RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180049
ทั้งหมด:13491281
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสีเขียวเข้ม(หมอชิต-สะพานใหม่) และเขียวอ่อน(แบริ่ง-ปากน้ำ)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสีเขียวเข้ม(หมอชิต-สะพานใหม่) และเขียวอ่อน(แบริ่ง-ปากน้ำ)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 48, 49, 50 ... 100, 101, 102  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/01/2018 6:49 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ยังไม่คืบ! โอนหนี้ 6 หมื่นล้านสายสีเขียว “กทม.” ยื้อขอรัฐรับภาระค่าก่อสร้างทั้งหมด
วันที่ 4 มกราคม 2561 - 15:53 น.

คจร.เห็นชอบโอนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้กทม
INN News ข่าวเศรษฐกิจ วันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม พ.ศ.2561 17:34 น.

คจร.เห็นชอบรัฐบาลสนับสนุน กทม.ในการโอนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว มอบ คมนาคม กทม. คลังหารือสัดส่วนลงทุน

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ครั้งที่ 1/2561 ว่าที่ประชุมได้ติดตามการดำเนินการตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 2/2560 เพื่อรับทรางผลการดำเนินงานภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการมอบให้ กทม. เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ - คูคต และช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ ขณะเดียวกันคณะกรรมการคจร.ได้เห็นชอบในหลักการให้รัฐบาลสนับสนุนให้ กทม. สำหรับการรับโอนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต

อย่างไรก็ตาม ได้มอบกระทรวงคมนาคม กทม. กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาหารือสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมระหว่างรัฐบาลและ กทม. รวมทั้งแนวทางชำระหนี้คืนให้รัฐบาลต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อสรุปการบริหารจัดการเดินรถ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ - คูคต และช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ ไม่กระทบกำหนดการเปิดให้บริการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ ในเดือนธันวาคม 2561
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/01/2018 2:38 am    Post subject: Reply with quote

ปัญหารถไฟฟ้าสีเขียว หรือว่าต้องพึ่งมาตรา 44
โดย: นพ นรนารถ

เผยแพร่: 7 มกราคม พ.ศ.2561 17:29:00




โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายเหนือ คือ ช่วงจากหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และสายใต้ คือ ช่วงแบริ่ง- สมุทรปราการ กำลังเป็นปัญหาระหว่างสององค์กรรัฐคือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. กับกรุงเทพมหานคร หรือ กทม.

รถไฟฟ้าทั้งสองสาย เป็นของ รฟม.ซึ่งได้ลงทุนก่อสร้างงานโยธาไปมากแล้ว โดยเฉพาะสายแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 13 กิโลเมตร การก่อสร้างเกือบเสร็จแล้ว มีกำหนดเปิดใช้งานประมาณสิ้นปีนี้ ใช้งบประมาณไปทั้งหมด 21,000 ล้านบาท และปัจจุบันได้เปิดใช้งานสถานีสำโรงซึ่งเป็นสถานีแรกของเส้นทางนี้ โดย กทม.จ่ายค่าเช่ารางให้ รฟม.เดือนละ 2 ล้านบาท

สำหรับสายหมอชิต-คูคต ระยะทาง 19 กิโลเมตร เริ่มก่อสร้างกลางปี 2558 คาดว่าจะแล้วเสร็จเปิดใช้งานได้ต้นปี 2562 ใช้เงินลงทุน 40,000 ล้านบาท

รถไฟฟ้าทั้งสองสายเป็นส่วนต่อขยายเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร หรือบีทีเอสของ กทม. กทม.จึงต้องการเป็นผู้บริหารจัดการทั้งสองสายนี้ด้วย เพื่อให้เป็นระบบเดียวกัน เดิมมติ ครม.ปี 2551 ให้ กทม.เป็นผู้ลงทุน และบริหาร แต่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยกลับมีมติเมื่อปี 2554 ดึงสองโครงการนี้ไปให้ รฟม.ดูแล

ถึงยุค คสช. กทม.สมัยที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ยังเป็นผู้ว่าฯ กทม.อยู่ เสนอเรื่องนี้ผ่านกระทรวงมหาดไทย ขอให้ ครม.ดึงรถไฟฟ้าทั้งสองสายมาให้ กทม.บริหารเป็นผลสำเร็จ แต่มีเงื่อนไขว่า กทม.จะต้องจ่ายเงินค่าก่อสร้างระบบงานโยธา รวมสองสาย 60,000 ล้านบาทคืนให้ รฟม.ก่อน รฟม.จึงจะโอนกรรมสิทธิ์ให้ โดยขอให้จ่ายค่าก่อสร้างสายแบริ่ง-สมุทรปราการ 21,000 ล้านบาทก่อน เพราะก่อสร้างเกือบเสร็จแล้ว โดยนัดจะโอนกรรมสิทธิ์กันในวันที่ 1 เมษายนปีที่แล้ว

ก่อนจะถึงวันนั้น ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ถูกพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. และนายกรัฐมนตรีใช้มาตรา 44 ปลดจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559 โดยแต่งตั้งพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง เป็นผู้ว่าฯ กทม.แทน

ผู้ว่าฯ อัศวิน บอกว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผู้บริหารชุดก่อนทำไว้ โดยไม่มีแผนว่าจะใช้งบประมาณจากไหน กทม.ไม่มีเงิน 20,000 ล้านบาท ไปจ่ายคืนให้ รฟม.จะขอชำระให้ 13 ปีข้างหน้าคือ หลังปี 2473 เมื่อสัมปทานบีทีเอสหมดอายุลง กทม.จะได้เป็นเจ้าของรถไฟฟ้ามหานครทั้งระบบ มีรายได้ที่จะมาจ่ายหนี้ รฟม.

ขณะเดียวกัน กทม.ก็เสนอว่า อยากจะให้รัฐบาลเป็นผู้จ่ายเงินค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งสองเส้นแทน เพราะ กทม.ไม่มีเงิน แต่รัฐบาลปฏิเสธ เพราะทั้งสองโครงการเป็นของรัฐบาลท้องถิ่นไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบที่รัฐบาลจะไปจ่ายเงินลงทุนให้

ตุลาคมปีที่แล้ว กระทรวงคมนาคมขอให้ กทม.รายงานฐานะการเงินเพื่อจะได้รู้ว่า กทม.มีทรัพย์สิน มีหนี้สิน มีภาระค่าใช้จ่ายเท่าไร จะได้ประเมินดูว่าที่ กทม.บอกว่าไม่มีเงินนั้น จริงไหม ถ้าจะให้รัฐบาลช่วยออกเงินจะต้องช่วยทั้งหมด 60,000 ล้านบาท หรือช่วยบางส่วนก็พอ

การประชุมคณะกรรมการติดตามการแก้ปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่มีนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคมเป็นประธาน ตัวแทนจาก กทม.ยังคงยืนยันว่า ไม่มีเงินจ่าย จะขอให้รัฐบาลจ่ายให้

แต่เมื่อถูกทวงถามข้อมูลฐานะการเงิน เพื่อดูว่าที่ กทม.บอกว่าไม่มีเงินนั้นจริงหรือไม่ ตัวแทน กทม.บอกว่าไม่มี ยังไม่ได้ทำ และขอเวลากลับไปรวบรวมข้อมูลใหม่

ในขณะที่ฝ่าย รฟม.อยากจะได้ข้อยุติโดยเร็ว เพราะการก่อสร้างงานโยธาเกือบเสร็จแล้ว จะต้องดำเนินการหาผู้ลงทุนวางระบบอาณัติสัญญาณ และเดินรถซึ่งต้องใช้เวลา หาก กทม.ยังยื้อจะบริหารการเดินรถเอง แต่ไม่ยอมจ่ายหนี้ รฟม.จะทำให้ไม่สามารถเปิดใช้งานได้แม้จะก่อสร้างเสร็จแล้ว เพราะยังไม่มีระบบ ไม่มีผู้เดินรถ เหมือนรถไฟฟ้าสีแดง ช่วงบางซื่อ ตลิ่งชัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งสร้างเสร็จแต่ทิ้งไว้เฉยๆ 5 ปีแล้ว

รถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ อาจจะอยู่ในสภาพเช่นนั้นคือ สร้างเสร็จแล้ว แต่ยังใช้ไม่ได้ เพราะ กทม.ยังต้องการเป็นเจ้าของอยู่ แต่ไม่ยอมจ่ายค่าลงทุนคืนให้ รฟม. ขณะที่ รฟม.พร้อมที่จะรับกลับไปทำเอง

ปัญหาของ กทม.นั้น น่าจะอยู่ที่ไม่มีผู้นำที่กล้าตัดสินใจว่าจะเอาอย่างไร พล.ต.อ.อัศวิน ผู้ว่าฯ กทม.มีความชัดเจนว่า ลอยตัวไม่ยุ่งกับเรื่องนี้ เพราะเป็นผู้ว่าฯ กทม.ที่มาโดยคำสั่ง คสช.และอีกไม่นาน ก็จะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.แล้ว เรื่องอะไรจะเอามือไปซุกหีบ

หรือว่าจะต้องอาศัยมาตรา 44 ช่วยคลี่คลายผ่าทางตันให้รถไฟฟ้าสายสีเขียวแบริ่ง-สมุทรปราการ วิ่งได้สะดวก[/url]
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/01/2018 2:44 am    Post subject: Reply with quote

“ไพรินทร์” เร่ง กทม.รับหนี้สายสีเขียว ประเมินรายได้ ร่วมลงทุนค่าโครงสร้าง
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 5 มกราคม 2561 - 06:26:00
ปรับปรุง: 5 มกราคม 2561 - 13:07:00



“ไพรินทร์” นั่งหัวโต๊ะ เร่ง กทม.เคลียร์ปมหนี้โครงสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว 6 หมื่นล้าน สั่งทำตัวเลขการเงินใหม่ หลัง กทม.ประเมินมีรายได้ต่ำโดยขอรัฐอุดหนุน 100% ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ยันท้องถิ่นต้องรับภาระงานโครงสร้างด้วย นัดหารืออีกครั้งสัปดาห์หน้า ขณะที่ กทม.ควรรับภาระไม่น้อยกว่า 20% ด้าน รฟม.ยันแผนสำรองพร้อมเปิด PPP เจรจาตรงบีทีเอส เดินรถ ธ.ค. 61

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงาน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ครั้งที่ 1/2561 โดยมีนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร เป็นประธานนั้น ได้ติดตามการดำเนินงานในการให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) เดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และสีเขียวใต้ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่ให้กระทรวงคมนาคม, รฟม., กทม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) พิจารณาสัดส่วนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของ กทม.ซึ่งมีมูลค่างานโยธาและค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินรวมกันทั้ง 2 สาย ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท

โดยที่ประชุมได้เร่งรัดให้ กทม.ประเมินตัวเลขการเงินใหม่ โดยการประมาณการรายได้ของ กทม. และรายได้ของโครงการสายสีเขียว และให้เสนอการประชุมครั้งต่อไปวันที่ 11 ม.ค. 2561 เพื่อประกอบการพิจารณาในการกำหนดสัดส่วนที่เหมาะสมในการลงทุนของ กทม. และที่รัฐจะอุดหนุน โดยทั้ง สศช., สำนักงบ, สบน.จะได้มีข้อมูลและรายละเอียดที่เพียงพอสำหรับการพิจารณา เนื่องจากตัวเลขที่ กทม.เสนอมานั้น ยังมีรายละเอียดไม่เพียงพอในการพิจารณา

ทั้งนี้ เบื้องต้น กทม.เสนอให้รัฐบาลอุดหนุนการลงทุนงานโยธาโครงสร้างพื้นฐานทั้ง 100% ซึ่งไม่เหมาะสม เพราะจะเป็นตัวอย่างกับท้องถิ่นอื่น เพราะรัฐบาลมีนโยบายในการให้ท้องถิ่นร่วมลงทุนในงานโยธาด้วย ดังนั้น ทาง กทม.จะต้องไปทำตัวเลขฐานะทางการเงินและสัดส่วนที่จะลงทุนงานโยธาที่เหมาะสม และ รมช.คมนาคม ได้เร่งรัดให้ กทม.ทำตัวเลขให้ครบถ้วน และนำเสนอต่อที่ประชุมในสัปดาห์หน้า เพื่อเร่งพิจารณาให้ได้ข้อยุติ เนื่องจากตามกำหนดจะต้องเปิดเดินรถสายสีเขียวใต้ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ในปลายปี 2561

นอกจากนี้ยังได้แจ้งให้ กทม.ทราบถึงแนวทางสำรองกรณีที่ กทม.ล่าช้า ซึ่ง รฟม.ได้เสนอแผนมายังกระทรวงคมนาคมแล้ว โดย รฟม.ดำเนินการเดินรถรูปแบบ PPP ซึ่งจะเจรจากับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส โดยตรง

“คณะกรรมการกำกับดูแลฯ มีผู้แทนของสภาพัฒน์, สำนักงบประมาณ, สบน.อยู่ด้วย และต้องการเห็นตัวเลขฐานะทางการเงินของ กทม. เพื่อประกอบการพิจารณาว่ารัฐบาลจะอุดหนุนค่าลงทุนโยธาในสัดส่วนเท่าใด ซึ่งข้อมูลที่ กทม.ทำมานั้นยังตัดสินใจไม่ได้”

รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลฯ ระบุว่า หลังจาก คจร.มีมติให้โอนการเดินรถสายสีเขียวให้ กทม.เมื่อเดือน มี.ค. 2559 จนมีการลงนามใน MOU และเจรจาเรื่องโอนหนี้และให้ กทม.ทำรายละเอียดฐานะการเงิน เพื่อส่งให้คณะกรรมการพิจารณาตั้งแต่เดือน พ.ย. 2560 แต่ไม่มีความคืบหน้า ทำให้ ทั้ง สศช. สำนักงาน สบน.ไม่สามารถพิจารณาสัดส่วนที่เหมาะสมของภาครัฐที่จะอุดหนุนการลงทุนค่าโครงสร้างพื้นฐานได้ โดยตัวเลขที่ กทม.ทำมานั้น นอกจากไม่ชัดเจนแล้วยังประเมินผลประกอบการที่ค่อนข้างต่ำเพื่อให้รัฐอุดหนุน 100% ซึ่งเห็นว่า กทม.ประเมินเฉพาะสีเขียวต่อขยาย ขณะที่ควรประเมินทั้งโครงการที่รวมทั้งสายสีเขียวที่ให้บริการแล้วด้วย เพราะส่วนหัวและท้ายที่ต่อขยายออกมาจะส่งต่อผู้โดยสารเข้าระบบปัจจุบัน ซึ่งประเมินเบื้องต้น กทม. ควรรับภาระการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไม่ต่ำกว่า 20%

อย่างไรก็ตาม จะต้องเร่งสรุปภายในเดือน ม.ค. 2561 เพราะทาง กทม.จะต้องเสนอสภา กทม.ขออนุมัติอีก ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร แต่หาก กทม.ไม่สามารถรับภาระได้ ควรให้ รฟม.ดำเนินการเองซึ่งตามขั้นตอน PPP จะใช้เวลา 1 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/01/2018 9:33 pm    Post subject: Reply with quote

กทม.เสียงอ่อนยอมรับหนี้สายสีเขียว “ไพรินทร์”ยันเป้าธ.ค.61 เปิดเดินรถ ห้ามเอาประชาชนเป็นตัวประกัน
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 11 มกราคม 2561 - 18:41:00

โอนเดินรถสีเขียว ยังไม่จบ กทม.เริ่มเสียงตก ยอมรับหนี้โครงสร้างพื้นฐาน 100% หลัง คมนาคม-คลัง ยืนกรานพร้อมงัดแผนสำรอง รฟม.พร้อมเดินรถเอง เผยกระแสเงินสด สายสีเขียวไม่มีความเสี่ยง เหตุก่อสร้างเสร็จแล้วเหลือแต่เตรียมเดินรถ รายได้โครงการเลี้ยงตัวเองได้ สั่งทำแผนชำระหนี้คืนคลัง ”ไพรินทร์” ลั่น ตัวเลขชัดเจน อาทิตย์ต้องยุติ เป้าเปิดเดินรถธ.ค. 61 อย่าเอาประชาชนเป็นตัวประกัน

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลัง ประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงาน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว วันที่ 11 ม.ค. ว่า ทางกรุงเทพมหานคร(กทม.) ได้ทำตัวเลขกระแสเงินสด (Cash Flow ) โครงการ ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้ง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง ช่วยกันซักถามและตรวจสอบรายละเอียดตัวเลข ซึ่งเบื้องต้นเข้าใจตรงกันแล้ว โดยนัดประชุมอีกครั้งในสัปดาห์หน้าเพื่อตัดสินใจ

“กทม.ได้นำเสนอข้อมูล ตัวเลข Cash Flow ต่างๆ ซึ่งตอนนี้ ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันแล้ว ตรวจสอบร่วมกันและเชื่อมั่นในตัวเลขที่กทม.ทำมา ซึ่งเป็นครั้งแรกที่กทม.ทำตัวเลขมาให้ดู เพื่อตัดสินใจในสัปดาห์หน้า หลักการมี 2 แนวทาง คือ ให้กทม.รับบริหารการเดินรถ หากรับหนี้ไม่ได้ จะให้ ทาง รฟม.ดูแลการเดินรถเหมือนเดิม โดยเสนอ คจร.ทบทวนมติ เชื่อว่าสัปดาห์หน้าจะได้ข้อยุติ”นายไพรินทร์กล่าว

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า หลักการในการให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และสีเขียวใต้ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ คือ กทม.จะต้องรับภาระหนี้สินด้านโครงสร้างงานโยธาไปทั้งหมด ซึ่งขณะนี้ กระแสเงินสดที่กทม.ทำมาและที่ได้มีการศึกษาในส่วนของรัฐเอง พบว่า การที่กทม.จะเดินรถโครงการสายสีเขียวเป็นโครงการไม่มีความเสี่ยงเพราะมีการก่อสร้างเสร็จแล้ว ข้อกฎหมายไม่มีประเด็น ไม่ต้องเวนคืนแล้ว เหลือเพียงการเตรียมด้านการเดินรถ สถานะการเงินของโครงการน่าจะเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ โครงการสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง ในระยะยาว

ทั้งนี้ ภาครัฐยืนยันว่า กทม.จะต้องรับภาระหนี้ไปทั้งหมด จากที่ก่อนหน้านี้ กทม.เสนอขอให้รัฐรับภาระค่าลงทุนงานโยธาทั้ง 100% ซึ่งล่าสุด กทม.ยอมรับภาระค่าลงทุนงานโครงสร้างแล้ว โดยขอให้รัฐพิจารณาสัดส่วนที่เหมาะสม ซึ่งที่ประชุมให้กทม.ไปทำรายละเอียดการชำระหนี้ค่าโครงสร้างพื้นฐานนำเสนออีกครั้ง ว่ามีการชำระหนี้คืนเงินค่าโครงสร้างพื้นฐาน เงื่อนไขสัดส่วนและระยะเวลา

อย่างไรก็ตาม กทม.จะต้องไปหารือกับผู้บริหารกทม.และข้อสรุปทั้งหมด กทม.จะต้องเสนอต่อสภาพกทม.เพื่อขออนุมัติ ซึ่งหากสภากทม.ไม่เห็นด้วย ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เสนอแผนสำรองพร้อมรับเดินรถเองมาแล้ว โดยมีเป้าหมายเปิดเดินรถสายสีเขียวใต้ในเดือนธ.ค. 2561 ตามแผนงาน ซึ่งรมช.คมนาคมได้ย้ำในที่ประชุมแล้ว จะต้องไม่ยืดเยื้อ และเอาประชาชนเป็นตัวประกันไม่ได้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/01/2018 10:47 am    Post subject: Reply with quote

ชาวบ้านโอดอยากนั่งรถไฟฟ้าสีเขียวจะแย่ มึน “รฟม.-กทม.” มัวทะเลาะกันไม่ยอมเลิก
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 12 ม.ค. 2561 08:53

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมเพื่อหาข้อสรุปเรื่องการโอนหนี้สินและทรัพย์สิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 32 กิโลเมตร วงเงิน 60,815.54 ล้านบาท ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) ว่า ทาง กทม.ได้มานำเสนอข้อมูลฐานะทางการเงิน ทั้งด้านรายรับ รายจ่าย และประมาณการและรายได้ในอนาคตให้ที่ประชุมรับทราบ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ทุกหน่วยงานทั้ง รฟม. สำนักงบประมาณ รับได้และเข้าใจตรงกัน โดยวันที่ 18 ม.ค.จะนัด กทม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือเป็นครั้งสุดท้าย เพื่อตัดสินใจ

ด้านนายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นควรให้ กทม. รับภาระหนี้สินการโอนรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายทั้ง 100% หรือ 60,815.54 ล้านบาท เพราะจากตัวเลขแนวโน้มรายได้ที่ กทม.นำเสนอครั้งนี้เห็นว่าเป็นโครงการที่มีผลตอบแทนที่ดี ไม่ขาดทุน และไม่เสี่ยง เนื่องจากก่อสร้างงานโยธาสร้างเสร็จแล้ว โดย กทม. จะต้องกลับไปหารือกับ สภา กทม. ว่าจะเอาอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ต้องได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์หน้า เพื่อให้เปิดเดินรถส่วนต่อขยาย ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ให้ทันในเดือน ธ.ค.61 อย่างไรก็ตาม หาก กทม. ตัดสินใจไม่ได้ รฟม.ก็พร้อมที่จะเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวเอง ซึ่งขณะนี้ได้ทำแผนสำรองเรื่องเดินรถไว้แล้ว.

----

ความก้าวหน้าการก่อสร้างรถไฟฟ้า ณ 31 ธันวาคม 2560

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/01/2018 9:39 pm    Post subject: Reply with quote

กทม.ขอปลอดหนี้10ปี ผ่อนปี’73 ปลดแอก 6 หมื่นล้าน รถไฟฟ้าสายสีเขียว-รฟม.ลุยปิดถนนสร้างส้ม-ชมพู-เหลือง
วันที่ 16 มกราคม 2561 - 18:23 น.
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย ”ประชาชาติธุรกิจ” ว่า วันที่ 17 ม.ค.2561 กระทรวงคมนาคม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะประชุมร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) เร่งสรุปการรับโอนหนี้สินค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าต่อขยายสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 13 กม. และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 19 กม. วงเงิน 60,860 ล้านบาท ตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เมื่อปี 2559 ให้โอนโครงการให้ กทม.เป็นผู้บริหาร

เพื่อให้การเดินรถของสายสีเขียวเชื่อมต่อกันทั้งโครงข่าย โดยนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมสั่งเจรจา กทม.ให้จบในเดือน ม.ค.นี้ เพื่อให้ไม่กระทบต่อการเปิดเดินรถช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการในเดือน ธ.ค.2561

“แนวโน้ม กทม.จะยอมรับภาระหนี้ แต่ขอให้รัฐรับภาระค่าเวนคืน 2 เส้นทาง วงเงิน 9,262 ล้านบาท จากเดิมขอให้รัฐรับภาระค่าก่อสร้างโยธาและกทม.จะรับภาระค่างานระบบกว่า 2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น กทม.จะขอกระทรวงการคลังปลอดหนี้ 10 ปี จะชำระคืนในปี 2573 หลังสัญญาสัมปทานกับบีทีเอสสิ้นสุดในปี 2572 ซึ่งทรัพย์สินและรายได้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสจะเป็นของกทม.ทั้งหมด และโครงการจะเริ่มมีรายได้ชำระหนี้ได้”

แหล่งข่าวจาก กทม.กล่าวว่า กทมขอชำระหนี้ปี 2573 เป็นต้นไป แบ่งชำระเป็นรายปี เนื่องจากสัมปทานที่บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี) จะสิ้นสุดปี 2572 และทรัพย์สินจะตกเป็นของ กทม.สามารถนำโครงการระดมทุนจากกองทุนอินฟราสตรัคเจอร์ ออกพันธบัตร หรือขอกู้จากสถาบันการเงินเพื่อนำเงินมาชำระหนี้คืนได้

กทม.คาดการณ์ว่าตั้งแต่ปี 2572-2585 จะมีปริมาณผู้โดยสารจำนวนมาก โดยประเมินว่าจะมีรายได้ 3 แสนล้านบาท เมื่อหักค่าจ้างบีทีเอสเดินรถ 30 ปี วงเงินกว่า 1.64 แสนล้านบาท ยังมีเงินเหลือจะชำระหนี้ให้กระทรวงการคลังได้ เนื่องจากปัจจุบันกทม.ยังไม่เงินก้อนจะชำระหนี้

นายฤทธิกา สุภารัตน์ รองผู้ว่าฝ่ายบริหารและรักษาการผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า จากความไม่ชัดเจนการรับโอนหนี้สินกับกทม. ทำให้ รฟม.ชะลอการเดินหน้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 2 ช่วง จากสมุทรปราการ-บางปู ระยะทาง 7 กม. วงเงิน 9,529 ล้านบาท และคูคต-ลำลูกกา ระยะทาง 6.5 กม. วงเงิน 9,236 ล้านบาท ออกไปก่อน หาก กทม.ยอมชำระหนี้ก็จะยกโครงการ 2 ช่วงนี้ให้ กทม.ดำเนินการเอง

สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้างสายสีส้มศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทาง 21.2 กม. ขณะนี้ผู้รับเหมาทยอยเข้าพื้นที่เพื่อรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคในแนวถนนรามคำแหงและพระราม 9 โดยวันที่ 17 ม.ค. จะปิดการจราจรขาออกสะพานยกระดับรามคำแหง 30 เดือน และสะพานแยกลำสาลี 6 เดือน จะเริ่มงานก่อสร้างเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป และจะแล้วเสร็จปี 2566

ส่วนสายสีชมพูแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. และสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. ปัจจุบันทยอยส่งมอบพื้นที่และปิดการจราจรบนถนนติวานนท์ แจ้งวัฒนะ และรามอินทราของสายสีชมพูแล้ว ส่วนสายสีเหลืองจะเริ่มทยอยปิดการจราจรบนถนนลาดพร้าวตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค.นี้ และในเดือน ก.พ.จะปิดการจราจรฝั่งขาเข้าตลอดถนนลาดพร้าว ส่วนถนนศรีนครินทร์รอการส่งมอบพื้นที่จากกรมทางหลวง (ทล.)
ผลจากการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า ทำให้การเริ่มนับสัญญาสัมปทานกับกลุ่มบีทีเอสซีเอกชนผู้ลงทุนเลื่อนจากเดือน ก.พ.เป็นเดือน เม.ย.2561 เนื่องจากรอสรุปการส่งมอบพื้นที่จากกรมทางหลวงและเอกชนผู้ลงทุนยังออกแบบไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากทั้ง 2 โครงการใช้รูปแบบก่อสร้างไปและออกแบบไป ตามสัญญาจะตามแผนจะใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน แล้วเสร็จเปิดให้บริการในปี 2564

ทั้งนี้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนในพื้นที่ รฟม.กำลังพิจารณาจะนำรถเมล์ ขสมก.และเรือคลองแสนแสบเป็นฟีดเดอร์รับส่งประชาชน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/01/2018 8:23 pm    Post subject: Reply with quote

กทม.ขอรัฐยกเว้นหนี้สีเขียวช่วง 10 ปีแรก อ้างรายได้ยังต่ำ-เริ่มใช้คืนหลังปี 72
เผยแพร่: 17 ม.ค. 2561 17:28:00 ปรับปรุง: 17 ม.ค. 2561 18:12:00 โดย: MGR Online

กทม.ยอมรับหนี้ลงทุนสายสีเขียว 100% พ่วงเงื่อนไขขอปลอดหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย 10 ปีแรก โดยจะเริ่มชำระคืนหลังปี 72 เป็นต้นไป หลังประเมินรายได้ยังไม่มากเพียงพอ ด้าน สบน.เร่งพิจารณาประเด็นข้อกฎหมาย คาดสรุปในปลายเดือน ม.ค.นี้ก่อนชง ครม. พร้อมแจ้ง กทม.หากสภา กทม.ไม่เห็นชอบ รฟม.พร้อมเดินรถเอง

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงาน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยมีนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานว่า ทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ยอมรับในการรับภาระหนี้สินในค่าก่อสร้างโครงสร้างงานโยธาพร้อมดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นทั้งหมดแล้ว โดยเสนอขอให้รัฐยกเว้นการชำระคืนหนี้สินและดอกเบี้ยในช่วง 10 ปีแรก เนื่องจากรายได้จากโครงการยังไม่เพียงพอ โดยจะขอชำระคืนในปีที่ 11 หรือหลังปี 2572 เป็นต้นไป ซึ่งที่ประชุมรับทราบในหลักการร่วมกัน

ส่วนกรณีที่ กทม.ขอให้รัฐบาลช่วยอุดหนุนในบางส่วนเพื่อให้สามารถดำเนินโครงการได้นั้น ที่ประชุมจึงมอบให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) พิจารณาในรายละเอียด เนื่องจากเกี่ยวข้องกับประเด็นกฎระเบียบ และข้อกฎหมายในการจัดหาเงินกู้หรือค้ำประกันเงินกู้ให้แก่หน่วยงานท้องถิ่น โดยให้สรุปเสนอที่ประชุมอีกครั้งในช่วงปลายเดือน ม.ค.นี้ จากนั้นทาง กทม.จะนำเสนอสภา กทม.ซึ่งผู้แทน กทม.มั่นใจว่าจะได้รับความเห็นชอบจากสภา กทม. ในขณะเดียวกัน เตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาและจะได้มีการลงนามในการให้ กทม.เดินรถและรับภาระหนี้สินอย่างเป็นทางการ แต่ทั้งนี้ หากสภา กทม.มีปัญหาไม่อนุมัติจะนำแผนสำรองมาใช้ทันที โดยให้ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริหารการเดินรถเอง เพื่อให้สามารถเปิดเดินรถได้ในเดือน ธ.ค. 2561

สำหรับค่าลงทุนรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ รวมทั้งสิ้น 84,517.72 ล้านบาท (ค่าโครงสร้างพื้นฐาน 60,815.72 ล้านบาท ค่างานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและรถไฟฟ้า 23,702 ล้านบาท) โดยช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต งานโครงสร้างพื้นฐาน วงเงิน 39,730.25 ล้านบาท และงานติดตั้งระบบเดินรถ 14,807 ล้านบาท, ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ค่างานโครงสร้างพื้นฐานวงเงิน 21,085.47 ล้านบาท งานติดตั้งระบบเดินรถ 8,895 ล้านบาท

รายงานข่าวแจ้งว่า กทม.ยอมรับภาระค่าลงทุนทั้งหมดรวมถึงดอกเบี้ย ขณะที่ก่อนหน้านี้ รฟม.ได้ชำระคืนคลังในส่วนของค่างานโยธา สายสีเขียวใต้ ไปแล้วประมาณ 3,500 ล้านบาท และอีก 50 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์และค่าที่ปรึกษาที่ รฟม.ใช้รายได้มาดำเนินการ ดังนั้น กทม.จะต้องชำระคืน รฟม.ใน 2 ส่วนนี้ ส่วนยอดหนี้ค่างานโยธาสีเขียวใต้จะเหลือประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/01/2018 7:28 am    Post subject: Reply with quote

"กทม." ยอมรับหนี้ รถไฟฟ้าสีเขียว
Nation TV 18 มกราคม 2561 10:10

กรุงเทพมหานคร ยอมรับหนี้การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว วอนรัฐเว้นชำระหนี้และดอกเบี้ยช่วง 10 ปีแรก.....

ปลัดกระทรวงคมนาคม ชาติชาย ทิพย์สุนาวี บอกว่า จากการประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงาน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ด้านกรุงเทพมหานคร ยอมรับภาระหนี้สินในค่าก่อสร้างโครงสร้างงานโยธาพร้อมดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นทั้งหมดแล้ว โดยได้เสนอขอให้รัฐยกเว้นการชำระคืนหนี้สินและดอกเบี้ยในช่วง 10 ปีแรกและเริ่มชำระคืนหนี้และดอกเบี้ยหลังปี 2572 เพราะรายได้จากโครงการยังไม่เพียงพอ

ทั้งนี้ กทม.ขอให้รัฐช่วยอุดหนุนในบางส่วน เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการได้ จึงมอบให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) พิจารณาในรายละเอียด เพราะเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย โดยให้เวลาหารือกันอีกประมาณ 1 สัปดาห์ และให้สรุปเสนอที่ประชุมอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/01/2018 7:31 am    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

[url=]รถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือฯเริ่มทยอยคืนผิวจราจรบนถนนพหลโยธิน[/url]
ฐานเศรษฐกิจ 18 January 2018

รถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือฯ เริ่มทยอยคืนผิวจราจรบนถนนพหลโยธิน เพื่ออำนวยความสะดวกและเป็นทางเลี่ยงในการเดินทางให้แก่ประชาชน

Click on the image for full size

ปัจจุบัน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต มีความคืบหน้าการดำเนินงานก่อสร้างภาพรวมประมาณร้อยละ 55 ซึ่งเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ โครงการฯ ได้ดำเนินการคืนผิวจราจรบนถนนพหลโยธินในบริเวณพื้นที่ก่อสร้างที่ผู้รับจ้างได้ก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้าและมีการติดตั้งผนังกันตก (Parapet) แล้ว เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนและเป็นการแบ่งเบาการจราจรบนถนนรามอินทรา ทำให้ประชาชนสามารถใช้เป็นทางเลี่ยงรถติดได้ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่ให้หน่วยงานเร่งรัดการก่อสร้างและคืนพื้นผิวจราจรเพื่อเป็นทางเลี่ยงให้แก่การก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย คือ

Click on the image for full size

สายสีชมพูช่วงมีนบุรี-แคราย สายสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง และสายสีส้มตะวันออกช่วง ศูนย์วัฒนธรรมฯ -มีนบุรี โดยขณะนี้ โครงการฯ ได้ดำเนินการคืนผิวจราจรบนถนนพหลโยธินในบริเวณพื้นที่ก่อสร้างโครงการฯ สัญญาที่ 1 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ แล้ว ได้แก่ ช่วงบริเวณคลองบางบัว-วงเวียนหลักสี่ ได้ทำการคืนพื้นผิวจราจรทั้งฝั่งขาเข้าและขาออก ฝั่งละ 1 ช่องทาง (ชิดเกาะกลาง) ระยะทางรวมประมาณ 1.6 กม. บริเวณวงเวียนหลักสี่-ถ.รัตนโกสินทร์สมโภช คืนพื้นผิวจราจรทั้งฝั่งขาเข้าและขาออก ฝั่งละ 1 ช่องทาง (ชิดเกาะกลาง) ระยะทางรวมประมาณ 630 ม. และบริเวณ ถ. รัตนโกสินทร์สมโภช-ตลาดยิ่งเจริญ คืนพื้นผิวจราจร ฝั่งขาเข้า 1 ช่องทาง (ชิดเกาะกลาง) ระยะทางประมาณ 470 ม. ทั้งนี้ มีกำหนดจะทยอยคืนแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2561

สำหรับพื้นที่ก่อสร้างสัญญาที่ 2 ช่วงสะพานใหม่-คูคต จะเริ่มทยอยคืนพื้นผิวจราจรในเดือนเมษายน 2561 โดยเริ่มจากบริเวณสถานีโรงพยาบาลภูมิพล-สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ และมีกำหนดจะทยอยคืนผิวจราจรจนครบถ้วนทั้งสัญญาในเดือนธันวาคม 2561

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/01/2018 8:25 pm    Post subject: Reply with quote

กทม.ยกธงขาวพร้อมรับโอนหนี้สายสีเขียว 100%
18 มกราคม 2561 เวลา 09:25 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 48, 49, 50 ... 100, 101, 102  Next
Page 49 of 102

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©