Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179954
ทั้งหมด:13491186
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เผยโฉม รถ "สายสีแดงอ่อน"
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เผยโฉม รถ "สายสีแดงอ่อน"
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 63, 64, 65 ... 77, 78, 79  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/07/2016 2:51 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:

ครม.ไฟเขียวโครงการรถไฟ สายสีแดงเข้ม-แดงอ่อน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 26 กรกฎาคม 2559, 14:26



ครม.อนุมัติโครงการรถไฟสายสีแดงเข้ม-แดงอ่อน มูลค่า 4.4 หมื่นลบ. เปิดประกวดราคาปลายส.ค.59
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) --
อังคารที่ 26 กรกฎาคม 2559 13:46:18 น.
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)วันนี้มีมติอนุมัติการก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม บางซื่อ-หัวลำโพง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย มูลค่า 4.4 หมื่นล้านบาท โดยจะเปิดประกวดราคาประมาณปลายเดือนส.ค.59 และเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ก.พ.60
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/11/2016 12:22 pm    Post subject: Reply with quote

รัฐบาลทุ่มแสนล้านแก้รถติดรอบรพ.ศิริราช ลงทุนเชื่อมถนนยกระดับ-รถไฟฟ้า 2 สายสนองแนวพระราชดำริ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
11 พฤศจิกายน. 2559 เวลา 08:00:37 น.


คมนาคม-กทม. ทุ่มกว่า 1 แสนล้านเดินหน้าแก้จราจรรอบศิริราช สนองพระราชดำริในหลวง สร้างทางยกระดับลอยฟ้าเชื่อมพระราม 8-พุทธมณฑลสาย 4 กว่า 3 พันล้าน ต่อขยายรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง "ตลิ่งชัน-ศิริราช และตลิ่งชัน-ศาลายา" มูลค่า 1.9 หมื่นล้าน และสายสีส้ม "ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม" มูลค่า 8.5 หมื่นล้าน เร่งปักหมุดปี′60

นายภัทรุตม์ ทรรทรานนท์ ปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กทม.จะเดินหน้าโครงการก่อสร้างแก้ปัญหาจราจรฝั่งธนบุรีบริเวณโดยรอบศิริราชตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีทั้งหมด6โครงการแยกเป็น2กลุ่ม

กทม.เดินหน้าโครงการพระราชดำริ

กลุ่มแรกโครงการที่รับสนองพระราชดำริมี2 โครงการ คือ งานปรับปรุงโครงข่ายถนนบริเวณริมคลองบางกอกน้อย และบริเวณหน้าศูนย์ความเป็นเลิศ และถนนรถไฟ (ย่านตลาดศาลาน้ำร้อน) ค่าก่อสร้าง 120 ล้านบาท จะปรับปรุงและขยายถนนเดิมจากลาดยางขนาด 2 ช่องจราจร เป็นถนนคอนกรีตขนาด 2-4 ช่องจราจร ระยะทาง 2.4 กม. รวมถึงขุดคลองคูเมืองเดิมให้เชื่อมต่อกับคลองบางกอกน้อย พร้อมสร้างประตูระบายน้ำ ขณะนี้เปิดใช้แล้ว

และขยายสะพานอรุณอมรินทร์ พร้อมทางขึ้น-ลงจาก 4 ช่องจราจรเป็น 6 ช่องจราจร และสร้างทางยกระดับข้ามแยกศิริราชขนาด 2 ช่องจราจร จากสะพานอรุณอมรินทร์ถึงหน้ากรมอู่ทหารเรือ ระยะทาง 1.3 กม. งบประมาณ 1,300 ล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้าง 900 ล้านบาท และเวนคืนที่ดิน 370 ล้านบาท จะปรับปรุงทางลงจากสะพานอรุณอมรินทร์ไปยังสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช

จะสร้างทางขึ้นใหม่จากถนนริมคลองบางกอกน้อยขึ้นสะพานอรุณอมรินทร์เพื่อไปยังแยกอรุณอมรินทร์สร้างทางกลับรถใต้สะพานอรุณอมรินทร์บริเวณหน้าโรงเรียนวัดอมรินทรารามขนาด1ช่องจราจรก่อสร้างทางเดินยกระดับ (Sky Walk) บริเวณด้านหน้าโรงพยาบาลศิริราช จากอาคารกองสลากกินแบ่งรัฐบาลถึงอาคารผู้ป่วยนอก และข้ามทางแยกไปยังซอยแสงศึกษา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2559 กำหนดเสร็จวันที่ 30 เม.ย. 2561

ทุ่ม 3 พันล้านยกระดับถึงสาย 4

กลุ่มที่ 2 โครงการที่มีการติดตามโครงการพระราชดำริเดิมมี 2 โครงการ คือ 1.โครงการต่อเชื่อมจากสะพานพระราม 8 กับถนนพรานนก-ถนนพุทธมณฑลสาย 4 (แยกไฟฉาย) ค่าก่อสร้างและเวนคืนที่ดินเบื้องต้น 3,000 ล้านบาท เป็นทางยกระดับขนาด 2 ช่องจราจรไปและกลับ จากแยกถนนอรุณอมรินทร์แล้วข้ามคลองบางกอกน้อยผ่านถนนอิสรภาพ ถนนพรานนก ข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ไปสิ้นสุดบนถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4

จะมีทางเชื่อมกับทางยกระดับบรมราชชนนี และทางขึ้น-ลงจากถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า บริเวณแยกไฟฉายจะมีสะพานลอยข้ามแยกเพิ่มเติมตามแนวถนนพรานนก และมีทางลงด้านหน้าตลาดศาลาน้ำร้อน ระยะทางรวม 3.7 กม. ปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) หากโครงการได้รับการอนุมัติจะใช้เวลาก่อสร้าง 720 วัน

2.ขยายถนนสุทธาวาส และสร้างสะพานข้ามแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ วงเงิน 350 ล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้าง 230 ล้านบาท และค่าเวนคืนที่ดิน 120 ล้านบาท จะขยายช่องจราจรของถนนสุทธาวาสเดิมช่วงจากถนนอิสรภาพถึงถนนจรัญสนิทวงศ์จาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร และถนนเลียบทางรถไฟ จากเดิม 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร ระยะทาง 3.5 กม. สร้างสะพานขนาด 2 ช่องจราจรข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ ตามแนวถนนสุทธาวาส ความยาว 350 เมตร เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2559 กำหนดเสร็จวันที่ 19 ธ.ค. 2560



คมนาคมเพิ่มรถไฟฟ้า3สาย

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า โครงการในส่วนของคมนาคมที่ถวายรายงานในขณะนั้น มีโครงการทางด่วน รถไฟฟ้า และมอเตอร์เวย์ เพื่อเชื่อมการเดินทางทั้งในพื้นที่ชั้นในและรอบนอก ขณะนี้ที่ได้ดำเนินไปแล้ว คือ ทางด่วนสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันตก ระยะทาง 17 กม. ซึ่งการทางพิเศษแห่งปนะเทศไทย (กทพ.) เปิดใช้แล้วเมื่อเดือน ส.ค. 2559

ในส่วนของรถไฟฟ้ามี 3 สายที่จะเชื่อมการเดินทางมายังฝั่งธนบุรี คือ สายสีแดงอ่อนส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชัน-ศิริราชและตลิ่งชัน-ศาลายา ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งผ่านรายงานอีไอเอแล้ว พร้อมประมูลก่อสร้างซึ่งกระทรวงได้นำโครงการนี้บรรจุในแผนปฏิบัติเร่งด่วนปี 2560

รูปแบบจะเป็นการปรับปรุงเขตทางรถไฟเดิมให้รองรับระบบรถไฟชานเมืองที่จะปรับเป็นรถไฟฟ้าได้ ระยะทางรวม 20 กม. วงเงินลงทุน 19,042 ล้านบาท มี 7 สถานี ได้แก่ สถานีธนบุรี-ศิริราช จรัญสนิทวงศ์ ตลาดน้ำตลิ่งชัน ตลิ่งชัน (สถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน) สถานีบ้านฉิมพลี กาญจนาภิเษก ศาลาธรรมสพน์ และศาลายา

นอกจากนี้ มีสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน ระยะทาง 16.4 กม. เงินลงทุน 85,288 ล้านบาท อยู่ในแผนปี 2560 เช่นกัน ส่วนสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) ระยะทาง 27 กม. กำลังก่อสร้างจะทยอยเปิดให้บริการในปี 2562-2563

"สายสีแดงจะมีสถานีที่ศิริราช บริเวณด้านหลังตึกศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ รองรับคนที่จะไปใช้บริการโรงพยาบาลและพื้นที่ใกล้เคียง เฉพาะสถานีนี้คาดว่าจะมีผู้โดยสารเฉลี่ย 30,000 เที่ยวคนต่อวัน ซึ่งรถไฟฟ้า 3 สายนี้จะมีจุดเชื่อมต่อกันที่สถานีบางขุนนนท์"

ด้านกรมทางหลวง (ทล.) มีโครงการแก้ไขปัญหาจราจรบนถนนวงแหวนรอบนอกตะวันตกช่วงบางใหญ่-บางปะอิน เนื่องจากปริมาณการจราจรเพิ่มขึ้นมาก โดยมี 2 แนวคิด คือ จะขยายช่องจราจรจากเดิม 4 ช่องจราจร เป็น 6 ช่องจราจร หรือสร้างทางยกระดับขึ้นอีก 1 ชั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/11/2016 1:18 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟเลื่อนประมูลสายสีแดงอ่อน Missing Link วงเงิน 4.4 หมื่นล้านไปกลางปี 60 เหตุต้องรอปรับแบบ
โดย MGR Online 25 พฤศจิกายน 2559 19:16 น. (แก้ไขล่าสุด 25 พฤศจิกายน 2559 21:22 น.)

รถไฟเลื่อนประมูลสายสีแดงอ่อน Missing Link วงเงิน 4.4 หมื่นล้านไปกลางปี 60 เหตุต้องรอปรับแบบ

“คมนาคม” เผยเร่งประมูล 8 โครงการในแผนปฏิบัติการปี 59 เปิดขายซองรถไฟทางคู่ 5 สาย 13- 20 ธ.ค. ส่วนสายสีแดงอ่อน (Missing Link) วงเงินกว่า 4.4 หมื่นล้าน ต้องเลื่อนไปประมูลกลางปี 60 เหตุรอปรับแบบและการบริหารเดินรถเข้าหัวลำโพง ส่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟส 2 เปิดยื่นซองประมูลระบบ APM 28 พ.ย.นี้

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมติดตามแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ปี 2559 ของกระทรวงคมนาคม ว่าได้ติดตาม 20 โครงการหลักในแผนปฏิบัติการปี 2559 โดยโครงการที่อยู่ระหว่างการประกวดราคา 8 โครงการ ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ระยะทาง 30.4 กม. วงเงิน 54,644 ล้านบาท ช่วงลาดพร้าว-สำโรง, สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงิน 56,691.01 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาข้อเสนอ โดยจะได้ตัวผู้ผู้ชนะการประมูลในเดือน ธ.ค.นี้ ตามนโยบาย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเร็วกว่าแผนงาน 1 เดือน ส่วนสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทาง 21 กม. วงเงิน 109,540.84 ล้านบาท เปิดยื่นซองข้อเสนอเมื่อวันที่ 31 ต.ค. ขณะนี้ได้เปิดซองข้อเสนอด้านคุณสมบัติและข้อเสนอด้านเทคนิคแล้ว โดยจะเปิดซองข้อเสนอด้านราคาในช่วงเดือน ก.พ. 2560 และคาดว่าจะลงนามได้เดือน เม.ย. 2560

โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม. วงเงิน 29,853.18 ล้านบาท, ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 17,249.90 ล้านบาท ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กม. วงเงิน 20,036.53 ล้านบาท ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม. วงเงิน 24,840.54 ล้านบาท และช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กม. วงเงิน 10,301.95 ล้านบาท การรถไฟแห่งประเทศไทย จะเปิดขายเอกสารประมูลในวันที่ 13-20 ธ.ค.นี้ กำหนดยื่นข้อเสนอเทคนิค เดือน ม.ค. 2560 คาดว่าจะลงนามสัญญาได้ในวันที่ 21 มี.ค. 2560

รถไฟสายสีแดงอ่อน (Missing Link) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วง บางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับแบบรายละเอียดเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ และการบริหารจัดการเดินรถเข้าสถานีหัวลำโพง คาดประมูลได้ประมาณกลางปี 2560 ซึ่งจะพร้อมกับการประมูลโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ส่วนต่อขยายช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง

ทั้งนี้ ครม.เห็นชอบโครงการ รถไฟสายสีแดง Missing Linkเมื่อ วันที่ 26 ก.ค. 2559 โดยแผนเดิมคาดว่าจะเปิดประมูลช่วงเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2559 ลงนามสัญญาเดือน ก.พ. 2560 แต่ล่าสุดจะต้องเลื่อนออกไปก่อน

ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างมี 7 โครงการ ได้แก่ รถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น คืบหน้า 12% คาดว่าจะแล้วเสร็จตามแผน ในเดือน ก.พ. 2562 โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง A ที่ท่าเรือแหลมฉบัง คืบหน้ากว่า 50% จะแล้วเสร็จปลายปี 2560 เปิดให้บริการปี 2561 โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ ที่ท่าเรือแหลมฉบัง คืบหน้า 17% คาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปี 2560 เปิดให้บริการต้นปี 2561


โครงการมอเตอร์เวย์ พัทยา-มาบตาพูด ระยะทาง 32 กม. คืบหน้า 15.5% มอเตอร์เวย์ สายบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กม. ลงนามสัญญาไปแล้ว 25 ตอน ส่วนอีก 15 ตอน ขณะนี้ได้ตัวผู้รับจ้างแล้ว 14 ตอน อยู่ระหว่างเตรียมเสนอ ครม. คาดลงนามสัญญาได้ในปลายปี 2559 หรืออย่างช้าต้นปี 2560 ส่วนอีก 1 ตอนจะลงนามสัญญาในเดือน ก.พ. 2560

มอเตอร์เวย์สาย บางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กม. ลงนามสัญญาแล้ว 9 ตอน เหลืออีก 16 ตอน โดย 15 ตอน ได้ตัวผู้รับจ้างแล้วอยู่ระหว่างตรวจรับราคา จากนั้นจะเสนอ ครม.รับทราบก่อนลงนามสัญญา คาดว่าจะลงนามได้ในปลายปีนี้หรืออย่างช้า ในช่วง1-2 สัปดาห์แรกของปี 2560 ส่วนอีก 1 ตอน คาดว่าจะลงนามได้ในช่วงเดือน ก.พ. 2560 เนื่องจากมีการปรับแบบในช่วงต้นทาง บริเวณห้างเซ็นทรัลเวสต์เกต เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน โดยทั้ง 2 สายยังดำเนินการได้ตามแผน ซึ่งจะก่อสร้างเสร็จในเดือน ธ.ค. 2562 และเปิดให้บริการต้นปี 2563

โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟส 2 วงเงิน ซึ่งมี 7 งาน ขณะนี้ได้ลงนามไปแล้ว 3 งาน คือ งานก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1และส่วนต่อเชื่อมอุโมงค์ คืบหน้า 4.12% ขณะที่งานจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM) มีผู้ซื้อเอกสารประมูล9 ราย กำหนดยื่นเอกสารในวันที่ 28 พ.ย. คาดว่าจะสรุปผลประมูลในวันที่ 20 ธ.ค. นี้ ลงนามสัญญาในสิ้นเดือน ธ.ค.นี้ หรือไม่เกินต้นเดือน ม.ค. 2560 สวนการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารด้านทิศตะวันออก อาคารสำนักงานสายการบิน อยู่ระหว่างกำหนดราคากลาง จะเปิดประมูลได้ในปีนี้ เริ่มก่อสร้างในเดือน ก.พ. 2560 ส่วนงานจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า (BHS) และระบบตรวจจับวัตถุระเบิด อยู่ระหว่างทบทวนการออกแบบ คาดว่าจะประกาศประมูล ในเดือน มี.ค. 2560 เริ่มก่อสร้างได้ในเดือน ก.ค. 2560

โครงการอยู่ระหว่างนำเสนอ ครม.ได้แก่ รถไฟฟ้าสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. วงเงิน 131,004.30 ล้านบาท ขณะนี้ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ทำข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าจะประชุมในเดือนธันวาคมนี้ จากนั้นจะเสนอ ครม.ได้ปลายปีหรือต้นเดือน ม.ค. 60

รถไฟความเร็วสูง กรงเทพ-หัวหิน ระยะทาง 211 กม. วงเงิน 94,673 ล้านบาท กระทรวงคมนาคมให้ความเห็นชอบแล้ว อยู่ระหว่าง ร.ฟ.ท.เตรียมเสนอ สคร.เพื่อพิจารณา PPP Fast Track, ช่วงกรุงเทพ-ระยอง ระยะทาง 193.5 กม. วงเงิน 152,528 ล้านบาท กระทรวงคมนาคมคมนาคมให้ ร.ฟ.ท.ทำข้อมูลพิ่มเติมในเรื่องการบริหารพื้นที่รอบสถานี ส่งเรื่องให้กระทรวงในต้นเดือน ธ.ค., ความร่วมมือไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมาจะมีการประชุมร่วมกับจีนปลายเดือน พ.ย.นี้ และความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่จะประชุมระดับคณะทำงานในสัปดาห์หน้า หาข้อยุติในการจัดรูปแบบการเดินรถ และเสนอรายงานผลการศึกษาความเป็นไปได้โครงการในเดือน ก.พ. 2560
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/09/2017 8:08 am    Post subject: Reply with quote

“พิชิต”ชี้ร.ฟ.ท.รับหนี้3.2 หมื่นล.หากเดินรถ/บริหารสายสีแดง
ฐานเศรษฐกิจ 8 September 2017

Click on the image for full size

“พิชิต”ชี้ขาดร.ฟ.ท.จะต้องรับภาระหนี้รถไฟสายสีแดงกว่า 3.2 หมื่นล้าน สั่งสนข.เร่งศึกษาหากในอนาคตมีผู้ประกอบการหลายรายเข้ามาร่วมจะแบ่งภาระค่าใช้จ่ายอย่างไร

นายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่าได้มีการหารือเกี่ยวกับความชัดเจนของภาระโครงการ ของโครงการดังกล่าวในสัญญาที่ 3 (งานระบบราง อาณัติสัญญาณ และตัวรถ) ของช่วงบางซื่อ-รังสิต,บางซื่อ-ตลิ่งชัน

Click on the image for full size

ซึ่งในที่ประชุมมีความเห็นว่า ควรที่จะดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 ที่มีหลักการว่าส่วนที่เหนือรางทางผู้ดำเนินการจะเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนตัวรางและใต้รางทางรัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบ โดยหากร.ฟ.ท.จะเข้ามาบริหารจัดการในส่วนของสัญญาที่ 3 ก็จะต้องรับผิดชอบส่วนที่อยู่เหนือรางขึ้นไปด้วย อีกทั้งที่ประชุมยังได้มีการเสนอให้ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)พิจารณาแนวทางการดำเนินการในอนาคต กรณีที่จะมีผู้ประกอบการหลายรายเข้ามาร่วมดำเนินการว่าควรจะมีการแบ่งปันภาระและค่าใช้จ่ายอย่างไร

โดยทาง สนข.ได้รับไปดำเนินการในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้เห็นกรอบการดำเนินการที่ชัดเจนว่าหากในอนาคตมีการจัดตั้งกรมรางหรือหน่วยงานต่างๆที่จะมีการจัดตั้งขึ้น จะมีแนวทางในการปฏิบัติอย่างไรในการพัฒนา อย่างไรก็ตามหากร.ฟ.ท.มีข้อมูลที่จะขอทบทวนในเรื่องดังกล่าว ก็สามารถจัดทำรายงานกลับมาเสนอใหม่ได้ อย่างไรก็ตามในส่วนของแผนการหารายรายได้ของการเดินรถโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงทางร.ฟ.ท.จะมีการเสนอแผนเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการคณะกรรมการนโยบายกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.)ในวันที่ 25 กันยายนนี้

Click on the image for full size

“โครงการรถไฟสายสีแดง เส้นทางบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต มีกรอบวงเงินลงทุนจำนวน 3.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้ได้มีมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ระบุไว้ชัดเจนแล้วแต่ร.ฟ.ท.ไม่แน่ใจจึงต้องมีการหารือร่วมกับกระทรวงการคลังและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ได้ความชัดเจน ซึ่งกระทรวงการคลังก็ได้แสดงความชัดเจนว่าเป็นภาระที่ร.ฟ.ท.ต้องรับผิดชอบ หากต้องการจะรับโครงการไปดำเนินการเอง ยกเว้นว่าจะเปิดให้มีการร่วมลงทุนเกิดขึ้นภาคเอกชนที่เข้ามาร่วมก็จะต้องรับภาระก้อนโตนี้ไปชำระ ปัจจุบันสายสีแดงบางซื่อ-ตลิ่งชันก่อสร้างแล้วเสร็จ คงเหลือช่วงบางซื่อ- รังสิตเท่านั้นที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างพร้อมกับสถานีกลางบางซื่อ”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/09/2017 10:47 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟยอมแบกภาระ 3.2 หมื่นล้าน แลกเดินรถสายสีแดงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต ชงอนุซูเปอร์บอร์ดเคาะ 25 ก.ย.นี้
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 9 กันยายน 2560 - 16:08 น.

คมนาคมมอบ สนข.เคาะภาระค่าใช้จ่ายสายสีแดง”ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต”ร.ฟ.ท.เตรียมส่งแผนเดินรถก่อนก่อนประชุมอนุกรรมการ คนร. 25 ก.ย.นี้

นายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 ก.ย.60 ได้มีการหารือแนวทางภาระ สัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาตู้รถไฟฟ้า มูลค่า 32,399.99 ล้านบาทเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 9 ก.พ.59 ในหลักการ การรับผิดชอบเงินลงทุนส่วนที่อยู่เหนือราง ผู้บริหารจัดการเดินรถจะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ

ส่วนใต้รางและ ตัวราง รัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะฉะนั้นร.ฟ.ท.จะเป็นผู้บริหารสัญญาที่ 3 จึงเป็นผู้รับผิดชอบเหนือรางขึ้นไป และที่ประชุมอยากให้พิจารณาทางเลือกในอนาคต เนื่องจากรถไฟจะขยายออกไปอยุธยาและนครปฐม แชร์รางร่วมกับรถไฟประเภทอื่น และจะมีการจัดตั้งกรมราง จึงมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ศึกษา แนวทาง หากมีผู้บริหารจัดการหลายราย ควรมีการแบ่งปันภาระค่าใช้จ่ายอย่างไร

สำหรับแผนการดำเนินการเดินรถรถไฟชานเมืองสายสีแดงของร.ฟ.ท. จะเสนอให้กับอนุกรรมการคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.) ในวันที่ 25 ก.ย. 60 คาดว่าจะเสนอคนร.ชุดใหญ่ ปลายเดือนต.ค.60

“แผนการเดินรถจะบอกว่าการรถไฟฯเดินรถเองหรือไม่ รูปแบบการเดินรถเป็นอย่างไร เบื้องต้นดูเหมือนว่า การเดินรถเองของการรถไฟฯรายรับจะต่ำกว่ารายจ่ายเพราะจำนวนผู้โดยสารไม่สูง ปีแรกที่เปิดให้บริการคาดการณ์ผู้โดยสาร 7-8 หมื่นคน ซึ่งรถไฟฯต้องหาทางออกว่า จะเสนอรูปแบบใด หากรถไฟฯยังยืนยันเดินรถเอง หากขาดทุน รูปแบบการนำเสนอคงเหมือนกับรถไฟฟ้าอื่นๆ ที่ขาดทุน เช่น PPP Gross Gost หรือจ้างเดินรถ “


Last edited by Mongwin on 10/09/2017 8:03 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/09/2017 11:26 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถไฟยอมแบกภาระ 3.2 หมื่นล้าน แลกเดินรถสายสีแดงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต ชงอนุซูเปอร์บอร์ดเคาะ 25 ก.ย.นี้
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 9 กันยายน 2560 - 16:08 น.
“


เร่งสรุปแผนเดินรถสายสีแดงชง คนร. ร.ฟ.ท.บริหารเอง รัฐรับภาระบางส่วน
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 8 กันยายน 2560 - 20:37:00 ปรับปรุง: 9 กันยายน 2560 - 19:12:00


“พิชิต” เร่ง ร.ฟ.ท.สรุปแผนเดินรถสายสีแดง เตรียมชงอนุ กก.คนร. 25 ก.ย.นี้ ลุ้นเห็นชอบให้ ร.ฟ.ท.เดินรถเอง ยอมรับสายสีแดงรายได้ ต่ำกว่ารายจ่ายขาดทุนแน่นอน คาดเสนอรูปแบบลงทุน PPP-Gross Cost เหมือนกับรถไฟฟ้าสายอื่นที่ขาดทุน โดยรัฐต้องรับภาระบางส่วน

นายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่า ความคืบหน้าการเดินรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชันนั้น ขณะนี้ ร.ฟ.ท.เตรียมสรุปแผนการบริหารจัดการ ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะเสนอขอเดินรถสายสีแดงเอง โดยจะเสนอต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (อนุ กก.คนร.) ที่มี พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในวันที่ 25 ก.ย.นี้ ก่อนที่จะเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ด ที่มีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานต่อไป
ทั้งนี้ ยอมรับว่าการเดินรถสายสีแดงจะประสบกับการขาดทุนเพราะมีรายได้ต่ำกว่ารายจ่าย เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารในช่วงแรกยังไม่สูงมากนัก ซึ่ง ร.ฟ.ท.ต้องทบทวนการศึกษา ปรับปรุงตัวเลขประมาณการผู้โดยสารใหม่ จากเดิมที่คาดว่าจะมีผู้โดยสารประมาณ 1.7 แสนคน/วัน ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับว่าจะเป็นไปได้ โดยขณะนี้ได้ปรับประมาณการผู้โดยสารลดลงมาที่ 7-8 หมื่นคน/วัน ขณะที่คาดว่าจะคุ้มทุนจำนวนผู้โดยสารที่ 1.1 แสนคน/วัน ส่วนรูปแบบในการบริหารการเดินรถสายสีแดงนั้น กรณีขาดทุนอาจจะเสนอแนวทางเดียวกับรถไฟฟ้าสายอื่นที่ขาดทุน คือรูปแบบ PPP Gross Cost หรือการจ้างบริหารการเดินรถ โดยรัฐจะเข้าไปรับภาระในบางส่วน

อย่างไรก็ตาม จะสรุปแนวทางการเดินรถสายสีแดงภายในปลายปีนี้เพื่อให้สามารถเตรียมวางแผนด้านบุคลากรได้ทัน โดยหากได้รับความเห็นชอบให้เดินรถเอง ร.ฟ.ท.จะตั้งบริษัทลูกขึ้นมาดำเนินการ และเปิดเดินรถในปี 2563 ตามแผนงาน

นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.ยังได้หารือในประเด็นภาระโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ในส่วนของสัญญา 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) วงเงิน 32,399.99 ล้านบาท เพื่อความชัดเจน ซึ่งมติ ครม.วันที่ 9 ก.พ. 2559 ได้กำหนดภาระความรับผิดชอบของรัฐบาลในโครงสร้างรางและส่วนที่อยู่ใต้ราง ส่วนที่อยู่เหนือรางให้ผู้ประกอบการ (Operator) รับผิดชอบ ซึ่งหาก ร.ฟ.ท.จะเดินรถเองจะต้องรับผิดชอบค่าลงทุนในส่วนเหนือราง ซึ่งจะถือว่าเป็นต้นทุนของการเดินรถสายสีแดงด้วย

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาเพิ่มเติมกรณีที่โครงสร้างของสายสีแดงมีผู้เดินรถมากกว่า 1 ราย ภาระรับผิดชอบจะเป็นอย่างไร เนื่องจากในอนาคตจะมีรถไฟทางไกลเข้ามาใช้ทางร่วมกันบนโครงสร้างดังกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/10/2017 1:54 pm    Post subject: Reply with quote

ลดเป้าผู้โดยสารสายสีแดง ขาดทุน 14 ปีหวั่นซ้ำ “สีม่วง”
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 19 ตุลาคม 2560 - 11:52 น.

รื้อเป้าผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง “ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต” จากวันละ 1.4-1.5 แสนเที่ยวคน เหลือวันละ 8.6 หมื่นเที่ยวคน หวั่นซ้ำรอยสายสีม่วงหลังเปิดใช้ปี”63 คนร.ไฟเขียวรถไฟตั้งบริษัทลูกเดินรถ รับความเสี่ยงขาดทุน 14 ปี

นายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า วันที่ 11 ต.ค. 2560 คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) บริหารโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งมีแผนจะเปิดให้บริการกลางปี 2563

ตั้งบริษัทลูกบริหาร

“รูปแบบตั้งบริษัทลูกมีรถไฟถือหุ้น 100% บริหารโครงการเหมือนแอร์พอร์ตลิงก์ ทุนจดทะเบียนเริ่ม 3,000 ล้านบาท รถไฟจะขอรัฐบาลอนุมัติวงเงินกู้ต่อไป”

จากการประมาณรายได้และผู้โดยสารรถไฟสายสีแดง ที่จะเปิดให้บริการปี 2563 คาดว่าจะมีผู้โดยสารต่ำสุด 86,680 เที่ยวคนต่อวัน ผลประกอบการจะขาดทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี หรือจนกว่ารถไฟฟ้า 10 สายจะเปิดให้บริการครบ

รายได้ติดลบปีแรก


แผนธุรกิจที่รถไฟศึกษาปี 2563 จะมีรายได้ 1,044.94 ล้านบาท มีกำไรก่อนหักค่าใช้จ่าย (ebitda) ติดลบ 18.64 ล้านบาท จะเป็นบวกในปีที่ 15 หรือปี 2577 โดยมีรายได้อยู่ที่ 2,197 ล้านบาท มีกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 138.45 ล้านบาท จากนั้นปี 2582 ถึงเริ่มมีกำไร 402.56 ล้านบาท

“ก่อนที่ คนร.จะอนุมัติ มีการพิจารณาหลายรอบ เพราะมีข้อท้วงติงมากที่โครงการมีความเสี่ยงเรื่องขาดทุนเยอะ ก็กลัวเป็นเหมือนสายสีม่วงที่ผู้โดยสารพลาดเป้า ล่าสุดได้ปรับประมาณการผู้โดยสารใหม่ จากเดิม 1.4-1.5 แสนเที่ยวคนต่อวัน ลดลงเหลือ 8 หมื่นเที่ยวคนต่อวัน”

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า การตั้งบริษัทบริหารรถไฟสายสีแดงมี 2 แนวทางคือ 1.ตั้งบริษัทใหม่มีทุนจดทะเบียน 3,000 ล้านบาท เพื่อเตรียมความพร้อมภายใน 3 ปี (2560-2563) จ้างและอบรมพนักงาน 400-500 คน ซื้ออะไหล่และอุปกรณ์ต่าง ๆ

และ 2.อัพเกรดบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ที่บริหารแอร์พอร์ตลิงก์ เพราะอนาคตหากรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินซึ่งให้เอกชนรับสัมปทานเดินรถ จะโยกคนและบริษัทแอร์พอร์ตลิงก์มาดำเนินการสายสีแดงแทน วิธีนี้ทำให้ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่และเสียค่าใช้จ่าย เนื่องจากพนักงานมีประสบการณ์จากแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งจะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการและนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมต่อไป

หวั่นซ้ำรอย 2 สาย

ผู้สื่อข่าวถามว่า รถไฟฟ้าสายสีแดงจะซ้ำรอยสายสีม่วงหรือไม่ นายอานนท์กล่าวว่า มีคำถามเหมือนกัน โดยรถไฟก็ได้ปรับเป้าผู้โดยสารใหม่จากเดิม 140,000-150,000 เที่ยวคนต่อวัน ลดมาอยู่ที่ 80,000 เที่ยวคนต่อวัน

“สายสีม่วงที่พลาดเป้าเพราะตอนแรกยังเชื่อมต่อ 1 สถานีเตาปูน-บางซื่อไม่เสร็จ แต่เมื่อเชื่อมกันแล้ว คนก็ใช้บริการเพิ่มขึ้น ส่วนสายสีแดงไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร ทั้งยังมีข้อกังขาว่าจะเป็นแอร์พอร์ตลิงก์ 2 หรือไม่ จากตัวชี้วัดแต่ละโครงการจะต่างกันเรื่องทำเล”

นายอานนท์กล่าวว่า จะใช้บทเรียนทั้งหมดมาปรับใช้กับสายสีแดง เช่น อำนาจบริหารจะอยู่ภายใต้บริษัทนี้ทั้งหมด โดยบริหารแบบเอกชนเพื่อให้คล่องตัว จะไม่เหมือนแอร์พอร์ตลิงก์ที่รับจ้างเดินรถอย่างเดียวแต่อำนาจขึ้นอยู่กับรถไฟ

เปิดพื้นที่สร้างรายได้

สำหรับการพัฒนาพื้นที่ 13 สถานีของสายสีแดงจะให้บริษัทลูกบริหารสินทรัพย์ที่ คนร.อนุมัติมาบริหารรวมทั้งหมด 38,469 ไร่ โดยให้เอกชนเข้าประมูล

ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายการเพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์ นอกเหนือจากรายได้ค่าโดยสาร ส่วนค่าโดยสารสายสีแดงจะใช้อัตราเดียวกับแอร์พอร์ตลิงก์เริ่มต้นที่ 15-45 บาท

1 พ.ย.สีม่วงเก็บ 14-42 บาท

นายฤทธิกา สุภารัตน์ รองผู้ว่าการฝ่ายบริหารและรักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2560 คณะกรรมการ รฟม.อนุมัติให้ปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ โดยกลับไปใช้อัตราปกติที่ 14-42 บาท เริ่มวันที่ 1 พ.ย. 2560 เป็นต้นไป คาดว่าจะทำให้ผู้โดยสารลดลง 10% จากปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 46,844 เที่ยวคนต่อวัน เพราะได้จัดโปรโมชั่นลดราคา 50% เหลือ 14-29 บาท วันหยุดเก็บ 15 บาทตลอดสาย

แต่ รฟม.จะมีรายได้เพิ่มขึ้น 30% จากปัจจุบันเฉลี่ยที่ 564,847 บาท เป็น 1 ล้านบาทต่อวัน โดยมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าจ้าง บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เดินรถให้ 170 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 5.6 ล้านบาทต่อวัน

“บอร์ดต้องการเพิ่มรายได้จึงให้ยกเลิกโปรโมชั่นลดราคาและหวังลดภาระภาครัฐที่สนับสนุนให้วันละ 5 ล้านบาทด้วย”

หากผู้โดยสารสายสีม่วงมาต่อรถไฟใต้ดินจะยังคงลดค่าแรกเข้าต่อที่ 2 ให้ หากนั่งจากสถานีคลองบางไผ่-หัวลำโพง เสียค่าโดยสาร 70 บาท และต่อไป รฟม.จะออกบัตรประเภทรายเดือน บัตรโดยสารไม่จำกัดจำนวนเที่ยว ฯลฯ

นายฤทธิกากล่าวว่า ส่วนบริการอาคาร “จอดแล้วจร” สายสีม่วงจะปรับเป็นจอง 2 ชั่วโมงจ่าย 10 บาท จากเดิมเสีย 5 บาท จะเริ่มวันที่ 1 พ.ย.นี้ จากผลศึกษาของ รฟม.พบว่าสายสีม่วงจะมีผลประกอบการขาดทุนในช่วง 11 ปีแรก และจะเริ่มมีกำไรในปีที่ 12 เป็นต้นไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/12/2017 5:56 pm    Post subject: Reply with quote

กระทรวงคมนาคม เดินหน้าก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 ปี 2561 อีก 9 เส้นทาง ครอบคลุมทุกภาคของประเทศ
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 28 ธ.ค. 2560

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง ประกอบด้วยช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ /ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ /ช่วงนครปฐม-หัวหิน / ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ และช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร รวมระยะทาง 702 กิโลเมตร มูลค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 69,531 ล้านบาท ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. กับบริษัทผู้รับจ้างที่ผ่านการคัดเลือกด้านราคาทั้ง 9 สัญญา ว่า โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 – 2565 แผนงานที่ 1 การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง หรือการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ ถือเป็นการเปลี่ยนโหมดคมนาคมขนส่งครั้งใหญ่จากจากบกเป็นทางราง

ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การขนส่งสินค้าทางถนนมีต้นทุนสูงกว่าทางรางและทางน้ำ แต่ปัจจุบันผู้ประกอบการนิยมขนส่งสินค้าทางถนนจึงส่งผลต่อราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ภาครัฐจึงมีนโยบายในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากทางถนนมาสู่การขนส่งที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่า (Modal Shift & Multimodal) โดยทำการปรับปรุง พัฒนาโครงข่ายทางรถไฟที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรถไฟทางเดี่ยวให้เป็นรถไฟทางคู่ เพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการขนส่งระบบราง โดยในปี 2561 จะมีการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 อีก 9 เส้นทาง ซึ่งจะครอบคลุมทุกภาคของประเทศ และรวมรถไฟชานเมืองสายสีแดงอีก 2 ช่วงประกอบด้วย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และธรรมศาสตร์-รังสิต รวม 11 เส้นทางถือเป็นการปฏิรูประบบขนส่งทางรางครั้งใหญ่ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการรถไฟฯ อยู่ระหว่างดำเนินการโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วนระยะแรก 2 เส้นทางประกอบด้วย ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย และช่วงชุมทางจิระ-ขอนแก่น และเมื่อดำเนินการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วนครบทั้ง 7 เส้นทาง ส่งผลให้การรถไฟฯมีระยะทางเพิ่มขึ้นอีก 995 กิโลเมตร หรือเพิ้มขึ้นร้อยละ 24.6 ของเส้นทางรถไฟทั้งประเทศ สามารถรองรับจบวนรถไฟเพิ้มขึ้นได้ไม่น้อยกว่า 2 เท่าตัวสามารถเขื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมพื้นฐานอื่นๆ

ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : นภสร แก้วคำ(2) / สวท.
ผู้เรียบเรียง : อรจินดา บุรสมบูรณ์
แหล่งที่มา : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2018 2:09 pm    Post subject: Reply with quote

จ้างที่ปรึกษาจัดการประกวดราคาโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช โดยวิธีคัดเลือก
http://www.railway.co.th/auction/system/download/2561/N20181163372.pdf

จ้างที่ปรึกษาจัดการประกวดราคาโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา โดยวิธีคัดเลือก
http://www.railway.co.th/auction/system/download/2561/N20181163165.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/01/2018 8:37 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ปรับแผนรถไฟชานเมืองจ่อประมูลก.ค.นี้
โพสต์ทูเดย์ 18 มกราคม 2561 เวลา 08:10 น.

คมนาคม รอชง ครม.ประมูลรถไฟชานเมือง 2.65 หมื่นล้าน ช่วงกลางปีนี้ เร่งตั้งบริษัทลูกเดินรถ

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมาสั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ไปทบทวนแผนบริการจัดการโครงการรถไฟชานเมือง วงเงิน 2.65 หมื่นล้านบาท มาใหม่โดยให้มาเสนอใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า หลังคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ตีกลับโครงการเพื่อให้ทบทวนแผนการเดินรวม แผนรายได้ และแผนบริหารผู้โดยสาร รวมถึงการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต

ทั้งนี้ โครงการรถไฟชานเมืองเป็นหนึ่งในโครงการแผนปฏิบัติการด้านโครงสร้างพื้นฐาน (แอกชั่นแพลน) ของกระทรวงคมนาคมเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างเมืองหลวงและปริมณฑลนั้น ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และตลิ่งชันศิริราช มูลค่า 1.9 หมื่นล้านบาท และรถไฟฟ้าสีแดงส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิตธรรมศาสตร์ มูลค่า 7,500 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะสามารถเสนอโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองส่วนต่อขยายเข้าสู่บอร์ด สศช.ได้ในเดือน ก.พ. ก่อนเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบ หลังจากนั้นจะเชิญชวนเอกชนซื้อซองประกวดราคาและเปิดประมูลโครงการในช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. หรือภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ โดยรูปแบบการลงทุนโครงการนี้จะเป็นแบบรัฐบาลลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการก่อสร้าง ขณะที่ด้านระบบเดินรถจะให้เป็นหน้าที่ของบริษัทลูก รฟท.ที่อยู่ระหว่างดำเนินการจัดตั้ง

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดตั้งบริษัทลูกด้านเดินรถปัจจุบันยังติดปัญหาหลายด้านจนเกิดความล่าช้ากว่าแผน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาว่าจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ามาศึกษาแนวทางการก่อตั้งบริษัทลูกคาดจะใช้เวลาศึกษาไม่นาน ก่อนเสนอผลการศึกษาเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.และเสนอต่อ ครม.เพื่อขอความเห็นชอบต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 63, 64, 65 ... 77, 78, 79  Next
Page 64 of 79

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©