RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179870
ทั้งหมด:13491102
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เชียงใหม่อยากมีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เชียงใหม่อยากมีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 10, 11, 12  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/10/2017 4:56 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
เดินหน้ารถไฟฟ้าจ.ภูเก็ต รฟม.เปิดประมูลหาผู้รับเหมาปี’61
วันพุธ ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560, 06.00 น.

นายฤทธิกา สุภารัตน์ รักษาการ ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้า โครงการรถไฟรางเบาจังหวัดภูเก็ต ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดจ้างเอกชนเข้ามาศึกษาความเหมาะสมแนวทางการร่วมทุน (PPP)คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาประมาณ 6 เดือน สำหรับโครงการดังกล่าวเป็นนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้เกิดการลงทุนระบบรถไฟฟ้าในจังหวัดใหญ่ของแต่ละภูมิภาคเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่

ด้านแหล่งข่าวจาก สำนักงานนโยบาย และแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)กล่าวว่า โครงการรถไฟรางเบาของจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่านุ่น-ท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ทางรัฐบาลได้มอบหมายให้ กระทรวงคมนาคมเร่งรัดในการศึกษารูปแบบการลงทุนให้แล้วเสร็จในช่วงไตรมาสแรกของปี 2561 เพื่อเสนอโครงการขอความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) และเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือนมิถุนายน 2561 ก่อนจะดำเนินการเปิดประมูลหาผู้รับจ้างดำเนินโครงการภายในปี 2561

สำหรับโครงการดังกล่าววงเงิน 39,400 ล้านบาท และอยู่ในแผนการลงทุนระยะเร่งด่วนของปีงบประมาณ 2560 (PPP Fast Track)โดยจะเริ่มก่อสร้างระยะแรกในช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี ซึ่งมี 6 ทางลอด และ 1 สถานียกระดับ ที่สนามบินนานาชาติภูเก็ต

ทั้งนี้ ได้มีการคาดการณ์ด้านปริมาณผู้โดยสารของโครงการดังกล่าวเบื้องต้นประมาณ 70,000 คนต่อวัน เนื่องจากผ่านสถาบันศึกษา รวมถึงชุมชนย่านการค้าในพื้นที่ รวมถึงมีปัจจัยสนับสนุนในส่วนของนักท่องเที่ยวที่มีท่องเที่ยวในจังหวัด ส่วนอัตราค่าโดยสารคาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 15-25 บาทต่อเที่ยวต่อคน โดยมองว่าปริมาณขบวนรถที่เหมาะสมควรจะมีอย่างต่ำที่ 5 ขบวน เพื่อให้ช่วงความถี่ต่อขบวนอยู่ที่ราว 5-10 นาที เนื่องจากระยะเวลาการเดินทางไป-กลับตลอดสายจะใช้เวลาทั้งหมด 60 นาที บรรทุกผู้โดยสารได้เที่ยวละ 80-200 คน ขึ้นอยู่กับจำนวนตู้โดยสาร
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/11/2017 5:32 pm    Post subject: Reply with quote

โปรเจกต์ปีหน้า คมนาคม ผุดรถไฟฟ้า 'ภูเก็ต-ขอนแก่น-โคราช-เชียงใหม่'
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 2 พ.ย. 2560 14:33

คมนาคม ลุยเพิ่ม 8 โปรเจกต์ปีหน้า งบ 1.03 แสนล้าน ผุดรถไฟฟ้าภูมิภาค ประเดิมภูเก็ต-ขอนแก่น-โคราช-เชียงใหม่ ด้านสมคิด กำชับจัดลำดับสำคัญลงทุน เน้นสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก...</p><p>เมื่อวันที่ 2 พ.ย. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในปี 61 เตรียมลงทุนเพิ่มอีก 8 โครงการ คาดใช้งบประมาณราว 1.03 แสนล้านบาท ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าภูมิภาค 4 โครงการใน จ.ภูเก็ต จ.ขอนแก่น จ.นครราชสีมา จ.เชียงใหม่, โครงการทางด่วนมอเตอร์เวย์ 2 โครงการ สายรังสิต-บางปะอิน และสายกรุงเทพฯ-มหาชัย, โครงการปรับปรุงสนามบินขอนแก่น และสนามบินกระบี่, โครงการท่าเรือบกที่ จ.ขอนแก่น

ส่วนโครงการที่จะดำเนินการต่อเนื่องจนถึงปี 61 จะมีรวมทั้งสิ้น 51 โครงการ แยกเป็น โครงการที่เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะกรรมการ PPP จำนวน 24 โครงการ และอยู่ระหว่างประกวดราคา 27 โครงการ โดยเป็นโครงการต่อเนื่อง 43 โครงการ งบลงทุน 1.27 ล้านล้านบาท ส่วนอีก 8 โครงการใหม่ในปี 61 จะใช้งบลงทุน 1.03 แสนล้านบาท สำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าภูมิภาค จะเริ่มในหัวเมืองหลักที่มีประชากรหนาแน่นและมีบทบาททางเศรษฐกิจ ซึ่งต่อจาก 4 โครงการแรก ในอนาคตจะมีการลงทุนเพิ่มเติมที่ จ.อุดรธานี และ จ.พิษณุโลก

ขณะที่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การทำงานของกระทรวงคมนาคมมีความคืบหน้า ส่งผลต่อความเชื่อมั่น และการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยได้กำชับให้จัดลำดับความสำคัญของโครงการลงทุน เน้นโครงการที่สนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งโครงการระบบขนส่งทางรางนั้นจะร่าง TOR ให้เสร็จภายในปี 60 ส่วนโครงการสนามบิน ท่าเรือ จะร่าง TOR ให้เสร็จภายในไตรมาสแรกปี 61 ส่วนการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 9 เส้นทางมีความคืบหน้าไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ ขณะที่การตั้งศูนย์ซ่อมอากาศยาน ทางแอร์บัสกับ บมจ.การบินไทย (THAI) จะลงนามร่วมกันในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้

นอกจากนี้ได้มอบหมายให้ 3 หน่วยงานด้านการบินไปหารือการจัดสรรที่จะเป็นผู้บริหารสนามบินภูมิภาคให้ได้ข้อยุติภายในเดือน พ.ย.นี้ เบื้องต้นทาง บมจ.ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) ได้เสนอขอบริหารสนามบินอย่างน้อย 15 แห่ง จากที่กรมท่าอากาศยานดูแลอยู่ 29 แห่ง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/11/2017 1:57 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
โปรเจกต์ปีหน้า คมนาคม ผุดรถไฟฟ้า 'ภูเก็ต-ขอนแก่น-โคราช-เชียงใหม่'
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 2 พ.ย. 2560 14:33



“สมคิด”พอใจแผนลงทุนคมนาคมเบิกจ่ายทะลุเป้า สั่งสร้างรถไฟฟ้าแก้รถติด4หัวเมืองหลักปีหน้านำร่องภูเก็ต
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2560 - 22:22 น.
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมติดตามการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2560

นายสมคิดกล่าวภายหลังการประชุมว่า กระทรวงคมนาคมมีผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ตาม Action Plan 2560 มีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก สามารถเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2560 สูงกว่าเป้า 90%

โดยจะเบิกจ่ายงบประมาณในปีนี้อีก 1.16 ล้านล้านบาท และปีงบประมาณ 2561 จำนวน 800,000 ล้านบาท ส่งผลให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวดีขึ้น ทำให้นักลงทุนต่างชาติมีความเชื่อมั่นในการเข้ามาลงทุนในประเทศ


ส่วนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็นโครงการสำคัญที่กระทรวงคมนาคม ต้องเร่งดำเนินการเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยง 3 ท่าอากาศยาน ได้แก่ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานอู่ตะเภา การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ขอให้เร่งรัดดำเนินการให้เป็นรูปธรรมภายในสิ้นปี 2560 ทั้งนี้ การดำเนินโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ขอให้พิจารณาจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินงาน

โดยมอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เร่งรัดดำเนินโครงการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผนงาน และคาดว่าโครงการรถไฟไทย – จีน ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา จะสามารถเริ่มการก่อสร้างได้ประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน หรือต้นเดือนธันวาคม 2560

นอกจากนี้ ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งรัดดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง เมืองหลักในภูมิภาค 4 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต ขอนแก่น นครราชสีมา และเชียงใหม่ โดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ต ให้เร่งรัดการก่อสร้างภายในปี 2561 และให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ทำการศึกษาเพิ่มเติมอีก 2 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี และพิษณุโลก เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรและส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาค

ขณะเดียวกันยังเร่งลงนามความร่วมมือบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และแอร์บัส ในการดำเนินโครงการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (Maintenance, Repair and Overhaul : MRO) ณ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ได้ภายในปี 2560 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการจัดทำ Aviation Hub

พร้อมมอบให้ 3 หน่วยงานหลักด้านการบิน ได้แก่ กรมท่าอากาศยาน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกันพิจารณาหาแนวทางการบริหารจัดการท่าอากาศยานในภูมิภาค จำนวน 28 แห่ง ที่เหมาะสม โดยให้ได้ข้อสรุปภายในเดือนพฤศจิกายน 2560



ส่วนการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (Thailand Future fund) ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ขณะนี้ผลการศึกษาและกระบวนการขั้นตอนการจัดทำกำลังจะแล้วเสร็จ คาดว่า จะสามารถเปิดขายให้แก่นักลงทุนได้เมื่อตลาดหุ้นของไทยมีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น

พร้อมให้กรมทางหลวงดำเนินการพัฒนาที่พักริมทางหลวง (Rest Area) ตามเส้นทางหลักให้มีความสวยงาม เป็นจุดจำหน่ายสินค้าท้องถิ่น สินค้าเกษตรกรรม และสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว นอกจากนี้ ให้กรมทางหลวงชนบทดำเนินการพัฒนาเส้นทางไปสู่แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในภูมิภาคของไทย

ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงฯ มีแผนปฏิบัติการลงทุนด้านคมนาคมขนส่ง (Action Plan) พ.ศ. 2561 เพื่อการขับเคลื่อนแผนงานต่อเนื่องจากปี 2559 และ 2560 โดยโครงการที่ต่อเนื่องมาจากปี 2560 ประกอบด้วย โครงการที่อยู่ระหว่างการเสนอคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการ PPP จำนวน 24 โครงการ โครงการที่ประกวดราคาแล้วเสร็จ สามารถเริ่มการก่อสร้างได้ จำนวน 27 โครงการ รวมทั้งสิ้นจำนวน 51 โครงการ

โดยในปี 2561 มีโครงการใหม่ จำนวน 8 โครงการ ประกอบด้วย โครงการทางยกระดับอุตราภิมุข รังสิต – บางปะอิน โครงการทางยกระดับบน H35 กรุงเทพฯ – มหาชัย โครงการพัฒนาธุรกิจท่าเรือบก (Dry Port) โครงการพัฒนาท่าอากาศยานกระบี่และท่าอากาศยานขอนแก่น ระบบขนส่งมวลชนทางรางจังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา และเชียงใหม่ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญเนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ มีประชากรจำนวนมาก และมีปัญหาการจราจรหนาแน่น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/12/2017 9:28 am    Post subject: Reply with quote

“บิ๊กตู่” ลังเลรถไฟเร็วสูง
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 26 ธ.ค. 2560 08:04

นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงผลการหารือระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน ผู้บริหารท้องถิ่น และผู้แทนเกษตรกรภาคเหนือที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก ว่า ผลของการประชุมจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ จังหวัดสุโขทัย วันที่ 26 ธ.ค.นี้ โดยนายกรัฐมนตรีสั่งการให้กระทรวงคมนาคมศึกษาความคุ้มค่า และวงเงินลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด เทรน) กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ หลังจากที่ญี่ปุ่นเพิ่งส่งผลการศึกษากลับมาว่าต้องลงทุนสูงถึง 400,000 ล้านบาท โดยให้กลับมาอธิบายเพิ่มเติมถึงผลตอบแทนของยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง และภูมิภาคจะสอดรับกับโครงการนี้อย่างไร

ขณะเดียวกัน ได้สั่งการให้นำเรื่องการพัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางเบา (แอลอาร์ที) ของเชียงใหม่ เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) ว่าจะใช้ระบบพีพีพีหรือไม่ รวมทั้งให้กระทรวงคมนาคมเร่งพิจารณารายละเอียด และจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาโครงข่ายขนส่งทางอากาศ ซึ่งผู้แทนภาคเอกชนภาคเหนือเร่งรัดให้จัดทำโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่แห่งที่ 2 เพราะท่าอากาศยานที่มีอยู่มีปัญหาจราจรติดขัดทางเข้าออก และจะเต็มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร 35 ล้านคน ในปี 73 รวมถึงพิจารณาข้อเสนอการปรับปรุงท่าอากาศยาน ลำปาง แพร่ น่าน และพิษณุโลกพร้อมกันนั้น ยังเห็นชอบในหลักการและมอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงคมนาคมจัดลำดับความจำเป็นเร่งด่วนพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำหลักของภาคเหนือ โดยให้คำนึงถึงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู เพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำ การแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก และภัยแล้งด้วย.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/12/2017 12:54 pm    Post subject: Reply with quote

“บิ๊กตู่” โปรยงบภาคเหนือตอนล่าง ดึงคันเร่ง 3 โครงการน้ำ-ราง-สนามบิน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 25 ธันวาคม 2560 - 18:25 น.

“บิ๊กตู่” โปรยงบภาคเหนือตอนล่าง ดึงคันเร่ง 3 โครงการน้ำ-ราง-สนามบิน ดันท่าอากาศยานเชียงใหม่ แห่งที่ 2 รองรับนักท่องเที่ยว 35 ล้านคน แก้น้ำท่วม-แล้งลุ่มแม่น้ำยม 1.4 พันล้าน ชงรถไฟเส้นทาง เด่นชัย-เชียงของ ลพบุรี-เชียงใหม่ เข้า ครม.มี.ค.62 “ไฮสปีดเทรน” กรุงเทพ ฯ-เชียงใหม่ ส่ออืด ทบทวนความคุ้มค่า 4 แสนล้าน

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2560 ที่ห้องประชุมศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศส.) แถลงผลการประชุมระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน ผู้บริหารท้องถิ่นและผู้แทนเกษตรกรภาคเหนือ ระหว่างเดินทางไปประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) อย่างเป็นทางการ จังหวัดพิษณุโลก-สุโขทัย ระหว่างวันที่ 25-26 ธันวาคม 2560 ว่าที่ประชุมได้รับทราบข้อเสนอเพื่อนำไปพิจารณา 6 ด้าน ประกอบด้วย

1.ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ 1.1 การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางอากาศ (1) เร่งรัดโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่แห่งที่ 2 เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเต็มศักยภาพในปี 2573 จำนวน 35 ล้านคน ในพื้นที่ศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) เชื่อมต่อจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน อำเภอบ้านทิ (2) ปรับปรุงพัฒนาท่าอากาศยาน ประกอบด้วย การขยายทางวิ่งท่าอากาศยานลำปาง แพร่ น่าน และพิษณุโลก ทั้งหมดอยู่ในแผนการขอกรอบวงเงินงบประมาณในปี 2562

1.2 การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางบก (1) โครงการมอเตอร์เวย์เชียงใหม่-เชียงราย ซึ่งต้องเจาะภูเขาและอุโมงค์ ถึงแม้จะร่นระยะเวลาในการเดินทางได้เร็วขึ้น แต่ก็ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น มากกว่าการขยายช่องจราจร 4 เลน ตามแผนของกระทรวงคมนาคม ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมจะต้องไปศึกษาความคุ้มค่าอีกครั้ง (2) สร้างศูนย์การขนส่งสินค้าไปสู่การขนส่งหลายรูปแบบ (Multi Modals Transportation Logistics Center) ซึ่งอยู่ในแผนในปีงบประมาณ 2562 และการเวนคืนที่ดิน


(3) พัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางเบา จังหวัดเชียงใหม่ หรือ Light Rail Transit System (LRL) โดยรัฐบาลลงทุนเอง หรือ ร่วมทุนกับเอกชน (Public Private Partnership : PPP) ยังไม่ได้ข้อสรุป อย่างไรก็ตามรัฐบาลเห็นว่า รูปแบบการลงทุนควรเป็น PPP โดยจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ PPP ต่อไป ทั้งนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งทางบกและจราจจร (สนข.) ได้ศึกษาเส้นทางทั้งใต้ดินและบนดิน 34 กิโลเมตรและบนดินทั้งหมด 41 กิโลเมตร

(4) ก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่ (เชียงใหม่-เลี่ยงเมืองลำพูน) (5) พัฒนาโครงการข่ายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 จังหวัดกำแพงเพชร-สุโขทัย-อุตรดิษถ์-แพร่-น่าน-พะเยา-เชียงราย เพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลก และ (6) ขยายช่องทางจราจร 3-4 ถนน ได้แก่ 1) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 เป็น 4 ช่องทางจราจร และสำรวจออกแบบช่วง อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง-อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เชื่อมต่อไปยังอำเภอแม่สะเรียง-อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1091 อำเภอจุน-อำเภอปง-อำเภอเชียงม่วน-จังหวัดน่าน 3) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 115 กำแพงเพชร-พิจิตร-พิษณุโลก และ 4) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 หล่มสัก-เพชรบูรณ์-ทาลี่-เลย ทั้งนี้บางช่วงยังมีการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่

1.3 การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางบก (1) การก่อสร้างสะพานเชื่อมโยงเศรษฐกิจภูมิภาค ทางหลวงหมายเลข 1026 ตอนผาเวียง-ปากนาย เพื่อบรรจบทางหลวงหมายเลข 1339 ตอนน้ำปาด-ปากนาย และ (2) เส้นทางสายแม่สอด-ตาก เชื่อมทางหลวงหมายเลข 12 เพื่อเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก

1.4 การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางราง เห็นชอบผลักดันระบบรางเส้นใหม่ เส้นทางเด่นชัย-เชียงของ ลพบุรี-เชียงใหม่ และ คาดว่าจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือนมีนาคม 2561 นอกจากนี้ภาคเอกชนเสนอรถไฟทางคู่ เส้นทางลพบุรี-เพชรบูรณ์ ด้วย

ขณะที่รถไฟความเร็วสูงเส้นทาง กรุงเทพ ฯ – พิษณุโลก – เชียงใหม่ ผลการศึกษาของญี่ปุ่น ลงทุนสูง ประมาณ 4 แสนล้าน จึงต้องพิจารณาเรื่องคุ้มค่าการลงทุน ผลตอบแทน เนื่องจากหากเปรียบเทียบกับรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทาสง กรุงเทพ ฯ – หนองคาย ซึ่งผลประโยชน์ตอบแทนทางเศรษฐกิจชัดเจน


2.ด้านการบริหารจัดการน้ำภาคเหนือ โดยเฉพาะลุ่มแม้น้ำยม เสนอโครงการขนาดเล็ก เช่น ฝาย และ โครงการปรับปรุงประตูระบายน้ำตอนล่างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ โดยกรมชลประทานจะขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม วงเงิน 1,400 ล้านบาท ผ่านคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ

3.ด้านการเกษตรและแปรรูป โดยขอรับการสนับสนุน “โครงการเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกภาคเหนือ” โดยใช้ผักผลไม้ที่สร้างรายได้สูงเพื่อนำร่อง ได้แก่ กล้วยหอม สัปปะรด กระเจี๊ยบ มะม่วง ข้าว ไผ่ และพืชสมุนไพร คาดว่าจะมีเกษตรกรร่วม 5,000 ราย สร้างรายได้ 9,000 ล้านบาท ยกระดับเป็นพืชส่งออกและแปรรูป

4.ด้านการค้าและการลงทุน (1) การอำนวยความสะดวกการผ่านแดนโดยการทำ Visa on Arrival (VOA) ณ ด่านชายแดนและเมียนมา กระทรวงต่างประเทศรับไปพิจารณา (2) การทำความตกลงทวิภาคีการเปิดเดินรถส่วนบุคคลเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างไทย-เมียนมาได้ (3) การอนุญาตให้รถขนส่งของเมียนมาเข้ามาขนส่งสินค้าในฝั่งไทยด้านด่านแม่สอด จังหวัดตาก (4) ศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันตก (West Economic Corridor : WEC) ในพื้นที่ จังหวัดตาก พิษณุโลกและสุโขทัย ทั้งนี้อยู่ในเส้นทางยุทธศาสตร์ East-West Economic Corridor อยู่แล้ว

และ (5) เร่งรัดดำเนินการเพิกถอนเส้นทางในการก่อสร้างถนนเพื่อการคมนาคมและการค้าระหว่างประเทศไปยังจุดผ่อนปรณบ้านห้วยต้นนุ่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเวียงเหล้าและป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่เงา-แม่สำเพ็ง ระยะทาง 9.7 กม. 365 ไร่ เพื่อยกระดับเป็นจุดผ่านแดนถาวรในอนาคต ดังนั้นจึงให้กระทรวงกลาโหมและสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไปพิจารณาศึกษาร่วมกันอีกครั้ง เนื่องจากมีข้อติดขัดเรื่องความไม่ชัดเจนของเขตแดน

นอกจากนี้เอกชนยังขอให้พิจารณาสนับสนุนการจัดงานแสดงสินค้าศักยภาพการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปมูลค่าเพิ่มสูงภาคเหนือ (Northern Thailand Food Valley & Fruit Expo) และ (2) การจัดงานแสดงสินค้าและจับคู่ธุรกิจภาคเหนือในระดับนานาชาติ (Northern Thailand GMS Trade Fair and Business Forum) โดยกระทรวงพาณิชย์รับไปพิจารณาดำเนินการ

5.ด้านการแพทย์ การบริการผู้สูงอายุและสังคม เนื่องจากภาคเหนือมีอัตราผู้สูงอายุสูง หรือร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ จึงต้องมีโครงการดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจร การผลักดันนโยบายเมืองสมุนไพร (Herb City)

6.ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว เนื่องจากการท่องเที่ยวในภาคเหนือไปได้ดี ซึ่งนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยบูรณาการระหว่างกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬากับกระทรวงคมนาคมเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมระหว่างภูมิภาคกับการท่องเที่ยวตามจุดต่าง ๆ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/12/2017 3:52 pm    Post subject: Reply with quote

จ่อชงครม.สร้างรถไฟความเร็วสูงกทม.-เชียงใหม่ต้นปี61
เดลินิวส์ อังคารที่ 26 ธันวาคม 2560 เวลา 15.07 น.

จ่อชงครม.เห็นชอบสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น สายกทม.-เชียงใหม่ คาดต้นปี 61ขณะที่รถไฟอีกหลายสายเริ่มแผนปีหน้า

เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. ที่สถาบันการพลศึกษา วิทยาลัยเขตสุโขทัย พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ในที่ประชุมครม.มีการรายงานเรื่องการพัฒนาระบบขนส่งทางถนน โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)สอบถามการก่อสร้างถนนใน 4 ช่องจราจร คือ ถนนหลวงหมายเลข 12จาก แม่สอด-มุกดาหารว่ามีความ คืบหน้าไปถึงไหน ซึ่งรมว.คมนาคมรายงานว่า มีการแบ่งออกเป็น 4 ตอน เสนอไปแล้ว 3 ตอน เหลือแม่สอด-ตาก ดำเนินการไปแล้ว 5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีข้อติดขัดเพราะมีต้นไม้ขนาดใหญ่ และนายกฯไม่อยากให้ตัดต้นไม้ ฉะนั้นจึงต้องประสานกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ จะมีการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองเชียงใหม่ เส้นทางสายสันป่าตอง-หางดง คาดว่าจะเริ่มในปี 2561  

ขณะเดียวกันยังมีระบบพัฒนาการขนส่งในจ.เชียงใหม่-พิษณุโลก อยากมีระบบขนส่งสาธารณะ รถราง และรถไฟภายในเขตตัวเมือง ขณะที่ทางรางมีการเสนอให้ก่อสร้างรถไฟทางคู่ลพบุรี-ปากน้ำโพ และปากน้ำโพ-เด่นชัย  โดยในช่วงลพบุรี-เด่นชัย รมว.คมนาคม บอกว่าจะสามารถลงนามได้ในวันที่ 28 ธ.ค.นี้ ส่วนปากน้ำโพ-เด่นชัย จะสามารถนำเสนอให้ครม.พิจารณาในช่วงไตรมาสแรกของปี2561

พล.ท.สรรเสริญ กล่าวต่อว่า ยังมีโครงการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่สายใหม่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ขณะนี้อยู่ในระหว่างพิจารณารายละเอียดของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าจะนำเสนอเพื่อให้ครม.พิจารณาอนุมัติในปี 2561 อาจไม่ใช่ไตรมาสแรก  อย่างไรก็ตาม ขณะที่ รถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น สายกทม.เชียงใหม่ แบ่งเป็นระยะที่ 1 กทม.พิษณุโลก ระยะทางประมาณ 380 กิโลเมตร คาดว่าจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของครม.เพื่ออนุมัติภายในต้นปี 2561

“นายกฯสั่งให้พิจารณาเรื่องการลงทุนรถไฟดังกล่าว ว่าจะเป็นรัฐลงทุนหรือเอกชนร่วมลงทุน และมีความคุ้มค่าที่จะทำรถไฟความเร็วสูงหรือรถไฟความเร็วปานกลาง” พล.ท.สรรเสริญ กล่าว.

----

ชงโมโนเรลภูเก็ต-เชียงใหม่เข้าครม.-ขอนแก่นส่อยื้อติดPPP
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 8 มกราคม 2561 - 10:18 น.

รถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต - เป็นที่แน่ชัดรัฐบาลคสช.จะเร่งลงทุนรถไฟฟ้ารางเบาหรือไลต์เรลภูเก็ตเป็นโครงการแรก รูปแบบ PPP มี รฟม.เป็นเจ้าภาพ เพื่อแก้รถติด

สนข.เร่งชง ครม.อนุมัติโมโนเรลแก้รถติดหัวเมืองใหญ่ ประเดิม “ภูเก็ต-เชียงใหม่” ดึงเอกชน PPP ส่วนขอนแก่น รอนโยบายรัฐเคาะ งง! เอกชนท้องถิ่นเดินหน้าประมูล เผยหากสนใจต้องเข้ากระบวนการกฎหมายร่วมทุนเท่านั้น

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หลังคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจเป็นประธาน ได้รับทราบผลการดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะใน 5 เมืองภูมิภาค ได้แก่ ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมาและหาดใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาจราจร คิดเป็นเงินลงทุนรวม 131,525 ล้านบาท

ขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายให้เร่งโครงการที่ภูเก็ตและเชียงใหม่ โดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP ระยะเวลา 30 ปี 40 ปี และ 50 ปี โดยรัฐจะลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนเอกชนลงทุนงานระบบ ซึ่งโครงการถูกบรรจุไว้ใน PPP Fast Track ปี 2560 แล้ว

“จะเดินหน้าภูเก็ตก่อน กระทรวงมอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยหรือ รฟม.เป็นผู้ดำเนินการ อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบ PPP จะเป็นรูปแบบไหน Net Cost (สัมปทาน) หรือ Gross Cost (จ้าง) เพราะ สนข.ศึกษาแค่แผนแม่บทให้เป็นระบบไหนถึงจะเหมาะสมกับพื้นที่ ที่เหลือเป็นหน้าที่ของ รฟม.ทางรองนายกฯ สมคิดต้องการจะให้ได้ผู้ลงทุนภายในปี 2561”


เนื่องจากภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวมากกว่า 12 ล้านคน ผลการศึกษาความเหมาะสมที่ออกมาเป็นรถไฟฟ้ารางเบาหรือไลต์เรล เป็นเส้นทางสายใหม่จากสุราษฎร์ธานี-พังงา-ภูเก็ต ระยะทาง 58.25 กม. เงินลงทุนทั้งโครงการ 39,406.06 ล้านบาท

จุดเริ่มต้นอยู่สถานีรถไฟท่านุ่น จ.พังงา เชื่อมกับระบบรถไฟสายใหม่เส้นทาง จ.สุราษฎร์ธานี ถึง จ.พังงา ส่วนจุดสิ้นสุดโครงการอยู่ทางเหนือของห้าแยกฉลอง บน ถ.เจ้าฟ้าตะวันออก ห่างจากห้าแยกฉลอง ประมาณ 200 เมตร มี 24 สถานี เป็นสถานียกระดับ 1 สถานีที่สนามบินภูเก็ต เป็นสถานีใต้ดิน 1 สถานี ที่สถานีถลาง และมีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง บริเวณ อ.ถลาง แบ่งสร้าง 2 เฟส ระยะแรกจากท่านุ่น-สนามบินภูเก็ต และระยะที่ 2 จากสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง

สำหรับเชียงใหม่ ผลการศึกษาเสร็จแล้วและเสนอไปที่กระทรวงคมนาคมแล้ว อยู่ระหว่างพิจารณารูปแบบและวงเงินลงทุนโครงการ เนื่องจากเงินลงทุนโครงการแตกต่างกันมากถึง 3 เท่า ระหว่างการก่อสร้างระดับดินผสมใต้ดินและใต้ดินทั้งหมด เมื่อกระทรวงได้ข้อสรุปแล้ว จะนำเสนอให้ คจร.พิจารณาต่อไป ก่อนจะเริ่มขั้นตอน PPP

รูปแบบที่เหมาะสมเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา สร้างอยู่ในพื้นที่เขตเมือง มี 3 เส้นทางให้เลือก ระหว่าง เป็นทางวิ่งบนดิน และใต้ดินร่วมกัน เงินลงทุนรวม 106,895 ล้านบาท และทางวิ่งบนดินทั้งหมด เงินลงทุน 28,419 ล้านบาท

ได้แก่ 1.สายสีแดงโรงพยาบาลนครพิงค์-ศูนย์ราชการเชียงใหม่-สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี-ศูนย์ประชุมนานาชาติ-สถานีตำรวจช้างเผือก-แยกข่วงสิงห์-มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่-สถานีขนส่งช้างเผือก-โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม-โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่-ร.ร.วัฒโนทัยพายัพ-สนามบินเชียงใหม่-สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่-ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีหางดง

2.สายสีเขียวแยกรวมโชค-แยกแม่โจ้-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล-สถานีขนส่งอาเขต-โรงพยาบาลแมคคอร์มิคเชียงใหม่-ร.ร.ดาราวิทยาลัย-ร.ร.ปรินส์รอแยลส์วิทยาลัย-ตลาดวโรรส (กาดหลวง)-เทศบาลนครเชียงใหม่-ย่านเชียงใหม่ไนท์บาซาร์-ร.ร.เรยีนาเชลีวิทยาลัย-ร.ร.พระหฤทัย-ร.ร.มงฟอร์ตวิทยาลัย-เชียงใหม่แลนด์-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา-เชียงใหม่แอร์พอร์ต-มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น-สนามบินเชียงใหม่

และ 3.สายสีน้ำเงิน สวนสัตว์เชียงใหม่-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา-มหาวิทยาลัยเชียงใหม่-แยกตลาดต้นพยอม-รพ.มหาราชนครเชียงใหม่-วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร-ประตูท่าแพ-ย่านเชียงใหม่ไนท์บาซาร์ตลาดสันป่าข่อย-สถานีรถไฟเชียงใหม่-แยกหนองประทีป-ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีดอนจั่น-ห้างสรรพสินค้าพรอมเมนาดา

ส่วนขอนแก่น ผอ.สนข.กล่าวว่า ผลการศึกษายังไม่แล้วเสร็จ ซึ่ง สนข.ศึกษาเป็นแผนแม่บทอย่างเดียว ส่วนการลงทุนอยู่ที่นโยบายของรัฐบาล หากเอกชนท้องถิ่นสนใจจะลงทุนจะต้องดำเนินการตามขั้นตอน PPP

รูปแบบโครงการเป็นรถไฟฟ้ารางเบา แนวเส้นทางเชื่อมการเดินทางแนวเหนือ-ใต้ จากบ้านสำราญ-บ้านท่าพระ ระยะทางประมาณ 22.8 กม. มี 16 สถานี เงินลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาท

“การที่เอกชนท้องถิ่นยื่นประมูลโครงการยังไม่ทราบรายละเอียด แต่ สนข.ศึกษาแผนแม่บทไว้ เมื่อเสร็จแล้วเสนอไปที่กระทรวงคมนาคม คาดว่าจะเสนอกลางเดือน ม.ค.นี้ เพื่อกำหนดนโยบายการพัฒนาโครงการ อาจจะให้ รฟม.ดำเนินการเหมือนที่ภูเก็ต และให้เอกชนร่วม PPP งานระบบและจัดหารถ”

ด้าน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นระบบรถไฟฟ้าโมโนเรล เริ่มจากคลองหวะ-สถานีรถตู้ ระยะทาง 12.54 กม. มีสถานี 12 สถานี มูลค่าลงทุน 16,100 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับแก้รายงานอีไอเอ

ขณะที่นครราชสีมา ผลศึกษาใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเบา เป็นระบบหลักในการเดินทางและมีระบบรถโดยสาร เป็นระบบรอง เงินลงทุน 32,600 ล้านบาท แบ่งเป็น 3 เฟส ระยะแรก เงินลงทุน 14,000 ล้านบาท ระยะที่ 2 เงินลงทุน 4,900 ล้านบาท และระยะที่ 3 เงินลงทุน 13,600 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/01/2018 3:25 pm    Post subject: Reply with quote

'ไพรินทร์' เร่งเครื่องรถไฟภูธร หวังลงนามสัญญาในปี2561
โพสต์ทูเดย์ 13 มกราคม 2561 เวลา 09:37 น.

"ไพรินทร์" จี้ รฟม.เร่งศึกษา รถไฟฟ้าภูธร เคาะสัญญาสายสีม่วง 6 สัญญา เร่งเปิดประมูลรถไฟฟ้า 2 แสนล้าน พร้อมลงนามสัญญาภายในปีนี้

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม กล่าวภายหลังการมอบนโยบายให้กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ว่าได้สั่งการให้ รฟม.เร่งศึกษาแนวทางการลงทุนร่วมพีพีพีของโครงการรถไฟฟ้าภูมิภาคใน จ.ภูเก็ตและเชียงใหม่ เบื้องต้นคาดว่าน่าจะใช้เวลาศึกษาประมาณ 4 เดือน หลังจากนั้นจะร่างเอกสารประกวดราคาและเปิดประมูลโครงการตลอดจนลงนามสัญญาเอกชนให้ได้ภายในปีนี้ เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการต่อไป

สำหรับปี 2561 โครงการรถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานครจะมีการเปิดประมูลเพิ่มเติมอีก 2 เส้นทางคือ รถไฟฟ้าสาย สีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 1 แสนล้านบาท เบื้องต้นได้กำหนดไว้ว่าจะแบ่งเป็น 6 สัญญา คือ งานใต้ดิน 4 สัญญา/งานยกระดับ 1 สัญญา และงานราง 1 สัญญา จะมีการเสนอแนวทางของโครการเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ รฟม. (บอร์ด รฟม.) ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ก.พ.นี้ และน่าจะเปิดประมูลแล้วเสร็จ ได้ตัวผู้รับเหมาในช่วงปลายปีนี้

ด้านโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งยังอยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการลงทุนแบบพีพีพี โดยเตรียมเสนอเข้าบอร์ด รฟม.เดือน ก.พ.เช่นกัน เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก่อนเปิดประมูลและลงนามสัญญาโครงการภายในปีนี้ โดยแนวทางพีพีพีจะแบ่งเป็น 3 รูปแบบได้แก่ แบบที่ 1 ให้ รฟม.รับผิดชอบงานโยธา แบบที่ 2 รฟม.บริหารเดินรถ และแบบที่ 3 รฟม.รับผิดชอบทั้งสองสัญญา

ด้านรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง และสีชมพูช่วง แคราย-มีนบุรี ขณะนี้อยู่ระหว่างการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคและจะเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ไม่เกินเดือน เม.ย.นี้

ขณะที่โครงการตั๋วร่วมอยู่ระหว่างการหารือและศึกษากับบีอีเอ็มว่าต้นทุนรายจ่ายโครงการจะเป็นเท่าใด และต้อง หารือเรื่องกฎการทำธุรกิจระหว่างบีอีเอ็ม รฟม. และบีทีเอส ซึ่งเทคโนโลยีใหม่ที่จะนำมาใช้กับโครงการ จะสามารถนำบัตรเครดิตมาแตะเพื่อใช้บริการได้ทันที ซึ่งคาดว่าจะสามารถสรุปเรื่องเทคโนโลยีในการใช้งานได้ไม่เกิน 2 เดือน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/01/2018 10:48 am    Post subject: Reply with quote

ชง'สมคิด'เคาะรถไฟรางเบาเชียงใหม่
โพสต์ทูเดย์ 31 มกราคม 2561 เวลา 09:53 น.

สนข. ชง 'สมคิด' เคาะรถไฟรางเบาเชียงใหม่ 1 แสนล้านบาท ภายในเดือนก.พ. เคาะค่างานระบบ 2 หมื่นล้านบาท

แหล่งข่าวจากสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)เปิดเผยว่าความคืบหน้าโครงการรถไฟรางเบา (แทรม) จ.เชียงใหม่ วงเงินราว 100,000 ล้านบาทนั้น ขณะนี้สนข.ได้เสนอโครงการไปยังกระทรวงคมนาคมแล้ว ขณะนี้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคมอยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดและข้อมูล โครงการดังกล่าว ก่อนเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ในเดือน ก.พ.นี้ ซึ่งมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาคัดเลือกรูปแบบการก่อสร้างที่เหมาะสมระหว่างการก่อสร้างบนดิน วงเงินรวม 3 หมื่นล้านบาท กับการก่อสร้างผสมผสานทั้งบนดินและใต้ดิน วงเงินรวม 1 แสนล้านบาท โดยเส้นทางรถไฟรางเบาจะมีทั้งหมด 3 เส้นทาง ได้แก่
1.สายสีแดงระยะทาง 12 กม.
2.สายสีเขียวระยะทาง 12 กม. และ
3.สายสีน้ำเงินระยะทาง 11 กม.
วงเงินลงทุนราว 1 แสนล้านบาท วงเงินรวม 1 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตามจากการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นที่ผ่านมาประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่สนับสนุนให้เลือกแนวทางการก่อสร้างแบบผสมผสานทั้งบนดินและใต้ดินซึ่งจะใช้เวลาก่อสร้างราว 6 ปี มีวงเงินก่อสร้างทั้งสามเส้นทางราว 1 แสนล้านบาท ประกอบด้วย ค่างานโยธา 8.5 หมื่นล้านบาทและค่างานระบบรวมถึงจัดหาตัวรถแทรมอีกราว 1-2 หมื่นล้านบาท ขึ้นอยู่กับระบบและเทคโนโลยีของรถแทรม อย่างไรก็ตามขณะนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมแนวทางการร่วมทุนแบบพีพีพีใช้เวลาราว 4-6 เดือน ก่อนเสนอแนวทางร่วมทุนเข้าสู่กระทรวงคมนาคมเพื่อนำมารวมกับผลศึกษาแนวทางก่อสร้างเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ให้พิจารณาเห็นชอบได้ภายในช่วงต้นปี 2562 ก่อนทยอยเปิดประมูลโครงการดังกล่าวช่วงไตรมาสที่ 1ถึงไตรมาสที่ 2 ของปี 2562 ต่อไป

แหล่งข่าวสนข.กล่าวต่อว่าส่วนด้านความคืบหน้าโครงการรถไฟรางเบา (แทรม) จ.ภูเก็ตช่วงท่านุ่น-ท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลองวงเงิน 3.94 หมื่นล้านบาท ขณะนี้รฟม.อยู่ระหว่างศึกษาแนวทางการร่วมทุนพีพีพี ดังนั้นจึงคาดว่าโครงการดังกล่าวจะสามารถเสนอเข้าสู่ที่ประชุมครม.ได้ภายในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ก่อนทยอยเปิดประมูลในช่วงเดือนสุดท้ายของปีหรือภายในไตรมาสที่ 1 ปี 2562เนื่องจากเป็นโครงการที่ถูกบรรจุในแพคเกจลงทุนระยะเร่งด่วนของปีงบประมาณ 2560 (PPP Fast Track)โดยจะเริ่มก่อสร้างเฟสแรกก่อนคือช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี ประกอบด้วย 6 ทางลอด และ 1 สถานียกระดับ ที่สนามบินนานาชาติภูเก็ต

รายงานข่าวกระทรวงคมนาคมระบุว่ารฟม.อยู่ระหว่างร่างเงื่อนไขเอกสารประกวดราคา(ทีโออาร์)จัดจ้างที่ปรึกษาเข้ามาดูรูปแบบการร่วมทุนพีพีพีโครงการรถไฟฟ้าแทรมจ.ภูเก็ต คาดว่าภายในเดือนก.พ.จะประกาศเชิญชวนให้เอกชนเข้ามายื่นข้อเสนอก่อนใช้เวลาศึกษาราว 4 เดือน ก่อนเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมและเข้าสู่ที่ประชุมครม.ต่อไป ซึ่งที่ผ่านมามีเอกชนสนใจเข้ามาลงทุนแล้ว 1-2 รายแสดงความสนใจเข้าร่วมประมูลโครงการดังกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/02/2018 7:19 am    Post subject: Reply with quote

เร่งรถไฟ5เมืองหลักหนุนเศรษฐกิจภูมิภาค
กรุงเทพธุรกิจ 22 ก.พ. 61
นโยบายเศรษฐกิจ

คจร.สั่งการทางพิเศษเดินหน้าศึกษาทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ รองรับการพัฒนารถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล แก้ปัญหาจราจรแยกเกษตร รับทราบความคืบหน้ารถไฟฟ้า 10 สาย ในกทม.เปิดบริการได้ทั้งหมดปี68 สมคิด สั่งเดินหน้ารถไฟฟ้า 5 จังหวัดใหญ่ สร้างความเจริญให้ภูมิภาค

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.)ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน วานนี้ (21 ก.พ.) ว่าที่ประชุมได้มอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เดินหน้าศึกษาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่3ตอนN2เชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก และให้รองรับกับการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย-บึงกุ่ม) ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าสายที่ 11ของ กทม.โดยโครงการทางด่วนเส้นทางนี้เป็นโครงการที่จำเป็นเพื่อเชื่อมให้เส้นทางคมนาคมจากวงแหวนตะวันตก-วงแหวนตะวันออก เชื่อมถึงกันและลดปัญหาจราจรแออัดบริเวณแยกเกษตรได้

ทั้งนี้ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการก่อสร้างตามแผนแม่บทการพัฒนารถไฟฟ้าซึ่งจากทั้งหมด10สาย ที่เปิดการเดินรถไปแล้ว 3 สายรวม 170กิโลเมตร (กม.) และระหว่างนี้อยู่ระหว่างทยอยเปิดประมูลและก่อสร้าง ซึ่งเมื่อครบทั้ง 10 เส้นทางตามแผนแม่บทจะทำให้ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีโครงข่ายรถไฟฟ้าครอบคลุม 460 กม. และหากรวมกับสายสีน้ำตาล(แคราย-บึงกุ่ม) ที่ขณะนี้ยังอยู่ในช่วงของการศึกษาเป็นสายที่ 11 โครงข่ายรถไฟฟ้าจะมีระยะทางรวม 480 กม.

โครงข่ายรถไฟฟ้าทั้ง11สาย ที่จะทยอยเปิดใช้แต่ละช่วงหลังจากนี้ถือว่าเพียงพอสำหรับการใช้บริการของประชาชนในกรุงเทพฯ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีระบุว่า งานก่อสร้างต้องดูแลให้เกิดความสอดคล้องเพราะทั้งหมดเป็นโครงข่ายหากเกิดปัญหาจุดไหนต้องรีบแก้ไข และเมื่อกรุงเทพฯ เพียงพอแล้วหลังจากนี้ต้องเร่งการลงทุนระบบขนส่งในภูมิภาคอย่างเร่งด่วน นายไพรินทร์ กล่าว
สำหรับโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ในเมืองภูมิภาค โดยเฉพาะในจังหวัดขนาดใหญ่รวม 5 จังหวัดได้แก่

1.จังหวัดขอนแก่น ซึ่งพบว่าระบบที่เหมาะสมกับเมืองขอนแก่น ได้แก่ ระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT)ที่รูปแบบการลงทุนนั้นรัฐจะเวนคืนที่ดินแล้วให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งงานระบบและจัดหาตัวรถตลอดจนงานดำเนินการและบำรุงรักษา เส้นทางที่เหมาะสมในการดำเนินโครงการนำร่อง ได้แก่ เส้นทางในแนวเหนือ-ใต้ (บ้านสำราญต.สำราญ-ต.ท่าพระ อ.เมืองขอนแก่น) ระยะทางประมาณ22.8กม.

2.โครงการศึกษาออกแบบระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต (โครงการรถไฟฟ้า รางเบาจังหวัดภูเก็ต) ที่ประชุมได้รับทราบผลการศึกษาโครงการดังกล่าว ซึ่งระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit หรือTramway) เป็นระบบที่มีความเหมาะสมมากที่สุดสำหรับจังหวัดภูเก็ตคาดว่าจะแล้วเสร็จและดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ภายในปี 2561

3.แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจ.เชียงใหม่ โดยที่ประชุมอนุมัติ และเห็นชอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการในขั้นตอนการลงทุนและการก่อสร้างโครงการ เป็นไปได้ 3รูปแบบคือ รัฐลงทุน 100% เปิดให้เอกชนร่วมลงทุน(พีพีพี)โดยรัฐลงทุนงานโยธา เอกชนลงทุนงานระบบเครื่องกลและระบบไฟฟ้า และจัดหาขบวนรถไฟฟ้า และเปิดพีพีพีรัฐร่วมเอกชนจัดตั้งบริษัท และระดมทุน

4.โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก ที่ประชุมได้รับทราบผลการศึกษาโครงการดังกล่าว โดยเทคโนโลยีระบบขนส่งสาธารณะที่มีความเหมาะสม กับแนวเส้นทาง และมีความเป็นไปได้มี 3 รูปแบบ ได้แก่ รถโดยสารขนาดปกติ (Regular Bus) รถโดยสารขนาดเล็ก (Micro Bus) และรถรางล้อยาง (Auto Tram)

5.โครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา ที่ประชุมได้มีการพิจารณาผลการศึกษาจัดทำแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา โดยระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสม ได้แก่ ระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit, LRT)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/03/2018 10:18 am    Post subject: Reply with quote

ดึงเอกชนแจมรถไฟฟ้าหัวเมือง'เชียงใหม่-ขอนแก่น'

11 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 15:32 น.
สคร.จ่อชงบอร์ดพีพีพีไฟเขียวดึงเอกชนร่วมแจมโครงการรถไฟฟ้าในหัวเมืองใหญ่ "เชียงใหม่-ขอนแก่น"
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 12 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 09:43:
ปรับปรุง: 12 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 10:26:
สคร.จ่อชงบอร์ดพีพีพีไฟเขียวดึงเอกชนร่วมแจมโครงการรถไฟฟ้าในหัวเมืองใหญ่ "เชียงใหม่-ขอนแก่น" รับนโยบายรัฐบาลในการเร่งกระจายการลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสู่ภูมิภาค หวังแก้ไขปัญหาการจราจรหน้าแน่นในเมืองหลัก

11 มี.ค. 2561 นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคม มีแผนเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการพีพีพี) พิจารณาโครงการร่วมทุนรถไฟฟ้าในพื้นที่หัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัดเพิ่มเติมอีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าจังหวัดเชียงใหม่ และโครงการรถไฟฟ้าจังหวัดขอนแก่น หลังจากที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ ได้มีการอนุมัติให้มีการร่วมทุนทุนไปแล้ว 2 จังหวัด ที่จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดนครราชสีมา

“การจัดทำโครงการพัฒนารถไฟฟ้าในพื้นที่ต่างจังหวัดถือเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการกระจายการลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไปสู่ภูมิภาค และแก้ไขปัญหาการจราจรหนาแน่นของเมืองหลัก โดยให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดติดตามการดำเนินโครงการภายใต้มาตรการพีพีพี ฟาสต์ แทร็ก เพื่อช่วยย่นระยะเวลาในการดำเนินโครงการเหลือเพียง 9 เดือน จากเดิมที่ใช้เวลามากกว่า 2 ปี” นายเอกนิติ กล่าว

ก่อนหน้านี้ โครงการระบบขนส่งมวลชน จ.นครราชสีมา หรือโครงการรถไฟฟ้านครราชสีมา มูลค่า 32,600 ล้านบาท เข้าร่วมลงทุนพีพีพีฟาสต์แทรก โดยคาดว่าในปีนี้จะมีการอนุมัติโครงการร่วมทุนพีพีพีฟาสต์แทรกอีก 3 โครงการ วงเงิน 406,874 ล้านบาท ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตะวันตก และตะวันออก 195,642 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-วงแหวนกาญจนาภิเษก 131,172 ล้านบาท และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายนครปฐม-ชะอำ 80,060 ล้านบาท ส่งผลให้ถึงสิ้นปีนี้จะมีการอนุมัติพีพีพี ฟาสต์แทรก ได้รวม 966,800 ล้านบาท

รายงานข่าวแจ้งเพิ่มว่า โครงการรถไฟฟ้าเชียงใหม่ตอนนี้ผลการศึกษาเสร็จแล้ว และเสนอไปที่กระทรวงคมนาคมพิจารณารูปแบบ และเงินลงทุน โดยเป็นการลงทุนรถไฟฟ้าแบบรางเบามีให้เลือก 3 ทางเลือก วงเงินลงทุน 28,419-106,895 ล้านบาท ได้แก่ การก่อสร้างระดับดิน ระดับดินผสมใต้ดินและใต้ดินทั้งหมด เมื่อกระทรวงได้ข้อสรุปแล้ว จะนำเสนอให้ คจร. พิจารณาต่อไปก่อนจะเริ่มขั้นตอนพีพีพี ส่วนแบบรถไฟฟ้าขอนแก่น เป็นโครงการรถไฟฟ้ารางเบาสายเหนือใต้ สำราญ-ท่าพระ เป็นสายนำร่อง จะมีระยะทาง 26 กิโลเมตร และมีจำนวนสถานี 18 สถานี
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 10, 11, 12  Next
Page 5 of 12

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©