 pm    Post subject: Reply with quote

“สมคิด”สั่งคมนาคมสร้างถนน-รถไฟเชื่อมแหล่งท่องเที่ยวหัวเมืองรอง เร่งไทม์ไลน์โครงข่ายเชื่อมอีอีซี
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 5 มกราคม 2561 - 17:13 น.

“สมคิด” ลุยงานปี 61 เดินสายมอบนโยบายรายหน่วยงาน บุกกรมทางหลวง เร่งจัดสรรงบสร้างถนนเชื่อมอีอีซี-หัวเมืองรอง กระตุ้นเศรษฐกิจลงภูมิภาค สั่งใช้ยางพาราสร้างถนน

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้กับกระทรวงคมนาคม 2-3 เรื่อง ได้แก่ การเชื่อมต่อโครงข่าย ถนน รถไฟ และท่าเรือให้เป็นโครงข่ายเชื่อมต่อระหว่างภาคกับภาค และกลุ่มจังหวัดกับจังหวัด เพื่อให้เกิดการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค

รวมทั้งให้จัดลำดับความสำคัญโครงการในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ให้อยู่ในงบประมาณปี 2562 เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในเรื่องของการลงทุนจากต่างประเทศ

“โครงการของกระทรวงคมนาคมมีจำนวนมากจะต้องเชื่อมโยงกับผู้รับเหมาทั้งรายใหญ่ กลาง และเล็กในเรื่องความปลอดภัยมาตรฐาน การซื่อสัตย์ไม่ทิ้งงาน เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายการลงทุนที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ความสำคัญคือว่าต้องการให้ผู้รับเหมาในอนาคตข้างหน้าเข้ามามีส่วนร่วมในโครงสร้างพื้นฐานของไทยในมิติใหม่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ PPP“ นายสมคิดกล่าว

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า โครงข่ายถนนเป็นฟีดเดอร์ที่สำคัญ ในการแก้ปัญหาจราจรโดยเฉพาะระบบโลจิสติกส์ หากสร้างทางรถไฟเข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมจะใช้ต้นทุนมาก ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557-2560 ทางหลวงลงทุนไปแล้ว 27,944 ล้านบาท ส่วนปี 2561 ลงทุนอยู่ที่ 9,251 ล้านบาท ปี 2562 อีก 18,490 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2563-2565 อีก 30,000 ล้านบาท ส่วนนี้จะเร่งโครงการมาในงบประมาณปี 2562

ด้านรถไฟขณะนี้มี 2 เส้นทางใหม่ ได้แก่ บ้านไผ่-มุกดาหาร และเด่นชัย-เชียงของ ที่เชื่อมเมืองรอง ท่านรองนายกรัฐมนตรีให้นโยบายให้เชื่อมโยงตะวันออก-ตะวันตก จากเส้นทางแม่สอด-นครสวรรค์ ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำลังศึกษาเหลือช่วงนครสวรรค์-บ้านไผ่มีองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่นหรือไจก้าทำการศึกษาความเหมาะสม

“การเชื่อมต่อระหว่างตะวันออก-ตะวันตก จะต้องผ่านจังหวัดนครสวรรค์หากมีการสร้างทางรถไฟเชื่อม จะทำให้จังหวัดมีการเติบโต และเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมา และเวียดนาม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนเมืองรองอื่นๆ ท่านรองนายกให้ไปดูว่ามีเส้นทางรถไฟไหน ที่เป็นเส้นเลือดฝอย สามารถเกาะเกี่ยวมาในเส้นทางรถไฟความเร็วสูงหรือทางคู่ เช่น ภาคอีสานมีเส้นทางบ้านไผ่-มุกดาหาร-กาฬสินธุ์ และอีสานใต้จิระ-อุบลราชธานี คนที่อยู่ภาคอีสานตอนกลางและภาคอีสานตอนเหนือ จะลงมาอีสานตอนล่างยังไง อาจจะมีเส้นทางขอนแก่น-บุรีรัมย์ หรือยโสธร-ขอนแก่น เป็นต้น มอบให้รถไฟไปศึกษาแนวเส้นทางเพื่อเพิ่มโอกาสเติบโตของเมืองเล็ก“ นายอาคมกล่าว
และว่า

นอกจากนี้ยังได้ ขอให้ผู้รับเหมาใช้ยางพาราในการก่อสร้างถนนโดยในปี 2561 ตั้งเป้าใช้ยางพารา 4 หมื่นตัน ซึ่งกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท จะหารือกระทรวงเกษตรต่อไป เพื่อช่วยให้ส่งสริมเกษตรกร ซึ่งสัปดาห์หน้าจะมีการหารือกับเอกชนผู้ผลิตยางแอลฟัลท์ขอความร่วมมือในการซื้อน้ำยางดิบด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 18, 19, 20 ... 43, 44, 45  Next
Page 19 of 45

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©