RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311239
ทั่วไป:13181794
ทั้งหมด:13493033
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 141, 142, 143 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/02/2018 11:38 am    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯ เข้ารื้อบ้านคุณยายวัย 63 ป่วยมะเร็งระยะ 3 เจอชาวบ้านนับร้อยรวมตัวค้าน
เผยแพร่: 15 ก.พ. 2561 11:13:00 โดย: MGR Online

ตรัง - การรถไฟฯ นำพนักงานเตรียมเข้ารื้อบ้านคุณยายวัย 63 ปี ป่วยมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 วอนขอร้องอย่ารื้อจนน้ำตาอาบแก้ม ก่อนที่เครือข่ายสลัม 4 ภาค และฝ่ายปกครอง อ.เมืองตรัง ยื่นมือเข้ามาช่วยเจรจาหาทางออก จนมีการปะทะคารมกันเล็กน้อย เผยข้อสรุปยังไม่มีการรื้อ ต้องรอยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองอีกครั้ง

วันนี้ (15 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านของนางมาลี บัวรักษ์ อายุ 63 ปี อยู่บ้านเลขที่ 23 ม.9 บ้านบ่อสีเสียด ต.นาท่ามเหนือ อ.เมืองตรัง ซึ่งป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม ระยะที่ 3 ได้มีเจ้าหน้าที่เข้ามาเพื่อรื้อถอนบ้านพักอาศัยหลังดังกล่าว ตั้งอยู่บริเวณริมถนนเลียบทางรถไฟสายบ้านปลายหมัน-หน้าวัดราษฎร์รื่นรมย์ (ถนนเทศบาล 19) ขณะที่เจ้าหน้าที่การรถไฟฯ นำโดย นายศักดิ์ มาศวิวัฒน์ สารวัตรแขวงบำรุงทางทุ่งสง และคณะทำงานประมาณ 10 นาย พร้อมเครื่องมือ นั่งรถยนต์กระบะมาถึงจุดเกิดเหตุ แต่ไม่จอดได้เกรงจะเกิดความรุนแรง เนื่องจากมีชาวบ้านยืนจับกลุ่มกันอยู่ประมาณ 100 คน มารวมตัวกันเพื่อเรียกร้องคัดค้านการรื้อถอนบ้านหลังดังกล่าว เจ้าหน้าที่การรถไฟฯ จึงขับรถผ่านไปจอดห่างจากจุดรื้อบ้านหลังดังกล่าวประมาณ 200 เมตร ท่ามกลางบรรยากาศตึงเครียด

ต่อมา นายนันธวัช เจริญวรรณ นายอำเภอเมืองตรัง พร้อมด้วยปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคง เจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรม อ.เมืองตรัง เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.ตรัง ทหาร ร.15 พัน 4 ค่ายพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ นายประสิทธิ์ หนูพรหม กำนันตำบลนาท่ามเหนือ ร.ต.ต.ชวน พลเดช นายกเทศมนตรีตำบลคลองเต็ง และเจ้าหน้าที่กองเลขาเครือข่ายพัฒนาสิทธิชุมชนภาคใต้ หรือเครือข่ายสลัม 4 ภาค เดินทางมาพบกลุ่มชาวบ้านเพื่อหาทางเจรจาพูดคุยหาทางออกเพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรง

ขณะที่นางมาลี เจ้าของบ้านได้ยกมือไหว้เจ้าหน้าที่ฯ พร้อมกล่าวทั้งน้ำตาอาบแก้ม ขอร้องว่าอย่ารื้อบ้านยายเลย ตอนนี้ตนป่วยมะเร็งเต้านมระยะ 3 แล้ว ไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน ขณะที่ นายนิทิป คงทอง เครือข่ายสลัม 4 ภาค ได้เข้ามาเจรจาไกล่เกลี่ยกับทางเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ ขอให้ยุติการสั่งรื้อถอนออกไปก่อน โดยอ้างว่ายายมาลี เจ้าของบ้านยังสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองได้อยู่ และระหว่างนี้ให้คุณยายมาลี พักอาศัยอยู่ไปก่อน แม้ศาลปกครองชั้นต้นได้พิพากษาให้การรถไฟฯ ดำเนินการกับผู้บุกรุกที่ก็ตาม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเจรจาเป็นไปอย่างตึงเครียดนานกว่า 30 นาที โดยมีเจ้าหน้าที่นิติกรการรถไฟ ฝ่ายปกครอง ทหาร พมจ.ตรัง เครือข่ายสลัม 4 ภาค เจ้าหน้าที่ทหาร ร.15 พัน 4 และยายมาลี จำเลย ระหว่างกำลังหารือได้มีปากเสียงโต้เถียงกันระหว่างเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ และเครือข่ายสลัม 4 ภาค แต่ไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรงใดๆ เกิดขึ้น ก่อนได้ข้อสรุปว่าจะไม่มีการรื้อถอนบ้านหลังดังกล่าวก่อน จนกว่าจะมีการยื่นอุทธรณ์ไปยังศาลปกครอง เพื่อรอผลการพิจารณาจนกว่าคดีจะสิ้นสุดกระบวนความ กลุ่มชาวบ้านพอใจจึงแยกย้ายกันกลับไป

มีรายงานข่าวแจ้งด้วยว่า บ้านหลังดังกล่าวเป็นพื้นที่เป้าหมายของเอกชนที่ครอบครอบที่ดินรายหนึ่ง และต้องการนำที่ดินของตัวเองไปขอกู้เงินจากธนาคารแห่งหนึ่ง แต่ปรากฏว่ามีบ้านหลังดังกล่าวกับพวกอีก 2 ราย ซึ่งเช่าที่การรถไฟฯ บดบังทัศนียภาพทำให้ธนาคารไม่ปล่อยกู้ จึงได้ยื่นฟ้องการรถไฟฯ ว่าปล่อยให้ด้านหน้าที่ดิน และอาคารบางหลังถูกปิดทางเข้าออก ทั้งยังได้รับความเดือดร้อนจากทางน้ำไหล ระบบสุขลักษณะ น้ำเน่าเสีย สิ่งปฏิกูล ส้วม ส่งกลิ่นเหม็น เป็นที่มาของการรถไฟฯ ยื่นฟ้องขับไล่ชาวบ้าน กระทั่งศาลปกครองสั่งรื้อถอนดังกล่าว ส่วนข่าวคืบหน้าจะมีรายงานให้ทราบต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 27/02/2018 10:28 am    Post subject: Reply with quote

ตรวจตลาด 7 แห่ง "บางกอกน้อย" พบ "ตลาดศาลาน้ำร้อน" ไม่ได้ขออนุญาต
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เวลา 22:48:

กทม.ตรวจเข้มตลาด 7 แห่งย่าน "บางกอกน้อย" พบขออนุญาตจัดตั้งถูก กม. 6 แห่ง เว้นตลาดตลาดศาลาน้ำร้อน เหตุเดิมตั้งในพื้นที่การรถไฟฯ ทำให้ไม่ได้ขอจัดตั้งต่อ กทม. แนะนำให้ปรับปรุงยื่นขอใบอนุญาตแล้ว พร้อมส่งเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจด้านสุขาภิบาล

วันนี้ (26 ก.พ.) นายพิชญา นาควัชระ รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจตลาดในพื้นที่เขตบางกอกน้อย ว่า ภายหลังจากที่มีปัญหาเรื่องตลาดในหมู่บ้านเสรีวิลล่า ซอยศรีนครินทร์ 55 เขตประเวศ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. ได้มอบหมายให้สำนักงานเขต 50 เขต ตรวจสอบความเรียบร้อยและการขออนุญาตจัดตั้งตลาด ซึ่งในวันนี้ได้ลงพื้นที่ดำเนินการตรวจสอบตลาดในพื้นที่เขตบางกอกน้อย ซึ่งมีตลาดทั้งหมด 7 แห่ง ได้แก่ ตลาดบางขุนศรี ตลาดพรานนก ตลาดศาลาน้ำเย็น ตลาดนครหลวง ตลาดบางกอกน้อย ตลาดอรุณอมรินทร์ และตลาดศาลาน้ำร้อน จากการตรวจสอบพบว่ามีผู้ประกอบกิจการได้ดำเนินการขอใบอนุญาตจัดตั้งตลาดอย่างถูกต้อง 6 ตลาด ส่วนอีก 1 ตลาดอยู่ระหว่างการขอใบอนุญาตจัดตั้งตลาด คือ ตลาดศาลาน้ำร้อนหรือตลาดรถไฟ ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณใกล้เคียงกับโรงพยาบาลศิริราช เป็นตลาดเอกชนเปิดให้บริการมาเป็นระยะเวลายาวนาน

"การจัดตั้งตลาดแห่งนี้ แต่เดิมในสมัยก่อนได้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อน เนื่องจากตลาดตั้งอยู่บนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงไม่ได้มีการขออนุญาตจัดตั้งตลาดจากกรุงเทพมหานคร ซึ่งในวันนี้ได้ให้คำแนะนำในการปรับปรุงและขอใบอนุญาตจัดตั้งให้ถูกต้องตามระเบียบต่อไป" นายพิชญา กล่าว

นายพิชญา กล่าวว่า สำหรับการขอใบอนุญาตจัดตั้งตลาด จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือประเภทที่ 1 มีโครงสร้าง และประเภทที่ 2 ไม่มีโครงสร้าง ซึ่งใบอนุญาตจัดตั้งตลาดประเภทที่ 1 มีโครงสร้างอาคาร จะมีส่วนประกอบของสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง สำหรับผู้ขายของ ที่ขนถ่ายสินค้า ห้องส้วม อ่างล้างมือ ที่รองรับขยะมูลฝอย และที่จอดยานพาหนะ นอกจากนี้ หากมีศูนย์อาหารภายในตลาด จะต้องมีใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร ทั้งนี้ ในแต่ละเดือนเขตฯ จะส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลลงพื้นที่ทำการสุ่มตรวจ สำรวจด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมตลาด ที่กำหนดใบแบบประเมินไว้ 66 ข้อ เช่น ถนนโดยรอบตลาดกว้างไม่น้อยกว่า 4 เมตร ระบบบำบัดน้ำเสีย บ่อดักไขมัน ตลอดจนผู้ขายของต้องได้รับการตรวจสุขภาพ ตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด สำหรับด้านสุขอนามัย เจ้าหน้าที่จะเก็บตัวอย่างอาหารสด เช่น หมู ไก่ เพื่อส่งเข้าห้องแล็บ ตรวจสอบสารปนเปื้อน ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากตรวจพบผู้ค้าต้องระงับการขายทันที
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/03/2018 10:21 am    Post subject: Reply with quote

ยกเครื่องสถานีขนส่งหมอชิต-4 จังหวัดฝันไกลสู้โลว์คอสต์
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 2 มีนาคม 2561 - 07:45 น.

ขนส่งยกเครื่องสถานี บขส. แข่งโลว์คอสต์นำร่อง 5 แห่ง กทม. สงขลา ระยอง โคราช เชียงใหม่ ปีนี้ประเดิมหมอชิตใหม่ ผุด “สมาร์ท เทอร์มินอล” ดีเดย์ มี.ค.นี้เปิดใช้รับเทศกาลสงกรานต์

นายเชิดชัย สนั่นศรีสาคร รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เปิดเผยว่า สถานีขนส่งผู้โดยสารถือเป็นปัจจัยหลักและเป็นระบบขนส่งขั้นพื้นฐานที่ควรให้ความสำคัญ เพราะมีราคาถูกและเข้าถึงชุมชนได้ทุกระดับ แต่การเติบโตอย่างรวดเร็วของสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์) ทำให้ผู้โดยสารหันไปใช้บริการสายการบินโลว์คอสต์มากขึ้น ส่งผลกระทบต่อกิจการรถโดยสารประจำทางอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรมจึงจัดทำโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทในการดำเนินการและการพัฒนาสถานีขนส่งผู้โดยสารขึ้น ระยะเวลาของแผนแม่บท 20 ปี (2561-2580) แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น 1-5 ปี (2561-2565) ระยะกลาง 6-10 ปี (2566-2570) ระยะยาว 11-20 ปี (2571-2580) ประกอบด้วย 4 มิติพัฒนา ได้แก่

1.การพัฒนาทางกายภาพ และการเพิ่มพื้นที่การให้บริการ
2.การปรับปรุงและพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบ
3.การพัฒนาระบบและรูปแบบบริหารจัดการสถานี และ
4.การพัฒนาเทคโนโลยี
และแผนเร่งด่วน 5 ปี ที่เน้นการพัฒนาใน 3 มิติหลัก คือ การปรับปรุงทางกายภาพ และการจัดการตามภารกิจฯ การทดลองนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการและกำกับดูแลกิจการของสถานี และการพัฒนาตามลักษณะและบริบทเฉพาะของแต่ละสถานี จะใช้ในพื้นที่นำร่อง 5 จังหวัด ได้แก่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร), สถานีสงขลา, สถานีระยอง, สถานีนครราชสีมา และสถานีเชียงใหม่ ซึ่งแผนพัฒนาได้ร่างเสร็จแล้ว แต่ในบางพื้นที่ยังมีปัญหาที่ต้องจัดการแก้ไขก่อนเริ่มดำเนินการ คาดว่าประมาณเดือน มี.ค.-เม.ย.จะได้ข้อสรุป

ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสถานีขนส่งจตุจักร จัดทำขึ้นภายหลังรับฟังความคิดเห็นจากผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ และประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสถานีขนส่งคนโดยสารเมื่อปลายปี 2560 โดยใช้ประกอบเป็นแนวทางในการปรับปรุงรายละเอียดการจัดทำร่างแผนปฏิบัติการให้เหมาะสมกับความต้องการของทุกภาคส่วน และสอดคล้องกับแผนแม่บทการพัฒนาสถานีขนส่งคนโดยสารระยะ 20 ปี ที่ได้จัดทำขึ้นมาภายใต้โครงการเดียวกันนี้

นอกจากนี้ กรมได้เตรียมนำระบบ “สมาร์ทเทอร์มินอล” มาใช้เชื่อมโยงกับศูนย์บริหารจัดการจีพีเอส โดยติดตามการเดินรถพร้อมแสดงเวลาเข้า-ออก เช่นเดียวกับสนามบิน คาดว่าจะเริ่มให้บริการได้ในเดือน มี.ค.นี้ เพื่อให้ทันต่อการเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เช่น ใช้ระบบตรวจเช็กเวลาเข้าออกรถอัตโนมัติ, ระบบขายตั๋วร่วม, ระบบบริหารจัดการช่องจอดอัตโนมัติ การนำอัตลักษณ์ของแต่ละจังหวัดมาเป็นจุดเด่น และมีการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวบริเวณใกล้เคียงสถานีขนส่ง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่นด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/03/2018 7:24 am    Post subject: Reply with quote

‘บอร์ด PPP’ เคาะลงทุน 2 หมื่นล้าน
กรุงเทพธุรกิจ 8 มีนาคม 2561

คณะกรรมการ PPP เห็นชอบโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีกลางบางซื่อแปลง A และโครงการขนาดกลาง 3 โครงการ มูลค่ารวม 2.2 หมื่นล้านบาท

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP)เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการ PPP ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันพุธที่ 7 มีนาคม 2561 ณ กระทรวงการคลัง โดยมีนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานที่ประชุม สรุปได้ดังนี้

1. คณะกรรมการ PPP เห็นชอบในหลักการของโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อแปลง A ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พื้นที่พัฒนาได้ประมาณ 32 ไร่ โดยให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ในรูปแบบสร้าง – บริหาร – โอน (BOT) ระยะเวลาดำเนินธุรกิจ 30 ปี และระยะเวลาก่อสร้างไม่เกิน 4 ปี โดยมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 1.54 หมื่นล้านบาท ซี่งเป็นส่วนหนึ่งของร่างแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ศูนย์คมนาคมขนส่งพหลโยธิน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้พื้นที่บริเวณศูนย์คมนาคมขนส่งพหลโยธินเป็นศูนย์กลางการเดินทางและย่านธุรกิจแห่งใหม่ด้านทิศเหนือของกรุงเทพฯ และอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางให้แก่ประชาชน นอกจากนี้ การพัฒนาพื้นที่แปลง A ยังช่วยเพิ่มรายได้ที่ไม่ใช่รายได้หลัก (Non Core) และช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินทางการเงินของ รฟท. ได้ด้วย

2. คณะกรรมการ PPP เห็นชอบให้โครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการขนาดกลาง (วงเงินมูลค่า 1,000 – 5,000 ล้านบาท) จำนวน 3 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 7,383 ล้านบาท โดยให้ไปดำเนินการดังนี้

2.1 ให้โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย ของกรมการขนส่งทางบก มูลค่าโครงการ 2,700 ล้านบาท ดำเนินโครงการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พระราชบัญญัติร่วมลงทุนฯ)

2.2 ให้โครงการพัฒนาที่ดินคลังพัสดุคลองเตย ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มูลค่าโครงการ 3,147 ล้านบาท ดำเนินโครงการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนของประกาศคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการที่มีวงเงินมูลค่าต่ำกว่าที่กำหนดในมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2559 (ประกาศคณะกรรมการ PPP สำหรับโครงการที่มีมูลค่าต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท)

2.3 ให้โครงการจัดให้เช่าที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ชบ. 350 (บริเวณสนามกอล์ฟบางพระ) ของกรมธนารักษ์ มูลค่าโครงการ 1,536 ล้านบาท ดำเนินโครงการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนของประกาศคณะกรรมการ PPP สำหรับโครงการที่มีมูลค่าต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท

3. คณะกรรมการ PPP เห็นชอบเพิ่มเติมโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมาเข้ามาตรการเร่งรัดโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP Fast Track) มูลค่าการลงทุนเบื้องต้นประมาณ 32,600 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการกระจายการลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไปสู่ภูมิภาคและแก้ไขปัญหาการจราจรหนาแน่นของเมืองหลัก โดยขอให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดติดตามการดำเนินโครงการภายใต้มาตรการ PPP Fast Track ให้เป็นไปตามกำหนดเวลา ซึ่งทำให้โครงการภายใต้มาตรการ PPP Fast Track ทั้งหมด 12 โครงการ มูลค่าการลงทุนเบื้องต้นรวม 966,800 ล้านบาท โดยในปี 2561 คาดว่าจะมีโครงการภายใต้มาตรการ PPP Fast Track นำเสนอคณะกรรมการ PPP จำนวน 3 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 406,874 ล้านบาท ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตะวันตกและตะวันออก 195,642 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – วงแหวนกาญจนาภิเษก 131,172 ล้านบาท และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายนครปฐม – ชะอำ 80,060 ล้านบาท

4. คณะกรรมการ PPP เห็นชอบในหลักการของหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบต้นทุน ความเสี่ยง และความคุ้มค่าในการประเมินทางเลือกการลงทุน (Value For Money: VFM) ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติร่วมลงทุนฯ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้หน่วยงานภาครัฐนำไปใช้ในการประเมิน ความคุ้มค่า และตัดสินใจระหว่างการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐกับภาครัฐดำเนินโครงการเองโดยการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินหรืองบประมาณของหน่วยงานของรัฐทั้งหมด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 08/03/2018 12:49 pm    Post subject: Reply with quote

“ไพบูลย์” นำผู้ค้าจตุจักรร้องนายกฯ ลงพื้นที่ดูแลทุกข์สุข หลังเดือดร้อนเพราะ ร.ฟ.ท.
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 7 มีนาคม 2561 14:54:
ปรับปรุง: 7 มีนาคม 2561 16:54:




อดีต สปช.นำผู้ค้าจตุจักรยื่นหนังสือ “ประยุทธ์” ขอให้ไปเยี่ยมเยียนดูแลทุกข์สุข หลังเดือดร้อนมากเพราะการรถไฟแห่งประเทศไทย

วันนี้ (7 มี.ค.) เมื่อเวลา 12.00 น. ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงาน ก.พ. นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) นำผู้ค้ารายย่อยตลาดนัดจตุจักร และคณะกรรมการสมาชิกสหกรณ์บริการผู้ค้าตลาดนัดจตุจักร ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านนายสมพาศ นิลพันธ์ รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกฯ เดินทางไปเยี่ยมเยียนดูแลทุกข์สุขของประชาชนและผู้ค้ารายย่อยตลาดนัดจตุจักร เนื่องจากปัจจุบันผู้ค้ารายย่อยได้รับความเดือดร้อนจากการบริหารงานตลาดนัดจตุจักรของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่ทำให้เกิดความทุกข์ร้อน เนื่องจากสถานะในการค้าขายฝืดเคือง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 09/04/2018 10:12 am    Post subject: Reply with quote

“เดอะมอลล์-เซ็นทรัล” ชิงดำ… แย่งสัมปทานฮับบางซื่อ 50 ปี
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 8 เมษายน 2561 - 21:06 น.

การรถไฟฯรื้อแผนพัฒนาที่ดินใจกลางเมือง “มักกะสัน-สถานีแม่น้ำ-ย่าน กม.11” ใช้โมเดล EEC ปล่อยเช่า 50 ปี จูงใจเอกชนลงทุน 4 แสนล้าน คิกออฟปลายปีนี้ 35 ไร่ ใกล้สถานีบางซื่อ รับเปิดสายสีแดงปี”64 สัมปทาน 30 ปี ผุดมิกซ์ยูส 1.5 หมื่นล้าน โรงแรม 3-4 ดาว ออฟฟิศบิลดิ้ง ห้าง “เซ็นทรัล-เดอะมอลล์” สนใจ เร่งปัดฝุ่นตึกแดง 119 ไร่ ปั้นแลนด์มาร์กใหม่กรุงเทพฯ

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการ กลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แผนพัฒนาที่ดินย่านบางซื่อ 2,325 ไร่ ได้ทำความเข้าใจกับคณะกรรมการ PPP จะแยกเปิดประมูลรายโซน จากเดิมให้รวมผืนเดียวกัน ทั้งสถานีกลางบางซื่อ และย่าน กม.11 เพื่อให้เกิดการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ รองรับการเปิดใช้โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ในปี 2564

โดยพัฒนาแบ่งเป็น 4 โซน โซน A 35 ไร่ โซน B 78 ไร่ โซน C 105 ไร่ และโซน D 87.5 ไร่ ปลายปีนี้จะเปิดประมูลโซน A เนื้อที่ 35 ไร่ ห่างสถานีกลางบางซื่อ 50-100 เมตร ซึ่งคณะกรรมการ PPP เห็นชอบในหลักการของโครงการแล้ว เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และพร้อมให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ภายใต้รูปแบบ BOT คือ สร้าง บริหาร และโอนกรรมสิทธิ์ให้ ร.ฟ.ท. เมื่อครบกำหนดสัญญา ในระยะเวลา 34 ปี ส่วนแผนก่อสร้างใช้เวลา 4 ปี และดำเนินธุรกิจตลอด 30 ปี จะมีมูลค่าลงทุนรวม 15,400 ล้านบาท

ปลายปีกดปุ่มโซน A

“ซึ่งเร็ว ๆ นี้จะตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 35 เพื่อเริ่มขั้นตอนการประมูลตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2556 ปลายปีนี้เปิดประมูล เริ่มสร้างปี 2562 จะเสร็จปี 2563 เปิดบริการพร้อมกับสถานีกลางบางซื่อพอดี” นายวรวุฒิกล่าวและว่า

ผลศึกษาโซน A จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางธุรกิจครบวงจร มีสำนักงานและธุรกิจบริการ เช่น โรงแรมระดับ 3-4 ดาว สำนักงานให้เช่า และดีพาร์ตเมนต์สโตร์ เพื่อเป็นโมเดลให้เอกชนนำไปเป็นแนวทางการพัฒนา ซึ่งบริเวณนี้ในผังเมืองรวม กทม.สามารถพัฒนาได้เต็มที่ มี FAR (อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน) 8 : 1 และ OSR (อัตราส่วนของที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม) 4% โดยโซน A จะสร้างได้ 448,000 ตร.ม. และได้รับโบนัสเพิ่ม 20% เป็น 537,600 ตร.ม.


ในเบื้องต้นคาดว่าจะได้ผลตอบแทนทั้งหมด 2,000 ล้านบาท โดยเอกชนที่ชนะประมูลจะต้องจ่ายเงินก้อนแรกให้กับ ร.ฟ.ท. 162 ล้านบาท จากนั้นจ่ายเป็นรายปี และมีปรับค่าเช่าเพิ่มขึ้นทุกปี

“เราจะเร่งโซน A ก่อน เพราะมีทำเลติดสถานีบางซื่อ เพื่อให้ผู้ที่สัญจรไปมาได้ใช้บริการเร็วและสะดวกขึ้น ล่าสุดมีเอกชนรายใหญ่ให้ความสนใจจะลงทุนเป็นโครงการห้างสรรพสินค้า เช่น เซ็นทรัล เดอะมอลล์ ส่วนบริษัทอสังหาริมทรัพย์ยังไม่มี เพราะเป็นที่ดินให้เช่า อาจไม่จูงใจให้ลงทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะยาว อย่างไรก็ตาม เรามีแนวคิดหากโซนไหนเป็นที่อยู่อาศัย หรือเป็นที่แปลงใหญ่ การรถไฟฯจะให้เอกชนเช่ายาว 50 ปี เพื่อจูงใจเหมือนกับโครงการอีอีซี”

ปั้นแลนด์มาร์กใหม่

ขณะเดียวกันจะนำที่ดิน 119 ไร่ ย่านตึกแดงข้างเอสซีจี พัฒนาไปพร้อม ๆ กัน ปีนี้แบบรายละเอียดจะเสร็จ การพัฒนาจะมีการสร้างอาคารสำนักงานใหญ่การรถไฟฯ ที่จะย้ายมาจากหัวลำโพง และให้เอกชนลงทุนพัฒนาพื้นที่รีเทล คอมเมอร์เชียล สำนักงาน และคอนโดมิเนียม จะเริ่มประมูลได้ปลายปี 2562 เริ่มสร้างปี 2563 แล้วเสร็จปี 2565

เมื่อโครงการภาพรวมแล้วเสร็จ ย่านนี้จะกลายเป็นแลนด์มาร์กใหม่ของกรุงเทพฯ เพราะต่อไปสถานีกลางบางซื่อจะเป็น “สถานีหัวลำโพง 2” ส่วนสถานีหัวลำโพงเดิมจะพัฒนาต่อยอดให้เป็น “พิพิธภัณฑ์” กลางเมือง และสถานีพาดผ่านของรถไฟสายสีแดง

“5 ปีแรก จะพัฒนาโซน A กับย่านตึกแดง ซึ่งไจก้า (องค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น) ที่ช่วยศึกษาแผนแม่บทให้ก็เห็นด้วย เพราะที่นี่จะเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้านระบบราง มีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเชื่อมกับสายสีม่วง สายสีเขียว สายสีแดง และรถไฟทางไกลอีกด้วย จะมีการขนคนจำนวนมหาศาล ต้องมีที่สำหรับให้พวกเขาได้ทำกิจกรรมเป็นแม่เหล็กดึงดูดมาใช้บริการ จากนั้นอีก 5 ปีเป็นโซน C และย่าน กม.11 และอีก 5 ปีสุดท้ายจะเป็นโซน B และโซน D ทั้งหมดจะเสร็จสมบูรณ์ปี 2575”

ไจก้าเร่งพัฒนา

ปัจจุบันไจก้าทำรายงานแผนแม่บทย่านบางซื่อเสร็จแล้ว จะใช้เงินลงทุน 358,000 ล้านบาท (ไม่รวมย่าน กม.11) แยกเป็นส่วนก่อสร้าง 300,000 ล้านบาท อีก 58,000 ล้านบาท เป็นระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานและโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ เช่น รถบีอาร์ที ซึ่งไจก้าแนะนำให้รถไฟเตรียมความพร้อมด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า ระบบโทรคมนาคมให้พร้อม รวมถึงต้องตั้งหน่วยงานเฉพาะมาดูแลพื้นที่โครงการแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งรถไฟจะเสนอแนวคิดนี้เข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) วันที่ 3 พ.ค.นี้ ก่อนจะเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

ขณะที่พื้นที่โซนอื่น ๆ นายวรวุฒิกล่าวว่า โซน B และ D เสนอเข้าคณะกรรมการ PPP พิจารณาแล้ว โซน B อยู่ใกล้กับตลาดนัดสวนจตุจักร และ เจ.เจ.มอลล์ จะสร้างสกายวอล์กเชื่อมกับสวนจตุจักรและตลาดนัด อ.ต.ก. พัฒนาพื้นที่ย่านนี้ให้เป็นศูนย์กลางการค้าและธุรกิจของภูมิภาคอาเซียน (AEC) มีทั้งห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน โรงแรม และเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์

โซน C ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสถานีขนส่ง บขส. และศูนย์ซ่อมบำรุงสายสีแดง พัฒนาให้เป็นไมซ์ (MICE) ศูนย์ประชุมและศูนย์แสดงสินค้าเหมือนเมืองทองธานี ไบเทค และศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในอนาคตจะย้ายโรงซ่อมบำรุงออกไป เพื่อนำที่ดินพัฒนาเป็นโรงแรม ออฟฟิศ และคอนโดมิเนียม โซน D จะเป็นจุดเปลี่ยนการเดินทาง มีสกายวอล์กเดินเชื่อมกับรถไฟฟ้าเพราะอยู่ใกล้กับสถานีกลางบางซื่อทั้งบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน และสายสีแดง

เปิดเช่าที่ 50 ปี

ส่วนย่าน กม.11 เนื้อที่ 325 ไร่ ส่งให้คมนาคมพิจารณาก่อนเสนอคณะกรรมการ PPP อนุมัติ พัฒนาเป็นมิกซ์ยูส มูลค่าลงทุน 80,882 ล้านบาท มีคอนโดมิเนียมและพื้นที่เชิงพาณิชย์ เช่น สำนักงาน เพราะโดยรอบเป็นที่ตั้งของสำนักงาน ปตท. ศูนย์เอ็นเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ และบ้านพักของพนักงานการรถไฟฯ โดยเฉพาะบ้านพักจะสร้างใหม่เป็นรูปแบบคอนโดมิเนียม ส่วนอาคารสำนักงานให้เช่าจะต่อเนื่องกับศูนย์เอ็นเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ ยาวไปถึงสถานีรถไฟฟ้าจตุจักร การลงทุนใช้รูปแบบ PPP net cost ระยะเวลา 50 ปี

ขณะที่สถานีแม่น้ำ 277.5 ไร่ เสนอให้คณะกรรมการ PPP แล้ว ทั้งนี้ มีปรับคอนเซ็ปต์เล็กน้อย หลังไจก้าศึกษาให้ แผนเดิม ร.ฟ.ท.จะพัฒนาเป็นแลนด์มาร์กริมน้ำ มีศูนย์การค้าและที่อยู่อาศัย แต่ไจก้ามองว่า พื้นที่การเดินทางลำบาก ยังไม่มีระบบขนส่งมวลชน เหมาะพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย แต่มีช็อปปิ้ง และแหล่งท่องเที่ยวด้วย ส่วนรูปแบบการลงทุนเป็น PPP net cost ระยะเวลา 50 ปี มีมูลค่าลงทุน 88,780 ล้านบาท

ด้านที่ดินมักกะสัน 497 ไร่ เตรียมเสนอให้คมนาคมพิจารณาเพื่อเสนอคณะกรรมการ PPP อนุมัติ แบ่ง 4 โซน เงินลงทุนกว่า 2 แสนล้านบาท โซน A 139.82 ไร่ เป็นส่วนธุรกิจการค้า เช่น City Air Terminal ร้านค้าปลอดภาษี ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ห้างสรรพสินค้า โรงแรม ศูนย์ประชุม-สัมมนา สำนักงาน และอาคารจอดรถ ได้ยกให้เอกชนรับสัมปทานรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จัดหาประโยชน์ 50 ปีแล้ว อีก 3 โซน ร.ฟ.ท.จะเปิดประมูลให้เอกชนเช่า 50 ปี ได้แก่ โซน B 117.31 ไร่

เป็นส่วนธุรกิจสำนักงาน ศูนย์ข้อมูลธุรกิจ อุตสาหกรรมของรัฐ และศูนย์แสดงสินค้า โซน C 151.40 ไร่ เป็นส่วนที่อยู่อาศัยและสาธารณสุข เช่น โรงพยาบาล โรงเรียนนานาชาติ อาหารระดับโลก ศูนย์แสดงสินค้าและเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ และโซน D 88.58 ไร่ เป็นพิพิธภัณฑ์ ร.ฟ.ท. โรงแรม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 20/04/2018 12:52 pm    Post subject: Reply with quote

เช็กบิลตระกูลดังเช่าที่รถไฟ 100 สัญญาย่านรัชดาฯ-เซ็นทรัล-เบียร์สิงห์-
วันที่ 19 เมษายน 2561 - 07:00 น.

ภาระหนี้สินกว่า 1.2 แสนล้านบาท ทำให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) นั่งไม่ติด ต้องเร่งจัดระเบียบ “สัญญาเช่า” ที่ดินทั่วประเทศ เพื่อหารายได้จากทรัพย์สินในมือ 39,428.97 ไร่ มาโปะในภาคบริการการเดินรถ (noncore)

นอกจากที่ดิน 4 แปลงใหญ่ใจกลางเมือง “กม.11-บางซื่อ-มักกะสัน-สถานีแม่น้ำ” แล้ว ร.ฟ.ท.ยังมีที่แปลงเด็ดที่นักธุรกิจตระกูลดัง “จิราธิวัฒน์-ภิรมย์ภักดี-สิริวัฒนภักดี” จ้องต่อสัญญา

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า รัฐบาลมีนโยบายให้ ร.ฟ.ท.เร่งหารายได้จากทรัพย์สินที่มีอยู่ให้เกิดรายได้ระยะยาว ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนฟื้นฟูกิจการของรถไฟอยู่แล้ว โดยจะจัดตั้งบริษัทลูก คือ บริษัทบริหารทรัพย์สิน มาดำเนินการทั้งหมดเหมือนเอกชน ตามแผนจะเริ่มถ่ายโอนงานไปบริษัทลูกตั้งแต่เดือน ก.ย. 2561

รื้อค่าเช่า 1.5 หมื่นสัญญา

ในปี 2561 ตั้งเป้าจะมีรายได้ จากการบริหารทรัพย์สินที่มีสัญญาเช่าทั่วประเทศ 15,270 สัญญา อยู่ที่ 3,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2560 มีรายได้อยู่ที่ 2,900 ล้านบาท เนื่องจากตามสัญญา ร.ฟ.ท.สามารถปรับค่าเช่าเพิ่มขึ้นได้ทุกปีตามราคาซื้อขายที่ดินเป็นหลัก จากเดิมคิดตามราคาประเมินที่ดิน อีกทั้งมีสัญญาเช่าจะครบกำหนดกว่า 2,300 สัญญา ซึ่งจะต้องมีการเจรจาผลตอบแทนกันใหม่ จะทำให้ ร.ฟ.ท.มีรายได้เพิ่มมากขึ้น

ขณะเดียวกัน ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างเจรจาสัญญาเช่าที่ดินแปลงใหญ่ ๆ ที่ครบกำหนดสัญญาไปแล้ว โดยประเมินมูลค่าทรัพย์สินใหม่ให้เป็นปัจจุบัน ส่วนใหญ่มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท และต้องนำเข้าสู่กระบวนการตาม พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ 2556 หรือ PPP เพื่อเจรจาผลตอบแทนบนพื้นฐานใหม่ โดยจะเจรจากับผู้เช่ารายเดิมก่อน หากไม่ได้ข้อยุติถึงจะเปิดประมูลใหม่




เขย่าที่เช่าแปลงใหญ่หัวหิน

ประกอบด้วย สัญญาเช่าของบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด (เบียร์สิงห์) เป็นการเช่าอาคารและสนามกอล์ฟรถไฟหัวหิน อยู่ติดสถานีรถไฟหัวหิน เนื้อที่ 500 ไร่ ครบกำหนด 30 ปี เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2558 ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาผลตอบแทน เนื่องจาก ร.ฟ.ท.จะขอพื้นที่คืนประมาณ 1 ไร่เศษ ก่อสร้างสถานีของรถไฟทางคู่นครปฐม-หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์และรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หัวหิน ที่จะเบี่ยงแนวเข้าไปในสนามกอล์ฟ จึงต้องให้เอกชนลงทุนเพิ่มเพื่อปรับการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ใหม่ เช่น คลับเฮาส์ อาจจะต้องย้ายไปอยู่ที่อื่น

นอกจากนี้มีโรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัล หัวหิน เนื้อที่ 71.65 ไร่ โดยบริษัท เซ็นทรัลหัวหินบีช รีสอร์ท จำกัด ครบสัญญาเช่า 30 ปี ช่วงต้นปี 2559 แต่ได้ต่อสัญญาเช่าโดยอัตโนมัติ 3 ปี ตามเงื่อนไขสัญญาเดิม ซึ่งการศึกษาผลตอบแทนได้ข้อสรุปเบื้องต้นแล้ว จะต่ออายุสัญญาเช่าให้อีก 30 ปี จากสัญญาเดิมกำหนดต่อได้ 15 ปี 2 ครั้ง ปัจจุบันผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการ (บอร์ด) รถไฟแล้ว อยู่ระหว่างเตรียมการเสนอขออนุมัติตามขั้นตอน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ

อ.ต.ก.จ่าย 1.5 พันล้าน

“ที่ต่อสัญญาเช่าไปแล้ว มีตลาด อ.ต.ก. เนื้อที่ 39.45 ไร่ ขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร โดยรถไฟต่อสัญญาให้ 15 ปี นับจากหมดสัญญาเช่าปี 2560 คาดว่าจะเป็นการต่อสัญญาครั้งสุดท้ายแล้ว เพราะต่อไปเมื่อสถานีกลางบางซื่อเปิดบริการมีรถไฟฟ้าสายสีแดงและรถไฟความเร็วสูง จะทำให้การพัฒนาย่านพหลโยธินฝั่งตรงข้ามกับตลาด อ.ต.ก.มีความเจริญขึ้นมาก ส่วนตลาดนัดจตุจักรยังคงเป็นตลาดโอเพ่นแอร์เหมือนเดิม เพราะเป็นยูนิคที่ขายเรื่องการท่องเที่ยวของประเทศ แต่จะปรับปรุงการบริการให้ดีขึ้น เช่น ห้องน้ำ” นายวรวุฒิกล่าวและว่า

สำหรับสัญญาเช่าที่กำลังจะครบกำหนดสัญญา 30 ปี ในปี 2564 มีโรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ เนื้อที่ 6.53 ไร่ ย่านรองเมือง เขตปทุมวัน ของบริษัท โกลเด้น แอสเซ็ท จำกัด โดย ร.ฟ.ท.ได้ค่าเช่าปีสุดท้ายอยู่ที่ 3.29 ล้านบาท ขณะนี้ศึกษาผลตอบแทนตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯเสร็จแล้ว กำลังเสนอบอร์ดพิจารณาในเร็ว ๆ นี้ คาดว่าจะต่อสัญญาเช่าให้อีก 20 ปี

ไล่เช็กบิล 100 สัญญาย่านรัชดาฯ

นอกจากนี้ยังมีสัญญาเช่าที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษกอีกกว่า 100 แปลงหรือ 100 กว่าสัญญา ตั้งแต่แยกห้างสรรพสินค้าโรบินสันเก่า (ศูนย์การค้าเดอะสตรีทของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี) ไปตลอดแนวถนนจนถึงสำนักงานใหญ่ SCB และจุดตัดถนนวิภาวดีรังสิต ที่จะครบกำหนดสัญญาเช่าตั้งแต่ปี 2563-2565

อาทิ พื้นที่ลานจอดรถของโรบินสันเก่า ที่จอดรถโรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ สถานบริการอาบอบนวดโพไซดอน สถานีตำรวจสุทธิสาร สถานีตำรวจพหลโยธิน ศาลอาญา เป็นต้น จะต้องมีการประเมินราคาค่าเช่าใหม่ก่อนต่อสัญญาเช่า เนื่องจากสัญญาเช่าเดิมทำไว้เมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว คาดว่าจะทำให้ ร.ฟ.ท.มีรายได้ค่าเช่าย่านรัชดาภิเษกเพิ่มมากขึ้น จากเดิมเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 200 ล้านบาท

สิงห์-เซ็นทรัลลงทุนเพิ่มแลก 30 ปี

นายฐากูร อินทรชม ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ที่ดินโรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัล หัวหิน สัญญาเช่าจะสิ้นสุดปี 2562 ปัจจุบันมีมูลค่าที่ดินเกิน 1,000 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 5,000 ล้านบาท ซึ่ง ร.ฟ.ท.ศึกษาผลตอบแทนเสร็จแล้ว มี 2 ทางเลือก คือ ต่อสัญญาให้ 20 ปี กับ 30 ปี โดย ร.ฟ.ท.ได้ผลตอบแทนเกิน 1,000 ล้านบาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการมาตรา 35 จะเลือกแนวทางไหน แต่มีแนวโน้มจะเป็น 30 ปี เนื่องจากบริษัทจะต้องลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงโรงแรมเดิมและสร้างใหม่เพิ่มเติม

สำหรับที่ดินสนามกอล์ฟหัวหินหลังสัญญาเช่าครบกำหนดเมื่อปี 2558 ระหว่างรอต่อสัญญารอบใหม่ ทางบริษัทจ่ายค่าเช่าให้ ร.ฟ.ท.เป็นรายปีในอัตราค่าเช่าเท่ากับปีสุดท้ายอยู่ที่ 476,000 บาท ส่วนสัญญาใหม่จากการประเมินมูลค่าทรัพย์สินปัจจุบันอยู่ที่ 2,000-3,000 ล้านบาท มูลค่าสูงขึ้นจากเดิมมาก คาดว่าจะต่อสัญญาให้เอกชนเช่า 30 ปี เพื่อให้คุ้มกับการลงทุนของเอกชนที่ต้องลงทุนเพิ่มอีก 1,000 ล้านบาท สร้างโรงแรมและคลับเฮาส์

ร.ฟ.ท.จะได้ผลตอบแทน 1,000 ล้านบาทเช่นกัน ซึ่งบอร์ดรถไฟอนุมัติแล้ว อยู่ระหว่างเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาเพื่อเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะกรรมการ PPP อนุมัติ

ส่วนที่ดินโรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ ไม่ต้องเข้า พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เนื่องจากมูลค่าทรัพย์สินอยู่ที่ประมาณ 700 ล้านบาท ร.ฟ.ท.จะต่อสัญญาเช่าให้ 20 ปี คาดได้ข้อสรุปเร็ว ๆ นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/05/2018 9:55 am    Post subject: Reply with quote

จี้คมนาคมแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟ
เดลินิวส์ พุธที่ 2 พฤษภาคม 2561 เวลา 18.00 น.

เครือข่ายสลัม 4 ภาค รวมตัวกว่าพันคน บุกกระทรวงคมนาคมจี้แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟหลังถูกปล่อยทิ้งนาน ด้าน “อาคม” รับลูก พร้อมสั่ง รฟท. สางปัญหาภายใน 1 เดือน

ผู้สื่อข่าวรางานว่า เมื่อวันที่ 2 พ.ค. ที่กระทรวงคมนาคม แกนนำและเครือข่ายเครือข่ายสลัม 4 ภาค อาศัยอยู่ตามแนวพื้นที่ของการรถไฟประเทศไทย (รฟท.) และได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาการก่อสร้างรถไฟ กว่า 1,100 คน มายื่นหนังสือให้แก่นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เพื่อติดตามการแก้ปัญหาที่ดินที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคม

นายคมสันติ์ จันทร์อ่อน กองเลขาเครือข่ายสลัม 4 ภาค เปิดเผยว่า การยื่นหนังสือครั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในที่ดินของการรถไฟทั่วประเทศ จากลงพื้นที่สำรวจพบว่าปัจจุบันมีปัญหา 300 กว่าหลังคาเรือนที่อยู่ในที่ดินของ รฟท.กระจายทั่วทุกภาค มี 60 หลังคาเรือนเท่านั้นที่มีสัญญาเช่าที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งทำให้เหลือ 240 หลังคาเรือนที่อยู่อาศัยแบบผิดกฎหมาย ซึ่งกำลังถูกผลกระทบที่มีความเป็นอยู่ไม่ดีเท่าไหร่ เช่น บ้านเลขที่ไม่มี น้ำและไฟฟ้าต้องขอไปซื้อในราคาที่แพง รวมทั้งสิทธิประโยชน์สวัสดิการต่างๆ ก็ไม่ได้รับเท่าเทียมกัน ดังนั้นจึงต้องการให้การที่อยู่อาศัยอย่างผิดกฎหมายให้อยู่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งมีช่องทางสามารถกระทำได้

ด้านนายอาคม กล่าวว่า ได้ประชุมหารือกับนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่า รฟท. แล้ว โดยเป้าหมายสูงสุดคือให้พี่น้องมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ปัญหาที่สะสมกันมาตั้งแต่ในอดีตต้องพยายามช่วยกันแก้ไขปัญหา ซึ่งคณะกรรมการที่แก้ไขเรื่องนี้ โดยมีนายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานและได้หารือมาโดยตลอด จึงอยากฝากพี่น้องประชาชนที่เดือดร้อนว่ากระทรวงคมนาคมไม่ได้นิ่งนอนใจ เพราะเป็นเรื่องที่พูดถึงในกระทรวงเสมอว่า การทำงานใดๆก็ตาม การพัฒนานั้นจะต้องทำร่วมกับพี่น้องประชาชนเพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ซึ่งรถไฟที่อยู่ในเส้นทางต่างๆ นั้น เรื่องไหนที่ได้ข้อสรุปแล้วจะดำเนินการไป

นายอาคม กล่าวต่อว่า ได้มอบหมายให้ รฟท. ไปหาข้อสรุปและเสนอแผนภายใน 1 เดือน เรื่องที่สามารถดำเนินการและปฏิบัติได้ต้องเริ่มทำทันที ทั้งนี้จะต้องอยู่ในขอบเขตและอำนาจหน้าที่ที่สามารถทำได้ ส่วนไหนที่ต้องใช้เวลาที่รอมา 4-5 ปี จะต้องได้ข้อสรุปแผนการทำงาน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2018 10:51 am    Post subject: Reply with quote

จี้รฟท.จัดการมาเฟียผู้ค้าหน้าเซ็นทรัลฯ
เดลินิวส์ พุธที่ 2 พฤษภาคม 2561 เวลา 16.52 น.

จี้รฟท.จัดการมาเฟียผู้ค้าหน้าเซ็นทรัลฯ คืนทางเดินสะดวกให้ประชาชน



นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยว่า
ภาคประชาชนได้มีการร้องเรียนถึงปัญหาการสัญจรบนทางเดินเท้าบริเวณหน้าห้างเซ็นทรัลลาดพร้าวบริเวณถนนพหลโยธินำ
ฝั่งด้านหน้าห้างสรรพสินค้าเซนทรัลลาดพร้าว ซึ่งมีการตั้งวางแผงค้าอาหาร
และเสื้อผ้าจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนเย็น
ที่กลุ่มผู้ค้าจะตั้งวางแผงค้าเต็มพื้นที่กว่า 50-60แผงค้า
สร้างปัญหาและความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่สัญจรไปมา
ซึ่งตนได้ลงพื้นที่สำรวจสภาพปัญหาบริเวณดังกล่าว พบว่า ทางเดินเท้ามาลักษณะแคบ
และมีแผงค้าหาบเร่แผงลอยตั้งบริเวณทางเท้าจำนวนมาก
ทำให้ประชาชนไม่สามารถเดินสัญจรได้อย่างสะดวก
อีกทั้งบนผิวจราจรยังมีการจอดรถตู้โดยสารสาธารณะรอรับผู้โดยสาร
ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้เกิดปัญหาจราจรติดขึ้นในแนวเส้นทางมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นภาคประชาชนจึงมีการเรียกร้องให้กทม. เข้าทำการจัดระเบียบพื้นที่

อย่างไรก็ตาม พื้นที่ดังกล่าวจากการตรวจสอบพื้นที่ทางเท้านั้นพบว่า
ไม่ใช่จุดที่เป็นพื้นที่สาธารณะในความรับผิดชอบดูแลของกทม.
แต่เป็นพื้นที่ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เป็นเจ้าของและเป็นผู้ดูแลพื้นที่ทั้งหมดภ
กทม.จึงไม่มีอำนาจในการเข้าไปจัดระเบียบใดๆได้
แต่ด้วยความเดือดร้อนของประชาชนที่ร้องเรียนมาต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมา กทม.
โดยสำนักงานเขตจตุจักรได้ประสานขอความร่วมมือดูแลพื้นที่ไปแล้ว
แต่การดำเนินการยังไม่เกิดผลสำเร็จใดๆ ตนจึงได้สั่งการให้สำนักงานเขตจตุจักร
ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่
ทำหนังสือเตือนอย่างเป็นทางการซึ่งหากรฟท.ยังไม่สามารถดำเนินการจัดระเบียบพื้นที่ใดๆได้อ
กทม.อาจต้องขอใช้พื้นที่เพื่อเข้าดำเนินการดูแลพื้นที่บริเวณสาธารณะเองต่อไป.

https://www.dailynews.co.th/bangkok/641333
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 11/05/2018 10:04 am    Post subject: Reply with quote

“กุดจิก”ปลื้มครม.สัญจรอนุมัติท่าเรือบก-มั่นใจอนาคตเป็นฮับอีสานแน่

วันที่ 9 พฤษภาคม 2561 - 18:07 น.

เมื่อเวลา 14.30 น.วันที่ 9 พฤษภาคม ที่บริเวณพื้นที่หน้าสถานีรถไฟกุดจิก ต.กุดจิก
อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา นายภัทรพล บัญชาจารุรัตน์ นายกเทศมนตรีตำบล (ทต.) กุดจิก
อ.สูงเนิน พร้อมผู้บริหาร
ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบความพร้อมการดำเนินโครงการท่าเรือบกโคราช Korat ICD (Inland
Container Depot) ซึ่งเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดประมาณ 20 ไร่
และมีรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์จอดรอส่งสินค้า โดยใช้ระบบเครนยกตู้ ฯ
วางบนโบกี้ขบวนรถไฟ ที่มาจอดเทียบชานชาลา

นายภัทรพล กล่าวว่า ชาวกุดจิก ขอขอบคุณรัฐบาลที่เห็นความสำคัญเลือกใช้พื้นที่
ต.กุดจิก เป็นสถานที่ตั้งท่าเรือบก
สามารถเพิ่มศักยภาพรถไฟทางคู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบัน พื้นที่ ทต.กุดจิก
มีระบบสาธารณูปโภคทั้งไฟฟ้า น้ำประปาและเส้นทางสัญจรที่พร้อมเพรียง
สามารถรองเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมได้หลายด้าน หลังรอความหวังนานหลายปี
ขณะนี้มีความชัดเจน ต่อไป ทต.กุดจิก จะดำเนินกระบวนการมีส่วนร่วม
โดยประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผ่านสื่อทุกช่องทางอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ภาคประชาชนตื่นตัวและพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต

นายชัชวาล วงศ์จร ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา กล่าว ในฐานะตัวแทนชาวโคราช ว่า
ขอบคุณ ครม.สัญจร ที่ได้เห็นชอบให้งบดำเนินการแผนแม่บทพัฒนาเมืองใหม่ นครราชสีมา
ซึ่งเป็นโครงการท่าเรือบกโคราชหรือศูนย์รวบรวมตู้คอนเทนเนอร์และเปลี่ยนโหมดขนส่ง
เพื่อรองรับโครงข่ายรถไฟทางคู่ที่ผ่านพื้นที่ จ.นครราชสีมา
ในการขนส่งสินค้าเปลี่ยนระบบขนส่งจากล้อยางสู่ระบบราง
เป้าหมายรวบรวมสินค้าทุกประเภทในพื้นที่ 20 จังหวัด ภาคตะวันเฉียงเหนือ
นำเข้าสู่ระบบรางและจัดตั้งกระบวนการศุลกากร ถือเป็นการตอบโจทย์ที่ถูกต้อง อนาคต
จ.นครราชสีมา ไม่ว่าจะเป็นฮับหรือโครงข่ายคมนาคมภาคอีสานแบบครบวงจร
ความสำคัญของท่าเรือบกโคราช ส่งผลให้ลดต้นทุนการขนส่ง
ไม่ต้องเสียเวลาขั้นตอนด่านศุลกากรและสามารถเชื่อมต่อทางรถไฟกลุ่มประเทศอินโดจีนและเส้นทางสายไหมของสาธารณรัฐประชาชนจีน

รวมทั้งการจ้างงานเพิ่มขึ้น ภาพรวมเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างแน่นอน
ขณะนี้ในละแวกพื้นที่รอบโครงการท่าเรือบกโคราช ซึ่งมีระยะห่างจากถนนมิตรภาพ
บริเวณข้างโรงงานซีเกท ประมาณ 1 กิโลเมตรและอยู่ระหว่างการก่อสร้างรถไฟทางคู่
มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ถนนมอเตอร์เวย์และถนนวงแหวนนครราชสีมา 2 หรือทางหลวงหมายเลข 290 เส้นทางตัดใหม่เชื่อมต่อทางหลวง 304 ถนนราชสีมา-กบินทร์บุรี
สามารถเดินทางไปภาคอีสานทั้งตอนบนและล่าง โดยไม่ต้องผ่านเมือง ที่มีการจราจรแออัด
การเลือกทำเลที่ตั้งแห่งนี้ จึงมีความเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง

//------------
นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบก่อสร้างศูนย์รวบรวมตู้คอนเทนเนอร์ (ไอซีดี) ที่ จ.นครราชสีมา และให้ทำพิธีศุลกากรได้เลย รวมถึงเห็นชอบให้กรมโยธาธิการรับไปดำเนินการโครงการเมืองใหม่ของนครราชสีมา ให้ใช้แนวทางการเป็นสมาร์ท ซิตี้ด้วย ส่วนข้อเสนอการสร้างศูนย์ประชุมขนาดใหญ่ เพื่อให้นครราชสีมาเป็น “ไมซ์ ซิตี้” มอบให้สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (ทีเส็บ) รับไปศึกษาความเหมาะสม

ด้านนายหัสดิน สุวัฒนะพงศ์เชฏ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ศูนย์บริการศุลกากรที่จะมีการก่อสร้างจะตั้งอยู่บริเวณ ต.นากลาง อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา เพื่อเป็นจุดขนถ่ายสินค้าและทำพิธีศุลกากร ทั้งขาเข้าและขาออก และเป็นจุดสนับสนุนคอนเทนเนอร์ยาร์ดจำนวนมากในภาคอีสาน คาดการณ์ว่าจะสามารถช่วยประหยัดต้นทุนในการขนส่งของภาคเอกชนได้ปีละไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท ต่อการขนส่งสินค้า 1 ล้านตัน ซึ่งจะช่วยทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าโดยรวมของประเทศลดลง.

9 พ.ค. 2561 https://www.thairath.co.th/content/1276647
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 141, 142, 143 ... 197, 198, 199  Next
Page 142 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©