RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180503
ทั้งหมด:13491737
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 238, 239, 240 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/11/2017 8:56 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย-จีนยังเป็นฝัน
ไทยโพสต์ คอลัมน์กระจกไร้เงา Friday, November 17, 2017 - 00:00

หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งผลักดันโครงการความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีน ซึ่งที่ผ่านมาเหมือนจะมีข้อสรุปตามกรอบเวลา แต่ก็ไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยในการประชุมครั้งล่าสุด ได้มีการตั้งคณะอนุกรรม 4 ชุด ผลักดันโครงการ ก็มั่นใจว่าสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติแบบก่อสร้าง ปักเสาเข็มแน่กลางเดือนธันวาคมนี้

เมื่อฟังดูก็เหมือนเป็นเรื่องราวดีๆ โดยทางกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ออกมาแจงว่า พร้อมที่จะเดินหน้าเปิดประมูลช่วง 2-4 ไตรมาส 1 ปี 2561 ก็ต้องใช้คำว่า "รอลุ้น" กันต่อไป

สำหรับคณะอนุกรรมการที่ได้ตั้งขึ้นมา 4 ชุดเพื่อเร่งรัดการดำเนินการในโครงการก่อสร้างรถไฟไทย-จีนประกอบด้วย 4 คณะ คือ 1.อนุกรรมการจัดตั้งองค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงโดยมี รมช.คมนาคม เป็นประธาน 2.อนุกรรมการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางและจัดทำแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงโดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน ซึ่งคณะอนุกรรมการชุดนี้ จะเข้ามาดูการถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมถึงประสานงานกับสถาบันการศึกษาในการถ่ายทอดเทคโนโลยี

3.อนุกรรมการปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะต่างๆเพื่อทำหน้าที่เป็นระบบสนับสนุนผู้โดยสารให้กับระบบรถไฟความเร็วสูง โดยมีผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน และ 4.อนุกรรมการพัฒนาพื้นที่และเมือง ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน ซึ่งคณะอนุการชุดนี้จะเข้ามารับหน้าที่ดูความพร้อมการพัฒนาพื้นที่รอบรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อกับเมืองที่ล้อมรอบ

เมื่อถามว่าความคืบหน้าขณะนี้ถึงไหน ต้องบอกว่า เบื้องต้นขณะนี้ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) รอผลการศึกษาจากคณะกรรมศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) สรุป ช่วงบ้านภาชี-โคราช ก่อนที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติแบบก่อสร้างภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ คาดว่าจะสามารถก่อสร้างเส้นทางกลางดง-ปางอโศกระยะทาง 3.5 กม.ได้ภายในกลางเดือนธันวาคม 60 ส่วนโครงการไทย-จีน ช่วงระยะที่ 2-3-4 นั้น จะก่อสร้างได้หลังจากที่จีนส่งแบบก่อสร้างมาไทยและสร้างได้ในไตรมาสที่ 1 ของปี 61

สำหรับแผนงานก่อสร้างโครงการรถไฟไทย-จีนนั้น ก่อนหน้าทางไทย-จีนได้มีการลงนามในสัญญา 2.1 และ 2.2 เพื่อให้ฝ่ายจีนส่งแบบก่อสร้างมาให้ไทยก่อนจะเริ่มดำเนินงานก่อสร้าง โดยการก่อสร้างในระยะแรก 3.5 กิโลเมตร เส้นทางกลางดง-ปางอโศกนั้น จะให้กรมทางหลวงเป็นผู้ก่อสร้าง ส่วนงบประมาณทาง รฟท.จะเป็นผู้เบิกจ่ายงบประมาณ

ส่วนการออกแบบโครงการอีก 3 ช่วงที่เหลือ ได้แก่ ช่วงที่ 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กิโลเมตร ช่วงที่ 3 แก่งคอย-โคราช ระยะทาง 119.5 กิโลเมตร ช่วงที่ 4 แก่งคอย-บางซื่อ ระยะทาง 119 กิโลเมตรนั้น ได้เร่งรัดให้ทางฝ่ายจีนเร่งออกแบบโครงการให้เร็ว และส่งให้ไทยภายใน 6 เดือน หากช่วงใดออกแบบแล้วเสร็จและไทยถอดแบบแล้วเสร็จ ก็สามารถเปิดประมูลได้ทันที คาดว่าในไตรมาสที่ 1 ปี 61 จะเริ่มเปิดประมูลได้

อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมก็มั่นใจว่าโครงการรถไฟไทย-จีน เส้นทาง กทม.-หนองคายจะต้องแล้วเสร็จในปี 65 แน่นอน เพื่อเชื่อมต่อรถไฟไทย-จีนของประเทศลาว ที่จะเปิดให้บริการในปี 65 ส่วนวงเงินงบประมาณที่จะมาใช้ในโครงการรถไฟไทย-จีนนั้น จะเป็นแหล่งเงินกู้ในประเทศทั้งหมด ส่วนระบบรถ ตัวรถ ระบบรางนั้น จะมาหารือกับฝ่ายไทยอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อถามว่าจะล้มเลิกโครงการหรือไม่ คงเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากมีเสียงแว่วมาว่าระหว่างการเข้าร่วมประชุมเอเปก ที่นครดานัง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการมายังนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ให้เร่งดำเนินการตอกเสาเข็มก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะแรก 3.5 กิโลเมตรภายในเดือนธันวาคมนี้ เพื่อผลักดันโครงการดังกล่าวให้เกิดขึ้นภายในรัฐบาลชุดนี้ นี่ก็เป็นอีกเหตุผลที่กระทรวงคมนาคมจะต้องเดินหน้าอย่างปฏิเสธไม่ได้.

กัลยา ยืนยง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/11/2017 10:13 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ญี่ปุ่นสรุปผลศึกษารถไฟแบบชิงกันเซ็นเฟสแรกแล้ว
INN News วันพฤหัสบดี ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560, 16.51 น.


ลุยรถไฟสายใหม่ กรุงเทพ-พิษณุโลก’ เข้าครม.ต้นปีหน้า
หน้า โลกธุรกิจ
แนวหน้า
วันศุกร์ ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560, 06.00 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 673 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 546,744 ล้านบาท ว่า ผลศึกษาความเหมาะสมได้มีการแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือระยะแรกช่วงกรุงเทพ-พิษณุโลก และระยะที่ 2 ช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่

ในส่วนของช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก นั้นได้มีการสรุปรายงานเรียบร้อยแล้วจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการขอให้ทางญี่ปุ่นช่วยทำการศึกษาในเรื่องของรูปแบบการลงทุนเพิ่มเติม และในผลรายงานการศึกษาได้มีการเสนอว่า เป็นโครงการที่ทางรัฐบาลควรเป็นผู้ดำเนินการแต่ก็ได้มีการขอให้ทางญี่ปุ่นช่วยศึกษาว่าหากมีการให้เอกชนร่วมลงทุนจะเป็นลักษณะใด โดยได้มีการดูต้นแบบมาจากโมเดลของประเทศไต้หวันเป็นตัวอย่าง

ทั้งนี้ในขั้นตอนต่อไปทางกระทรวงคมนาคม จะมีการนำเสนอผลการศึกษาให้ทางคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาความเหมาะสมในการดำเนินโครงการว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ต่อไป โดยคาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 3 เดือน ในการวิเคราะห์และสรุปผลการศึกษา รวมถึงการขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนเสนอให้ ครม.พิจารณา

ส่วนในขั้นตอนการออกแบบได้มีแนวคิดในการแบ่งตอนของช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ออกเป็นตอนย่อยซอยสัญญาก่อสร้างและดำเนินการทีละส่วนอาจจะมีการดำเนินที่ละ 1-2 สถานี เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินการก่อสร้างโครงการ ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้นแม้ว่าผลการศึกษาจะมีการเสนอให้ทางรัฐบาลเป็นผู้ลงทุนก็ตาม แต่ทางฝ่ายไทยก็อยากให้ทางญี่ปุ่นมีส่วนในการร่วมลงทุนด้วยซึ่งจะต้องมีการหารือร่วมกันต่อไป โดยในการลงทุนทางญี่ปุ่นก็มีความพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงิน อย่างไรก็ตาม สำหรบผลการศึกษาในช่วงของกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 418 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 276,225 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมในส่วนของการเดินรถระยะ 30 ปี

“จากผลการศึกษาทางญี่ปุ่นมีความเห็นว่าเป็นการลงทุนของทางรัฐบาล แต่เราคิดว่าน่าจะเป็นความร่วมมือกับเอกชนเช่นลักษณะของ Joint Venture มากกว่า อาจจะเป็นการลงทุนร่วมกัน หรือรัฐบาลลงทุนด้านงานโยธา หรือบริษัทร่วมลงทุนกับรถไฟไทยในเรื่องการเดินรถ หรือจะมีการร่วมลงทุนตั้งแต่ต้น ซึ่งอยากให้เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลมากกว่า เนื่องจากโครงการรถไฟความเร็วสูงใช้งบประมาณมากกว่าโครงการอื่นๆ และเป็นผลตอบแทนในระยะยาว รวมถึงโครงการนี้ยังมีการใช้เทคโนโลยีของญี่ปุ่น”นายอาคม กล่าว

ในส่วนของระยะต่อไป แต่จะเริ่มดำเนินการเมื่อไหร่จะต้องมีการหารือร่วมกันอีกครั้ง เพราะต้องการให้ในส่วนแรกเป็นรูปธรรมก่อน นอกจากนี้ในส่วนของการพัฒนาพื้นที่เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองและบริเวณโดยรอบสถานีก็ได้มีการขอให้ทางญี่ปุ่นส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยแนะนำโดยทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นผู้ดำเนินการ

อาคม ฟัน!! 3 เดือนไฮสปีดไทย-ญี่ปุ่นเข้าครม.
เดลินิวส์
ศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2560 เวลา 09.00 น.
นับถอยหลัง 3 เดือน คมนาคมดัน ไฮสปีดไทย-ญี่ปุ่น เข้าครม. ยังไม่ได้ข้อสรุปรูปแบบลงทุน โครงการ 276,225 ล้านบาท


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับคณะทำงานจากประเทศญี่ปุ่น เกี่ยวกับความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง ความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 673 กม. ว่า ขณะนี้ญี่ปุ่นได้สรุปร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ผลการศึกษาความเหมาะสมของโครงการระยะที่ 1 กรุงเทพ-พิษณุโลก ส่งให้ไทยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระยะทาง 418 กม. มูลค่าการลงทุน 276,225 ล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนเกี่ยวกับงานโยธา อาณัติสัญญาณ ระบบรถ และการบำรุงรักษา ไม่รวมการเดินรถที่จะมีระยะเวลา 30 ปี โดยจากผลการศึกษาญี่ปุ่นมีข้อเสนอว่าควรเป็นโครงการที่รัฐบาลเป็นผู้ลงทุน แต่ทางไทยก็เสนอเป็นทางเลือกว่าน่าจะเป็นลักษณะของความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น หรือเปิดให้บริษัทญี่ปุ่นเข้ามาร่วมลงทุนกับการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุป คงต้องหารือในการขับเคลื่อนโครงการที่ชัดเจนอีกครั้ง อย่างไรก็ตามหลังจากนี้คมนาคมจะเร่งวิเคราะห์และสรุปผลการศึกษาทั้งหมดอีกครั้ง คาดว่าไม่เกิน 3 เดือนจะสามารถเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาได้

นายอาคมกล่าวต่อว่า ส่วนการศึกษาระยะที่ 2 เส้นทางพิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 255 กม.นั้น ขอให้ระยะแรกเป็นรูปธรรมก่อนจึงจะเริ่มดำเนินการได้ อย่างไรก็ตามหลังจากผ่านความเห็นชอบจากครม.แล้วจะเข้าสู่ขั้นตอนของการออกแบบ ซึ่งเบื้องต้นหารือว่าจะให้ทางญี่ปุ่นเป็นผู้ออกแบบให้ โดยมีแนวคิดว่าเพื่อให้โครงการเกิดความรวดเร็วควรแบ่งการออกแบบและก่อสร้างจากกรุงเทพ-พิษณุโลกเป็นตอนๆ ได้แก่ สถานที่1บางซื่อ-สถานีที่2 ดอนเมือง –สถานีที่ 3 อยุธยา ระยะทางประมาณ 100 กม. จากนั้นจึงค่อนดำเนินการออกแบบและก่อสร้างสถานีที่ 4 ลพบุรี- สถานีที่ 5 นครสวรรค์และสถานีที่ 6 พิษณุโลก ตามลำดับ สำหรับรูปแบบการเดินรถนั้น เป็นเรื่องของการรถไฟแห่งประเทศไทย แต่จำเป็นต้องแยกออกมาเป็นบริษัทลูกเพื่อดำเนินการโดยเฉพาะ ญี่ปุ่นจะนำระบบรถไฟชินคันเซนมาใช้ในโครงการ นอกจากนี้ไทยยังขอให้ญี่ปุ่นส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยศึกษาเรื่องการพัฒนาพื้นที่ เกี่ยวกับการปรับรูปแบบการใช้ที่ดิน ตัวสถานี รอบสถานีและเมืองด้วย 

//-----------

จ่อชง ครม.อนุมัติรถไฟไทย-ญี่ปุ่น 2.76 แสนล้าน “อาคม” เปิดช่องเจรจาร่วมลงทุนแบบรัฐต่อรัฐ
โดย: MGR Online
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 17:52:00
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 18:04:00

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หารือกับ Mr.Noriyoshi Yamagami รองอธิบดีกรมการรถไฟญี่ปุ่น เกี่ยวกับความคืบหน้ารายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ภายใต้บันทึกความร่วมมือในการพัฒนาระบบรางระหว่างไทย – ญี่ปุ่น (Memorandum of Cooperation, MOC)

เตรียมสรุป “รถไฟไทย-ญี่ปุ่น” ชง ครม.ภายใน 3 เดือนนี้ “อาคม” เผยญี่ปุ่นเสนอรัฐบาลลงทุนรถไฟความเร็วสูงเอง ชี้ไม่เหมาะเปิด PPP หวั่นเอกชนลงทุนอาจไม่ไหว เปิดทางญี่ปุ่นร่วมลงทุนตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง เร่งผุดเฟสแรก “กรุงเทพ-พิษณุโลก” 2.76 แสนล้าน แบ่งซอยออกแบบและก่อสร้างออกเป็นตอนๆ เร่งเปิดเดินรถ กรุงเทพ-อยุธยา นำร่องได้ก่อน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับคณะทำงานญี่ปุ่น นำโดย Mr. Noriyoshi Yamagami รองอธิบดีกรมการรถไฟญี่ปุ่น ในความร่วมมือการพัฒนาระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ในโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กม. ว่าขณะนี้อยู่ขั้นตอนสุดท้ายของการรายงานศึกษาความเหมาะสมฉบับสมบูรณ์โครงการฯ ซึ่งในระยะแรก ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 418 กม.อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ผลการศึกษาและสรุปรายงานการศึกษา รวมถึงแปลจากภาษาอังกฤษเป็นไทย และขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดว่าจะใช้เวลาอีกไม่เกิน 3 เดือนสามารถเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้

ทั้งนี้ หลังจาก ครม.อนุมัติโครงการแล้วจะเข้าสู่ขั้นตอนการออกแบบรายละเอียดช่วงกรุงเทพ-พิษณุโลก ที่ญี่ปุ่นเสนอให้แบ่งซอยการออกแบบและก่อสร้างออกเป็นตอนๆ เนื่องจากจะทำให้สามารถเปิดเดินรถได้เร็วขึ้น เพราะหากรอการออกแบบเสร็จจากกรุงเทพ-พิษณุโลก จะใช้เวลา 2 ปี ซึ่งช่วงกรุงเทพ-พิษณุโลก มี 6 สถานี คือ บางซื่อ-ดอนเมือง-อยุธยา-ลพบุรี-นครสวรรค์-พิษณุโลก กรณีแบ่งออกแบบและก่อสร้าง 2 สถานีแรกก่อน คือ จากบางซื่อ-ดอนเมือง-อยุธยา จะมีระยะทางกว่า 100 กม. สามารถเดินรถได้ก่อน หลังจากนั้นเมื่อสถานีต่อไปก่อสร้างเสร็จสามารถทยอยเปิดเดินรถต่อไปได้

สำหรับรูปแบบการลงทุนนั้น การศึกษาของญี่ปุ่นเสนอให้รัฐบาลเป็นผู้ลงทุนเพื่อให้โครงการเป็นไปได้ในระยะยาว โดยกรุงเทพ-พิษณุโลก มีมูลค่าลงทุน 276,225 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้างงานโยธา ระบบราง ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบตัวรถ โดยยังรวมค่าบริหารจัดการเดินรถซึ่งจะมีระยะเวลา 30 ปี ขณะนี้ยังไม่สรุป เพราะการลงทุนมีหลายรูปแบบ ยังต้องศึกษาและหารือกับญี่ปุ่นเพิ่มเติม ซึ่งเปิดโอกาสให้ญี่ปุ่นสามารถเข้ามาร่วมลงทุนในรูปแบบรัฐต่อรัฐ ตั้งแต่เริ่มต้นก่อสร้างงานโยธาตลอดจนถึงการเดินรถ หรืออาจจะร่วมทุนกับบริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในส่วนของการบริหารการเดินรถอย่างเดียว เป็นต้น

“รถไฟความเร็วสูงใช้เงินลงทุนสูงกว่าโครงการอื่นๆ โดยเฉพาะในช่วงแรกการลงทุนจะสูง ดังนั้นรัฐควรลงทุนเอง เพราะต้นทุนเงินกู้ของรัฐจะต่ำกว่าเอกชนขณะที่ผลตอบแทนจะใช้เวลานาน ซึ่งมีตัวอย่างที่ประเทศไต้หวัน ให้เอกชนเข้ามาลงทุนแต่สุดท้ายไม่ไหว รัฐบาลต้องเข้าไปเทกโอเวอร์สัดส่วนที่ 90% โครงการถึงจะอยู่ได้ ดังนั้นจึงให้ญี่ปุ่นศึกษาเพิ่มเติม ในการเปิดโอกาสให้ญี่ปุ่นเจ้ามาร่วมมือแบบจอยเวนเจอร์ เพราะใช้เทคโนโลยีญี่ปุ่น ระบบชินคันเซ็น”

อย่างไรก็ตาม กรณีที่รัฐลงทุนเองทั้งหมดจะใกล้เคียงกับความร่วมมือรถไฟไทย-จีน แต่ขณะนี้ยังเปิดโอกาสในการให้ญี่ปุ่นเข้ามาร่วมลงทุนซึ่งมีรูปแบบใด ในขั้นตอนไหน ยังต้องพิจารณาต่อไป ขณะที่ญี่ปุ่นอาจจะต้องตั้งบริษัทเข้ามาลงทุน กับบริษัทลูกของการรถไฟฯ และกรณีที่ญี่ปุ่นจะออกแบบโครงการ วิศวกรญี่ปุ่นจะต้องมาทดสอบตามกฎหมายไทยเหมือนวิศวกรจีนเช่นกัน ซึ่งจะมีการหารือกันต่อไปหลังจาก ครม.อนุมัติโครงการ

//---------------------

งานนี้คนพิจิตร ผิดหวังเพราะ สถานีพิจิตรทำท่าจะไม่สร้างให้หนะ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/11/2017 5:50 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมร่วมไจก้าเปิดเวทีถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟ
INN News วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 17:25 น.

คมนาคมร่วมไจก้าเปิดเวทีถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟประยุกต์ใช้ระบบรางไทยเพิ่มศักยภาพคมนาคมขนส่งเทียบเท่ามาตรฐานสากล
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายชิโระ ซะโดะชิมะ เอกอัครราชฑูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เป็นประธานร่วมเปิดการสัมมนา “Thailand - Japan Railway Partnership for Connectivity Success Sharing Advanced SHINKANSEN Technologies & Area development” เพื่อเผยแพร่ความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ ภายใต้ความร่วมมือตามบันทึกข้อตกลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเสนอเทคโนโลยีที่ทันสมัยของรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่น เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับระบบรถไฟความเร็วสูงของไทยในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ รวมทั้งความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่หรือภูมิภาคที่เหมาะสม เพื่อให้การพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเกิดประโยชน์แก่คนไทยทุกระดับอย่างแท้จริงและทั่วถึง ตลอดจนเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆ ร่วมกันเสนอข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ

นายอาคม กล่าวว่า การลงนามในบันทึกความร่วมมือด้านระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) ประเทศญี่ปุ่นได้ให้การสนับสนุนประเทศไทยในการพัฒนาหลากหลายโครงการมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยีระบบรถไฟความเร็วสูง การนำเสนอแผนการพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ อย่างบูรณาการ การพัฒนาแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง และการเพิ่มประสิทธิภาพบริการขนส่งสินค้าทางรถไฟ วันนี้จึงเป็นการนำเสนอก้าวหน้าของโครงการต่างๆ ที่ทั้ง 2 ประเทศได้ร่วมมือกัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/11/2017 6:18 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูง ไทย - จีน ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง...เหมือนเดิม
เผยแพร่: 17 พ.ย. 2560 17:18:00 โดย: MGR Online

"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"

เวลาล่วงเลยไปห้าเดือน นับตังแต่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. และนายกรัฐมนตรี ใช้มาตรา 44 ออกคำสั่ง ปลดล็อค โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ - โคราช แต่รถไฟขบวนนี้ ก็ยังไม่ขยับเขยื้อนเคลื่อนไปข้างหน้าเลยแม้แต่น้อย

คำสั่ง คสช. ปลดล็อคครั้งนั้น ก็เพื่อเร่งรัดให้การดำเนินโครงการเร็วขึ้น โดย ยกเว้นให้ การรถไฟแห่งประเทศไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายบางข้อ เกี่ยวกับ การว่าจ้าง วิศวกร สถาปนิก จีน เป็นผู้ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง

ตามแผนเดิม จะเริ่มตอกเสาเข็ม ลงมือก่อสร้างช่วงแรก จาก สถานีกลางดง ถึง สถานีปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร จากระยะทางทั้งหมด 252 กิโลเมตร ในเดือนกันยายน แต่ก็เลื่อนไปเป็นเดือนตุลาคม เลื่อนอีกเป็นเดือนพฤศจิกายน และล่าสุด คือ เลื่อนต่อไปเป็นเดือนธันวาคม

สาเหตุสำคัญที่ทำให้รถไฟขบวนนี้ยังไม่ขยับออกจากที่ ตามถ้อยแถลงของ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม คือ รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ ยังไม่ผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ สผ. หลังจากที่มีการยื่นแผน อีไอเอไปแล้ว 7 ครั้ง รวมครั้งล่าสุด

กำหนดการตอกเสาเข็ม รถไฟไทยจีน ช่วงแรก ในเดือนธันวาคม มีโอกาสสูงมาก ที่จะเลื่อนออกไปอีก เพราะแผน อีไอเอ ไม่ผ่าน ต้องยื่นใหม่ ครั้งที่ 8 ครั้งที่ 9 ฯลฯ และแม้ว่า แผนอีไอเอผ่านแล้ว ก็อาจจะมีปัจจัยอื่นๆ มากีดขวาง ไม่ให้รถไฟขบวนนี้นับหนึ่ง เคลื่อนออกจากสถานีได้สักที

โครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีน เป็นโครงการที่มีแต่ความไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นับตั้งแต่มีการลงนามเอ็มโอยู ไทย จีน เมือ่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2557

ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ที่เคยถูกกำหนดให้เป็นรถไฟความเร็วปานกลาง เพราะรถไฟความเร็วสูง ยังไม่จำเป็นสำหรับไทย แต่ต่อมาก็กลายเป็น” ไฮสปีดเทรน” รถไฟความเร็วสูง

เรื่อง เส้นทาง เริ่มต้นจากรถไฟสายกรุงเทพฯ-หนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุด วงเงิน 5.3 แสนล้านบาท ในปี 2557 ก่อนพลิกเป็นกรุงเทพฯ-นครราชสีมา (ทางคู่) นครราชสีมา-หนองคาย (ทางเดี่ยว) โดยชะลอการสร้างเส้นทางแก่งคอย-มาบตาพุด เอาไว้ก่อน แต่สุดท้าย เหลือเพียง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252 กิโลเมตร ทางเดี่ยว ที่ถูกซอยออกเป็น 4ช่วง ทยอยก่อสร้างตามลำดับ

ช่วงแรก สถานีกลางดง - สถานีปางอโศก ระยะทาง3.5 กิโลเมตร ช่วงที่ 2 ปากช่อง - สถานี คลองขนานจิต 11 กิโลเมตร ช่วงที่ 3 แก่งคอย - นครราชสีมา 119 กิโลเมต รและช่วงที่ 4 แก่งคอย -กรุงเทพ ระยะทาง 119 กิโลเมตร

เรื่อง การลงทุน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่เปลี่ยนแปลง จากเดิมที่เป็นการลงทุนยร่วมระวห่างไทย กับจีน ในสัดส่วนต่างๆกัน สุดท้ายกลายเป็น ไทยลงทุนทั้งหมด 100 % จีนเกลายเป็นผู้ออกแบบ ควบคุมการก่อสรร้าง และผู้ขายระบบ เทคโนโลยี่ ขบวนรถ ให้กับไทย

นอกจากเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องความไม่ชัดเจน เรื่องผู้ก่อสร้าง และเงินค่าก่อสร้าง 170,000 ล้านบาท ว่าจะมาจากไหน การมอบหมายให้กรมทางหลวง เป็นผู้ก่อสร้างช่วงแรกจาก สถานีปางสีดาไปถึงสถานปางอโศก ดูเหมือนจะเป็นเรื่องขัดตาทัพไปก่อน เช่นเดียวกับเรื่อง เงินค่าก่อสร้าง ที่ยังไม่มีแผนการเงินแต่อย่างใด มีแต่ภาพรวมๆว่า จะใช้เงินกู้ในประเทศ

ดูแล้ว ก็เหมือนว่า รัฐบาล ไม่ค่อยจะมีใจกับโครงการนี้ แต่เนื่องจาก เป็นข้อตกลงระหว่างรัฐกับรัฐ จะบอกเลิกก็เกรงจะเสียไมตรี จึงใช้วิธีซื้อเวลาไปเรื่อยๆ โดนทางจีนบีบมาที จึงค่อยขยับตัว ทำท่าให้จีนเห็นว่าเอาจริงเอาจัง

โครงการนี้ ว่าไปแล้ว ไม่จำเป็นสำหรับไทย เพราะซ้ำซ้อนกับ รถไฟทางคู่ ซึ่งจะไปสิ้นสุดที่หนองคาย และเปิดประมูลช่วงแรกจากนครราชสีมาถึงขอนแก่น ได้ผู้รับเหมาก่อสร้างไปแล้ว แต่เป็นโครงการที่มีความสำคัญต่อจีน เพราะจะเชื่อมโยงกับ รถไฟจีน ลาว ที่มาจากนครคุนหมิง ตอนใต้ของจีน ซึ่งเริ่มการก่อสร้างแล้ว

รถไฟทางคู่ของไทยนั้น เชื่อมโยงกับ รถไฟจีนลาวได้อยู่แล้ว ไทยไม่ต้องกลัวว่า จะตกขบวน ไม่ได้อยู่ในเส้นทาง เชื่อมโลก One Belt One Road หรือหนึ่งแถบหนึ่งถนนของจีน ถ้าไม่มีรถไฟความเร็วสูงที่วิ่งไปถึงหนองคาย เพราะรถไฟจีนลาว ที่จะข้ามแม่น้ำโขงมาจากเวียงจันทน์นั้น เป็นรถไฟความเร็วปานกลาง 120-160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เช่นเดียวกับ รถไฟทางคู่ของไทย ขนทั้งคน และบรรทุกสินค้า ในขณะที่รถไฟความเร็งสูง ความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สำหรับบรรทุกผู้โดยสารเท่านั้น

เรื่องนี้ หรือเปล่า ทีทำให้รถไฟความเร็วสูงไทยจีน กรุงเทพ- โคราช ไม่ได้นับหนึ่ง เคลื่อนขบวนออกจากสถานี เสียที
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/11/2017 9:08 pm    Post subject: Reply with quote

“อาคม”เร่งไฮสปีดไทย-ญี่ปุ่นแบ่งออกแบบ3ตอนนำร่อง”กทม.-อยุธยา”คาดลงเข็มปี’62 เปิดหวูดปี’64
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 - 12:08 น.


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวเปิดการสัมมนา “Thailand – Japan Railway Partnership for Connectivity Success Sharing Advanced SHINKANSEN Technologies & Area development” ว่า ภายหลังการลงนามในบันทึกความร่วมมือด้านระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.2560 ทางญี่ปุ่นได้ให้การสนับสนุนประเทศไทยในการพัฒนาหลากหลายโครงการมาอย่างต่อเนื่อง

ทั้งในด้านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยีระบบรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ แบ่งพัฒนา 2 ระยะ ซึ่งเฟสแรกจะสร้างจากกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กม. มีค่าก่อสร้าง 276,235 ล้านบาท โดยจะใช้ระบบชินคันเซ็น



ซึ่งแบบจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ ทั้งนี้ในการออกแบบรายละเอียด โดยปกติญี่ปุ่นจะใช้เวลา 2 ปี เพื่อความรวดเร็วจะขอให้ญี่ปุ่นออกแบบเร็วขึ้น ในเบื้องต้นจะแบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 1.กรุงเทพฯ-อยุธยา 2.อยุธยา-ลพบุรี 3.ลพบุรี-พิษณุโลก ให้เริ่มออกแบบรายละเอียดช่วงกรุงเทพฯ-อยุธยาก่อนเป็นลำดับแรก คาดว่าจะเริ่มสร้างได้ในปี 2562 แล้วเสร็จในปี 2564


นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังมีการนำเสนอแผนการพัฒนาพื้นที่ในแนวเส้นทาง 6 สถานี ได้แก่ บางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับโครงการและทางเศรษฐกิจเหมือนที่ญี่ปุ่นดำเนินการมา



“สถานีกลางบางซื่อจะพัฒนาอย่างบูรณาการ เป็นศูนย์กลางด้านระบบราง ศูนย์กลางธุรกิจและสมาร์ทซิตี้” นายอาคมกล่าวและว่า

อีกทั้งยังมีการพัฒนาแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่องในเฟสที่ 2 และการเพิ่มประสิทธิภาพบริการขนส่งสินค้าทางรถไฟ วันนี้จึงเป็นการนำเสนอก้าวหน้าของโครงการต่างๆ ที่ทั้ง 2 ประเทศได้ร่วมมือกัน

นายชิโร ซะโดะชิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กล่าวว่า ญี่ปุ่นพัฒนาระบบรถไฟชินคันเซ็นเมื่อ 51 ปีที่แล้ว เส้นทางแรกจากโตเกียว-โอซาก้า วิ่งด้วยความเร็ว 200 กว่ากม./ชม. เป็นรถไฟความเร็วสูงสายแรกของโลก จากนั้นพัฒนาระบบมาอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบันวิ่งด้วยความเร็ว 320 กม./ชม.



“มีข้อดีคือมีความตรงต่อเวลาและความปลอดภัย ซึ่งเหมาะสำหรับนำมาปรับใช้ในการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทยในอนาคต”

โดยประเทศญี่ปุ่นพร้อมให้การสนับสนุนในด้านการพัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะวิศวกรรถไฟ รวมถึงการจัดฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางราง โดยที่ผ่านมาได้จัดฝึกอบรมแล้วกว่า 10,000 คน ณ ศูนย์ฝึกอบรม กรุงเทพมหานคร

นอกจากนี้ ในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางให้มีประสิทธิผลจำเป็นต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาพื้นที่ทั้งในเขตเมืองและชนบทตลอดแนวเส้นทางโครงการอย่างมีแบบแผน ซึ่งประเทศญี่ปุ่นจะยังคงมุ่งมั่นถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนชาวไทยต่อไป

“ประเทศไทยและญี่ปุ่น มีความสัมพันธ์ด้านการทูตกันมายาวนาน ปีนี้ก็ 130 ปีแล้ว ที่ผ่านมาไทยใช้ระบบรถไฟของญี่ปุ่นมีสายสีม่วงและสายสีแดงที่กำลังก่อสร้างและรถไฟความเร็วสูงที่กำลังร่วมมือกัน เราคาดหวังว่าระบบชินคันเซ็นจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศไทยเหมือนที่ญี่ปุ่นทำสำเร็จมาแล้วที่จีดีพีของประเทศเพิ่มขึ้น 40 เท่า”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/11/2017 10:19 pm    Post subject: Reply with quote

เล็งเสนอครม.ไฟเขียวรถไฟความเร็วสูงไทย - ญี่ปุ่น
16 พฤศจิกายน 2560

"รมว.คมนาคม" เล็งเสนอครม.อนุมัติรถไฟความเร็วสูงไทย - ญี่ปุ่น "กทม.-เชียงใหม่" วงเงิน 2.76 แสนลบ.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ รองอธิบดีกรมการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่นว่า ญี่ปุ่นได้นำเสนอรายงานความเหมาะสมโครงการความร่วมมือการก่อสร้างรถไฟไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 673 กม. ฉบับสมบูรณ์ ให้ฝ่ายไทยแล้ว โดยจะใช้เงินลงทุนรวม 2.76 แสนล้านบาท ไม่รวมงานระบบเดินรถและตัวรถ
ส่วนรูปแบบลงทุนญี่ปุ่นเห็นว่ารัฐบาลควรลงทุนเองทั้งหมด หากต้องการให้โครงการสำเร็จ เนื่องจากโครงการรถไฟความเร็วสูงต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ขณะที่ฝ่ายไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นศึกษารูปแบบการลงทุนเพิ่มเติม โดยไทยได้เสนอให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมลงทุนในงานระบบเดินรถ ซ่อมบำรุง ระยะเวลา 30 ปี เนื่องจากต้องใช้เทคโนโลยีชินคังเซน โดยไทยจะซื้อขบวนรถจากญี่ปุ่น
"ภายใน 3 เดือน กระทรวงจะนำผลการศึกษาเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้ดำเนินโครงการได้ หากครม. เห็นชอบ จะเข้าสู่ขั้นตอนของการออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างเส้นทางเฟสที่ 1 ก่อน ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 418 กิโลเมตร"

ทั้งนี้ เพื่อให้โครงการเดินหน้าได้เร็ว จะมีการแบ่งระยะการก่อสร้างออกเป็น 2 ช่วง คือ
เฟสที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 418 กม. แบ่งการก่อสร้างเป็น 2 สัญญาคือ
จากสถานีบางซื่อ –ดอนเมือง-อยุธยา ระยะทางประมาณ 100 กม. และ
ลพบุรี นครสวรรค์ -พิษณุโลก อีกกว่า 300 กม. และ

เฟส 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 573 กม. เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้ก่อนในระยะแรก กทม.-อยุธยา โดยที่ไม่ต้องรอให้การก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งเส้นทาง นอกจากนื้ ฝ่ายไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นส่งผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำเรื่องแนวคิดพัฒนาพื้นที่รอบสถานีด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/11/2017 10:25 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:


ขายฝันไฮสปีดกรุงเทพฯไปคุณหมิงปี65 
เดลินิวส์
พฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน 2560 เวลา 10.26 น.
 


ไทยคุยลาวเชื่อมรถไฟ เตรียมหารือจีน24พ.ย.นี้
โพสต์ทูเดย์
16 พฤศจิกายน 2560 เวลา 07:36 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/11/2017 3:17 am    Post subject: Reply with quote

มีคนเอาภาพจากการสัมมนา Thailand – Japan Railway Partnership for Connectivity Success Sharing Advanced SHINKANSEN Technologies & Area development เอามาให้ผมดูทำให้ได้ข้อมูล เพิ่มเติมดังนี้

จากสถานีกลางบางซื่อ
ถึงดอนเมือง ระยะทาง 13.715 กม. - 6 นาที
ถึงอยุธยาระยะทาง 63.344 กม. - 25 นาที
ถึงลพบุรีระยะทาง - 115 + 533 กม. - 44 นาที
ถึงนครสวรรค์ระยะทาง - 237 + 448 กม. - 1 ชั่วโมง 14 นาที
ถึงพิจิตร 338.528 กม. - 1 ชั่วโมง 43 นาที
ถึงพิษณุโลก - 380.035 กม. - 1 ชั่วโมง 58 นาที
ถึงสุโขทัย - 434.954 กม. - 2 ชั่วโมง 15 นาที
ถึงศรีสัชนาลัย - 487 + 738 กม. - 2 ชั่วโมง 31 นาที
ถึงลำปาง - 587.873 กม. - 2 ชั่วโมง 58 นาที
ถึงลำพูน - 650.386 กม. - 3 ชั่วโมง 17 นาที
ถึงเชียงใหม่ - 672.848 กม. - 3 ชั่วโมง 27 นาที

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1233986490035595&set=gm.1194673350662915&type=3&theater&ifg=1
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/11/2017 6:40 pm    Post subject: Reply with quote

'อาคม'เผยธ.ค.ออกTORรถไฟเร็วสูงกทม.ระยอง
INN News ข่าวเศรษฐกิจ วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 14:01 น.

รัฐมนตรีฯคมนาคม เผย ธ.ค.นี้ คลอด TOR รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-ระยอง มั่นใจต่างชาติลงทุนไทย แม้ปรับครม.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยกับสำนักข่าวINN ว่า สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-ระยองในเดือนธันวาคมนี้การรถไฟแห่งประเศไทยจะออกเอกสารประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้าง TOR เพื่อประกาศเชิญชวนเอกชนผู้สนใจเข้ายื่นซอง หลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการประมูลในปีหน้า ทั้งนี้รถไฟเส้นกรุงเทพ-ระยองนั้น จะช่วยหนุนให้การเดินทางจากสนามบินอู่ตะเภาสะดวกสบายยิ่งขึ้น

ขณะที่ ในส่วนของสนามบินอู่ตะเภาขณะนี้อยู่ระหว่างพัฒนาโดยมีการวางแผนเป็นระยะ ซึ่งเป้าจะต้องรองรับผู้โดยสารได้ 60 ล้าน คนต่อปีเช่นเดียวกับสนามบินสุวรรณภูมิดังนั้นจะต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดอาทิ การขยายอาคาร ขยายรันเวย์ที่จะต้องมี 2 รันเวย์ขึ้นไป ส่วนศูนย์ซ่อมบำรุง หรือ MRO สามารถดำเนินการได้ทันทีไม่ต้องรอรันเวย์

ทั้งนี้ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ได้โอกาสพูดคุยกับนักลงทุนญี่ปุ่น ซึ่งทางญี่ปุ่นยังสนใจลงทุนในไทย โดยเฉพาะ รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่ ที่ได้ศึกษาขั้นตอนสุดท้ายเสร็จเรียบร้อยแล้วเบื้องต้นจะก่อสร้างช่วงกรุงเทพ-พิษณุโลกก่อน

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า นักลงทุนต่างชาติมีความเชื่อมั่นต่อการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจและยังสนใจเข้ามาลงทุน แม้จะมีกระแสการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรี หรือ ครม.ส่วนเรื่องการโยกย้ายตำแหน่งจากการปรับครม.ขอให้เป็นเรื่องของรัฐบาล
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/11/2017 10:39 am    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดญี่ปุ่นไล่ติดจีน ศึกษาจบ เล็งซอยก่อสร้างกรุงเทพฯ-อยุธยา เริ่มตอกเข็มปี 62
โดย: MGR Online
เผยแพร่: วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 21:24:00
ปรับปรุง: วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 09:43:00


ญี่ปุ่นสรุปผลศึกษารถไฟความเร็วสูง เส้นทาง “กรุงเทพฯ-เชียงใหม่” โดยเล็งออกแบบเฟสแรก “กรุงเทพฯ-พิษณุโลก” แบ่งเป็นตอนๆ คาดตอกเข็ม 2 สถานีแรก “บางซื่อ-ดอนเมือง-อยุธยา” ปี 62 พร้อมจับมือไทยถ่ายทอดเทคโนโลยีล้ำสมัยรถไฟความเร็วสูงและการพัฒนาพื้นที่ เพื่อเพิ่มศักยภาพคมนาคมขนส่งให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานร่วมเปิดการสัมมนา “Thailand - Japan Railway Partnership for Connectivity Success Sharing Advanced SHINKANSEN Technologies & Area development” เพื่อเผยแพร่ความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ ภายใต้ความร่วมมือตามบันทึกข้อตกลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเสนอเทคโนโลยีที่ทันสมัยของรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่น เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับระบบรถไฟความเร็วสูงของไทยในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ รวมทั้งความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่หรือภูมิภาคที่เหมาะสม เพื่อให้การพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเกิดประโยชน์แก่คนไทยทุกระดับอย่างแท้จริงและทั่วถึง ตลอดจนเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆ ร่วมกันเสนอข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ โดยมีตัวแทนหน่วยงานจากภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ และกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับระบบราง ทั้งจากประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น เข้าร่วมการสัมมนา จำนวนกว่า 250 คน

นายอาคมกล่าวว่า ภายหลังการลงนามในบันทึกความร่วมมือด้านระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) ประเทศญี่ปุ่นได้ให้การสนับสนุนประเทศไทยในการพัฒนาหลากหลายโครงการมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยีระบบรถไฟความเร็วสูง การนำเสนอแผนการพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่ออย่างบูรณาการ การพัฒนาแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง และการเพิ่มประสิทธิภาพบริการขนส่งสินค้าทางรถไฟ รวมถึงการปรับปรุงรถไฟเพื่อการขนส่งสินค้า

สำหรับรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ (High Speed Train) ระบบชิงกันเซ็ง มีระยะทาง 672 กิโลเมตร ญี่ปุ่นได้ดำเนินการศึกษาเรียบร้อยแล้ว โดยผลการศึกษาจะแบ่งเป็น 2 ช่วง ประกอบด้วย ช่วงแรก กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กิโลเมตร มีจำนวน 6 สถานี ส่วนที่ 2 ที่ทางญี่ปุ่นได้ให้คำแนะนำนั้นคือการได้ประโยชน์จากรถไฟความเร็วสูงอย่างสมบูรณ์นั้นจะต้องมีการพัฒนาเมืองร่วมด้วย ซึ่งได้มีแผนเพื่อที่จะทำการพัฒนาต่อไป

ส่วนเรื่องการลงทุนระยะแรกนั้นอยู่ระหว่างหารือร่วมกัน ซึ่งทางญี่ปุ่นเสนอให้เป็นการลงทุนของรัฐบาลไทยทั้งหมด ทั้งนี้ ได้หารือเพิ่มว่าหากเป็นการร่วมลงทุนโดยเปิดโอกาสให้ญี่ปุ่นเข้ามาจะได้ประโยชน์มากกว่า เพราะเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาลไทย เพื่อให้โครงการเกิดขึ้นได้จริงและดำเนินงานได้ในระยะยาวถึง 30 ปี เนื่องจากมีมูลค่าการลงทุนสูง อีกทั้งใช้เวลาคืนทุนนาน โดยจะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใน 3 เดือนจากนี้เพื่อพิจารณาก่อน หาก ครม.เห็นชอบก็จะเริ่มตอนต่อไป

สำหรับการออกแบบนั้น ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กม. หากแบ่งเป็นหลายๆ ตอนอาจจะลดระยะเวลาของการออกแบบได้ โดยคาดว่าจะเริ่มลงมือก่อสร้างตอนแรก จากกรุงเทพฯ-อยุธยาได้ในปี 2562 ไม่เกินปี 2563 แล้วเสร็จในปี 2564 และจะก่อสร้างครบ 6 สถานีในเฟสแรก กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ภายใน 4-5 ปี ซึ่งญี่ปุ่นรับไปดำเนินการให้

ด้านนายชิโร ซะโดะชิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กล่าวว่า ข้อดีของระบบรถไฟชิงกันเซ็งคือมีความตรงต่อเวลาและความปลอดภัย ซึ่งเหมาะสำหรับนำมาปรับใช้ในการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทยในอนาคต โดยประเทศญี่ปุ่นพร้อมให้การสนับสนุนในด้านการพัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะวิศวกรรถไฟ รวมถึงการจัดฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางราง โดยที่ผ่านมาได้จัดฝึกอบรมแล้วกว่า 10,000 คน ณ ศูนย์ฝึกอบรม กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ ในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางให้มีประสิทธิผลจำเป็นต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาพื้นที่ทั้งในเขตเมืองและชนบทตลอดแนวเส้นทางโครงการอย่างมีแบบแผน ซึ่งประเทศญี่ปุ่นจะยังคงมุ่งมั่นถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนชาวไทยต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 238, 239, 240 ... 542, 543, 544  Next
Page 239 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©