RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311282
ทั่วไป:13263159
ทั้งหมด:13574441
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เชียงใหม่อยากมีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เชียงใหม่อยากมีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 10, 11, 12  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 04/08/2017 11:51 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.จัดเวทีสุดท้ายระดมความเห็นรูปแบบระบบรถไฟฟ้าเมืองเชียงใหม่-ชง ครม.พิจารณา
โดย MGR Online
4 สิงหาคม 2560 17:56 น.

ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - สนข.จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งสุดท้ายโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเชียงใหม่ พิจารณาระบบรถไฟฟ้ารางเบา 3 เส้นทางหลัก 2 ทางเลือก ระหว่างเส้นทางบนดินสลับกับใต้ดิน และบนดินอย่างเดียว ระดมข้อเสนอแนะพร้อมรวบรวมสรุปจัดทำแผนฉบับสมบูรณ์รายงานกระทรวงคมนาคม และชงเข้า ครม.พิจารณาต่อไป

วันนี้(4 ส.ค.60) สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) จัดการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 3 โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำเสนอผลการศึกษา รวมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองเชียงใหม่ไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งที่ผ่านมา สนข.ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดำเนินการโครงการ เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์และนำเสนอผลงานที่สามารถดำเนินการ แก้ไขปัญหาต่างๆ และส่งเสริมศักยภาพของจังหวัดเชียงใหม่อย่างยั่งยืน

โดยในการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้มีการนำเสนอรูปแบบระบบขนส่งสาธารณะในเมืองเชียงใหม่ที่ศึกษาได้ข้อสรุปว่าควรใช้รถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit : LRT) เป็นระบบหลัก และมีทางเลือก 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบ A เป็นโครงข่ายผสมผสานที่ใช้ทางวิ่งบนดินและใต้ดิน และแบบ B เป็นโครงข่ายทางวิ่งบนดิน ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบ จะประกอบด้วย 3 เส้นทางหลักเหมือนกัน คือ สายสีแดง สายสีเขียว และสายสีน้ำเงิน

ทั้งนี้สายสีแดง มีจุดเริ่มต้นที่โรงพยาบาลนครพิงค์-ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่-สนามกีฬา 700 ปี-ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติฯ-หนองฮ่อ-ข่วงสิงห์-ม.ราชภัฎ-ประตูช้างเผือก-ประตูสวนดอก-หายยา-สนามบินเชียงใหม่ ไปสิ้นสุดที่แยกห้างบิ๊กซีหางดง ส่วนสายสีเขียว เริ่มต้นที่แยกรวมโชค-แยกแม่โจ้-สถานีขนส่งอาเขต-เจริญเมือง-กาดหลวง-ไนท์บาร์ซ่า-ช้างคลาน-มหิดล-แยกสนามบิน ไปสิ้นสุดที่สนามบินเชียงใหม่ และสายสีน้ำเงิน เริ่มต้นที่สวนสัตว์เชียงใหม่-ม.เชียงใหม่-ถ.นิมมานฯ-ถ.สุเทพ-ประตูสวนดอก-กลางเวียง-ประตูท่าแพ-ไนท์บาร์ซ่า-สันป่าข่อย-สถานีรถไฟ-แยกหนองประทีป-ดอนจั่น สิ้นสุดที่แยกศรีบัวเงิน

นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า การรับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนี้ เพื่อนำเสนอผลการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนชาวเชียงใหม่ รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน ซึ่งจากนี้จะทำการรวบรวมสรุปและจัดทำเป็นแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ฉบับสมบูรณ์ เพื่อรายงานให้กระทรวงคมนาคมและนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป

ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.บุญส่ง สัตโยภาส ผู้จัดโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จากปัญหาการขนส่งและการจราจรในเมืองเชียงใหม่ ทางสนข. ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวและได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดำเนินการศึกษาโครงการและจัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาวิเคราะห์และนำเสนอแผนงานที่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆและส่งเสริมศักยภาพของจังหวัดเชียงใหม่อย่างยั่งยืน

โดยในการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ที่ผ่านมา ได้มีการนำข้อมูลและข้อคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมมาดำเนินการประกอบการศึกษาแล้ว พบว่าควรมีการสร้าง รถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดิน เพื่อการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะในเมืองจังหวัดเชียงใหม่อย่างยั่งยืน ซึ่งครั้งนี้เป็นการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 3 เพื่อนำเสนอผลการศึกษารวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะในเมืองเชียงใหม่ไปสู่การปฏิบัติต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 05/08/2017 1:57 am    Post subject: Reply with quote

สนข.รับฟังความเห็นขนส่งสาธารณะเชียงใหม่ ครั้งสุดท้าย ผุด ‘รฟฟ.รางเบา’ เตรียมเสนอ ครม.
มติชน
วันที่ 4 สิงหาคม 2560 - 13:14 น.

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 4 สิงหาคม 2560 นายประจวบ กันธิยะ
รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3
โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่
ภายใต้แนวคิด ‘รถไฟฟ้า มาหาสักที’ ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว อ.เมืองเชียงใหม่
โดยมีนางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์
รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รศ.ดร.บุญส่ง สัตโยภาส
ผู้จัดการโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่
พร้อมผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคประชาชน
ผู้นำชุมชน ธุรกิจเอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชนกว่า 250 คน
ร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย
เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแผนแม่บทและการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่
รองรับการเดินทางของประชาชนในเขตเมืองเชียงใหม่
และแก้ไขปัญหาการจราจรให้เกิดความยั่งยืนและเป็นรูปธรรม

นายประจวบ กันธิยะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า
จังหวัดเชียงใหม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
และเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาของประเทศ
เพราะมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวทางด้านศิลปวัฒนธรรม
มีสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ
เป็นศูนย์กลางทางด้านการศึกษา และการเดินทางเชื่อมโยงสู่พื้นที่ต่างๆ
ในภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้าน มีความเจริญแบบก้าวกระโดดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ส่งผลต่อปัญหาด้านคมนาคมขนส่ง การจราจรที่แออัดคับคั่งในเขตเมือง
เกิดความไม่สะดวกในการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยว
การศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ของ
สนข.จะช่วยทำให้เขตเมืองเชียงใหม่มีระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมและตอบสนองความต้องการของประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ดียิ่งขึ้น



นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
(สนข.) กล่าวว่า
จากการประชุมสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่มีส่วนได้เสียรวม 7 ครั้ง
และวิเคราะห์สภาพข้อเท็จจริงพบว่า
ระบบขนส่งสาธารณะที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ คือ
ระบบรถไฟฟ้ารางเบา หรือ Light Rail Transit System หรือ LRT
ด้วยโครงข่ายเส้นทางที่เหมาะสม 2 ทางเลือก คือ โครงข่ายแบบ A
ใช้ทางวิ่งบนดินและใต้ดิน ใน 3 เส้นทางหลัก และโครงข่ายแบบ B
ใช้ทางวิ่งบนดินทั้งโครงข่าย ใน 3 เส้นทางหลัก
ซึ่งหลังการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้เกี่ยวข้องในวันนี้
สนข.จะจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ฉบับสมบูรณ์
เพื่อส่งให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา และเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป



รศ.ดร.บุญส่ง สัตโยภาส
ผู้จัดการโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่
กล่าวว่า LRT โครงข่ายแบบ A ใช้ทางวิ่งบนดินและใต้ดิน มีมูลค่าการลงทุนสูงกว่าที่
106,895 ล้านบาท ใน 3 เส้นทางหลัก คือ

1) เส้นทางสายสีแดง ระยะทาง 12 กิโลเมตร
เริ่มจากโรงพยาบาลนครพิงค์-ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ และสนามกีฬา 700
ปี-ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่
และเริ่มใช้ทางวิ่งใต้ดินที่แยกข่วงสิงห์-โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่-ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่ั
ก่อนที่จะกลับไปใช้ทางวิ่งบนดินเพื่อสิ้นสุดที่ทางแยกแม่เหียะสมานสามัคคี
(แยกบิ๊กซีหางดง)

2) เส้นทางสายสีเขียว ระยะทาง 11 กิโลเมตร จากแยกรวมโชค
เข้าสู่เส้นทางวิ่งใต้ดินที่แยกแม่โจ้ (รพ.เทพปัญญา)
-ตลาดวโรรส-เชียงใหม่ไนท์บาร์ซาร์-เซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่แอร์พอร์ต
ก่อนไปสิ้นสุดที่ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่

3) เส้นทางสายสีน้ำเงิน ระยะทาง 12 กิโลเมตร
เริ่มจากการวิ่งใต้ดินที่สวนสัตว์เชียงใหม่-มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา-มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ล
เลี้ยวไปตามถนนคันคลองชลประทาน-แยกตลาดต้นพยอม-โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
พบจุดตัดกับสายสีแดง ผ่านใต้คูเมือง-จุดตัดสายสีเขียว บริเวณเชียงใหม่ไนท์บาร์ซาร์
และกลับใช้เส้นทางบนดินที่แยกหนองประทีป-ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์
ก่อนไปสิ้นสุดที่แยกศรีบัวเงินพัฒนา (แยกพรอมเมนาดา)
ซึ่งหากได้รับการอนุมัติจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2563 เวลาในการก่อสร้าง 6 ปี
ซึ่งจะมีความแน่นอน ตรงเวลา ด้วยความเร็ว 30-35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ปลอดภัยสูง
ดึงดูดให้คนมาใช้ได้ 50% ไม่กระทบระบบการจราจรเดิม

ส่วนโครงข่ายแบบ B ใช้ทางวิ่งบนดินทั้งโครงข่าย มูลค่าการลงทุนต่ำกว่า 28,419
ล้านบาท ใน 3 เส้นทางหลัก คือ

1) เส้นทางสายสีแดง ระยะทาง 15.65 กิโลเมตร
เริ่มจากโรงพยาบาลนครพิงค์-ศูนย์ราชการและสนามกีฬา 700
ปี-ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่-มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เชื่อมกับจุดเปลี่ยนสีน้ำเงินที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่-สนามบินนานาชาติเชียงใหม่
สิ้นสุกที่แยกเม่เหียะสมานสามัคคี

2) เส้นทางสายสีเขียว ระยะทาง 11.11 กิโลเมตร
เริ่มจากสี่แยกรวมโชค-แยกแม่โจ้-เซ็นทรัลเฟสติวัล-ขนส่งอาเขต-กาดหลวง-เชียงใหม่ไนท์บาร์ซาร์-เซ็นทรัลพลาซา-
เชียงใหม่แอร์พอร์ต สิ้นสุดที่ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่

3) เส้นทางสายสีน้ำเงิน ระยะทาง 13.81 กิโลเมตร
เริ่มจากสวนสัตว์เชียงใหม่-มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา-มหาวิทยาลัยเชียงใหม่-จุดตัดระหว่างสายสีแดงที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่-คูเมืองด้านทิศใต้-สถานีรถไฟเชียงใหม่-บิ๊กซี่
และสิ้นสุดที่แยกศรีบัวเงินพัฒนา (พรอมเมนาดา)
ซึ่งจะใช้เวลาในการก่อสร้างสั้นกว่าแบบ A คือ 3 ปี
แต่เป็นการใช้ร่วมกันกับระบบจราจรเดิม เวลาจึงไม่แน่นอน ด้วยความเร็ว 15-20
กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดึงดูดคนมาใช้บริการ 25% และกระทบต่อสิ่งปลูกสร้างเดิม

“ทั้งนี้รูปแบบการลงทุนที่วางแผนไว้มี 3 ทาง คือ รัฐลงทุนแบบ 100% รัฐลงทุนระบบโยธา
เอกชนลงทุนในเรื่องรถ LRT และรัฐท้องถิ่นร่วมกับเอกชนและระดมทุนมาดำเนินการก่อสร้าง
ซึ่งควรที่รัฐจะต้องเร่งตัดสินใจเพราะปัจจุบันเชียงใหม่รถติดทุกวัน
เพราะคนและนักท่องเที่ยวมากขึ้น และการขยายถนนไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน
แต่ควรสร้างระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพรองรับปริมาณการเดินทางเพื่อขนคนเข้าเมืองเ
จะช่วยแก้ไขปัญหาจราจรได้ดีกว่า

“เชียงใหม่มีสภาพเป็นเมืองเก่ามีทางแยกมาก
คนนิยมใช้รถส่วนตัวเพราะระบบขนส่งเดิมไม่ตอบโจทย์
ในขณะที่วินัยการจราจรหย่อนยานก่อให้เกิดอุบัติเหตุสูง
จึงควรมีการพัฒนาระบบขนส่งที่ดีมีประสิทธิภาพขึ้นมารองรับ
ซึ่งโดยส่วนตัวเห็นว่าโครงข่ายแบบ A
น่าจะเหมาะสมที่สุดแม้จะลงทุนสูงแต่ส่งผลดีในระยะยาวต่อเมืองเชียงใหม่”
รศ.ดร.บุญส่ง กล่าวทิ้งท้าย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 07/08/2017 2:29 am    Post subject: Reply with quote

เตรียมผุดรถไฟฟ้ารางเบา 3 เส้นทางแก้จราจรเมืองเชียงใหม่
โดย MGR Online
5 สิงหาคม 2560 07:02 น. (แก้ไขล่าสุด 6 สิงหาคม 2560 06:45 น.)


สนข.จัดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 3 (ปัจฉิมนิเทศ) โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ เปิด 2 ทางเลือก โครงข่ายระบบราง ระบบรถไฟฟ้ารางเบา 3 เส้นทางแก้จราจรเมืองเชียงใหม่

นายประจวบ กันธิยะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยในการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 3 (ปัจฉิมนิเทศ) โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ ว่าจังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากมีศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมทั้งจากชาวไทยและชาวต่างประเทศ เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาของภาคเหนือ รวมถึงเป็นศูนย์กลางการเดินทางที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่พื้นที่ต่างๆ ในภูมิภาค และประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยลักษณะดังกล่าว จึงทำให้เมืองเชียงใหม่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จนก่อให้เกิดปัญหาด้านคมนาคมขนส่ง ปัญหาการจราจรที่แออัดคับคั่งในเขตเมือง เกิดความไม่สะดวกในการเดินทางของประชาชน ซึ่งการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ของ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในครั้งนี้จะทำให้เขตเมืองเชียงใหม่มีระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน

นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการ สนข. เปิดเผยว่า สนข.ได้จัดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 3 (ปัจฉิมนิเทศ) โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนในเขตเมืองเชียงใหม่ และแก้ไขปัญหาการจราจรอย่างยั่งยืน โดยกำหนดโครงข่ายเส้นทางและรูปแบบของระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสม ซึ่งที่ผ่านมา สนข.ได้จัดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นมาแล้วจำนวน 2 ครั้ง และจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) 5 ครั้ง ซึ่งจากการวิเคราะห์สภาพข้อเท็จจริงและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ระบบขนส่งสาธารณะที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ คือ ระบบรถไฟฟ้ารางเบา หรือ Light Rail Transit System (LRT) โดยมีทางเลือกสำหรับโครงข่ายเส้นทางที่เหมาะสม 2 ทางเลือก คือ
ทางเลือกที่ 1 โครงข่ายแบบ A เป็นโครงข่ายที่ใช้ทางวิ่งบนดินและใต้ดิน ประกอบด้วย 3 เส้นทางหลัก ได้แก่

1. เส้นทางสายสีแดง ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร เริ่มต้นจากโรงพยาบาลนครพิงค์-ศูนย์ราชการ จังหวัดเชียงใหม่ และสนามกีฬา 700 ปี-ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่ และเริ่มใช้ทางวิ่งใต้ดิน ที่บริเวณแยกข่วงสิง-โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่-ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่แล้ว กลับขึ้นใช้ทางวิ่งบนดิน ก่อนจะไปสิ้นสุดที่ทางแยกแม่เหียะสมานสามัคคี (แยกบิ๊กซีหางดง)

2. เส้นทางสายสีเขียว ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร เริ่มต้นจากแยกรวมโชค เข้าสู่เส้นทางวิ่งใต้ดิน ที่แยกแม่โจ้ (แยกโรงพยาบาลเทพปัญญา)-ตลาดวโรรส-เชียงใหม่ไนท์บาซาร์-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่แอร์พอร์ต ก่อนจะไปสิ้นสุดที่ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่

3. เส้นทางสายสีน้ำเงิน ระยะทาง 12 กิโลเมตร เริ่มต้นเส้นทางวิ่งใต้ดินจากสวนสัตว์เชียงใหม่-มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา-มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หักเลี้ยวลงมาตามถนนคันคลองชลประทาน-แยกตลาดต้นพะยอม-โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ พบจุดตัดกับสายสีแดง ผ่านใต้คูเมือง-จุดตัดกับสายสีเขียว บริเวณเชียงใหม่ไนท์บาซาร์ และกลับขึ้นใช้เส้นทางบนดิน ที่แยกหนองประทีป-ถนนซูเปอร์ไฮเวย์ ก่อนสิ้นสุดที่แยกศรีบัวเงินพัฒนา (แยกพรอมเมนาดา)

ทางเลือกที่ 2 โครงข่ายแบบ B เป็นโครงข่ายที่ใช้ทางวิ่งบนดินทั้งโครงข่าย ประกอบด้วย 3 เส้นทางหลัก ได้แก่

1. เส้นทางสายสีแดง ระยะทางประมาณ 15.65 กิโลเมตร เริ่มต้นจากโรงพยาบาลนครพิงค์-ศูนย์ราชการและสนามกีฬา 700 ปี-ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่-มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เชื่อมกับจุดเปลี่ยนสายสีน้ำเงินที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่-สนามบินนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่ และสิ้นสุดที่แยกแม่เหียะสมานสามัคคี (แยกบิ๊กซีหางดง)

2. เส้นทางสายสีเขียว ระยะทางประมาณ 11.11 กิโลเมตร เริ่มต้นจากสี่แยกรวมโชค-แยกแม่โจ้ (แยกโรงพยาบาลเทพปัญญา)-ห้างเซ็นทรัลเฟสติวัล-สถานีขนส่งอาเขต-กาดหลวง-เชียงใหม่ไนท์บาซาร์-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซาเชียงใหม่แอร์พอร์ต และสิ้นสุดที่ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่

3. เส้นทางสายสีน้ำเงิน ระยะทางประมาณ 13.81 กิโลเมตร เริ่มต้นจากสวนสัตว์เชียงใหม่-มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา-มหาวิทยาลัยเชียงใหม่-จุดตัดระหว่างสายสีแดงที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่-คูเมืองทางด้านทิศใต้-สถานีรถไฟเชียงใหม่-บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ และสิ้นสุดที่แยกศรีบัวเงินพัฒนา (แยกพรอมเมนาดา)

ทั้งนี้ โครงข่ายหลักทั้ง 2 ทางเลือกดังกล่าวข้างต้นจะมีโครงข่ายรองและโครงข่ายเสริมเชื่อมโยงกับโครงข่ายหลักด้วยระบบรถโดยสารประจำทาง โดยโครงข่ายแบบ A ซึ่งเป็นทางวิ่งบนดินและใต้ดินมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 106,895 ล้านบาท และโครงข่ายแบบ B ซึ่งเป็นทางวิ่งบนดินมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 28,419 ล้านบาท

โดยการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นฯ ในครั้งนี้เป็นการนำเสนอผลการศึกษาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ และรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำไปประมวลผลและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ที่มีความเหมาะสมกับเมืองเชียงใหม่ต่อไป ซึ่งระบบขนส่งสาธารณะด้วยรถไฟฟ้าจะทำให้ประชาชนได้รับความสะดวก สบาย และปลอดภัยในการเดินทาง ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น และรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่ โดยภายหลังการประชุมสัมมนาฯ ครั้งนี้ สนข.จะจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ฉบับสมบูรณ์ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/08/2017 6:50 pm    Post subject: Reply with quote

ยอดผู้โดยสารพุ่ง50% หลังเชื่อมสถานีเตาปูน-บางซื่อ
โพสต์ทูเดย์ 22 สิงหาคม 2560 เวลา 17:58 น.

ยอดผู้โดยสารรถไฟฟ้าสาวสีม่วงพุ่ง 50% หลังเชื่อมเตาปูน-บางซื่อ ชงครม.ปลายปีนี้ เดินหน้ารถไฟฟ้าภูเก็ต-เชียงใหม่

ภายหลังจากการเชื่อมต่อ 1 สถานีช่วงบางซื่อ-เตาปูน ตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค.ที่ผ่านมาในรอบสองสัปดาห์นี้พบว่า จำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงเพิ่มขึ้นถึง 50% หรืออยู่ที่จำนวนสูงสุดวันละ 50,000 คนจากเดิมเพียงวันละ 33,000 คน คิดเป็นค่าเฉลี่ยวันละ 47,000 คน ขณะที่ในวันหยุดเสาร์และอาทิตย์นั้นจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นราว 32% จากเดิมเฉลี่ยวันละ 22,000 คนเพิ่มขึ้นเป็น 29,000 คน โดย รฟม. จะคงโปรโมชั่นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงจนถึงสิ้นปี 2560 จากนั้นจะทบทวนเรื่องการปรับขึ้นค่าโดยสารต่อไป

สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าภูมิภาคนั้น รฟม. จะเสนอ ร่างพ.ร.ฎ. ให้กระทรวงคมนาคมและคาดว่า ครม. จะเห็นชอบได้ในปลายปีนี้ จากนั้น รฟม. จะนำผลการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มาจัดทำรายละเอียด ออกแบบก่อสร้าง และจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) ต่อไป โดยโครงการรถไฟฟ้าของจ.ภูเก็ตช่วง ท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง จะเสนอครม.ภายในเดือน ต.ค. 2561 เริ่มประกวดราคาเดือน ธ.ค. 2561 ก่อสร้างในเดือน ธ.ค. 2562 เปิดให้บริการต้นปี 2566 และการก่อสร้างเฟสต่อไปจะเชื่อมถึง จ.พังงา ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าจ.เชียงใหม่ จะเสนอให้ ครม. เห็นชอบได้ในเดือน ม.ค. 2562 ประกวดราคาเดือน มี.ค. 2562 และเริ่มก่อสร้าง มี.ค. 2563 เปิดให้บริการกลางปี 2566 หรือปลายปี 2568 ขึ้นอยู่กับรูปแบบการก่อสร้าง

อย่างไรก็ตามรูปแบบการร่วมทุนพีพีพีนั้น รฟม. อาจจะลงทุนงานก่อสร้างโยธาและเปิดให้เอกชนหรือท้องถิ่นลงทุนระบบเดินรถ หรืออาจจะเปิดให้เอกชนลงทุนทั้งหมดเหมือนรถไฟฟ้าสายสีชมพูหรือสายสีเหลืองในกรุงเทพฯ ก็ได้

---

รฟม.เลื่อนตอกเข็ม “ชมพู-เหลือง” ติดส่งมอบพื้นที่-บอร์ดไฟเขียว พ.ร.ฎ.ลุยสร้างรถไฟฟ้า “ภูเก็ต,เชียงใหม่”
โดย MGR Online 22 สิงหาคม 2560 16:25 น. (แก้ไขล่าสุด 22 สิงหาคม 2560 16:33 น.)

รฟม.เคลียร์พื้นที่ ส่งมอบพื้นที่สายชมพู-เหลืองไม่ทัน ยืดส่งมอบ 6 เดือน ส่วนสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ขยับแผนเสนอ ครม.เป็น เม.ย. 61 รอผลศึกษารูปแบบการลงทุน PPP ใหม่ ด้านบอร์ด รฟม.อนุมัติ พ.ร.ฎ.ให้อำนาจ รฟม.ก่อสร้างรถไฟฟ้า “ภูเก็ต, เชียงใหม่” คาดชง ครม.อนุมัตินำร่องรถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต ต.ค. 61 ตอกเข็ม ธ.ค. 62

นายฤทธิกา สุภารัตน์ รองผู้ว่าการด้านบริหาร ในฐานะรักษาการผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงิน 53,519.50 ล้านบาท และสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. วงเงิน 51,931.15 ล้านบาท หลังลงนามสัญญากับกลุ่ม กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) รฟม.จะต้องส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างทันทีตามเงื่อนไขการลงทุนโดยเอกชน 100% หรือตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2560 เพื่อเริ่มต้นการนับระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน แต่เนื่องจากขณะนี้ยังติดเรื่องเวนคืนและพื้นที่บางแห่งยากในการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค ทำให้ต้องปรับแผนส่งมอบพื้นที่เป็นเดือน ธ.ค. 2560 และค่อยเริ่มต้นนับเวลาก่อสร้าง ส่วนข้อเสนอซองที่ 3 ของกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ที่จะต่อขยายเส้นทางสายสีชมพู และสีเหลืองนั้น บอร์ด รฟม.ให้ที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสม คาดจะได้ข้อสรุปภายใน 4 เดือน

สำหรับสายสีส้ม ด้านตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ระยะทาง 16.4 กม. วงเงินลงทุน 109,342 ล้านบาท อยู่ระหว่างศึกษาเพิ่มเติมรูปแบบการลงทุน PPP คาดว่าจะเสนอ ครม.ได้ใน เม.ย. 61 เลื่อนจากแผนเดิมที่จะเสนอ ครม.ในเดือน ก.ค. 60 ทั้งนี้ จะไม่กระทบต่อการเดินรถสายสีส้มตะวันออกที่ก่อสร้างไปก่อน เนื่องจากสามารถแบ่งเฟสเดินรถได้ สายสีส้มด้านตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี อยู่ในขั้นตอนการส่งมอบพื้นที่ ซึ่งจะเร่งเจรจากับกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในหลายจุด สายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ซึ่ง ครม.เห็นชอบแล้วอยู่ระหว่างร่างทีโออาร์ประมูลและพิจารณาแบ่งสัญญาก่อสร้างตามกายภาพและมูลค่า คาดว่าจะเปิดประมูลก่อสร้างได้เดือน ธ.ค. 2560 เริ่มก่อสร้างเดือน ธ.ค. 2561

***บอร์ดอนุมัติ พ.ร.ฎ.ให้อำนาจ รฟม.ก่อสร้างรถไฟฟ้า “ภูเก็ต, เชียงใหม่”
สำหรับที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ที่มี พลเอก ยอดยุทธ บุญญาธิการ เป็นประธานเมื่อวันที่ 21 ส.ค. ได้มีมติเห็นชอบพระราชกฤษฎีกาให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดเชียงใหม่ ภูเก็ต และพังงา ซึ่งจะเป็นการให้อำนาจ รฟม.ในการดำเนินการรถไฟฟ้านอกพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งจะดำเนินการที่ เชียงใหม่, ภูเก็ต นำร่อง โดยหลังจากนี้จะเสนอต่อไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ ออกประกาศต่อไป

โดย รฟม.จะนำผลศึกษารถไฟฟ้ารางเบา จ.ภูเก็ต จะมีระยะทาง 60 กม. และรถไฟฟ้ารางเบา เชียงใหม่เบื้องต้น ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปดำเนินการออกแบบรายละเอียด ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเส้นทาง จ.ภูเก็ตจะเชื่อมต่อถึง จ.พังงา คาดว่าจะเสนอ ครม.ขออนุมัติก่อสร้างช่วงเดือน ต.ค. 2561 เริ่มก่อสร้างเดือน ธ.ค. 2562 เปิดให้บริการปี 2566 ส่วนรถไฟฟ้ารางเบา เชียงใหม่ สนข.อยู่ระหว่างศึกษา ตามแผนงานคาดว่าจะเสนอ ครม.เดือน ม.ค. 2562 เริ่มก่อสร้างเดือน มี.ค. 2563 เปิดให้บริการปี 2566 ส่วนการลงทุน จะใช้รูปแบบร่วมทุนกับเอกชนหรือ PPP ทั้งแบบรัฐ ลงทุนงานโยธา และให้ท้องถิ่นและภาคเอกชนของจังหวัดลงทุนระบบและรถไฟฟ้า หรือเอกชนลงทุนทั้งหมด 100%
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/08/2017 6:17 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟม.ไฟเขียวร่าง พ.ร.ฎ.ทำรถไฟฟ้าเชียงใหม่
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 23 ส.ค. 2560 05:45

นายฤทธิกา สุภารัตน์ รักษาการผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ด รฟม.เมื่อวันที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดเชียงใหม่ ภูเก็ต และพังงา รวม 2 โครงการ ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยตั้งเป้าเสนอให้คณะรัฐมนตรี เห็นชอบภายในเดือน ต.ค.2561 จากนั้น รฟม.จะศึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้า 2 โครงการ ตามแนวทางผลการศึกษาที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษาไว้ เริ่มที่จังหวัดเชียงใหม่ คาดว่าจะเสนอ ครม.อนุมัติเดือน ม.ค.2562 และเริ่มก่อสร้างเดือน มี.ค.2563 คาดว่า 2 โครงการจะทยอยแล้วเสร็จปี 2566 ส่วนการสรรหาผู้ว่าการ รฟม. ที่มีนายยุทธนา หยิมการุณ เป็นประธานคณะกรรมการฯ ซึ่งมีผู้สมัครรวม 6 คนนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบคุณสมบัติถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดหรือไม่ คาดว่าจะทราบผลภายในเดือน ก.ย.นี้.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/09/2017 9:53 pm    Post subject: Reply with quote

คาดรถไฟฟ้ารางเบาเชียงใหม่วิ่งใต้ดินคู่บนดิน
เดลินิวส์ อังคารที่ 19 กันยายน 2560 เวลา 14.13 น.

27 ก.ย. นี้ สนข. เตรียมเคาะโครงข่ายรถไฟฟ้ารางเบาเชียงใหม่ แนวโน้มคาดเป็นโครงข่ายเอวิ่งบนดินและใต้ดิน ระยะทาง35 กมใช้เวลาสร้าง 6 ปี  
          
                รายงานข่าวจากสำนักงานโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แจ้งความคืบหน้าโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ จ.เชียงใหม่  ขณะนี้ได้ข้อสรุปผลการศึกษาที่เลือกใช้ระบบรถรางไฟฟ้ารางเบา มีโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะ 2 โครงข่าย คือโครงข่ายทางเลือกรูปแบบเอใช้ทางวิ่งบนดินและใต้ดินร่วมกัน มี 3 เส้นทางหลัก ระยะทางรวม 35 กม. ได้แก่
1.สายสีแดง 12 กม. 
2.สายสีเขียว 12 กม. และ
3.สายสีน้ำเงิน  11 กม.
วงเงินลงทุน  106,895 ล้านบาท ใช้เวลาสร้าง 6 ปี คาดว่าเริ่มสร้างได้ปลายปี 62-ต้นปี 63 แล้วเสร็จปี 67-68

ส่วนโครงข่ายทางเลือกรูปแบบบีใช้ทางวิ่งบนดินทั้งหมด ประกอบด้วย 3 เส้นทางหลัก ระยะทางรวม 40.57 กม. ได้แก่
1.สายสีแดง 15.65 กม.  
2.สายสีเขียว 11.11 กม. และ
3.สายสีน้ำเงิน  13.81 กม.
วงเงินลงทุน 28,419 ล้านบาท ใช้เวลาสร้าง 3 ปี คาดว่าเริ่มสร้างได้ปลายปี 62-ต้นปี 63 แล้วเสร็จปี 64-65

                ทั้งนี้ในวันที่ 27 ก.ย. สนข. จะประชุมคณะกรรมการกำกับโครงการ เพื่อให้ได้ข้อสรุปเรื่องโครงข่ายที่เลือกโครงข่ายเอหรือบี หรืออาจจะเลือกทั้ง 2 โครงข่าย ขณะเดียวกันแนวโน้มโครงข่ายเอมีความเป็นไปได้มาก เนื่องจากโครงการข่ายเอใช้ทางวิ่งบนดินและใต้ดินร่วมกัน ช่วยลดผลกระทบในเรื่องการวิ่งร่วมกันกับรถประเภทต่างๆ บนถนนได้ รวมทั้งโครงข่ายเอมี 3 เส้นทางหลักที่สร้างพร้อมกัน ทำให้เกิดความคุ้มทุนมากกว่า อย่างไรก็ตามเมื่อได้ข้อสรุปเรื่องโครงข่ายแล้ว หลังจากนั้นที่ปรึกษาโครงการดังกล่าวต้องส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ให้ สนข. เพื่อจะนำเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาเห็นชอบ ภายใน ต.ค. โดยเสนอให้คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบต่อไป ทั้งนี้เมื่อผลการศึกษาโครงการแล้วเสร็จ ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะเป็นเจ้าของโครงการที่ต้องดำเนินการศึกษารายละเอียดออกแบบในแต่ละโครงข่ายแนวเส้นทาง รูปแบบสถานี รวมทั้งรูปแบบการลงทุนต่อไป อย่างไรก็ตามระหว่างนี้หากท้องถิ่นสนใจจะลงทุนสร้างเองให้มาแจ้งความประสงค์ที่กระทรวงคมนาคมได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 21/09/2017 11:29 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คาดรถไฟฟ้ารางเบาเชียงใหม่วิ่งใต้ดินคู่บนดิน
เดลินิวส์ อังคารที่ 19 กันยายน 2560 เวลา 14.13 น.


งบบานปลายเป็น 1แสนล้านบาทแน่ๆ เลย Sad Laughing Embarassed Shocked
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/10/2017 8:00 am    Post subject: Reply with quote

สนข.เดินหน้ารถไฟฟ้าเชียงใหม่แสนล้าน
โพสต์ทูเดย์ 04 ตุลาคม 2560 เวลา 07:02 น.

ชง ครม.เคาะรูปแบบรถไฟฟ้าเชียงใหม่บนดิน-ใต้ดินลงทุนกว่าแสนล้าน

รายงานข่าวจากสำนักงานโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า เตรียมเสนอรายงานโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ จ.เชียงใหม่ ให้กระทรวงคมนาคมเห็นชอบเดือน ต.ค.-พ.ย.นี้ ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณารูปแบบระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งจัดทำไว้ 2 โครงข่าย ได้แก่ โครงข่ายทางเลือกรูปแบบเอใช้ทางวิ่งบนดิน และใต้ดินร่วมกันมี 3 เส้นทางหลัก ระยะทางรวม 35 กม. วงเงินลงทุน 106,895 ล้านบาท ใช้เวลาสร้าง 6 ปี คาดว่าเริ่มสร้างได้ปลายปี 2562-ต้นปี 2563 แล้วเสร็จปี 2567-2568

สำหรับโครงข่ายทางเลือกรูปแบบบีใช้ทางวิ่งบนดินทั้งหมด ประกอบด้วย 3 เส้นทางหลัก ระยะทางรวม 40.57 กม. วงเงินลงทุน 28,419 ล้านบาท ใช้เวลาสร้าง 3 ปี คาดว่าเริ่มสร้างได้ปลายปี 2562-ต้นปี 2563 แล้วเสร็จปี 2564-2565

ทั้งนี้ จะต้องเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียระหว่าง 2 โครงข่ายมีความแตกต่างกันอย่างไร เช่น โครงข่ายรูปแบบเอเป็นระบบใช้ทางวิ่งบนดินและใต้ดินร่วมกัน

ข้อดีคือเหมาะในเรื่องพื้นที่ในเมืองเชียงใหม่มีเขตทางน้อย ไม่กระทบผิวจราจร และไม่บดบังทัศนียภาพของเมือง ส่วนข้อเสียคือลงทุนสูง ใช้เวลาในการสร้างไม่ต่ำกว่า 6 ปีแล้วเสร็จ อย่างไรก็ตามเมื่อผลการศึกษาโครงการแล้วเสร็จทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะมีการกำหนดรูปแบบการลงทุนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/10/2017 8:48 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.เล็งชงแบบรถไฟฟ้าเชียงใหม่สู่คมนาคมปลาย ต.ค.นี้
บ้านเมือง วันจันทร์ ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2560, 16.14 น.

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่จังหวัดเชียงใหม่ ว่าภายหลังที่สนข.ได้จัดประชุมสัมมานารับฟังความคิดเห็นและโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่แล้ว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้มีการตรวจรับรายงานฉบับสุดท้ายเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งขั้นตอนต่อไปจะสรุปรายงานรายละเอียดไปยังกระทรวงคมนาคม

"สนข.จะต้องเสนอรูปแบบของระบบว่าเป็นอย่างไร และหน่วยงานใดจะเป็นผู้ดำเนินการโครงการต่อกระทรวงคมนาคมก่อน โดยจะเป็นการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) หรืออาจจะเป็นในส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ ล่าสุดในการประชุมก็มีผู้ตัวแทนเทศบาลนครเชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ร่วมประชุม ซึ่งที่ประชุมก็มีความเห็นที่อยากให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วม แต่รัฐบาลอาจจะเป็นผู้ลงทุน และให้ท้องถิ่นเป็นหน่วยงานเดินรถ โดยแนวทางทั้งหมดสนข.จะเสนอไปยังกระทรวงคมนาคม และกระทรวงคมนาคมจะหารือกับกระทรวงมหาดไทย หากท้องถิ่นสนใจดำเนินการกระทรวงมหาดไทยจะต้องทำเรื่องของเดินรถ คาดว่าจะสามารถเสนอรายละเอียดดังกล่าวต่อกระทรวงคมนาคมช่วงปลายเดือนตุลาคม 2560นี้" นายชัยวัฒน์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาสนข.ได้ทำการศึกษาระบบขนส่งสาธารณะที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ คือ ระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit System (LRT) โดยมีทางเลือกสำหรับโครงข่ายเส้นทางที่เหมาะสม 2 ทางเลือก ประกอบด้วย ทางเลือกที่1. โครงข่ายแบบ A เป็นโครงข่ายที่ใช้ทางวิ่งบนดินและใต้ดิน แบ่งเป็น 3เส้นทาง และทางเลือกที่2 โครงข่ายแบบ B เป็นโครงข่ายที่ใช้ทางวิ่งบนดินทั้งโครงข่าย

สำหรับการลงทุนทางเลือก1 มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 106,895 ล้านบาท มีระยะเวลาก่อสร้าง 6ปี และทางเลือก 2 มูลค่าลงทุน 28,419 ล้านบาท มีระยะเวลาก่อสร้าง 3ปี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/10/2017 7:35 am    Post subject: Reply with quote

"รถไฟฟ้าเชียงใหม่" เปิดประมูลปีหน้า

"สมคิด" ขีดเส้นเปิดประมูลรถไฟฟ้าเชียงใหม่แสนล้านภายในปีหน้า เผยรัฐบาลเล็งลงทุนงานก่อสร้างแล้วให้เอกชนลงทุนงานระบบเดินรถและบริหาร พร้อมเปิดกว้างเอกชนพัฒนาพื้นที่รอบบสถานี-ศูนย์ซ่อมบำรุง
เดลินิวส์ จันทร์ที่ 23 ตุลาคม 2560 เวลา 07.00 น.

นายฤทธิกา สุภารัตน์ รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) จ.เชียงใหม่ วงเงินประมาณ 100,000 ล้านบาทว่า รฟม. อยู่ระหว่างจัดทำร่างเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) จ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมแนวทางการร่วมทุนแบบพีพีพีคาดว่าจะได้ที่ปรึกษาเร็วๆนี้ ใช้เวลาศึกษา 4-6 เดือน โดย รฟม. จะของบประมาณจ้างที่ปรึกษาและเร่งดำเนินแผนตามเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการเปิดประมูลโครงการภายในปีหน้า
 
รายงานข่าวจากสำนักงานโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แจ้งว่า  นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีให้เป้าหมายกระทรวงคมนาคมไว้ว่า ต้องเร่งศึกษารูปแบบร่วมทุนพีพีพีออกแบบโครงการ เสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ให้แล้วเสร็จภายในปี 61 เพื่อเปิดประมูลโครงการตามเป้าหมาย ส่วนรูปแบบการร่วมทุนที่เหมาะสมน่าจะเป็นแบบประชารัฐโดยรัฐบาลลงทุนงานก่อสร้าง 100,000 ล้านบาท และให้เอกชนลงทุนงานระบบรวมถึงการจัดซื้อรถไฟฟ้าพร้อมรับความเสี่ยงการบริหารโครงการ นอกจากนี้ยังมีแนวคิดเปิดกว้างให้เอกชนลงทุนก่อสร้างศูนย์ซ่อมและควบคุมการเดินรถ (Depot) รวมถึงการลงทุนก่อสร้างพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีให้คุ้มค่าแก่การลงทุนและให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ขณะนี้มีเอกชนรายใหญ่ใน จ.เชียงใหม่สนใจร่วมลงทุนหลายราย อาทิ เจ้าของห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่ในจังหวัดตลอดจนเจ้าของบริษัทเครื่องดื่มรายใหญ่อย่างอิชิตัน ทั้งนี้ สนข.จะส่งผลการศึกษารายงานฉบับสมบูรณ์เข้าที่ประชุม คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.)ภายในเดือน พ.ย.นี้ก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
 
สำหรับแนวทางเลือกโครงข่ายมีทั้งทางวิ่งบนดินและบนดินรวมใต้ดิน 3 เส้นทางระยะทางรวม 35 กม. ได้แก่ 1.สายสีแดง 12 กม. 2.สายสีเขียว 12 กม. และ 3.สายสีน้ำเงิน 11 กม. หากใช้ทางวิ่งบนดินและใต้ดินวงเงินลงทุน 106,895 ล้านบาท ใช้เวลาสร้าง 6 ปี สำหรับจุดลงใต้ดินในแต่ละสายประกอบด้วย 1.สายสีแดงได้แก่ สถานี ข่วงสิงห์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ช้างเผือกและหายยา 2.สายสีเชียวได้แก่สถานี กาดหลวง ช้างคลานและมหิดล 3.สายสีน้ำเงิน ได้แก่ สถานีนิมมานเหมินทร์ เวียงเก่าและท่าแพนอกจากนี้ยังมีงานก่อสร้างสะพานรถไฟฟ้าข้ามแม่น้ำปิงในสายสีเขียวและสายสีน้ำเงินด้วย
 
ในการก่อสร้างต้องเวนคืนพื้นที่ชาวบ้านและปิดจราจรบางส่วน สนข. จึงมีแนวคิดจัดจราจรใน จ.เชียงใหม่รองรับ อาทิ ห้ามจอดรถ ปรับผังการจราจรโดยเพิ่มหรือปรับลดเส้นทางเดินรถทางเดียวหรือวันเวย์ ปิดถนนบางช่วง  ตลอดจนห้ามรถบรรทุกและรถขนาดใหญ่เข้าในตัวเมืองช่วง6 โมงเช้า-4ทุ่ม  ส่วนข้อกังวลในการก่อสร้างซึ่งอาจกระทบต่อสถาปัตยกรรมเก่าแก่ของเชียงใหม่นั้น รฟม. มีแนวทางร่วมกับกรมศิลปากรทุกขั้นตอน โดยมีประสบการณ์จากการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินรอบเกาะรัตนโกสินทร์ในกรุงเทพฯมาแล้ว มั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาความเสียหายต่อสถาปัตยกรรมแน่นอน... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/economic/605718

----

'ทางคู่'5เส้นทางเริ่มสร้างปี'61'สมคิด'จี้รฟม.เร่งผุดรถไฟฟ้าจ.เชียงใหม่
ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- จันทร์ที่ 23 ตุลาคม 2560 00:00:33 น.

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรักษาการผู้ว่าการการ รถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยความคืบหน้า โครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีน ขณะนี้อยู่ ระหว่างการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และได้มีการจัดอบรมและทดสอบวิศวกรจีนเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าปฏิบัติงาน ในช่วง 3.5 กิโลเมตรแรก ระหว่างสถานีกลางดงปางอโศก แล้ว ซึ่งแผนงานเดิมที่จะเริ่มก่อสร้าง ในเดือนพฤศจิกายน 2560 นี้

ส่วนด้านความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง จำนวน 13 สัญญา ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ, โครงการรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ, โครงการรถไฟทางคู่ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์, โครงการรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-หัวหิน และโครงการรถไฟทางคู่ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร คาดว่าจะเสนอให้ทางคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2560 และคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปีหน้า

ด้าน นายฤทธิกา สุภารัตน์ รักษาการ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยเกี่ยวกับความคืบหน้าโครงการการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ ว่า การสร้างรถไฟฟ้าในจังหวัดเชียงใหม่นั้น ขณะนี้ทาง รฟม.อยู่ระหว่างการจัดทำเอกสารการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้าง (TOR) ในส่วนของการจ้างที่ปรึกษาโครงการเพื่อศึกษาความเหมาะสมของแนวทางการลงทุนรูปแบบ (PPP) คาดว่าจะได้ที่ปรึกษาเร็วๆ นี้ก่อนดำเนินการศึกษาความเหมาะสมซึ่งจะใช้เวลาราว 4-6 เดือน โดยหลังจากนี้ทางรฟม.จะดำเนินการ ของบประมาณเพื่อมาจ้างที่ปรึกษาโครงการต่อไป เพื่อเร่งดำเนินแผนให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล ที่ต้องการเปิดประมูลโครงการดังกล่าวภายในปีหน้า

ด้านแหล่งข่าวจากสำนักงานโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ทางนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้ให้ เป้าหมายของโครงการดังกล่าวโดยได้กำชับทางกระทรวงคมนาคมให้เร่งดำเนินการศึกษารูปแบบร่วมทุน และการออกแบบโครงการ รวมถึงการเสนอ รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้แล้วเสร็จ ภายในปี 2561 เพื่อให้สามารถเปิดประมูลได้ตามแผน

ส่วนรูปแบบการลงทุนคาดว่าจะเป็น ในรูปแบบการร่วมทุนแบบประชารัฐ โดยรัฐบาล จะเป็นผู้ลงทุนงานก่อสร้าง 100,000 ล้านบาท โครงข่ายแบบใช้ทางวิ่งบนดินและใต้ดินร่วมกันรวม 3 เส้นทางหลัก ระยะทางรวม 35 กม. ได้แก่
1.สายสีแดง 12 กม.
2.สายสีเขียว 12 กม. และ
3.สายสีน้ำเงิน 11 กม. วงเงินลงทุน 106,895 ล้านบาท
ใช้เวลาสร้าง 6 ปี

สำหรับจุดที่จะต้อง ลงใต้ดินในแต่ละสายนั้นประกอบด้วย
1.สายสีแดง ได้แก่ สถานี ข่วงสิงห์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ช้างเผือก และหายยา
2.สายสีเขียว ได้แก่ สถานี กาดหลวง ช้างคลาน และมหิดล
3.สายสีน้ำเงิน ได้แก่ สถานี นิมมานเหมินทร์ เวียงเก่า และท่าแพ

นอกจากนี้ ยังมีงานก่อสร้างสะพานรถไฟฟ้าข้ามแม่น้ำปิง ในสายสีเขียวและสายสีน้ำเงิน

อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าภูมิภาคของจังหวัดเชียงใหม่นั้นมีพื้นที่ชุมชนหนาแน่นตลอดแนวเส้นทางนั้นจึงต้องมีการเวนคืนพื้นที่และการปิดจราจรบางส่วน ทาง สนข.จึงมีแนวคิดการจัดระเบียบรูปแบบจราจร ไว้รองรับแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 10, 11, 12  Next
Page 4 of 12

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©