RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264131
ทั้งหมด:13575414
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนขอนแก่น
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนขอนแก่น
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 15, 16, 17  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/12/2017 7:34 am    Post subject: Reply with quote

ยังไม่ชัดเริ่มสร้างรถไฟฟ้าขอนแก่นปีหน้า
เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม 2560 เวลา 10.32 น.

สนข.โยนให้ที่ปรึกษาศึกษารถไฟฟ้าให้ชัดระยะทาง ที่ตั้งเดปโป้ จุดจอดและจร พบข้อมูลผลการศึกษาไม่ตรงกับท้องถิ่น

นายธีระศักดิ์  ฑีฆายุพันธุ์   นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น  เปิดเผยว่า  บริษัท ขอนแก่นทรานซิทซิสเต็มจำกัด(เคเคทีเอส)  ได้ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเพื่อจ้างเป็นที่ปรึกษาอิสระตรวจสอบ ควบคุมและรับรองระบบขนส่งผู้โดยสารรางเบา ประเภทแทรม และการพัฒนาเมือง  โครงการระบบขนส่งมวลชนรางเบา (แทรม) สายเหนือ–สายใต้ต้นแบบในเมืองภูมิภาค จ.ขอนแก่น หรือโครงการเคเค-สาม( KK-3)  ที่ใช้แนวก่อสร้างบนถนนมิตรภาพช่วงบ้านสำราญ-บ้านท่าพระ  ระยะทาง 12.6กม.  โดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา WCE เป็นผู้ที่ได้รับคัดเลือกลำดับแรกและกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา APMBW Consortium เป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นลำดับสอง(สำรอง)  จากที่มีเอกชนยื่นข้อเสนอ 20 ราย
 
นายธีระศักดิ์  กล่าวต่อว่าจะเชิญผู้ที่ได้รับการคัดเลือกลำดับแรกมาเปิดซองและต่อรองราคาและเจรจารายละเอียดต่อไป ขณะเดียวกันบริษัทฯกำลังพิจารณาหาผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการฯ คาดว่าจะประกาศรายชื่อเอกชนที่ผ่านการคัดเลือกทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ ได้อย่างเร็ว ช่วง ปลาย ธ.ค.- ต้นม.ค. 61หลังจากนั้นจะพิจารณาหาที่ปรึกษาบริหารจัดการระบบการเดินรถในลำดับต่อไป  

ขณะเดียวกันบริษัทฯต้องรอผลการศึกษาของสนข. รวมทั้งเข้าพบรมว.มหาดไทยหรือ มท.1 เพื่อหารือการดำเนินโครงการโดยเฉพาะการขอใช้พื้นที่ของศูนย์วิจัยข้าว 200 ไร่  มาพัฒนาเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงและพื้นที่เชิงพาณิชย์รวมทั้งเข้าพบรมว.เกษตรและสหกรณ์เพื่อขอใช้พื้นที่ของศูนย์วิจัยข้าว 200 ไร่ภายใน ธ.ค. นี้  โดยวางแผนเริ่มก่อสร้างช่วงไตรมาสแรก ของปี61 แล้วเสร็จและให้บริการได้ในปี 63  ส่วนรูปแบบการลงทุนบริษัทฯจะจ้างเอกชนบริหารการเดินรถ โดยมีเคเคทีเอสเป็นผู้กำกับดูแลออกนโยบายและบริหารในภาพรวม
 
รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) แจ้งว่า   ได้มอบหมายมหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.) ในฐานะที่ปรึกษาโครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่นและผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือรถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น  ไปศึกษารายละเอียดโครงการให้ชัดเจน เช่น ระยะทางรถไฟฟ้ารางเบาเส้นทางแนวเหนือใต้ ถนนมิตรภาพ ช่วงบ้านสำราญ-บ้านท่าพระ ที่ สนข. ศึกษามีระยะทาง22.8 กม.  มีศูนย์ซ่อมบำรุง (เดปโป้)  ที่สถานีโลตัสเอ็กตร้า เดินรถผ่านหน้า มข.เท่านั้น   

ขณะที่โครงการขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าระบบรางเบาจ.ขอนแก่น ทางท้องถิ่นได้ผลักดันภายใต้ บริษัทเคเคทีเอส ด้วยการจัดตั้งบริษัท 5เทศบาล ได้แก่ เทศบาลตำบลสำราญ เทศบาลเมืองศิลา เทศบาลนครขอนแก่นเทศบาลตำบลเมืองเก่า และเทศบาลตำบลท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น จะก่อสร้าง เส้นทางเดียวกันแนวเหนือใต้ถนนมิตรภาพ ช่วงบ้านสำราญ-บ้านท่าพระ  ระยะทางแค่12.6 กม. มีเดปโป้อยู่ที่ศูนย์วิจัยข้าว 200 ไร่ และเดินรถเข้ามข. ด้วย  แต่ข้อมูลไม่ตรงกัน   

คาดว่าผลการศึกษาจะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกำกับโครงการฯประมาณ ม.ค.61 เมื่อเห็นชอบรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์จะเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ให้มอบหมายการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ศึกษารูปแบบการลงทุนแบบพีพีพี  ใช้เวลาศึกษา1 ปี ก่อนเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) คาดว่าก่อสร้างได้อย่างเร็วปี62 ใช้เวลา3ปี แล้วเสร็จปี 65 ส่วนที่เคเคทีเอสได้ประกาศหาที่ปรึกษาและเตรียมหาผู้รับเหมาก่อสร้างนั้นดำเนินการได้ตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ  
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 14/12/2017 11:25 am    Post subject: Reply with quote

ฟ้นผู้รับเหมาสร้างรถรางขอนแก่น
พุธที่ 13 ธันวาคม 2560 เวลา 16.40 น.

บริษัทขอนแก่นทรานซิทซิสเต็มจำกัด (เคเคทีเอส) เร่งหาผู้รับเหมาโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรางเบา (แทรม) สายเหนือ–สายใต้ ต้นแบบในเมืองภูมิภาค



นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น เปิดเผยความคืบหน้าโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรางเบา (แทรม) สายเหนือ–สายใต้ ต้นแบบในเมืองภูมิภาค จ.ขอนแก่น ว่า บริษัทขอนแก่นทรานซิทซิสเต็มจำกัด (เคเคทีเอส) ได้ประกาศเชิญชวนประกวดราคาและยื่นข้อเสนองานโครงการก่อสร้าง ระบบขนส่งมวลชน ระบบรถรางเบา สายเหนือ-ใต้ ต้นแบบในเมืองภูมิภาค จ.ขอนแก่น โครงการขอนแก่นสมาร์ทซิตี้ ระยะที่ 1 ประกอบด้วย3 โครงการหลัก ได้แก่ 1.งานจ้างเหมาออกแบบ และก่อสร้าง งานโยธา และโครงสร้าง พร้อมทั้งการผลิต และการติดตั้ง ระบบขนส่งผู้โดยสารรางเบา ประเภทแทรม และการพัฒนาเมือง (ทีโอดี) หรืองานโครงการเคเค-หนึ่ง (KK-1) ราคากลางวงเงินไม่เกิน 13,707,000,000 บาท 2.งานจ้างเหมาปฏิบัติการเดินรถ การบำรุงรักษา และบริหารจัดการพื้นที่สถานี และส่วนเกี่ยวเนื่อง ระบบขนส่งผู้โดยสารรางเบา ประเภทแทรม และทีโอดี หรืองานโครงการเคเค-สอง (KK-2) และ 3.งานจ้างที่ปรึกษาอิสระ ตรวจสอบ ควบคุม และรับรอง ระบบขนส่งผู้โดยสารรางเบา ประเภทแทรม และทีโอดี หรืองานโครงการเคเค-สาม (KK-3)



นายธีระศักดิ์ กล่าวต่อว่า ทางบริษัทฯได้เปิดให้ยื่นข้อเสนองานโครงการ เคเค-สามเป็นอันดับแรก ปรากฎว่ามีเอกชนผู้ผ่านการคัดเลือกงาน 2ลำดับแรกจากผู้สนใจทั้งหมด 20 ราย คือ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา WCE และ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา APMBW Consortium ตามลำดับ ทั้งนี้บริษัทฯ จะเชิญผู้ที่ได้รับการคัดเลือกลำดับแรกมาเปิดซอง ต่อรองราคาและเจรจาในรายละเอียดของสัญญาต่อไป ขณะเดียวกัน บริษัทฯ กำลังพิจารณาหาเอกชนมารับเหมาดำเนินโครงการเคเค-หนึ่ง คาดว่าจะสามารถประกาศรายชื่อเอกชนที่ผ่านการคัดเลือกทางเว็บไซต์ของ บริษัทฯ ได้ในช่วงปลายเดือน ธ.ค. หรือต้น ม.ค. 61 และหลังจากนั้นจึงจะพิจารณาหาเอกชนมารับเหมางานโครงการเคเค-สอง ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/12/2017 3:23 am    Post subject: Reply with quote

ทุนภูธรแห่ตั้งบริษัทพัฒนาเมือง ประเดิมลงขัน”รถไฟฟ้ารางเบา”
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 28 ธันวาคม 2560 - 00:02 น.

พัฒนาเมืองโมเดลใหม่ฮิต นักธุรกิจ 12 จังหวัดแห่ตั้งบริษัทพัฒนาเมือง ล่าสุด 4 จังหวัด “ตาก-อุดรธานี-กระบี่-สุราษฎร์ฯ” จ่อจดทะเบียนเพิ่ม ชี้ “ขอนแก่น” เวิร์กสุด เปิดยื่นซองประมูลสร้างรถไฟฟ้ารางเบา 1.3 หมื่นล้าน ก้าวขึ้น “สมาร์ทซิตี้” “สระบุรี” วาดแผนเป็นศูนย์กลางขนส่ง “เชียงใหม่-สุโขทัย” ลุยสมาร์ทบัส ส่วน “สมุทรสาคร” ปิ๊งนครครัวโลก

นายฐาปนา บุณยประวิตร อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย และผู้ประสานงานเครือข่ายกิจการพัฒนาเมือง เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เป็นเวลาเกือบ 3 ปีแล้วที่ บจ.ขอนแก่นพัฒนาเมืองก่อกำเนิดขึ้น และหลังจากนั้นบริษัทพัฒนาเมืองอีก 11 แห่ง ก็เกิดขึ้นตามมา ได้แก่ บจ.ภูเก็ตพัฒนาเมือง บจ.สมุทรสาครพัฒนาเมือง (วิสาหกิจเพื่อสังคม) บจ.พิษณุโลกพัฒนาเมือง บจ.ระยองพัฒนาเมือง บจ.สระบุรีพัฒนาเมือง บจ.เชียงใหม่พัฒนาเมือง บจ.กรุงเทพพัฒนาเมือง บจ.ชลบุรีพัฒนาเมือง บจ.สุโขทัยพัฒนาเมือง และล่าสุดคือ บจ.สงขลาพัฒนาเมือง
นอกจากนี้ยังมีจังหวัดที่อยู่ระหว่างการเตรียมจัดตั้งบริษัทพัฒนาเมืองอีก 4 จังหวัด ประกอบด้วย บจ.ตากพัฒนาเมือง บจ.อุดรธานีพัฒนาเมือง บจ.กระบี่พัฒนาเมือง และ บจ.สุราษฎร์ธานีพัฒนาเมือง

ทั้งนี้ กรอบการพัฒนาเมืองของไทยยังต้องเดินตามระเบียบข้อกฎหมาย ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงกฎหมายผังเมือง และวิธีการรวมศูนย์อำนาจของส่วนกลางในการกำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงของเมืองได้ แต่ที่บริษัทพัฒนาเมืองกำลังพยายามทำคือ การอุดช่องโหว่การพัฒนาจากส่วนกลาง โดยสร้างทิศทางการพัฒนาของตนเองขึ้น ชัดเจนสุดคือ แผนงานโครงการระบบขนส่งทางราง ของ บจ.ขอนแก่นพัฒนาเมือง และ บจ.ภูเก็ตพัฒนาเมือง ซึ่งพัฒนาจากความไม่พร้อมด้านงบประมาณของส่วนกลาง

เชียงใหม่-สุโขทัยผุดสมาร์ทบัส

นายฐาปนากล่าวว่า รูปแบบการพัฒนาของบริษัทพัฒนาเมืองหลัก ๆ คือ การใช้ระบบขนส่งมวลชนเป็นธงนำ เพื่อทำให้รูปแบบของเศรษฐกิจเมืองเปลี่ยนแปลงตาม เมืองจะประหยัดพลังงานขึ้น เพราะประชาชนจะทิ้งรถยนต์หรือลดการครอบครองรถยนต์ส่วนบุคคล เศรษฐกิจจะเติบโตขึ้นในพื้นที่รอบสถานี และบริเวณ 2 ข้างทางรถขนส่งมวลชน ค่าใช้จ่ายครัวเรือนจะลดลง ความฝันที่จะเป็นเมืองสุขภาพจะเป็นจริง จะเกิดพื้นที่แห่งการเดิน (walkable areas)

สำหรับภาคเหนือ ขณะนี้ บจ.เชียงใหม่พัฒนาเมือง และ บจ.สุโขทัยพัฒนาเมือง อยู่ระหว่างเตรียมลงทุนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า 2 เส้นทาง ในเชียงใหม่ 1 เส้นทาง สุโขทัย 1 เส้นทาง ในรูปแบบ smart bus พื้นชานต่ำ เพียบพร้อมด้วยบริการไวไฟ (WiFi) และสิ่งอำนวยความสะดวก

ขอนแก่น “สมาร์ทซิตี้ 2029”

นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ผู้ร่วมก่อตั้ง บจ.ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) กล่าวว่า ในส่วนของโครงการรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) มูลค่าลงทุน 1.3 หมื่นล้านบาท ล่าสุด 22 ธ.ค. 2560 ที่ผ่านมา มีบริษัททั้งไทยและต่างชาติ ยื่นซองประมูลก่อสร้างโครงการดังกล่าว ระหว่างนี้อยู่ระหว่างรอผลการศึกษาโครงการจากสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือน ก.พ. 2561

จากนั้นจะคัดเลือกบริษัทเอกชนที่ยื่นข้อเสนอดีที่สุดเข้ามาลงทุน
ส่วนระบบขนส่งมวลชนรูปแบบอื่น ๆ อาทิ smart bus ซึ่งศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างร่วมกับเทศบาล องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ศึกษาแนวทางปรับปรุงรูปแบบป้ายรถเมล์

“จากนี้ไปเราจะเดินหน้าเรื่องขอนแก่นสมาร์ทซิตี้ โดยบริษัทพัฒนาเมือง จะร่างแผนยุทธศาสตร์ ใช้ชื่อว่าแผนขอนแก่นสมาร์ทซิตี้ 2029 ช่วงแรกเน้นเรื่องสมาร์ทเอดูเคชั่น เช่น การเรียน 2 ภาษา สำหรับเด็กในขอนแก่น ส่วนสมาร์ทเฮลท์แคร์ที่เสร็จแล้ว คือ แอปพลิเคชั่นสำหรับรถฉุกเฉิน ส่งข้อมูลไปยังศูนย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นได้ หากคนไข้วิกฤตในรถ หมอสามารถสั่งให้บุรุษพยาบาล หรือพยาบาลรักษาก่อนได้ เป็นต้น”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 02/01/2018 12:07 am    Post subject: Reply with quote

ชาวขอนแก่นเชียร์รถไฟฟ้ารางเบา
จันทร์ที่ 1 มกราคม 2561 เวลา 07.00 น.

ชาวขอนแก่น หนุนสร้างรถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น หลังจัดซาวด์เสียงครั้งสุดท้าย แนะเดินรถให้เชื่อมต่อสนามบิน-สถานีขนส่ง เข้าถึงทุกกลุ่มคนพิการ-สูงอายุ เพื่อความสะดวกการเดินทาง

รศ.ดร.พนกฤษณ คลังบุญครอง รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างมูลฐานอย่างยั่งยืน ภาควิชาวิศวกรรมโยธาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ในฐานะรองผู้จัดการโครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่นและผลกระทบสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. ที่ผ่านมา ได้จัดประชุมสรุปผลและรับฟังข้อคิดเห็นโครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่น และผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือรถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น เพื่อปิดโครงการ

โดยที่ปรึกษาได้สรุปผลการศึกษาเป็นรถไฟฟ้ารางเบา นำร่อง เส้นทางบ้านสำราญ-ท่าพระ ระยะทาง 22.8 กม. 16 สถานี มีจุดจอดและจร 4 จุด ได้แก่ ท่าพระ บขส.3ตำบลศิลา และ บ้านสำราญ มีศูนย์ซ่อมบำรุง (เดปโป้) 1 แห่ง ที่บริเวณทางด้านทิศเหนือบ้านสำราญ มีการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี (ทีโอดี) 3 แห่ง คือ 1.สถานีเซ็นเตอร์พ้อยท์ 2.บขส.3 และ 3.โลตัสเอ็กตร้า วงเงินลงทุนกว่า 2 หมื่นล้านบาท

รศ.ดร.พนกฤษณ กล่าวต่อว่า ส่วนการแสดงความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับผลการศึกษา ขณะเดียวกันประชาชนต้องการให้รถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่นเข้าถึงคนทุกกลุ่ม ทั้งผู้สูงอายุและผู้พิการด้วย นอกจากนี้ต้องการให้เชื่อมต่อการเดินทางทั้งสนามบินและสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น เพื่อความสะดวกในการเดินทาง

หลังจากนี้จะนำความคิดเห็นมาปรับปรุงผลการศึกษาเพื่อนำเสนอรายงานฉบับสมบูรณ์ให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ปลายเดือน ม.ค.61 หลังจากนั้น สนข. นำเสนอผลการศึกษาให้กระทรวงคมนาคมต่อไป ส่วนการลงทุนรถไฟฟ้ารางเบานั้น ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งขณะนี้ทางจังหวัดขอนแก่นนำโดย บริษัทขอนแก่นทรานซิทซิสเต็ม (เคเคทีเอส) จำกัด ได้ผลักดันโครงการดังกล่าวและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

รายงานข่าวจาก สนข. แจ้งว่า รถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น เส้นทางบ้านสำราญ-ท่าพระ ตามแผนใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างปี 63 เสร็จปี 65 และให้บริการปี 66 
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/01/2018 10:57 am    Post subject: Reply with quote

ชงโมโนเรลภูเก็ต-เชียงใหม่เข้าครม.-ขอนแก่นส่อยื้อติดPPP
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 8 มกราคม 2561 - 10:18 น.

รถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต - เป็นที่แน่ชัดรัฐบาลคสช.จะเร่งลงทุนรถไฟฟ้ารางเบาหรือไลต์เรลภูเก็ตเป็นโครงการแรก รูปแบบ PPP มี รฟม.เป็นเจ้าภาพ เพื่อแก้รถติด

สนข.เร่งชง ครม.อนุมัติโมโนเรลแก้รถติดหัวเมืองใหญ่ ประเดิม “ภูเก็ต-เชียงใหม่” ดึงเอกชน PPP ส่วนขอนแก่น รอนโยบายรัฐเคาะ งง! เอกชนท้องถิ่นเดินหน้าประมูล เผยหากสนใจต้องเข้ากระบวนการกฎหมายร่วมทุนเท่านั้น

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หลังคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจเป็นประธาน ได้รับทราบผลการดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะใน 5 เมืองภูมิภาค ได้แก่ ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมาและหาดใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาจราจร คิดเป็นเงินลงทุนรวม 131,525 ล้านบาท

ขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายให้เร่งโครงการที่ภูเก็ตและเชียงใหม่ โดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP ระยะเวลา 30 ปี 40 ปี และ 50 ปี โดยรัฐจะลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนเอกชนลงทุนงานระบบ ซึ่งโครงการถูกบรรจุไว้ใน PPP Fast Track ปี 2560 แล้ว

“จะเดินหน้าภูเก็ตก่อน กระทรวงมอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยหรือ รฟม.เป็นผู้ดำเนินการ อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบ PPP จะเป็นรูปแบบไหน Net Cost (สัมปทาน) หรือ Gross Cost (จ้าง) เพราะ สนข.ศึกษาแค่แผนแม่บทให้เป็นระบบไหนถึงจะเหมาะสมกับพื้นที่ ที่เหลือเป็นหน้าที่ของ รฟม.ทางรองนายกฯ สมคิดต้องการจะให้ได้ผู้ลงทุนภายในปี 2561”


เนื่องจากภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวมากกว่า 12 ล้านคน ผลการศึกษาความเหมาะสมที่ออกมาเป็นรถไฟฟ้ารางเบาหรือไลต์เรล เป็นเส้นทางสายใหม่จากสุราษฎร์ธานี-พังงา-ภูเก็ต ระยะทาง 58.25 กม. เงินลงทุนทั้งโครงการ 39,406.06 ล้านบาท

จุดเริ่มต้นอยู่สถานีรถไฟท่านุ่น จ.พังงา เชื่อมกับระบบรถไฟสายใหม่เส้นทาง จ.สุราษฎร์ธานี ถึง จ.พังงา ส่วนจุดสิ้นสุดโครงการอยู่ทางเหนือของห้าแยกฉลอง บน ถ.เจ้าฟ้าตะวันออก ห่างจากห้าแยกฉลอง ประมาณ 200 เมตร มี 24 สถานี เป็นสถานียกระดับ 1 สถานีที่สนามบินภูเก็ต เป็นสถานีใต้ดิน 1 สถานี ที่สถานีถลาง และมีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง บริเวณ อ.ถลาง แบ่งสร้าง 2 เฟส ระยะแรกจากท่านุ่น-สนามบินภูเก็ต และระยะที่ 2 จากสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง

สำหรับเชียงใหม่ ผลการศึกษาเสร็จแล้วและเสนอไปที่กระทรวงคมนาคมแล้ว อยู่ระหว่างพิจารณารูปแบบและวงเงินลงทุนโครงการ เนื่องจากเงินลงทุนโครงการแตกต่างกันมากถึง 3 เท่า ระหว่างการก่อสร้างระดับดินผสมใต้ดินและใต้ดินทั้งหมด เมื่อกระทรวงได้ข้อสรุปแล้ว จะนำเสนอให้ คจร.พิจารณาต่อไป ก่อนจะเริ่มขั้นตอน PPP

รูปแบบที่เหมาะสมเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา สร้างอยู่ในพื้นที่เขตเมือง มี 3 เส้นทางให้เลือก ระหว่าง เป็นทางวิ่งบนดิน และใต้ดินร่วมกัน เงินลงทุนรวม 106,895 ล้านบาท และทางวิ่งบนดินทั้งหมด เงินลงทุน 28,419 ล้านบาท

ได้แก่ 1.สายสีแดงโรงพยาบาลนครพิงค์-ศูนย์ราชการเชียงใหม่-สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี-ศูนย์ประชุมนานาชาติ-สถานีตำรวจช้างเผือก-แยกข่วงสิงห์-มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่-สถานีขนส่งช้างเผือก-โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม-โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่-ร.ร.วัฒโนทัยพายัพ-สนามบินเชียงใหม่-สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่-ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีหางดง

2.สายสีเขียวแยกรวมโชค-แยกแม่โจ้-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล-สถานีขนส่งอาเขต-โรงพยาบาลแมคคอร์มิคเชียงใหม่-ร.ร.ดาราวิทยาลัย-ร.ร.ปรินส์รอแยลส์วิทยาลัย-ตลาดวโรรส (กาดหลวง)-เทศบาลนครเชียงใหม่-ย่านเชียงใหม่ไนท์บาซาร์-ร.ร.เรยีนาเชลีวิทยาลัย-ร.ร.พระหฤทัย-ร.ร.มงฟอร์ตวิทยาลัย-เชียงใหม่แลนด์-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา-เชียงใหม่แอร์พอร์ต-มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น-สนามบินเชียงใหม่

และ 3.สายสีน้ำเงิน สวนสัตว์เชียงใหม่-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา-มหาวิทยาลัยเชียงใหม่-แยกตลาดต้นพยอม-รพ.มหาราชนครเชียงใหม่-วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร-ประตูท่าแพ-ย่านเชียงใหม่ไนท์บาซาร์ตลาดสันป่าข่อย-สถานีรถไฟเชียงใหม่-แยกหนองประทีป-ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีดอนจั่น-ห้างสรรพสินค้าพรอมเมนาดา

ส่วนขอนแก่น ผอ.สนข.กล่าวว่า ผลการศึกษายังไม่แล้วเสร็จ ซึ่ง สนข.ศึกษาเป็นแผนแม่บทอย่างเดียว ส่วนการลงทุนอยู่ที่นโยบายของรัฐบาล หากเอกชนท้องถิ่นสนใจจะลงทุนจะต้องดำเนินการตามขั้นตอน PPP

รูปแบบโครงการเป็นรถไฟฟ้ารางเบา แนวเส้นทางเชื่อมการเดินทางแนวเหนือ-ใต้ จากบ้านสำราญ-บ้านท่าพระ ระยะทางประมาณ 22.8 กม. มี 16 สถานี เงินลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาท

“การที่เอกชนท้องถิ่นยื่นประมูลโครงการยังไม่ทราบรายละเอียด แต่ สนข.ศึกษาแผนแม่บทไว้ เมื่อเสร็จแล้วเสนอไปที่กระทรวงคมนาคม คาดว่าจะเสนอกลางเดือน ม.ค.นี้ เพื่อกำหนดนโยบายการพัฒนาโครงการ อาจจะให้ รฟม.ดำเนินการเหมือนที่ภูเก็ต และให้เอกชนร่วม PPP งานระบบและจัดหารถ”

ด้าน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นระบบรถไฟฟ้าโมโนเรล เริ่มจากคลองหวะ-สถานีรถตู้ ระยะทาง 12.54 กม. มีสถานี 12 สถานี มูลค่าลงทุน 16,100 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับแก้รายงานอีไอเอ

ขณะที่นครราชสีมา ผลศึกษาใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเบา เป็นระบบหลักในการเดินทางและมีระบบรถโดยสาร เป็นระบบรอง เงินลงทุน 32,600 ล้านบาท แบ่งเป็น 3 เฟส ระยะแรก เงินลงทุน 14,000 ล้านบาท ระยะที่ 2 เงินลงทุน 4,900 ล้านบาท และระยะที่ 3 เงินลงทุน 13,600 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/01/2018 7:29 am    Post subject: Reply with quote

ดีเดย์รางเบาขอนแก่น
โพสต์ทูเดย์ ข่าวประชาคมอาเซียน 25 มกราคม 2561 เวลา 06:34 น.

ตั้งเป้าตอกเสาเข็มรถไฟฟ้ารางเบา จ.ขอนแก่น ภายในปีนี้ เตรียมเปิดตัวสมาร์ทบัสเมืองขอนแก่นอีก 3 เส้นทาง

นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย รองคณบดีฝ่ายบริหารวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) กล่าวในงานเสวนา "การเพิ่มบทบาทการพัฒนาขนส่งมวลชนทางรางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" ว่า ความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนรางเบา (แทรม) จ.ขอนแก่น ช่วงบ้านสำราญ-บ้านท่าพระ วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท ขณะนี้บริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม (เคเคทีเอส) ได้เปิดประมูลหาผู้รับเหมาดำเนินการก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างรอผลการศึกษาโครงการออกแบบรายละเอียดระบบขนส่งสาธารณะในเขต จ.ขอนแก่น และผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) จากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 เดือน

ทั้งนี้ ตั้งเป้าเริ่มก่อสร้างได้ภายในปีนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทได้เข้าหารือกับกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งได้หารือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัด เอ็นจีโอ และพ่อค้าประชาชนเกี่ยวกับการดำเนินโครงการดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว

นายสุรเดช กล่าวว่า จ.ขอนแก่น มีแผนเปิดให้บริการสมาร์ทบัส 3 เส้นทาง รวมทั้งมีแผนเพิ่มจำนวนสมาร์ทบัสอีก 50 คัน เพื่อเตรียมพร้อมเป็นฟีดเดอร์ให้กับรถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่นก่อนที่รถไฟฟ้าจะสร้าง เพราะเห็นประสบการณ์จากกรุงเทพฯ ที่ปัจจุบันมีรถไฟฟ้าใช้แล้ว แต่ระบบรถเมล์ที่ทำหน้าที่รับส่งผู้โดยสารป้อนให้กับรถไฟฟ้ายังไม่มี ทำให้ผู้โดยสารไม่สามารถเชื่อมต่อการเดินทางได้

ด้าน ศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า การพัฒนาเมืองขอนแก่นเห็นด้วยกับแนวคิดและเป็นเรื่องที่ดีเป็นประโยชน์กับท้องถิ่น แต่การพัฒนาโดยเฉพาะการสร้างรถไฟฟ้ารางเบาที่ดำเนินการโดยบริษัท เคเคทีเอส ยังมีข้อระเบียบกฎหมายในเรื่องการปฏิบัติ โดยเฉพาะการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และการสร้างต้องใช้ระยะเวลาเพื่อดำเนินการเหล่านี้ ไม่คิดว่าจะสามารถสร้างรถไฟฟ้าได้ภายใน 3 ปี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/02/2018 7:18 am    Post subject: Reply with quote

เร่งรถไฟ5เมืองหลักหนุนเศรษฐกิจภูมิภาค
กรุงเทพธุรกิจ 22 ก.พ. 61
นโยบายเศรษฐกิจ

คจร.สั่งการทางพิเศษเดินหน้าศึกษาทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ รองรับการพัฒนารถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล แก้ปัญหาจราจรแยกเกษตร รับทราบความคืบหน้ารถไฟฟ้า 10 สาย ในกทม.เปิดบริการได้ทั้งหมดปี68 สมคิด สั่งเดินหน้ารถไฟฟ้า 5 จังหวัดใหญ่ สร้างความเจริญให้ภูมิภาค

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.)ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน วานนี้ (21 ก.พ.) ว่าที่ประชุมได้มอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เดินหน้าศึกษาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่3ตอนN2เชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก และให้รองรับกับการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย-บึงกุ่ม) ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าสายที่ 11ของ กทม.โดยโครงการทางด่วนเส้นทางนี้เป็นโครงการที่จำเป็นเพื่อเชื่อมให้เส้นทางคมนาคมจากวงแหวนตะวันตก-วงแหวนตะวันออก เชื่อมถึงกันและลดปัญหาจราจรแออัดบริเวณแยกเกษตรได้

ทั้งนี้ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการก่อสร้างตามแผนแม่บทการพัฒนารถไฟฟ้าซึ่งจากทั้งหมด10สาย ที่เปิดการเดินรถไปแล้ว 3 สายรวม 170กิโลเมตร (กม.) และระหว่างนี้อยู่ระหว่างทยอยเปิดประมูลและก่อสร้าง ซึ่งเมื่อครบทั้ง 10 เส้นทางตามแผนแม่บทจะทำให้ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีโครงข่ายรถไฟฟ้าครอบคลุม 460 กม. และหากรวมกับสายสีน้ำตาล(แคราย-บึงกุ่ม) ที่ขณะนี้ยังอยู่ในช่วงของการศึกษาเป็นสายที่ 11 โครงข่ายรถไฟฟ้าจะมีระยะทางรวม 480 กม.

โครงข่ายรถไฟฟ้าทั้ง11สาย ที่จะทยอยเปิดใช้แต่ละช่วงหลังจากนี้ถือว่าเพียงพอสำหรับการใช้บริการของประชาชนในกรุงเทพฯ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีระบุว่า งานก่อสร้างต้องดูแลให้เกิดความสอดคล้องเพราะทั้งหมดเป็นโครงข่ายหากเกิดปัญหาจุดไหนต้องรีบแก้ไข และเมื่อกรุงเทพฯ เพียงพอแล้วหลังจากนี้ต้องเร่งการลงทุนระบบขนส่งในภูมิภาคอย่างเร่งด่วน นายไพรินทร์ กล่าว
สำหรับโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ในเมืองภูมิภาค โดยเฉพาะในจังหวัดขนาดใหญ่รวม 5 จังหวัดได้แก่

1.จังหวัดขอนแก่น ซึ่งพบว่าระบบที่เหมาะสมกับเมืองขอนแก่น ได้แก่ ระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT)ที่รูปแบบการลงทุนนั้นรัฐจะเวนคืนที่ดินแล้วให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งงานระบบและจัดหาตัวรถตลอดจนงานดำเนินการและบำรุงรักษา เส้นทางที่เหมาะสมในการดำเนินโครงการนำร่อง ได้แก่ เส้นทางในแนวเหนือ-ใต้ (บ้านสำราญต.สำราญ-ต.ท่าพระ อ.เมืองขอนแก่น) ระยะทางประมาณ22.8กม.

2.โครงการศึกษาออกแบบระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต (โครงการรถไฟฟ้า รางเบาจังหวัดภูเก็ต) ที่ประชุมได้รับทราบผลการศึกษาโครงการดังกล่าว ซึ่งระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit หรือTramway) เป็นระบบที่มีความเหมาะสมมากที่สุดสำหรับจังหวัดภูเก็ตคาดว่าจะแล้วเสร็จและดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ภายในปี 2561

3.แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจ.เชียงใหม่ โดยที่ประชุมอนุมัติ และเห็นชอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการในขั้นตอนการลงทุนและการก่อสร้างโครงการ เป็นไปได้ 3รูปแบบคือ รัฐลงทุน 100% เปิดให้เอกชนร่วมลงทุน(พีพีพี)โดยรัฐลงทุนงานโยธา เอกชนลงทุนงานระบบเครื่องกลและระบบไฟฟ้า และจัดหาขบวนรถไฟฟ้า และเปิดพีพีพีรัฐร่วมเอกชนจัดตั้งบริษัท และระดมทุน

4.โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก ที่ประชุมได้รับทราบผลการศึกษาโครงการดังกล่าว โดยเทคโนโลยีระบบขนส่งสาธารณะที่มีความเหมาะสม กับแนวเส้นทาง และมีความเป็นไปได้มี 3 รูปแบบ ได้แก่ รถโดยสารขนาดปกติ (Regular Bus) รถโดยสารขนาดเล็ก (Micro Bus) และรถรางล้อยาง (Auto Tram)

5.โครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา ที่ประชุมได้มีการพิจารณาผลการศึกษาจัดทำแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา โดยระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสม ได้แก่ ระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit, LRT)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/02/2018 10:01 am    Post subject: Reply with quote

โคราช-ขอนแก่น-ระยอง ร้องว๊าว!ได้นั่งรถไฟฟ้า
เดลินิวส์ อังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 08.00 น.

สัปดาห์นี้ชาวโคราช-ขอนแก่น-ระยอง เตรียมร้องว๊าว!! ต่อคิวรอได้นั่งรถไฟฟ้าเหมือนคนกรุง ส่วนอุดรฯ รอลุ้น!! แต่ชาวสองแควโหนรถเมล์รอไปก่อน ไปดูสิว่าจะได้ใช้เมื่อไหร่??

สัปดาห์ที่แล้วพาไปอัพเดท “โครงการรถไฟฟ้าในต่างจังหวัด” ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษารายละเอียดเสร็จแล้ว เริ่มจากใต้สุด...โมโนเรลหาดใหญ่ จ.สงขลา และรถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต รวมทั้งขึ้นเหนือไปสแกนรถไฟฟ้ารางเบา จ.เชียงใหม่กันแล้ว

สัปดาห์นี้จะพาไปส่องความคืบหน้ารถไฟฟ้าภาคอีสานและภาคกลางกัน ล่าสุดการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 21 ก.พ.ที่ผ่านมา นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นั่งหัวโต๊ะประชุมที่ทำเนียบรัฐบาล รับทราบโครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา

ที่ได้ข้อสรุปว่า...ระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสม คือระบบรถไฟฟ้ารางเบา 3 เส้นทาง ได้แก่ สีเขียว สีส้ม และสีม่วง ระยะทางรวม 70 กม. รวม 75 สถานี แบ่งเป็น 2 ระยะ (เฟส) เฟสแรกสายสีเขียวพร้อมสายสีส้ม และเฟส 2 สายสีม่วง ให้ดำเนินการหลังสายสีเขียวและสีส้มเปิดให้บริการแล้ว 3 ปี

พร้อมพัฒนาพื้นที่รอบสถานีหรือจุดจอดของระบบขนส่งสาธารณะ 2 แห่ง ได้แก่ ย่านสถานีรถไฟนครราชสีมา และสถานีขนส่งผู้โดยสาร จ.นครราชสีมา แห่งที่ 2 โดยให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พิจารณารูปแบบการลงทุนและการก่อสร้างน่าจะตอกเสาเข็มได้ในปี 62 ใช้เวลา 3 ปี เปิดบริการปี 65

โดย “สายสีเขียว” เส้นทางชลประทาน-สำนักงานขนส่ง2 มี 34 สถานี ระยะทาง 30 กม., “สายสีส้ม” เส้นทางดูโฮม-รพ.ป.แพทย์ 22 สถานี 20 กม. และ “สายสีม่วง” เส้นทางตลาดเซฟวัน-ค่ายสุรนารายณ์ 22 สถานี 20 กม.วงเงินลงทุน 32,000 ล้านบาท

ต่อด้วย รถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น ที่ประชุม คจร. รับทราบผลการศึกษาโครงการฯ รูปแบบการลงทุนรัฐเวนคืนที่ดินแล้วให้เอกชนร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน งานระบบและจัดหาตัวรถ งานดำเนินการและบำรุงรักษา สำหรับเส้นทางที่เหมาะสมนำร่อง คือเส้นทางแนวเหนือ - ใต้ (บ้านสำราญ ต.สำราญ - ต.ท่าพระ อ.เมืองขอนแก่น) ระยะทาง 22.8 กม.

ล่าสุดบริษัท ขอนแก่นทรานซิทซิสเต็มจำกัด (เคเคทีเอส) ผู้บริหารโครงการฯ จะเข้าพบ รมว.มหาดไทย หรือ มท.1 เพื่อหารือการดำเนินโครงการ โดยเฉพาะการขอใช้พื้นที่ของศูนย์วิจัยข้าว 200 ไร่ มาพัฒนาเป็นศูนย์ซ่อมบำรุง และพื้นที่เชิงพาณิชย์หลังเข้าพบ รมว.เกษตรและสหกรณ์ขอใช้พื้นที่ของศูนย์วิจัยข้าว 200 ไร่ไปแล้ว วางแผนเริ่มก่อสร้างภายในปีนี้ หรืออย่างช้าปี 62 เปิดบริการปี 63

ส่วนรูปแบบการลงทุนจะจ้างเอกชนบริหารการเดินรถมีเคเคทีเอสเป็นผู้กำกับดูแล ออกนโยบายและบริหารภาพรวม สำหรับเคเคทีเอส ท้องถิ่นได้ผลักดันให้เกิดขึ้นมาจากการจดทะเบียนจัดตั้งจาก 5 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลตำบลสำราญ เทศบาลเมืองศิลา เทศบาลนครขอนแก่น เทศบาลตำบลเมืองเก่า และเทศบาลตำบลท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น

นอกจากนี้ คจร. ยังรับทราบผลการศึกษาโครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก ที่มีความเป็นไปได้ใน 3 รูปแบบ ได้แก่ รถโดยสารขนาดปกติ (Regular Bus) รถโดยสารขนาดเล็ก (Micro Bus) และรถรางล้อยาง (Auto Tram) อัตราค่าโดยสารสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้สูงอายุและผู้พิการ 10 บาท ประชาชนทั่วไป 20 บาท และนักท่องเที่ยว 30 บาท

มีแนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี 3 แห่ง ได้แก่ สถานีขนส่งผู้โดยสารพิษณุโลก แห่งที่ 1 ขนาด 6 ไร่ รองรับกิจกรรมเชิงพาณิชย์เป็นหลัก ศูนย์การค้าโลตัส ท่าทอง ขนาด 25 ไร่ รองรับกิจกรรมที่พักอาศัยเป็นหลัก และสถานีขนส่งผู้โดยสารพิษณุโลก แห่งที่ 2 ขนาด 50 ไร่ รองรับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ การบริการขนส่งสาธารณะและบริการด้านโลจิสติกส์

สนข. จะไปศึกษารายละเอียดแนวเส้นทางเพิ่มเติม แต่แน่นอนแล้วว่า...ชาวสองแควที่รอรถไฟฟ้าก็ต้องทำใจว่า... “รถไฟฟ้ายังไม่ไปหานะเธอ” ต้องใช้รถ 2 แถวและรถเมล์ไปก่อนในรูปแบบที่ทันสมัยขึ้น

นอกจากนี้ สนข. อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองอุดรธานี แต่ยังไม่ตกผลึกว่าจะเป็น ระบบรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) ระบบรถโดยสารสาธารณะ (มินิบัส) รถรางเบาล้อยาง หรือรถโดยสารด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) ผลการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในปีนี้...ชาวอุดรฯ ต้องลุ้นว่าจะได้นั่งรถไฟฟ้าหรือไม่?!?

ปิดท้ายกับภาคกลางที่ จ.ระยอง ทำเลทองของ โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ “อีอีซี” อภิมหาโปรเจกต์ของรัฐบาล นอกจากชาวระยองฮิ!! จะได้ร้องว้าวว...กับ รถไฟฟ้าเชื่อม3 สนามบิน ได้แก่ สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง และสนามบินอู่ตะเภาแล้ว

ล่าสุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) วิทยาเขตศรีราชา จ.ชลบุรี ยังวิจัยพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะตามแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (ทีโอดี) ในเขตเทศบาลนครระยอง ผลการศึกษามี 3 รูปแบบ ประกอบด้วย 1.รถรางไฟฟ้า (LRT) โครงข่ายสายสีแดง เส้นทางสถานีห้วยโป่ง-ไออาร์พีซี ระยะทาง 23 กม.มี 18 สถานี

ใช้แนวเกาะกลางถนนสุขุมวิทตลอดสาย เงินลงทุน 17,000 ล้านบาท ค่าโดยสารเริ่มต้น 15 บาท ต่อไปคิด 1.8 บาท/กม. หรือจากต้นทาง-ปลายทาง 15-56 บาท ใช้เวลา 3 ปี เริ่มก่อสร้าง 62-64 เปิดบริการปี 65

2.รถไฟฟ้าล้อยาง (Trolley Bus) โครงข่ายสายสีแดง เส้นทางสถานีห้วยโป่ง-ไออาร์พีซี 23 กม. วิ่งบนถนนสุขุมวิทตลอดแนวเส้นทาง ใช้เงินลงทุน 4,000 ล้านบาท และ 3.รถโดยสารประจำทางไฟฟ้า (ชัตเติ้ลบัส) แบบเส้นทางเฉพาะ (Exclusive Lane) โครงข่ายสายสีแดง เส้นทางสถานีห้วยโป่ง-ไออาร์พีซี 23 กม. ตามแนวถนนสุขุมวิท ใช้เงินลงทุน 3,000 ล้านบาท

ผลการศึกษาชี้ชัดว่า... “โครงข่ายสายสีแดง” เหมาะที่จะใช้ระบบรถรางไฟฟ้ามากที่สุด เนื่องจากคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ช่วยประหยัดเวลาเดินทาง จากปกติใช้รถยนต์ราว 1 ชม. ถึงจุดหมาย หากใช้รถไฟฟ้ารางเบาจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที ประหยัดได้ถึงครึ่ง คือ 30 นาที

นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายการเดินทางและช่วยลดอุบัติเหตุทางถนนด้วย แต่การลงทุนรถรางไฟฟ้าอาจขาดทุน รัฐบาลควรช่วยสนับสนุนโครงการให้เดินหน้าไปได้ ทั้งนี้จะสรุปรายงานฉบับสมบูรณ์ภายในเดือน มี.ค. นี้เพื่อนำผลการศึกษาเสนอสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผู้ให้ทุนวิจัยโครงการนำเสนอเทศบาลนครระยองและเสนอผู้บริหารจังหวัดช่วยกันผลักดันต่อไป

ฝันของคนต่างจังหวัดได้นั่ง “รถไฟฟ้า”...สะดวกรวดเร็วและปลอดภัยเหมือนคนกรุงเทพฯ คงไม่ไกลเกินเอื้อม...
…..........................................
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย “เทียนหยด”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
casanotoey
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 03/07/2006
Posts: 412

PostPosted: 27/02/2018 8:31 pm    Post subject: Reply with quote

เงินโครงการเป็นหมื่นล้านเป็นงบประมาณของกระทรวงคมนาคม หรือว่า งบท้องถิ่นครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/02/2018 8:40 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าต่างจังหวัดต้องให้เอกชนร่วมลงทุนครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 15, 16, 17  Next
Page 6 of 17

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©