Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180540
ทั้งหมด:13491774
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 48, 49, 50, 51, 52  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/01/2018 8:11 am    Post subject: Reply with quote

รัฐตัดถนน 4 เลน-ท่าเรือน้ำลึก ปลุกค้าชายแดนระนองคึกคัก
ฐานเศรษฐกิจ 10 January 2018

ผวจ.ระนองคาดปี 2561 เศรษฐกิจชายแดนระนองคึกคักหลังรัฐหนุนพัฒนาถนน ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ชี้ถนน 4 เลนเชื่อมระนอง-ชุมพร และพัฒนาท่าเรือนํ้าลึกเชื่อมขนส่ง-โลจิสติกส์

นายจตุพจน์ ปิยัมปุตระ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า ในปี 2561 นี้จังหวัดระนองจะเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ถูกจับตาอย่างแน่นอนเพราะคาดหมายว่าจะเป็นจังหวัดที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงหลังจากที่ทางรัฐบาล โดยกระทรวงคมนาคมได้สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในจังหวัดระนอง ทั้งโครงการก่อสร้างถนน 4 เลนเชื่อมเส้นทางจาก จังหวัดชุมพรเข้ามายัง จังหวัดระนอง เพื่อเชื่อมโครงข่ายการคมนาคมทางถนนรองรับยุทธศาสตร์การพัฒนาในการเป็นเมืองท่าการขนส่งสินค้าทางทะเลฝั่งอันดามัน นอกจากนี้ทางกระทรวงคมนาคมเห็นด้วยที่จะดำเนินการศึกษาเพื่อเตรียมการขุดร่องนํ้าบริเวณท่าเรือระนองให้มีความลึกเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการขยายท่าเรือระนองให้เรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่เข้ามาใช้บริการ อีกทั้งเตรียมพร้อมรับการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าทางทะเลเชื่อมสู่ท่าเรือทวายของเมียนมา และท่าเรือต่างๆ ในกลุ่มประเทศบิมสเทค โดยคาดว่าในอนาคตท่าเรือระนองจะเป็นท่าเรือที่มีบทบาทสำคัญในฝั่งทะเลอันดามัน

“นอกจากนี้ยังมีการอนุมัติให้มีการพัฒนาท่าอากาศยานระนองเป็นท่าอากาศยานเพื่อการท่องเที่ยวและเตรียมที่จะขยายทางวิ่งในอนาคต เพื่อรองรับสายการบินมากขึ้น โดยในปี 2561 นอกจากสายการบินนกแอร์ที่เปิดให้บริการวันละ 2 เที่ยวบิน จังหวัดระนองจะมีสายการบินรายที่ 2ที่เข้ามาเปิดให้บริการเพิ่มอีกราย ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2561 สายการบินไทย แอร์เอเชีย จะเข้ามาเปิดให้บริการเส้นทางระนอง-กรุงเทพฯ-ระนอง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจต่างๆ ในด้านชายแดนระนองเป็นอย่างดีทั้งการท่องเที่ยว การค้า การลงทุน”

MP21-3329-1B
นายจตุพจน์ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันจังหวัดระนองได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลสำหรับการก่อสร้างท่าเรืออเนกประสงค์ที่บ้านเขานางหงส์ เพื่อรองรับยุทธศาสตร์การเป็นเมืองท่าขนถ่ายสินค้าทางทะเลฝั่งอันดามัน แต่พบว่ายังไม่สามารถใช้งานได้เต็มศักยภาพเนื่องจากบริษัทขนส่ง และบริษัทการเดินเรือยังไม่ให้ความสนใจ อันเป็นเพราะระบบการคมนาคมทางบกที่ยังไม่สะดวก ในขณะที่ท่าเรือระนองเป็นท่าเรือที่สามารถร่นระยะเวลาการเดินทางในการขนส่งสินค้าไปยังประเทศกลุ่มบิมสเทค และตะวันออกกลางได้กว่า 10-15 วัน เมื่อเทียบกับท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือสิงคโปร์ ซึ่งทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่ากุญแจสำคัญที่จะผลักดันให้จังหวัดระนองเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางทะเลฝั่งอันดามันได้นั้นจะต้องมีระบบรางเข้ามาช่วยรองรับและเชื่อมโยงโครงข่ายการขนส่ง ดังนั้นการที่กระทรวงคมนาคมเข้ามาช่วยเหลือและสนับสนุนการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมจึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะทำให้จังหวัดระนองมีความพร้อมในการเป็นเมืองท่าการขนส่งสินค้าทางทะเลฝั่งอันดามัน

นางนฤมล ขรภูมิ อดีตประธานหอการค้าจังหวัดระนอง กล่าวว่า สิ่งที่ทางภาคเอกชนต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอีกประการคือการผลักดันโครงการรถไฟทางคู่เชื่อมภาคใต้ตอนบนที่รัฐบาลเคยมีแนวคิดที่จะดำเนินการศึกษาเพื่อหาทางก่อสร้างรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน

นางนฤมลกล่าวต่อว่า ทางภาคเอกชนระนองสนับสนุนและเห็นด้วยกับแนวคิดของรัฐบาลก่อนหน้านี้ที่เตรียมศึกษาก่อสร้างเส้นทางโครงการรถไฟทางคู่สาย กทม.-ประจวบฯ-ชุมพร-ระนอง-พังงา-กระบี่-ภูเก็ต ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขนส่ง การเชื่อมโยงระบบการคมนาคม โครงข่ายโลจิสติกส์ และจะส่งผลต่อการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว

“รถไฟถือเป็นระบบการขนส่งมหภาคที่สามารถขนส่งคน และสินค้าได้ครั้งละมากๆ ทั้งยังประหยัดกว่าการขนส่งด้านอื่นๆ โดยเฉพาะในส่วนของจังหวัดระนองรอคอยมานานที่จะมีระบบรางเข้ามาเชื่อมโครงการคมนาคมการขนส่งในพื้นที่ ล่าสุดทางจังหวัดระนองร่วมกับจังหวัดชุมพร และภาคเอกชนของ 2 จังหวัดประกอบด้วย หอการค้าจังหวัดระนอง, หอการค้าจังหวัดชุมพร, สภาอุตสาหกรรมจังหวัดระนอง, สภาอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร และการท่าเรือแห่งประเทศไทย ร่วมกันเดินหน้าผลักดันโครงการระบบราง ในโครงการรถไฟทางเดี่ยวเชื่อมเส้นทางการขนส่งระหว่างจังหวัดระนอง และจังหวัดชุมพร เพื่อรองรับแผนการเชื่อมโยงระบบโครงข่ายการคมนาคมขนส่งและระบบโลจิสติกส์ ซึ่งหากรัฐบาลมีแผนสนับสนุนเป็นระบบรถไฟทางคู่จะส่งผลดีต่อการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวอย่างแน่นอน”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,329 วันที่ 7 - 10 มกราคม พ.ศ. 2561
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/01/2018 7:02 pm    Post subject: Reply with quote

‘ไทย-มาเลเซีย’ เตรียมดันรถไฟ เชื่อมโยงขนส่ง ‘สงขลา-ปีนัง’
แนวหน้า วันอังคาร ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561, 06.00 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2561 นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมโครงการพัฒนาร่วมชายแดนบริเวณด่านศุลกากรบูกิตกายูฮิตัม และโครงการเชื่อมโยงท่าเรือปีนัง ประเทศมาเลเซีย กับท่าเรือสงขลา ของรถไฟ โดยมีYB Dato’ Wira Othman Aziz รมช.การคลัง คนที่ 1 ของ ประเทศมาเลเซีย และคณะ ผู้แทนจาก กรมเจ้าท่า สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) และการท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.)เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้

โดยที่ประชุมเพื่อพิจารณาข้อเสนอของประเทศมาเลเซียเกี่ยวกับการพัฒนาระบบรถไฟเชื่อมโยงท่าเรือปีนัง (ประเทศมาเลเซีย) กับท่าเรือสงขลา เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ รวมทั้งดึงดูดให้เรือขนส่งสินค้าจากอินโดจีนตอนใต้นำสินค้าขึ้นฝั่งที่ท่าเรือสงขลา และขนส่งผ่านเส้นทางรถไฟไปที่ท่าเรือปีนัง เพื่อส่งต่อไปยังประเทศที่ 3 รวมทั้งรองรับสินค้าจากทางตะวันตกเพื่อขนส่งสินค้าต่อไปทางตะวันออก

“อย่างไรก็ตาม ในรายละเอียด ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะศึกษาร่วมกันต่อไป” รายงานระบุ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/01/2018 12:42 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟสายใหม่ชุมพร-ระนอง 1-2 ก.พ. นัดฟังเสียงชาวบ้าน
เดลินิวส์ พุธที่ 31 มกราคม 2561 เวลา 11.20 น.

1-2 ก.พ. สนข. จัดฟังเสียงชาวชุมพร-ระนอง โครงการศึกษารถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนองครั้งสุดท้าย พร้อมจัดเวิร์กชอป ระดมสมองร่วมผลักดันแนวทางพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวจังหวัด

รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แจ้งความคืบหน้าโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนองว่า วันที่ 1 ก.พ. จะจัดประชุมสัมมนาเสนอผลการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นร่างรายงานฉบับสุดท้ายที่โรงแรมนานาบุรี อ.เมือง  จ.ชุมพร โดยที่ปรึกษาจะนำเสนอผลการศึกษาออกแบบเบื้องต้นรวมถึงทั้งเสนอผลการศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ การเงินและรูปแบบการลงทุน  รวมถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (ไออีอี) และมาตรการจัดการกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น

โดยมีรูปแบบเป็นรถไฟรางเดี่ยวระยะทาง 102.5 กม. ใช้เวลาก่อสร้าง 3-4 ปี และเปิดให้บริการได้ประมาณปี 77 มี 9 สถานี ได้แก่ สถานีขุนกระทิง สถานีบ้านนา สถานีวังใหม่ สถานีปากจั่น สถานีกระบุรี สถานีบางใหญ่ สถานีละอุ่น สถานีท่าเรือระนอง และจากสถานีท่าเรือระนอง จะมีเส้นทางแยก เข้าสู่เมืองระนอง สิ้นสุดที่สถานีระนอง ระยะทางประมาณ 4 กม. จุดเริ่มต้นแนวเส้นทางบริเวณพื้นที่ทางใต้ของสถานีรถไฟชุมพรและอยู่ด้านเหนือของสถานีรถไฟแสงแดด  แนวเส้นทางรถไฟจะโค้งออกจากรถไฟสายใต้เดิมมุ่งไปยังทิศตะวันตกและขนานกับทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านพื้นที่เขต อ.เมือง จ.ชุมพร อ.กระบุรี อ.ละอุ่น และ อ.เมือง จ.ระนอง จนสิ้นสุดโครงการที่บริเวณท่าเรือน้ำลึกระนอง

ส่วนวันที่ 2 ก.พ. จะจัดประชุมสัมมนาเสนอผลการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นร่างรายงานฉบับสุดท้ายที่โรงแรมทินิดี แอท ระนอง อ.เมือง จ.ระนอง และยังจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (เวิร์กชอป) กลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวจังหวัด ได้แก่ ผู้ประกอบการท่องเที่ยว และปราชญ์ชาวบ้าน จ.ระนอง ที่มีความรู้กับสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัด เพื่อร่วมกันเสนอแนะแนวทางของจังหวัดให้เกิดความต้องการในการเดินทางของนักท่องเที่ยวและประชาชนในอนาคต เพื่อเกิดการสร้างรถไฟได้เร็ว เช่น ระนองมีจุดเด่นเรื่องน้ำแร่ มีสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ที่มีชื่อเสียง อาทิ อุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สามารถดึงดูดการเดินทางของนักท่องเที่ยวได้ รวมทั้งเส้นทางรถไฟสายชุมพร-กระบุรี-คลองละอุ่น หรือทางรถไฟสายคอคอดกระ  ซึ่งเป็นทางรถไฟที่ญี่ปุ่นสร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และพิพิธภัณฑ์เชิงประวัติศาสตร์ สงครามโลกครั้งที่ 2 อ.ละอุ่น จ.ระนอง เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญ เพื่อนำมาพัฒนาพื้นที่ต่อไป... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/economic/624594
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/02/2018 9:04 am    Post subject: Reply with quote

"คมนาคม" ดันลงทุนแสนล้าน หนุนระเบียงเศรษฐกิจ 4 ภาค
เดลินิวส์ จันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 16.12 น.

กระทรวงคมนาคมดันลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแสนล้านบาท เชื่อมระเบียงเศรษฐกิจ 4 ภาค หวังรองรับเศรษฐกิจอาเซียน

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในแผนการพัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากเป็นพื้นที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้า 2 ฝั่งมหาสมุทรและเป็นจุดพาดผ่านตามนโยบายเส้นทางสายไหมใหม่ของประเทศจีน ซึ่งรัฐบาลอยู่ระหว่างผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-หนองคาย เพื่อเชื่อมการค้าตามเส้นทางจีน-สปป.ลาว-ไทย ไปยังมาเลเซียและสิงคโปร์ ดังนั้นการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) จึงเป็นตัวอย่างสำคัญที่จะผลักดันเศรษฐกิจชาติ เพื่อรองรับการเติบโตของภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากพบว่าสัดส่วนจีดีพีของประเทศราว 20% นั้นมาจาก 3 จังหวัดในเขตอีอีซี โดยเฉพาะ จ.ระยองที่ครองสัดส่วนจีดีพีถึง 8% ทั้งที่มีประชากรแค่ 1% ของทั้งประเทศหรือราว 6 แสนคน ดังนั้นไทยควรมีแนวทางการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจในภาคอื่นๆ ที่เชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อรองรับการค้าอาเซียนด้วย

นายไพรินทร์ กล่าวต่อว่า พื้นที่แนวระเบียงเศรษฐกิจที่เหมาะสมนั้นกระทรวงคมนาคมมองว่าควรเป็นแนวระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (เอสอีซี) และแนวระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (เอ็นอีซี) โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ตนมองว่าควรส่งเสริมการพัฒนาเส้นทางขนส่ง 2 ฝั่งทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามันหรือโครงการแลนด์บริดจ์ เพราะเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญเชื่อมต่อมหาสมุทรอินเดียและแนวเส้นทางสายไหมใหม่ของจีน อีกทั้งยังสามารถช่วงชิงตลาดโลจิสติกส์ทางน้ำจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีปริมาณเรือสินค้า 4-5 หมื่นลำต่อวันบริเวณเส้นทางเดินเรือช่องแคบมะละกาเชื่อมต่อไปยังมาเลเซีย-สิงคโปร์ ปัจจุบันน่าเสียดายที่โครงการดังกล่าวถูกชะลอไปจากปัญหาต่างๆ จึงเสี่ยงที่ประเทศไทยจะเสียโอกาสเนื่องจากประเทศมาเลเซียและจีนได้จับมือกันเพื่อพัฒนาเส้นทางแลนด์บริดจ์ในฝั่งมาเลเซียโดยมีกำหนดการแล้วเสร็จภายใน 3 ปี ซึ่งเส้นทางดังกล่าวถือว่าเป็นเส้นทางที่สั้นกว่าและประสิทธิภาพน้อยกว่าเส้นทางของประเทศไทย

ขณะที่พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือนั้นตนมองว่าควรจะเป็นพื้นที่เชื่อมต่อจากเมืองหลวงไปยังเมืองรองเอ็นอีซีเช่นดียวกับพื้นที่อีอีซี โดยปัจจุบันกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างก่อสร้างมอเตอร์เวย์จากอีอีซีไปเชื่อม 2 เมืองใหญ่อย่าง จ.ปราจีนบุรีและ จ.นครราชสีมา ควบคู่ไปกับโครงการมอเตอร์เวย์และรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่จะพาดผ่านเมืองอุตสาหกรรมอย่างจ.อยุธยายาวไปถึง จ.เชียงใหม่ ดังนั้นพื้นที่ศักยภาพที่จะช่วงชิงความได้เปรียบเพื่อนบ้านอาเซียนคือเส้นทางขนส่งสินค้าตามแนวระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก-ตะวันตก (EWEC) เชื่อมต่อไทย-เมียนมา-สปป.ลาว-เวียดนาม ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมมีแผนขยายถนนตามแนวเส้นทางดังกล่าวรวมถึงการลงทุนพัฒนารถไฟทางคู่อีกด้วย

รายงานข่าวกระทรวงคมนาคมระบุว่า สำหรับแผนการพัฒนาแลนด์บริดจ์ของกระทรวงคมนาคมนั้นมีแผนพัฒนาโครงการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมโยงขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ระยะทาง 142 กม. วงเงิน 2.6หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ช่วงหาดใหญ่-ปากบารา และหาดใหญ่-ท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2 (อ.จะนะ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (SEA : Strategic Environmental Assessment) ทั้งระบบท่าเรือชายฝั่งและสะพานเศรษฐกิจ (แลนด์บริดจ์) ครอบคลุม 6 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ สงขลา และสตูล ควบคู่ไปกับแผนการพัฒนาแลนบริดจ์ภาคใต้ตอนบนโครงการรถไฟสายใหม่ ช่วง อ.ดอนสัก- จ.สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 77 กม. วงเงิน 1.8 หมื่นล้านบาท และโครงการก่อสร้างรถไฟ ช่วง จ.สุราษฎร์ธานี-อ.ท่านุ่น จ.พังงา ระยะทาง 156 กม. วงเงิน 3.6 หมื่นล้านบาท

ส่วนด้านโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามแนวระเบียง EWEC กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างดำเนินการขยายถนนเป็น 4 ช่องจราจรตลอดแนวเส้นทางในประเทศไทยระหว่างแม่สอด จ.ตากไปจนถึง จ.มุกดาหาร ล่าสุดดำเนินการได้เกือบครบทั้งหมดแล้ว นอกจากนี้ยังมีแผนก่อสร้างรถไฟทางคู่เชื่อมต่อพื้นที่ EWEC โดยใช้ เส้นทางบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 6.57 หมื่นล้านบาท และโครงการรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 217 กม. วงเงิน 5.99 หมื่นล้านบาท เป็นโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 จำนวน 9 เส้นทางที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทยอยเสนอโครงการขอความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในปีนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/02/2018 10:12 pm    Post subject: Reply with quote

ท่าเรือน้ำลึกสะดุด คมนาคมตีกลับโครงการ‘ปากบารา’
แนวหน้า วันพุธ ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561, 06.00 น.

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยผลประชุมโครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล ว่า ในการประชุมดังกล่าวได้รับทราบข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและติดตามสถานะความคืบหน้าของโครงการโดยเฉพาะด้านผลกระทบด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (EIA) ก่อนมีมติสั่งการให้ กรมเจ้าท่า กลับไปจัดทำแผนการศึกษาใหม่ภายใน 6 เดือน โดยเฉพาะขั้นตอนการทำประชาพิจารณ์เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่

ด้านแหล่งข่าวจาก กรมเจ้าท่า กล่าวว่าทาง กระทรวงคมนาคมได้สั่งการให้ชะลอโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกปากบารา วงเงิน 29,000 ล้านบาท เนื่องจากยังไม่สามารถสรุปรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ (EHIA) ได้หลังจากที่มีการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่จนไม่สามารถเปิดเวทีรับฟังความเห็นขอบเขตและแนวทางประเมินผลกระทบทำให้ไม่สามารถเข้าสู่ขั้นตอนการสำรวจความคิดเห็นประชาชนและจัดทำรายงาน และการรับฟังความคิดเห็นและทบทวนรายงานได้

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม ยังมีแนวคิดปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินโครงการเพื่อสนับสนุนให้โครงการเดินหน้าได้รวดเร็วขึ้น และลดข้อพิพาทขัดแย้งกับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจะเปลี่ยนจากรัฐบาลลงทุนเองทั้งหมดเป็นการเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน (PPP) เนื่องจากเอกชนสามารถดำเนินโครงการพัฒนาและเสนอค่าตอบแทนให้กับประชาชนได้ดีกว่า

อย่างไรก็ตาม มองว่าเอกชนที่จะเข้ามาลงทุนในท่าเรือปากบารานั้นต้องเป็นกลุ่มทุนรายใหญ่ที่มีศักยภาพด้านแหล่งเงินทุนและมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาท่าเรือพร้อมกับยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนโดยรอบเพื่อสร้างให้เกิดการยอมรับในวงกว้างต่อไป ซึ่งหากประเทศไทยยังไม่สามารถพัฒนาท่าเรือน้ำลึกปากบาราดังกล่าวได้อาจส่งผลให้เสียศักยภาพการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ทางน้ำให้กับประเทศมาเลเซียและยังมีแนวโน้มที่จะต้องพึ่งพาการขนส่งทางน้ำจากประเทศมาเลเซียในอนาคตอีกด้วย

ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างท่าเรือสำราญ วงเงินลงทุน 4,000 ล้านบาทบริเวณเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานีนั้น นายณัฐ จับใจ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการส่งเรื่องเข้าไปยัง กระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณาเห็นชอบโครงการแล้ว โดยโครงการดังกล่าวเพื่อส่งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวของประเทศและผลักดันให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางใหม่ของการท่องเที่ยวทางน้ำ

ด้านแหล่งข่าวจากกรมเจ้าท่าให้ข้อมูลว่า หลังจากนี้ทางกรมเจ้าท่าจะเดินหน้าศึกษาแนวทางการลงทุนโครงการท่าเรือสำราญ คาดว่าจะใช้รูปแบบความร่วมมือภาครัฐ-ภาคเอกชน (Public Private Partnership: PPP) ใช้เวลาศึกษาราว 7-8 เดือน เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะส่งผลศึกษารูปแบบลงทุนดังกล่าวไปยัง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ภายในปีนี้ก่อนเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อเปิดประมูลต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/05/2018 9:28 pm    Post subject: Reply with quote

ยุติแล้ว! รมว.คมนาคมสั่งทบทวน “โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา” ต้อนรับอุทยานธรณีโลก
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 10:15:
ปรับปรุง: 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 11:01:



สตูล - กรมเจ้าท่า เผย รมว.คมนาคม สั่งทบทวนโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล หลังได้รับการประกาศขึ้นเป็นอุทยานธรณีโลก ชี้ตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างทำเรื่องยุติการศึกษาก่อน

วันนี้ (22 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่จังหวัดสตูล ได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นอุทยานธรณีโลก (Geopark) ซึ่งถือเป็นแห่งแรกในประเทศไทย และเป็นลำดับที่ 5 ในอาเซียน ทำให้โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา อันเป็นโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนว่าจะสั่งยกเลิก หรือจะเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป โดยล่าสุด สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม (GreenNews) ได้รายงานว่า

นายภาณุ ภาศักดี หัวหน้าคณะทำงานด้านตรวจท่าเทียบเรือ กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม เปิดเผยต่อสำนักข่าวสิ่งแวดล้อม (GreenNews) ตอนหนึ่งว่า แม้ว่ากรมเจ้าท่า จะมีการศึกษาทบทวนโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล แต่ปัจจุบัน รมว.คมนาคม ต้องการให้ทบทวนโครงการ เนื่องจากมีการต่อต้านจากชาวบ้าน และแหล่งธรณีวิทยา จ.สตูล ก็เพิ่งได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานธรณีโลก (Satun UNESCO Global Geopark) ด้วย

นายภาณุ กล่าวว่า กรมเจ้าท่าในฐานะเจ้าของโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ได้รับนโยบายจากรัฐบาลให้กลับมาทบทวน โดยขณะนี้กรมเจ้าท่าได้หยุดการศึกษาไว้ก่อน และ รมว.คมนาคม ก็อยากให้กลับมาทบทวนทิศทางของท่าเรือขนาดใหญ่ในประเทศว่าควรจะเน้นรองรับสินค้า หรือรองรับนักท่องเที่ยว

“นโยบายจากทางรัฐบาลอยากจะให้กลับมาทบทวน ตั้งหลักดูว่า โครงการนี้ควรจะเดินอย่างไร ให้ยุติการดำเนินโครงการไว้ก่อน ตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างทำเรื่องยุติการศึกษาก่อน ในส่วนของพื้นที่ซับซ้อนโครงการกับเขตอุทยานธรณีโลกยังไม่มีความชัดเจน” นายภาณุ กล่าว

นายภาณุ กล่าวอีกว่า โครงการดังกล่าวต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการดำเนินการจัดเวที ค.1 จึงอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม การขนส่งทางน้ำ เพื่อให้สอดรับต่อนโยบายรัฐบาล

“ตอนนี้โครงการอยู่ระหว่างยุติ ยังไม่แน่ใจว่าอนาคตมีนโยบายรูปแบบไหน อย่างไรก็ตาม ต้องรอความชัดเจนของยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานฝั่งอันดามัน ขณะนี้อยู่ระหว่างนำเสนอฝ่ายบริหารในการแต่งตั้งคณะทำงาน” นายภาณุ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/07/2018 1:26 pm    Post subject: Reply with quote

รัฐบาลสั่งชะลอแผนท่าเรือปากบาราหลังถูกต้านหนัก
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 18 ก.ค. 2561 เวลา 12:28 น.

รัฐบาลไฟเขียวพับแผนท่าเรือน้ำลึกปากบารา-ท่าเรือสงขลา หลังถูกต่อต้านหนักไม่อยากสร้างความขัดแย้ง หวั่นลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเหลวหากไม่กระตุ้นเศรษฐกิจส่งออก-นำเข้าสินค้า หวั่นมาเลเซียฮุบเค้กเกทเวย์ปีนัง-ช่องแคบมะละกา

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่ารัฐบาลได้ตัดสินใจสั่งชะลอโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบาราอย่างไม่มีกำหนด หลังจากที่นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคมเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงคมนาคมและกรมเจ้าท่า โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่วมกันว่าจะชะลอโครงการออกไปก่อนเพื่อลดความขัดแย้งภายในพื้นที่รวมถึงความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานภาครัฐเรื่องผลกระทบอุทยานแห่งชาติในพื้นที่ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาขั้นตอนการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบของโครงการนั้นถูกต่อต้านจากชาวบ้านท้องถิ่นและองค์กรอิสระ (NGO) จนไม่สามารถเปิดเวทีรับฟังความเห็นขอบเขตและแนวทางประเมินผลกระทบ หรือ ค.1 (Public Scoping) ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปคือ การสำรวจความคิดเห็นประชาชนและจัดทำรายงาน หรือ ค.2 (Public Assessment) และ การรับฟังความคิดเห็นและทบทวนรายงาน หรือ ค.3 (Public Reviewing)จนไม่สามารถสรุปรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ได้อีกทั้งรัฐบาลยังต้องการให้ลดความขัดแย้งของผู้คนในพื้นที่อีกด้วย หลังจากนี้จท.จะเจราจากับบริษัทที่ปรึกษาเพื่อชำระค่าใช้จ่ายการศึกษาโครงการตามที่เกิดขึ้นจริง จากวงเงินเต็มอยู่ที่ 115 ล้านบาท

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่ารมช.คมนาคมได้สั่งการให้กรมเจ้าท่าไปจัดทำแผนพัฒนาท่าเรือน้ำลึกด้านฝั่งตะวันตกแทน ทว่าที่ผ่านมาได้ทำการศึกษามาหลายรอบแล้วโดยเฉพาะท่าเรือจังหวัดระนองฝั่งทะเลอันดามันนั้นไม่สามารถรองรับการขนส่งสินค้าได้เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องร่องน้ำที่ลึกเพียง 9 เมตร รองรับเรือบรรทุกขนาดใหญ่ไม่ได้แตกต่างจากปากบาราที่มีร่องน้ำลึกอย่างน้อย 14 เมตร ดังนั้นตนมองว่าแผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศคงสูญเปล่าหากไม่สามารถผลักดันให้เกิดการพัฒนาการขนส่งสินค้าทางน้ำเนื่องจากมลค่าการนำเข้าและส่งออกเป็นหนึ่งในแกนลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย อีกทั้งสินค้าส่งออกส่วนใหญ่ต้องพึ่งท่าเรือเป็นหลักเพื่อกระจายประเทศปลายทางทั่วโลก อย่างไรก็ตามด้านความคืบหน้าแผนพัฒนาท่าเรือน้ำลึกสงขลานั้นคงจะออกมาในรูปแบบเดียวกัน คือรัฐบาลจะสั่งให้ชะลอแผนออกไปอย่างไม่มีกำหนดเนื่องจากปัจจุบันยังไม่สามารถผ่าน ค.1 เพราะโดนต่อต้านจากคนในพื้นที่เช่นเดียวกับที่ปากบารา อีกทั้งยังมีการปลุกกระแสต่อต้านโรงไฟฟ้าที่กลัวว่าจะมาพร้อมกับท่าเรือน้ำลึกสงขลาอีกด้วย

ด้านรายงานข่าวจากกรมเจ้าท่า(จท.) ระบุว่า เส้นทางขนส่งแลนด์บริดจ์ท่าเรือสงขลา-ปากบารา-ปีนัง(มาเลเซีย)นั้นเป็นเกทเวย์ขนส่งสินค้าแทนที่ช่องแคบมะละกา กลุ่มชาติมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกจะได้รับผลประโยชน์ในด้านการประหยัดค่าใช้จ่ายจนสามารถแบ่งสัดส่วนปริมาณขนส่งสินค้าจากช่องแคบมะละกาได้จำนวนมากเพราะแลนด์บริดจ์ท่าเรือสงขลา-ท่าเรือปากบารามีระยะทางที่สั้นกว่าเส้นทางเดินเรือสิงคโปร์-ทะเลอินเดีย ดังนั้นหากโครงการดังกล่าวไม่เกิดมองว่าประเทศไทยจะเสียศักยภาพด้านการขนส่งสินค้าที่ต้องพึ่งท่าเรือปีนังเป็นหลักหรือมองในแง่ร้ายที่สุดหากมาเลเซียปิดด่านชายแดนการขนส่งสินค้าจากไทยจะไปสู่มหาสมุทรอินเดียได้อย่างไร นอกจากนี้มาเลเซียยังมีแผนเปิดเมืองปีนังเป็นเกทเวย์ขนส่งสินค้าของช่องแคบมะละกาพร้อมกับเสนอโครงการรถไฟทางคู่สงขลา-ปีนังให้รัฐบาลไทยพิจารณา หากสามารถทำได้ประเทศไทยจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เนื่องจากปัจจุบันเส้นทางการขนส่งสินค้าผ่านช่องแคบมะละกาถือว่าเป็นเส้นทางเดินเรือที่มีการจราจรมากที่สุดในโลกด้วยจำนวนเรือราว 1 แสนลำต่อวัน จนทำให้จำนวนเรือในแต่ละปีที่ผ่านช่องแคบมะละกาคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 4 ของโลก

---

พับท่าเรือปากบารา-ท่าสงขลา
เดลินิวส์ พุธที่ 18 กรกฎาคม 2561 เวลา 09.12 น.

รัฐบาลไฟเขียวพับแผนท่าเรือน้ำลึกปากบารา-สงขลา หลังถูกต่อต้านหนักไม่อยากสร้างความขัดแย้ง ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเหลวหากไม่กระตุ้นเศรษฐกิจส่งออก-นำเข้าสินค้า หวั่นมาเลเซียฮุบเค้กเกทเวย์ปีนัง-ช่องแคบมะละกา

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม (คค.)  แจ้งว่า  รัฐบาลตัดสินใจสั่งชะลอโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล ออกไปอย่างไม่มีกำหนด หลังนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร  รมช.คมนาคม เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กระทรวงคมนาคมและกรมเจ้าท่า(จท.)  โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่วมกันให้ชะลอโครงการออกไปก่อนเพื่อลดความขัดแย้งภายในพื้นที่  รวมถึงลดความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่ห่วงเรื่องผลกระทบกับอุทยานแห่งชาติในพื้นที่ 

โดยที่ผ่านมาขั้นตอนการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบของโครงการถูกต่อต้านจากชาวบ้านหน่วยงานท้องถิ่นและองค์กรอิสระ (NGO) จนไม่สามารถเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นขอบเขตและแนวทางประเมินผลกระทบหรือ ค.1 (Public Scoping)  จึงเดินหน้าสู่ขั้นตอนต่อไปไม่ได้   คือการสำรวจความคิดเห็นประชาชนและจัดทำรายงาน หรือ ค.2  (Public Assessment)  รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นและทบทวนรายงาน หรือค.3 (Public Reviewing)จนไม่สามารถสรุปรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(EHIA) ได้   ประกอบกับรัฐบาลต้องการให้ลดความขัดแย้งของคนในพื้นที่ด้วยหลังจากนี้จท.จะเจราจาบริษัทที่ปรึกษาเพื่อชำระค่าใช้จ่ายการศึกษาโครงการตามที่เกิดขึ้นจริงจากวงเงินเต็มอยู่ที่ 115 ล้านบาท
 
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า  นายไพรินทร์ ได้สั่งการใจท.จัดทำแผนพัฒนาท่าเรือน้ำลึกด้านฝั่งตะวันตกในพื้นที่อื่นแทนปากบาราแต่ที่ผ่านมาได้ศึกษามาหลายรอบแล้วโดยเฉพาะท่าเรือจ.ระนองฝั่งทะเลอันดามันไม่สามารถรองรับการขนส่งสินค้าได้เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องร่องน้ำที่ลึกเพียง9 เมตร รองรับเรือบรรทุกขนาดใหญ่ไม่ได้แตกต่างจากปากบารามีร่องน้ำลึกอย่างน้อย 14เมตร  แผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศคงสูญเปล่าหากไม่สามารถผลักดันให้เกิดการพัฒนาการขนส่งสินค้าทางน้ำได้  เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าและส่งออกเป็นหนึ่งในแกนหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอีกทั้งสินค้าส่งออกส่วนใหญ่ต้องพึ่งท่าเรือเป็นหลักเพื่อกระจายไปประเทศปลายทางทั่วโลก

นอกจากนี้คาดว่ารัฐบาลจะสั่งชะลอแผนพัฒนาท่าเรือน้ำลึกสงขลาอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากปัจจุบันยังไม่สามารถผ่านค.1 เพราะโดนต่อต้านจากคนในพื้นที่เช่นกัน  อีกทั้งยังมีการปลุกกระแสต่อต้านโรงไฟฟ้าที่กลัวว่าจะมาพร้อมกับท่าเรือน้ำลึกสงขลาอีกด้วย.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/04/2019 9:01 am    Post subject: Reply with quote

จบแล้ว “แลนด์บริดจ์กินรวบ-ท่าเรือปากบารา” แต่ “ท่าเรือสงขลา 2” และ “คลองไทย” ยังอยู่! แถมทิศทางเมกะโปรเจกใต้เปลี่ยนไปไหลตาม EEC สู่ SEC
เผยแพร่: 22 เม.ย. 2562 05:38 ปรับปรุง: 22 เม.ย. 2562 10:16 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Arrow https://mgronline.com/south/detail/9620000038749
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/12/2019 1:44 pm    Post subject: Reply with quote

“3 รมต.คมนาคม” ประสานเสียงฟื้นท่าเรือ “ปากบารา” เดินหน้า “สงขลา 2”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 2 ธันวาคม 2562 20:42
ปรับปรุง: วันที่ 3 ธันวาคม 2562 07:19


“ศักดิ์สยาม” ผนึก “ถาวร-อธิรัฐ” ฟื้นท่าเรือปากบารา เดินหน้าท่าเรือสงขลา 2 ดันสร้างในรัฐบาลนี้ ยันประเทศได้ประโยชน์ สร้างแลนด์บริดจ์ ลดต้นทุนขนส่ง ยัน 3 รมต.พรรคร่วมจับมือแน่น “ถาวร” ลงพื้นที่ทำความเข้าใจประชาชน

วันนี้ (2 ธ.ค.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และนายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ตรวจเยี่ยมและให้นโยบายกรมเจ้าท่า (จท.) ซึ่งนายศักดิ์สยามกล่าวว่า ตนและ รมช.คมนาคมทั้ง 2 คนได้ให้นโยบายกรมเจ้าท่าในการผลักดันโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 และท่าเรือปากบารา จ.สตูล เนื่องจากมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการขนส่งทางน้ำ และเป็นประตูของประเทศ โดยในส่วนของท่าเรือสงขลา 2 นั้นจะต้องเร่งทำความเข้าใจกับประชาชน ซึ่งนายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม จะช่วยในเรื่องนี้ และหากสามารถผลักดันท่าเรือสงขลา 2 ได้ ในส่วนของฝั่งอันดามันควรจะมีท่าเรือปากบาราเพื่อเชื่อมระบบการขนส่งทางน้ำที่สมบูรณ์ และทำให้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจประเทศ

“เรามี รมต.3 คนที่จะช่วยกันผลักดันเรื่องนี้ จะให้กรมเจ้าท่ารื้อแผนโครงการขึ้นมา เพราะที่ผ่านมาติดปัญหาเรื่องการทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน อย่างน้อย ท่าเรือสงขลา 2 ควรจะเกิดให้ได้ รัฐบาลนี้จะลองผลักดันอีกครั้ง ส่วนข้อกังวลของประชาชนสำหรับท่าเรือปากบาราเชื่อว่าจะทำความเข้าใจกันได้ และยืนยันว่า รมต.กระทรวงคมนาคมที่มาจาก 3 พรรคร่วมรัฐบาลสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างดี” นายศักดิ์สยามกล่าว

การเชื่อมโยงท่าเรือปากบาราและท่าเรือสงขลา 2 ด้วยระบบรางจะเกิดประโยชน์ต่อการขนส่งอย่างมาก ดังนั้นต้องลองผลักดันทำความเข้าใจกันอีกครั้งเพราะถือว่าเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างมาก หากไม่ทำจะเป็นการเสียโอกาสได้ อย่างไรก็ตาม ในการลงทนด้านโครงสร้างพื้นฐานไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณอย่างเดียว มีหลายรูปแบบ กองทุนฯ หรือการร่วมลงทุน (PPP) เพียงแต่ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่ประเทศ

ด้านนายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม กล่าวว่า ในส่วนของท่าเรือสงขลา 2 นั้นมีความจำเป็น เพราะสินค้าที่ขนส่งจากภาคกลาง ภาคใต้ผ่านไปด่านประกอบด้วย อ.นาทวี ด่านสะเดา ด่านปาดังเบซาร์ มูลค่าปีละประมาณ 4 แสนล้านบาท ซึ่งผู้ประกอบการต้องแบกภาระขนส่ง โดยจะส่งต่อภาระไปที่ผู้ผลิต โดยเฉพาะเกษตกร เช่น ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับยาง ทั้งไม้ ยางแผ่น แม้แต่ตู้เย็น หรือรถจักรยานยนต์ ต้องส่งไปทางนี้ หมด เพราะว่าเรือแม่ไม่ได้เข้าที่ท่าเรือระยอง หรือท่าเรือมาบตาพุด นี่คือเหตุผลที่ต้องสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลา 2

ส่วนจะผลักดันโครงการนั้น การศึกษาเดิมที่ อ.จะนะ จ.สงขลา การประชาพิจารณ์ไม่เรียบร้อย ซึ่งกระทรวงคมนาคมพร้อมที่จะลงพื้นที่ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยในการทำความเข้าใจกับประชาชน และเกษตรกร ในพื้นที่ในการลดภาระต้นทุน และประโยชน์จะได้รับ ขณะที่การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ทางกระทรวงทรัพย์ฯ จะดูแลอย่างเข้มข้น ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ส่วนท่าเรือปากบารา นายถาวรเชื่อว่าจะมีเหตุผลที่สามารถทำความเข้าใจกับประชาชนได้ ซึ่ง รมต.ทั้ง 3 พรรคอยู่ในพื้นที่ พร้อมจะร่วมมือกับผลักดัน

@เตรียมพร้อมรับการตรวจมาตรฐานของ IMO

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ตนและ รมช.คมนาคม 2 ท่านได้ร่วมกันมอบแนวทางในการบริหารจัดการงานต่างๆ ของกรมเจ้าท่าที่จะเพิ่มศักยภาพในการให้บริการและอำนวยความสะดวก ทั้งด้านการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร ซึ่งกรมเจ้าท่ามีภารกิจสำคัญในการพัฒนาหลายเรื่อง รวมถึงเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมด้านเศรษฐกิจอีกด้วย

โดยได้กำชับให้เตรียมพร้อมแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในการรับการตรวจสอบด้านความปลอดภัยการขนส่งทางน้ำ ประเทศสมาชิกองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) ในปี 2563 หากมีความจำเป็นต้องยกระดับคณะกรรมการเป็นระดับชาติก็ต้องเร่งดำเนินการ


นอกจากนี้ ได้เร่งรัดการจัดทำระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (VTS) ซึ่งยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ทางด้านอันดามันและฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง โดยให้ดำเนินการติดตั้งให้แล้วเสร็จในปี 2563 โดยเสนอวงเงินดำเนินการในงบประมาณปี 2563 จำนวน 800 กว่าล้านบาท ทั้งนี้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว

นอกจากนี้ ให้กรมเจ้าท่าปรับบทบาทตัวเองเป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) คืองานใดที่ไม่มีบุคลากรเพียงพอให้ Outsource เช่น การตรวจสิ่งรุกล้ำลำน้ำ การตรวจเรือ การตรวจแพ เป็นต้น หากจ้างแรงงานภายนอกมาช่วยทำได้ให้ดำเนินการ โดยให้อยู่ภายใต้กฎหมาย อย่าให้เกิดข้อครหาเรื่องการเอื้อประโยชน์

//--------------------------------------------

“ศักดิ์สยาม” ฟื้นท่าเรือสงขลา 2- ปากบารา “ถาวร” ทัพหน้ากล่อมชาวบ้าน
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 2 ธันวาคม 2562 - 21:07 น.

“ศักดิ์สยาม” ฟื้นท่าเรือสงขลา 2- ปากบารา “ถาวร” ทัพหน้ากล่อมชาวบ้าน
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังตรวจมอบนโยบายกรมเจ้าท่าว่า ได้มอบภารกิจไว้หลายประการ แต่ที่ต้องเน้นย้ำอย่างเร่งด่วนในตอนนี้คือ การเตรียมความพร้อมในงานพระพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมาร์ค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ.2562 ได้สั่งการให้ตรวจสอบกระบวนการทุกอย่างให้เรียบร้อย และให้นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่าแผนปฏิบัติการให้ครอบคลุมอย่างรอบด้าน

ทุ่ม 800 ล้านติดระบบสื่อสารคุมจราจรทางน้ำ

ประเด็นต่อมา คือการเตรียมความพร้อมรองรับการตรวจสอบจากองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) โดยให้ทำแผน Action Plan ต่างๆให้เรียบร้อย อะไรที่ต้องยกระดับเป็นเรื่องระดับชาติก็ให้เร่งดำเนินการ โดยให้นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในฐานะกำกับกรมเจ้าท่า ช่วยกำกับดูแลอีกทางหนึ่ง
advertisement

ถัดมา การติดตั้งระบบการสื่อสารควบคุมจราจรทางน้ำ (VTS) เหลือติดตั้งบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนล่าง คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 800 ล้านบาท โดยแปรญัตติขอกับคณะกรรมาธิการงบประมาณปี 2563 สภาผู้แทนราษฎร เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะเร่งดำเนินการให้ได้ภายในปี 2563 นี้ เพื่อยกระดับการจัดการจราจรทางน้ำและสร้างความมั่นใจให้นักท่องเที่ยว

และให้ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ปรับใช้กับงานของกรม ถ้าส่วนไหนไม่มีงบประมาณให้ขอทางเอกชนเชื่อมเข้ากับซอฟ์ตแวร์ของกรม บูรณาการใช้ประโยชน์ เพื่อดูแลเรื่องความปลอดภัย รวมถึงต้องกลับไปดูกฎหมาย กฎระเบียบของกรมว่ามีอะไรต้องปรับปรุงให้ทันสมัย และตอบสนองกับสภาวะในปัจจุบัน

สั่งจ้างเอาท์ซอสแก้งานช้า

และกรมเจ้าท่าต้องปรับบทบาทตัวเอง อะไรที่ทำไม่ทัน เช่น การตรวจเรือที่ต้องตรวจประมาณ 90,000 ลำ แต่ตรวจได้จริงประมาณ 70,000 ลำ ก็ควรจ้างเอาท์ซอร์สเอกชนเข้ามาทำแทน เพื่อให้งานเสร็จทันกำหนด แต่ต้องคำนึงถึงประโยชน์ต่อประชาชนและต้องดำเนินการภายใต้กฎหมาย ซึ่งตนมองว่า อะไรที่เอาท์ซอร์สได้ก็ควรทำ เพราะที่ผ่านมาเป็นภาระต่องบประมาณมาก โดยเฉพาะรายจ่ายประจำ แล้วกรมเจ้าท่าเป็นเรกูเรเตอร์แทน

ฟื้นสงขลา 2 – ปากบารา

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังได้สั่งการให้กลับไปดูโครงการลงทุนในท่าเรือต่างๆ เช่น ท่าเรือสงขลา 2 ซึ่งถูกต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ ทางนายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เสนอขอลงไปทำความเข้าใจกับประชาชนให้

เชื่อว่าหากเริ่มดำเนินการท่าเรือสงขลา 2 ได้ ทางฝั่งอันดามัน คือท่าเรือปากบารา ก็น่าจะดำเนินการได้ตามมา โดยรัฐมนตรีคมนาคมทั้ง 3 คนจะช่วยกันดำเนินการ และในพื้นที่ดังกล่าวก็มี ส.ส. ในพื้นที่สังกัดทั้งพรรคพลังประชารัฐ ประชาธิปัตย์ และภูมิใจไทย ก็จะช่วยกันผลักดันอีกแรงหนึ่ง

เชื่อมทะเลตะวันออก-ตะวันตก

“ผมให้รื้อแผนขึ้นมาดูภายในปีนี้เลย แล้วลงไปทำความเข้าใจกับชาวบ้าน เพราะเห็นว่ามีประโยชน์ เชื่อมฝั่งตะวันออก-ตะวันตก จะเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล โดยให้กรมไปเริ่มต้นก่อน หากติดขัดอะไรก็มาบอกรัฐมนตรีทั้ง3 คนได้ จะได้ช่วยประสานงาน เพราะท่านถาวรก็อยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว และท่านรัฐมนตรีท่องเที่ยวและกีฬา (พิพัฒน์ รัชกิจประการ) หรือท่านออธิรัฐเองก็มี ส.ส.ในพื้นที่ ถ้าสามารถทำความเข้าใจกับประชาชนได้ ตนเชื่อว่ามันก็เกิด” นายศักดิ์สยามกล่าว

นายศักดิ์สยาม ย้ำว่า โครงการนี้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีก็ปลุกปั้นมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลที่แล้ว ในสมัยตนอย่างน้อย ท่าเรือสงขลา 2 จะต้องเกิดให้ได้ ส่วนวิธีดำเนินการมีหลายวิธี ใช้เงินกองทุน หรือ PPP แต่ต้องนำผลศึกษามาตรวจสอบใหม่ก่อนว่า ที่ผ่านมาติดขัดประเด็นอะไร

“ถาวร”อาสาคุยชาวบ้าน

ด้านนายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ปัจจุบันสินค้าที่ขนส่งจากภาคกลางและภาคใต้ไปยังด่านประกอบ ด่านนอกไทยจังโหลน และด่านสะเดา จ.สงขลา มีมูลค่าประมาณ 400,000 ล้านบาท/ปี จึงเห็นศักยภาพที่จะพัฒนาท่าเรือสงขลา 2 เป็นท่าเรือน้ำลึก ซึ่งการทำความเข้าใจกับประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ

โครงการเดิมที่ศึกษาไว้ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา แม้ผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการจะผ่านการประชาพิจารณ์ไปแล้วรอบหนึ่ง แต่เป็นการผ่านที่ไม่ค่อยสวยงามเท่าไหร่ ดังนั้น กระทรวงจึงเห็นว่า ควรจะศึกษาใหม่

โดยตนจะร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ไปทำความเข้าใจกับประชาชนว่า โครงการนี้มีส่วนช่วยเกษตรกรอย่างไร และช่วยลดภาระพ่อค้าคนกลางอีกด้วย ส่วนสิ่งแวดล้อม ได้ประสานงานกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ตรวจสอบตามมาตรฐานรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ซึ่งตอนนี้ก็ได้ริเริ่มพูดคุยกับประชาชนแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/12/2019 5:14 pm    Post subject: Reply with quote

ท่าเรือปากบารา”มีลุ้นฟื้นโครงการ
3 ธันวาคม 2562
“ศักดิ์สยาม” สั่งรื้อโปรเจค 1.2 หมื่นล้าน ผุดท่าเรือปากบารา ส่ง“ถาวร” ลงพื้นที่กล่อมประชาชน พร้อมลุยสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลา 2 มั่นใจเป็นฮับขนส่ง

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่กรมเจ้าท่า ว่า ได้สั่งการให้กรมเจ้าท่าพัฒนาท่าเรือต่างๆ ให้สำเร็จโดยเร็ว เพื่อเปิดประตูการขนส่งทางน้ำของไทย ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการให้รื้อแผนการดำเนินโครงการก่อสร้างท่าเรือปากบารา จังหวัดสตูล ที่การยุติโครงการไปแล้วเมื่อรัฐบาลที่แล้วนั้น ขอให้นำกลับขึ้นมาศึกษาใหม่ภายในปีนี้ รวมถึงโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 จังหวัดสงขลาซึ่งมีปัญหาเรื่องการสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่

โดยในส่วนของการพัฒนาท่าเรือปากบารา ถือเป็นส่วนช่วยที่จะทำให้การขนส่งสินค้าทางน้ำ และการเดินทางทางน้ำฝั่งทะเลตะวันตกสะดวกมากขึ้น รวมทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบรางได้อีกด้วย

ดังนั้นโครงการนี้ถือว่ามีความสำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ส่วนตัวเชื่อว่าจะสามารถทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ได้ เพราะรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคมทั้ง 3 คนซึ่งจะร่วมกันผลักดัน และประสานไป สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สส.) ของทั้ง 3 พรรคการเมืองที่อยู่ในพื้นที่ ให้ช่วยทำความเข้าใจกับประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายด้วย


สำหรับโครงการท่าเรือปากบารา นับอีกหนึ่งโครงการที่นายกฯ เคยอยากผลักดันให้เกิดขึ้น ดังนั้นการรื้อฟื้นขึ้นมาศึกษาและจัดทำอีกครั้ง ก็ถือเป็นเรื่องที่ต้องลองดูก่อน เพราะไม่อยากให้ประเทศชาติเสียประโยชน์หรือเสียโอกาสที่ควรจะได้รับทั้งทีมีศักยภาพ

"ผมจะผลักดันให้ปากบารา และท่าเรือสงขลา 2 เกิดให้ได้ในยุคของผม ถือเป็นนโยบายที่กระทรวงคมนาคมต้องทำด้วยกันให้ได้ เพราะถ้าเป็นประโยชน์เราก็ควรทำ ซึ่งเรื่องนี้ได้ฝากให้รัฐมนตรีช่วยฯ ท่านถาวร ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ด้วย”


“ศักดิ์สยาม”สั่งฟื้นชีพท่าเรือน้ำลึกปากปารา

03 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เวลา 09:59 น.

3 ธ.ค.62-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า นโยบายของกระทรวงคมนาคมขณะนี้เห็นชอบที่จะให้มีการฟื้นโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล ซึ่งยอมรับว่าที่ผ่านมามีกระแสต้านทำให้โครงการนี้ไม่สามารถผลักดันให้เกิดขึ้นได้ แต่ก็เป็นอีกนโยบายของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรีที่มีความพยายามจะให้เกิดขึ้นตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว

“มองว่าเป็นโครงการที่ดีและเกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจการค้าการขนส่งทางทะเล ทำให้ต้นทุนการขนส่งถูกลงได้ จึงได้มอบหมายให้กรมเจ้าท่า (จท.) ดำเนินการเพื่อให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน แต่จะต้องศึกษาทั้งผลดีและผลเสียทุกมิติ รวมทั้งจะต้องให้ความสำคัญในการทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ด้วย

“ โครงการปากบารา ถือว่าเป็นโครงการที่ดีและมีประโยชน์มากมาย และเป็นโครงการที่ทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ดังนั้น รัฐมนตรีทั้ง 3 คนของกระทรวงคมนาคมจะร่วมกันในการผลักดันโครงการนี้ให้เกิดขึ้น และจะต้องช่วยในการชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่หรือนอกพื้นที่ก็ตาม โดยจะนำผลการศึกษาที่มีอยู่เดิมมาพิจารณาทบทวน และอาจต้องมีการเริ่มใต้นศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่ก็ต้องดำเนินการ เรื่องนี้จะต้องพิจารณาให้ครบทุกมิติด้วย “ นายศักดิ์สยามกล่าว

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ส่วนโครงการเร่งด่วนที่จะเร่งผลักดันก่อนในขณะนี้ คือการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลา 2 ซึ่งจะเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่เช่นเดียวกันให้เห็นถึงศักยภาพของท่าเรือแห่งนี้ เพราะผลการศึกษาต่างๆทาง จท.มีข้อมูลอยู่แล้ว ดังนั้นโครงการนี้มีความเป็นไปได้ที่จะผลักดันให้เกิดขึ้นได้ก่อน แม้จะไม่ได้จั้งงบประมาณของปี 2563 แต่เชื่อว่าถ้าเป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์การหาแห่งเงินนั้นมีได้หลฃากหลายรูปแบบ เช่น การใช้เงินจากกองทุน หรือให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนเป็นต้น


ด้านนายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม กล่าวว่าว่า โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบาราเป็นโครงการที่ดีและมีประโยชน์มากมายหากสามารถผลักดันให้เกิดขึ้นได้ ที่ผ่านมารับทราบข้อมูลว่ามีกระแสต่อต่านอย่างหนัก แต่ขจะต้เองพยายามชี้ให้เห็นถึงผลดีและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น เช่นลดต้นทุนการขนส้งต่างๆ ทำให้ลดเส้นทางการขนส่งเป็นต้น

“ เชื่อมั่นว่าหากเป็นโครงการที่ดีและไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ได้ จะทำให้โครงการนี้เกิดขึ้นได้ จะต้องใช้ความพยายามในการผลักดันยให้เกิดขึ้น เพราะสามารถร่วมมือกันเพราะ สตูลมีฐานเสียงทางการเมืองของพรารคภูมิใจไทยที่สามารถชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ด้วย”นายถาวร กล่าว

ด้านนายวิทยา ยาม่วง อธิบดี จท. ยืนยันว่าพร้อมรับนโยบายในการผลักดันโครงการท่าเรือน้ำลบึกปากบารา แม้ที่ผ่านมาจะถูกมองว่าโอกาสเกิดได้ยาก ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายที่จะผลักดันในรัฐบาลนี้ เพราะข้อมุลผลการศึกษาที่ผ่านมามทีอยุ่แล้ว แต้จะต้เองนำมาพิจารณาและทบทวนเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน




ปัดฝุ่นโปรเจ็คท่าเรือปากบารา-สงขลา เปิดเอกชนลงทุน PPP 1.7 หมื่นล้าน
วันที่ 03 ธ.ค. 2562 เวลา 11:18 น.

"ศักดิ์สยาม" เดินหน้าผลักดันลงทุนท่าเรือน้ำลึก 1.7 หมื่นล้านบาท ทั้งปากบารา-สงขลา เล็งเปิดเอกชนร่วมทุน PPP หวังชิงเค้กขนส่งทางน้ำช่องแคบมะละกา ลดต้นทุนผู้ประกอบการ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.กระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายให้กรมเจ้าท่า(จท.)ว่าได้มอบนโยบายให้ จท.ไปฟื้นโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล วงเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งยอมรับว่าที่ผ่านมามีกระแสต้านทำให้โครงการนี้ไม่สามารถผลักดันให้เกิดขึ้นได้ แต่ก็เป็นอีกนโยบายของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรีที่มีความพยายามต้องการให้เกิดขึ้น

นอกจากนี้ได้เร่งรัดการลงทุนท่าเรือน้ำลึกสงขลา 2 วงเงิน 5,000 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่เช่นเดียวกันให้เห็นถึงศักยภาพของท่าเรือแห่งนี้ เพราะผลการศึกษาต่างๆทางจท.มีข้อมูลอยู่แล้ว แม้จะไม่ได้ตั้งงบประมาณของปี 2563 แต่เชื่อว่าถ้าเป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์ ส่วนการหาแหล่งเงิน นั้น มีได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้เงินจากกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (TFF) หรือให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน PPPเป็นต้น


“โครงการนี้จะเกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจการค้าการขนส่งทางทะเล ทำให้ต้นทุนการขนส่งถูกลงได้ จึงได้มอบหมายให้กรมเจ้าท่า (จท.) ดำเนินการเพื่อให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน แต่จะต้องศึกษาทั้งผลดีและผลเสียทุกมิติ รวมทั้งจะต้องให้ความสำคัญใมนการทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ด้วย "นายศักดิ์สยาม กล่าว


นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า โครงการปากบารา ถือว่าเป็นโครงการที่ดีและมีประโยชน์มากมาย และเป็นโครงการที่ทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ดังนั้น รัฐมนตรีทั้ง 3 คนของกระทรวงคมนาคมจะร่วมกันในการผลักดันโครงการนี้ให้เกิดขึ้น และจะต้องช่วยในการชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่หรือนอกพื้นที่ก็ตาม โดยจะนำผลการศึกษาที่มีอยู่เดิมมาพิจารณาทบทวน และอาจต้องมีการเริ่มศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่ก็ต้องดำเนินการ เรื่องนี้จะต้องพิจารณาให้ครบทุกมิติรายงานข่าวกระทรวงคมนาคม ระบุว่า โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบาราได้ศึกษาออกแบบแล้วและเข้ากระบวนการผลักดันตั้งแต่ปี 2560-2561แต่ถูกต่อต้านจากชาวบ้านท้องถิ่นและองค์กรอิสระ (เอ็นจีโอ) จนไม่สามารถเปิดเวทีรับฟังความเห็นขอบเขตและแนวทางประเมินผลกระทบ หรือ ค.1 ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปคือ การสำรวจความคิดเห็นประชาชนและจัดทำรายงาน หรือ ค.2 และ การรับฟังความคิดเห็นและทบทวนรายงาน หรือ ค.3 จนไม่สามารถสรุปรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA)ได้อีกทั้งรัฐบาลยังต้องการให้ลดความขัดแย้งของผู้คนในพื้นที่อีกด้วย

ขณะที่แผนพัฒนาท่าเรือน้ำลึกสงขลานั้นคงจะออกมาในรูปแบบเดียวกัน คือรัฐบาลจะสั่งให้ชะลอแผนออกไปอย่างไม่มีกำหนดเนื่องจากปัจจุบันยังไม่สามารถผ่าน ค.1 เพราะโดนต่อต้านจากคนในพื้นที่เช่นเดียวกับที่ปากบารา อีกทั้งยังมีการปลุกกระแสต่อต้านโรงไฟฟ้าที่กลัวว่าจะมาพร้อมกับท่าเรือน้ำลึกสงขลาอีกด้วย


ด้านรายงานข่าวจากกรมเจ้าท่า(จท.) ระบุว่า เส้นทางขนส่งแลนด์บริดจ์ท่าเรือสงขลา-ปากบารา-ปีนัง(มาเลเซีย)นั้นเป็นเกทเวย์ขนส่งสินค้าแทนที่ช่องแคบมะละกา กลุ่มชาติมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกจะได้รับผลประโยชน์ในด้านการประหยัดค่าใช้จ่ายจนสามารถแบ่งสัดส่วนปริมาณขนส่งสินค้าจากช่องแคบมะละกาได้จำนวนมากเพราะแลนด์บริดจ์ท่าเรือสงขลา-ท่าเรือปากบารามีระยะทางที่สั้นกว่าเส้นทางเดินเรือสิงคโปร์-ทะเลอินเดีย เนื่องจากปัจจุบันเส้นทางการขนส่งสินค้าผ่านช่องแคบมะละกาถือว่าเป็นเส้นทางเดินเรือที่มีการจราจรมากที่สุดในโลกด้วยจำนวนเรือราว 1 แสนลำต่อวัน จนทำให้จำนวนเรือในแต่ละปีที่ผ่านช่องแคบมะละกาคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 4 ของโลก



https://www.thaiquote.org/content/229806
__________________
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 48, 49, 50, 51, 52  Next
Page 49 of 52

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©