Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180481
ทั้งหมด:13491715
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 254, 255, 256 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/02/2018 12:53 pm    Post subject: Reply with quote

ศึกษาไฮสปีดเทรน ต่อขยายถึง‘ตราด’
กรุงเทพธุรกิจ 12 ก.พ. 61 นโยบายเศรษฐกิจ

กนศ. เคาะงบ 200 ล้าน ศึกษาไฮสปีด 3 สนามบินส่วนต่อขยาย 173 กม. เชื่อมระยอง-จันทบุรี-ตราด ขณะเส้นทางหลัก กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ถูกสั่งทบทวนวงเงินอุดหนุนค่าก่อสร้าง-ข้อเสนอล้างหนี้แอร์พอร์ต เรล ลิงก์

เบื้องต้นคาดได้ข้อสรุปเดือนนี้ ต้องหั่นสถานีระยองทิ้ง หลังเส้นทางลากผ่ากลางนิคมมาบตาพุด หวั่นเกิดประเด็นสิ่งแวดล้อม-ถูกคัดค้าน

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มอบหมายให้ ร.ฟ.ท. ศึกษาโครงการพัฒนารถความเร็วสูงเชื่อม 3 ท่าอากาศยานส่วนต่อขยาย ช่วงระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทาง 173 กิโลเมตร (กม.) โดยรัฐบาลจะจัดสรรรงบประมาณศึกษา จำนวน 200 ล้านบาท

ผลการศึกษาจะครอบคลุมเรื่องแนวเส้นทาง ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) รูปแบบและวงเงินลงทุน โดยเบื้องต้นคาดว่าจะสรุปแนวเส้นทางได้ภายใน 6 เดือนแรก ส่วนผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ต้องใช้เวลามากกว่า 1 ปี หลังจากนั้นจะเสนอให้คณะกรรมการ (บอร์ด), กระทรวงคมนาคม, กนศ. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาตามขั้นตอน

ด้านวงเงินลงทุนรถไฟความเร็วส่วนต่อขยายยังไม่ชัดเจนในขณะนี้ เพราะต้องรอผลการศึกษาก่อน แต่เบื้องต้นการลงทุนรถไฟความเร็วสูง 1 กม. จะมีกรอบวงเงิน 800 ล้านบาทต่อกิโลเมตร หรือคำนวณคร่าวๆ ได้ประมาณ 138,400 ล้านบาท

สำหรับโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 ท่าอากาศยาน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ในพื้นที่กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ล่าสุดได้ปรับลดระยะทางช่วง กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง จาก 260 กม. เหลือ 220 กม. และลดจำนวนสถานีรถไฟความเร็วสูงจาก 10 สถานี เหลือ 9 สถานี เพราะได้ตัดสถานีระยอง บริเวณเกาะลอย อ.เมือง จ.ระยองออกไป

เนื่องจากเส้นทางระหว่างสถานีท่าอากาศยานอู่ตะเภา-สถานีระยอง ระยะทาง 40 กม. ต้องผ่ากลางนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จึงเกรงว่าจะทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม การต่อต้าน หรือประเด็นอื่นๆ ตามมา โดยการศึกษาส่วนต่อขยาย ช่วงระยอง-จันทบุรี-ตราด ก็จะจัดทำแนวเส้นทางใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเช่นกัน

นอกจากนี้ กนศ. มอบหมายให้ ร.ฟ.ท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือเรื่องวงเงินที่ใช้ในโครงการ จำนวน 2 ประเด็นประเด็นแรก กรณีที่การรถไฟฯ เสนอให้กระทรวงการคลังและรัฐบาลรับภาระหนี้โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์แทน จำนวน 3 หมื่นล้านบาท และประเด็นที่ 2 จำนวนเงินอุดหนุนให้เอกชนผู้รับสัมปทาน ซึ่งหลักการคือต้องไม่เกินวงเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 1.6 แสนล้านบาท

โดยร.ฟ.ท.จะต้องสรุปเรื่องวงเงินภายในเดือนนี้ เพราะต้องเสนอให้ที่ประชุม กนศ. พิจารณาในเดือน มี.ค. และเสนอให้ ครม. พิจารณาเห็นชอบหลักการโครงการตามลำดับ

นอกจากนี้ร.ฟ.ท. ยังอยู่ระหว่างร่างเงื่อนไขการประมูล (TOR) คู่ขนาน เมื่อ ครม. เห็นชอบโครงการแล้ว ก็จะประกาศเชิญชวนเอกชนได้ในเดือน มี.ค., คาดว่าจะทราบผลการประมูลในเดือน ก.ค. จากนั้นต้องเสนอให้ กนศ. อนุมัติร่างสัญญาและผลการคัดเลือกในเดือน ก.ย., ครม.เห็นชอบผลการคัดเลือก และคาดว่าจะลงนามสัญญาได้ในเดือน ก.ย. 2561

โดยที่ผ่านมาการร.ฟ.ท.ได้สอบถามความคิดเห็นเบื้องต้นจากเอกชนกลุ่มเป้าหมายไปแล้วและจะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นนักลงทุน (Market Sounding)อย่างเป็นทางการอีกครั้งในเดือนนี้

สำหรับเอกชนกลุ่มเป้าของโครงการ ประกอบด้วย กลุ่มผู้รับเหมา ได้แก่บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือITD, บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือSTEC, บริษัท ไทยทาเคนาคา สากล ก่อสร้าง จำกัด, บริษัทคริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือCNT เป็นต้น

กลุ่มเจ้าของเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงและล้อเลื่อน ได้แก่ ซีเมนส์, ฮิตาชิ, อัลสตอม และมิตซูบิชิ กลุ่มสถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคารยูโอบี, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกสิกร, บริษัท มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป มหาชนจำกัด หรือMUFG, องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Jica), ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เป็นต้น

กลุ่มผู้บริหารการเดินรถ ได้แก่ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือBTS, บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือBEM, JRประเทศญี่ปุ่น, SMRT ประเทศสิงคโปร์

นักลงทุนกลุ่มอื่นๆ ได้แก่ เครือเซ็นทรัล เครือเดอะมอลล์ สยามพิวรรธน์ เครือซีพี ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) และอิโตชู ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2018 1:02 pm    Post subject: Reply with quote

สามารถชี้ไม่แปลกใจเลย ญี่ปุ่นไม่ร่วมลงทุน “ชินคันเซ็น” กรุงเทพฯ-เชียงใหม่
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 - 10:09 น.

สามารถ” ชี้ไม่แปลกใจเลย ญี่ปุ่นไม่ร่วมลงทุน “ชินคันเซ็น” กรุงเทพฯ-เชียงใหม่
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 - 11:06 น.

วันนี้ (12 ก.พ.) นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าฯกทม.และอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความแสดงความเห็นกรณีข่าวการเจรจารถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น โดยระบุว่า ไม่แปลกใจ! ถ้าญี่ปุ่นไม่ร่วมลงทุน “ชินคันเซ็น” กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ มีรายละเอียดดังนี้

ผมไม่แปลกใจเลยที่มีข่าวว่ารัฐบาลญี่ปุ่นปฏิเสธที่จะร่วมลงทุนกับรัฐบาลไทยในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ตามข้อเสนอของรัฐบาลไทย แม้กระทรวงคมนาคมของไทยได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง และยังไม่มีการเจรจาเรื่องการลงทุนแต่ประการใดก็ตาม เนื่องจากผมเคยเขียนบทความเรื่อง “ฟันธง! ไฮสปีดเชียงใหม่ ญี่ปุ่นจะไม่ร่วมลงทุน” ไว้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2558 โดยมีใจความสรุปได้ดังนี้

การศึกษาความเป็นได้ของโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีของญี่ปุ่นที่เรียกกันว่า “ชินคันเซ็น” ทั้งโดยรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่นได้ผลลัพธ์ตรงกันว่า ผลตอบแทนทางการเงิน (Financial Internal Rate of Return หรือ FIRR) ไม่คุ้มค่ากับเงินลงทุน ด้วยเหตุนี้ ผมจึงคาดการณ์ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะไม่ร่วมลงทุนกับรัฐบาลไทยเพื่อก่อสร้างชินคันเซ็น กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เพราะไม่ต้องการแบกรับความเสี่ยงร่วมกับรัฐบาลไทย แต่รัฐบาลญี่ปุ่นจะให้รัฐบาลไทยกู้เงิน รวมทั้งจะรับเหมาก่อสร้าง ขายขบวนรถไฟ และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

นอกจากเหตุผลดังกล่าวแล้ว รัฐบาลญี่ปุ่นได้เห็นตัวอย่างการลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่รัฐบาลไทยลงทุนเองทั้งหมด 100% โดยรัฐบาลจีนไม่ต้องร่วมลงทุนเลย แต่จีนจะรับจ้างก่อสร้างงานบางส่วนที่ผู้รับเหมาไทยไม่ถนัด อีกทั้งจีนจะขายขบวนรถไฟ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้จีนไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงในกรณีที่โครงการขาดทุน แต่จีนจะได้รับประโยชน์จากการได้งานก่อสร้าง การขายขบวนรถไฟและวัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งการมีเส้นทางออกทะเลเพิ่มอีกเส้นทางหนึ่ง

ในกรณีของรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ซึ่งจะมีการต่อเส้นทางไปถึงหนองคาย จะทำให้ได้เส้นทางเชื่อมกับลาวและจีน เส้นทางนี้จีนจะได้รับประโยชน์ด้วย แต่จีนก็ไม่ต้องร่วมลงทุน ดังนั้น เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งญี่ปุ่นไม่ได้รับประโยชน์จากเส้นทางนี้เลย แล้วจะมีเหตุผลใดที่ญี่ปุ่นจะร่วมลงทุนด้วย ด้วยเหตุนี้ ผมจึงไม่อยากให้รัฐบาลไทยคาดหวังว่าญี่ปุ่นจะร่วมลงทุน แม้ว่าผมต้องการให้ญี่ปุ่นร่วมลงทุนด้วยก็ตาม

ความไม่พร้อมของรัฐบาลไทยในการก่อสร้างชินคันเซ็น กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ได้แสดงออกมาให้เห็นเป็นระยะๆ เช่น ต้องการลดความเร็วสูงสุดของชินคันเซ็นจาก 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง เหลือเพียง 180-200 กิโลเมตร/ชั่วโมง กลายเป็นรถไฟความเร็วปานกลาง หรือต้องการลดจำนวนสถานีระหว่างทางลง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อลดค่าก่อสร้าง

ผมอยากเห็นชินคันเซ็น กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่เป็นรถไฟความเร็วสูงจริงๆ พร้อมทั้งมีจำนวนสถานีที่เหมาะสม และที่สำคัญ จะต้องมีการพัฒนาพื้นที่รอบๆ สถานี และพื้นที่ใกล้เคียงให้เป็นเมืองใหม่ เมืองอัจฉริยะ (Smart City) แหล่งพาณิชยกรรม แหล่งท่องเที่ยว ศูนย์ราชการ เมืองอุตสาหกรรม และสถาบันการศึกษา เป็นต้น ซึ่งจะช่วยทำให้มีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้น มีการซื้อขายมากขึ้น และมีจำนวนผู้โดยสารชินคันเซ็นเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งจะนำไปสู่การประหยัดเวลาการเดินทาง ลดการเผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิง ลดมลภาวะ และลดอุบัติเหตุจราจร

หากรัฐบาลทำได้เช่นนี้ ถึงแม้ว่าชินคันเซ็นจะให้ผลประโยชน์ทางตรงในรูปแบบรายได้จากค่าโดยสารไม่คุ้มค่ากับเงินลงทุนก็ตาม แต่ชินคันเซ็นก็จะช่วยให้เราได้รับผลประโยชน์ทางอ้อมในการกระตุ้นเศรษฐกิจในจังหวัดที่มีชินคันเซ็นผ่านรวมทั้งจังหวัดใกล้เคียง รัฐบาลก็จะสามารถเก็บภาษีได้มากขึ้น

ผมอยากให้รัฐบาลดูตัวอย่างการก่อสร้างชินคันเซ็นเส้นทางแรกของญี่ปุ่นจากกรุงโตเกียว-โอซากา ซึ่งเป็นรถไฟความเร็วสูงเส้นทางแรกของโลกด้วย แม้ว่าผู้เกี่ยวข้องกับโครงการถูกเจ้าหน้าที่ของธนาคารโลกพูดถากถางว่า “ไม่มีนโยบายที่จะปล่อยเงินกู้ให้กับโครงการที่เป็นการทดลอง” เมื่อคราวที่ผู้เกี่ยวข้องเดินทางไปขอกู้เงินจากธนาคารโลก แต่สุดท้ายรถไฟความเร็วสูงเส้นทางแรกของโลกก็เกิดขึ้นจนได้จากฝีมือและการทำงานอย่างมุ่งมั่นและทุ่มเทของวิศวกรญี่ปุ่น

ด้วยเหตุนี้ ผมจึงไม่อยากให้รัฐบาลถอดใจ แต่อยากให้รัฐบาลมี “ใจสู้” เดินหน้าก่อสร้างชินคันเซ็นกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ รวมทั้งพัฒนาพื้นที่รอบสถานีให้สำเร็จให้ได้ แม้ว่าเราจะต้องลงทุนเองทั้งหมดก็ตาม แต่ถ้ารัฐบาลเห็นว่าไม่มีความพร้อมทางการเงินก็ควรชะลอโครงการนี้ออกไปก่อน ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ที่จะมาสานต่อ ส่วนรัฐบาลนี้ก็ควรเร่งก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา รวมทั้งพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟ และเตรียมการต่อขยายเส้นทางไปถึงหนองคายเพื่อเชื่อมโยงกับจีนให้ได้เส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่สมบูรณ์แบบสักเส้นทางหนึ่งก่อน และที่สำคัญจะต้องเร่งก่อสร้างรถไฟทางคู่ ขนาดรางกว้าง 1 เมตร ให้ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด

การทำเช่นนี้ น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับรัฐบาล


Last edited by Wisarut on 13/02/2018 10:44 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/02/2018 1:59 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้ (12 ก.พ.) นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าฯกทม.และอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความแสดงความเห็นกรณีข่าวการเจรจารถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น โดยระบุว่า ไม่แปลกใจ! ถ้าญี่ปุ่นไม่ร่วมลงทุน “ชินคันเซ็น” กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ มีรายละเอียดดังนี้

ผมไม่แปลกใจเลยที่มีข่าวว่ารัฐบาลญี่ปุ่นปฏิเสธที่จะร่วมลงทุนกับรัฐบาลไทยในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ตามข้อเสนอของรัฐบาลไทย แม้กระทรวงคมนาคมของไทยได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง และยังไม่มีการเจรจาเรื่องการลงทุนแต่ประการใดก็ตาม เนื่องจากผมเคยเขียนบทความเรื่อง “ฟันธง! ไฮสปีดเชียงใหม่ ญี่ปุ่นจะไม่ร่วมลงทุน” ไว้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2558 โดยมีใจความสรุปได้ดังนี้

การศึกษาความเป็นได้ของโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีของญี่ปุ่นที่เรียกกันว่า “ชินคันเซ็น” ทั้งโดยรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่นได้ผลลัพธ์ตรงกันว่า ผลตอบแทนทางการเงิน (Financial Internal Rate of Return หรือ FIRR) ไม่คุ้มค่ากับเงินลงทุน ด้วยเหตุนี้ ผมจึงคาดการณ์ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะไม่ร่วมลงทุนกับรัฐบาลไทยเพื่อก่อสร้างชินคันเซ็น กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เพราะไม่ต้องการแบกรับความเสี่ยงร่วมกับรัฐบาลไทย แต่รัฐบาลญี่ปุ่นจะให้รัฐบาลไทยกู้เงิน รวมทั้งจะรับเหมาก่อสร้าง ขายขบวนรถไฟ และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง


นอกจากเหตุผลดังกล่าวแล้ว รัฐบาลญี่ปุ่นได้เห็นตัวอย่างการลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่รัฐบาลไทยลงทุนเองทั้งหมด 100% โดยรัฐบาลจีนไม่ต้องร่วมลงทุนเลย แต่จีนจะรับจ้างก่อสร้างงานบางส่วนที่ผู้รับเหมาไทยไม่ถนัด อีกทั้งจีนจะขายขบวนรถไฟ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้จีนไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงในกรณีที่โครงการขาดทุน แต่จีนจะได้รับประโยชน์จากการได้งานก่อสร้าง การขายขบวนรถไฟและวัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งการมีเส้นทางออกทะเลเพิ่มอีกเส้นทางหนึ่ง

ในกรณีของรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ซึ่งจะมีการต่อเส้นทางไปถึงหนองคาย จะทำให้ได้เส้นทางเชื่อมกับลาวและจีน เส้นทางนี้จีนจะได้รับประโยชน์ด้วย แต่จีนก็ไม่ต้องร่วมลงทุน ดังนั้น เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งญี่ปุ่นไม่ได้รับประโยชน์จากเส้นทางนี้เลย แล้วจะมีเหตุผลใดที่ญี่ปุ่นจะร่วมลงทุนด้วย ด้วยเหตุนี้ ผมจึงไม่อยากให้รัฐบาลไทยคาดหวังว่าญี่ปุ่นจะร่วมลงทุน แม้ว่าผมต้องการให้ญี่ปุ่นร่วมลงทุนด้วยก็ตาม

ความไม่พร้อมของรัฐบาลไทยในการก่อสร้างชินคันเซ็น กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ได้แสดงออกมาให้เห็นเป็นระยะๆ เช่น ต้องการลดความเร็วสูงสุดของชินคันเซ็นจาก 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง เหลือเพียง 180-200 กิโลเมตร/ชั่วโมง กลายเป็นรถไฟความเร็วปานกลาง หรือต้องการลดจำนวนสถานีระหว่างทางลง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อลดค่าก่อสร้าง

ผมอยากเห็นชินคันเซ็น กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่เป็นรถไฟความเร็วสูงจริงๆ พร้อมทั้งมีจำนวนสถานีที่เหมาะสม และที่สำคัญ จะต้องมีการพัฒนาพื้นที่รอบๆ สถานี และพื้นที่ใกล้เคียงให้เป็นเมืองใหม่ เมืองอัจฉริยะ (Smart City) แหล่งพาณิชยกรรม แหล่งท่องเที่ยว ศูนย์ราชการ เมืองอุตสาหกรรม และสถาบันการศึกษา เป็นต้น ซึ่งจะช่วยทำให้มีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้น มีการซื้อขายมากขึ้น และมีจำนวนผู้โดยสารชินคันเซ็นเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งจะนำไปสู่การประหยัดเวลาการเดินทาง ลดการเผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิง ลดมลภาวะ และลดอุบัติเหตุจราจร

หากรัฐบาลทำได้เช่นนี้ ถึงแม้ว่าชินคันเซ็นจะให้ผลประโยชน์ทางตรงในรูปแบบรายได้จากค่าโดยสารไม่คุ้มค่ากับเงินลงทุนก็ตาม แต่ชินคันเซ็นก็จะช่วยให้เราได้รับผลประโยชน์ทางอ้อมในการกระตุ้นเศรษฐกิจในจังหวัดที่มีชินคันเซ็นผ่านรวมทั้งจังหวัดใกล้เคียง รัฐบาลก็จะสามารถเก็บภาษีได้มากขึ้น

ผมอยากให้รัฐบาลดูตัวอย่างการก่อสร้างชินคันเซ็นเส้นทางแรกของญี่ปุ่นจากกรุงโตเกียว-โอซากา ซึ่งเป็นรถไฟความเร็วสูงเส้นทางแรกของโลกด้วย แม้ว่าผู้เกี่ยวข้องกับโครงการถูกเจ้าหน้าที่ของธนาคารโลกพูดถากถางว่า “ไม่มีนโยบายที่จะปล่อยเงินกู้ให้กับโครงการที่เป็นการทดลอง” เมื่อคราวที่ผู้เกี่ยวข้องเดินทางไปขอกู้เงินจากธนาคารโลก แต่สุดท้ายรถไฟความเร็วสูงเส้นทางแรกของโลกก็เกิดขึ้นจนได้จากฝีมือและการทำงานอย่างมุ่งมั่นและทุ่มเทของวิศวกรญี่ปุ่น

ด้วยเหตุนี้ ผมจึงไม่อยากให้รัฐบาลถอดใจ แต่อยากให้รัฐบาลมี “ใจสู้” เดินหน้าก่อสร้างชินคันเซ็นกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ รวมทั้งพัฒนาพื้นที่รอบสถานีให้สำเร็จให้ได้ แม้ว่าเราจะต้องลงทุนเองทั้งหมดก็ตาม แต่ถ้ารัฐบาลเห็นว่าไม่มีความพร้อมทางการเงินก็ควรชะลอโครงการนี้ออกไปก่อน ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ที่จะมาสานต่อ ส่วนรัฐบาลนี้ก็ควรเร่งก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา รวมทั้งพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟ และเตรียมการต่อขยายเส้นทางไปถึงหนองคายเพื่อเชื่อมโยงกับจีนให้ได้เส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่สมบูรณ์แบบสักเส้นทางหนึ่งก่อน และที่สำคัญจะต้องเร่งก่อสร้างรถไฟทางคู่ ขนาดรางกว้าง 1 เมตร ให้ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด

การทำเช่นนี้ น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับรัฐบาล
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/02/2018 7:33 am    Post subject: Reply with quote

แจงบิ๊กตู่สั่งศึกษาโครงการรถไฟทางคู่ไปจันทบุรี-ตราดไม่ใช่ความเร็วสูง
โพสต์ทูเดย์ 12 ก.พ. 61

"กอบศักดิ์" แจงนายกฯ สั่ง ร.ฟ.ม. ศึกษาโครงการรถไฟทางคู่ไปจันทบุรี-ตราด ไม่ใช่รถไฟความเร็วสูง

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรณีที่มีกระแสข่าวในสื่อว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(กนศ.) เมื่อวันที่ 1 ก.พ. มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท) ศึกษาโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ ระยอง เชื่อมต่อสนามบินนานาชาติ 3 แห่ง ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา ต่อไปอีก 173 กม. ไปถึงจ.จันทบุรีและจ.ตราดนั้น ได้อยู่ในที่ประชุมด้วยนายกรัฐมนตรีไม่ได้มีการสั่งการเรื่องนี้ แต่สั่งการให้ศึกษาโครงการรถไฟทางคู่เพื่อเข้าไปยัง 2 จังหวัดดังกล่าว เพื่อสนับสนุนให้เป็นเส้นทางการท่องเที่ยว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามกระแสข่าวที่ออกมานั้นระบุว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ ร.ฟ.ท. ไปศึกษาและจะจัดงบประมาณให้ 200 ล้านบาทเพื่อศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และผลตอบแทนทางการเงิน

สำหรับโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยองนั้น มีระยะทาง 220 กม. มีทั้งหมด 9 สถานี วงเงินลงทุนประมาณ 2.36 แสนล้านบาท  ซึ่งล่าสุดนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่าร่างทีโออาร์โครงการนี้จะแล้วเสร็จ เข้าที่ประชุม ครม . ในเดือน มี.ค. และได้ผู้ชนะการประมูลเพื่อเข้าร่วมลงทุนกับรัฐ(พีพีพี) ในเดือน ก.ย. 2561
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/02/2018 1:34 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเร่งถกคลัง เคาะรถไฟไทย-ญี่ปุ่น
ฐานเศรษฐกิจ 13 February 2018

ไฮสปีดกรุงเทพฯ-เชียงใหม่คืบ! ญี่ปุ่นยันให้ความมั่นใจพร้อมสนับสนุนทุกด้าน ด้านคมนาคมจ่อเสนอ “บิ๊กตู่” เคาะมี.ค.นี้ เตรียมถก ก.คลัง หาแหล่งเงินทุน คาดร่วมทุนไทย-ญี่ปุ่นทั้งโครงการ

นายฮิเดโอะ ฟุคุชิมะ อัครราชทูต และรองหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ปีนี้เป็นปีที่จะได้เห็นความคืบหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่นและไทยของรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โครงการขนาดใหญ่มีมูลค่ามากกว่า 2.7 แสนล้านบาท แต่ทางญี่ปุ่นก็พร้อมให้ความสนับสนุนในทุกๆด้าน รวมทั้งข้อเสนอเงินกู้ดอกเบี้ยตํ่าเพื่อผลักดันโครงการนี้ให้เกิดขึ้น

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ที่กระทรวงคมนาคม ได้มีการประชุมโครงการความร่วมมือรถไฟไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ วงเงิน 2.76 แสนล้านบาท ซึ่งภายหลังการประชุมนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ออกมาเปิดเผยว่า ได้พิจารณา 3 ประเด็นหลัก คือ

1.เรื่องต้นทุนของโครงการ ซึ่งคณะทำงานของทั้งฝ่ายไทยและญี่ปุ่นได้พิจารณาถึงความจำเป็น เพื่อลดต้นทุนในการก่อสร้าง 2.ในด้านของความเร็ว ยืนยันว่าจะยังคงใช้ระบบและเทคโนโลยีของรถไฟความเร็วสูงชินคันเซนที่ความเร็ว 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และ 3.เรื่องความเชื่อมโยง มีการเสนอว่าเส้นทางรถไฟควรจะต้องสามารถเชื่อมต่อระหว่างประเทศ เช่นเดียวกับโครงการรถไฟไทย-จีน

“หากเน้นเฉพาะการขนส่งผู้โดยสารทางรถไฟความเร็วสูงนั้นจะมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) อยู่ที่ประมาณ 7% และถ้ามีการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ด้วย EIRR จะอยู่ที่ประมาณ 14% ในส่วนของการลงทุนกำลังอยู่ระหว่างการหารือร่วมกับกระทรวงการคลังเพื่อหาแหล่งเงินทุนของโครงการ ซึ่งเบื้องต้นอาจจะเป็นรูปแบบของการร่วมทุนทั้งโครงการ หลังจากนี้จะต้องมีการหารือร่วมกับญี่ปุ่นอีกและเตรียมเสนอความเป็นไปได้ของโครงการให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาภายในเดือนมีนาคมนี้”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,339 วันที่ 9 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/02/2018 5:37 pm    Post subject: Reply with quote

ผู้ว่าฯรถไฟ ยัน กนศ. มอบให้ศึกษา ต่อขยายไฮสปีดเทรน กทม.-ระยอง เฟส 2 ต่อไปถึงจันท์-ตราด
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 - 15:08 น.

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวยืนยันว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา ที่ได้มติเห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย กลับไปศึกษความเหมาะสมในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง กทม.-ระยอง หรื่อรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ท่าอากาศยานดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะที่ 2 โดยให้ต่อเชื่อมไปยังจันทบุรีและตราด โดยอนุมัติงบกลางจำนวน 200 ล้านบาท ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยนำไปศึกษา เบื้องต้นคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปีครึ่ง

“ในการประชุมสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) เสนอให้ รถไฟฯ ศึกษาการต่อขยายไฮสปีดเทรนจากระยองไปที่จันทบุรี และตราดด้วย ซึ่งจะศึกษาคู่ขนานไปกับรถไฟทางคู่ที่จะต่อขยายด้วย ซึ่งที่ประชุมกนศ. ก็เห็นด้วย จึงมีมติให้รถไฟฯ ไปศึกษาต่อขยายไฮสปีดออกไปอีก โดยให้งบกลางมา 200 ล้านบาท”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กนศ. จัดทำมติที่ประชุมวันที่ 1 ก.พ. แจ้งมายังรฟท. โดยรายละเอียดมติที่ประชุม ข้อ 4.2 มีการเขียนมติไว้ชัดเจว่า กนศ. มีมติเห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ไปศึกษาความเหมาะสมโครงการ เหมาะสมในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง กทม.-ระยอง หรือรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ท่าอากาศยานดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ในระยะที่ 2 ระยอง-จันทบุรี-ตราด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/02/2018 10:34 am    Post subject: Reply with quote

BTSชิงพีพีพีไฮสปีดเทรน ก.พ.นี้ซื้อซองกรุงเทพฯ-อู่ตะเภาพร้อมพัฒนาพื้นที่รอบสถานี
ออนไลน์เมื่อ : 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,339 วันที่ 11 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

“บีทีเอส” ยันเข้าร่วมประมูลพีพีพี รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-อู่ตะเภา พร้อมซื้อซองทีโออาร์ในเดือนก.พ.นี้ และร่วมพัฒนาที่ดินรอบสถานี หวังหากชนะลงนามสัญญาได้ก.ย.61 มองอนาคตช่วยเสริมโครงข่ายคมนาคมในนิคมฯสมาร์ท พาร์ก ที่มาบตาพุด

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส กรุ๊ป เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากที่คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(กนศ.) มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้อนุมัติกรอบระยะเวลาการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพฯ-อู่ตะเภา เชื่อม 3 สนามบิน ที่จะออกหนังสือเชิญชวน (ทีโออาร์) ประมูลในรูปแบบรัฐร่วมลงทุนกับเอกชนหรือพีพีพีในเดือนกุมภาพันธ์นี้



โดยบริษัทมีความสนใจที่จะเข้าไปลงทุนในโครงการดังกล่าว และพร้อมจะซื้อซองประมูล นำมาวิเคราะห์ในรายละเอียด หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของทีโออาร์ดังกล่าว ว่ามีความคุ้มค่า เหมาะสมต่อการลงทุนหรือไม่ เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่เม็ดเงินลงทุนที่มีการประเมินสูงถึง 1.76แสนล้านบาท ประกอบกับมีการรวมการลงทุนในการพัฒนาที่ดินรอบสถานีรถไฟความเร็วสูงอีกประมาณ5หมื่นล้านบาท รวมเงินลงทุนราว 2.26 แสนล้านบาท

ดังนั้น จึงต้องนำโครงการรถไฟความเร็วสูง มาวิเคราะห์ความเสี่ยง ร่วมกับการพัฒนาที่ดินรอบแนวสถานีรถไฟฯด้วย ซึ่งในส่วนนี้ทางบีทีเอส กรุ๊ป ก็มีธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์อยู่ในกลุ่มอยู่แล้ว

ทั้งนี้ การสนใจเข้าลงทุนดังกล่าว เนื่องจากเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี และเป็นโอกาสที่บริษัทจะขยายการลงทุนนอกพื้นที่จากปัจจุบันที่ดำเนินงานอยู่ในเฉพาะเขตกรุงเทพมหานครและนนทบุรีเท่านั้น

MP11-3339-A“บีทีเอสดำเนินธุรกิจระบบขนส่งมวลชนทางรางอยู่แล้ว จึงเป็นโอกาสที่จะขยายการลงทุนไปยังพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น ส่วนจะมีการยื่นซองประมูลหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับผลการวิเคราะห์ด้านการลงทุน และผลตอบแทนว่าจะคุ้มค่าแค่ไหน เพราะโครงการดังกล่าวเอกชนจะเป็นผู้รับความเสี่ยงในเรื่องรายได้”

นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ หากโครงการฯมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน บริษัท จะยื่นประมูลร่วมกับพันธมิตรที่มีการร่วมลงทุนกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)และบริษัทซิโน-ไทยเอ็นจีเนียริ่งแอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หากชนะการประมูลและลงนามในสัญญาได้ในเดือนกันยายน 2561 จะเป็นการช่วยเสริมโครงสร้างข่ายระบบคมนาคม ที่บริษัทจะไปลงทุนระบบรถไฟฟ้ารางเบาหรือรถไฟฟ้าที่ใช้ล้อยาง ระยะทางราว 4 กิโลเมตร ในพื้นที่สมาร์ทพาร์ก บริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการลงทุน และความเป็นไปของโครงการ จะแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคมนี้ โดยเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอยู) กับทาง กนอ.ไปแล้ว ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนหลายพันล้านบาทขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ระบบรถไฟฟ้าแบบใด โดยโครงการจะแล้วเสร็จในปี 2563

AW_Online-03“โครงการรถไฟความเร็วสูงดังกล่าว จะมีการพัฒนาเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกจะก่อสร้างจากกรุงเทพฯไปถึงสนามบินอู่ตะเภา ระยะทางประมาณ 196 กิโลเมตร จะแล้วเสร็จในปี 2566 และระยะที่ 2 จะต่อเชื่อมไปถึงอำเภอเมืองระยองอีกประมาณ 60 กิโลเมตร หากบริษัทชนะการประมูลในเฟสแรก ก็จะมีโอกาสลงทุนในระยะที่ 2 ได้อีก จะไปช่วยเสริมโครงสร้างระบบขนส่งในสมาร์ท พาร์ก ได้ด้วย”

แหล่งข่าวจากสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(สกรศ.) เปิดเผยว่า นอกจาก บีทีเอส กรุ๊ป มีความสนใจลงทุนในโครงการดังกล่าวแล้ว ยังมีกลุ่มทุนจีนที่จะมาจับมือกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี กรุ๊ป) รวมถึงกลุ่มทุนจากญี่ปุ่น ที่ให้ความสนใจและเข้ามาหารือกับ สกรศ.แล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/02/2018 6:18 pm    Post subject: Reply with quote

ทำความเข้าใจรถไฟไทย-ญี่ปุ่น
ไทยโพสต์ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เวลา 00:01 น. กระจกไร้เงา

เป็นที่รู้กันว่าไทยเรามีโครงการรถไฟความเร็วสูงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูง ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทย-จีน และโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ภายใต้ความร่วมมือกับญี่ปุ่น ที่ได้เกิดประเด็นครึกโครมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นเอง ทำให้เกิดกระแสตามโลกโซเชียล และได้มีการแชร์กันอย่างแพร่หลาย

กรณีที่สื่อต่างประเทศและสื่อโซเชียลได้รายงานว่าญี่ปุ่นไม่สนใจลงทุนหรือยกเลิกโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทาง กทม.-เชียงใหม่ ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก เนื่องจากมองว่าการศึกษาความเป็นได้ของโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีของญี่ปุ่นที่เรียกกันว่า “ชินคันเซ็น” ทั้งโดยรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่นได้ผลลัพธ์ตรงกันว่า ผลตอบแทนทางการเงิน (Financial Internal Rate of Return หรือ FIRR) ไม่คุ้มค่ากับเงินลงทุน
ด้วยเหตุนี้ จึงคาดการณ์ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะไม่ร่วมลงทุนกับรัฐบาลไทยเพื่อก่อสร้างชินคันเซ็น กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เพราะไม่ต้องการแบกรับความเสี่ยงร่วมกับรัฐบาลไทย แต่รัฐบาลญี่ปุ่นจะให้รัฐบาลไทยกู้เงิน รวมทั้งจะรับเหมาก่อสร้าง ขายขบวนรถไฟ และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
นอกจากเหตุผลดังกล่าวแล้ว มองว่ารัฐบาลญี่ปุ่นได้เห็นตัวอย่างการลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่รัฐบาลไทยลงทุนเองทั้งหมด 100% โดยรัฐบาลจีนไม่ต้องร่วมลงทุนเลย แต่จีนจะรับจ้างก่อสร้างงานบางส่วนที่ผู้รับเหมาไทยไม่ถนัด อีกทั้งจีนจะขายขบวนรถไฟ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้จีนไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงในกรณีที่โครงการขาดทุน แต่จีนจะได้รับประโยชน์จากการได้งานก่อสร้าง การขายขบวนรถไฟและวัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งการมีเส้นทางออกทะเลเพิ่มอีกเส้นทางหนึ่ง

กระแสข่าวดังกล่าวไวเหมือนผึ้งแตกรัง เมื่อมีการแชร์ไปตามโลกออนไลน์ ประชาชนคนที่เสพข่าวก็ได้ตั้งคำถามว่า "ญี่ปุ่นยกเลิกร่วมลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงจริงหรือไม่ แล้วหลังจากนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง ยกเลิกหรือไม่ยกเลิก เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของกระทรวงคมนาคมที่จะมาตอบคำถาม

ในเวลาต่อมา ได้ทำหนังสือชี้แจงต่อสื่อมวลชนว่าจาก การหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงคมนาคมของไทย และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมและการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น เป็นการรายงานผลการศึกษาความเหมาะสมของโครงการความร่วมมือระหว่างสองกระทรวงในการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเส้นกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งยังไม่ได้มีการเจรจาการลงทุนแต่ประการใด และทางฝ่ายญี่ปุ่นไม่ได้ยกเลิกโครงการความร่วมมือ หรือตอบปฏิเสธการร่วมลงทุนแต่อย่างใด

นอกจากนี้แล้ว ทางฝ่ายญี่ปุ่นเองยังรับที่จะไปพิจารณาจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อหารูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมและเป็นภาระการลงทุนของรัฐบาลไทยให้น้อยที่สุด

สำหรับในประเด็นเรื่องความเร็วของรถไฟความเร็วสูงชินกันเซ็นของญี่ปุ่นนั้น ตามมาตรฐานของญี่ปุ่นจะพัฒนาความเร็วที่ 300 กม.ต่อชั่วโมงเป็นอย่างน้อย ซึ่งเป็นที่เข้าใจร่วมกันว่า การลดความเร็วลงจะไม่มีความแตกต่างของมูลค่าการลงทุน รวมทั้งการลดจำนวนสถานี ทั้งนี้ ในการจัดทำรายงานการศึกษาความเหมาะสมได้คำนึงถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด โดยคำนึงถึงต้นทุนตลอดอายุโครงการ (Life Cycle Cost) ทั้งนี้ ทางญี่ปุ่นรับไปศึกษาเพิ่มเติม

ดังนั้นก็เป็นอันว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงในความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่นนั้น ญี่ปุ่นไม่ได้มีการยกเลิกสนใจแผนร่วมลงทุนแต่อย่างใด เพียงแต่รอศึกษาข้อมูลรายละเอียดแผนการลงทุน เรื่องระบบและการจัดหารถ เป็นต้น

ในขณะที่โครงการรถไฟไทย-จีน ช่วงช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ความคืบหน้าขณะนี้กรมทางหลวง (ทล.) ได้ปรับพื้นที่เพื่อเตรียมการก่อสร้างโครงการในเฟสแรก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ระหว่างสถานีกลางดง-ปางอโศก ส่วนการก่อสร้างโครงการเฟส 2-4 คือ ช่วงปากช่อง-คลองขนานจิตร 11 กิโลเมตร แก่งคอย-นครราชสีมา 119.5 กิโลเมตร และช่วงกรุงเทพฯ-แก่งคอย 119.5 กิโลเมตร และจะแบ่งสัญญาการก่อสร้างเป็น 14 สัญญา

สำหรับการก่อสร้างช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ไทยจะดำเนินการเอง ทั้งการศึกษาความเหมาะสมและความคุ้มค่าด้านการลงทุน และการออกแบบรายละเอียด โดยให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. และการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการ โดยมีจีนเป็นที่ปรึกษาในการพิจารณา

ก็ต้องรอลุ้นว่าในส่วนของโครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่น รูปแบบการลงทุนจะสรุปมาในรูปแบบใด คงต้องรอให้มีการสรุปในการประชุมครั้งต่อไปในเร็วๆ นี้ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับโครงการรถไฟไทย-จีน ก็ใช้เวลาสรุปอยู่นานกว่าที่จะตกผนึกจนได้มีการลงนามเซ็นสัญญาเมื่อไม่นานที่ผ่านมา ก็ได้แต่หวังว่าเมื่อทั้ง 2 โครงการเกิดขึ้นจริง จะช่วยกระจายความเจริญไปสู่เมืองต่างๆ ในภูมิภาค และให้เกิดความสะดวกสบาย ความรวดเร็ว และปลอดภัยในการเดินทางของประชาชนยิ่งขึ้น.

กัลยา ยืนยง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/02/2018 7:04 pm    Post subject: Reply with quote

ยกระดับรถไฟพรีเมี่ยม บริการระดับสายการบิน
เดลินิวส์ ศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 17.34 น.

ผุดรถไฟพรีเมี่ยมย่นระยะเวลาเดินทาง กรุงเทพ-เชียงใหม่เหลือ 3 ชั่วโมง นำร่องหัวรถจักรไฟฟ้า 4 เส้นทางลดการใช้น้ำมัน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังจากเข้ามอบนโยบายให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ว่าตนได้เข้ามอบแนวทางในการพัฒนาบทบาทของรฟท.หลังผ่านแผนฟื้นฟูกิจการแล้วโดยเฉพาะแผนการลงทุนเพื่อดำเนินธุรกิจในระยะยาวโดยเน้นรูปแบบการบริการที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์ผู้โดยสาร ตนจึงได้สั่งการให้รฟท.ไปดำเนินการปรับรูปแบบตั๋วรถโดยสารให้ตอบโจทย์ความต้องการผู้ใช้ในปัจจุบันมากขึ้นโดยเฉพาะการให้บริการรถไฟด่วนพิเศษ รถไฟชานเมือง รถไฟท้องถิ่น ที่จะมีระดับการให้บริการที่ทันสมัยมากขึ้นจึงได้เสนอรูปแบบบริการใหม่ที่จะดึงดูดผู้โดยสารได้ พร้อมทั้งแบ่งระดับการขายตั๋วคล้ายสายการบินคือ ตั๋วโดยสารชั้นธุรกิจ (Business Class) และตั๋วโดยสารชั้นประหยัด (Economy Class) ประกอบด้วย 1.รถไฟพรีเมี่ยม (Premium train) ซึ่งเป็นรถไฟวีไอพีที่เน้นความรวดเร็วในการเดินทางและตอบสนองกลุ่มผู้โดยสารเดินทางระยะไกลจากต้นทาง-ปลายทาง ย่นระยะเดินทางจากเดิมมากว่า 70% อาทิเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่และกรุงเทพ-หนองคายที่จากเดิมใช้เวลเดินทาง 13-14 ชั่วโฒง จะลดลงเหลือเพียง 3-4 ชั่วโมงเท่านั้น 2.รถไฟแบบตั๋วข้ามคืน (Over night train) สำหรับผู้โดยสารที่ไม่ต้องการความรวดเร็วมากแต่เน้นด้านความประหยัดและไม่เสียเวลามากนัก ซึ่งจะเป็นตั๋วรถไฟเที่ยวกลางคืนและถึงปลายทางเมื่อรุ่งเช้าใช้เวลาเดินทางราว 10-12 ขั่วโมง 3.รถไฟระหว่างเมืองซึ่งจะเป็นการเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะโดยใช้ระบบรางเป็นจุดเชื่อมต่อในรูปแบบฟีดเดอร์เช่น ช่วงบุรีรัมย์-สุรินทร์ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย และช่วงบุรีรัมย์-อุดรธานี เป็นต้น  4..รูปแบบรถชานเมืองซึ่งจะเชื่อมโยงโครงข่ายระบบขนส่งจากกลางเมืองไปยังชานเมืองเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองในพื้นที่รอบนอกและสร้างเศรษฐกิจฐานราก เช่น โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ซึ่งปัจจุบันมีโครงข่ายเชื่อมต่อกรุงเทพมหานครกับพื้นที่รอบนอกประกอบด้วย ทิศเหนือ ช่วงบางซื่อ-รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์-อยุธยา ทิศตะวันตก ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน-ศาลายา-นครปฐม ทิศตะวันออก ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน ทิศใต้ ช่วงหัวลำโพง-มหาชัย-ปากท่อ
 
นายอาคมกล่าวต่อว่ารฟท.จะยกระดับงานบริการโดยลงทุนติดตั้งระบบหัวรถจักรไฟฟ้าแทนหัวรถจักรดีเซลโดยจะนำร่องก่อน 4 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.กรุงเทพ-โคราช 2.กรุงเทพ-หัวหิน 3.กรุงเทพ-นครสวรรค์ และ4.กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบ และคัดเลือกเส้นทางที่จะนำมาศึกษาพัฒนาเพื่อเปิดให้บริการประชาชนเป็นเส้นทางไปซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบ และคัดเลือกเส้นทางที่จะนำมาศึกษาเป็นเส้นทางแรก จาก4เส้นทาง รวมถึงการคำนวนค่าก่อสร้างเสาไฟฟ้าที่ใช้เดินรถหัวรถจักรไฟฟ้าด้วย โดยจะใช้การเดินรถบนรางรถไฟเดิม อย่างไรก็ตามด้านการพัฒนาบุคลากรนั้นขณะนี้รฟท.มีแนวโน้มขาดแคลนบุคลากรจำนวน 19,000 คน เพื่อรองรับโครงการรถไฟทางคู่เฟสต่างๆโดยเฉพาะตำแหน่งพนักงานขับรถและพนักงานซ่อมบำรุง ซึ่งขณะนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างเสนอขอแก้มติครม.เดิมเพื่อขยายกรอบการรับอัตรากำลังเพิ่มให้กับรฟท.เนื่องจากของเดิมกำหนดว่าต้องรับพนักงานได้เพียง 5% ของอัตราพนักงานเดิมที่เกษียรไป ส่งผลให้ขาดแคลนบุคลากรอย่างต่อเนื่อง.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/02/2018 8:57 pm    Post subject: Reply with quote

ผ่าขุมทรัพย์ “ไฮสปีด EEC” แจกสัมปทาน 2 แสนล้าน 50 ปี
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2561 - 01:04 น.

Click on the image for full size

ใกล้เข้ามาเต็มทีสำหรับการเตรียมการเพื่อจะประกาศ TOR เชิญชวนภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) แบบไร้รอยต่อ รวมมูลค่าโครงการมากกว่า 237,700 ล้านบาท

โดยโครงการนี้ จะเป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถปัจจุบันของโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) และก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร เพิ่มอีก 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงสถานีพญาไท-สถานีดอนเมือง กับช่วงสถานีลาดกระบัง-สถานีอู่ตะเภา ระยะทาง 226 กิโลเมตร โดยใช้เขตทางเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หรือทั้งหมด 9 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง-บางซื่อ-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ-ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-พัทยา-อู่ตะเภา

การเดินรถจะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเขตเมือง (urban area) จากสถานีดอนเมือง-สุวรรณภูมิ ความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. กับ ช่วงระหว่างเมือง (intercity area) จากสถานีสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม. โครงสร้างทางรถไฟส่วนใหญ่จะเป็นทางยกระดับ พร้อมอุโมงค์ 4 ช่วง บริเวณถนนพระรามที่ 6-ถนนระนอง 1, ช่วงทางเข้าออกสนามบินสุวรรณภูมิ, ช่วงผ่านเขาชีจรรย์ และช่วงเข้าออกสถานีอู่ตะเภา พร้อมกับการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟความเร็วสูง พื้นที่ประมาณ 400 ไร่ ห่างจากตัวสถานีรถไฟฉะเชิงเทรา 2 กม.

ล่าสุดรัฐบาลไทยได้ตัดสินใจที่จะใช้การลงทุนรูปแบบ PPP net cost หรือภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนในส่วนโครงสร้างพื้นฐาน ระบบไฟฟ้ารถไฟฟ้า ขบวนรถไฟ ค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ การดำเนินการเดินรถไฟและการซ่อมบำรุงที่จะ

เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาของโครงการนี้ ในขณะที่ภาครัฐจะเป็นผู้ลงทุนในส่วนของค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และให้เงินอุดหนุนโครงการการดำเนินงานในโครงการเป็นรายปีในระยะยาว

โดยโครงการนี้จะเป็นโครงการร่วมลงทุน รูปแบบสัมปทานมีระยะเวลาโครงการยาวนานถึง 50 ปี หรือมากที่สุดเท่าที่เคยมีการทำโครงการมา ผู้ร่วมลงทุนภาคเอกชนจะต้องจ่ายค่าเช่าให้ ร.ฟ.ท. คิดเป็น 61% ของมูลค่าที่ดิน

BOI ยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้อนุมัติในหลักการการขอส่งเสริมการลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยตัว โดยโครงการนี้จะได้รับการส่งเสริมในประเภท 7.3 กิจการขนส่งมวลชนและสินค้าขนาดใหญ่ประเภทย่อย 7.3.1 กิจการขนส่งทางราง จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามประเภทกิจการ (activity-based incentives) ใน กลุ่ม A2 โครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาประเทศ ได้รับการ “ยกเว้น” อากรขาเข้าเครื่องจักร, การ “ยกเว้น” ภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี โดยกำหนดวงเงินภาษีที่ได้ยกเว้นไม่เกินร้อยละ 100 ของเงินลงทุน ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน โดย ร.ฟ.ท.จะต้องระบุรายละเอียดในส่วนของการได้รับสิทธิประโยชน์เพื่อส่งเสริมการลงทุนไว้ใน TOR ที่จะออกประกาศแก่นักลงทุนด้วย



สิทธิพัฒนา พท.เชิงพาณิชย์

ส่วนสิทธิของผู้ลงทุนในการดำเนินโครงการนี้ จะประกอบไปด้วย 1) สิทธิในการใช้พื้นที่สถานีกลางบางซื่อในการจอดรับส่งผู้โดยสาร การขายตั๋วรถไฟ การให้บริการเสริมบนขบวนรถในพื้นที่ที่ ร.ฟ.ท.จะเป็นผู้กำหนดให้ 2) สิทธิในการใช้สนามบิน

สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ในการใช้พื้นที่จอดรับส่งผู้โดยสาร โดยผู้ร่วมทุนจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญาที่จะต้องทำระหว่าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กับกองทัพเรือไทย

3) สิทธิในการใช้โครงสร้างพื้นฐานเดิม กับสิทธิในการเป็นผู้ให้บริการเดินรถไฟในโครงการ Airport Rail Link

โดยผู้ร่วมทุนมีสิทธิในการใช้โครงสร้างพื้นฐานเดิมของโครงการ Airport Rail Link ช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

4) สิทธิในการใช้โครงสร้างพื้นฐานส่วนก่อสร้างเพิ่มเติมช่วงสถานีพญาไท-ดอนเมือง กับช่วงสถานีสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา พร้อมทั้งการให้สิทธิบริการเดินรถไฟบนโครงสร้างนี้

5) สิทธิในการใช้ที่ดินมักกะสันเชิงพาณิชย์ ประมาณ 140 ไร่ กับสิทธิในการใช้ที่ดินรอบสถานีรถไฟศรีราชา รวมทั้งการเข้า-ออกพื้นที่

6) สิทธิในการพัฒนาเชิงพาณิชย์บนสถานีรถไฟในโครงการนี้ แบ่งเป็น สถานีรถไฟที่จะต้องใช้ร่วมกับโครงการอื่น ๆ (บางซื่อ-ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) จะได้รับพื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์ตามที่ ร.ฟ.ท.กำหนดให้ ส่วนสถานีรถไฟความเร็วสูง ผู้ร่วมทุนจะได้รับพื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์บนสถานีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และ 7) สิทธิในการใช้คลื่นความถี่ GSM-R ในระบบอาณัติสัญญาณ ETC level 2

นอกจากนี้ รัฐบาลยังกำหนดมาตรการสนับสนุนโครงการทั้งทางการเงินและไม่ใช่การเงิน ประกอบไปด้วย 1) ค่าใช้จ่ายจากรัฐสู่ ร.ฟ.ท. แบ่งเป็น ค่าเวนคืนที่ดิน 3,639 ล้านบาท กับการโอนหนี้สินของ ร.ฟ.ท.อีก 33,229 ล้านบาท 2) เงินสนับสนุนเอกชน 3 ส่วน คือ เงินสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน-เงินสนับสนุนเผื่อโครงการอื่น-เงินสนับสนุนรายปีเป็นระยะเวลา 10 ปี รวมเป็นเงินสนับสนุนทั้งหมดประมาณ 109,300 ล้านบาท แต่ไม่เกินมูลค่าโครงสร้างพื้นฐานในโครงการ 120,500 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 254, 255, 256 ... 542, 543, 544  Next
Page 255 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©