RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311286
ทั่วไป:13267838
ทั้งหมด:13579124
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 139, 140, 141 ... 198, 199, 200  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44592
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/11/2017 2:50 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ด PPP จี้ รฟท. เร่งพัฒนาที่ดินรถไฟพหลโยธิน
MGR Online VDO Published on Nov 5, 2017
06/11/2017 บอร์ด PPP จี้ รฟท. เร่งพัฒนาที่ดินรถไฟพหลโยธิน


https://www.youtube.com/watch?v=zxcPQ3lXDis
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 13/11/2017 11:22 am    Post subject: Reply with quote

พัฒนาที่มักกะสันรออีกยาว
จันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2560 เวลา 10.03 น.

เล็งเปิดที่ดินแปลงเอ ที่ดินมักกะสัน ให้เอกชนประมูล คาดได้ค่าตอบแทน 180 ล้านต่อปี พร้อมชงแผนพัฒนาที่ดินกม.11 มูลค่าแสนล้านเข้าบอร์ดปลายปีนี้

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคมในฐานะรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด)รฟท.เมื่อวันที่10พ.ย.ที่ผ่านมา ได้หารือถึงแนวทางการพัฒนาพื้นที่สถานีมักกะสันมูลค่า200,000 ล้านบาท เพื่อรองรับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพ-ระยองเชื่อม3สนามบินส่งเสริมแนวระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(อีอีซี) ซึ่งบอร์ดอีอีซีเสนอให้เปิดประมูลพื้นที่บางส่วนของมักกะสัน คือพื้นที่แปลงเอ 139 ไร่ จากทั้งหมด 500 ไร่บริเวณสถานีแอร์พอร์ตลิงก์มักกะสันติดถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เนื่องจากเกรงว่าจะไม่มีเอกชนกล้ารับความเสี่ยงลงทุนพื้นที่ทั้งหมด อีกทั้งพัฒนาได้เลยไม่ติดข้อจำกัดแบบแปลงอื่นๆทั้งปัญหาการรื้อย้ายสาธารณูปโภคอาคารบ้านพักและโรงงาน รฟท.จะกลับไปจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมก่อนเปิดประชุมบอร์ดนัดพิเศษหาข้อสรุปเร่งด่วน

ด้านนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รฟท. กล่าวว่า พื้นที่แปลงเอ ขนาด 32 ไร่ มูลค่าราว 10,000ล้าน รฟท.คาดว่าจะมีผลตอบแทนเป็นรายได้ราว 180 ล้านบาทต่อปี ล่าสุดคณะกรรมการพีพีพีตีกลับโครงการให้จัดทำข้อมูลเพิ่มเติมด้านการเปิดประมูลเพื่อพัฒนาพื้นที่ว่ารฟท.จะได้ประโยชน์และรายได้อะไรบ้างระหว่างเปิดประมูลพื้นที่พร้อมกันทั้งหมดหรือแยกพัฒนาทีละแปลง จึงไม่แน่ใจว่าจะเปิดประมูลภายในปี 61ได้หรือไม่แม้ว่าจะเป็นโครงการพีพีพีเร่งด่วนต้องผ่านขั้นตอนอีกมากใช้เวลากว่า 1ปี ทั้งการเสนอขอความเห็นชอบจากบอร์ดพีพีพีตั้งคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 แห่งพ.ร.บ.ให้เอกชนร่วมทุนฯ และร่างเอกสารประกวดราคา(ทีโออาร์)เพื่อเปิดประมูล

นายวรวุฒิ กล่าวต่อว่า ส่วนความคืบหน้าโครงการพัฒนาพื้นที่กม. 11(กม.11) พื้นที่ 350 ไร่ วงเงินลงทุนกว่า 100,000ล้านบาท ภายในสถานีกลางบางซื่อนั้นขณะนี้ผลการศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้วอยู่ระหว่างเตรียมเสนอบอร์ดรฟท.คาดว่าจะเข้าบอร์ดภายในปีนี้ก่อนตั้งคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 แห่งพ.ร.บ.ให้เอกชนร่วมทุนฯ พจารณาแนวทางการเปิดร่วมทุนร่างทีโออาร์และเปิดประมูลต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 13/11/2017 12:10 pm    Post subject: Reply with quote

“ดวงฤทธิ์” เตือน รฟท.อย่าแบ่งที่ดินมักกะสันเอื้อนายทุน ชี้ทำประเทศเสียประโยชน์
มติชน
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 - 11:28 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44592
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/11/2017 1:25 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.เปิดประมูล4แปลงงามปี61 ลุ้นครม.ไฟเขียวตั้งบริษัทลูกบริหารทรัพย์สิน
ฐานเศรษฐกิจ 16 November 2017

“พิชิต” ลุ้นร.ฟ.ท.ตั้งบริษัทลูกบริหารทรัพย์สิน คาด ครม.อนุมัติหลักการได้ทันช่วงปลายปีนี้ ก่อนเร่งหาตัวซีอีโอปี 61 จับตากลางปีหน้าจะเปิดประมูลที่ดินทำเลทอง 4 แปลง สถานีกลางบางซื่อ-ย่านพหลโยธิน-มักกะสัน- สถานีแม่นํ้า หวังปลดแอกภาระหนี้แสนล้าน

แหล่งข่าวระดับสูงกระทรวงคมนาคม เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า นายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ติดตามความคืบหน้าการจัดตั้งบริษัทลูกบริหารทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อย่างใกล้ชิด ซึ่งบริษัทดังกล่าวทำหน้าที่บริหารจัดการที่ดินทั้งหมด ที่สำคัญการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาที่ดินแปลงต่างๆ ของ ร.ฟ.ท. มีแผนนำไปพัฒนาเพื่อหารายได้ไปปรับลดภาระหนี้ของ ร.ฟ.ท.เอง

“ปัจจุบันที่ดินหลายแปลงได้รายละเอียดผลการศึกษาโครงการเกือบครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว รอเพียงนำเสนอหัวหน้าหน่วยของบริษัทลูกคือ บริษัทบริหารทรัพย์สิน รับไปดำเนินการ แต่การจัดตั้งบริษัทลูกดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จ”

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.มีภาระหนี้ในภาพรวมอยู่ประมาณ 1 แสนล้านบาท แนวทางหนึ่งจะต้องบริหารจัดการทรัพย์สินให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แต่เนื่องจากติดขัดข้อระเบียบต่างๆ จึงต้องมีการจัดตั้งบริษัทลูกเข้าไปบริหารจัดการ โดยเบื้องต้นนั้นบริษัทลูกกับฝ่ายบริหารทรัพย์สินจะแยกการทำหน้าที่อย่างชัดเจน เช่นเดียวกับบุคลากรทั้ง 2 หน่วยทรัพย์สินก็จะต้องทยอยโอนสัญญาให้บริษัทลูกรับไปดำเนินการพัฒนาหารายได้ต่อไป

“ไม่เฉพาะหน่วยงาน ร.ฟ.ท. เท่านั้นที่จะเร่งเข้าไปบริหารจัดการที่ดิน ยังมีการท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.) มีที่ดินย่านคลองเตยที่สามารถนำไปพัฒนาหาประโยชน์ได้ ดังนั้นปี 2562-2563 น่าจะพอเห็นผลเป็นรูปธรรมได้ไม่มากก็น้อย”

สำหรับผู้บริหารบริษัทลูกที่จะจัดตั้ง ต้องการผู้บริหารมืออาชีพเข้ามาเป็นผู้นำองค์กร โดยเปิดโอกาสให้ทั้งคนใน ร.ฟ.ท. และคนนอกที่สนใจแสดงวิสัยทัศน์ผ่านการสรรหา คาดว่าบริษัทลูกจะเห็นภาพชัดในปีหน้า โดยช่วงไตรมาสแรกของปีหน้าบริษัทลูกจะต้องจัดตั้งให้ได้ก่อน หลังจากนั้นจึงจะเริ่มสรรหาซีอีโอและแต่งตั้งตำแหน่งอื่นต่อไป

TP12-3313-A
“เบื้องต้นนั้นอยากได้ซีอีโอที่มีวิสัยทัศน์ด้านการพัฒนา มีความรู้ด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ด้านการตลาด นักบริหารด้านการเงิน ทั้งนี้การดำเนินงานดังกล่าวจึงเสมือนเป็นการต่อลมหายใจเฮือกสุดท้ายของ ร.ฟ.ท. หากบริหารล้มเหลวจะส่งผลกระทบอย่างมากทันที”

ด้านนายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่าเรื่องการเสนอตั้งบริษัทลูกด้านการบริหารทรัพย์สินว่าอยู่ระหว่างการนำเสนอรายละเอียดให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) พิจารณา คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการได้ในช่วงปลายปีนี้ หลังจากนั้นในปี 2561 จะเร่งกำหนดขั้นตอนและรายละเอียดอื่นๆ ต่อเนื่องกันไป ส่วนจะตั้งบริษัทลูกได้ในปลายปีหน้าหรือไม่นั้นยังไม่สามารถบอกชัดเจนได้ในขณะนี้ โดย ร.ฟ.ท. อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดโครงสร้างของบริษัทลูกพร้อมอำนาจหน้าที่ อัตราเงินเดือน ฯลฯ ควบคู่กันไป

“อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียด เบื้องต้นนั้นคงจะต้องให้ได้หลักเกณฑ์ที่ชัดเจนก่อนเมื่อครม.อนุมัติเรียบร้อยแล้วก็จะเร่งดำเนินการกำหนดรายละเอียดอื่นๆตามโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ต่อเนื่องกันไป โดยเฉพาะรายละเอียดคุณสมบัติของผู้ที่จะต้องสรรหาไปทำหน้าที่หัวหน้าหน่วยของบริษัทลูกดังกล่าว ก่อนที่จะใช้อำนาจแต่งตั้งตำแหน่งอื่นๆตามโครงสร้างองค์กรที่กำหนดไว้ต่อไป”

ล่าสุดแผนการพัฒนาที่ดินสถานีกลางบางซื่อแปลง A ได้นำเข้าพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ พีพีพี)แต่คณะกรรมการได้ส่งเรื่องให้ร.ฟ.ท.กลับมาศึกษาว่าหากสามารถนำแปลงA,B,C,และD ประกาศประกวดราคาพร้อมกันจะมีแนวทางความเป็นไปได้หรือไม่ อย่างไร ร.ฟ.ท. จะได้ประโยชน์อย่างไร แล้วจึงนำเข้าหารือในการประชุมของคณะกรรมการพีพีพีอีกครั้ง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,313 วันที่ 12 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44592
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/11/2017 9:29 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟพลิกโฉมตลาดนัดสวนจตุจักรสู่ยุคดิจิทัล ผุดแอปพลิชั่น Chatuchak Guide พัฒนาตลาดออนไลน์
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2560 - 21:43 น.

นายศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการพัฒนาที่ดิน ประธานกรรมการบริหารพื้นที่ตลาดนัดจตุจักร การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ตลาดนัดจตุจักร บริหารงานโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ปัจจุบันได้ปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการของตลาดจตุจักร เพื่อตอบสนองนโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาล

ขณะนี้กำลังปรับปรุงภูมิทัศน์ให้มีความสวยงามและเป็นระเบียบ สร้างความประทับใจให้กับลูกค้าทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่แวะเวียนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการรถไฟฯ ได้ร่วมมือกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ ยกระดับการค้าขายในตลาดนัดจตุจักร เข้าสู่รูปแบบการค้าออนไลน์ โดยมีบริษัทดิจิทัล เวนเจอร์ส บริษัทในเครือ SCB ดำเนินการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล

สร้างร้านค้าดิจิทัลในรูปแบบใหม่ ช่วยเสริมศักยภาพการบริหารจัดการธุรกิจ ผ่านแอปพลิเคชั่น Chatuchak Guide (จตุจักรไกด์) อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าและนักท่องเที่ยว สามารถเข้าถึงร้านค้าทุกแห่งในจตุจักรได้ง่ายๆ จากโทรศัพท์มือถือ เปิดมิติใหม่ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพื่อก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง


การพลิกโฉมร้านค้าในตลาดฯ จตุจักรนี้จะเป็นโมเดลต้นแบบให้กับดิจิทัลแพลตฟอร์มไปยังผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมอื่น ๆ ทั่วประเทศในอนาคต

นายศิริพงศ์กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนาตลาดนัดจตุจักรเดิม ไปสู่ตลาดนัดดิจิทัลที่ทันสมัย
ผ่านแอปพลิเคชั่น Chatuchak Guide (จตุจักรไกด์) ร้านค้าสามารถมีหน้าร้านอยู่ในโลกออนไลน์ พร้อมอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าและนักท่องเที่ยวสนุกกับการช้อปปิ้งในตลาดนัดจตุจักรมากยิ่งขึ้น

อีกทั้งร้านค้าจะได้รับประโยชน์ด้านการบริหารจากแอปพลิเคชั่น ประชาสัมพันธ์ร้านค้าของผู้ค้าเอง ลูกค้าสามารถเข้าถึงร้านค้าได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้นจากหน้าร้านออนไลน์ และระบบนำทาง เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการในยุคดิจิทัลได้อีกทางหนึ่งด้วย ลูกค้าจะได้รับความสะดวกสบายในการค้นหาสินค้า ตลอดจนค้นหาร้านค้าแต่ละแห่งได้อย่างง่ายดาย

เชื่อว่าหลังจากความร่วมมือของทั้งสององค์กรเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว จะกระตุ้นให้มีผู้สนใจเข้ามาซื้อสินค้าในตลาดจตุจักรมากยิ่งขึ้น และประเมินว่าตลาดจตุจักร ซึ่งมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจอยู่แล้วจะสามารถยกระดับเป็นแลนด์มาร์คด้านการช้อปปิ้งในระดับเอเชียได้ในอนาคต

สำหรับธนาคารไทยพาณิชย์ได้เข้ามาพัฒนาแพลตฟอร์มสำคัญ 2 ส่วนหลัก สำหรับการยกระดับตลาดจตุจักรสู่โลกดิจิทัล ประกอบด้วย แอปพลิเคชั่นสำหรับร้านค้า ผู้ค้าสามารถบริหารจัดการสต๊อกสินค้า เช็กรายงานการขายรายวัน และรับชำระเงินด้วยพร้อมเพย์ได้ ช่วยให้ผู้ประกอบการบริหารจัดการต้นทุนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขณะเดียวกันยังเพิ่มความคล่องตัวในการรับชำระเงินที่สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น และแอปพลิเคชั่น Chatuchak Guide สำหรับลูกค้า ที่ได้รับการพัฒนาให้ลูกค้าสามารถค้นหา และเดินหาร้านค้าโดยไม่หลง ด้วยแผนที่อัจฉริยะที่สามารถระบุตำแหน่งที่ตั้งร้านค้า ที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยี Geomagnetic ซึ่งสามารถนำทางให้ลูกค้าเดินหาร้านค้าโดยง่าย

นอกจากนี้ยังสามารถรับโปรโมชั่นจากร้านค้าได้แบบเรียลไทม์ ทั้งยังสามารถรองรับการใช้งานทั้งภาษาไทย อังกฤษ และจีน เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าทุกกลุ่มทั้งชาวไทย และนักท่องเที่ยวต่างชาติ

นอกจากนี้ SCB ยังนำระบบการชำระเงินด้วย QR Code มาเพิ่มอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ค้าภายในตลาดนัดจตุจักร รวมทั้งลูกค้าทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่มาใช้บริการ เพื่อให้ง่ายต่อการจับจ่ายใช้สอย และขณะนี้มีร้านค้าที่เข้าร่วมแล้วกว่า 2,000 ร้านค้า และคาดว่าจะมีผู้ค้าจะทยอยเข้าร่วมโครงการจนครบในเร็วๆ นี้

นอกจากนี้ ตลาดนัดจตุจักรยังได้พลิกโฉมตลาดนัดเพื่อเข้าสื่อยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว โดยที่ผ่านมาได้เปิดให้บริการ Free Wi-Fi ตามโครงการ ตลาดนัดจตุจักรเสริมสร้างประชารัฐและประเทศไทย 4.0 เพื่อให้บริการฟรี สำหรับประชาชนและนักท่องเที่ยว สามารถเข้าถึงได้ตลอด 24 ชั่วโมง เข้าใช้งานง่ายเพียงลงทะเบียนด้วยหมายเลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขหนังสือเดินทาง ก็สามารถใช้งานได้ทันที

รวมทั้งได้จัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นการขายภายในตลาดนัดจตุจักร ด้วยการจัดการแสดงดนตรีในสวน “วงดนตรีจตุจักรสเตชั่น” เป็นกลุ่มนักดนตรีในยุค 70 และ 90 หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันมาแสดงทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 13.00-18.00 น. บริเวณลานหอนาฬิกา ด้านในตลาดนัดจตุจักรอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 24/11/2017 10:31 am    Post subject: Reply with quote

รฟท. เจรจาเซ็นทาร่า สัญญาเช่าที่ดินหัวหิน อันได้แก่ โรงแรมเซ็นทาร่าหัวหิน และ ที่ปรึกษาให้รื้อบังกะโลว์โรงแรมหัวหิน (เซ็นทาร่าวิลเลจ) ทำโรงแรมห้าดาว
http://daily.bangkokbiznews.com/detail/315642
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 24/11/2017 12:35 pm    Post subject: Reply with quote

ปั้นต้นแบบบางซื่อเมืองอัจฉริยะ เฟสแรก 35 ไร่ใหญ่สุดในอาเซียน
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 - 07:30 น.

การพัฒนาย่านสถานีกลางบางซื่อ 218 ไร่ มีไจก้ามาช่วยศึกษา คาดว่าจะเป็นศูนย์กลางธุรกิจใหญ่สุดในอาเซียน
เนรมิตสถานีบางซื่อ 218 ไร่ ศูนย์กลางการเดินทางและธุรกิจ “ไจก้า” ชูเป็นโมเดลต้นแบบพัฒนาพื้นที่รอบสถานีระบบขนส่งมวลชนและเมืองอัจฉริยะแห่งแรกในไทยและภูมิภาคอาเซียน แนะประมูลแปลง A 35 ไร่ ลงทุน 1.1 หมื่นล้าน แจ้งเกิดโครงการ รถไฟคาดต้นปีหน้าเปิด PPP 30 ปี

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า หลังลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOC) ด้านระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2558 ญี่ปุ่นให้การสนับสนุนไทยอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยีระบบรถไฟความเร็วสูงชินคันเซ็นกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่องค์กรเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ศึกษาความเหมาะสมของโครงการแบ่งพัฒนา 2 ระยะ ในระยะแรกสร้างจากกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 380 กม. ค่าก่อสร้าง 276,225 ล้านบาท

“ญี่ปุ่นแนะนำได้ประโยชน์จากรถไฟความเร็วสูง ต้องมีการพัฒนาเมือง ซึ่งจะต้องศึกษาเพิ่ม เตรียมไว้ 7 เมืองจาก 7 สถานี ได้แก่ กรุงเทพฯ (บางซื่อ) ดอนเมือง อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก สร้างมูลค่าเพิ่มให้โครงการและเศรษฐกิจ โดยไจก้าจะช่วยศึกษา ส่วนการลงทุนเป็นหน้าที่ของการรถไฟฯจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วม”

โดยไจก้าเริ่มศึกษาพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อเป็นลำดับแรก โดยใช้ผลการศึกษาเดิมของ ปตท.และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่ศึกษาไว้มาเป็นพื้นฐาน จะดูภาพรวมทั้งแผนการใช้พื้นที่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และพื้นที่สาธารณะ โดยกำหนดให้ “บางซื่อเป็นประตูสู่กรุงเทพฯเมืองสวรรค์” เนื่องจากทำเลที่ตั้งเป็นศูนย์กลางระบบคมนาคมในกรุงเทพฯ จึงมีศักยภาพในการส่งเสริมการพัฒนาเป็นเมือง

“สถานีกลางบางซื่อญี่ปุ่นสนับสนุนเกิดการพัฒนาแบบบูรณาการ เพราะเป็นศูนย์กลางด้านการเดินทางด้านระบบมีทั้งรถไฟฟ้าในเมือง รถไฟฟ้าชานเมือง รถไฟความเร็วสูง และรถไฟขนส่งสินค้า ที่คาดว่าจะใหญ่ที่สุดในอาเซียน และยังเป็นศูนย์กลางธุรกิจและช็อปปิ้งมอลล์ มีศูนย์การค้า โรงแรม สำนักงาน ศูนย์ประชุม รวมถึงเป็นย่านสมาร์ทซิตี้ หรือเมืองอัจฉริยะ” นายอาคมกล่าวและว่าวัตถุประสงค์การศึกษาของญี่ปุ่นให้สถานีบางซื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) และพัฒนาเมืองอัจฉริยะแห่งแรกในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน การศึกษานี้ไม่กระทบต่อแผนประมูลพื้นที่แปลงเอ 35 ไร่ ที่ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างดำเนินการPPP ส่วนแผนพัฒนาของไจก้าใช้เวลา 15 ปี เริ่มปี 2560-2575 แบ่งเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลศึกษาไจก้า ทั้งโครงการใช้เงินลงทุน 358,700 ล้านบาท ระยะสั้นลงทุน 40,100 ล้านบาท ระยะกลาง 167,100 ล้านบาท และระยะยาว 151,500 ล้านบาท

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน กล่าวว่า ร.ฟ.ท.ศึกษาพื้นที่สถานีบางซื่อ มีเนื้อที่ 218 ไร่ ลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท แบ่ง 4 โซน ไจก้าแนะนำให้เริ่มโซน A 35 ไร่เป็นลำดับแรก เงินลงทุน 11,573 ล้านบาท อยู่ห่างสถานี 50-100 เมตร พัฒนาเป็นศูนย์กลางธุรกิจครบวงจร มีอาคารสำนักงานและธุรกิจบริการ เช่น โรงแรม 3-4 ดาว ศูนย์การค้า ให้เอกชนร่วมลงทุน PPP เป็นระยะเวลา 30 ปี ล่าสุดคณะกรรมการ PPP มีมติรับทราบแล้ว คาดว่าจะเริ่มประมูลต้นปี 2561
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 01/12/2017 11:11 am    Post subject: Reply with quote

เร่งเคลียร์สะพานข้ามทางรถไฟอืด คมนาคมเร่ง ร.ฟ.ท.อนุญาตผู้รับเหมาเข้าพื้นที่
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 30 พฤศจิกายน 2560 18:22:00
ปรับปรุง: 30 พฤศจิกายน 2560 19:21:00

“คมนาคม” แก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟล่าช้า หลัง ร.ฟ.ท.ไม่อนุญาตให้ผู้รับเหมากรมทางหลวงเข้าพื้นที่สร้างสะพานข้ามรถไฟที่ จ.สุราษฎร์ฯ เคลียร์ชัดตอม่อห่าง 25 เมตรไม่กระทบรถไฟทางคู่และความเร็วสูง พร้อมเร่งอนุญาตหวั่นกระทบเบิกจ่ายงบล่าช้า

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง) เปิดเผยว่า ได้ประชุมร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) เพื่อแก้ปัญหาการก่อสร้างโครงการจุดตัดทางรถไฟสายใต้ช่วงสถานีสุราษฎร์ธานี (สถานีพุนพิน)-สถานีเขาหัวควาย กับทางหลวงสายท่าโรงช้าง ซึ่งเป็นการก่อสร้างสะพาน ณ จุดตัดระหว่างทางหลวงหมายเลข 401 กับทางรถไฟที่ กม.6+929.600 ซึ่งกรมทางหลวงได้ประมูลหาผู้รับเหมาแล้วตั้งแต่กลางปี 2560 แต่ยังเข้าพื้นที่ไม่ได้ เนื่องจาก ร.ฟ.ท.ยังไม่อนุญาต

ร.ฟ.ท.เห็นว่าแบบของสะพานที่มีระยะห่างระหว่างตอม่อ 25 เมตร อาจกระทบต่อแผนการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะ 2 และรถไฟความเร็วสูง ควรเพิ่มระยะห่างตอม่อเป็น 30 เมตร ซึ่งหลังจากที่ ร.ฟ.ท.และ ทล.ได้ลงพื้นที่ร่วมกันได้ข้อยุติร่วมกันในจุดดังกล่าวแล้วไม่ต้องปรับแบบใหม่ และ ร.ฟ.ท.จะเร่งอนุญาตให้ผู้รับเหมาของ ทล.เข้าพื้นที่ภายในเดือน ธ.ค.นี้

เรื่องเดิมของการก่อสร้างสะพานจุดตัดทางรถไฟนั้นตกลงกันไว้ตั้งแต่ปี 2553 ว่า กรณีของโครงการรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง จุดตัดกับถนนซึ่งจะต้องก่อสร้างเป็นสะพาน หรือทางลอดนั้น ให้ ร.ฟ.ท.รวมไว้ในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ส่วนจุดตัดในรถไฟทางคู่ระยะ 2 ให้กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทออกแบบและรับผิดชอบก่อสร้างไปก่อน ซึ่งทั้ง 2 หน่วยได้มีการออกแบบระยะห่างของตอม่อสะพานข้ามทางรถไฟที่ 25 เมตร และได้ทยอยจัดสรรงบประมาณเข้าไปดำเนินงานแล้วตั้งแต่ปี 2559 เมื่อประมูลและลงนามกับผู้รับเหมาแล้วต้องขออนุญาต ร.ฟ.ท.ในการเข้าพื้นที่ แต่มีบางจุดยังไม่ได้รับอนุญาต เพราะ ร.ฟ.ท.ระบุว่าระยะห่างตอม่อต้องเป็น 30 เมตร เพื่อรองรับรถไฟทางคู่ระยะ 2 และรถไฟความเร็วสูง

ทั้งนี้ ที่ประชุมจึงหารือในหลักการเพื่อแก้ปัญหาและไม่ให้การเบิกจ่ายของกรมทางหลวงและทางหลวงชนบทล่าช้า โดยกรณีที่มีการออกแบบจุดตัดไว้แล้ว ให้ ทล., ทช. และ ร.ฟ.ท.หารือร่วมกัน หากไม่กีดขวางซึ่งกันและกัน ให้ ร.ฟ.ท.อนุญาต ไม่จำเป็นต้องปรับแบบสะพานข้ามให้มีระยะตอม่อเป็น 30 เมตรทุกแห่ง เพราะจะทำให้เสียเวลาและมีค่าก่อสร้างเพิ่ม ส่วนจุดที่จะออกแบบหลังจากนี้ให้ใช้ระยะห่างตอม่อที่ 30 เมตรเป็นหลัก รวมถึงกรณีที่มีค่าใช้จ่ายการรื้อย้ายอุปกรณ์หรือเครื่องมือของ ร.ฟ.ท. และยังประเมินไม่เสร็จ ให้แจ้งภายหลังได้ โดยให้เร่งอนุญาตให้เข้าพื้นที่ไปก่อน

สำหรับโครงการแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟ ในส่วนของกรมทางหลวงชนบท ได้ก่อสร้างเสร็จแล้ว 9 แห่ง อยู่ระหว่างก่อสร้าง 18 แห่ง ประมูลเสร็จแล้วเตรียมเข้าพื้นที่ก่อสร้าง 12 แห่ง และอยู่ระหว่างประมูล 1 แห่ง ส่วนของกรมทางหลวงมี 15 แห่ง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44592
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/12/2017 6:01 am    Post subject: Reply with quote

จัดงบประมาณกว่า 15 ล้านซ่อมทางวิ่งในสวนรถไฟ
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 26 ธ.ค. 2560 05:15

รายงานข่าวจากศาลาว่าการ กทม.เปิดเผยว่า สำนักการโยธา กทม.เตรียมปรับปรุงทางเดิน-วิ่ง ภายในสวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,000 ตร.ม. เนื่องจากที่ผ่านมา พื้นที่ทางเดิน-วิ่งภายในสวนวชิรเบญจทัศไม่ได้รับการปรับปรุงมาเป็นระยะเวลานาน ทางเดิน-วิ่ง เกิดการชำรุด โดยปีงบประมาณ 2561 สำนักการโยธาได้รับจัดสรรงบประมาณจำนวน 15,759,000 บาท เพื่อดำเนินการในส่วนนี้ เบื้องต้นจะลอกพื้นผิวแอสฟัลต์เดิมออก เพื่อปูแอสฟัลต์ใหม่ พร้อมทาสีบริเวณทางเดิน และซ่อมแซมป้ายที่ชำรุด นอกจากนี้จะปรับปรุงกายภาพโดยการถมดินบริเวณทางวิ่งบางจุดที่ไหล่ทางไม่เสมอกับเส้นทางการวิ่ง รวมถึงปรับปรุงกายภาพบริเวณโค้งหักศอกที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนผู้เดินทางมาใช้บริการ ขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ช่วงปลายเดือน มี.ค.2561 กำหนดเวลาในการดำเนินการ 90 วัน.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 27/12/2017 2:22 am    Post subject: Reply with quote

เปิดแผนล้างหนี้รฟท.แสนล้าน ดึงเอกชนพัฒนาที่แปลงใหญ่เพิ่มรายได้

Wednesday, December 27, 2017 - 00:00

รฟท.เร่งสรุปแผนฟื้นฟูกิจการ หวังเดินหน้าแก้ปัญหาขาดทุนสะสม พร้อมเร่งตั้งบริษัทลูกบริหารทรัพย์สิน จ่อเปิดประมูลให้เอกชนพัฒนาที่ดิน 3 แปลงใหญ่ สถานีแม่น้ำ มักกะสัน และบางซื่อ หวังหารายได้ล้างหนี้ คาดชง ครม.อนุมัติไตรมาสแรก 2561

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างสรุปแผนฟื้นฟูกิจการของ รฟท.ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมกำกับดูแลให้ รฟท.ดำเนินการตามแผนฟื้นฟูองค์กร พร้อมกับรายงานผลการดำเนินการตามแผนการแก้ไขปัญหาองค์กร การเพิ่มรายได้องค์กรเพื่อแก้ปัญหาขาดทุน และจัดสรรรายได้ เพื่อการชำระหนี้เงินกู้ให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) รับทราบ คาดว่าจะเสนอให้ที่ประชุม คนร.พิจารณาได้ในเดือน ม.ค.-ก.พ.2561

สำหรับแผนการเพิ่มรายได้เบื้องต้นแบ่งเป็น 1.การเพิ่มรายได้จากการนำพื้นที่มาใช้ประโยชน์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดตั้งบริษัทลูกด้านบริหารทรัพย์สิน เพื่อเปิดให้เอกชนเข้ามาพื้นที่เชิงพาณิชย์มูลค่านับแสนล้านบาท อาทิ สถานีแม่น้ำ พื้นที่มักกะสันและพื้นที่ กม.11 บริเวณบางซื่อ คาดว่าจะเสนอแผนให้ ครม.พิจารณาได้ภายในไตรมาสแรกของปี 61 ก่อนจัดตั้งบริษัทลูกภายในเดือน มิ.ย. 2.การเพิ่มรายได้จากงานบริการ ขณะนี้ รฟท.อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ซึ่ง 5 เส้นทาง ครม.ได้อนุมัติไปแล้ว เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะสามารถขนส่งผู้โดยสารและสินค้าได้มากขึ้น ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะด้านการขนส่งสินค้าที่จะมาเป็นรายได้หลักขององค์กรในอนาคต

"การบริหารจัดการที่ดินของการรถไฟฯ กว่า 3 แสนไร่ ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะที่ดินที่มีศักยภาพในกรุงเทพฯ ตั้งเป้าภายใน 6 ปี จะสร้างรายได้ 6 หมื่นล้านบาท เพื่อนำไปลดหนี้ที่มีอยู่ 107,000 ล้านบาท" นายอานนท์กล่าว

อย่างไรก็ตาม รฟท.จึงมีแผนลงทุนจัดซื้อหัวรถจักรเพิ่มเพื่อทดแทนรถเก่าและรองรับโครงการรถไฟทางคู่ ปัจจุบันอยู่ระหว่างร่างเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) โครงการจัดซื้อหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้าขนาด 16 ตันเพลา จำนวน 100 คัน มูลค่า 19,500 ล้านบาท แบ่งเป็นการจัดหาด้วยวิธีซื้อ 50 คัน วงเงิน 6,500 ล้านบาท และจัดหาด้วยวิธีเช่าอีก 50 คัน วงเงินประมาณ 13,000 ล้านบาทนั้น คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในเดือน มี.ค.61

ส่วนด้านรายจ่ายบำเหน็จบำนาญพนักงานกว่าปีละ 4 พันล้านบาทนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างหาแนวทางเพื่อลดรายจ่ายส่วนดังกล่าวในแต่ละปี เนื่องจากมีสัดส่วนที่มากเมื่อเทียบกับรายจ่ายภาพรวม เบื้องต้นอาจใช้แนวทางภาคสมัครใจให้บุคลากรที่พร้อมรับเงินไปเลยทีเดียวทั้งก้อนไม่ทยอยจ่ายรายเดือนเหมือนเงินบำนาญ

รายงานข่าวกระทรวงคมนาคมระบุว่า ในปี 61 คาดว่ารฟท.จะมีรายรับ 50,953.74 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากการดำเนินงาน 10,708.54 ล้านบาท เป็นเงินกู้เพื่อชำระหนี้ที่ครบกำหนด 34,125 ล้านบาท และเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้ 6,3120.19 ล้านบาท แต่รายรับดังกล่าวยังคงต่ำกว่ารายจ่ายที่คาดว่าจะอยู่ที่ 62,337.74 ล้านบาท ซึ่งแยกเป็นรายจ่ายในการดำเนินงาน 16,380.29 ล้านบาท รายจ่ายชำระเงินกู้ 34,310.45 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายเงินกู้ 4,496.3 ล้านบาท รายจ่ายบำเหน็จบำนาญพนักงาน 4,377.65 ล้านบาท และเป็นจ่ายลงทุนเพียง 2,773.03 ล้านบาท.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 139, 140, 141 ... 198, 199, 200  Next
Page 140 of 200

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©