RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13265039
ทั้งหมด:13576322
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 162, 163, 164 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44542
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/09/2017 6:16 pm    Post subject: Reply with quote

'รฟม.'นำร่องใส่บทลงโทษผู้รับเหมาในทีโออาร์รถไฟฟ้า
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 13 กันยายน 2560

"รฟม." เตรียมนำร่องบรรจุบทลงโทษผู้รับเหมาในทีโออาร์รถไฟฟ้า 3 โครงการ หวังช่วยลดอุบัติเหตุ หนักสุดมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาหากเกิดเหตุการณ์ซ้ำซาก!!

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า คณะกรรมการด้านความปลอดภัย (เซฟตี้บอร์ด) เตรียมเสนอให้ รฟม. บรรจุบทลงโทษผู้รับเหมา กรณีเกิดอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้างในเงื่อนไขการประมูล (TOR) โครงการรถไฟฟ้า โดยบทลงโทษจะเป็นรูปแบบเกณฑ์การให้คะแนนและตัดคะแนนเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ถ้าหากผู้รับเหมาปล่อยปละละเลยหรือจงใจให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำซาก รฟม. ก็มีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาได้

เบื้องต้นจะบังคับใช้กับการประมูลโครงการรถไฟฟ้า 3 เส้นทาง ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร วงเงิน 1.31 แสนล้านบาท, รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงสมุทรปราการ-บางปู ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร วงเงิน 1.37 หมื่นล้านบาท และส่วนต่อขยาย ช่วงคูคต-ลำลูกกา ระยะทาง 7 กิโลเมตร วงเงิน 1.19 หมื่นล้านบาท

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้เป็นโครงการที่ใช้เงินกู้จากต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องเสนอให้ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เห็นชอบในหลักการก่อน ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายทั้ง 2 เส้นสามารถดำเนินการได้เลย เพราะใช้เงินกู้ภายในประเทศ

นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล ที่ปรึกษาการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 2561 จะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ เพิ่มอีก 3 เส้นทาง คือ สายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง, สายสีชมพู แคราย-มีนบุรี และสายสีส้มตะวันออก ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ซึ่งจะส่งผลต่อจราจรบางจุด

บริเวณที่คาดว่าจะมีปัญหาจราจรมากที่สุด 4 แห่ง ได้แก่
1.แยกลำสาลี ที่จะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองตัดสลับกับสีส้ม ควบคู่ไปกับการก่อสร้างสถานี และอาจมีการก่อสร้างสายสีน้ำตาลพาดผ่านในอนาคต
2.แยกมีนบุรี ที่จะมีการก่อสร้างสายสีส้มตัดกับสีชมพู
3. แยกสุวินทวงศ์รวมถึงถนนตลอดสายซึ่งจะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม
4.ห้าแยกลาดพร้าว ในช่วงที่ต้องปิดแยกเพื่อก่อสร้างส่วนเชื่อมต่อสถานีหมอชิต-สถานีห้าแยกลาดพร้าวของรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจะมีปัญหาเพียงระยะแรก แต่ประชาชนจะปรับตัวได้ในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44542
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/09/2017 10:00 am    Post subject: Reply with quote

3 โครงข่ายรถไฟฟ้า เปิดหน้าดินทำเลใหม่
โพสต์ทูเดย์ 13 กันยายน 2560 เวลา 20:59 น.

Click on the image for full size

พื้นที่ที่อยู่ในเขตฝั่งธนบุรีมีความน่าสนใจในการพัฒนาโครงการอสังหาฯ

ไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย กล่าวว่า ฝั่งธนบุรีกำลังเปลี่ยนไปด้วยการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าที่จะเชื่อมต่อพื้นที่กรุงเทพฯ และฝั่งธนบุรี ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม รถไฟฟ้าสายสีทอง ซึ่งจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการขยายตัวของศูนย์กลางธุรกิจ ทั้งอาคารสำนักงาน ร้านค้า ร้านอาหาร รวมถึงห้างสรรพสินค้า บนทำเลของฝั่งธนบุรีในอนาคต ทำเลหลายพื้นที่โดยเฉพาะรอบสถานีรถไฟฟ้ามีความโดดเด่นและมีศักยภาพต่อการลงทุนด้านการอยู่อาศัยในระยะยาว

ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่าทำเลตั้งแต่คลองสานถึงเจริญนครมีการแข่งขันสูง โดยในส่วนของสถานีตลาดพลูและสถานีวุฒากาศ ซึ่งปัจจุบันซัพพลายที่อยู่อาศัยระดับราคา 1-2 ล้านบาท เหลือน้อยไม่ถึง 200 ยูนิต จากโครงการที่เปิดขายกว่า 8,000 ยูนิต ในจำนวนนี้มีการขายไปแล้วเกือบ 6,000 ยูนิต

ขณะที่ทำเลเจริญนครมีโครงการที่อยู่อาศัยกว่า 4,000 ยูนิต ขายไปแล้วกว่า 3,000 ยูนิต โดยระดับราคา 3 ล้านบาทนั้น มีเพียง 570 ยูนิต ซึ่งปัจจุบันขายแล้วกว่า 90% ดังนั้นซัพพลายแทบไม่มีเลย ขณะที่ดีมานด์ยังมีต่อเนื่องโดยกลุ่มลูกค้าย่านนี้เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ มีความต้องการโครงการคุณภาพบนทำเลที่ตอบโจทย์ ซึ่งราคาที่ดินบริเวณนี้อยู่ที่ประมาณ 3 แสนบาท/ตารางวา (ตร.ว.) ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งโครงการ 

ส่วนบริเวณแยกไฟฉาย ซึ่งถือว่าเป็นชุมชนเมืองที่อยู่มานาน โซนนี้ซัพพลายไม่มากเนื่องจากที่ดินหายาก อีกทั้งด้วยข้อจำกัดด้านผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ทำให้การพัฒนาคอนโด ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะดีเวลอปเปอร์ต้องรวมที่ดินแปลงเล็กๆ มาพัฒนา ขณะที่ปัจจุบันราคาที่ดินอยู่ราว 2แสนบาท/ตร.ว. ดังนั้นราคาคอนโดที่ขายต้องอยู่ประมาณ 3 ล้านบาทขึ้นไป หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 6 หมื่นบาท/ตารางเมตร (ตร.ม.)

อย่างไรก็ดี ด้วยข้อจำกัดด้านผังเมือง ทำให้บริเวณพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 ยังมีพื้นที่เอื้อต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยแนวราบอย่างบ้านเดี่ยว 100 ตร.ว.ขึ้นไป ซึ่งราคาขายต้อง 20 ล้านบาทขึ้นไปเช่นกัน หากจะหาบ้านเดี่ยวระดับ 3 ล้านบาท ในพื้นที่ฝั่งธนบุรีคงไม่มีซัพพลายเหลือแล้วในปัจจุบัน ระดับราคานี้ถ้าจะมีก็น่าจะอยู่วงแหวนรอบนอกออกไป

ด้านฝ่ายวิจัยคอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เผยว่า ศักยภาพของพื้นที่ฝั่งธนบุรีจะมากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะหลังเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินตามแนวถนนจรัญสนิทวงศ์และเพชรเกษมที่มีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2562-2563 รวมไปถึงเส้นทางรถไฟฟ้าสายอื่นๆ เช่น สายสีส้มตะวันตก สายสีม่วงตอนใต้ ที่มีการอนุมัติและกำลังจะเริ่มก่อสร้างในอนาคต รวมไปถึงสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายไปยังพุทธมณฑลสาย 4 ซึ่งทั้งสองเส้นทางจะเข้ามาเสริมศักยภาพของพื้นที่ฝั่งธนบุรีให้มากขึ้นไป ทั้งนี้โครงการที่เปิดขายใหม่ในพื้นที่ตามแนวถนนจรัญสนิทวงศ์ในปัจจุบันราคามากกว่า 1 แสนบาท/ตร.ม.ไปแล้ว

ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ตามแนวถนนจรัญสนิทวงศ์ราคาที่ดินเริ่มปรับขึ้นต่อเนื่อง โดยอยู่ที่ 2 แสนบาท/ตร.ว. อาจจะมีบางพื้นที่ที่มีราคาที่ดินต่ำกว่าแต่ก็ไม่มาก และเป็นเพราะมีข้อจำกัดในการพัฒนาบางเรื่องซึ่งผู้ประกอบการให้ความสนใจเปิดขายโครงการตามแนวถนนจรัญสนิทวงศ์และเพชรเกษม ซึ่งมีคอนโดสะสมตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมาถึงเดือน ก.ค.นี้ อยู่ที่กว่า 2 หมื่นยูนิต ขายไปได้แล้วประมาณ 77% ราคาขายเฉลี่ย 7-8 หมื่นบาท/ตร.ม. และมีแนวโน้มเปิดโครงการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอนาคต

อย่างไรก็ดี แต่เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องของผังเมืองหรือเขตห้ามก่อสร้างต่างๆ มีไม่น้อย ดังนั้นผู้ประกอบการที่มีสายป่านที่ดีย่อมเป็นต่อ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 14/09/2017 10:32 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
3 โครงข่ายรถไฟฟ้า เปิดหน้าดินทำเลใหม่
โพสต์ทูเดย์ 13 กันยายน 2560 เวลา 20:59 น.

Click on the image for full size



รฟม. เผย 4 แยกรถติดหนึบปีหน้า ลุยสร้างรถไฟฟ้า 3 สายพร้อมกัน

วันที่ 13 กันยายน 2560 - 15:24 น.

นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล ที่ปรึกษา การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในปี 2561 รฟม. จะดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสี เหลือง ชมพู และส้ม (ตะวันออก) พร้อมกันอาจทำให้เกิดปัญหาการจรจาในช่วงแรกของการก่อสร้าง ทั้งนี้ จากการประเมินคาดว่าจะมีแยกที่เสี่ยงเกิดปัญหาการจราจรติดขัดจำนวนรวม 4 จุด คือ

1. แยกลำสาลี เนื่องจากเป็นพื้นที่การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสีส้ม รวมไปถึงสถานีและสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลพาด

2. แยกมีนบุรี เพราะจะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มและสีชมพู

3. แยกสุวินทวงศ์รวมถึงถนนตลอดสายซึ่งจะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม

4. ห้าแยกลาดพร้าว ในช่วงที่ต้องปิดแยกเพื่อก่อสร้างส่วนเชื่อมต่อสถานีหมอชิต-สถานีห้าแยกลาดพร้าว ของรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ทั้งนี้ ได้สั่งการให้ผู้รับเหมาและบริษัทที่ปรึกษาเข้มงวดด้านความปลอดภัย ป้องกันมให้เกิดอุบัติเหตุกับประชาชนที่สัญจร


นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) รฟม. กล่าวว่า คณะกรรมการ (บอร์ด) ด้านความปลอดภัย หรือ เซฟตี้บอร์ด ได้กำชับเรื่องความปลอดภัยในการก่อสร้างในโครงการรถไฟฟ้าทุกเส้นทางอย่างต่อเนื่องเริ่มตั้งแต่การเข้าพื้นที่จนก่อสร้างแล้วเสร็จ รวมทั้งเตรียมเสนอแนวทางการกำหนดบทลงโทษกับผู้รับเหมาที่ฝ่าฝืนระเบียบความปลอดภัยเข้าไปบรรจุในทีโออาร์โครงการรถไฟฟ้าที่จะเปิดประมูลในอนาคต เบื้องต้นอาจจะใช้การประเมินแบบให้คะแนน และตัดคะแนน เมื่อกระทำผิด หากผู้รับเหมาที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุนั้นปล่อยปละละเลยหรือจงใจให้อุบัติเหตุเกิดขึ้นซ้ำซาก รฟม. ก็มีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาได้

เบื้องต้นจะเสนอกำหนดบทลงโทษดังกล่าวไว้ในทีโออาร์โครงการรถไฟฟ้าสามโครงการได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร วงเงิน 1.31 แสนล้านบาท และ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ส่วนต่อขยาย ช่วงสมุทปราการ-บางปู วงเงิน 1.37 หมื่นล้านบาทโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือส่วนต่อขยาย ช่วงคูคต-ลำลูกกา วงเงิน 1.19 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้สำหรับรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้นั้นเป็นโครงการใช้เงินกู้จากต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องเสนอให้ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เห็นชอบหลักการเสียก่อน ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายทั้งสองเส้น สามารถดำเนินการได้เลยเพราะเป็นการใช้เงินกู้ในประเทศ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44542
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/09/2017 6:42 am    Post subject: Reply with quote

รัฐบาลพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าแก้ปัญหาจราจรทั่วเมืองกรุงเทพ
สยามรัฐออนไลน์ 15 กันยายน 2560
ประชารัฐ - ไทยแลนด์ 4.0 - ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

Click on the image for full size

Click on the image for full size

ปัญหาการจราจรคับคั่งรถติดในช่วงเวลาเร่งด่วนล้วนเป็นปัญหาของเมืองใหญ่หรือมหานครทั่วโลก รวมถึงกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย ด้วยจำนวนประชากรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีกว่า 11 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ ปี ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่อาศัย และการเดินทางสัญจรของคนกรุงเกิดความแออัด ประเด็นสำคัญในการแก้ไขปัญหาจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลในช่วงหลายปีที่ผ่านมาคือ แผนงานพัฒนา “โครงการรถไฟฟ้าในเมือง” ล่าช้ากว่ากำหนด โดยก่อนหน้าที่รัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเข้ามาบริหารประเทศ รถไฟฟ้าในเมืองไทยเพิ่งเปิดใช้งานได้แค่ 2 สายเท่านั้น คือ รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สาย 1 หรือ “รถไฟฟ้าบีทีเอส” และรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือ “รถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที”

พลันเมื่อรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ เข้ามาบริหารประเทศจึงได้ผลักดันโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าเพื่อแก้ปัญหาจราจรอย่างเร่งด่วนทั้งระบบ พร้อมกับกำหนดให้อยู่ในยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 โดยแผนยุทธศาสตร์ระยะ 8 ปี มีเป้าหมายเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระบบรถไฟฟ้าทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑลให้ทั่วถึงกัน ช่วง 3 ปีที่ผ่านมาภายใต้การบริหารของรัฐบาลปัจจุบัน การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ ได้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและเป็นรูปธรรมเมื่อเทียบกับรัฐบาลที่ผ่านมา

บางสายสามารถเปิดให้บริการได้ก่อนกำหนดหลายเดือน ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ โดยเริ่มเปิดไปแล้วเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2559 เร็วกว่าแผนเดิมที่กำหนดเปิดในปลายปี 2559 และกลางเดือนสิงหาคม 2560 ได้เปิดให้เชื่อมต่อระหว่างสถานีเตาปูน-บางซื่อ เป็นการเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 2 เส้นทาง คือ สายสีน้ำเงินและสีม่วง สร้างความสะดวกให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังเปิดให้บริการเดินรถส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สำโรง ซึ่งเดิมสิ้นสุดแค่สถานีแบริ่ง ไปถึงย่านสำโรง ให้ผู้อยู่อาศัยในชานเมืองและจังหวัดสมุทรปราการ เดินทางได้ง่ายและช่วยบรรเทาปัญหาจราจรบนถนนสุขุมวิทได้เป็นอย่างดี

ในส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างเร่งรัดการก่อสร้างเพื่อให้เปิดได้รวดเร็วขึ้น ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางจากฝั่งธนกับฝั่งพระนครเข้าด้วยกัน และในเส้นทางนี้ยังมีการสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้ารอดแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแห่งแรกของประเทศอีกด้วย โดยปัจจุบันการก่อสร้างใกล้เสร็จแล้วทำได้กว่า 93% และจะเปิดให้บริการได้ปี 2562 เช่นเดียวกับ รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่จะอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่อยู่ทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ และจังหวัดปทุมธานี ซึ่งจะเปิดใช้ได้ในปี 2563

รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ยังได้อนุมัติโครงการรถไฟฟ้าขึ้นอีกหลายเส้นทาง ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต–สะพานใหม่–คูคต ระยะทาง 18.7 กม. เชื่อมต่อการเดินทางจากกรุงเทพฯ ตอนเหนือ และปทุมธานี เข้าสู่เมืองตามถนนพหลโยธิน และบรรจบเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสถานีบีทีเอส ซึ่งได้เริ่มก่อสร้างไปแล้วตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2558

นอกจากนี้ยังมีรถไฟฟ้าอีก 3 โครงการใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้น ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ระยะทาง 22.75 กิโลเมตร วงเงิน 79,221 ล้านบาท ซึ่งวิ่งผ่านพื้นที่สำคัญทั้งถนนพระราม 9 รามคำแหง ไปจนถึงมีนบุรี เพิ่มความสะดวกให้ประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ เข้าสู่เมืองได้ง่ายขึ้น ซึ่งได้เริ่มตอกเสาเข็มได้ในเดือนกรกฎาคม 2560 และจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2566

ขณะที่อีก 2 โครงการ สดๆร้อนๆ ที่เพิ่งลงนามสัญญาก่อสร้างไปเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2560 ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 36 กิโลเมตร เชื่อมต่อจากจังหวัดนนทบุรีและไปสิ้นสุดที่ย่านมีนบุรี และ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร ที่จะเข้ามาช่วยบรรเทาปัญหาจราจรถนนลาดพร้าว และถนนศรีนครินทร์ โดยทั้งสองโครงการคาดว่าจะเริ่มตอกเสาเข็มได้ในปี 2560 และจะเปิดให้บริการใกล้เคียงกันในปี 2563

รัฐบาลยังมีโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ ที่อยู่ระหว่างกำลังศึกษาจัดทำแผนการก่อสร้างภายใน 1-2 ปีนี้อีกหลายเส้นทาง ไม่ว่าจะเป็นส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ 23.6 กิโลเมตร และโครงการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน – ศูนย์วัฒนธรรม ทั้งสองโครงการนี้ รัฐบาลได้ผลักดันให้เร่งรัดการลงทุนแบบเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี ฟาสต์แทร็ก) เพื่อร่นเวลาจาก 25 เดือน เหลือแค่ 9 เดือน ส่งผลให้ทั้งสองโครงการจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2561

นอกจากนี้ยังมีโครงการ รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และ สายสีแดงเข้ม บางซื่อหัวลำโพง รวมระยะทาง 25.9 กม. ที่จะเสนอให้ ครม.พิจารณาได้ภายในปีนี้ เช่นเดียวกันกับโครงการ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ สนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินดอนเมือง ที่จะเริ่มประกวดราคาหาผู้รับเหมาได้ในปี 2560 และ รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน –ศิริราช และตลิ่งชัน-ศาลายา จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี อนุมัติโครงการได้ภายในปี 60

ขณะที่ รถไฟฟ้าสีแดงเข้ม รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ที่จะมีการสร้างเพิ่มสถานีอีก 5 สถานี จะเริ่มเปิดให้มีการประมูลได้ในปี 2561 รวมถึงโครงการที่อยู่ระหว่างจัดทำการศึกษาอีกหลายเส้นทาง ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 วงเงิน21,197 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสมุทรปราการ-บางปู วงเงิน 12,146 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงคูคต-ลำลูกกา วงเงิน 9,803 ล้านบาท ที่จะเริ่มเปิดประมูลได้ในภายในปี 2561

นายเอกชัย สุมาลี นักวิชาการด้านระบบคมนาคม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สนับสนุนภาครัฐที่ขยายโครงข่ายการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้า เพราะจะช่วยสร้างความสะดวกและลดเวลาการเดินทางให้กับประชาชน และเห็นควรเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชนด้วยการบูรณาการร่วมกับ ขสมก. วางระบบขนส่งโดยรอบสถานีไปยังชุมชนต่าง ๆ และในระยะยาวรัฐต้องออกแบบเมืองให้สอดคล้องกับรถไฟฟ้า และนำระบบขนส่งอื่นๆ เข้ามาสนับสนุน โดยระยะทางที่เหมาะสมต่อการเดินเท้าเพื่อเชื่อมต่อกับระบบขนส่งอื่น ๆ ไม่ควรเกิน 500 เมตร
นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้ช่วยรองอธิการบดีสายงานวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า รัฐบาลชุดนี้ได้ขยายโครงข่ายระบบรถไฟฟ้ามีความก้าวหน้ามาก ทั้งนี้รถไฟฟ้าในเมืองนอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกให้คนในกรุงเทพฯ และปริมณฑลแล้วยังเป็นการกระจายความเจริญออกไปสู่นอกเมือง ไม่ให้ต้องกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ เพียงอย่างเดียว ดังนั้นภาครัฐจำเป็นต้องวางแผนหรือจัดผังเมืองตามเส้นทางรถไฟฟ้า โดยเฉพาะปลายทางที่อยู่โดยรอบเมืองควบคู่กันไปด้วย รวมทั้งรัฐควรส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทาง จากรถยนต์ส่วนตัวให้หันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะแทน โดยอาจใช้เรื่องราคามาเป็นแรงจูงใจในช่วงเริ่มต้น และถ้าระบบรถไฟฟ้าเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายสำเร็จก็จะช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมได้ในระยะยาวเหมือนเมืองขนาดใหญ่ที่มีความเจริญแล้ว

ด้านนายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผยว่า การผลักดันก่อสร้างรถไฟฟ้าให้เกิดขึ้นหลายๆสายของรัฐบาลเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้ว และผลดีนอกจากทำให้การเดินทางไปมาหาสู่ของประชาชนได้สะดวกขึ้นแล้ว ในภาคอสังหาริมทรัพย์ก็ได้รับผลโดยตรง ช่วยให้การขยายโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ ๆ เกิดขึ้นตามทำให้เกิดการลงทุนใหม่ ๆ เกิดการจ้างงาน สนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวได้ต่อเนื่อง ขณะเดียวกันการขยายระบบรถไฟฟ้าไปยังชานเมืองยังกระจายความเจริญในการอยู่อาศัยไปสู่พื้นที่โดยรอบกรุงเทพฯ ได้ดีขึ้น ลดปัญหาความแออัดการกระจุกตัวในเมืองได้

เหล่านี้เป็นเสียงสะท้อนที่แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลพลเอกประยุทธ์พัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนทั้งระบบรวม 299 กิโลเมตร จะช่วยลดปัญหาการจราจรให้กับคนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้อย่างเห็นเป็นรูปธรรม รวมทั้งทำให้เกิดการกระจายตัวของที่อยู่อาศัยและส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44542
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/09/2017 10:04 am    Post subject: Reply with quote

ตั๋วร่วมรถไฟฟ้าส่ออืด เลื่อนยาวถึงปลายปี'61
โพสต์ทูเดย์ 15 กันยายน 2560 เวลา 08:55 น.

บีอีเอ็ม หวั่นตั๋ว ร่วมระบบรถไฟฟ้าเปิดใช้ไม่ทันตามเป้าหมาย หลังติดกระบวนการเตรียมการคาดเริ่มได้ปลายปี 2561

นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (บีอีเอ็ม) เปิดเผยว่า โครงการติดตั้งระบบตั๋วร่วมในรถไฟฟ้าใต้ดิน (เอ็มอาร์ที) นั้นคาดจะใช้เวลาดำเนินการติดตั้งระบบและเครื่องอ่านบัตรประมาณ 10-12 เดือน ส่งผลให้มีโอกาสที่จะได้ใช้ระบบดังกล่าวปลายปี 2561 จากเป้าหมายที่กระทรวงคมนาคมกำหนดไว้จะเริ่มได้กลางปี 2561 เนื่องจากกระบวนการและระยะเวลาการติดตั้งต้องเริ่มนับจากวันที่เริ่มต้นดำเนินโครงการ โดยปัจจุบันโครงการดังกล่าวเพิ่งผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อมอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการวางแผนติดตั้งระบบตั๋วร่วม จึงจำเป็นต้องเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ให้พิจารณาเห็นชอบเสียก่อน จึงจะเริ่มร่างแผนขั้นตอนต่อไปได้

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการและผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอส) กล่าวว่า บีทีเอสมีความพร้อมดำเนินการติดตั้งระบบตั๋วร่วมเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางของประชาชน ดังนั้นจึงคาดว่าจะใช้เวลาติดตั้งระบบและเครื่องอ่านบัตรราว 8 เดือน เนื่องจากมีระบบบัตรเชื่อมต่อแรบบิทการ์ดอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนมาก</p><p>อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการอะไรได้ ต้องรอ รฟม.ร่างแผนดำเนินงานเพื่อชี้แจงรายละเอียดและรูปแบบโครงการให้ชัดเจนเสียก่อน จึงคาดว่าในช่วงกลางปี 2561 บีทีเอสจะยังไม่สามารถเชื่อมต่อระบบตั๋วร่วมได้อย่างสมบูรณ์

ด้านนายเผด็จ ประดิษฐ์เพชร ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ขณะนี้ได้ส่งเรื่องโครงการตั๋วร่วมไปให้ รฟม.แล้วคาดว่าจะเสนอหลักการให้บอร์ด รฟม.พิจารณาเห็นชอบได้ในวันที่ 18 ก.ย.นี้ หลังจากนั้นจะดำเนินการร่างแผนการติดตั้งระบบ อย่างไรก็ตามวงเงินลงทุนติดตั้งระบบตั๋วร่วมในรถไฟฟ้าทั้ง 4 สาย อยู่ที่ 400 ล้านบาท โดยจะเริ่มจากเชื่อมต่อตั๋วร่วมระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วงและรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ก่อน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/09/2017 10:16 am    Post subject: Reply with quote

ตั๋วร่วมรถไฟฟ้าส่ออืด เลื่อนยาวถึงปลายปี'61
โพสต์ทูเดย์
15 กันยายน 2560 เวลา 08:55 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44542
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/09/2017 4:49 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.เร่งศึกษาระบบจอดแล้วจรกทม.-ปริมณฑลจูงใจใช้ขนส่งสาธารณะ
ฐานเศรษฐกิจ 15 September 2017

Click on the image for full size

กระทรวงคมนาคมเร่งศึกษาจัดทำระบบจอดแล้วจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มมากขี้น เพื่อประหยัดเวลา และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดการสัมมนา และรับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาจัดทำระบบจอดแล้วจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมื่อวันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2560 โดยมีหน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ ประชาชนผู้ที่สนใจ รวมทั้งสื่อมวลชนแขนงต่างๆ เข้าร่วมสัมมนารับฟังความคิดเห็นฯ ดังกล่าว

Click on the image for full size

ซึ่งนายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (คค.) กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายสำคัญที่จะเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาจราจรที่ติดขัด ในปัจจุบันให้บรรเทาเบาบางลง โดยให้พิจารณาความเชื่อมโยงของระบบขนส่งมวลชน ซึ่งพบว่าเกิดปัญหาในช่วงรอยต่อของระบบขนส่งสาธารณะที่มีการจัดเตรียมพื้นที่สำหรับจอดรถไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน รัฐบาลจึงมีนโยบายให้จัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดทำที่จอดรถให้บริการในพื้นที่ที่การจราจรติดขัด และพื้นที่รองรับการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ

ดังนั้น รัฐบาลโดยกระทรวงคมนาคม จึงมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ดำเนินการศึกษาจัดทำระบบจอดแล้วจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามาใช้จุดจอดแล้วจรเพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่าการจัดทำจุดจอดแล้วจรจะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาจราจรได้ โดยจัดสรรพื้นที่จอดรถใกล้สถานีระบบขนส่งมวลชน ทั้งนี้ ในปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีจุดบริการจอดแล้วจรสำหรับให้บริการประชาชน ได้แก่ บริเวณสถานีในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส จำนวน 3 แห่ง

Click on the image for full size

ระบบรถไฟฟ้ามหานคร ตลอดเส้นทางจากหัวลำโพงถึงบางซื่อ จำนวน 12 แห่ง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ จำนวน 6 แห่ง รถไฟฟ้าสายใหม่จำนวน 7 สายทาง โดยสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-เตาปูนมีบริการอาคารจอดรถจำนวน 4 แห่ง และสายอื่นๆ อยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้าง เพื่อให้ประชาชนใช้บริการขนส่งสาธารณะเข้ามาพื้นที่ชั้นใน แทนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เพื่อลดความแออัดของปริมาณรถยนต์ ลดจำนวนที่จอดรถในอาคารสำนักงาน ลดมลพิษทางอากาศและทางเสียง อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลา และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้กับประชาชนอีกทางหนึ่งด้วย

ปัจจุบันกระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการขยายโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางให้ครอบคลุมเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระบบจอดแล้วจรถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการใช้ระบบขนส่งมวลชน โดยเพิ่มขอบเขตพื้นที่บริการของสถานีระบบขนส่งมวลชนให้กว้างมากขึ้น แต่ยังพบว่า ปัญหาหลักของระบบจอดแล้วจรมีหลายประเภท ได้แก่ จุดจอดแล้วจรไม่เพียงพอต่อความต้องการ การใช้งานไม่เต็มประสิทธิภาพ และการใช้งานไม่ตรงตามวัตถุประสงค์

Click on the image for full size


ปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุสำคัญิเนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่จุดจอดแล้วจร ในการเสนอแนะรูปแบบ ตำแหน่ง และการศึกษา ความคุ้มค่าในการลงทุนสำหรับที่ดินของภาครัฐและเอกชน อีกทั้งจุดจอดแล้วจรที่มีอยู่ในปัจจุบันถูกสร้างขึ้นโดยไม่มีแผนที่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน แม้อาจจะมีความพยายามประเมินความจุของที่จอดรถตามความต้องการใช้งานจริง แต่ส่วนใหญ่แล้วจำนวนที่จอดแล้วจรที่สร้างขึ้นถูกกำหนดโดยขนาดที่ดินที่สามารถจัดหาได้เป็นหลัก โดยไม่มีการพิจารณาวางแผนจุดจอดแล้วจรอย่างเป็นระบบในระดับภาคมหานคร

นอกจากนี้ แม้ในปัจจุบันที่จอดรถ เพื่อจอดแล้วจรมีการดำเนินการจากหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่มีศักยภาพ ในการพัฒนาเพื่อใช้เป็นจุดจอดแล้วจร แต่ยังไม่มีการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมในการดำเนินการ ซึ่งโครงการศึกษาจัดทำระบบจอดแล้วจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีวัตถุประสงค์ ได้แก่

Click on the image for full size

1) เพื่อศึกษาและประเมินอุปสงค์การใช้จุดจอดแล้วจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้ข้อมูลคาดการณ์ปริมาณผู้ใช้ระบบขนส่งมวลชนทางราง จากแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-MAP) ของ สนข. เป็นพื้นฐานในการศึกษาและประเมิน
2)เพื่อกำหนดที่ตั้งขนาดความจุที่เหมาะสมในการพัฒนาจุดจอดแล้วจร ให้สอดคล้องกับอุปสงค์การใช้จุดจอดแล้วจรสำหรับระบบขนส่งมวลชนทางรางตามแผน M-MAP รวมถึงพัฒนาแนวทาง ในการกำหนดองค์ประกอบของจุดจอดแล้วจรสำหรับแต่ละพื้นที่

3)เพื่อเสนอทางเลือกรูปแบบการบริหารจัดการ การลงทุนที่เหมาะสม หน่วยงานรับผิดชอบ มาตรการ ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ และรูปแบบการส่งเสริม สร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามาใช้จุดจอดแล้วจรให้มากขึ้น
4)เพื่อจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาจุดจอดแล้วจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Click on the image for full size

นายธีระพงษ์ ฯ กล่าวตอนท้ายว่า ปัจจุบัน สนข. ได้ดำเนินการศึกษาโครงการฯ ดังกล่าว มาถึงขั้น ร่างแผนแม่บทการพัฒนาจุดจอดแล้วจร ซึ่งจากผลการศึกษาทำให้ได้แผนแม่บทการพัฒนาจุดจอดแล้วจร การวิเคราะห์ต้นทุนของการพัฒนาจุดจอดแล้วจร รูปแบบการลงทุนและการบริหารจัดการ มาตรการสนับสนุน ให้เกิดการใช้จุดจอดแล้วจร และพื้นที่สำหรับพัฒนาจุดจอดแล้วจร

จึงได้จัดสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นขึ้น เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีโอกาสร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาจุดจอดแล้วจรร่วมกัน ทั้งนี้ สนข. จะนำข้อคิดเห็นอันเป็นประโยชน์จากการสัมมนาฯ ในวันนี้ ไปปรับปรุง แก้ไข และจัดทำแผนแม่บท การพัฒนาจุดจอดแล้วจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์ สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และสอดรับกับระบบขนส่งมวลชนทางรางที่จะเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2572 ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44542
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/09/2017 11:09 pm    Post subject: Reply with quote

เริ่มแล้ว! รถไฟฟ้าสายสีชมพูแจ้งพรุ่งนี้ 4 ทุ่ม เบี่ยงจราจรถนนรามอินทราสำรวจระบบสาธารณูปโภค
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 17 กันยายน 2560 - 21:01 น.

รฟม.แจ้งเบี่ยงช่องทางจราจรบนถนนรามอินทรา บริเวณปากทางเข้าถนนพระยาสุเรนทร์ บริเวณซอยรามอินทรา 115 และบริเวณซอยรามอินทรา 119 เพื่อดำเนินการขุดเจาะสำรวจระบบสาธารณูปโภค เพื่อเตรียมพื้นที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย -มีนบุรี ในวันที่ 18 – 26 กันยายน 2560 ตั้งแต่เวลา 22.00 – 04.00 น.

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่าบริษัทชิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) จะดำเนินการขุดเจาะสำรวจระบบสาธารณูปโภคเพื่อเตรียมพื้นที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย -มีนบุรี จึงมีความจำเป็นต้องเบี่ยงการจราจรบนถนนรามอินทรา บริเวณปากทางเข้าถนนพระยาสุเรนทร์ บริเวณซอยรามอินทรา 115 และบริเวณซอยรามอินทรา 119 ในวันที่ 18 – 26 กันยายน 2560 ตั้งแต่เวลา 22.00 – 04.00 น. โดยมีรายละเอียดการเบี่ยงช่องทางการจราจรดังนี้

1.เบี่ยงช่องทางจราจรบนถนนรามอินทรา (ขาออก) 1 ช่องทาง ติดเกาะกลางถนน บริเวณปากทางเข้าถนนพระยาสุเรนทร์ ระยะทางประมาณ 310 เมตร ในวันที่ 18 – 22 กันยายน 2560

2.เบี่ยงช่องทางจราจรบนถนนรามอินทรา (ขาออก) 1 ช่องทาง ติดเกาะกลางถนน บริเวณซอย รามอินทรา 115 ระยะทางประมาณ 310 เมตร ในวันที่ 20 – 24 กันยายน 2560

3.เบี่ยงช่องทางจราจรบนถนนรามอินทรา (ขาออก) 1 ช่องทาง ติดเกาะกลางถนน บริเวณซอย รามอินทรา 119 ระยะทางประมาณ 310 เมตร ในวันที่ 22-26 กันยายน 2560

ในระหว่างที่มีการเบี่ยงช่องจราจรจะมีการดำเนินการเช่น ติดตั้งป้ายเตือน ป้ายจราจร กรวยยาง และสัญญาณไฟส่องสว่างเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้เส้นทาง และประชาสัมพันธ์แจ้งให้ผู้ใช้เส้นทางทราบ ทั้งนี้ การเบี่ยงช่องจราจรเพื่อดำเนินงานดังกล่าว อาจทำให้ผู้ใช้เส้นทางไม่ได้รับความสะดวกและอาจมีเสียงดังรบกวนในช่วงที่มีการดำเนินการ รฟม. ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44542
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/09/2017 11:13 pm    Post subject: Reply with quote

สนช.จ่อสร้างระบบฟีดเดอร์ ป้อนรถไฟฟ้า 10 สาย เล็งสร้างสายรังสิต-นครนายก และสายพัฒนาการ-คลองตัน
ฐานเศรษฐกิจ 17 September 2017

สนช. ขุดกรุโครงการแก้ไขปัญหาจราจรเขตพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑลผนึกหน่วยเกี่ยวข้องเร่งบูรณาการร่วม เล็งใช้มาตรการเข้มงวดพร้อมสร้างระบบฟีดเดอร์ป้อนรถไฟฟ้า 10 สาย จับตาสร้างรถไฟฟ้าถนนรังสิต-นครนายกและถนนพัฒนาการ-คลองตัน

นายวันชัย ศารทูลทัต รองประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าได้กำหนดจัดสัมมนาเพื่อรับฟังความเห็นเรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑลแบบองค์รวมขึ้นในวันที่ 20 กันยายน 2560 นี้เบื้องต้นนั้นจะนำโครงการต่างๆ ที่แต่ละหน่วยเกี่ยวข้องมีแผนดำเนินการมาปรับใช้ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น พร้อมกับศึกษาแต่ละปัญหาแต่ละโครงการเชิงลึกเพื่อหาแนวทางเร่งผลักดันก่อนจัดสรรงบประมาณไปดำเนินการ

Click on the image for full size
วันชัย ศารทูลทัต รองประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

โดยจะบูรณาการแผนของทุกหน่วยเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาเพื่อนำไปจัดทำแผนให้ชัดเจนในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑลที่ปัจจุบันมีรถใช้บริการกว่า 9 ล้านคันต่อวันนั้นสนช.จึงจะนำรูปแบบการใช้ตาข่ายคลุมทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑลเพื่อให้เห็นภาพการแก้ไขปัญหาจราจรให้ได้ผลชัดเจนมากที่สุด ต้องการให้พื้นที่ในกรุงเทพฯมีมากขึ้น การจราจรก็จะดีขึ้น แนวทางหนึ่งก็จะนำมาตรการต่างๆไปเร่งปรับใช้ให้เข้มงวดพร้อมกับเร่งจัดหาระบบฟีดเดอร์ขนส่งมวลชนรองรับประชาชนออกจากบ้านไปสู่ระบบขนส่งมวลชนหลักโดยการเชื่อมโยงจะเน้นอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนให้มากที่สุด อาทิ การสร้างรถไฟฟ้ารองรับผู้ใช้บริการในเส้นทางรังสิต-นครนายก เพื่อป้อนให้กับรถไฟฟ้าบีทีเอสและสายสีแดง เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่กทม.โซนเหนือ ส่วนเส้นทางถนนพัฒนาการ-คลองตันเพื่อป้อนรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สายสีส้ม (ตะวันออก) และแอร์พอร์ตเรลลิงค์ เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่กทม.โซนตะวันออก เป็นต้น

“ดังนั้นต่อนี้ไปกรมการขนส่งทางบกจะต้องเร่งจัดเส้นทางรถเมล์ให้บริการอย่างครอบคลุมทุกพื้นที่มากขึ้นให้สามารถป้อนผู้โดยสารกับระบบรถไฟฟ้าเส้นทางหลักให้ใกล้และรวดเร็วที่สุด เพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลให้มากที่สุด เกิดทางเลือกใช้บริการให้มากขึ้นนั่นเอง”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,297 วันที่ 17 - 20 กันยายน พ.ศ. 2560
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44542
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/09/2017 8:11 am    Post subject: Reply with quote

กทพ.ลุ้นสผ.เคาะEIAทางด่วนN2 จ่อชงครม.ปลายปีนี้เริ่มก่อสร้าง61
MGR Online เผยแพร่: 18 ก.ย. 2560 07:20:00

กทพ.เตรียมชง ทางด่วน N2 เข้าครม.ปลายปีนี้ รอลุ้น สผ.อนุมัติ EIAเพิ่มเติม
ยันตอม่อเกษตร-นวมินทร์ รองรับได้เฉพาะทางด่วน ส่วนรถไฟฟ้าหากมีจำเป็นต้องขยับแนวไปด้านข้าง พร้อมเตรียมเปิดรับฟังความเห็นประชาชน 26 ก.ย.นี้ เล็งเริ่มก่อสร้างปลายปี 61 ขณะที่บอร์ดกทพ. ล้มคัดเลือกที่ปรึกษาทางด่วนพระราม3-ดาวคะนอง เหตุยื่นซองรายเดียว เร่งเปิดใหม่
นายสุทธิศักดิ์ วรรธนวินิจ รองผู้ว่าการฝ่ายกฎหมายและกรรมสิทธิ์ที่ดิน ในฐานะรักษาการแทนรักษาการผู้ว่า การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กล่าวถึงความคืบหน้า โครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ N2 บนถนนเกษตร-นวมินทร์ ระยะทาง 10.5กม.นั้นขณะนี้ เหลือขั้นตอนการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ( EIA ) เพิ่มเติม ซึ่งคาดว่าจะได้รับการอนุมัติจาก คณะกรรมการ นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อขออนุมัติได้ในช่วงปลายปี 2560 และจะสามารถดำเนินการประกวดราคาหาผู้รับจ้างและดำเนินการก่อสร้างได้ภายในปลายปี 2561 ก่อสร้างเสร็จภายในปี 2563

โดยหากครม.อนุมัติ จะสามารถดำเนินโครงการได้ทันที เนื่องจาก ขณะนี้การออกแบบโครงสร้างแนวเส้นทางเสร็จหมดแล้ว โดยปรับแบบจากโครงการเดิม ที่มีช่วง N1 N2 N3 และตัดแนวสายทาง เหลือเฉพาะช่วง N2 และไปเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข9(บางนา-บางปะอิน) ซึ่งค่าก่อสร้างจากเดิม 14,000ล้านบาท เพิ่มเป็น17,000ล้านบาท แต่ไม่มีการเวนคืน โดยทางด่วน N2 จะใช้เงินจากกองทุนรวมไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์(TFF)ในการลงทุนก่อสร้าง

สำหรับแนวการก่อสร้างทางด่วน N2 ยังคงยึดตามแนวเดิมเป็นทางยกระดับตั้งแต่อุโมงค์ทางลอดเกษตรศาสตร์ตามแนวต่อม่อของการทางฯ ผ่านบางบัว แยกลาดปลาเค้า ทางต่างระดับรามอินทรา แยกนวลจันทร์ และตรงไปสิ้นสุดที่ทางหลวงหมายเลข9 (บางนา-บางปะอิน) ขนาด4ช่องจราจร ไป-กลับ รวมระยะทาง 10.5กม. มีสะพานข้ามแยกจำนวน 5 แห่ง มีทางขึ้นลงจำนวน 6 แห่ง สามารถเชื่อมต่อกับทางพิเศษฉลองรัฐ และถนนวงแหวนตะวันออก มอเตอร์เวย์สาย 9 เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงโครงข่ายทางได้

ส่วนการศึกษา โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ซึ่งมีแนวเส้นทางเดียว ทางด่วน N2 ด้วยนั้น หลักการ คงไม่สามารถให้รถไฟฟ้ามาใช้ตอม่อร่วมกับทางด่วนได้ เนื่องจากการรับน้ำหนักไม่เหมือนกัน ดังนั้นรถไฟฟ้าอาจจะต้องขยับแนวก่อสร้างไปด้านข้างทางด่วน ซึ่ง กทพ.จะจัดการประชุมเพื่อทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ในโครงการทางด่วน N2 ในวันที่26ก.ย.นี้

***ล้มคัดเลือกที่ปรึกษาทางด่วนพระราม3-ดาวคะนอง เหตุยื่นซองรายเดียว

นายสุทธิศักดิ์ กล่าวว่า คณะกรรมการ (บอร์ด) กทพ. เมื่อวันที่ 13 ก.ย. ที่ผ่านมามีมติให้ยกเลิกการคัดเลือกที่ปรึกษาโครงการทางด่วน พระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนตะวันตก ระยะทาง 17 กม. วงเงิน 30,437 ล้านบาท และให้เปิดคัดเลือกใหม่ เนื่องจาก มีเอกชนยื่นข้อเสนอเพียงกลุ่มเดียว ทำให้ไม่เกิดการแข่งขัน โดยจะเร่งเปิดคัดเลือกใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการก่อสร้างโครงการ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 162, 163, 164 ... 278, 279, 280  Next
Page 163 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©