RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179883
ทั้งหมด:13491115
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 240, 241, 242 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/11/2017 11:49 pm    Post subject: Reply with quote


จีนเดินหน้ารถไฟความเร็วสูง จีน-ลาว-ไทยได้ใช้ปี 65 (ตอนที่ 1)


จีนเดินหน้ารถไฟความเร็วสูง จีน-ลาว-ไทยได้ใช้ปี 65 (ตอนที่ 2)
https://www.youtube.com/watch?v=YVgw4N-B9b4[url][/url]

https://www.youtube.com/watch?v=VydLuTt5s6M
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/12/2017 11:53 pm    Post subject: Reply with quote

อีไอเอรถไฟไทย-จีนผ่านฉลุย ดีเดย์ตอกเข็ม3.5กม.-เคลียร์เวนคืน


นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา หรือรถไฟไทย-จีน ระยะทาง 253 กม. เงินลงทุน 179,412.21 ล้านบาท ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแล้วเมื่อ 30 พ.ย. 2560 ต่อจากนี้ จะนำเรื่องเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณาเดินหน้าโครงการ

“ในการประชุมคณะกรรมการร่วมครั้งที่ 22 เมื่อ 24 พ.ย. ทั้งไทยและจีนเห็นร่วมกันว่าจะเริ่มงานก่อสร้างช่วงแรก จากสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.ภายใน 21 ธ.ค.นี้ ซึ่งจะครบ 3 ปีพอดีที่ 2 รัฐบาลผลักดันโครงการ นับจากมีการเซ็น MOC ตั้งแต่ 19 ธ.ค. 2557”

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวเพิ่มเติมว่า อีไอเอรถไฟไทย-จีน ผ่านการอนุมัติโดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมมีความเห็นเพิ่มเติม ให้คมนาคมกำชับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ทำตามมาตรการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ช่วงเทปูนต้องมีแผ่นกั้นป้องกันฝุ่นกระจาย ระหว่างออกแบบก่อสร้างให้ระมัดระวังสัตว์ตามแนวเส้นทาง เป็นต้น

“หลังอีไอเอผ่านแล้ว จะลงมือก่อสร้างช่วงแรก 3.5 กม. เป็นงานถมคันดิน วงเงิน 425 ล้านบาท โดยการรถไฟฯจะกู้เงินในประเทศ จ้างกรมทางหลวงดำเนินการ จะใช้เวลา 6 เดือน แล้วเสร็จกลางปี 2561”

ที่เหลืออีก 249 กม. ได้แก่ ช่วงที่ 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร 11 กม. ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา 119.5 กม. และช่วงที่ 4 กรุงเทพฯ-แก่งคอย 119.5 กม. จีนจะทยอยส่งแบบรายละเอียดภายใน ธ.ค.นี้เป็นต้นไป เพื่อให้ ร.ฟ.ท.ทยอยเปิดประมูลแบบอีบิดดิ้ง วงเงินรวม 122,593.92 ล้านบาท แบ่ง 14 สัญญา ๆ

ละ 8,000-10,000 ล้านบาท เปิดให้ผู้รับเหมาไทยทั้งงานถนน อุโมงค์และรถไฟฟ้า เข้าร่วมประมูลได้ทุกสัญญา คาดว่าจะได้ผู้รับเหมาครบปลายปี 2561 ใช้เวลาสร้าง 4 ปี เปิดบริการปี 2564

สำหรับการเวนคืนที่ดินและรื้อย้ายตลอดแนวเส้นทาง ใช้งบฯ 13,069 ล้านบาท แยกเป็นค่าเวนคืน 212 ล้านบาท เนื่องจากก่อสร้างบนแนวเส้นทางรถไฟเดิม ส่วนใหญ่เวนคืนในจุดที่เป็นจุดเลี้ยวโค้ง และที่ตั้งสถานี 10-15% หรือ 2,815 ไร่ จากการสำรวจต้องรื้อท่อก๊าซของ ปตท. จากช่วงรังสิต-ภาชี ระยะทาง 40 กม. และช่วงคลอง 1-คลองพุทรา ใกล้แนวเส้นทางโครงการ อาจไม่ปลอดภัย ต้องปรับแบบสร้างห่างจากแนวเดิม 13 เมตร ซึ่ง ปตท.จะออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม กล่าวว่า การรื้อท่อก๊าซ ปตท.แนวรถไฟไทย-จีน ไม่เป็นปัญหา สามารถดำเนินการได้ แต่ทางเทคนิคและการออกแบบระบบท่อก๊าซสามารถวางไว้ด้านข้างระบบรางหรือถนนได้ เพราะการวางระบบท่อก๊าซไปยังภูมิภาคต่าง ๆ เท่ากับนำความเจริญไปสู่ประชาชนในพื้นที่ ปัจจุบัน ปตท.มีในภาคกลาง ตะวันตกและตะวันออก ยังขาดภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/12/2017 11:41 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
อีไอเอรถไฟไทย-จีนผ่านฉลุย ดีเดย์ตอกเข็ม3.5กม.-เคลียร์เวนคืน

สผ.ไฟเขียว EIA “รถไฟไทย-จีน” เฟสแรก เร่งชง ครม.จ้างกรมทางหลวงถมดิน 3.5 กม.
เผยแพร่: 4 ธ.ค. 2560 06:57:00 ปรับปรุง: 4 ธ.ค. 2560 07:29:00 โดย: MGR Online

สผ.อนุมัติ EIA รถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาแล้ว จบปัญหาโรงปูน จ.สระบุรี ปลดล็อก 3.5 กม. ลุยตอกเข็ม 21 ธ.ค. ร.ฟ.ท.เตรียมเสนอ ครม.ขออนุมัติจ้างกรมทางหลวงถมคันดิน คิกออฟเคลียร์สเปกวัสดุก่อสร้างในประเทศกรุยทางก่อนเปิดประมูลผู้รับเหมา 14 สัญญา

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ สผ. มีมติเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA โครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.35 กิโลเมตร แล้วเมื่อวันที่ 30 พ.ย. หลังจากที่ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 24 พ.ย. คณะกรรมการชำนาญการพิเศษ หรือ คชก.ได้พิจารณาพื้นที่ผ่านโรงปูน จ.สระบุรี แล้ว โดยคาดว่าภายในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน ธ.ค.นี้จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติให้กรมทางหลวง (ทล.) ดำเนินการก่อสร้าง ตอนที่ 1 ระยะทาง 3.5 กม. (สถานีกลางดง-ปางอโศก) ซึ่งได้กำหนดเริ่มต้นก่อสร้างในวันที่ 21 ธ.ค. 2560


นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ความพร้อมในการดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงตอนแรก ระยะทาง 3.5 กม. กรอบงบประมาณ 425 ล้านบาท ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะว่าจ้างกรมทางหลวง (ทล.) ในรูปแบบหน่วยงานรัฐต่อรัฐเพื่อให้ก่อสร้างงานโยธา โดยที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.ได้หารือกับกรมทางหลวงเพื่อวางแผนการก่อสร้าง คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน นอกจากนี้ ยังได้มีการถอดแบบก่อสร้างโดยรายละเอียดเพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องการใช้วัสดุก่อสร้างภายในประเทศ

“ข้อดีที่ให้กรมทางหลวงดำเนินการก่อสร้างงานปรับพื้นดินและการยกคันดิน ซึ่งเป็นงานโยธาของช่วง 3.5 กม. เพื่อจะได้ตรวจสอบแบบก่อสร้างที่จีนออกแบบมาว่ามีการใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศได้จริงๆ ซึ่งกรมทางหลวงมีวิศวกรมากพอที่จะช่วยตรวจสอบ และจะทำให้การประมูลก่อสร้างในตอนที่ 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร 11 กม., ตอนที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา 119.5 กม., ตอนที่ 4 แก่งคอย-บางซื่อ 119 กม. ดำเนินการได้สะดวกมากขึ้น” นายอานนท์กล่าว

สำหรับรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา วงเงินลงทุนรวม 179,412.21 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 13,069.60 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 122,593.92 ล้านบาท ซึ่งตลอดระยะทาง 252.35 กิโลเมตรจะแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 14 สัญญา นอกจากนี้ ยังมีค่างานระบบไฟฟ้า (M&E) 34,078.38 ล้านบาท จัดหาตู้รถไฟ 4,480 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษา 5,190.31 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/12/2017 11:42 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
อีไอเอรถไฟไทย-จีนผ่านฉลุย ดีเดย์ตอกเข็ม3.5กม.-เคลียร์เวนคืน


สผ.ไฟเขียว EIA “รถไฟไทย-จีน” เฟสแรก เร่งชง ครม.จ้างกรมทางหลวงถมดิน 3.5 กม.
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 4 ธันวาคม พ.ศ.2560 06:57:00
ปรับปรุง: 4 ธันวาคม พ.ศ.2560 07:29:00





สผ.อนุมัติ EIA รถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาแล้ว จบปัญหาโรงปูน จ.สระบุรี ปลดล็อก 3.5 กม. ลุยตอกเข็ม 21 ธ.ค. ร.ฟ.ท.เตรียมเสนอ ครม.ขออนุมัติจ้างกรมทางหลวงถมคันดิน คิกออฟเคลียร์สเปกวัสดุก่อสร้างในประเทศกรุยทางก่อนเปิดประมูลผู้รับเหมา 14 สัญญา

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ สผ. มีมติเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA โครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.35 กิโลเมตร แล้วเมื่อวันที่ 30 พ.ย. หลังจากที่ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 24 พ.ย. คณะกรรมการชำนาญการพิเศษ หรือ คชก.ได้พิจารณาพื้นที่ผ่านโรงปูน จ.สระบุรี แล้ว โดยคาดว่าภายในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน ธ.ค.นี้จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติให้กรมทางหลวง (ทล.) ดำเนินการก่อสร้าง ตอนที่ 1 ระยะทาง 3.5 กม. (สถานีกลางดง-ปางอโศก) ซึ่งได้กำหนดเริ่มต้นก่อสร้างในวันที่ 21 ธ.ค. 2560


นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ความพร้อมในการดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงตอนแรก ระยะทาง 3.5 กม. กรอบงบประมาณ 425 ล้านบาท ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะว่าจ้างกรมทางหลวง (ทล.) ในรูปแบบหน่วยงานรัฐต่อรัฐเพื่อให้ก่อสร้างงานโยธา โดยที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.ได้หารือกับกรมทางหลวงเพื่อวางแผนการก่อสร้าง คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน นอกจากนี้ ยังได้มีการถอดแบบก่อสร้างโดยรายละเอียดเพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องการใช้วัสดุก่อสร้างภายในประเทศ

“ข้อดีที่ให้กรมทางหลวงดำเนินการก่อสร้างงานปรับพื้นดินและการยกคันดิน ซึ่งเป็นงานโยธาของช่วง 3.5 กม. เพื่อจะได้ตรวจสอบแบบก่อสร้างที่จีนออกแบบมาว่ามีการใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศได้จริงๆ ซึ่งกรมทางหลวงมีวิศวกรมากพอที่จะช่วยตรวจสอบ และจะทำให้การประมูลก่อสร้างในตอนที่ 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร 11 กม., ตอนที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา 119.5 กม., ตอนที่ 4 แก่งคอย-บางซื่อ 119 กม. ดำเนินการได้สะดวกมากขึ้น” นายอานนท์กล่าว

สำหรับรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา วงเงินลงทุนรวม 179,412.21 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 13,069.60 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 122,593.92 ล้านบาท ซึ่งตลอดระยะทาง 252.35 กิโลเมตรจะแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 14 สัญญา นอกจากนี้ ยังมีค่างานระบบไฟฟ้า (M&E) 34,078.38 ล้านบาท จัดหาตู้รถไฟ 4,480 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษา 5,190.31 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/12/2017 4:47 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.แจงสร้างรถไฟความเร็วสูงใช้วัสดุจากจีนเพียง5%
โพสต์ทูเดย์ 04 ธันวาคม 2560 เวลา 16:01 น.

การรถไฟแห่งประเทศไทย ยันใช้วัสดุจีนเพียง 5% ในการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน คาดระยะแรกเสร็จใน 6 เดือน

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่าการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา ช่วงที่ 1สถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตรนั้นจะสามารถเดินหน้าได้ตามแผนที่กำหนดโดยจะเร่งจัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ(MOU)ระหว่างกรมทางหลวง(ทล.)และรฟท. ก่อนวันที่ 21 ธ.ค. เพื่อให้ทล.สามารถเปิดหน้างานเริ่มก่อสร้างได้ตามกำหนดการสำหรับประเด็นด้านวัสดุที่จะใช้ก่อสร้างในช่วงแรกนั้นจะเร่งหารือกับฝ่ายจีนให้ได้ข้อสรุปภายในกลางเดือน ธ.ค.นี้โดยเฉพาะเรื่องสัดส่วนว่าจะใช้ของจีนเท่าใดและใช้ของไทยเท่าใด แต่ทั้งนี้มั่นใจว่าในการก่อสร้างระยะแรก 3.5 กิโลเมตร จะใช้วัสดุจากจีนเพียง 5% เพื่อก่อสร้างช่วงแรก 3.5 .กิโลเมตรเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นงานดินถมที่เน้นวัสดุจำพวก คอนกรีต หินและดิน ซึ่งวัสดุของไทยมีมาตรฐานเทียบเท่าตามที่จีนกำหนดมาในรายละเอียดการออกแบบโครงการ โดยวัสดุของจีนที่จะนำเข้ามาใช้นั้นเป็นวัสดุที่ไทยผลิตไม่ได้อาทิวัสดุแผ่นใยสังเคราะห์สําหรับงานดิน (GEOTEXTILES) เป็นต้น

ด้านนายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน ช่วง ระยะทาง 3.5 กม.นั้นในวันที่21ธ.ค. นี้จะมีการวางศิลาฤกษ์จุดที่จะเริ่มก่อสร้างระยะแรก เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพ-นครราชสีมา วงเงิน 1.79แสนล้านบาท โดยที่ผ่านมากรมทางหลวงได้ลงพื้นที่ดูพื้นที่ก่อสร้างแล้ว พบต้องมีการปรับปรุงพื้นที่เบื้องต้น รวมทั้งการรื้อย้ายรางรถไฟระยะทาง700เมตร ดังนั้นจึงคาดว่าการก่อสร้างระยะแรก 3.5 กิโลเมตรนั้นจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ทั้งนี้ทางกรมทางหลวงได้มีการแบ่งทีมงานก่อสร้างออกเป็น3ชุด ขึ้นตรงต่อผู้จัดการโครงการเพียงคนเดียวเพื่อให้งานเดินหน้าได้เร็วขึ้น ออกจากแนวเขตการก่อสร้างด้วย ซึ่งทล.ได้เตรียมความพร้อมด้านเครื่องมือ เครื่องจักร กำลังคน ไว้แล้ว

ด้านศ.ดร. อมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร กล่าวว่าความคืบหน้าการทดสอบวิศวกรจีนที่จะเข้ามาทำงานในโครงการรถไฟไทย-จีนนั้น ปัจจุบันได้ดำเนินการทดสอบวิศวกรจีนเป็นรุ่นที่ 3 โดย มีจำนวนวิศวกรจีนทดสอบรวมกันหมด 226 คน สำหรับวิศวกรจีนที่ยังเหลือค้างอยู่อีกประมาณ 70 กว่าคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิศวกรควบคุมงานก่อสร้าง ยังรอความชัดเจนจากจีนว่าจะพร้อมเข้ารับการอบรมและทดสอบเมื่อใด ซึ่งทางสภาวิศวกรมีความพร้อมที่จะทำการอบรมและทดสอบตลอดเวลา สำหรับเรื่องการถ่ายโอนเทคโนโลยีจากประเทศจีนนั้น ขณะนี้ทางไทยต้องการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีที่จำเป็นเร่งด่วน 2 ด้าน คือ 1. ด้านการเดินรถและซ่อมบำรุง (operation and maintenance) และ 2. ด้านการออกแบบ (design)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/12/2017 3:46 am    Post subject: Reply with quote

226วิศวกรจีนสอบผ่านทำงานไฮสปีด
จันทร์ที่ 4 ธันวาคม 2560 เวลา 16.43 น.

สภาวิศวรกรสรุปผลการทดสอบวิศวกรจีนสอบผ่าน 226 คน ได้รับใบรับรองทำงานโครงการรถไฟความเร็วสูงเฟสแรก กรุงเทพฯ-นครราชสีมา เร่งเดินหน้าจัดหลักสูตรถ่ายโอนเทคโนโลยีด้านออกแบบรองรับโครงการไฮสปีดเฟส 2 นครราชสีมา-หนองคาย


ศ.ดร. อมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร เปิดเผยถึงการทดสอบวิศวกรจีนที่จะเข้าทำงานในโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ไทย-จีนกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ว่า สภาวิศวกรได้ทดสอบวิศวกรจีนไปแล้ว 3 รุ่นที่ นครเทียนจิน ประเทศจีนช่วงเดือน ก.ย. ถึง ต.ค. ที่ผ่านมา โดยมีวิศวกรจีนเข้ารับการทดสอบรวม 226 คน ส่วนใหญ่เป็นวิศวกรออกแบบ สำหรับผลการทดสอบสรุปได้ดังนี้ วิชากฎหมายและจรรยาบรรณ วิศวกรจีนทำคะแนนเฉลี่ยได้ 44 คะแนน จาก 50 คะแนนเต็ม ผ่านเกณฑ์ 30 คะแนนทุกคน และ วิชาสภาพท้องที่ทำคะแนนเฉลี่ยได้ 81.5 คะแนน จาก 100 คะแนนเต็ม ผ่านเกณฑ์ 60 คะแนนทุกคน วิศวกรจีนที่สอบผ่านจะได้รับใบรับรองฯแต่จะใช้ได้เฉพาะกับโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาเท่านั้น

ศ.ดร. อมร พิมานมาศ กล่าวต่อว่า สำหรับวิศวกรจีนที่ยังเหลืออีกประมาณ 70 กว่าคน ส่วนใหญ่เป็นวิศวกรควบคุมงานก่อสร้าง ยังรอความชัดเจนจากจีนว่าจะพร้อมเข้ารับการอบรมและทดสอบเมื่อใด ซึ่งทางสภาวิศวกรมีความพร้อมจะอบรมและทดสอบตลอดเวลาสำหรับเรื่องการถ่ายโอนเทคโนโลยีจากประเทศจีนนั้นขณะนี้ทางไทยต้องการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีที่จำเป็นเร่งด่วน 2 ด้าน คือ

1. ด้านการเดินรถและซ่อมบำรุง (operation and maintenance) และ
2. ด้านการออกแบบ (design)

โดยทั้งสองด้านนี้ เป็นเรื่องเร่งด่วน เนื่องจากผลการประชุมคณะกรรมการร่วมไทยจีนครั้งที่ 23 ได้ข้อสรุปที่ค่อนข้างชัดเจนระดับหนึ่งแล้วว่า ทางไทยจะเป็นฝ่ายออกแบบงานโยธาทั้งหมดสำหรับโครงการในเฟสที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย จีนจะรับเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำเท่านั้น ดังนั้นไทยต้องเร่งเรียนรู้เทคโนโลยีการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธาเพื่อรองรับการดำเนินงานต่อไป .
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/12/2017 5:09 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้อ่านข่าวประชาชาติธุรกิจ (ปีที่ 40 ฉบับที่ 4996 วันจันทร์ที่ 4 - วันพุธที่ 6 ธันวาคม 2560) กรณีรถไฟเชื่อม 3 สนามบินมูลค่า 296,421 ล้านบาทนั้น จะเร่งทำทางจากดอนเมืองไปอู่ตะเภาระยะทาง 220 กิโลเมตรเสียก่อน เพราะ ทางช่วงมาบตาพุดถึงระยองระยะทาง 40 กิโลเมตร นั้นอาจจะชะลอไปก่อนเพราะติดปัญหา EIA แม้ว่าส่วนจากมาบตาพุดไประยองจะไปตามทางหลวง 363 และ ทางหลวง 36 ก็ตามที แต่ก็จะเร่งให้ลงนามได้ตอนสิงหาคม 2561 เพื่อเปิดการเดินรถได้ในปี 2566 โดยในการนี้มีการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีมักกะสันของ Airport Link ขนาด 140 ไร่ พื้นที่รอบสถานีฉะเชิงเทราที่ติดทางหลวง 304 และ อยู่เหนือสถานีชุมทางฉะเชิงเทราที่มีอยู่แล้ว ไปทางเหนือประมาณ 1.5 กิโลเมตร พื้่นที่รอบสถานีพัทยา และ พื้นที่รอบสถานีระยอง เพื่อจูงใจเอาชนให้มาร่วมทุนด้วย

ค่าโดยสารรถด่วนไฮสปีต จากสุวรรณภูมิ ไปอู่ตะเภา ที่ 300 บาท และ ดอนเมืองไปอู้่ตะเภาที่ 500 บาทนั้นอดสงสัยไม่ได้ว่าจะแพงไปหน่อยหรือเปล่าหนอ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/12/2017 11:17 am    Post subject: Reply with quote

^^^

แบ่งสร้าง 2 เฟสไฮสปีดเทรนเชื่อมEEC ติดอีไอเอนิคมมาบตาพุดหวั่นโครงการดีเลย์
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 6 ธันวาคม 2560 - 08:00 น.

Click on the image for full size

เร่งสปีดรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน การรถไฟฯตัดแบ่ง 2 เฟสก่อสร้าง หลังติดบ่วงอีไอเอ ปมแนวเส้นทางตัดผ่านนิคมมาบตาพุด หวั่นกระทบชิ่งภาพรวมโครงการ ชงคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมขอพิจารณาช่วง “กรุงเทพฯ-อู่ตะเภา” ระยะทาง 220 กม. ให้ทันเดดไลน์บอร์ดอีอีซี บี้เปิดประมูล ม.ค. 61 ดึงเอกชน PPP ลงทุน 3 แสนล้าน รับสัมปทาน 30-50 ปี

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เพื่อให้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) และพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เดินหน้าได้เร็ว จะเสนอทางเลือกต่อที่ประชุมคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ให้แบ่งการพิจารณารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เป็น 2 เฟส คือ ช่วงกรุงเทพฯ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. และอู่ตะเภา-ระยอง ระยะทาง 40 กม. จากทั้งโครงการมีระยะทางรวม 260 กม. เพื่อให้รายงานอีไอเอผ่านการอนุมัติโดยเร็ว

หวั่นอีไอเอลากยาว

เนื่องจากอีไอเอยังติดปัญหาพื้นที่ช่วงที่ตัดผ่านนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่ง คชก.มีข้อท้วงติงและอาจจะใช้เวลาชี้แจงนาน อาจจะส่งผลกระทบต่อแผนการพัฒนาโดยภาพรวมของโครงการได้ จึงจะขอให้ คชก.พิจารณาช่วงแรกจากกรุงเทพฯ-อู่ตะเภาก่อนเป็นลำดับแรก เพื่อให้เอกชนที่จะเข้ามาลงทุนพัฒนาเกิดความมั่นใจโครงการ


“มีคำถามจาก คชก.มากว่า หากรถไฟความเร็วสูงพาดผ่านพื้นที่นิคมมาบตาพุด เกรงว่าจะทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือเหตุอื่น ๆ ได้ เพราะนิคมอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นแหล่งผลิตโรงกลั่นน้ำมัน เราเกรงว่าจะใช้เวลาชี้แจงนาน อยู่ระหว่างให้บริษัทที่ปรึกษาเร่งทำรายละเอียดรวมถึงประเมินวงเงินก่อสร้างด้วย เพราะหาก คชก.เห็นชอบตามที่เราเสนอ จะทำให้ค่าลงทุนโครงการลดลงจากเดิม คาดว่าภายในเดือน ธ.ค.นี้จะได้ข้อสรุป”

ลงทุนรวมเฉียด 3 แสนล้าน

นายอานนท์กล่าวอีกว่า สำหรับเงินลงทุนรวมอยู่ที่ 296,421 ล้านบาท แยกเป็นเงินลงทุนรถไฟความเร็วสูง 214,308 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าเวนคืนที่ดิน 4,992 ล้านบาท งานโยธา 148,842 ล้านบาท งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล 32,577 ล้านบาท จัดหาขบวนรถ 22,032 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษา 5,866 ล้านบาท และเงินลงทุนการพัฒนาพื้นที่พาณิชยกรรม 82,113 ล้านบาท ได้แก่ การพัฒนาที่ดินที่สถานีมักกะสัน 140 ไร่ 56,685 ล้านบาท การพัฒนาที่ดินรอบ 4 สถานีฉะเชิงเทรา สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีระยอง 25,428 ล้านบาท โดยให้เอกชนร่วมลงทุน PPP โดยภาครัฐจะเวนคืนที่ดินและให้เอกชนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล จัดหาขบวนรถ เดินรถและซ่อมบำรุงเป็นระยะเวลา 30-50 ปี ตามแผนงานจะประกาศเชิญชวนเอกชนลงทุนในเดือน ก.ค. 2561 ยื่นข้อเสนอเดือน ก.พ. ประกาศผู้ได้รับการคัดเลือกเดือน พ.ค. เซ็นสัญญาเดือน ส.ค. และเปิดบริการเต็มรูปแบบในปี 2566

ปี”66 เปิดหวูดบริการ

เมื่อการพัฒนาโครงการแล้วเสร็จในปี 2566 คาดว่าจะมีผู้มาใช้บริการรถไฟธรรมดา (city line) ช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ กว่า 103,920 คน/เที่ยว/วัน และมีผู้ใช้บริการรถไฟความเร็วสูง ช่วงสุวรรณภูมิ-ระยอง กว่า 65,630 คน/เที่ยว/วัน สำหรับระยะเวลาการเดินทางจากดอนเมืองถึงระยอง (จอดทุกสถานี) ใช้เวลาประมาณ 2 ชม. และจากดอนเมืองถึงระยอง (ไม่จอดระหว่างทาง) ใช้เวลาประมาณ 1 ชม. จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรม ให้แก่ จ.สมุทรปราการ และใกล้เคียง อีกทั้งเพิ่มทางเลือกในการเดินทาง

ทั้งนี้รถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ เป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ปัจจุบัน จะสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร มีส่วนต่อขยาย 2 ช่วง จากสถานีพญาไท-สนามบินดอนเมือง และสถานีลาดกระบัง-สนามบินอู่ตะเภา และ จ.ระยอง พร้อมเชื่อมเข้าออกสนามบิน โดยใช้เขตทางเดิมของรถไฟเป็นส่วนใหญ่ รวมระยะทาง 260 กม. และมีผู้เดินรถรายเดียวกัน ซึ่งระบบรถที่จะนำมาวิ่งบริการในพื้นที่ชั้นในจะวิ่งด้วยความเร็ว 160 กม./ชม. และ 250 กม./ชม.ในเขตนอกเมือง

เชื่อม 3 สนามบิน 5 จังหวัด

แนวเส้นทางพาดผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง มีจุดเริ่มต้นที่สนามบินดอนเมือง วิ่งขนานไปตามเขตทางรถไฟปัจจุบันเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อ ข้ามถนนประดิพัทธ์ เชื่อมเข้ากับสถานีพญาไทของแอร์พอร์ตเรลลิงก์ โดยวิ่งบนโครงสร้างปัจจุบันของแอร์พอร์ตลิงก์ ผ่านสถานีมักกะสัน เลี้ยวเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ

หลังจากนั้นจะใช้แนวเส้นทางของรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง สร้างคู่ขนานไปกับรถไฟสายตะวันออกในปัจจุบัน ยกเว้นสถานีฉะเชิงเทรา จะเวนคืนที่ดินใหม่ให้ได้รัศมีความโค้งของทางรถไฟความเร็วสูง โดยสถานีฉะเชิงเทราจะตั้งอยู่ด้านข้างของถนน 304 ประมาณ 1.5 กม. ไปทางทิศเหนือของสถานีรถไฟเดิม จากนั้นจะเข้าบรรจบกับเขตทางรถไฟเดิม และผ่านนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จุดปลายทางของรถไฟเดิม จากนั้นจะวิ่งอยู่บนเกาะกลางของถนน 363 และ 36 สิ้นสุดที่สถานีปลายทางระยอง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจุดตัดของถนน 36 กับถนน 3138

จอดป้าย 10 สถานี

มี 10 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง บางซื่อ มักกะสัน สุวรรณภูมิ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา อู่ตะเภา และระยอง ซึ่งโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นทางยกระดับ มีเป็นอุโมงค์ช่วงถนนพระรามที่ 6-ถนนระนอง 1 ช่วงเข้าออกสนามบินสุวรรณภูมิ ผ่านเขาชีจรรย์ และเข้าออกสถานีอู่ตะเภา จะมีศูนย์ซ่อมบำรุงพื้นที่ 400 ไร่ บริเวณ จ.ฉะเชิงเทรา ส่วนค่าโดยสารจากสนามบินดอนเมืองไปยังสนามบินอู่ตะเภา และจากสนามบินสุวรรณภูมิไปยังสนามบินอู่ตะเภา อยู่ที่ 500 และ 300 บาท/เที่ยว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/12/2017 5:14 pm    Post subject: Reply with quote

การเคหะฯ นำร่องถนนกรุงเทพกรีฑา-ร่มเกล้า พัฒนาที่อยู่แนวรถไฟ
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 6 ธ.ค. 2560 17:56

การเคหะฯ เร่งศึกษาพัฒนาที่อยู่ตามแนวรถไฟทางคู่-รถไฟความเร็วสูง นำร่องพื้นที่ถนนกรุงเทพกรีฑา-ร่มเกล้า เป็น “ศูนย์เศรษฐกิจเมืองร่มเกล้า” ฝั่งตะวันออกของกทม. ...

เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. นายธัชพล กาญจนกูล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กล่าวว่า ได้มอบหมายให้บริษัท พิพิธภัณฑ์เอเชีย จำกัด ดำเนินงานวิจัย “โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง” ซึ่งได้คัดเลือกพื้นที่รอบสถานีรถไฟลาดกระบัง บริเวณถนนกรุงเทพกรีฑา-ร่มเกล้า เป็นพื้นที่นำร่อง เพื่อจัดทำผังแม่บทภายใต้ชื่อ “ศูนย์เศรษฐกิจเมืองร่มเกล้า” โดยมุ่งพัฒนาให้เป็นเมืองของคนรุ่นใหม่ เมืองธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และเมืองที่อยู่อาศัยที่มีความสมบูรณ์ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานการค้าระหว่างประเทศ การค้าปลีก การประชุม การมีพื้นที่ Working Space การจัดแสดงสินค้า และการบริการ รวมถึงมีระบบขนส่งมวลชนที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟความเร็วสูง ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ศูนย์เศรษฐกิจกรุงเทพมหานคร และศูนย์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

ทั้งนี้ ได้นำเกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาดมาใช้ในการออกแบบยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ บทบาทของพื้นที่ รวมถึงระบบการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และระบบการเชื่อมโยงทางกายภาพสำหรับโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่โดยใช้เกณฑ์ย่อยในการออกแบบโครงการ ได้แก่ เกณฑ์การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน, แนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบท่าอากาศยาน, เกณฑ์ความเป็นผู้นำการออกแบบพลังงานและสภาพแวดล้อม และกฎหมายผังเมือง รวมทั้งการใช้แนวคิดในการออกแบบการบริหารจัดการทางการเงินที่ให้เอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุนตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนกิจการของภาครัฐ (PPP) พ.ศ.2556 ซึ่งจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการลงทุนโครงการศูนย์เศรษฐกิจ โดยจะใช้กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ประเภทกองทรัพย์สินที่เรียก REITS หรือ Real Estate Investment Trust เป็นเครื่องมือระดมทุนเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ และการบริหารจัดการโครงการ เพื่อสร้างมูลค่าทรัพย์สินแก่การเคหะแห่งชาติในระยะยาว และลดภาระการลงทุนทางตรง

พร้อมมุ่งสู่เมืองที่รักษาสิ่งแวดล้อม โดยลดการปล่อยมลพิษและลดการใช้พลังงานด้วยการออกแบบอาคารขนาดใหญ่ที่ต้องได้รับมาตรฐานอาคารเขียว การออกแบบให้ถนนมีแนวต้นไม้ใหญ่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 8 รวมถึงการออกแบบสวนสาธารณะขนาดต่างๆ เพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึง เป็นต้น โดยจะนำแผนแม่บทที่ได้ไปพัฒนาโครงการในรูปแบบ mixed - use ของการเคหะแห่งชาติต่อไปในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/12/2017 7:03 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้อ่านข่าวประชาชาติธุรกิจ (ปีที่ 40 ฉบับที่ 5000 วันจันทร์ที่ 11 - วันพุธที่ 13 ธันวาคม 2560)
ได้ความว่า คมนาคมสั่งเคลียร์ปม เรื่องทางรถไฟความไวสูง ไทย-จีน และ ไทย - ญี่ปุ่น ที่ทับซ้อนกันจากสถานีกลางบางซื่อไปบ้านภาชีระยะทาง 82.8 กิโลเมตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางช่วงตั้งแต่วัดเสมียนนารี ถึงหลักหก ระยะทาง 15 กิโลเมตรที่ค่าเวนคืนสูงเหลือเกิน ดั่งนี้

1. ช่วงสถานีวัดเสมียนนารี ถึงหลักหก ระยะทาง 15 กิโลเมตร ให้ใช้โครงสร้างร่วมกัน โดยรถไฟไทย - ญี่ปุ่น (สถานีกลางบางซื่อ - พิษณุโลก) อยู่ชั้น 2 ส่วนรถไฟไทย - จีน (สถานีกลางบางซื่อ - นครรราชสีมา) อยู่ชั้น 3 - ส่วน ชั้น 1 เป็นรถไฟฟ้าสายสีแดงและ รถไฟระหว่างเมือง ที่กำลังก่อสร้างอยู่

2. รฟท. ต้องสรุปเรื่องวงเงินที่ต้องจ่ายเพิ่ม เนื่องจากความจำเป็นในการนี้ ซึ่งจะต้องรวมในค่าใช้จ่ายสำหรับ การก่อสร้างทางถรไฟไทย - ญี่ปุ่น

3. ช่วงสถานีหลักหก ถึงบ้านภาชี นั้นให้เวนคืนที่ดินรถไฟเพิ่มเพื่อการนี้ แต่ยังไม่สรุปออกมาให้แน่ชัดว่าจะเวนคืนเท่าไหร่จึงจะพอมือ

ในขณะเดียวกัน ทางรถไฟไทย - จีนช่วง 3.5 กิโลเมตรแรกที่ กลางดง - ปางอโศก กรมทางหลวงจะเข้าพื้นที่ ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2560 เพื่อเริ่มพิธี การสร้างรถไฟไทย - จีน เมื่อ 21 ธันวาคม 2560 ใช้เวลา 6 เดือนทำงานให้เสร็จ โดยเน้นงานดินอย่างเดียวก่อน หมายว่าจะเสร็จมิถุนายน 2561 วัตถุุดิบวส่วยนใหญ่ใช้ในประเทศยกเว้น เจลและเหล้ก ที่ต้องสั่งจีนแดงเข้ามาราคา ตารางเมตรละ 120 บาท คิดเป็นเงิน 12 ล้านบาท -

จากนั้น จะเริ่มการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน 4 เฟส โดยจะได้รับแบบก่อสร้าง ธั้นวาคม 2560
เมื่อรับแบบแล้วก็เริ่มเปิดประมูลผู้รับเหมา 14 สัญญา คิอสัญญาละ 8000 - 10000 ล้านยาท วงเงินรวม 122,593.92 ล้านบาท จากมูลค่าโครงการทั้งหมด 179ม413 ล้านบาทโดยทั้ง 4 เฟสประกอบด้วย

1. กลางดง - ปางอโศก 3.5 กิโลเมตร
2. ปากช่อง - คลองขนานจิตร 11 กิโลเมตร
3. แก่งคอย - นครราชสีมา 119.5 กิโลเมตร
4. สถานีกลางบางซื่อ - แก่งคอย 119.5 กิโลเมตร

หมายใจว่าจะได้ผู้รับเหมา ครบปลายปี 2461 เร่้งการก่อสร้าง 4 ปี จนเปิดให้บริการ ปลายปี 2464
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 240, 241, 242 ... 542, 543, 544  Next
Page 241 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©