Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181550
ทั้งหมด:13492788
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 232, 233, 234 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 13/09/2017 6:23 pm    Post subject: Reply with quote

หนังสือพิมพ์ นิกเก ของญี่ปุ่นพูดถึงโครงการทางรถไฟ ไทย - มาเลเซียยาว 1500 กิโลเมตร หลังรถไฟลาว-จีนเริ่มก่อสร้างและ รถไฟไทย-จีนเริ่งได้ข้อตกลงว่าจะสร้างและ รถไฟมาเลเซีย - สิงคโปร์จะเริ่มเอาจริง
https://asia.nikkei.com/Politics-Economy/International-Relations/Thailand-Malaysia-to-start-talks-for-high-speed-railway
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/09/2017 8:25 am    Post subject: Reply with quote

วิสัยทัศน์ผู้นำไทยสู่ความสัมพันธ์ไทย-จีน หวังการลงทุนจากจีน ช่วยสร้าง “ไทยแลนด์ 4.0”
เผยแพร่: 16 ก.ย. 2560 07:29:00

MGR ONLINE--หลังจากที่มีการลงนามสัญญาฉบับต่างๆระหว่างไทย-จีน ในการประชุมสุดยอด บริกส์ (BRICS) ที่เมืองซย่าเหมิน ระหว่างวันที่ 3-5 ก.ย.ได้แก่ สัญญาออกแบบและการควบคุมงานก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา, แผนปฏิบัติการสำหรับดำเนินความสัมพันธ์ไทย-จีน, และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในกรอบเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมทางบก และเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21

ความสัมพันธ์ไทย-จีน ยิ่งกระชับแน่น และจะดำเนินไปในทิศทางใด... เอกอัครราชทูตไทยประเทศกรุงปักกิ่ง นาย พิริยะ เข็มพล ได้ให้สัมภาษณ์ ชี้ถึงผลประโยชน์การพัฒนาประเทศจากความสัมพันธ์ไทย-จีน ยุค หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง (One Belt, One Road)

ขณะนี้จีนเป็นแหล่งนักลงทุนรายใหญ่ของไทย มีศักยภาพสูงมากที่จะช่วยดึงไทยเข้าสู่ยุค “ไทยแลนด์ 4.0” จีนมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนนวัตกรรมในต่างประเทศ โดยส่งเสริมกลุ่มมณฑลที่มีศักยภาพ เช่น เจ้อเจียง เจียงซู เหอหนัน มณฑลเหล่านี้มีจำนวนประชากรพอๆกับประเทศไทย และมีกลุ่มนักลงทุนด้านนวัตกรรมจำนวนมาก นักธุรกิจหลายรายจากมณฑลเจียงซูก็ได้เข้าไปลงทุน ตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดระยอง

“จีนผลักดันความริเริ่ม หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง พร้อมกับจัดสรรกองทุนมากมาย ถ้านโยบาย หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง เกิดขึ้นโดยคนที่ไม่มีเงินไม่มีทุน ก็ไม่เกิดผลใด ไทยได้เชิญกลุ่มนักลงทุนจากทั่วโลกเข้ามา ก็หายๆหน้าไป เพราะเศรษฐกิจไม่ค่อยดี เมื่อนักลงทุนจีนเข้ามา ไทยก็เปิดประตูรับ...”

“ถ้าไม่มีนักธุรกิจเข้ามาลงทุน ระเบียงเศรษฐกิจหรืออีอีซี (Eastern Economic Corridor)ไม่เกิด นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ก็ไม่สำเร็จ ไทยกำลังนำเข้าความสามารถพิเศษ (talent) ความเชี่ยวชาญ เข้ามาช่วยให้การพัฒนาทรัพยากรบุคคลเร็วขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นจากศูนย์ ขณะที่จีนมีนวัตกรรม มีบริษัทเทคโนโลยีสูง อย่าง อาลีบาบา หัวเว่ย เป็นต้น เมื่อนักลงทุนเหล่านี้เข้ามาพร้อมกับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ทำให้คนไทยได้พัฒนาความสามารถเก่งขึ้น อยู่ที่ไทยจะใช้การลงทุนจากจีนพัฒนาประเทศอย่างไร”

ย้อนมองสมัยก่อนจีนได้ใช้ประโยชน์จากการลงทุนจากต่างประเทศ เริ่มจากการเชิญบริษัทจีเอ็ม บริษัทโบอิ้งมาลงทุน จนสามารถพัฒนาเครื่องบินของตัวเอง เชิญเยอรมนีเข้ามาลงทุน ต่อมาก็มีรถไฟพลังแม่เหล็กแม็กเลฟ เปิดบริการในเส้นทางจากใจกลางเมืองเซี่ยงไฮ้ไปยังสนามบินผู่ตง การหลั่งไหลเข้ามาของทุนต่างชาติพร้อมกับมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี ในที่สุดจีนก็มีค่ายโทรศัพท์มือถือของตัวเอง เอาชนะค่ายโทรศัพท์มือถือต่างชาติ พัฒนารถไฟความเร็วสูง ขายตลาดทั่วโลก

“ผมไปดูโรงงานรถไฟความเร็วสูงมาแล้ว จีนขายรถไฟในตลาด 102 ประเทศ ทั้งในอเมริกา ประเทศต่างๆที่เคยเป็นผู้ผลิตมาก่อน ก็กลายเป็นผู้ซื้อ ตอนนี้จีนผลิตเองได้ กลายเป็นผู้ขาย ผู้ส่งออกเทคโนโลยี ปัจจุบันไม่มีบริษัทข้ามชาติรายไหนที่ไม่มีฐานลงทุนในจีน”

“ไทยก็เช่นกัน เราไม่กลัวการลงทุน และกำลังเชื้อเชิญการลงทุนที่สอดคล้องกับนโยบายประเทศ เช่น โรโบติก ไบโอเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ เน้นการลงทุนที่มี R&D ที่จะช่วยดึงประเทศไทยให้ก้าวพ้นจากดักทางรายได้ รายได้ประเทศไทยไม่กระเตื้องเลยมานานแล้ว เพราะเราไม่มีอะไรใหม่ๆ จะรอพัฒนาคนของเราเอง ก็ไม่ทัน ดังนั้น การนำเข้าความสามารถพิเศษ เทคโนโลยี ในลักษณะการลงทุนโดยตรงเป็นเรื่องสำคัญ เป็นทิศทางเดียวกับที่จีนได้ทำสำเร็จมาแล้ว”

“ขณะนี้ไทยให้สิทธิพิเศษด้านภาษี และมาตรการส่งเสริมการลงทุนอื่นๆ เพื่อนำเข้าความสามารถพิเศษ สร้างการวิจัยและการพัฒนา ประเทศไทยเป็นแหล่งลงทุน มีคนสนใจมาลงทุน ไม่เฉพาะจีน ญี่ปุ่น อเมริกัน และชาติอื่นๆจากตะวันตก ก็เข้ามา ในขณะที่เรากำหนดทิศทางว่าจะใช้การลงทุนด้านนวัตกรรมมาช่วยพัฒนาประเทศเข้าสู่ยุคใหม่...เป็นเกษตรกร 4.0 เป็นแรงงาน 4.0 เป็นทุกอย่างที่เปลี่ยนไป ไม่ใช่แบบเดิมๆ”

เรียนรู้จากการลงทุนต่างชาติ สู่สองความฝันจีน

จีนสามารถยกระดับรายได้ประชาชาติ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ก้าวกระโดด เพราะการปฏิรูปเศรษฐกิจ ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ขณะนี้ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง กำลังพัฒนาประเทศเพื่อบรรลุ “ความฝันร้อยปี สองความฝัน” ฝันแรกคือ ร้อยปีแห่งการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ (ปีก่อตั้ง ค.ศ.1921) จีนจะเป็นสังคมพอกินพออยู่อย่างถ้วนหน้าในปี ค.ศ. 2020 คำว่า “ถ้วนหน้า” คือทุกคน

ฝันที่สอง คือร้อยปีแห่งการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน(ปีก่อตั้ง ค.ศ.1949) จีนจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปี ค.ศ. 2049 เป็นประเทศโลกที่หนึ่งภายใต้ระบบการปกครองสังคมนิยมแบบจีน ไม่ใช่ระบบการปกครองประชาธิปไตยแบบตะวันตก ทุนนิยม
“จีนจะทำให้ประชาชนกว่า 1,300 ล้านคน หลุดพ้นจากความยากจน โดยใช้คอนเนคทิวิตี้ (connectivity) เชื่อมโยงพื้นที่กว้างใหญ่เทียบเท่าทวีป จีนได้เชื่อมเมืองใหญ่เมืองเล็กในชนบท ด้วยเครือข่ายเส้นทางรถไฟ กว่า 20,000 กิโลเมตร ตัดผ่านเขตต่างๆ เจาะภูเขา เจาะอุโมงค์ ข้ามเหว ข้ามแม่น้ำ เชื่อมจุดที่ด้อยพัฒนาที่สุดจากภาคตะวันตกไปภาคตะวันออกที่มั่งคั่ง จากภาคเหนือไปภาคใต้ ทำให้การเดินทางติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ความเจริญเกิดขึ้นทั่วประเทศ”

“ยังไม่นับอี-คอมเมิร์ช จีนยังมีการเชื่อมโยงด้าน “อี-คอนเน็คทิวิตี้” ใช้โทรศัพท์มือถือเครื่องเดียวขายของได้ สามารถติดต่อสื่อสารจนเกือบจะกลายเป็นสังคมไร้เงินสด (cashless society) ด้วยการใช้จ่ายเงินซื้อสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือโดยไม่ต้องมีบัตรเครดิต ชาวนาในชนบทสามารถขายของได้ด้วยนวัตกรรมโทรศัพท์มือถือ”

จีนสร้างบิ๊กดาต้ารวบรวมข้อมูลจากทุกแหล่งของประชาชน ตรวจสอบพฤติกรรมผู้บริโภค สามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆนำมาบริหารประเทศ จีนมาไกลขนาดนี้แล้ว เราสามารถเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากการพัฒนาของจีนได้มาก

ปัจจุบันขนาดเศรษฐกิจจีนใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และกำลังก้าวสู่อันดับหนึ่งในอีกไม่นาน จีนมีทั้งพลังการเงิน พลังความคิด ขณะที่รายอื่นมีแต่ความคิดแต่ไม่มีเงินลงทุน ทิศทางการลงทุนการพัฒนาต่างๆจึงมาจากจีนมากกว่า

ความท้าทายจากกระแสลงทุนจากจีน

“การเข้าร่วม ความริเริ่ม หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง มีทั้งโอกาสและความท้าทาย ถ้าถามว่านักท่องเที่ยวจีนที่มายังไทยปีละ 8-9 ล้านคน ดีไหม ทุกคนก็บอกว่าดีต่อเศรษฐกิจ อยากให้นักท่องเที่ยวจีนมามากขึ้น”

“แต่ขณะเดียวกันก็มีความท้าทาย ซึ่งไทยก็รู้และเตรียมพร้อมรับมือ โดยกำหนดกฎกติกา จัดระเบียบ ปฏิรูประบบต่างๆ บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด อย่าให้มีบริษัทนอมินีมาบังหน้าทำธุรกิจอื่นหรือสิ่งผิดกฎหมาย แก้ไขปัญหาทัวร์ศูนย์เหรียญ ดูแลบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ การหลบหนีเข้าเมืองก็ต้องน้อยลง ฝ่ายไทยต้องกระชับมาตรการต่างๆเพื่อรักษาความเป็นธรรมให้แก่ทุกคน”

“ในจีนเอง นักท่องเที่ยวจำนวนมากมาเที่ยวจีน เค้ามีระบบจัดการไม่ให้มีชาวต่างชาติตกค้างในประเทศ หรือหลบหนีเข้าเมือง โดยต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในเมืองเกิน 7 วัน ต้องไปรายงานตัวกับตำรวจ วีซ่าขาด ปรับวันละ 500 หยวน กฎหมายจีนเข้มมาก คนทำผิดกฎหมายในจีนยาก นักธุรกิจโกงได้ยาก การปราบคอรัปชั่นที่เด็ดขาดในกลุ่มเจ้าหน้าที่ระดับสูง ทำให้คนกลัว ไม่กล้า ดังนั้น จึงมีการเชื่อฟังกฎหมายสูง”

*หมายเหตุ เนื้อหารายงานเรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ เอกอัครราชทูตไทยประเทศกรุงปักกิ่ง นาย พิริยะ เข็มพล
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/09/2017 8:09 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟเชื่อม3สนามบินรับแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
ฐานเศรษฐกิจ 16 September 2017

Click on the image for full size

เร่งเปิดรับฟังความเห็นประชาชนในพื้นที่เกี่ยวข้องไปแล้วสำหรับงานปฐมนิเทศโครงการงานศึกษา ทบทวน และวิเคราะห์ความเหมาะสมโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เป็นเจ้าของโครงการ

โครงการดังกล่าวนี้จัดเป็นหนึ่งในแผนงานสำคัญด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมและโลจิสติกส์ที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(EEC) โดยได้รับการบรรจุไว้ในแผนการดำเนินโครงการและงบประมาณในปีงบประมาณ 2560-2561

Click on the image for full size

สำหรับการปรับปรุงในครั้งนี้จะเป็นการปรับปรุงโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมระหว่างท่าอากาศยาน ประกอบด้วย 1.โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (แอร์พอร์ตลิ้งค์) 2.โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือแอร์พอร์ตลิงค์ส่วนต่อขยายช่วงพญาไท-ดอนเมือง 3. โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-ระยอง เพื่อให้รถไฟฟ้า City Line ของแอร์พอร์ตลิงค์ที่ให้บริการในปัจจุบันและการเดินทางโดยรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์ สามารถรองรับความต้องการเดินทางที่เพิ่มมากขึ้น และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการมีทางเลือกเพิ่มขึ้นนั่นเอง

โดยแนวเส้นทางโครงการจะผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง มีจำนวน 10 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีสุวรรณภูมิ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา สถานีอู่ตะเภา และสถานีระยอง

ในส่วนรูปแบบโครงสร้างของโครงการจะก่อสร้างเป็นทางรถไฟขนาดมาตรฐาน(1.435 เมตร) 2 ช่วง คือ พญาไท- ดอนเมือง และลาดกระบัง -ระยอง พร้อมสร้างทางรถไฟเชื่อมเข้าออกสนามบิน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทางรถไฟยกระดับ มีส่วนที่เป็นอุโมงค์ทางคู่ ช่วงถนนพระราม 6-สามเสน สถานีสุวรรณภูมิ และเขาชีจรรย์ รวมระยะทางประมาณ 260 กม. โดยมีศูนย์ซ่อมบำรุงเดิมที่คลองตันเพื่อรองรับรถไฟฟ้า City Line ซึ่งเป็นจุดที่เปิดให้บริการแล้วในปัจจุบัน

ทั้งนี้ในส่วนศูนย์ซ่อมบำรุงแห่งใหม่ที่มีพื้นที่ประมาณ 400 ไร่ ตั้งอยู่ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงโดยมีศูนย์กลางควบคุมการเดินรถ(OCC) ของโครงการตั้งอยู่ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงทั้ง 2 แห่ง อีกทั้งตลอดแนวเส้นทางโครงการนั้นส่วนใหญ่พื้นที่จะอยู่ในเขตทางของร.ฟ.ท.ไม่ได้พาดผ่านพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้โครงการยังได้เตรียมเสนอมาตรการป้องกันผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงานการก่อสร้างอีกด้วย ส่วนโครงการจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติดำเนินการได้เมื่อไหร่และก่อสร้างปีไหนนั้นยังต้องมีลุ้นกันในปี 2561 นี้ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะใช้งบประมาณลงทุนราว 3 แสนล้านบาท เรียกว่าเส้นทางนี้สามารถเชื่อมอีอีซีและ 3 สนามบินได้ครบความต้องการจริงๆ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,296 วันที่ 14 - 16 กันยายน พ.ศ. 2560
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/09/2017 3:18 pm    Post subject: Reply with quote

เจาะลึกยุทธศาสตร์ One Belt One Road ไทยได้เหรือเสีย?
TNN 24 Published on Sep 17, 2017


https://www.youtube.com/watch?v=zBrhGiv6BWY

ประเทศไทย หนึ่งใน 65 ประเทศที่เส้นทางเรือและราง ภายใต้โครงการ "One Belt One Road" พาดผ่านประเทศ และยังเป็นจุดเชื่อมต่อประเทศในอาเซียนเข้าด้วยกัน

เมื่อโฟกัสไปที่ประเทศไทย จะเห็นว่า เราตั้งอยู่บนภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับ การเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุนในภูมิภาค ทั้งทางบกและทางทะเล ซึ่งตรงกับแนวคิดของโครงการ One Belt One Road ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจของจีน ที่ต้องการยกระดับการค้าเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค และขยายคลอบคลุมไปทั่วโลก

แล้วประเทศไทยได้อะไรจากโครงการ One Belt One Road ซึ่ง นาย วิกรม กรมดิษฐ์ ประธานสภาธุรกิจไทย - จีน ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดจีน กล่าวว่า ในภาพรวมแล้วไทย จะได้ประโยชน์ ถ้าหาก รัฐบาลไทย สามารถพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ให้เสร็จได้ทันรับกับโครงการ OBOR นั่นหมายความว่า เราต้องพัฒนามาร์ทซิตี้ที่ประกอบไปด้วยโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภค อาทิ ไฟฟ้า น้ำปะปา ถนน และโครงข่ายโทรคมนาคมที่ครบครัน เพื่อดึงดูดนักลงทุนจีน และต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในไทย ถึงเวลานั้น ถ้าไทยมีเสถียรภาพภายในประเทศ จะทำให้ GDP ของไทยสูงถึงร้อยละ 5

นอกจากนี้ นายวิกรม ยังมองว่า ประเทศไทยจะได้ประโยชน์ในด้านโลจิสติกส์ ซึ่งจะมีสินค้าที่ผลิตในจีนจำนวนครึ่งหนึ่ง ถูกขนส่งโดยรถไฟจาก จุดกระจายสินค้าตั้งอยู่ที่เมืองคุนหมิง ประเทศจีน ไปยังพื้นที่ EEC เพื่อนำสินค้าไปยังท่าเรือแหลมฉบัง หรือท่าเรือมาบตาพุด ขนส่งไปสู่ มหาสมุทรแปซิฟิก หรือมหาสมุทรอินเดีย

เส้นทางการขนส่งสินค้าเหล่านี้ จะเป็นการช่วยเชื่อมโยงตลาดจีน ไทย ไปยังประเทศอื่นๆทั่วโลก บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่า OBOR จะช่วยลดค่าใช้จ่ายต้นทุน ในด้านการขนส่งสินค้าต่อหน่วยต่อระยะทาง อีกทั้งส่งผลให้ธุรกิจขนส่งในไทย ขยายตัวรองรับความต้องการจากบรรดาบริษัทต่างชาติที่ขนส่งสินค้าผ่านไทย

แม้ว่า OBOR ตั้งอยู่บนฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน ระหว่างจีนและประเทศอื่นๆ แต่การผลักดันความร่วมมือนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีอุปสรรคเสียทีเดียว เพราะในอีกแง่หนึ่ง ยุทธศาสตร์นี้ของจีน อาจถูกมองว่าเป็นความพยายามแผ่ขยายอิทธิพลของจีน ทำให้หลายประเทศเกิดความวิตกกังวลและระมัดระวังในการร่วมมือกับจีน

ในอีกด้านหนึ่ง คงปฏิเสธความกังวลเหล่านี้ ไม่ได้ว่า โครงการ OBOR จะนำปัญหาสินค้าจีนทะลักเข้ามาในประเทศ รวมถึงมลพิษที่จะมีผลต่อสิ่งแวดล้อมให้กับไทย

นายวิกรม ชี้ให้เห็นว่า เป็นสิ่งดีที่จะได้เตรียมรับมือ และกำหนดมาตรการปกป้องสินค้าบางประเภทที่จีนมีเหมือนเช่นเดียวกับไทย อาทิ เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรม ขณะเดียวกัน เราสามารถใช้โอกาสนี้ สร้างธุรกิจใหม่ขึ้นมารองรับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น อาทิ การซ่อมบำรุงรถยนต์ ธุรกิจที่พักและโรงแรม เป็นต้น

นี่เป็นประโยชน์ที่ไทยพัฒนาพื้นที่ EEC ให้เป็นสมาร์ทซิตี้ ต้อนรับการค้าการลงทุนจากโครงการ OBOR ซึ่งเหนือสิ่งอื่นใด การที่คนไทยมีความรู้ก้าวทันเทคโนโลยี 4.0 จะได้เปรียบประเทศอื่น และช่วยให้ไทย กลับมาเป็นเสือผงาดในอาเซียนได้ อีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/09/2017 6:19 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯ สาบานยันไม่เคยเรียกรับผลประโยชน์
ช่อง 8 วันที่ลงข่าว 18 กันยายน 2560 เวลา 17:30 น.

นายกรัฐมนตรี แจงสร้างรถไฟไทย-จีน ไม่คิดเอื้อประโยชน์ให้ใคร อ้างจีนรวยมานานแล้ว พร้อมสาบานต่อหน้าน้ำไม่เคยเรียกรับผลประโยชน์ ไม่คิดทรยศแผ่นดิน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวชี้แจงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ว่า หากรัฐบาลไม่ดำเนินการ แล้วทางจีนไม่ลงทุนในไทย และไปลงทุนในประเทศอื่นแทน ประเทศไทยจะอยู่ในส่วนไหน ดังนั้นขออย่าพูดว่าเอื้อประโยชน์ เพราะจีนรวยมานานแล้ว พร้อมย้อนถามว่าบริษัทที่ผูกขาดได้สัมปทานมีกี่บริษัท

ส่วนนักการเมือง ที่ชอบกล่าวว่าตนเอง ยืนยันว่าไม่เคยสนใจ และหากใครจะว่าก็ขอให้เข้าตัว ส่วนประชาชนก็ขออย่าไปเชื่อคำพูดคนอื่นมาก เพราะบางคนพูดเพื่อให้ทะเลาะกัน และตนเองเข้ามาดำรงตำแหน่งก็ไม่ได้ต้องการอะไร จึงขออย่าบิดเบือน พร้อมขอสาบานต่อหน้าน้ำว่า ไม่เคยได้รับผลประโยชน์ ส่วนนักการเมืองที่ถามว่าเมื่อไหร่จะมีการเลือกตั้งนั้น ยืนยันว่ายังคงเป็นไปตามโรดแมป

นอกจากนี้นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า ขอฝากทุกคนอย่าโกรธเคืองตนเอง เพราะตนเองไม่คิดทำร้ายประเทศ แผ่นดิน เนื่องเป็นทหารดูแลประเทศมา 30-40 ปี ดังนั้นจะทรยศไม่ได้ ทั้งนี้ตนเองยังรู้สึกใจหายที่ไม่มี ร.9 แล้ว เนื่องจาก ร.9 มีส่วนทำให้แผ่นดินสงบไม่แตกแยก จึงขออย่าตีกัน ยืนยันประท้วงได้ เพราะ รธน.ให้สิทธิ์ แต่อย่าผิดกฎหมายลูก และตอนนี้ขออย่าพึ่งออกมาประท้วง

จากนั้นนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวลากับชาวบ้าน ก่อนจะเดินทางไปประชุมร่วมกับคณะกรรมการร่วมภาครัฐและ เอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ หรือ กรอ. ที่โรงแรมคลาสสิค คามิโอในช่วงเย็นต่อ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/09/2017 7:28 am    Post subject: Reply with quote

รมต.คมนาคมเผยเร่งสร้าง “ทางรถไฟไทย-จีน” ภายในเดือนต.ค.
Xinhua 2017-09-15 23:51:43|Editor: Mu Xuequan

เมื่อไม่นานนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวของจีนว่าประเทศไทยจะเริ่มการก่อสร้างทางรถไฟไทย-จีน ระยะที่หนึ่ง ในเดือนต.ค. หรือไม่เกินเดือนพ.ย. หลังรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ผ่านการอนุมัติ
ไทยและจีนได้ลงนามสัญญาสองฉบับ ได้แก่ สัญญาการออกแบบและสัญญาการควบคุมงาน สำหรับโครงการก่อสร้างทางรถไฟระยะที่หนึ่ง ความยาว 253 กิโลเมตร ซึ่งเชื่อมกรุงเทพมหานครกับจังหวัดนครราชสีมา เมื่อต้นเดือนก.ย. ที่ผ่านมา

“หลังจากรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากบ้านภาชีในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดนครราชสีมาได้รับการอนุมัติ เราจะพยายามเริ่มการก่อสร้างทางรถไฟช่วงแรกในเดือนต.ค. หรืออย่างช้าที่สุดในเดือนพ.ย.”

นายอาคมกล่าวว่ากระทรวงฯ ได้เสนอรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมแก่คณะกรรมการจากสำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (สวผ.) จำนวน 5 รอบแล้ว โดยแจกแจงข้อมูลของโครงการอย่างละเอียด จึงหวังว่าจะได้รับการอนุมัติในรอบนี้

ทางรถไฟช่วงที่หนึ่งซึ่งมีความยาวเพียง 3.5 กิโลเมตร จะก่อสร้างโดยกรมทางหลวง สังกัดกระทรวงคมนาคม ในจังหวัดนครราชสีมา ส่วนการก่อสร้างช่วงอื่นๆ อันได้แก่ ช่วงที่สอง ความยาว 11 กิโลเมตร ช่วงที่สาม ความยาว 119.5 กิโลเมตร และช่วงที่สี่ ความยาว 119 กิโลเมตร จะทยอยตามมา

สำหรับโครงการทางรถไฟไทย-จีน ระยะที่หนึ่ง ความยาว 253 กิโลเมตร มีการตั้งงบประมาณไว้ราว 179,000 ล้านบาท และรัฐบาลไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยอาศัยการออกพันธบัตรหรือเงินกู้จากธนาคาร ซึ่งปัจจุบันกำลังพิจารณาเงินกู้จากธนาคารของจีนในส่วนระบบสัญญาณ ราง ตู้ขบวน ฯลฯ

หากการก่อสร้างทั้งหมดแล้วเสร็จ ทางรถไฟกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ซึ่งทำความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเป็นทางรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศ โดยนายอาคมเผยว่าจากนั้นไทยจำเป็นต้องสร้างทางรถไฟระยะที่สอง ความยาว 355 กิโลเมตร (นครราชสีมา-หนองคาย) เพื่อเชื่อมทางรถไฟไทย ลาว และจีนอย่างเต็มรูปแบบ

“เราจะมีการหารือที่จีนเกี่ยวกับโครงการทางรถไฟไทย-จีน ระยะที่สอง และการสำรวจทางภูมิศาสตร์ในวันที่ 22 ก.ย. นี้” นายอาคมกล่าว โดยเสริมว่าไทยหวังลงทุนการก่อสร้างทางรถไฟระยะที่สองด้วยตัวเอง และหวังเปิดให้บริการทั้งสองระยะในปีเดียวกับทางรถไฟจีน-ลาว ซึ่งกำลังก่อสร้างและมีกำหนดเปิดในปี 2022

รัฐมนตรีฯ กล่าวว่าเขามั่นใจคุณภาพของเทคโนโลยีทางรถไฟความเร็วสูงจีน เนื่องจากจีนมีโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งคิดเป็นระยะทางมากกว่า 20,000 กิโลเมตร และฝ่ายจีนเองก็เน้นย้ำถึงความมั่นคงปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ทำให้เขามั่นใจในเทคโนโลยีของจีน

นายอาคมเสริมว่าจีนยังตกลงส่งผ่านเทคโนโลยีแก่ไทย เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งาน การดูแล และการซ่อมแซมรถไฟความเร็วสูงอีกด้วย โดยเป้าหมายระยะยาวของไทยคือการผลิตชิ้นส่วนรางและขบวนรถด้วยตัวเอง เพื่อขยับขยายทักษะและกระตุ้นการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย
“เราต้องการความสามารถในการผลิตชิ้นส่วนบางตัวขึ้นมาทดแทนส่วนที่สึกหรอเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง” นายอาคมกล่าว พร้อมสำทับความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่ออุตสาหกรรมรถไฟ โดยชี้แนะการมีสถาบันการศึกษาที่บ่มเพาะวิศวกรและแรงงานที่มีความรู้ความสามารถ

Arrow https://www.facebook.com/XinhuaNewsAgency.th/videos/1975557799326899/
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 20/09/2017 5:15 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รมต.คมนาคมเผยเร่งสร้าง “ทางรถไฟไทย-จีน” ภายในเดือนต.ค.
Xinhua 2017-09-15 23:51:43|Editor: Mu Xuequan

เผยโฉมเส้นทางรถไฟไทย-จีน เร็วสูงสุด 250 กม./ชม. แล้วเสร็จปี 2022
สำนักข่าวซินหัว
20 กันยายน 2017

จีนและไทยกำลังทำงานร่วมกันในโครงการรถไฟความเร็วสูง โดยเส้นทางรถไฟระยะที่หนึ่งจะมีความยาว 253 กิโลเมตร เชื่อมกรุงเทพมหานครและจังหวัดนครราชสีมา กำหนดเปิดใช้ในปี 2022

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวว่า “หลังจากรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้รับการอนุมัติ เราจะพยายามเริ่มการก่อสร้างทางรถไฟช่วงแรกในเดือนต.ค. หรืออย่างช้าที่สุดในเดือนพ.ย.”
“ทางรถไฟช่วงที่หนึ่งซึ่งมีความยาว 3.5 กิโลเมตรจะก่อสร้างโดยกรมทางหลวง สังกัดกระทรวงคมนาคม” นายอาคมเสริม

รถไฟดังกล่าวจะวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เส้นทางจะเชื่อมต่อกับทางรถไฟจีน-ลาว ซึ่งสามารถเดินทางไปถึงเมืองคุนหมิงทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

ต้นขั้วข่าวอยู่นี่ 泰国交通部长:泰中铁路最晚11月开工(รถไฟคววามเร็วสูงไทย-จีนจะเริ่มเดือนพฤศจิกายนศกนี้)

อีกข่าว: ญี่ปุ่นตกที่นั่งลำบาก เมื่อรถไฟไทยจีนเริ่มเป็นรุปเป็นร่างขึ้นมา (日本遭双重打击:中泰铁路将开工 泰否认采用新干线)
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/09/2017 4:21 pm    Post subject: Reply with quote

อู่ตะเภาเร่งสร้างเชื่อมั่นนักลงทุน ด้านรฟท.มั่นใจสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินตามแผน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 21 กันยายน 2560 - 12:54 น.

เมื่อวันที่ 21 กันยายน เวลา 08.00 น. ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พลเรือตรีวรพล ทองปรีชา ผู้อำนวยท่าอากาศยานอู่ตะเภา เปิดเผยในการเสวนาเชิงนโยบาย “6 เดือนกับความร่วมมือของภาครัฐ” ในงานสัมมนามติชนร่วมกับสำนักงานระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก “อีอีซี แม่เหล็กเศรษฐกิจไทยเชื่อมโลก” ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ว่า ขณะอยู่ระหว่างจัดทำมาสเตอร์แพลน 30 ปีข้างหน้าในการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา ซึ่งจะดำเนินการได้แล้วเสร็จประมาณกลางปี 2561 โดยที่ผ่านมาก็มีความพยายามจะสร้างแรงจูงใจให้กับนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเที่ยวบิน การขยายขีดความสามารถรองรับผู้โดยสาร เป็นต้น

ทั้งนี้ท่าอากาศยานอู่ตะเภายังมีพื้นที่ประมาณ 6,500 ไร่ เพื่อรองรับการพัฒนา โดยที่ผ่านมาทางท่าอากาศยานยังได้ทยอยเปิดให้บริการเพื่อรองรับจำนวนผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น ในช่วง 6 เดือนที่แล้วก็เปิดพื้นที่รองรับผู้โดยสารขาเข้า ส่วนในปลายปีนี้ก็จะเปิดพื้นที่ขาเข้าระหว่างประเทศ และจะทยอยเปิดไปเรื่อยๆ เนื่องจากไม่สามารถเปิดพร้อมกันได้ทั้งหมด

ด้านนายอานนท์ เหลืองบูรณ์ รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา รฟท.ได้มีการศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง เพื่อเชื่อม 3 สนามบิน คือ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา โดยได้นำข้อมูลของอีอีซีมาประกอบการพิจารณาด้วย ซึ่งนอกจากเรื่องของรถไฟความเร็วสูงแล้ว รฟท.ยังจะมีการพัฒนาพื้นที่มักกะสันเพื่อเชื่อมโยงไปยังอีอีซี โดยจะมีการจัดเตรียมพื้นที่ประมาณ 150 ไร่ เพื่อใช้เป็นสำนักงานอีอีซีด้วย


นายอานนท์ กล่าวว่า การพัฒนารถไฟความเร็วสูงในเส้นทางดังกล่าว นอกจากจะอำนวยความสะดวกในการเดินทางแล้ว ยังสนับสนุนการท่องเที่ยว แก้ปัญหาการจราจร และลดอุบัติเหตุได้ด้วย โดยเป็นการศึกษารวมกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ เพราะจะใช้รางร่วมกัน โดยจะใช้ความเร็วช่วงที่อยู่ในเมืองประมาณ 160 กิโลเมตร(กม.)ต่อชั่วโมง(ชม.) ส่วนนอกเมือง คือ จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ระยอง จะใช้ความเร็ว 250 กม./ชม. อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์อยู่ที่ 2 บาทต่อกม. ค่าแรกเข้า 13 บาท ส่วนรถไฟความเร็วสูงอยู่ที่ 1.8 บาท/กม. ค่าแรกเข้า 20 บาท เฉลี่ยค่าโดยสารจากดอนเมือง-ระยอง อยู่ระหว่าง 400-500 บาท

นายอานนท์ กล่าวว่า มีการประเมินไว้ว่า หลังจากเปิดให้บริการในปี 2566 จะมีผู้โดยสารใช้แอร์พอร์ตลิ้งก์ประมาณ 1 แสนคนต่อวัน ส่วนไฮสปีดเทรนอยู่ที่ 6.5 หมื่นคนต่อวัน

นายอานนท์ กล่าวว่า ขณะนี้ รฟท.ได้มีการศึกษาคืบหน้าแล้ว 90% โดยในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้ จะนำเสนอคณะกรรมการอีอีซี ชุดที่มีนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อยู่ด้วยได้ จากนั้นในเดือนมกราคม 2561 จะสามารถประกาศเชิญชวนนักลงทุน และปลายเดือนสิงหาคม 2561 จะลงนามกับผู้ร่วมลงทุนได้ เบื้องต้นกำหนดมูลค่าลงทุนของโครงการไว้ที่ประมาณ 2.1 แสนล้านบาท แบ่งเป็น งานก่อสร้างโยธา 1.5 แสนล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นงานระบบ และขบวนรถ

นายอานนท์ กล่าวว่า นอกจากรถไฟความเร็วสูงแล้ว รฟท.ยังจะมีการก่อสร้างรถไฟทางคู่ เพื่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าใน 3 ท่าเรือพื้นที่อีอีซีด้วย

“ผมมั่นใจว่าจะสามารถเดินหน้ารถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อม 3 สนามบินได้ตามแผนงานที่กำหนดแน่นอน”นายอานนท์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างที่นายอานนท์ พูดได้ฉายเพาเวอร์พ้อยให้ผู้สัมมนาเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น จึงได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมสัมมนายกโทรศัพท์มือถือขึ้นถ่ายรูปเป็นจำนวนมาก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/09/2017 6:59 pm    Post subject: Reply with quote

อีอีซีคืบกลางปี 61ได้ผู้ชนะประมูล 4 แสนล้าน
เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ 21 กันยายน 2560 เวลา 18.12 น.

ดีเดย์ 28 ก.ย. นี้ พ.ร.บ.อีอีซีเข้าสภา ฯ คาดประกาศใช้ได้สิ้นปี อีอีซีคืบกลางปี 61 ได้ผู้ชนะประมูล 4 โปรเจ็คยักษ์ 4 แสนล้าน ขณะที่กระทรวงศึกษาจ่อชงใช้ม.4 ออกหลักสูตรพิเศษพัฒนาคนรองรับอีอีซี 

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยระหว่างปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “อีอีซี แม่เหล็กเศรษฐกิจไทยเชื่อมโลก”ว่า ขณะนี้คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้เห็นชอบร่างระเบียบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (พีพีพี) โครงการอีอีซีแล้ว คาดว่า ประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ภายในสัปดาห์หน้า หลังจากนั้นจะเริ่มร่างทีโออาร์ปลายปีนี้ ก่อนเปิดประมูลในช่วงต้นปี 61  และไตรมาส 2 ของปีหน้าจะทราบผู้ชนะโครงการลงทุนทั้ง 4 โครงการ มูลค่ารวมประมาณ 400,000 ล้านบาท 

ทั้งนี้ประกอบด้วย
1. โครงการก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินเชิงพาณิชย์แห่งที่ 3  ซึ่งแอร์บัสร่วมกับการบินไทยลงทุนศูนย์สร้างซ่อมอากาศยาน และลงทุนโรงเรียนช่างซ่อมอากาศยาน มูลค่าประมาณ 160,000 ล้านบาท
2.โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เชื่อมต่อ 3 สนามบินระหว่างท่าอากาศยานอู่ตะเภา ไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานนานชาติดอนเมือง มูลค่า 180,000 ล้านบาท
3.โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3  และ
4.ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ทั้ง 2 โครงการมีมูลค่าประมาณ 60,000-80,000 ล้านบาท

นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า วันที่ 28 ก.ย.นี้ รัฐบาลจะเสนอร่างพ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ในวาระที่ 1 โดยจะมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอกฎหมายเข้าสภาฯ และมีนายวิษณุ เครืองาม และตนร่วมชี้แจงสาระสำคัญของกฎหมาย ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดสำคัญมาก ต้องสร้างความเข้าใจกับสมาชิกสนช.ให้เห็นถึงความสำคัญของกฎหมายดังกล่าว และเมื่อสนช.โหวตรับหลักการแล้วจะมีการตั้งกรรมาธิการพิจารณา เพื่อเข้าสู่การพิจารณาวาระที่ 2 และ3 คาดว่ากฎหมายจะผ่านความเห็นชอบเร็วที่สุด คือ ปลายปีนี้ และช้าสุดคือต้นปีหน้า.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/09/2017 9:12 pm    Post subject: Reply with quote

ไทย อ้อน จีน ศึกษาสร้างไฮสปีดเทรน หนองคาย ต่อเชื่อมท่านาแล้งฝั่งลาว
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 21 กันยายน 2560 - 20:11 น.

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 ก.ย. นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ได้นำคณะฝ่ายไทยเดินทางไปร่วมประชุมคณะทำงาน 2 ฝ่าย ที่ประเทศจีน เพื่อหารือถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท รวมทั้งเร่งรัดการจัดทำรายละเอียดเฟสที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 394 กิโลเมตร

ซึ่งฝ่ายไทยขอให้จีนช่วยศึกษาความเหมาะสมรถไฟความเร็วสูงของไทยที่ช่วงหนองคาย ที่จะเชื่อมต่อไปยังสถานีท่านาแล้ง ของประเทศลาว และจีน ในอนาคตเพิ่มเติมด้วย

ทั้งนี้ จะมีการหารือเพื่อวางกรอบร่างสัญญา 2.3 เกี่ยวกับงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร วงเงินเกือบ 40,000 ล้านบาทด้วย เพื่อกรอบในการจัดทำร่างสัญญา 2.3 เสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 21 พิจารณาต่อไป

รายงานข่าวจากคมนาคมแจ้งว่า ในการเดินทางเยือนจีนครั้งนี้ ตัวแทนจากสภาวิศวกรของประเทศไทย ร่วมเดินทางไปด้วย เพื่อจัดการอบรมและทดสอบวิศกรจีนซึ่งทำงานภายใต้โครงการก่อสร้างรถความเร็วสูงไทย-จีน โดยรุ่นที่ 1 จะมีมีการอบรมทั้งหมด 80 คน ใช้เวลาเป็น 3 วัน คือ 22-24 ก.ย. และจะจัดการทดสอบในวันที่ 25 ก.ย. นี้

หลังจากนั้นจะจัดการอบรมวิศวกรจีนครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 12-15 ต.ค., ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 27-30 ต.ค. และครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 10-13 พ.ย.

ส่วนการฝึกอบรมและทดสอบสถาปนิกจีนจะจัดขึ้นในประเทศไทย จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 15-17 ต.ค. และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 7-9 พ.ย. นี้ โดยฝ่ายจีนจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 232, 233, 234 ... 542, 543, 544  Next
Page 233 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©