Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180086
ทั้งหมด:13491318
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 87, 88, 89 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/10/2017 2:51 pm    Post subject: Reply with quote

EEC สั่งศึกษาขนส่งสินค้าแบบไร้รอยต่อ ไอซีดีลาดกระบัง-ทลฉ.
เผยแพร่: 30 ตุลาคม พ.ศ.2560 09:06:00
ปรับปรุง: 30 ตุลาคม พ.ศ.2560 2560 09:33:00


ร.ฟ.ท.เบรกประมูลไอซีดีลาดกระบัง หลัง EEC มีนโยบายปรับรูปแบบการให้บริการแบบไร้รอยต่อ เชื่อมการขนส่งสินค้าจากไอซีดี ขึ้นรถไฟจนลงเรือเพื่อลดต้นทุนลอจิสติกส์ “พิชิต” เผย สนข.กำลังศึกษารายละเอียด คาดต้องลงทุนระบบซอฟต์แวร์ และหาผู้บริหารกลางที่รับดูแลบริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ

นายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า คณะกรรมการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC มีนโยบายเกี่ยวกับสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) ที่ลาดกระบัง โดยต้องการให้มีการบริหารและมีระบบให้บริการที่เชื่อมโยงกันแบบไร้รอยต่อ ตั้งแต่การขนส่งสินค้าจากสถานีไอซีดี ลาดกระบัง ขึ้นรถไฟไปยังท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) โดยควรจะมีผู้บริหารจัดการที่สามารถรวมศูนย์การบริการทุกระบบขนส่งที่จุดเดียวเพื่อลดต้นทุนในระบบลอจิสติกส์

ทั้งนี้ ในการบริการที่จะสามารถเชื่อมโยงได้แบบไร้รอยต่อนั้นจะต้องมีการดำเนินงานใน 2 ส่วน คือ ระบบซอฟต์แวร์ ซึ่งเบื้องต้นทาง EEC จะเป็นผู้รับผิดชอบเอง โดยสามารถตั้งงบประมาณขึ้นมาดำเนินการได้ ส่วนที่ 2 คือหาผู้บริหาร คณะกรรมการ EEC จึงได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พิจารณารายละเอียด คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้

“ในส่วนของระบบซอฟต์แวรที่จะสามารถเชื่อมโยงการให้บริการนั้น EEC น่าจะดูแลเอง แต่จะต้องหาผู้ให้บริการหรือผู้บริหาร ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นตัวเลือกหนึ่งที่อาจจะให้เป็นผู้บริหาร หรือเปิดประมูลหาผู้เข้ามา เป้าหมายคือต้องการให้ผู้ใช้บริการขนส่งสินค้าสามารถติดต่อรับบริการที่จุดเดียว โดยได้รับบริการตั้งแต่ต้นทางไปถึงปลายทาง โดยมีผู้บริหารจัดให้เป็นรูปแบบที่เติมเต็มและเชื่อมโยงมากกว่าเดิม”

สำหรับโครงการสัมปทานเป็นผู้ประกอบการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) ที่ลาดกระบังของ ร.ฟ.ท.นั้น ก่อนหน้านี้ ร.ฟ.ท.ได้เปิดประมูลคัดเลือกสรรหาเอกชนเข้ารับสัมปทานตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56) ซึ่งได้รวบสัมปทานให้เหลือผู้บริหารเพียงรายเดียว จากเดิมมี 6 สัญญา ทำให้มีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการผูกขาดและล็อกสเปก และได้มีการยกเลิกประมูลไปเมื่อต้นปี 2560 นั้น

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญากับผู้ประกอบการไอซีดีลาดกระบังทั้ง 6 รายเดิม เนื่องจากการประมูลเพื่อหาผู้ประกอบการรายใหม่ยังไม่เสร็จสิ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการเดิมทั้ง 6 รายยังคงให้บริการตามสัญญาภายใต้เงื่อนไขเดิมจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง

สำหรับไอซีดี (ลาดกระบัง) มีพื้นที่ 647 ไร่ มีผู้ประกอบการตามสัญญาสัมปทานเดิม 6 ราย คือ 1. บริษัท สยามชอร์ไซด์ เซอร์วิส จำกัด (SSS) 2. บริษัท อีสเทิร์นซี แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด (ESCO) 3. บริษัท เอเวอร์กรีนคอนเทนเนอร์ เทอร์มินัล (ประเทศไทย) จำกัด (ECTT) 4. บริษัท ทิฟฟ่า ไอซีดี จำกัด (TIFFA) 5. บริษัท ไทยฮันจิน โลจิสติกส์ จำกัด (THL) และ 6. บริษัท เอ็น.วาย.เค. ดิสทริบิวชั่น เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด (NICD)
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/11/2017 9:58 pm    Post subject: Reply with quote

อุตสาหกรรมระบบรางไทย ยุทธศาสตร์ที่ไม่มียุทธศาสตร์
โพสต์ทูเดย์ 06 พฤศจิกายน 2560 เวลา 12:40 น.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประมวล สุธีจารุวัฒน ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสอธิบายซ้ำๆ ในหลากหลายการประชุมและการบรรยายว่า โจทย์สำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางในประเทศไทยไม่ใช่อยู่ที่การตั้งคำถามว่าประเทศไทยจะสามารถทำอุตสาหกรรมระบบรางได้หรือไม่ แต่ต้องเปลี่ยนฐานชุดความคิดไปเป็น เมื่อประเทศไทยจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบรางเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จะต้องทำอย่างไรเงินลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเหล่านั้น จะทำให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตของประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปสู่การพัฒนาบุคคลากรด้านเทคนิค วิศวกรรม ตลอดจนงานวิจัยและพัฒนาในภาควิชาการต่อไป

อุตสาหกรรมระบบรางจะเป็นตัวอย่างอุตสาหกรรมที่มีความต้องการภายในประเทศและภูมิภาค AEC อย่างชัดเจน เนื่องจากล้วนมีต้นตอจากโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน มีแผนงานชัดเจนว่าต้องการจัดหาระบบรางมาใช้งานเป็นจำนวนเท่าไร หากสามารถกำหนดให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศร่วมกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่รัฐบาลอาจพิจารณาว่าจะเป็น “spring board” ที่จะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการผลิตของประเทศไปสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงต่อไป ก็จะช่วยให้ภาพฝัน Thailand 4.0 ที่รัฐบาลต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจจากเดิมที่มีความได้ “เปรียบในเชิงเปรียบเทียบ” ไปเป็น “ความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน” เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ “อุตสาหกรรมแบบเพิ่มมูลค่า” ไปเป็น “อุตสาหกรรมแบบสร้างมูลค่า” จะสามารถเกิดขึ้นได้โดยมี “โจทย์ที่มีตัวตนของประเทศ” เป็นเครื่องมือ

ในระยะหลังเมื่อมีโอกาสได้พบปะกับบรรดาผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางของต่างประเทศ ผู้เขียนก็ได้พบว่านานาประเทศต่างก็มีการประยุกต์ “เครื่องมือ” ที่จะเป็นกลไกช่วยให้การพัฒนาอุตสาหกรรมสามารถเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม อาทิ ประเทศเกาหลีใต้อาศัยกลไกการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีที่รัฐบาลกำหนดเงื่อนไขการจัดซื้อรถไฟฟ้าความเร็วสูงจากประเทศฝรั่งเศส โดยมีการจับคู่ธุรกิจระหว่างบริษัทผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีในฝรั่งเศสกับอุตสาหกรรมท้องถิ่นในเกาหลีใต้ เฉกเช่นเดียวกับประเทศจีนที่แม้จะเคยพยายามพัฒนาเทคโนโลยีรถไฟฟ้าความเร็วสูงด้วยตัวเองเป็นเวลาหลายสิบปี แต่ไม่ประสบความสำเร็จในระดับที่สามารถนำไปใช้งานได้ จึงกำหนดเงื่อนไขในการจัดซื้อระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงจากต่างประเทศในช่วงปี ค.ศ.2004-2006 ให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีจนทำให้จีนกลายเป็นเจ้าของระบบ CRH ที่มีความยาวมากที่สุดในโลกในปัจจุบัน ในขณะที่ประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียเพื่อนบ้านของเราอาจจะแตกต่างออกไป ที่อาศัยกลไกการพัฒนาระเบียบการจัดซื้อในลักษณะ “นโยบายการชดเชย” (Offset Policy) ที่ไม่เพียงให้ความสำคัญเฉพาะกับระบบขนส่งทางรางเท่านั้น แต่ครอบคลุมไปยังการจัดซื้อของภาครัฐอื่นๆ เช่น ยุทธภัณฑ์ เรือ เครื่องบิน ฯลฯ โดยมีเป้าหมายให้การจัดซื้อของภาครัฐส่งผลมาถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมท้องถิ่นของประเทศ เฉพาะของมาเลเซีย ผู้เชี่ยวชาญจาก TDA (Technology Depository Agency) อันเป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงการคลังของรัฐบาลมาเลเซีย ได้อธิบายให้ฟังว่า รัฐบาลมาเลเซียพิจารณาความสำคัญของความต้องการใช้ระบบรางของประเทศไว้ 4 ประการ ซึ่งในที่สุดเป็นต้นตอที่ทำให้ปัจจุบันมาเลเซียมีโรงงานประกอบรถไฟ และผู้ผลิตชิ้นส่วนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ

1. ระบบรางคือระบบขนส่งทางบกอีกอย่างหนึ่งนอกเหนือไปจากระบบอื่นๆ เช่น ทางถนน ทางน้ำ หรือทางอากาศ ระบบรางสามารถใช้ทั้งขนสินค้าและผู้โดยสารและจะเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของประเทศ

2. ประเทศมาเลเซียจำเป็นต้องมีการลงทุนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะการขยายตัวของระบบรางเพื่อรองรับแผนการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ทั้งแผนการปฎิรูปเศรษฐกิจ (ETP, Economic Transformation Programme) แผนการปฏิรูประบบราชการ (GTP, Government Transformation Programme) แผนพัฒนามาเลเซียฉบับที่ 11 (Eleventh Malaysia Plan 2016-2020) และแผนแม่บทอุตสาหกรรมที่ 3 (IMP3, Third Industrial Master Plan 2006-2020)

3. ประเทศมาเลเซียจะคำนึงถึงการใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างคุ้มค่าการลงทุน ด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางภายในประเทศเพื่อรองรับการใช้งานไปตลอดอายุขัย (Through Life Support)

4. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มาเลเซียจะใช้อุตสาหกรรมระบบรางเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำหรับส่งเสริมให้เกิดการยกระดับขีดความสามารถในด้านการออกแบบ (design) การพัฒนา (development) การผลิต (manufacture) การบูรณาการระบบ (integration) การประกอบ (assembly) การดำเนินงาน (operations) การซ่อมบำรุง (maintenance) ทั้งระดับการซ่อมแซมตลอดจนการยกเครื่องหรือซ่อมบำรุงหนักตามรอบเวลา (repair & overhaul)

ทั้งหมดนี้สอดคล้องกับคำแนะนำของ “คุณจินยู ชอย” (Jinyu Choi) จาก Korea Railroad Research Institute ประเทศเกาหลีใต้ที่ผู้เขียนเคยเคยร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เชิญมาบรรยายที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีคำแนะนำสำหรับประเทศไทยจากมุมมองของประเทศที่เคยผ่านประสบการณ์รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมาก่อนว่า

1. Establish the detail plan and strategy for technology transfer คือ ประเทศไทยควรมีการเตรียมรายละเอียดของยุทธศาสตร์และแผนงานสำหรับการรับถ่ายทอดเทคโนโลยี

2. Start the R&D and manufacturing with the relatively easy and simple technologies to build the eco-system of railway industry at first กล่าวคือ ประเทศไทยอาจเริ่มงานวิจัยและพัฒนาตลอดจนภาคการผลิตชิ้นส่วนที่ใช้ในระบบรางจากชิ้นส่วนง่ายๆ ก่อน โดยมีกุญแจสำคัญอยู่ที่การพัฒนายุทธศาสตร์ “eco-system” อันเป็นแนวคิดที่อุตสาหกรรมในหลายๆ ประเทศกำลังให้ความสนใจ กล่าวคือ การพิจารณาบริบทของระบบการผลิตที่มีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันตั้งแต่สินค้า บริการ ห่วงโซ่อุปทาน (จะเรียกว่าระบบนิเวศน์ของภาคการผลิตก็น่าจะไม่ผิดนัก) ในลักษณะเดียวกับที่อุตสาหกรรมรายใหญ่อย่าง Apple Amazon และ Google กำลังทำกัน

3. Adopt the process of “technology transfer with R&D for future product” กล่าวคือ ในระหว่างที่มีการรับถ่ายทอดเทคโนโลยี ประเทศไทยควรระลึกอยู่เสมอว่าเทคโนโลยีที่ต่างชาติจะถ่ายทอดให้นั้นไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่เป็นสุดขอบวิทยาการ หากแต่อาจเป็นเทคโนโลยีใหม่ของเราที่เป็นเทคโนโลยีเก่าของเขา ดังนั้นในระหว่างส่งเสริมให้เกิดกระบวนการรับถ่ายทอดเทคโนโลยี ประเทศไทยก็ต้องส่งเสริมให้เกิดกระบวนการพัฒนาต่อยอดควบคู่กันไปด้วย

4. Prepare the organization and man-power for the perfect technology transfer and self-reliance กล่าวคือ ประเทศไทยต้องมีการจัดเตรียมองค์กร และบุคคลากรเฉพาะกิจที่จะต้องรับหน้าที่ดูแลกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี องค์กรและบุคคลากรเหล่านี้ต้องเข้าใจพันธกิจและถูกจัดเตรียมขึ้นอย่างมีแผนงาน ไม่ใช่เอาใครมารับผิดชอบก็ได้ และต้องไม่ใช่โครงการระยะสั้น หากแต่จะต้องเป็นแผนระยะยาวที่จะปูทางไปสู่การยกระดับขีดความสามารถของประเทศต่อไป

สำหรับประเทศไทย หลังมีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 30/2560 เรื่องมาตรการเร่งรัดและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา หรือโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ไทย-จีน เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา จนทำให้องค์กรต่างๆ ออกมาขยับแข้งขยับขาอยากจะเป็นแกนนำในกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี เวลาผ่านมา 4-5 เดือน ทุกอย่างดูเหมือนจะซบเซา และความเข้าใจของผู้มีอำนาจที่เกี่ยวของก็ลดระดับลงมาอยู่ที่การทดสอบความรู้ของวิศวกรจีนที่จะมาทำงานในประเทศไทย และรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเฉพาะในด้านการก่อสร้าง ส่วนภาคการผลิตดูเหมือนต่างฝ่ายต่างรีรอ ไม่มีแผนงานที่เป็นรูปธรรม ไม่มียุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางที่ชัดเจน เกรงว่าเราจะตกขบวนเสียแล้วหละครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/11/2017 12:39 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เห็นชอบผลศึกษาเส้นทางรถไฟ ชุมพร–ท่าเรือน้ำลึกระนอง
สำนักข่าวไทย
25 มิถุนายน 2560 เวลา 11:29:19


เอกสาร การประชุมปฐมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม เส้นทางชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง

//---------------------------------

รถไฟสายใหม่จากชุมพร-ระนอง125กม.
อังคารที่ 27 มิถุนายน 2560 เวลา 19.13 น.


//-----------------
ผู้ว่าชุมพร เปิดประชุมปฐมนิเทศเดินหน้ารถไฟสายใหม่ เชื่อมทะเลอ่าวไทย จ.ชุมพร กับ ทะเลอันดามัน จ.ระนอง (มีคลิป)
13 กรกฎาคม 2560 16:20:12

http://www.janghetchumphon.com/2183

//---------------------
ระนอง!! สนง.นโยบายและแผนการขนส่งและจราจร จัดประชุมปฐมนิเทศ โครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม (มีคลิป)
14 กรกฎาคม 2560 17:12:25

//-----------------

4 แนวรถไฟสายใหม่ ชุมพร - ระนอง - 11 ต.ค. เคาะเส้นทางที่เหมาะสม สำหรับโครงการทางรถไฟ ชุมพร - ระนอง ระยะทาง 125 กิโลเมตร

Click on the image for full size
แนวทางที่ 1: แยกจากสถานีชุมพร (กม. 468.53) ทางด้านใต้ประมาณ 3.2 กิโลเมตร (บริเวณหัวประแจ ด้านเหนือ สถานีแสงแดด กม. 472.54) - ท่าเรือระนอง ระยะทาง 102.50 กิโลเมตร มี 9 สถานีได้แก่
1. สถานีแสงแดด ต. ตากแดด อ. เมือง จ. ชุมพร
2. สถานีขุนกระทิง ต. ขุนกระทิง อ. เมือง จ. ชุมพร
3. สถานีบ้านนา อ. เมือง จ. ชุมพร
4. สถานีวังใหม่ ต. วังใหม่ อ. เมือง จ. ชุมพร
5. สถานีปากจั่น ต. ปากจั่น อ. กระบุรี จ. ระนอง
6. สถานีกระบุรี ต. ตากแดด อ. กระบุรี จ. ระนอง
7. สถานีบางใหญ่ ต. บางใหญ่ อ. กระบุรี จ. ระนอง
8. สถานีละอุ่น อ. ละอุ่น จ. ระนอง
9. สถานีท่าเรือระนอง ต. เขานางหงส์ อ. เมือง จ. ระนอง
แนวทางที่ 2: แยกจากสถานีวิสัย (กม. 489.97) ทางด้านใต้ประมาณ 0.4 กิโลเมตร - ท่าเรือระนอง ระยะทาง 74.154 กิโลเมตร มี 5 สถานีได้แก่
1. สถานีครน ต. ครน อ. สวี จ. ชุมพร
2. สถานีทุ่งระยะ อ. สวี จ. ชุมพร
3. สถานีเขาทะลุ ต. เขาทะลุ อ. สวี จ. ชุมพร
4. สถานีละอุ่น อ. ละอุ่น จ. ระนอง
5. สถานีท่าเรือระนอง ต. เขานางหงส์ อ. เมือง จ. ระนอง
แนวทางที่ 3: แยกจากสถานีเขาสวนทุเรียน (กม. 508.51) ทางด้านใต้ประมาณ 1.5 กิโลเมตร - ท่าเรือระนอง ระยะทาง 74.706 กิโลเมตร มี 6 สถานีได้แก่
1. สถานีเขาสวนทุเรียน ต. นาโพธิ์ อ. สวี จ. ชุมพร
2. สถานีนาสัก ต. นาสัก อ. สวี จ. ชุมพร
3. สถานีเขาค่าย ต. เขาค่าย อ. สวี จ. ชุมพร
4. สถานีละอุ่นใต้ ต. ละอุ่นใต้ อ. ละอุ่น จ. ระนอง
5. สถานีละอุ่น อ. ละอุ่น จ. ระนอง
6. สถานีท่าเรือระนอง ต. เขานางหงส์ อ. เมือง จ. ระนอง
แนวทางที่ 4: แยกจากสถานีควนหินมุ้ย (กม. 526.08) - ท่าเรือระนอง ระยะทาง 108.982 กิโลเมตร มี 6 สถานีได้แก่
1. สถานีควนหินมุ้ย ต. นาขา อ. หลังสวน จ. ชุมพร
2. สถานีหาดยาย ต. หาดยาย อ. หลังสวน จ. ชุมพร
3. สถานีพะโต๊ะ อ. พะโต๊ะ จ. ชุมพร
4. สถานีสนามบินระนอง อ. เมือง จ. ระนอง
5. สถานีระนอง อ. เมือง จ. ระนอง
6. สถานีท่าเรือระนอง ต. เขานางหงส์ อ. เมือง จ. ระนอง

จะเลือกเส้นทาง 1 เส้น เมื่อ 11 ตุลาคม 2560 และจะศึกษาให้เสร็จ กุมภาพันธ์ 2561
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2006182609395794&set=a.213819491965457.68088.100000122231436&type=3&theater
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2006182739395781&set=p.2006182739395781&type=3&theater

เพจโครงการทางรถไฟชุมพร - ระนองดูที่นี่
http://chumphon-ranongrailway.com/

ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่พอใจกะทางเลือก 1 (สถานีแสงแดด - ท่าเรือระนอง) กะ ทางเลือกที่ 2 (สถานีวิสัย - ท่าเรือระนอง) มากกว่าทางเลือกที่เหลือ
http://chumphon-ranongrailway.com/PDF/Sum_M1.pdf


ดูจากการศึกษาล่าสุดคราาวนี้ทางเลือกที่หนึ่ง เข้าวินแฮะแถมต้องทำทางแยกไปตัวเมืองระนองตามเสียงเรียกร้องของประชาชนด้วย

Mongwin wrote:
สนข. ลงพื้นที่จังหวัดชุมพร เสนอแนวเส้นทางและรูปแบบทางเลือกรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 9 พ.ย. 2560

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร ลงพื้นที่จังหวัดชุมพร เสนอแนวเส้นทางและรูปแบบทางเลือกรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2560 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมโรงแรมนานาบุรี อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร (สนข.) ได้จัดการประชุมเพื่อแนะนำโครงการและระดมความคิดเห็นโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง โดยนายชัยสิทธิ์ พานิชพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมด้วยนายวิจิตต์ นิมิตวานิช นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ สนข. และมีผู้แทนจากหน่วยงานจากภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และสื่อมวลชน เพื่อระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับผลการศึกษาคัดเลือกแนวเส้นทาง ทางเลือก รูปแบบทางเลือกที่เหมาะสมกับโครงการ รวมทั้งกำหนดรูปแบบแนวคิดเบื้องต้นของทางรถไฟ รูปแบบสถานีผู้โดยสาร แนวคิดทางสถาปัตยกรรมอาคารของสถานี และการออกแบบแนวคิดจุดตัดทางรถไฟ พร้อมทั้งแนวทางเบื้องต้นในการจัดการปัญหาต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ให้มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนให้น้อยที่สุดและมีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการดำเนินงานศึกษาให้มีความสมบูรณ์ต่อไป

นายวิจิตต์ นิมิตวานิช นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ สนข. กล่าวว่า กระทรวงคมนาคม ได้พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน จากการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจส่วนกลางและกลุ่มจังหวัดภาคใต้อันดามัน ในการพัฒนาแนวเส้นทางรถไฟสายใหม่ เชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยกับทะเลฝั่งอันดามันจากจังหวัดชุมพร-จังหวัดระนอง สำหรับการคมนาคมขนส่งและส่งเสริมการท่องเที่ยวสองฝั่งทะเล รวมทั้งเชื่อมโยงไปยังท่าเรือน้ำลึก จังหวัดระนอง เพื่อรองรับการเป็นประตูเศรษฐกิจสู่กลุ่มประเทศ BIMSTEC ในอนาคตกระทรวงคมนาคม จึงมอบหมายให้ สนข. ดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรมและสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาเส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง ระยะเวลาดำเนินการศึกษา 10 เดือน (เดือนพฤษภาคม 2560 ถึงกุมภาพันธ์ 2561)

และจากการศึกษา สำรวจ และวิเคราะห์เพื่อประเมินและคัดเลือกแนวเส้นทาง โดยพิจารณาจากปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน และด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม พบว่า แนวเส้นทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ แนวเส้นทางที่ 1 มีจุดเริ่มต้นของแนวเส้นทางบริเวณพื้นที่ทางใต้ของสถานีรถไฟชุมพรและอยู่ด้านเหนือของสถานีรถไฟแสงแดด โดยแนวเส้นทางรถไฟจะโค้งออกจากรถไฟสายใต้เดิมมุ่งหน้าไปยังทิศตะวันตกและขนานกับทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านพื้นที่เขตอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร อำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น และอำเภอเมือง จังหวัดระนอง จนสิ้นสุดโครงการที่บริเวณท่าเรือน้ำลึกระนอง รวมระยะทาง 102.5 กิโลเมตร โดยตำแหน่งสถานีเบื้องต้น 9 สถานี ได้แก่ สถานีขุนกระทิง สถานีบ้านนา สถานีวังใหม่ สถานีปากจั่น สถานีกระบุรี สถานีบางใหญ่ สถานีละอุ่น สถานีท่าเรือระนอง และจากสถานีท่าเรือระนอง จะมีเส้นทางแยก (Spur Line) เข้าสู่เมืองระนอง โดยสิ้นสุดที่สถานีระนอง ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/11/2017 2:21 pm    Post subject: Reply with quote

ตกลงใช้เส้นทางเดิมสมัยสงครามนะครับ Very Happy

ฟังเสียงชาวใต้ 2 จังหวัดต่อโครงการรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง
เดลินิวส์ ศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2560 เวลา 13.39 น.

Click on the image for full size

สนข. ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นประชาชน จ.ชุมพร และระนอง พร้อมนำเสนอแนวเส้นทางและรูปแบบทางเลือกที่เหมาะสม ของเส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง

สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้จัดการประชุมเพื่อแนะนำโครงการและระดมความคิดเห็นโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง ระหว่างวันที่ 9-10 พ.ย.60 โดย จ.ชุมพร จัดการประชุม ณ โรงแรมนานาบุรี อ.เมือง จ.ชุมพร โดยมีนายชัยสิทธิ์ พานิชพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานเปิดการประชุมฯ และ จ.ระนอง จัดการประชุม ณ โรงแรมทินิดีแอท ระนอง จ.ระนอง โดยมีนายพรเทพ ผ่องศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานเปิดการประชุมฯ พร้อมด้วย 
นายวิจิตต์ นิมิตรวานิช นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ สนข. และมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และสื่อมวลชน เข้าร่วมประชุมฯ

นายวิจิตต์ เปิดเผยว่า สนข. ได้ดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาเส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง ระยะเวลา 10 เดือน  ตั้งแต่ พ.ค. 60 – ก.พ.61 โดยการศึกษาได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องโดยในช่วงเริ่มต้นการศึกษา มีการจัดประชุมปฐมนิเทศโครงการฯ เพื่อแนะนำและชี้แจงความเป็นมาของโครงการ เหตุผลและความจำเป็นของการพัฒนาโครงการ ตลอดจนแนวทางและขั้นตอนการศึกษา เพื่อระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุม รวมทั้งมีการลงพื้นที่ในจังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง และภาคเอกชน โดยการเข้าพบเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการระดับจังหวัดและอำเภอ เพื่อหารือและรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยผลการดำเนินงานดังกล่าวได้นำมาเป็นส่วนประกอบของการคัดเลือก การพัฒนาและปรับปรุงแนวเส้นทาง

นายวิจิตต์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันได้ศึกษาและจัดทำรายงานขั้นกลางเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ จากการศึกษา สำรวจ และวิเคราะห์เพื่อประเมินและคัดเลือกแนวเส้นทาง โดยพิจารณาจากปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน และด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม พบว่า แนวเส้นทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ แนวเส้นทางที่ 1 มีจุดเริ่มต้นของแนวเส้นทางบริเวณพื้นที่ทางใต้ของสถานีรถไฟชุมพรและอยู่ด้านเหนือของสถานีรถไฟแสงแดด โดยแนวเส้นทางรถไฟจะโค้งออกจากรถไฟสายใต้เดิมมุ่งไปยังทิศตะวันตกละขนานกับทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านพื้นที่เขต อ.เมือง จ.ชุมพร อ.กระบุรี อ.ละอุ่น และ อ.เมือง จ.ระนอง จนสิ้นสุดโครงการที่บริเวณท่าเรือน้ำลึกระนอง รวมระยะทาง 102.5 กม. โดยตำแหน่งสถานีเบื้องต้น 9 สถานี ได้แก่ สถานีขุนกระทิง สถานีบ้านนา สถานีวังใหม่ สถานีปากจั่น สถานีกระบุรี สถานีบางใหญ่ สถานีละอุ่น สถานีท่าเรือระนอง และจากสถานีท่าเรือระนอง จะมีเส้นทางแยก (Spur Line) เข้าสู่เมืองระนอง โดยสิ้นสุดที่สถานีระนอง ระยะทางประมาณ 4 กม.
 
สำหรับการจัดประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุม ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับผลการศึกษาคัดเลือกแนวเส้นทางทางเลือก รูปแบบทางเลือกที่เหมาะสม รวมทั้งกำหนดรูปแบบแนวคิดเบื้องต้นของทางรถไฟ รูปแบบสถานีผู้โดยสาร แนวคิดทางสถาปัตยกรรมอาคารของสถานี และการออกแบบแนวคิดจุดตัดทางรถไฟ พร้อมทั้งแนวทางเบื้องต้นในการจัดการปัญหาต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมและที่จะมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนให้น้อยที่สุดและมีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการดำเนินงานศึกษาให้มีความสมบูรณ์ต่อไป


Last edited by Mongwin on 10/11/2017 5:02 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/11/2017 5:01 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ตกลงใช้เส้นทางเดิมสมัยสงครามนะครับ Very Happy

ฟังเสียงชาวใต้ 2 จังหวัดต่อโครงการรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง
เดลินิวส์ ศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2560 เวลา 13.39 น.

ระนองระดมความคิดเห็นเส้นทางรถไฟชุมพร - ท่าเรือน้ำลึกระนอง
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2560 เวลา 15:35:00 โดย: MGR Online
ระนอง - สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดระดมความคิดเห็นโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม เส้นทางรถไฟชุมพร - ท่าเรือน้ำลึกระนอง

สนข.ฟังความเห็น “รถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง” เคาะแนวทางที่ 1 มี 9 สถานี 102.5 กม.
โดย: MGR Online
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2560 เวลา 16:14:00
ปรับปรุง: ศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2560 เวลา 16:50:00

สนข.ลงพื้นที่ระดมความเห็นชาวชุมพร, ระนอง เตรียมสรุปผลการศึกษาโครงการรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง เคาะแนวเส้นทางที่ 1 เริ่มต้นจากทางใต้ของสถานีรถไฟชุมพรโค้งขนานกับถนนเพชรเกษม สิ้นสุดที่ท่าเรือน้ำลึกระนอง รวม 102.5 กม. มี 9 สถานี

นายวิจิตต์ นิมิตรวานิช นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า สนข.ได้จัดการประชุมเพื่อแนะนำโครงการและระดมความคิดเห็นโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง ระหว่างวันที่ 9-10 พฤศจิกายน 2560 ที่จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และสื่อมวลชน เข้าร่วมประชุมฯ

ทั้งนี้ สนข.ได้ดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาเส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง ระยะเวลาดำเนินการศึกษา 10 เดือน (เดือนพฤษภาคม 2560-กุมภาพันธ์ 2561) โดยในช่วงเริ่มต้นการศึกษา ได้มีการจัดประชุมปฐมนิเทศโครงการฯ เพื่อแนะนำและชี้แจงความเป็นมาของโครงการ เหตุผลและความจำเป็นของการพัฒนาโครงการ ตลอดจนแนวทางและขั้นตอนการศึกษา เพื่อระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุม รวมทั้งมีการลงพื้นที่ในจังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง และภาคเอกชน โดยการเข้าพบเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการระดับจังหวัดและอำเภอเพื่อหารือและรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

และได้นำผลมาพัฒนาและปรับปรุงแนวเส้นทาง โดยปัจจุบันได้ศึกษาและจัดทำรายงานขั้นกลาง (Interim Report) เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ (Draft Final Report) จากการศึกษา สำรวจ และวิเคราะห์เพื่อประเมินและคัดเลือกแนวเส้นทาง โดยพิจารณาจากปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน และด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม

พบว่าแนวเส้นทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ แนวเส้นทางที่ 1 มีจุดเริ่มต้นของแนวเส้นทางบริเวณพื้นที่ทางใต้ของสถานีรถไฟชุมพรและอยู่ด้านเหนือของสถานีรถไฟแสงแดด โดยแนวเส้นทางรถไฟจะโค้งออกจากรถไฟสายใต้เดิมมุ่งไปยังทิศตะวันตกและขนานกับทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านพื้นที่เขตอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร อำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น และอำเภอเมือง จังหวัดระนอง จนสิ้นสุดโครงการที่บริเวณท่าเรือน้ำลึกระนอง รวมระยะทาง 102.5 กิโลเมตร

ตำแหน่งสถานีเบื้องต้น 9 สถานี ได้แก่ สถานีขุนกระทิง สถานีบ้านนา สถานีวังใหม่ สถานีปากจั่น สถานีกระบุรี สถานีบางใหญ่ สถานีละอุ่น สถานีท่าเรือระนอง และจากสถานีท่าเรือระนองจะมีเส้นทางแยก (Spur Line) เข้าสู่เมืองระนอง โดยสิ้นสุดที่สถานีระนอง ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร

สำหรับการจัดประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุมภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับผลการศึกษาคัดเลือกแนวเส้นทางทางเลือก/รูปแบบทางเลือกที่เหมาะสม รวมทั้งการกำหนดรูปแบบแนวคิดเบื้องต้นของทางรถไฟ รูปแบบสถานีผู้โดยสาร แนวคิดทางสถาปัตยกรรมอาคารของสถานี และการออกแบบแนวคิดจุดตัดทางรถไฟ พร้อมทั้งแนวทางเบื้องต้นในการจัดการปัญหาต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมและที่จะมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนให้น้อยที่สุดและมีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการดำเนินงานศึกษาให้มีความสมบูรณ์ต่อไป

สำหรับโครงการดังกล่าวสืบเนื่องจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 ที่ประชุมได้รับทราบผลการประชุมร่วมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจส่วนกลางและกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2559 และมอบให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ส่วนกลางและกลุ่มจังหวัดภาคใต้อันดามัน ในการพัฒนาแนวเส้นทางรถไฟสายใหม่ เชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยกับฝั่งทะเลอันดามันจากจังหวัดชุมพร-จังหวัดระนอง สำหรับการคมนาคมขนส่งและส่งเสริมการท่องเที่ยวสองฝั่งทะเล รวมทั้งเชื่อมโยงไปยังท่าเรือน้ำลึก จังหวัดระนอง เพื่อรองรับการเป็นประตูเศรษฐกิจสู่กลุ่มประเทศ BIMSTEC ในอนาคต


Last edited by Wisarut on 15/11/2017 1:07 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/11/2017 1:52 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

ระนองระดมความคิดเห็นเส้นทางรถไฟชุมพร - ท่าเรือน้ำลึกระนอง
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2560 เวลา 15:35:00 โดย: MGR Online
ระนอง - สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดระดมความคิดเห็นโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม เส้นทางรถไฟชุมพร - ท่าเรือน้ำลึกระนอง

ชาวบ้านหนุนรถไฟสายใหม่ชุมพร-ระนอง
เดลินิวส์ อังคารที่ 14 พฤศจิกายน 2560 เวลา 11.38 น.

สนข. เผยชาวชุมพร-ระนอง หนุนสร้างเส้นทางรถไฟสายใหม่ชุมพระ-ท่าเรือน้ำลึกระนอง หวั่นต้องชะงักสร้างไม่ได้ เหตุล้ำป่าชายเลน

นายวิจิตต์ นิมิตรวานิช นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9-10 พ.ย. ที่ผ่านมา สนข. ได้ลงพื้นที่ จ.ชุมพร และ จ.ระนอง จัดการประชุมเพื่อแนะนำโครงการและระดมความคิดเห็นโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง ซึ่งได้รับผลตอบรับจากประชาชนทั้ง 2 จังหวัดเป็นอย่างดี โดยพบว่าแนวเส้นทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ได้แก่ แนวเส้นทางที่ 1  คือ มีจุดเริ่มต้นของแนวเส้นทางบริเวณพื้นที่ทางใต้ของสถานีรถไฟชุมพร และอยู่ด้านเหนือของสถานีรถไฟแสงแดด ซึ่งแนวเส้นทางรถไฟจะโค้งออกจากรถไฟสายใต้เดิมมุ่งไปยังทิศตะวันตก และขนานกับทางหลวงหมายเลข 4 (ถ.เพชรเกษม) ผ่านพื้นที่เขต อ.เมือง จ.ชุมพร อ.กระบุรี อ.ละอุ่น และ อ.เมือง จ.ระนอง จนสิ้นสุดโครงการที่บริเวณท่าเรือน้ำลึกระนอง รวมระยะทาง102.5กม.โดยตำแหน่งสถานีเบื้องต้นมี  9 สถานี ได้แก่ สถานีขุนกระทิง สถานีบ้านนา สถานีวังใหม่ สถานีปากจั่น สถานีกระบุรี สถานีบางใหญ่ สถานีละอุ่น สถานีท่าเรือระนอง และจากสถานีท่าเรือระนอง จะมีเส้นทางแยก(Spur Line) เข้าสู่เมืองระนอง โดยสิ้นสุดที่สถานีระนอง ระยะทางประมาณ 4 กม. ทั้งนี้ประชาชนมีความเป็นห่วงเรื่องที่ตั้งสถานี และการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวว่าแนวเส้นทางจะล่วงล้ำป่าชายเลน ป่าอนุรักษ์ ทำให้เกิดปัญหาจนไม่สามารถก่อสร้างได้ 

นายวิจิตต์ กล่าวต่อว่า ประชาชนในพื้นที่ได้เร่งรัดให้สร้างรถไฟเส้นทางดังกล่าวโดยเร็ว เพราะปัจจุบันมีผู้ต้องการเดินทางจากจ.ระนองไป จ.ชุมพรจำนวนมาก ดังนั้นในช่วงวันที่ 29 พ.ย.-1 ธ.ค.นี้ สนข.จะลงพื้นที่ใน 2 จังหวัด จัดสัมมนากลุ่มย่อย อีก 7 ครั้ง แบ่งเป็น จ.ชุมพร 3 ครั้ง และ จ.ระนอง 4 ครั้ง เพื่อรับฟังความคิดเห็นประชาชนผู้ได้รับผลกระทบที่แท้จริง ซึ่งอาศัยอยู่ตามแนวเส้นทางบริเวณที่ตั้งสถานี เกี่ยวกับการใช้เขตทาง 50 เมตร ถนนทางเข้าออก การระบายน้ำ ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ และจุดตัดทางรถไฟ รวมถึงแนวเส้นทางระยะห่างจากสถานศึกษา โรงเรียน ที่อาจจะมีปัญหาเรื่องเสียงหรือการสั่นสะเทือนด้วย จากนั้นสนข.จะนำข้อเสนอแนะที่ได้มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินงานให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่และมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนให้น้อยที่สุด และในช่วงปลายเดือน ก.พ.-ต้นเดือน มี.ค.61 จะจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ 2 จังหวัดอีกครั้ง ก่อนสรุปผลครั้งสุดท้าย เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ ก่อนนำเสนอกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/11/2017 1:08 pm    Post subject: Reply with quote

^^^

ส่วนเอกสารเพิ่มเติมมาแล้วครับ เห็นชี้นำทางเลือกที่ 1 ซึ่งอาจจะมัีปัญหาเรื่องทาง ผ่านป่าชายเลน ที่อุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี เลยครับ
http://chumphon-ranongrailway.com/PDF/Brochure_M2.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/11/2017 6:12 pm    Post subject: Reply with quote

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มั่นใจโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ภายใต้ความร่วมมือไทย- จีนจะเริ่มก่อสร้างกลางเดือนธันวาคมนี้
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 15 พ.ย. 2560

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 1 หลังมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารฯ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี เพื่อบริหารและติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (High Speed Train) ไทย-จีน สายกรุงเทพฯ-หนองคาย ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.35 กิโลเมตร วงเงิน 179,412.21 ล้านบาท ก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 23 ในวันที่ 24 พฤศจิกายนนี้ ที่ประเทศไทย ว่า ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานทั้งหมด 4 ชุด เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงาน (ประกอบด้วยคณะอนุกรรมการจัดตั้งองค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง/อนุกรรมการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางและจัดทำแผนการถ่าทอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง/อนุกรรมการปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะต่างๆเพื่อทำหน้าที่เป็นระบบสนับสนุนผู้โดยสารให้กับระบบรถไฟความเร็วสูง และอนุกรรมการพัฒนาพื้นที่และเมือง) นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้มีการหารือถึงแผนการดำเนินงานโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินงาน ตอนที่ 1 ระหว่างสถานีกลางดง-สถานีปางอโศก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร วงเงิน 424 ล้านบาท ซึ่งไทยได้รับแบบก่อสร้างจากจีนอย่างเป็นทางการแล้ว โดยกรมทางหลวงเป็นผู้รับผิดชอบคาดว่า จะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้กลางเดือนธันวาคมนี้ และหลังจากนี้จะเร่งรัดขั้นตอนการเร่งรัดรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ให้ผ่านความเห็นชอบซึ่งจะรายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป

สำหรับการก่อสร้างช่วงที่เหลือ ตอนที่ 2/3และ 4 คือ ช่วงที่ 2 ปากช่อง-ขนาดจิต ระยะทาง 11 กิโลเมตร ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กิโลเมตร และช่วงที่ 4 แก่งคอย-กรุงเทพฯ 119 กิโลเมตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ฝ่ายจีนจะทยอยส่งมอบแบบก่อสร้างให้ไทยภายใน 6 เดือน โดยช่วงใดมีความพร้อมก่อน ไทยก็จะเปิดประกวดราคาก่อน และย้ำว่าผู้รับงานก่อสร้างต้องเป็นผู้รับเหมาไทย หรือมีแกนนำเป็นผู้รับเหมาไทยเท่านั้น ซึ่งคาดว่าจะสามารถทยอยเปิดประกวดราคาได้ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2561 โดยงานก่อสร้างทั้งหมดจะใช้เงินกู้ภายในประเทศ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/11/2017 1:06 pm    Post subject: Reply with quote

ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เตรียมผลักดันโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟชุมพร-ระนอง เป็นวาระเร่งด่วน เข้าสู่วาระการประชุมสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 35 ที่ จ.สุราษฎร์ธานี ในระหว่างวันที่ 17-19 พ.ย. นี้
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 17 พ.ย. 2560

ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เตรียมผลักดันโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟชุมพร-ระนอง เป็นวาระเร่งด่วน เข้าสู่วาระการประชุมสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 35 ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในระหว่างวันที่ 17-19 พฤศจิกายน นี้

นายธีระพล ชลิศราพงศ์ ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง กล่าวว่า ในการประชุมสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ซึ่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ดังกล่าว ในระหว่างวันที่ 17-19 พฤศจิกายน นี้ ณ โรงแรมไดมอนต์พลาซ่า เพื่อให้หอการค้าทั้ง 5 ภูมิภาค นำเสนอผลงาน ตลอดจนปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานที่ผ่านมา ผ่านหอการค้าไทยไปยังรัฐบาล และร่วมกันกำหนดทิศทางการทำงานของหอการค้าทั้ง 5 ภูมิภาค ว่า ในปีหน้าจะมีแผนพัฒนาไปในทิศทางใด ตามนโยบายของรัฐบาล ในส่วนของหอการค้าจังหวัดระนอง มีการผลักดันแผนพัฒนาจังหวัดระนอง ผ่านหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ และในที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของจังหวัดระนอง ได้แก่ โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟจากจังหวัดชุมพรมายังระนอง เป็นวาระเร่งด่วน ซึ่งนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทรโอชา ได้รับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว โครงการ ดังกล่าว อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนกุมภาพันธ์ 2561 นี้

ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง ยังกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีการผลักดันโครงการก่อสร้างถนนเพชรเกษม 4 ช่องจราจรจากสามแยกราชกรูด จังหวัดระนอง ถึงสามแยกอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา โครงการพัฒนาบ่อน้ำแร่ร้อนเมืองระนอง และโครงการขยายรันเวย์สนามบินระนอง ขณะนี้ได้รับงบประมาณในการศึกษาความเป็นไปได้แล้ว เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน รวมถึงนักท่องเที่ยว ได้เดินทางเข้ามาในพื้นที่จังหวัดระนองมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : วรวิทย์ คำวังพฤกษ์
ผู้เรียบเรียง : วสันต์พรรษ จำเริญนุสิต
แหล่งที่มา : สวศ.ระนอง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/11/2017 6:38 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมประกาศเดินหน้าเมกกะโปรเจ็ค ปี 61
INN News ข่าวเศรษฐกิจ วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 14:23 น.

กระทรวงคมนาคม ประกาศเดินหน้าเมกกะโปรเจ็ค ปี 61 ขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานทั่วประเทศ มูลค่าลงทุนรวมกว่า 3 แสนล้านบาท


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวปาฐกถาพิเศษในการประชุมหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 35 ที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยระบุว่า ที่ผ่านมาตัวเลขการลงทุนภาครัฐค่อนข้างต่ำมาจาก 2 สาเหตุหลัก คือ การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า และไม่มีการลงทุนโครงการใหม่ โดยโครงการสุดท้ายที่รัฐบาลลงทุนคือการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ โดยรัฐบาลแก้ปัญหาด้วยการกำหนดให้ดึงงบประมาณคืนจากส่วนราชการที่ไม่ใช้เงินตามแผน ทำให้มีงบประมาณคืนกลับมาใช้ลงทุนใหม่เพิ่มเฉลี่ยปีละประมาณ 1 แสนล้านบาท และในปี 2561 กระทรวงคมนาคมได้กำหนดงบลงทุนขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ไว้ทั้งสิ้น กว่า 3 แสนล้านบาท

ขณะเดียวกัน ก็มีแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) จำนวน 103 โครงการ ระหว่างปี 2560-2564 วงเงินรวมกว่า 7.4 แสนล้านบาท โดยจะปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภาให้กลายเป็นสนามบินนานาชาติที่มีศักยภาพรองรับผู้โดยสารได้ถึง 60 ล้านคน มากกว่าสนามบินสุวรรณภูมิในเฟสแรกที่รองรับผู้โดยสารได้จำนวน 45 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้าของระบบตั๋วร่วม ในการอำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารใช้ตั๋วใบเดียวเดินทางไปได้ทุกทางนั้น ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างเจรจาติดตั้งระบบ คาดว่าจะพร้อมให้บริการได้ในช่วงกลางปีหน้า ซึ่งทุกโครงการที่ดำเนินการนั้นจะเป็นพื้นฐานให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 87, 88, 89 ... 121, 122, 123  Next
Page 88 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©