Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179740
ทั้งหมด:13490972
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 170, 171, 172 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/01/2018 4:30 pm    Post subject: Reply with quote

มหกรรมลงทุนแห่งปี 2561 ลุย 44 เมกะโปรเจ็กต์ 2 ล้านล้าน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 2 มกราคม 2561 - 11:26 น.

“รัฐบาลทหาร” ต้องแข่งกับเวลา กระทรวงคมนาคมต้องแข่งกับตัวเอง เพื่อผลักดันโครงการใหญ่ให้เป็นจริงแผนปฏิบัติเร่งด่วนปี 2559-2561 มี 51 โครงการ มูลค่า 2.39 ล้านล้านบาท ถ้าสำเร็จจีดีพีจะทะลุ 4%

“อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประกาศว่า ปี 2561 จะเป็นปีที่แผนเร่งด่วนเปิดประมูลและขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อเริ่มโครงการและส่งต่อให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการแผนลงทุนมีโครงการต่อเนื่องปี 2559-2560 จำนวน 43 โครงการ วงเงิน 2.29 ล้านล้านบาท โครงการใหม่ปี 2561 จำนวน 8 โครงการ วงเงิน 103,285 ล้านบาท รวม 51 โครงการ มูลค่าลงทุน 2.39 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นยุทธศาสตร์คมนาคมขนส่งปี 2558-2565 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

แม้ “คมนาคม” อยากเทกระจาดโครงการยักษ์ให้หมด แต่ด้วยข้อจำกัดและได้รับโจทย์จาก “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” มือเศรษฐกิจรัฐบาล คสช. ขอให้จัดลำดับโครงการก่อนหลัง โดยให้ความสำคัญกับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็นลำดับแรก เพื่อเปิดประมูลให้จบในปี 2561

Click on the image for full size

ทำให้ “สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” ต้องรีวิวโครงการใหม่จาก 51 โครงการ เหลือ 44 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 1.9 ล้านล้านบาท เช่น ทางคู่สายใต้รวบจาก 3 โครงการ นครปฐม-หัวหิน, หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร เป็นโครงการนครปฐม-ชุมพร 422 กม. ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ (พญาไท-ดอนเมือง) และรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง รวบเป็นโครงการเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)

และตัดบางโครงการออกจากบัญชี เช่น สายสีเขียวคูคต-ลำลูกกา และสมุทรปราการ-บางปู เนื่องจากเคลียร์หนี้ 6 หมื่นล้านบาทจากการโอนทรัพย์สินของสายสีเขียว แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-คูคต ให้กับ “กรุงเทพมหานคร” ยังไม่ลงตัว

ส่วนรายละเอียด 44 โครงการ แยกเป็นกลุ่มโครงการคณะกรรมการ PPP เห็นชอบ หรือ ครม.อนุมัติได้ภายในปี 2561 จำนวน 21 โครงการ ได้แก่ ทางด่วนกะทู้-ป่าตอง ศูนย์ขนส่งชายแดนนครพนม ซื้อรถเมล์ไฟฟ้า 35 คัน มอเตอร์เวย์ 3 สาย มีนครปฐม-ชะอำ, หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ และกรุงเทพฯ-มหาชัย

ส่วนต่อขยายโทลล์เวย์ช่วงรังสิต-บางปะอิน รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก และกรุงเทพฯ-หัวหิน สายสีแดง บางซื่อ-หัวหมากและบางซื่อ-หัวลำโพง สายสีม่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ โมโนเรล จ.ภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา และขอนแก่น พัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ท่าเรือบก จ.ขอนแก่น และศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน

อีก 23 โครงการเป็นกลุ่มโครงการประกวดราคาแล้วเสร็จ หรือเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2561 ได้แก่ จุดจอดพักรถบรรทุก จ.บุรีรัมย์ และขอนแก่น ทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนตะวันตก ทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วงเกษตร-นวมินทร์-วงแหวนตะวันออก

ทางคู่นครปฐม-ชุมพร, ลพบุรี-ปากน้ำโพ, มาบกะเบา-จิระ และทางคู่เฟส 2 มีปากน้ำโพ-เด่นชัย, จิระ-อุบลราชธานี, ขอนแก่น-หนองคาย, ชุมพร-สุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา, เด่นชัย-เชียงใหม่ และทางคู่สายใหม่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และบ้านไผ่-นครพนม

รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สายสีแดงช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต สายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และตลิ่งชัน-ศิริราช สายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม โครงการก่อสร้างลานจอดและระบบไฟฟ้าสนามบินกระบี่ ขยายอาคารผู้โดยสารสนามบินขอนแก่นและพัฒนาระบบตั๋วร่วม

เรื่องคิวเปิดประมูล “อาคม” ย้ำว่า ต้นปี 2561 จะเปิดประมูลทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนตะวันตก รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ สีแดง ศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา สีส้มศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เปิดยื่นข้อเสนอ ก.พ. ประกาศผู้ได้รับคัดเลือกเดือน พ.ค. เซ็นสัญญาเดือน ส.ค. 2561

ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 จะเปิดประมูลกลางปี และเซ็นสัญญาสิ้นปี 2561 รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ผ่านการอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว กำลังเสนอบอร์ด PPP สายกรุงเทพฯ-โคราช เริ่มสร้างแล้วที่สถานีกลางดง-ปางอโศก 3.5 กม. ที่เหลือจะประมูลให้เสร็จในปี 2561 ส่วนรถไฟทางคู่เฟส 2 และทางคู่ 9 เส้นทางสายใหม่ เสนอ ครม.ในเดือน ก.พ.-มี.ค.นี้

ส่วนโครงการที่ไม่อยู่ในแผนเร่งด่วน จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP fast track คือบำรุงรักษามอเตอร์เวย์ 30 ปี สายบางปะอิน-โคราช ระยะทาง 196 กม. แบ่งเป็นค่าก่อสร้างด่านและระบบ 15,611 ล้านบาท ค่าบำรุงรักษา 18,962 ล้านบาท และบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กม. ค่าก่อสร้าง 12,636 ล้านบาท และค่าบำรุงรักษา 19,558 ล้านบาท

ปี 2561 จึงต้องลุยกันต่อกับเมกะโปรเจ็กต์ที่ผลักดันกันมานานหลายยุคหลายรัฐบาล
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/01/2018 12:55 pm    Post subject: Reply with quote

8โซนมาแรงแนวรถไฟฟ้าปี61(1)
ฐานเศรษฐกิจ 2 January 2018

ตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานครยังคงขยายตัวต่อเนื่องต่อไปในปี 2561 โดยคาดว่าการเปิดขายโครงการคอนโดมิเนียมใหม่ในปี 2561 จะอยู่ในอัตราที่ไม่ได้แตกต่างจากปี 2560 เท่าใดนัก นั่นคือ จะมีไม่น้อยกว่า 65,000 หน่วย กระจายกันไปในแต่ละพื้นที่ทั่วกรุงเทพมหานคร ด้วยอิทธิพลของเส้นทางรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างและจะเริ่มการก่อสร้างในปีต่อไป โดยทำเลเด่นที่น่าสนใจก็เช่น

++1. พื้นที่เมืองชั้นใน (สุขุมวิท ซอย 1-63)
แม้ว่าราคาที่ดินในทำเลนี้จะมีราคาสูงมาก บางแปลงซื้อขายกันเกิน 2 ล้านบาทต่อตร.ว.ไปแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงมีโครงการเปิดขายใหม่ต่อเนื่องเช่นกัน และราคาขายก็มากขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน ราคาขายเฉลี่ยของโครงการในทำเลนี้ไม่ตํ่ากว่า 2 แสนบาทต่อตร.ม.ไปแล้ว และมีหลายโครงการที่เปิดขายในราคาไม่ตํ่ากว่า 3 แสนบาทต่อตร.ม. เนื่องจากราคาที่ดินที่สูงขึ้น แม้ว่ากำลังซื้อของคนไทยจะไม่มากพอที่จะรองรับคอนโดมิเนียมระดับราคานี้ แต่ผู้ประกอบการก็มีผู้ซื้อต่างชาติที่เข้ามาซื้อโครงการระดับนี้ เพียงแต่ผู้ซื้อหลักยังคงเป็นคนไทย ปีหน้าทำเลนี้ยังคงเป็นทำเลที่มีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ต่อเนื่อง และหลายโครงการก็เป็นที่จับตามองเช่นกัน เพียงแต่จำนวนโครงการอาจจะไม่มากเทียบเท่าเมื่อในอดีตเท่านั้น

++2. แนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงบางอ้อ-ปิ่นเกล้า
พื้นที่ช่วงนี้มีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ต่อเนื่องมาได้ประมาณ 2 ปีแล้ว ตั้งแต่การก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้ามีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ผู้ประกอบการหลายรายเข้าไปซื้อที่ดินและเปิดขายโครงการกันต่อเนื่อง อีกทั้งมีอีกหลายรายที่กำลังจะเปิดขายโครงการใหม่ในปีต่อไป เพราะมีการซื้อที่ดินหรือว่าวางเงินจองไปแล้วนั่นเอง รอแค่เวลาที่เหมาะสมเท่านั้น อีกทั้งราคาที่ดินในพื้นที่นี้ก็มากขึ้นทุกปีตามความคืบหน้าของการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้า
ราคาขายเฉลี่ยคอนโดมิเนียมที่เปิดขายอยู่ในปัจจุบันก็อยู่ที่มากกว่า 9.6 หมื่นบาทต่อตร.ม.ไปแล้ว เพราะหลายโครงการที่เปิดขายในช่วงที่ผ่านมามีราคาขายมากกว่า 1 แสนบาทต่อตร.ม. ราคาที่ดินก็มากกว่า 3 แสนบาทต่อตร.ว. ปรับเพิ่มขึ้น 2 เท่าในเวลาไม่นาน

++3. แนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงปิ่นเกล้า-ท่าพระ
ทำเลในช่วงนี้มีศักยภาพและแนวโน้มการขยายตัวที่ชัดเจนในอนาคต เพราะเส้นทางรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างและมีกำหนดแล้วเสร็จที่แน่นอน อีกทั้งในทำเลนี้ก็มีศูนย์การค้าหรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ที่ช่วยให้การใช้ชีวิตในทำเลนี้สะดวกมากขึ้น อีกทั้งการมีสถานีร่วมของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีนํ้าเงิน 2 เส้นทางตรงแยกท่าพระ ก็เป็นอีกปัจจัยสนับสนุน เพียงแต่ทำเลนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากเทียบเท่าพื้นที่ทางตอนเหนือของแยกปิ่นเกล้าเพราะปัจจุบันไม่มีที่ดินว่างเปล่าเหลือให้พัฒนาโครงการแล้ว ต้องซื้ออาคารพาณิชย์ที่เปิดกิจการมายาวนานมากกว่า 20 ปี มารวมเป็นแปลงใหญ่เพื่อพัฒนาโครงการ ดังนั้นจึงอาจจะไม่น่าสนใจเทียบเท่าพื้นที่ตอนเหนือที่กล่าวไปแล้ว

++4. แนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงถนนเพชรเกษม
พื้นที่ตามแนวถนนเพชรเกษมเป็นอีกทำเลที่เริ่มมีโครงการคอนโดมิเนียมใหม่ๆ เปิดขายในช่วงที่ผ่านมาแต่ไม่ได้คึกคักตลอดเส้นทาง ผู้ประกอบการให้ความสนใจเปิดขายโครงการใหม่ในบางทำเลนั้น โดยเฉพาะทำเลรอบๆ ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ มหาวิทยาลัย หรือไม่ไกลจากสถานีบางหว้า เป็นทำเลที่ผู้ประกอบการให้ความสนใจในช่วงที่ผ่านมา

คอนโดมิเนียมที่เปิดขายในทำเลนี้ส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดใหญ่ บางโครงการมีจำนวนหน่วยมากกว่า 1,000 หน่วย มีราคาขายเฉลี่ยที่ประมาณ 7.6 หมื่นบาทต่อตร.ม. แม้จะมีหลายโครงการที่มีราคาขายเริ่มต้นมากกว่าราคาขายเฉลี่ยของทำเล แต่ส่วนใหญ่ยังขายกันในราคาไม่สูงมากนัก เพราะว่าศักยภาพและราคาที่ดินที่ยังไม่สูงเกินไป เมื่อเทียบกับพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าอื่นๆ แต่เมื่อใกล้กำหนดเปิดให้บริการของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีนํ้าเงินเชื่อว่าจะมีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่มากขึ้น

(อ่านต่อฉบับหน้า)

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,327 วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 - 3 มกราคม พ.ศ. 2561

----

8ทำเลมาแรงแนวรถไฟฟ้าปี61(จบ)
ฐานเศรษฐกิจ 4 January 2018

ในฉบับก่อนหน้าได้กล่าวถึงพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากเส้นทางรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างและจะเริ่มก่อสร้างในปีต่อไป ซึ่งผู้ประกอบการยังคงให้ความสำคัญในการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม โดยนำร่องไปแล้ว 4 ทำเล ในฉบับนี้จะกล่าวถึงพื้นที่อีก 4 ทำเลเด่นที่เหลือมีดังนี้

++5. แนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวห้าแยกลาดพร้าว-เกษตรศาสตร์
ทำเลยอดนิยมและเด่นมากในปี 2560 เพราะพื้นที่ตามแนวถนนพหลโยธินและซอยย่อยต่างๆ ในช่วงนี้มีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายกันมากที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา และยังมีที่ดินอีกหลายแปลงที่ผู้ประกอบการซื้อไปแล้ว เพียงแต่รอเวลาเปิดขายโครงการเท่านั้นเอง อีกทั้งยังมีที่ดินหลายแปลงที่อยู่ในระหว่างการเจรจาซื้อขายกัน คอนโดมิเนียมเปิดขายสะสมในทำเลนี้มากกว่า 10,000 หน่วยไปแล้ว และโครงการส่วนใหญ่ก็ได้รับความสนใจจากผู้ซื้อไม่น้อย แม้ว่าเพิ่งเปิดขายในปีนี้ก็ตาม เพราะว่าทำเลนี้เป็นอีกหนึ่งทำเลที่มีศักยภาพสูง ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพราะมีสถานศึกษาทุกระดับชั้น ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ โรงพยาบาล อีกทั้งเส้นทางรถไฟฟ้าก็อยู่ระหว่างการก่อสร้างและมีกำหนดแล้วเสร็จอีกไม่กี่ปีข้างหน้า นอกจากนี้ยังมีโครงการขนาดใหญ่ของเอกชนและรัฐบาล ที่อยู่ในระหว่างการเตรียมตัวพัฒนา ทั้งที่อยู่ในทำเลนี้และทำเลข้างเคียง

++6. แนวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
ปัจจุบันเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีความชัดเจน และเริ่มเห็นความคืบหน้าในการก่อสร้างบ้างแล้วจึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ตลอดทั้ง 2 ฝั่งของเส้นทาง แต่การเปลี่ยนแปลงอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นรวดเร็วและตลอดทั้งเส้นทาง เพราะรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเป็นรถไฟฟ้ารางเบา และพื้นที่ตลอดแนวเส้นทางก็เป็นอาคารพาณิชย์ มีการพัฒนาเต็มพื้นที่มานานแล้ว อีกทั้งทำเลที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงก็อาจจะอยู่ในทำเลที่เป็นชุมชนไม่ไกลจากศูนย์การค้า จุดตัดเส้นทางรถไฟฟ้าต่างๆ

โครงการคอนโดมิเนียมใหม่ที่เปิดขายตามแนวถนนลาดพร้าวในช่วงที่ผ่านมามักจะอยู่ในซอยที่แยกออกจากถนนลาดพร้าวทั้งสิ้น ราคาขายเฉลี่ยของคอนโดมิเนียมจึงไม่ได้สูงเท่าใดนัก อยู่ที่ประมาณ 6.7 หมื่นบาทต่อตร.ม. ตํ่ากว่าโครงการที่อยู่ในแนวถนนศรีนครินทร์ ที่มีราคาขายเฉลี่ยที่ประมาณ 7.5 หมื่นบาทต่อตร.ม.

++7. แนวรถไฟฟ้าสายสีชมพู
เป็นรถไฟฟ้าอีกเส้นทางที่จะเริ่มชัดเจนปีนี้ แม้ในปี 2560 จะมีความคืบหน้าแบบชัดเจนที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา แต่เส้นทางสายสีชมพูเป็นเส้นทางรถไฟฟ้ารางเบารูปแบบเดียวกับสายสีเหลือง และตัดผ่านพื้นที่ที่เป็นชุมชนดั้งเดิมมีการพัฒนามาต่อเนื่องหลายปีแล้วเช่นกัน ทำให้การเปลี่ยนแปลงอาจจะมองเห็นได้ไม่มากนักในช่วงแรก แต่เชื่อว่าเป็นอีกทำเลที่จะมีการเปลี่ยนแปลงหลังจากเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูเกิดขึ้น

ที่ผ่านมามีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ไม่มากนัก และเป็นโครงการที่อยู่ในซอยหรือถนนสายรองที่แยกออกจากถนนรามอินทรา โดยคอนโดมิเนียมที่เปิดอยู่ในตอนนี้มีราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6.4 หมื่นบาทต่อตร.ม. อาจจะเป็นเพราะว่าทำเลนี้อยู่ไกลจากพื้นที่เมืองชั้นใน และมีโครงการบ้านจัดสรรอยู่เป็นจำนวนมาก การจะเปิดขายโครงการราคาแพงก็อาจจะต้องแข่งขันกับบ้านจัดสรรที่อยู่ในซอยหรือไกลออกจากถนนรามอินทรา

++8. แนวรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้
เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้นั้นตัดผ่านพื้นที่เมืองชั้นในในส่วนที่เป็นพื้นที่อนุรักษ์หรือมีข้อจำกัดในการพัฒนาที่ค่อนข้างมาก ดังนั้นทำเลที่โดดเด่นของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้นั้นอาจจะเริ่มตั้งแต่ช่วงที่ข้ามแม่นํ้าเจ้าพระยามาแล้วในฝั่งธนบุรี เพราะว่าเป็นทำเลที่ราคาที่ดินไม่สูงมาก ข้อจำกัดในการพัฒนาไม่มีผลต่อการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่หรืออาคารสูง โดยทำเลที่โดดเด่นนั้นอาจจะอยู่รอบๆ สถานีวงเวียนใหญ่ที่เป็นจุดเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟฟ้า ช่วงสยาม-บางหว้า และพื้นที่ตามแนวถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินต่อเนื่องด้วยถนนสุขสวัสดิ์ และถนนราษฎร์บูรณะ ที่วิ่งคู่ขนานกับถนนสุขสวัสดิ์และแม่นํ้าเจ้าพระยา แม้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจะมีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายหลายโครงการ แต่ก็ไม่ได้ต่อเนื่องกัน คาดการณ์ได้เลยว่าเมื่อเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้นั้นเริ่มการก่อสร้างจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเส้นทางนี้แน่นอน บ้านเก่าๆ หรือว่าโรงงานอุตสาห-กรรม โกดังต่างๆ ที่เริ่มได้รับความนิยมลดลง ก็อาจจะมีการเปลี่ยนมือหรือบอกขาย

ทำเลต่างๆ ที่กล่าวถึง จำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าต่างๆ เป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนให้ทำเลนั้นมีความโดดเด่นขึ้นมาในอนาคต ยกเว้นพื้นที่เมืองชั้นในที่มีความโดดเด่นอยู่แล้ว ทำเลต่างๆ เหล่านี้จะยิ่งมีความน่าสนใจมากขึ้น เมื่อการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้ามีความคืบหน้าและใกล้กำหนดแล้วเสร็จมากขึ้น เพราะผู้ประกอบการสามารถเปิดขายโครงการที่มีราคาขายสูงขึ้นได้นั่นเอง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,328 วันที่ 4 - 6 มกราคม พ.ศ. 2561

----

ผ่าแผนระบบรางปี’61 ‘ทางคู่-ไฮสปีด-รถไฟฟ้า’
มติชนออนไลน์ วันที่ 6 มกราคม 2561 - 17:58 น.

ที่มา หน้า 2 มติชนรายวัน
เผยแพร่ วันที่ 6 มกราคม 2561

หมายเหตุ – กระทรวงคมนาคมเดินหน้าโครงการระบบรางภายใต้แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง พ.ศ.2559 หรือแอ๊กชั่นแพลน ระยะที่ 1 และแอ๊กชั่นแพลน ระยะที่ 2 ปี 2560 ได้สำเร็จจนสามารถลงนามในสัญญา และก่อสร้างหลายโครงการ ดังนั้นในปี 2561 จึงเป็นปีแห่งการสานต่อโครงการต่างๆ ให้เดินหน้าตามแอ๊กชั่นแพลนที่กำหนดไว้

โครงการระบบรางภายใต้แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง แอ๊กชั่นแพลน ระยะที่ 1 และแอ๊กชั่นแพลน ระยะที่ 2 ปี 2560 ได้สำเร็จจนสามารถลงนามในสัญญาและก่อสร้างหลายโครงการไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ระยะทาง 23 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 7.92 หมื่นล้านบาท ซึ่งปัจจุบันงานก่อสร้างคืบหน้าแล้ว 3.97% ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงินลงทุน 46,643 ล้านบาท และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. วงเงินลงทุน 45,797 ล้านบาท อยู่ระหว่างรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคเพื่อลงมือก่อสร้างแล้ว

นอกจากนี้ ยังมี รถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง 702 กม. รวม 9 สัญญา มูลค่า 69,531 ล้านบาท ก็สามารถลงนามในสัญญาได้เมื่อวันที่ 28 ธันวาคมที่ผ่านมา คือ 1.ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 136 กม. แบ่งเป็น สัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร วงเงิน 7,560 ล้านบาท และสัญญาที่ 3 งานอุโมงค์รถไฟ วงเงิน 9,290 ล้านบาท 2.ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 168 กม. แบ่งเป็น สัญญาที่ 1 ช่วงประจวบคีรีขันธ์-บางสะพานน้อย วงเงิน 6,465 ล้านบาท และสัญญาที่ 2 ช่วงบางสะพานน้อย-ชุมพร วงเงิน 5,992 ล้านบาท 3.ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 169 กม. แบ่งเป็น สัญญาที่ 1 ช่วงนครปฐม-หนองปลาไหล วงเงิน 8,198 ล้านบาท และสัญญาที่ 2 ช่วงหนองปลาไหล-หัวหิน วงเงิน 7,520 ล้านบาท 4.ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 145 กม. แบ่งเป็น สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านกลับ-โคกกระเทียม วงเงิน 10,050 ล้านบาท และสัญญาที่ 2 ท่าแค-ปากน้ำโพ วงเงิน 8,649 ล้านบาท และ 5.ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 84 กม. วงเงิน 5,807 ล้านบาท โดยทั้งหมดจะเริ่มก่อสร้างช่วงไตรมาส 1 ปี 2561 เพื่อให้แล้วเสร็จตามแผนงานภายในปลายปี 2565

ขณะเดียวกันก็มี รถไฟไทย-จีน หรือ รถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.3 กม. วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ที่ได้ลงมือก่อสร้างตอนที่ 1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.ไป เมื่อวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา ส่วนที่เหลืออีก 3 ตอน คือ ตอนที่ 2 ช่วงปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กม. ตอนที่ 3 ช่วงแก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กม. และตอนที่ 4 ช่วงแก่งคอย-บางซื่อ ระยะทาง 119 กม. ได้แบ่งประกวดราคาออกเป็น 13 สัญญา จะดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี 2561 เช่น ตอนที่ 2 ช่วงปากช่อง-คลองขนานจิตร์ จะเปิดประมูลได้ภายในไตรมาสที่ 1 เป็นต้น ตั้งเป้าหมายเปิดบริการปี 2564

ส่วนการดำเนินงานระยะที่ 2 จากนคราชสีมา-หนองคายจะดำเนินการต่อเนื่องจากระยะที่ 1 ในปี 2561 โดยไทยจะเป็นผู้ดำเนินการเอง จะใช้ผลการศึกษาและแบบการก่อสร้างที่ รฟท.เป็นผู้ดำเนินการนำเสนอ ครม.อนุมัติ ซึ่งการก่อสร้างในระยะที่ 2 กระทรวงคมนาคมยืนยันว่าไม่มีอะไรยุ่งยากเหมือนระยะที่ 1 เนื่องจากสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ไม่มีภูเขา

สำหรับปี 2561 นี้ การก่อสร้างเมกะโปรเจ็กต์ทางรางที่ต้องเดินหน้าต่อยังมีอีกหลายโครงการเช่นเดียวกัน ทั้งที่อยู่ภายใต้แอ๊กชั่นแพลน ระยะที่ 1 และแอ๊กชั่นแพลน ระยะที่ 2 ที่จะต้องเดินหน้าต่อเนื่อง

เริ่มจากรถไฟทางคู่อีก 9 เส้นทาง วงเงินรวม 398,383.25 ล้านบาทของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) คือ
1.ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 23,384.91 ล้านบาท
2.ช่วงสุราษฎร์ธานี-สงขลา ระยะทาง 339 กม. วงเงิน 51,823.83 ล้านบาท
3.ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กม. วงเงิน 7,941.80 ล้านบาท
4.ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กม. วงเงิน 56,066.25 ล้านบาท
5.ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 217 กม. วงเงิน 59,924.24 ล้านบาท
6.ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กม. วงเงิน 76,978.82 ล้านบาท
7.ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กม. วงเงิน 26,065.75 ล้านบาท
8.ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กม. วงเงิน 35,839.74 ล้านบาท และ
9.ช่วงบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 60,351.91 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะทยอยนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติได้ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมนี้

โดยในบรรดารถไฟทางคู่ทั้งหมดนี้มี 2 เส้นทางที่เป็นรถไฟสายใหม่ คือ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และช่วงบ้านไผ่-นครพนม ซึ่งช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ได้ศึกษามาตั้งแต่ปี 2503 จนถึงตอนนี้ก็ประมาณ 57 ปีแล้วที่ประชาชนในพื้นที่รอคอยที่จะใช้บริการ ขณะที่ช่วงบ้านไผ่-นครพนม ก็เป็นเส้นทางสายใหม่เช่นเดียวกัน ได้ศึกษาตั้งแต่ปี 2537 ตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ที่พยายามผลักดันให้มีรถไฟทางคู่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ขนส่งสินค้า และพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่

ยังมี ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าอีกหลายเส้นทาง คือ สายสีม่วง (ด้านใต้) ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กม. วงเงิน 101,112 ล้านบาท ซึ่งตามแผนงานจะได้ตัวผู้ชนะประมูลในเดือนกันยายน และเริ่มก่อสร้างปลายปี 2561 และ สายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-บางขุนนนท์ ระยะทาง 12.9 กม. วงเงิน 111,186 ล้านบาท

รถไฟชานเมืองอีก 2 เส้นทาง คือ สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) ระยะทาง 10 กม. วงเงิน 7,596 ล้านบาท สายสีแดงอ่อน ส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 20 กม. วงเงิน 19,042.13 ล้านบาท รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งก์ ส่วนต่อขยายช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 21.8 กม. วงเงิน 31,149.35 ล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงคูคต-ลำลูกกา ระยะทาง 7 กม. เงินลงทุน 11,989 ล้านบาท ช่วงสมุทรปราการ-บางปู ระยะทาง 7 กม. เงินลงทุน 13,701 ล้านบาท และสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑล สาย 4 ระยะทาง 7 กม. วงเงิน 17,262 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/01/2018 11:27 am    Post subject: Reply with quote

เปิดค่าแรกเข้ารถไฟฟ้าหลากสี BTS จี้รัฐเคาะค่าโดยสารร่วม วิน-วิน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 9 มกราคม 2561 - 08:00 น.

Click on the image for full size

น่าสนใจไม่น้อยเมื่อเจ้าพ่อบีทีเอส “คีรี กาญจนพาสน์” ตั้งคำถามถึงบิ๊กคมนาคม “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” ถึงความชัดเจนการกำหนดค่าแรกเข้าของรถไฟฟ้าสารพัดสีสารพัดสายที่จะเปิดบริการในปี 2563 เป็นต้นไป

ไม่ว่าสายสีเขียวต่อขยายแบริ่ง-สมุทรปราการและหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต สายสีชมพูแคราย-มีนบุรี สายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง สายสีน้ำเงินต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค สายสีแดงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิตและสายสีส้มศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี

หากผู้ใช้บริการหลายสายจะต้องจ่ายค่าเดินทางแพงขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ “บิ๊กบีทีเอส” ต้องการให้รัฐคอนเซียส(ตระหนัก) ได้แล้ว เรื่องค่าโดยสารร่วมรถไฟฟ้าแต่ละสาย ตอนนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ซึ่งบีทีเอสก็พร้อมที่เข้าร่วม แต่รัฐจะต้องช่วยซับซิดี้ค่าโดยสารให้เอกชนบ้าง

“ปี 2563 รถไฟฟ้าสายใหม่จะเปิดอีกหลายสาย สีเขียว น้ำเงิน แดง ชมพู เหลือง โครงข่ายการเดินทางจะสมบูรณ์ ซึ่งบีทีเอสที่เรารับสัมปทานกับ กทม.จะอยู่ตรงกลาง มีสายอื่นวิ่งเข้ามาเชื่อม หากใช้สายหนึ่งต่อไปอีกสายหนึ่ง จะต้องมีค่าแรกเข้าหรือไม่ ถ้ามีเบ็ดเสร็จแล้วค่าโดยสารจะแพงมาก รัฐก็ยังไม่มีการหารือ แต่ผมเริ่มเป็นห่วง เมื่อคนใช้รถไฟฟ้าสีต่าง ๆ ค่าแรกเข้าควรจะเท่าไหร่ บอกว่าจะมีระบบตั๋วร่วมแล้วไง ลดค่าแรกเข้าหรือเปล่า ถ้าลดแล้วรัฐจะซับซิดี้ให้ยังไง จะต้องรู้แล้ว”




ล่าสุด “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำลังดำเนินการระบบตั๋วร่วมแมงมุม คาดว่าเดือน ต.ค.นี้จะสามารถนำมาใช้บริการกับรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีม่วง(เตาปูน-คลองบางไผ่) และแอร์พอร์ตลิงก์ เป็นรูปแบบบัตรใบเดียวใช้ได้ทั้ง 4 ระบบหรือระบบตั๋วต่อ

“ส่วนค่าโดยสารร่วม เช่น จ่ายค่าแรกเข้าครั้งเดียว จะต้องพิจารณารายละเอียด ซึ่ง สนข.ต้องไปศึกษาแต่ละสัญญามีเงื่อนไขกันยังไงบ้าง จะต้องซับซิดี้ให้เอกชนหรือไม่ ก็ยังไม่สามารถตอบได้ ขอดูรายละเอียดและการศึกษาก่อน”

นายฤทธิกา สุภารัตน์ รองผู้ว่าการและรักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า การพิจารณาค่าแรกเข้าในการใช้รถไฟฟ้าร่วมหลายระบบจะเป็นสเต็ปต่อจากที่ใช้บัตรแมงมุมใบเดียวใช้บริการรถไฟฟ้า 4 สายแล้ว เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวพันกับสัญญาสัมปทานเดิมที่ทั้ง บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC)และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)ดำเนินการอยู่ ทั้งนี้จะต้องพิจารณาว่าเมื่อรัฐให้ลดค่าแรกเข้า มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นแล้วรายได้เอกชนลดลงหรือเท่าเดิม

“ถ้าเท่าเดิมรัฐก็ไม่ต้องรับภาระให้ การที่ รฟม.รับภาระให้ BEM ในส่วนค่าแรกเข้า 14 บาทของสายสีน้ำเงินหลังเชื่อมต่อกับสายสีม่วงที่สถานีเตาปูน เพราะ BEM ยึดตามสัญญา ส่วนสีชมพูกับสีเหลืองในสัญญาสัมปทานที่ทำไว้กับ BTS กำหนดค่าแรกเข้าแล้ว 14 บาท”

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การที่ภาครัฐยังไม่เชิญ BEM ที่รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจาก รฟม. และ BTSC ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) มาเจรจาถึงแนวทางการกำหนดค่าแรกรถไฟฟ้า เนื่องจากรัฐไม่อยากจะอุดหนุนส่วนต่างให้กับเอกชน เพราะยังไงเอกชนจะต้องให้รัฐซับซิดี้ให้ เพราะเป็นการแก้สิ่งที่นอกเหนือจากสัญญาสัมปทาน

สิ่งที่รัฐทำได้คือต้องรอให้สัมปทานของรถไฟฟ้าใต้ดินและบีทีเอสหมดก่อนถึงจะมาเริ่มหาข้อสรุปร่วมกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐที่จะต้องการลดค่าใช้จ่ายให้ประชาชนหรือไม่ ถ้าต้องการก็ต้องรับภาระส่วนต่างตรงนี้ไป เฉลี่ยประมาณ 100 ล้านบาทต่อเดือน

“ปัจจุบันรัฐโดย รฟม.ก็รับภาระค่าแรกเข้าของรถไฟฟ้าใต้ดินหลังมีการเชื่อมต่อกับสายสีม่วง ซึ่งสายสีน้ำเงินรัฐเป็นผู้ลงทุนงานโยธาให้ จะต่างจากบีทีเอสที่เอกชนลงทุนเองทั้งหมด ซึ่งเข้าใจว่าเอกชนคงจะมีคำถามว่า ทำไมสายสีน้ำเงินยังรับค่าใช้จ่ายให้ แล้วการที่รถไฟฟ้าสายใหม่มาเชื่อมกับบีทีเอส หากจะลดราคาแล้วทำไมรัฐจะรับภาระไม่ได้” แหล่งข่าวกล่าวและว่า รัฐสามารถกำหนดค่าแรกเข้าในรถไฟฟ้าสายใหม่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ รฟม. ได้แก่ สายสีน้ำเงิน สีม่วง สีชมพู สีเหลือง และสีส้ม ที่กำหนดไม่ได้คือสายสีเขียว ส่วนสายสีแดงอยู่ที่นโยบายจะดึงเข้าร่วมด้วยหรือไม่

สำหรับสายสีเขียวที่มีการสร้างส่วนต่อขยายจากแบริ่ง-สมุทรปราการและหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต มาเชื่อมกับส่วนต่อขยายของ กทม.และส่วนที่เป็นสัมปทานของบีทีเอส ยังเป็นที่กังวลหากไม่มีการลดค่าแรกเข้า และโครงการอยู่ในความรับผิดชอบของ รฟม.จะต้องเสียค่าโดยสาร 3 ต่อ คือ จ่ายบีทีเอส กทม.และ รฟม. แต่หากอยู่ในความดูแลของ กทม.จะจ่าย 2 ครั้ง คือ บีทีเอสและ กทม. แต่ กทม.ต้องรื้อค่าโดยสารส่วนต่อขยายใหม่ทั้งหมด เนื่องจากระยะทางเพิ่มขึ้น

ด้าน “สุรพงษ์ เลาหะอัญญา” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บีทีเอสซี กล่าวย้ำว่า พร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐจัดทำระบบตั๋วร่วมเต็มที่ เพราะได้ร่วมมือกับรัฐมาตั้งแต่ต้นและเป็นรายแรกในการเซ็น MOU หรือบันทึกความร่วมมือกับรัฐเพื่อพัฒนาระบบตั๋วร่วม ซึ่งบริษัทได้พยายามจะให้บัตรตั๋วร่วมสามารถใช้ร่วมกับบัตรแรบบิทได้

อีก 3 ปีข้างหน้า เมื่อมีส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าออกไปหลายสายถ้าเป็นสายสีเขียวด้วยกันจะไม่มีค่าแรกเข้า แต่หากเข้าไปใช้ในระบบสายสีอื่น ๆ จะมีค่าแรกเข้า เช่น สายสีชมพู สีเหลือง สีน้ำเงิน ซึ่งตรงนี้บริษัทพร้อมที่จะหารือร่วมกับทุกฝ่ายและภาครัฐเรื่องค่าแรกเข้าเพื่อให้เกิดความพอดี และประชาชนไม่เดือดร้อนให้ win win ทั้ง 3 ฝ่าย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 09/01/2018 8:52 pm    Post subject: Reply with quote

'ทำใจ'15ม.ค.สร้างรถไฟฟ้าพร้อมกัน3สาย
เศรษฐกิจ
Webmaster
9 มกราคม 2561 - 18:47:00

เมื่อวันที่9ม.ค.พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล(รองบช.น.เปิดเผยว่า ตนได้เรียกการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)เข้าหารือรายละเอียดการเตรียมการดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลากสีขณะนี้ได้แก่

1.โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี

2.รถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงมีนบุรี-แคราย

3.รถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง

ซึ่งในวันที่15ม.ค.กรุงเทพมหานคร(กทม.) รฟม. จะจัดงานแถลงข่าวการมอบพื้นก่อสร้างในส่วนความดูแลของกทม. ให้รฟม.สามารถเข้าพื้นที่ดำเนินการได้อย่างเป็นทางการ ส่วนการก่อสร้างดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการเข้าพื้นที่อย่างเต็มรูปแบบ ทั้ง3 สาย ตั้งวันที่15ม.ค.เป็นต้นไป ทาง บช.น. จึงมีความเป็นห่วงการเดินทางของประชานที่จะต้งได้รับผลกระทบ ร่วมถึงจุดก่อสร้างที่เป็นจุดอ่อนไหวเช่นในถนนรามคำแหง พระรามเก้า ลาดพร้าว รามอินทรา ซึ่งเป็นถนนมีจราจรบนท้องถนนสูง ดังนั้นการแก้ไขปัญหาจราจรในแต่จุดต้องดูที่กายภาพและขอบเขตการก่อสร้างเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรได้ตรง เช่น การปาดเกาะ ขยายช่องจราจร จัดทำรีเวสเลน ในบางช่วงของถนนเพื่อเป็นการระบายรถซึ่งประเด็นนั้นต้องมีการหารืออย่างละเอียด
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/01/2018 7:34 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
'ทำใจ'15ม.ค.สร้างรถไฟฟ้าพร้อมกัน3สาย
เศรษฐกิจ
Webmaster
9 มกราคม 2561 - 18:47:00

15 ม.ค.ลุย รถไฟฟ้า 3 สายลงพื้นที่ก่อสร้างครบ
เดลินิวส์ อังคารที่ 9 มกราคม 2561 เวลา 18.47 น.

15 ม.ค.เป็นต้นไป ลงพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าครบ3สี ตร.แนะรฟม. เร่งจัดหาชัตเติ้ลบัสบริการ เหลื่อมเวลาคนเข้างาน ลดปัญหาจราจรจร 

เมื่อวันที่9ม.ค.พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล(รองบช.น.เปิดเผยว่า ตนได้เรียกการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)เข้าหารือรายละเอียดการเตรียมการดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลากสีขณะนี้ได้แก่
1.โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี
2.รถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงมีนบุรี-แคราย
3.รถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง

ซึ่งในวันที่15ม.ค.กรุงเทพมหานคร(กทม.) รฟม. จะจัดงานแถลงข่าวการมอบพื้นก่อสร้างในส่วนความดูแลของกทม. ให้รฟม.สามารถเข้าพื้นที่ดำเนินการได้อย่างเป็นทางการ ส่วนการก่อสร้างดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการเข้าพื้นที่อย่างเต็มรูปแบบ ทั้ง3 สาย ตั้งวันที่15ม.ค.เป็นต้นไป ทาง บช.น. จึงมีความเป็นห่วงการเดินทางของประชานที่จะต้งได้รับผลกระทบ ร่วมถึงจุดก่อสร้างที่เป็นจุดอ่อนไหวเช่นในถนนรามคำแหง พระรามเก้า ลาดพร้าว รามอินทรา ซึ่งเป็นถนนมีจราจรบนท้องถนนสูง ดังนั้นการแก้ไขปัญหาจราจรในแต่จุดต้องดูที่กายภาพและขอบเขตการก่อสร้างเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรได้ตรง เช่น การปาดเกาะ ขยายช่องจราจร จัดทำรีเวสเลน ในบางช่วงของถนนเพื่อเป็นการระบายรถซึ่งประเด็นนั้นต้องมีการหารืออย่างละเอียด 

พล.ต.ต.จิรพัฒน์กล่าวต่อว่าทั้งนี้ตนได้เสนอให้รฟม.เร่งดำเนินการหารือกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.)ในการจัดรถชัตเติ้ลบัสรับส่งประชาชนไปยังสถานีรถไฟฟ้าที่ใกล้ที่สุดในถนนมีรถมากเช่น ถนนลาดพร้าว เพื่อรถจำนวนรถบนท้องถนนให้น้อยลง พร้อมเสนอให้รฟม.หารือกับบริษัทใหญ่ในถนนที่มีการก่อสร้างเพื่อพิจารณาการเหลื่อมเวลาเข้างานให้ออกไป เพื่อไม่ให้มีการกระจุกตัวของรถยนต์ในช่วงโมงเร่งด่วนซึ่งทางรฟม.รับปากที่จะไปดำเนินการแล้ว ซึ่งหากไม่ทำแบบนี้ปัญหาจราจรหนักแน่เพราะถนนตั้งแต่ช่วงกทม.ตะวันออก-ตะวันออกเฉียงเหนือต้องสะดุดเพราะทุกเส้นมีการก่อสร้างเกือบทั้งหมดแล้ว หมดทางเลี่ยงรถติด 


ทั้งนี้สำแผนการการก่อสร้างของรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกซึ่งขณะนี้มีการก่อสร้างไปได้สักระยะแล้ว ตั้งแต่วันที่12ม.ค.เป็นต้นไป จะทยอยปิดช่องจราจรเพิ่ม 24ชม. จุดที่1 โรงเรียนเตรียมน้อมฯ-สัมมากร ระยะทาง 10กม. ปิดชิดเกาะกลาง1 ช่องจราจรทั้งขาเข้าและขาออก  วันที่13 ม.ค. สัมมากรเพลส-ห้างพาซิโอ ระยะทาง 350 เมตร ปิดชิดเกาะกลาง 1 ช่องจราจรทั้งขาเข้าและขาออก ,บริเวณแยกบ้านม้า-ศูนย์ฝึกอบรมฮอนด้า ระยะทาง150เมตร  ปิดชิดเกาะกลาง 1 ช่องจราจรทั้งขาเข้าและขาออก 15ม.ค. เดอะมอล์รามคำแหง ฝั่งขาออก ปิดชิดทางเท้า 200 เมตร  19ม.ค. ตั้งแต่จุดกลับรถหน้าห้ามพาซิโอ-ศูนย์ฝึกอบรมฮอนด้า ระยะทาง200เมตร, บริเวณแยกมิสทีน-สะพานข้ามแยกบัวขาว ระยะทาง 2กม. ปิดชิดเกาะกลาง 1 ช่องจราจรทั้งขาเข้าและขาออก 

สำหรับสายสีเหลืองจะเริ่มดำเนินการรื้อย้ายสาธารณูปโภค โดยจะเริ่มในวันที่15ม.ค. 2 จุด จุดแรกบริเวณปากซอยลาดพร้าว 136-128 ระยะทาง 200เมตร  ปิดชิดเกาะกลาง 1 ช่องจราจรฝั่งขาเข้า  จุดที่2 บริเวณ ซอยลาดพร้าว 45-23 ฝั่งขาเข้า ปิดชิดเกาะกลาง 1 ช่องจราจร.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/01/2018 8:30 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.รุกสื่อทุกรูปแบบ มุ่งส่งเสริมใช้ขนส่งสาธารณะแทนรถยนต์ส่วนตัว
เผยแพร่: 11 ม.ค. 2561 20:02:00 โดย: MGR Online

Click on the image for full size

คมนาคม- สนข. สร้างมิติใหม่ ส่งเสริมให้ประชาชนเปลี่ยนทัศนคติใช้ระบบขนส่งสาธารณะเดินทางแทนรถส่วนตัว เผยแผนแม่บท รถไฟฟ้า 10 สาย ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 5 เส้นทาง 110 กม. มี 79 สถานี ผู้ใช้บริการเฉลี่ยวันละกว่า 1.04 ล้านคน-เที่ยว และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานพิธีเปิด "กิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนปรับเปลี่ยนทัศนคติในการเดินทางโดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะ" บริเวณทางเชื่อมต่อสถานีพญาไท ระหว่างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งค์ กับรถไฟฟ้าบีทีเอส เมื่อวันที่ 11 ม.ค. โดยมีผู้บริหารกระทรวงคมนาคม นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ผู้บริหารบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ร่วม

ทั้งนี้ กระทรวงฯ มีนโยบายในการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทนการใช้ยานพาหนะส่วนตัว เพื่อลดการใช้พลังงานในภาคการขนส่ง ลดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และลดปัญหาอุบัติเหตุทางถนน โดยมุ่งหวังและวางเป้าหมายสำหรับอนาคตในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยการพัฒนาระบบการเดินทางสำหรับทุกคนอย่างแท้จริง ตามเป้าหมายที่ว่า Better Access, Better Service, Better Transport, Better Life for All. ซึ่งกระทรวงฯ ได้เร่งรัดผลักดันโครงการสำคัญต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ การพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าสายหลักและสายรอง จำนวน 10 เส้นทาง ระยะทางรวม 464 กิโลเมตร โครงการจัดทำระบบจอดแล้วจร และการพัฒนาระบบตั๋วร่วม

โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สนข. ได้มุ่งเน้นการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อให้เป็นระบบหลักในการเดินทางของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และในปัจจุบันประเทศไทยมีระบบรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว จำนวน 5 เส้นทาง ระยะทางรวม 110 กม. จำนวนสถานี 79 สถานี ได้แก่ สายสีเขียวเข้ม สีเขียวอ่อน สีน้ำเงิน สีม่วง และสาย แอร์พอร์ตเรลลิงก์ ซึ่งมีประชาชนใช้บริการเฉลี่ยรวมประมาณวันละ 1,040,000 คน-เที่ยว และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ในจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ แทนการใช้ยานพาหนะส่วนตัว โดยจัดกิจกรรมขึ้นในรูปแบบของขบวนรณรงค์เชิงรุกในลักษณะการเดินขบวนประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เข้าถึงประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าให้หันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งได้จัดให้มีกิจกรรมทางโซเซียลมีเดียที่น่าสนใจ เพื่อสร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมายอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 11/01/2018 9:25 pm    Post subject: Reply with quote

ก.คมนาคมเผยรถไฟฟ้าพร้อมบริการ8เส้นปี65
ข่าวเศรษฐกิจ วันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม พ.ศ.2561 17:51 น.

กระทรวงคมนาคม เผย ปี 2565 มีรถไฟฟ้าบริการ 8 เส้นทาง รองรับประชาชนเดินทาง 5 ล้านคนต่อวัน เดินหน้าศึกษาต่อเฟส 2 ตั้งเป้ารองรับ 10 ล้านคนต่อวัน
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนปรับเปลี่ยนทัศนคติในการเดินทางโดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะว่า ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดผลักดันโครงการสำคัญต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มมากขึ้น โดยได้มีการพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าสายหลักและสายรองในพื้นที่กรุงเทพและปริมลฑณ จำนวน 10 สายทางระยะทาง 464 กิโลเมตร โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 8สายทางประกอบด้วย

สายสีเขียวเข้ม ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต
สายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ
สายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน
สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
สายสีเหลืง ลาดพร้าว-สำโรง และ
สายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี

ทั้งคาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จและสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2565 รองรับการเดินทางของประชาชนได้ประมาณ 5 ล้านคนต่อวัน

นอกจากนี้ได้มีแผนที่จะพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าระยะที่ 2 ซึ่งจะเน้นเส้นทางใหม่ เพื่อให้คลอบคลุมการเดินทางของประชาชนตั้งเป้า 10 ล้านคนต่อวัน ซึ่งขณะนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรอยู่ระหว่างศึกษาคาดจะได้ผลสรุปในสิ้นปีนี้

ส่วนความคืบหน้าการพัฒนาระบบตั๋วร่วมกลางปีนี้จะดำเนินการในส่วนของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรียลลิ้งและรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อได้ก่อนส่วนสายสีน้ำเงิน และรถไฟฟ้าบีทีเอสต้องหารือรายละเอียดเรื่องการลงทุนอีกครั้ง


รับมือวิกฤตจราจรตอนสร้างรถไฟฟ้า
https://www.youtube.com/watch?v=Pt31ydA3uB4
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/01/2018 7:26 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม. ชงบอร์ดสิ้นเดือนนี้ขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน – ลุ้นนำบัตรเครดิตมาใช้แทนระบบตั๋วร่วม
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 12 มกราคม 2561 - 18:54 น.

นายไพรินทร์ ชูชาติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยหลังตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ว่า รฟม. เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจซึ่งดำเนินการได้ดีและมีภารกิจที่ชัดเจน โดยการลงทุนรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลส่วนใหญ่ผ่านความเห็นชอบหมดแล้ว รฟม. จึงมีภารกิจในการผลักดันรถไฟฟ้าในต่างจังหวัดต่อไป เช่น จ.เชียงใหม่, ภูเก็ต, นครราชสีมา, ขอนแก่น

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ปีนี้ จะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง เพิ่มเติม จึงขอให้ประชาชนอดทนต่อปัญหาจราจร แต่ รฟม. ก็ต้องคืนพื้นที่จราจรในส่วนที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว

นอกจากนี้ ขอยืนยันว่า รฟม. จะคืนพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต บริเวณแยกรัชโยธินตามแผนในต้นปี 2562 อย่างแน่นอน สำหรับแผนคือจะก่อสร้างสะพานข้ามแยกรัชโยธินแล้วเสร็จในปี 2561 และก่อสร้างอุโมงค์ลอดแยกรัชโยธินในปี 2562 ซึ่งจะลดปัญหาจราจรบริเวณดังกล่าวลงไปได้

นายฤทธิกา สุภารัตน์ รักษาการผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ภายในปีนี้ รฟม.จะดำเนินการเปิดประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้า 2 เส้นทาง คือ รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) หรือรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร วงเงิน 101,112 ล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท

โดยสายสีม่วงใต้ จะเปิดประมูลในเดือนก.พ. และลงนามในสัญญาผู้รับจ้างเดือนธ.ค. ปีนี้ เบื้องต้นจะแบ่งเป็น 6 สัญญาคือ ใต้ดิน 4 สัญญา ยกระดับ 1 สัญญา และราง 1 สัญญา สำหรับวงเงินก่อสร้างกู้โยธาอยู่ที่ 8 หมื่นล้านบาท โดยจากกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย 10% และ 90% จะกู้จากในประเทศ ซึ่งเป็นไปตามคำแนะนำของกระทรวงการคลัง ส่วนสายสีส้ม อยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการให้เอกชนเข้าร่วมทุน คาดว่าจะสรุปผลการศึกษาเสนอให้บอร์ดรฟม.พิจารณาได้ในเดือนก.พ. นี้ คาดว่าจะเปิดประมูลได้ปลายปีนี้

นายฤทธิกากล่าวว่า สำหรับโครงรถไฟฟ้าสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางแค-พุทธมณฑล สาย 4 และสายสีเขียว ช่วงสมุทรปราการ-บางปูและช่วงคูคต-ลำลูกกา นั้น อาจจะต้องมีการชะลอการดำเนินการออกไปก่อน เนื่องจากรฟม. ยังตกลงเรื่องการโอนหนี้สินและทรัพย์สินในส่วนของสายสีเขียวต่อขยายเดิมไม่ได้ข้อยุติ ส่วนสายสีน้ำเงิน จะต้องมีการรับฟังความเห็นจากนักลงทุนก่อน เนื่องจากขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายที่จะลดภาระการลงทุนของภาครัฐโดยต้องการให้เอกชนเข้ามาลงทุนในที่เอกชนมีความสนใจและมีพร้อม

ส่วนความคืบหน้าในการศึกษาระบบตั๋วร่วมนั้น รฟม. มีหนังสือไปถึงบีเอ็มให้ยื่นข้อเสนอเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการการพัฒนาระบบกลับมา และอยู่ระหว่างคุยกับบีทีเอสและบีอีเอ็ม เรื่องการจัดตั้งบริษัทลูกในการบริหารตั๋วร่วม นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการศึกษาระบบใหม่ที่อาจจะนำมาใช้แทนระบบตั๋วร่วม คือการใช้ระบบบัตรเครดิตแทนซึ่งเป็นระบบที่ต่างประเทศใช้กันในขณะนี้

ส่วนการเตรียมปรับขึ้นค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเฉลิมรัชมงคล ซึ่งเป็นไปตามสัญญาสัมปทานที่ต้องปรับทุกๆ 2 ปี นั้นคาดว่ารฟม. จะเสนอเรื่องให้บอร์ด พิจารณาได้ภายในปลายเดือนม.ค. นี้ จากนั้นจะต้องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบก่อนปรับราคา เบื้องต้นจะมีการปรับเพียง 3 สถานี จากทั้งหมด 18 สถานี โดยตามสัญญาการปรับราคาจะมีผลในเดือนก.ค. 2561
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/01/2018 3:24 pm    Post subject: Reply with quote

'ไพรินทร์' เร่งเครื่องรถไฟภูธร หวังลงนามสัญญาในปี2561
โพสต์ทูเดย์ 13 มกราคม 2561 เวลา 09:37 น.

"ไพรินทร์" จี้ รฟม.เร่งศึกษา รถไฟฟ้าภูธร เคาะสัญญาสายสีม่วง 6 สัญญา เร่งเปิดประมูลรถไฟฟ้า 2 แสนล้าน พร้อมลงนามสัญญาภายในปีนี้

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม กล่าวภายหลังการมอบนโยบายให้กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ว่าได้สั่งการให้ รฟม.เร่งศึกษาแนวทางการลงทุนร่วมพีพีพีของโครงการรถไฟฟ้าภูมิภาคใน จ.ภูเก็ตและเชียงใหม่ เบื้องต้นคาดว่าน่าจะใช้เวลาศึกษาประมาณ 4 เดือน หลังจากนั้นจะร่างเอกสารประกวดราคาและเปิดประมูลโครงการตลอดจนลงนามสัญญาเอกชนให้ได้ภายในปีนี้ เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการต่อไป

สำหรับปี 2561 โครงการรถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานครจะมีการเปิดประมูลเพิ่มเติมอีก 2 เส้นทางคือ รถไฟฟ้าสาย สีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 1 แสนล้านบาท เบื้องต้นได้กำหนดไว้ว่าจะแบ่งเป็น 6 สัญญา คือ งานใต้ดิน 4 สัญญา/งานยกระดับ 1 สัญญา และงานราง 1 สัญญา จะมีการเสนอแนวทางของโครการเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ รฟม. (บอร์ด รฟม.) ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ก.พ.นี้ และน่าจะเปิดประมูลแล้วเสร็จ ได้ตัวผู้รับเหมาในช่วงปลายปีนี้

ด้านโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งยังอยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการลงทุนแบบพีพีพี โดยเตรียมเสนอเข้าบอร์ด รฟม.เดือน ก.พ.เช่นกัน เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก่อนเปิดประมูลและลงนามสัญญาโครงการภายในปีนี้ โดยแนวทางพีพีพีจะแบ่งเป็น 3 รูปแบบได้แก่ แบบที่ 1 ให้ รฟม.รับผิดชอบงานโยธา แบบที่ 2 รฟม.บริหารเดินรถ และแบบที่ 3 รฟม.รับผิดชอบทั้งสองสัญญา

ด้านรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง และสีชมพูช่วง แคราย-มีนบุรี ขณะนี้อยู่ระหว่างการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคและจะเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ไม่เกินเดือน เม.ย.นี้

ขณะที่โครงการตั๋วร่วมอยู่ระหว่างการหารือและศึกษากับบีอีเอ็มว่าต้นทุนรายจ่ายโครงการจะเป็นเท่าใด และต้อง หารือเรื่องกฎการทำธุรกิจระหว่างบีอีเอ็ม รฟม. และบีทีเอส ซึ่งเทคโนโลยีใหม่ที่จะนำมาใช้กับโครงการ จะสามารถนำบัตรเครดิตมาแตะเพื่อใช้บริการได้ทันที ซึ่งคาดว่าจะสามารถสรุปเรื่องเทคโนโลยีในการใช้งานได้ไม่เกิน 2 เดือน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 16/01/2018 12:43 pm    Post subject: Reply with quote

ที่ดินพุ่งเท่าตัวมอเตอร์เวย์นครปฐม-ชะอำวุ่น
วันที่ 15 มกราคม 2561 - 20:10 น.

รฟม.เร่งส่งมอบพื้นที่ 3 รถไฟฟ้า

นายฤทธิกา สุภารัตน์ รองผู้ว่าการฝ่ายบริหารการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รักษาการแทนผู้ว่าการ รฟม.เปิดเผยว่า กำลังเร่งเวนคืนที่ดินเพื่อส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมาก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 เส้นทาง ได้แก่ สีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) สีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) จะเร่งส่งมอบพื้นที่ให้แล้วเสร็จภายในเดือน มี.ค.นี้ เพื่อเปิดบริการได้ตามแผนในปี 2564-2566

ทุ่ม 1.6 หมื่นล.เวนคืนรับสีม่วงใต้

และ จะเร่งออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน สายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) 23.6 กม. วงเงินลงทุน 101,112 ล้านบาท เพื่อเปิดประมูลก่อสร้างทันกำหนดในเดือน ก.พ.นี้ และคาดว่าเซ็นสัญญาก่อสร้างได้ต้นปี 2562 ล่าสุด ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินแล้ว รอคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบร่าง คาดว่าใช้เวลา 2-3 เดือน จากนั้นจะเริ่มสำรวจยอดเวนคืนที่ดิน

“โครงการนี้จะใช้เงิน ลงทุน 101,112 ล้านบาท เป็นงานโยธา 77,385 ล้านบาท ค่าเวนคืน 15,913 ล้านบาท มีที่ดินถูกเวนคืน 480 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 288 หลังคาเรือน จุดใหญ่เป็นช่วงทางยกระดับบริเวณเตาปูน รวมถึงด่านเก็บเงินสุขสวัสดิ์ พื้นที่วงแหวนกาญจนาภิเษกจะใช้สร้างเดโป้ 50 ไร่ และจุดขึ้น-ลง 17 สถานี”
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 170, 171, 172 ... 277, 278, 279  Next
Page 171 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©