Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311282
ทั่วไป:13263082
ทั้งหมด:13574364
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 92, 93, 94 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/02/2018 11:54 am    Post subject: Reply with quote

ลงทุนพลิกประเทศ ดันทางคู่-สนามบิน-อีอีซีขับเคลื่อนโค้งสุดท้าย
ฐานเศรษฐกิจ 13 February 2018

“กอบศักดิ์” ลั่นโค้งสุดท้าย 1 ปี รัฐบาลเร่งรัดลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่นับล้านล้านบาท ทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า พัฒนาสนามบินและลงทุนอีอีซี คู่ขนานไปกับการลงทุนย่อยระดับฐานรากในจังหวัด สร้างโอกาสการทำธุรกิจให้กับประชาชนพลิกฟื้นประเทศ

การลงทุนภาครัฐคือหัวใจในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะนโยบายช่วง 1 ปีสุดท้ายของรัฐบาล ไม่เพียงกระตุ้นเศรษฐกิจ ยังสร้างความเชื่อมั่นให้ภาคเอกชนรับไม้ลงทุน ร่วมพัฒนาเศรษฐกิจเติบโตยั่งยืน

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาหัวข้อ นโยบายการลงทุนภาครัฐกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ในงานสัมมนา “หุ้นไทยไป 2,000 จุด ?” จัดโดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ระบุว่ารัฐบาลเตรียมงานหลัก 5 ส่วน คือ การแก้กฎหมาย ลงทุนโครง สร้างพื้นฐาน การพัฒนาอุตสาห กรรมใหม่ ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก และสร้างคนไทยยุคใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 และทำให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยที่เอื้อกับการทำธุรกิจของทุกคน รวมทั้งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวระดับเดียวกับอาเซียน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ที่ขยายตัว 5-6%

รัฐบาลจะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ควบคู่การลงทุนขนาดเล็ก เพื่อพลิกฟื้นประเทศไทย โดยที่ผ่านมาการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานน้อยมาก นับตั้งแต่รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ผ่านมา 6 รัฐบาล มีการลงทุนโครงการเดียว คือ รถไฟฟ้าสายสีม่วง ในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ขณะที่ 3 ปี ที่ผ่านมา มีการลงทุนโครง สร้างพื้นฐานมากเมื่อเทียบ 10 ปีก่อน รัฐบาลนี้เริ่มต้นด้วยการประมูล 4G จากนั้นประมูลรถไฟทางคู่ 7 เส้นทาง 1,000 กิโลเมตร และปี 2561 จะสร้างอีก 1,500 กิโลเมตร มีเส้นทางใหม่ เช่น บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม, เด่นชัย-เชียงราย , วารินชำราบ-ช่องเม็ก

ส่วนรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-อู่ตะเภา จะมีเวที Market Sounding ในอีก 1-2 สัปดาห์ ข้างหน้า และจะเปิดประมูลได้ภายใน 1-2 เดือน ข้างหน้า ในขณะที่รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย ได้เริ่มก่อสร้างในช่วงนครราชสีมาแล้ว การลงทุนรถไฟฟ้าในปี 2561 จะประมูลทุกเส้นทางที่เหลืออยู่ 4-5 สาย ทำให้ไม่ต้องรอรัฐบาลใหม่ตัดสินใจว่าจะลงทุนหรือไม่ แต่เข้ามาเบิกจ่ายงบลงทุนเลย ถือเป็นการลงทุนต่อเนื่องจากปี 2560 ที่เปิดประมูลสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี)

สำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมทางอากาศ ได้เร่งรัดให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) พัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 ซึ่งวางแผนมาตั้งแต่ปี 2553 และตั้งงบไว้แล้ว 51,600 ล้านบาท ซึ่งกำลังก่อสร้างอาคารผู้โดยสารที่ 2 จะรองรับผู้โดยสารได้ 50% ของอาคารผู้โดยสารที่ 1 รวมทั้งมีแผนขยายสนามบินดอนเมือง สนามบินอู่ตะเภา และสนามบินต่างจังหวัด เช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ อุดรธานี

นอกจากนี้ การพัฒนามอเตอร์เวย์ตามแผนที่วางไว้จะมีเส้นทางนครปฐม-ชะอำ, บางใหญ่-กาญจนบุรี ส่วนที่เริ่มสร้างแล้วมีเส้นทางบางปะอิน-นครราชสีมา , พัทยา-มาบตาพุดและโครงสร้างพื้นฐานกลุ่มสุดท้าย คือ การพัฒนาท่าเรือจะมีโครงการท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 ที่จะดำเนินการให้เสร็จใน 2561 รวมทั้งมีการลงทุนท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 และท่าเรือสำราญ

++อีอีซีผลงานโบแดง
“พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีต้องการให้อีอีซีเป็นผลงานของรัฐบาลหลังจากรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ มีผลงานโชติช่วงชัชวาล หรืออีสเทิร์นซีบอร์ด พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ มีผลงานเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า”

สำหรับ ร่างพ.ร.บ.เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก จะปลดล็อกการลงทุนในอีอีซี เพื่อเป็นเครื่องมือในการแข่งขันดึงการลงทุนจากต่างประเทศ นอกจากนี้ การลงทุนเอกชนจะเห็นภาพชัดเจนขึ้นจากที่เคยนิ่งๆ

โดยเฉพาะในช่วง5 ปี ข้างหน้า จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของตึกสูงในกรุงเทพฯ จะมีโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่หลายโครงการ เช่น โครงการวันแบงค็อกที่สวนลุมไนท์บาซาร์เดิม โครงการมิกซ์ยูสของกลุ่มดุสิตธานีและกลุ่มเซ็นทรัลที่โรงแรมดุสิตธานีเดิมโครงการไอคอนสยามและหอชมเมือง

ส่วนการลงทุนย่อยระดับพื้นที่ นายกอบศักดิ์เปิดเผยว่า รัฐบาลจะใช้วิธีสำรวจความต้องการของแต่ละพื้นที่เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น และรัฐบาลยังมีการแก้ไขกฎหมายที่ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน เช่น กฎหมายสถาบันการเงินชุมชน เพื่อให้กลุ่มออมทรัพย์ต่างๆ เป็นนิติ บุคคล โดยที่ผ่านมาพบความ สำเร็จของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ของพระอาจารย์สุบิน ปณีโต ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม จ.ตราด ที่มีเงินออม 2,700 ล้านบาท โดยถ้าทุกชุมชนทำได้จะมีการออม ปลดหนี้ และเป็นแหล่งทุนที่ไม่พึ่งธนาคาร และรัฐบาลเชื่อว่าถ้าทำได้จะช่วยพลิกฟื้นประเทศไทยได้

รายงานข่าวระบุว่ากระทรวงคมนาคม จะเสนอ ครม.รับทราบแผนปฏิบัติการลงทุนด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วนปี 2561 ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์นี้เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้ามอเตอร์เวย์และสนามบินวงเงินกว่า 2 แสนล้านบาท

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า รถไฟทางคู่มีความพร้อมลงทุนปีนี้ 2 เส้นทาง คือชุมพร-สุราษฎร์ฯ 167 กม.งบฯ 24,294 ล้านบาท และสายสุราษฎรฯ-หาดใหญ่-สงขลา 339 กม. งบฯ 57,375 ล้านบาท

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,339 วันที่ 11 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/02/2018 9:26 am    Post subject: Reply with quote

‘บิ๊กตู่’สั่งศึกษาทางรถไฟเชื่อมดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา
ไทยโพสต์ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เวลา 08:45 น.

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา ที่มีมติเห็นชอบให้รฟท. กลับไปศึกษความเหมาะสมในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง กทม.-ระยอง หรือรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ท่าอากาศยานดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะที่ 2 โดยให้ต่อเชื่อมไปยังจันทบุรีและตราด โดยอนุมัติงบกลางจำนวน 200 ล้านบาท ให้รฟท.นำไปศึกษา เบื้องต้นคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปีครึ่ง

“ในการประชุมสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) เสนอให้ รฟท. ศึกษาการต่อขยายไฮสปีดเทรนจากระยองไปที่จันทบุรี และตราดด้วย ซึ่งจะศึกษาคู่ขนานไปกับรถไฟทางคู่ที่จะต่อขยายด้วย ซึ่งที่ประชุมกนศ. ก็เห็นด้วย จึงมีมติให้รถไฟฯ ไปศึกษาต่อขยายไฮสปีดออกไปอีก โดยให้งบกลางมา 200 ล้านบาท”นายอานนท์ กล่าว.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/02/2018 3:23 pm    Post subject: Reply with quote

เปิด TOR รถไฟไฮสปีดอีอีซี พ่วงที่ดินมักกะสัน-แอร์พอร์ตลิงก์
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 - 08:25 น.

Click on the image for full size

รัฐเร่งแจ้งเกิดไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ดึงนักลงทุนทั่วโลกปักหมุดอีอีซี 2 แสนล้าน เปิดกว้างทุกออปชั่น แถมเงินอุดหนุน แลกสัมปทาน 50 ปี เหมาเดินรถไฟความเร็วสูง แอร์พอร์ตลิงก์ พ่วงพัฒนาที่ดินสถานีมักกะสัน 140 ไร่ ศรีราชา 30 ไร่ ยักษ์รับเหมา บิ๊กรถไฟฟ้า ค้าปลีก อสังหาฯ ชิงดำ

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เดือน มี.ค. 2561 จะเปิดประมูลนานาชาติให้เอกชนไทยและต่างชาติลงทุน PPP Net Cost (สัมปทาน) 50 ปี ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-มักกะสัน-อู่ตะเภา) ระยะทาง 226 กม. มูลค่า 2 แสนล้านบาท เป็นงานโยธาและระบบ 1.6 แสนล้านบาท เงินลงทุนพื้นที่มักกะสันและศรีราชาอีก 45,155 ล้านบาท

รวมไฮสปีด-แอร์พอร์ตลิงก์

โดยรัฐจะลงทุนค่าเวนคืน 3,787 ล้านบาท และสนับสนุนเงินลงทุนที่ไม่เกินค่างานโยธา 1.2 แสนล้านบาท ส่วนเอกชนเป็นผู้ลงทุนงานโยธา ติดตั้งระบบ เดินรถ และซ่อมบำรุงตลอดอายุสัญญา พร้อมสิทธิพัฒาพื้นที่รอบ 9 สถานี คือ ดอนเมือง บางซื่อ มักกะสัน สุวรรณภูมิ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และอู่ตะเภา

รวมที่ดินมักกะสัน 140 ไร่ ศรีราชา 30 ไร่ เนื่องจากรัฐบาลกำหนดให้สถานีมักกะสันเป็นเกตเวย์เชื่อมพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ทั้งยังได้สิทธิการเดินรถและพัฒนาพื้นที่ 8 สถานี ที่จอดรถแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (พญาไท-สุวรรณภูมิ) รวมในสัมปทานเดียวกันด้วย เพื่อรองรับผู้ใช้บริการ city line (รับส่งระหว่างสถานี)

ส่วนทรัพย์สินของแอร์พอร์ตลิงก์ยังเป็นของ ร.ฟ.ท. แต่พนักงาน 400-500 คนของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูก ร.ฟ.ท.จะต้องเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงด้วย (บางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) ที่จะเปิดใช้ปี 2563

“เอกชนรายใหม่ที่รับสัมปทานรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน จะได้สิทธิบริหารและเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ เพราะเป็นแนวเส้นทางเดียวกัน สามารถบริหารปรับปรุงระบบเก่าใหม่ได้ รวมถึงซื้อรถใหม่ 7 ขบวน ตอนนี้ให้ชะลอไปก่อน เพื่อไปรวมกับโครงการนี้ เอกชนจะคล่องตัวกว่ารถไฟ”

เร่งหาเอกชนก่อนสิ้นปี

นายอานนท์กล่าวว่า ตามแผนจะได้ผู้ชนะประมูลในเดือน ส.ค.-ก.ย. และเซ็นสัญญาได้ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งรถไฟความเร็วสูงจะใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี ระหว่างนี้จะให้เอกชนเร่งปรับระบบบริการและซื้อรถใหม่ เนื่องจากปัจจุบันมีผู้โดยสารแอร์พอร์ตลิงก์เพิ่มจาก 72,000 เป็น 83,000-84,000 เที่ยวคนต่อวันแล้ว แต่มีรถวิ่งอยู่ 9 ขบวน

“โครงการนี้ใช้เงินเยอะ ทีโออาร์จึงต้องดึงดูดเอกชนมาร่วมลงทุน โดยหนุนเงินโยธาบางส่วน และปรับตำแหน่งสถานีได้ ทั้งให้สิทธิเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ พร้อมให้ที่ดินพัฒนา ส่วนเอกชนจะมีรายได้จากค่าโดยสารและพัฒนาเชิงพาณิชย์ตามแนวรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน และแอร์พอร์ตลิงก์ ตลอด 50 ปี”

ขณะที่ ร.ฟ.ท.จะได้ส่วนแบ่งจากค่าโดยสารเมื่อปริมาณผู้โดยสารมาถึงจุดหนึ่ง ซึ่งกำลังดูรายละเอียดอยู่ ส่วนรายได้พัฒนาที่ดินมักกะสันและศรีราชา เอกชนต้องให้ผลตอบแทน ร.ฟ.ท.60% ของราคาประเมินที่ดิน โดยจ่ายเป็นรายปี เฉลี่ยปีละกว่า 1,000 ล้านบาท รวม 50 ปี คือ 5 หมื่นล้านบาท

รอเคาะต่างชาติถือเกิน 50%

นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.กำลังดูความชัดเจนใน พ.ร.บ.อีอีซี จะให้ต่างชาติถือหุ้นเกิน 50% หรือไม่ เนื่องจากต้องการให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนให้มากที่สุด เพราะประเทศไทยยังไม่เคยมีประสบการณ์เรื่องรถไฟความเร็วสูง จึงให้ยื่นร่วมประมูลกับบริษัทไทย

“การประมูลล่าช้าเล็กน้อย แต่ปีนี้ต้องได้เอกชนลงทุน เพื่อเปิดบริการให้ได้ตามแผนในปี 2566 คาดมีผู้โดยสาร 169,550 เที่ยวคนต่อวัน แยกเป็นผู้ใช้บริการรถไฟธรรมดา 103,920 เที่ยวคนต่อวัน รถไฟความเร็วสูง 65,630 เที่ยวคนต่อวัน ส่วนค่าโดยสารจากสนามบินดอนเมือง-สนามบินอู่ตะเภาอยู่ที่ 500 บาท/เที่ยว จากสนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภาอยู่ที่ 300 บาท/เที่ยว”

ทั้งนี้รถไฟความเร็วสูงที่ไร้รอยต่อจะใช้โครงสร้างและแนวการเดินรถเดิมของแอร์พอร์ตลิงก์ในปัจจุบัน จะสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร มีส่วนต่อขยาย 2 ช่วง จากสถานีพญาไท-สนามบินดอนเมือง และสถานีลาดกระบัง-สนามบินอู่ตะเภา และ จ.ระยอง โดยใช้เขตทางรถไฟรวมระยะทาง 260 กม. โดยมีผู้เดินรถรายเดียวกัน ซึ่งระบบรถที่วิ่งในพื้นที่ชั้นในมีความเร็ว 160 กม./ชม. และ 250 กม./ชม.ในเขตนอกเมือง

จับตาบิ๊กธุรกิจปาดเค้ก

รายงานข่าวแจ้งว่า จากโครงการนี้คาดว่าจะได้รับความสนใจจากบริษัทใหญ่ในประเทศไทยและต่างประเทศจำนวนมาก อาทิ จีน บริษัท JR Kyushu ผู้ดำเนินธุรกิจรถไฟอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.), บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC), บมจ.ระบบทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM), เซ็นทรัล, เดอะมอลล์, ทีซีซีแลนด์, สิงห์ เอสเตท, สยามพิวรรธน์

แหล่งข่าวจาก บจ.เจริญโภคภัณฑ์ วิศวกรรม ธุรกิจในเครือ ซี.พี. กล่าวว่า สนใจลงทุน ขณะนี้กำลังศึกษาข้อมูลและรอดูความชัดเจนของทีโออาร์ภาครัฐ โดยร่วมพันธมิตรกับจีน

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. BTSC ก็ให้ความสนใจร่วมลงทุนเช่นกัน ในนามกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR (บีทีเอส-ซิโน-ไทยฯ-ราชบุรีโฮลดิ้งส์) “ผมขอดูเงื่อนไขและรายละเอียดในทีโออาร์ก่อน เนื่องจากเป็นโครงการใหญ่ใช้เงินลงทุนสูง”

และก่อนหน้านี้นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เคยให้สัมภาษณ์ว่า จะเข้าร่วมประมูลเช่นกัน โดยร่วมลงทุนกับประเทศจีน

เปิดช่องต่างด้าวลุยรถไฟฟ้า

นายวรพล โสคติยานุรักษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. …. เปิดเผยว่า กฎหมายอีอีซีเป็นกฎหมายอำนวยความสะดวกไม่ว่านักลงทุนไทยหรือต่างด้าว โดยส่งเสริมประกอบธุรกิจและลงทุนในพื้นที่อุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งให้สิทธิพิเศษทางภาษีกับผู้ลงทุน

นอกจากนี้ ยังจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคที่ต่อเนื่อง รวมถึงพื้นที่นอกเขตเศรษฐกิจพิเศษ เช่น สถานีรถไฟฟ้ามักกะสันที่มีโครงข่ายเชื่อมอีอีซี บริษัทเอกชนที่มาลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้วย

“ส่วนการลงทุนเรื่องรถไฟความเร็วสูง บริษัทของไทยจะต้องจดทะเบียนในเมืองไทย หรือแม้เป็นบริษัทต่างด้าวก็ได้รับสิทธิพิเศษเต็มที่ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน กำหนดออกมาภายหลังกฎหมายอีอีซีประกาศใช้” นายวรพลกล่าว

ประเคนสิทธิผู้ร่วมลงทุน

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาระเบียงเศรฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (คนพ.) ล่าสุด ได้มีข้อเสนอหลักการของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน “เห็นชอบ” รูปแบบการร่วมลงทุนแบบ PPP Net Cost ระยะเวลาโครงการ 50 ปี (รวมระยะเวลาก่อสร้าง) โดยจะเป็นการร่วมลงทุนแบบสัมปทาน 50 ปี ตาม พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จ่ายค่าเช่าให้ ร.ฟ.ท. 61% ของมูลค่าที่ดิน เริ่มโครงการในเดือนกันยายน 2561 เสร็จสิ้นโครงการเดือนสิงหาคม 2611

อย่างไรก็ตาม โครงการนี้มีส่วนที่ดำเนินการไปแล้ว ได้แก่ ส่วน Airport Rail Link ช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ กับส่วนที่จะต้องก่อสร้างเพิ่มเติม ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงจากสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา กับพญาไท-ดอนเมือง ทำให้โครงการมีลักษณะระยะเวลาดำเนินการที่ทับซ้อน จึงมีการกำหนดตารางเวลาการดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง-การปรับปรุงสถานี และ Rial Run ระยะเวลา 5 ปี 2 เดือน (กันยายน 2561-ตุลาคม 2566) และยังมีการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ที่จะต้องดำเนินการโดยผู้ลงทุนที่มักกะสัน กับบริเวณสถานีศรีราชา ระยะเวลา 5 ปี 2 เดือน (กันยายน 2561-ตุลาคม 2566) อีกด้วย

สำหรับสิทธิของผู้ลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สถานี จะประกอบไปด้วย 1) สิทธิในการใช้สถานีกลางบางซื่อ ผู้ร่วมทุนจะสามารถใช้พื้นที่สถานีกลางในการจอดรับผู้โดยสารและดำเนินการเชิงพาณิชย์ อาทิ การขายตั๋วรถไฟ, การให้บริการเสริมบนขบวนรถ และพื้นที่บนสถานีที่ ร.ฟ.ท.กำหนดส่งมอบให้ 2) สิทธิในการใช้สนามบินสุวรรณภูมิ สามารถใช้พื้นที่ในการจอดรับ-ส่งผู้โดยสารตามเงื่อนไขที่จะต้องระบุไว้ในสัญญาระหว่างผู้ร่วมทุน กับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

3) สิทธิในการใช้สนามบินอู่ตะเภา จะใช้จอดรับ-ส่งผู้โดยสาร แต่ให้เป็นไปตามสัญญาระหว่างผู้ร่วมทุน กับกองทัพเรือไทย 4) สิทธิในการใช้โครงสร้างพื้นฐานเดิมและสิทธิการให้บริการเดินรถไฟภายในเมือง City Line ของโครงการ Air-port Rail Link โดยผู้ร่วมลงทุนไม่มีค่าใช้จ่าย โดยสิทธิดำเนินการให้บริการเดินรถไฟ Airport Rail Link 5) สิทธิในการใช้โครงสร้างพื้นฐานส่วนก่อสร้างเพิ่มเติมจากสถานีพญาไท-ดอนเมือง และสถานีสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา และมีสิทธิดำเนินการให้บริการเดินรถไฟบนโครงสร้างนี้

6) สิทธิในการใช้ที่ดินมักกะสันเชิงพาณิชย์ ผู้ร่วมทุนจะสามารถใช้พื้นที่บนที่ดินมักกะสันเพื่อดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ รวมทั้งสิทธิในการเข้า-ออกพื้นที่ตามสัญญาเช่าพื้นที่ระหว่างผู้ร่วมทุน กับ ร.ฟ.ท.ที่จะต้องดำเนินการต่อไป 7) สิทธิการใช้ที่ดินรอบสถานีรถไฟศรีราชาเชิงพาณิชย์ รวมทั้งสิทธิในการเข้า-ออกพื้นที่ 8) สิทธิในการใช้คลื่นความถี่ GSM-R สำหรับระบบอาณัติสัญญาณ ETC Level 2 โดย ร.ฟ.ท.จะเป็นผู้จัดเตรียมสัญญาณและแบบสิทธิให้ผู้ร่วมทุน หากมีค่าใช้จ่ายตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรียกเก็บให้ผู้ร่วมลงทุนเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้น

และ 9) สิทธิการพัฒนาเชิงพาณิชย์บนสถานีรถไฟ ผู้ร่วมทุนจะสามารถใช้พื้นที่บนสถานีรถไฟเพื่อดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ สถานีรถไฟที่ใช้ร่วมกับโครงการอื่น ๆ ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ-สถานีดอนเมือง-สถานีสุวรรณภูมิ และสถานีอู่ตะเภา การใช้สิทธิพัฒนาเชิงพาณิชย์บนสถานีจะต้องอยู่ในขอบเขตที่ ร.ฟ.ท.กำหนด กับสถานีที่ใช้เฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน ผู้ร่วมทุนจะได้รับสิทธิการพัฒนาเชิงพาณิชย์บนสถานีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

เงินสนับสนุนจากรัฐ

สำหรับการสนับสนุนทางด้านการเงินในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะประกอบไปด้วย 1) ค่าใช้จ่ายของรัฐบาลสู่ ร.ฟ.ท. ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการเวนคืนที่ดิน เป็นจำนวน 3,639 ล้านบาท กับการโอนหนี้สินของ ร.ฟ.ท. คิดเป็นจำนวนเงิน 33,229 ล้านบาท กับ 2) เงินสนับสนุนภาคเอกชน (ผู้ร่วมลงทุน) ได้แก่ เงินสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานในช่วงก่อสร้างในระยะเวลาก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน 113,303 ล้านบาท, เงินสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานเผื่อโครงการอื่น 7,210 ล้านบาท และเงินสนับสนุนรายปีเป็นระยะเวลา 10 ปี ในช่วงดำเนินงานอีก 21,184 ล้านบาท

โดยเงินสนับสนุนเหล่านี้จะต้องไม่เกินมูลค่าโครงสร้างพื้นฐาน 120,514 ล้านบาท ตามเพดานสูงสุดที่รัฐบาลกำหนดไว้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/02/2018 8:11 pm    Post subject: Reply with quote

“ช.การช่าง” ผนึกกำลัง 3 บริษัทลูกประมูลโปรเจ็กต์รัฐครบวงจร
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 - 17:37 น.

นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK เปิดเผยว่า “ผลประกอบการ ณ สิ้นปี 2560 คาดว่ารายได้ก่อสร้างของบริษัทจะเป็นไปตามเป้าที่ได้ตั้งไว้ คือ 35,000 ล้านบาท และมีกำไรขั้นต้นอยู่ในระดับประมาณ 8% บริษัทมีความพร้อมจะลงทุนโครงการขนาดใหญ่ได้อย่างต่อเนื่อง ณ ปัจจุบันสัดส่วนหนี้สินต่อทุนสุทธิ (Net D/E) อยู่ในระดับ 1.35 เท่า

นายปลิวยืนยันว่า ในปี 2561 CK พร้อมที่จะเข้าประมูลงานก่อสร้างตามนโยบายภาครัฐในทุกโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าปีนี้ภาครัฐจะเปิดโครงการประมูลกว่า 4 แสนล้านบาท โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ มูลค่า 1.30 แสนล้านบาท โครงการทางด่วนพระราม 3 – ดาวคะนอง มูลค่า 3.10 หมื่นล้านบาท โครงการรถไฟทางคู่ เฟส 2 จำนวน 9 เส้นทาง มูลค่ารวมประมาณ 4.00 แสนล้านบาท นอกจากนี้ยังมีโครงการมอเตอร์เวย์ บางปะอิน – นครราชสีมา ค่าตอบแทนเอกชนมูลค่า 3.30 หมื่นล้านบาทและบางใหญ่-กาญจนบุรี ค่าตอบแทนเอกชนมูลค่า 2.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งรัฐบาลจะผลักดันโครงการออกมาในลักษณะให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) ซึ่งทาง CK และ BEM ก็ได้เตรียมความพร้อมไว้แล้ว ด้านโครงการในต่างประเทศคาดว่าจะมีโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ ใน สปป.ลาว ซึ่งทาง CKP คาดว่าจะมีความคืบหน้าออกมาในกลางปี 2561 และการงานก่อสร้างระบบประปาในเมียนมา ซึ่งทาง TTW ได้เจรจากับรัฐบาลเมียนมาเรียบร้อยแล้วด้วย

“จากผลการประมูลในอดีตบริษัทมี Winning rate ประมาณ 50% สำหรับงานรถไฟฟ้าช่วงใต้ดิน 20-25% สำหรับงานรถไฟฟ้าโครงสร้างยกระดับและทางด่วน ซึ่งงานเหล่านี้บริษัทมีความเชี่ยวชาญ สามารถบริหารจัดการด้านการก่อสร้าง การเงิน และดูแลผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี นอกเหนือจากโครงการที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC ที่รัฐบาลจะผลักดันออกมาในเร็วๆ นี้ ทั้งรูปแบบที่ให้เอกชนเข้าประมูล และรูปแบบความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนหรือ PPP CK และบริษัทในกลุ่มทั้งหมดได้เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าร่วมประมูลอย่างแน่นอน โดยขณะนี้โครงการก่อสร้างในประเทศยังเป็นเป้าหมายหลักของ CK และเรายังได้เตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยี วิศวกรรมและการก่อสร้าง การพัฒนาบุคลากร การเงิน และการเตรียมความพร้อมระหว่างพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อรองรับโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต” นายปลิวกล่าว

นายปลิวยังกล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีที่รัฐบาลประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เนื่องจากทางบริษัทเจรจากับผู้รับเหมาช่วงเรียบร้อยแล้ว ขณะที่งานใหม่ที่จะเข้าร่วมประมูลก็ได้คำนวณราคาต้นทุนใหม่ก่อนเสนอทุกโครงการ

“ทาง CK มีทีมคอยติดตามและเฝ้าระวังเรื่องราคาวัสดุอย่างใกล้ชิด มีการบริหารจัดการวัสดุทั้งในเรื่องราคาและสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผลกระทบจากราคาวัสดุ ณ ตอนนี้ยังสามารถควบคุมและบริหารจัดการได้ ในด้านแรงงาน ตอนนี้ยังไม่มีผลกระทบอะไร เราถือว่าคนของเราเป็นแรงงานที่มีฝีมือ เราดูแลคนงานของเราอย่างเต็มที่มาตลอด”

สำหรับการร่วมงานกับบริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี นั้นมีความคืบหน้าเรียบร้อยเป็นอย่างดี ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการทำโครงสร้างฐานราก อาทิ การปรับพื้นดินและตอกเสาเข็ม การส่งมอบพื้นก็ได้เกือบครบ 100% แล้ว ไม่มีปัญหาใด ๆ ที่สร้างผลกระทบให้เกิดความล่าช้า
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/02/2018 7:47 am    Post subject: Reply with quote

ชวนเกาหลีลุย ‘เมกะโปรเจค-ดิวตี้ฟรี’
กรุงเทพธุรกิจ 17 ก.พ. 61 นโยบายเศรษฐกิจ

สมคิด ชวนเกาหลีใต้ลงทุนไทย ร่วมประมูลเมกะโปรเจค-ดิวตี้ฟรี เล็งดึงลงทุนรถไฟสายตะวันออก-ตะวันตก เชื่อมฐานผลิตไทย-เวียดนาม

เตรียมเข้าร่วมประชุมความร่วมมือเศรษฐกิจไทย-เกาหลี ครั้งที่ 2 กลางปีนี้ ด้านเกาหลีพร้อมนำเข้าไก่แช่แข็ง-ผลไม้จากไทยมากขึ้น

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ เปิดเผยภายหลังการหารือระหว่างนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และนายโนควัง-อิล (H.E.Mr.NohKwanf-Li) เอกอัครราชทูตสาธารณะรัฐเกาหลีประจำประเทศไทยวานนี้ (16 ก.พ.) ว่า ทั้งสองฝ่ายหารือกันในด้านเศรษฐกิจโดยเกาหลีใต้ระบุว่า นักธุรกิจเกาหลีใต้สนใจที่จะเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้นหลังจากเห็นการลงทุนจากญี่ปุ่นและจีนที่เพิ่มขึ้นในไทยอย่างมาก ตามนโยบาย New southern Policy ซึ่งเกาหลีก็ให้ความสำคัญกับไทยและอาเซียนอย่างมากเช่นกัน

ทั้งนี้เกาหลีใต้ กำหนดจัดประชุมคณะกรรมการเกาหลีใต้ -ไทยว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (KOTCOM) ครั้งที่ 2 ณ เกาหลีใต้ในกลางปีนี้ โดยนายสมคิดตกลงที่จะร่วมเดินทางไปร่วมเป็นประธานในการประชุมเพื่อหารือถึงความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจระหว่างกันต่อไป นอกจากนี้ไทยได้ชวนเกาหลีใต้ให้เข้ามาร่วมลงทุนในไทยทั้งในโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และการประมูลก่อสร้างในโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่

โดยรองนายกรัฐมนตรี ขอให้เกาหลีใต้ให้ความสนใจเป็นพิเศษในการลงทุนโครงการรถไฟเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West economic corridor) ซึ่งเส้นทางในไทยเชื่อมโยงจากจ.มุกดาหาร มายังจ.ตาก ที่อ.แม่สอด ซึ่งเส้นทางนี้สามารถเชื่อมโยงไปยังเมืองดานังประเทศเวียดนามซึ่งเกาหลีใต้ได้ในมีการไปลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆจำนวนมาก รวมทั้งได้เชิญชวนให้เกาหลีใต้มาร่วมประมูลดิวตี้ฟรีในสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งจะหมดอายุสัมปทานในปี พ.ศ. 2563 โดย บ.ลอตเต้ของเกาหลีใต้แสดงความสนใจที่จะมาร่วมลงทุนในเรื่องนี้

ทูตฯเกาหลีใต้ระบุว่า อนาคตน่าจะมีผู้บริหารระดับสูงของประเทศถ้าไม่ใช่นายกฯ หรือประธานาธิบดีมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ และเขาสนใจลงทุนในไทยมากขึ้นซึ่งจะมีนักธุรกิจจำนวนมากเข้ามาดูโอกาสในการลงทุนในไทยโดยเฉพาะอีอีซี เพราะจีนกับญี่ปุ่น ที่ทั้งสองประเทศได้มีการลงทุนด้านเศรษฐกิจกับไทยมากแล้วก็อยากจะเพิ่มการลงทุนในไทยมากขึ้นนายณัฐพรกล่าว

นอกจากนี้เกาหลีใต้ระบุว่า เขาสนใจนำเข้าไก่แช่แข็งจากไทยมากขึ้น เช่นเดียวกับสนใจนำเข้ามะม่วงสายพันธุ์ต่างๆและผลไม้จากไทยมากขึ้น โดยขณะนี้มะม่วงสายพันธุ์มหาชนกได้รับความนิยมและมีสัดส่วนการตลาดสูงถึง 60 % ส่วนไทยต้องการที่จะมีความร่วมมือกับเกาหลีในหลาย ๆด้านได้แก่เรื่องของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เรื่องเศรษฐกิจดิจิทัล ที่เกาหลีใต้มีขีดความสามารถและมีความโดดเด่นในด้านนี้

ปัจจุบันไทยและเกาหลีใต้มีมูลค่าทางการค้ารวม 1.27 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยไทยส่งออกไปเกาหลีใต้ 4.66 พันล้านดอลลาร์และนำเข้าสินค้าจากเกาหลี 8.05 พันล้านดอลลาร์ โดยเกาหลีใต้เป็นคู่ค้าอันดับที่ 10 ของไทย และเป็นคู่ค้าอันดับที่ 15 ของเกาหลีใต้ ในปี 2560 เกาหลีใต้ได้มีการขอสนับสนุนการลงทุนในไทยจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จำนวน 17 โครงการ มูลค่าการลงทุน 2,983 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/02/2018 7:55 am    Post subject: Reply with quote

หุ้นรับเหมาร่วงหวั่นกำไรวูบ
กรุงเทพธุรกิจ 17 ก.พ. 61 บริษัทจดทะเบียน

หุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างกอดคอร่วง หวั่นผลประกอบการลดลงจากปีนี้ ซิโน-ไทยฯ แจ้งขาดทุน 611 ล้านบาท เป็นครั้งแรกรอบ 11 ปี ระบุเกิดจากการบันทึกสำรองผลขาดทุนโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ด้านโบรกยังแนะลงทุนหลังพบแบ็คล็อกในมือสูงถึง 1.12 แสนล้าน

Click on the image for full size

ความเคลื่อนไหวราคาหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างวานนี้ (15 ก.พ.) ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง โดยหุ้นช.การช่าง (CK) ปิดการซื้อขายที่ 24.30 บาท ลดลง 2.80% หุ้นซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น (STEC) ปิดการซื้อขายที่ 21.70 บาท ลดลง 7.26% หุ้นยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ) ปิดการซื้อขายที่ 14 บาท ลดลง 3.45% หุ้นอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ปิดการซื้อขายที่ 3.52 บาท ลดลง 3.30% และหุ้นทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น (TRC) ปิดการซื้อขายที่ 1.02 บาท

ทั้งนี้ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น (STEC) แจ้งผลประกอบการปี 2560 ระบุว่า มีผลขาดทุนสุทธิ 611 ล้านบาท ลดลง 144% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 1,381 ล้านบาท มาจากต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นจากการบันทึกสำรองผลขาดทุนของโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เนื่องจากราคาวัสดุก่อสร้างและค่าแรงเพิ่มขึ้น

จากการสำรวจพบว่า งบการเงินปี 2560 ที่ขาดทุนสุทธิถึง 611 ล้านบาท เป็นการขาดทุนในรอบ 11 ปี จากที่ขาดทุนล่าสุดในปี 2549 ถึง 1,779.68 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน บริษัทรายงานว่า ปี 2560 มีรายได้รวม 21,159 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% จากช่วงเดียวกันปีก่อน หลังจากบริษัทชนะการประมูลงานก่อสร้างใหม่ได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทมีค่าใช้จ่ายรวม 21,965 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% เป็นผลจากการบันทึกสำรองผลขาดทุนโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่

บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง เผยในปี 2561 ซิโน-ไทยจะได้รับผลดีจากโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าของ GULF 2 แห่ง มูลค่าราว 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งงานก่อสร้างโรงไฟฟ้าเป็นงานที่ถนัดและมีกำไรดี และช่วยเพิ่มงานในมือเป็น 1.2 แสนล้านบาท และในปีนี้จะมีการประมูลงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลมากขึ้น ซึ่งซิโน-ไทย มีศักยภาพที่จะได้งานใหม่ต่อเนื่อง และจะหนุนผลประกอบการในปี 2561

นักวิเคราะห์ บล.เอเชียเวลท์ กล่าวว่า ผลการดำเนินงานปี 2560 ของซิโน -ไทย ผิดไปจากที่คาดอย่างมาก จากเดิมที่คาดจะมีกำไรสุทธิลดลงมาอยู่ที่ 989 ล้านบาท ซึ่งสาเหตุมาจากโครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ที่มีความล่าช้า ประกอบกับค่าแรงที่สูงขึ้นทำให้บริษัทมีผลขาดทุน ลักษณะเดียวกับที่เกิดขึ้นในโครงการ Airport Rail Link และมองว่าบริษัทจะบันทึกขาดทุนเข้ามาในครั้งนี้เพียงครั้งเดียว

ขณะเดียวกัน คาดว่ารายได้จะยกฐานขึ้นจากระดับรายได้ 17,000 ล้านบาท ขึ้นไปสู่ฐานใหม่ที่ 30,000 ล้านบาทขึ้นไปต่อปี และกำไรประมาณ 1,500 ล้านบาทต่อปี จากแบ็คล็อกที่เข้ามาจำนวนมากถึง 65,000 ล้านบาทในปี 2560 ได้แก่โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม 16,862 ล้านบาทที่เริ่มมีกำไรแล้ว รถไฟฟ้าสายสีเหลือง 19,159 ล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีชมพู 21,495 ล้านบาท

และเดือน ก.พ.2561 ซิโน-ไทย ได้รับงานการสร้างโรงไฟฟ้าของ GULF รวมเป็น 5,000 เมกะวัตต์ คิดเป็นมูลค่างาน 20,000 ล้านบาท เมื่อรวมกับแบ็คล็อกที่คงเหลืออยู่เดิมราว 28,000 ล้านบาท ทำให้แบ็คล็อกล่าสุดพุ่งสูงถึง 112,700 ล้านบาท ซึ่งงานก่อสร้างจากแบ็คล็อกใหม่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2561 เป็นต้นไป

อย่างไรก็ตาม จากการขาดทุนทำให้บริษัทอาจไม่มีการจ่ายปันผล จากเดิมที่มีปันผลราวปีละ 0.22 บาทต่อหุ้น อาจจะทำให้นักลงทุนตัดสินใจขายหุ้นออกมาได้

ฝ่ายวิจัย บล.หยวนต้า(ประเทศไทย) แนะนำลงทุนกลุ่มรับเหมาก่อสร้างมากกว่าตลาด จาก 4 เหตุผล คือ แม้ว่ากำไรไตรมาส 4 ปี 2560 คาดว่าทำได้เพียงทรงตัว แต่ในปี 2561 เชื่อว่าจะเห็นความคืบหน้าของงานใหม่ ซึ่งจะช่วยหนุนรายได้และงานในมือให้อยู่ในระดับสูงได้ต่อเนื่อง การคาดการณ์งานประมูลภาครัฐจะเริ่มอีกครั้งในไตรมาส 2 ปี 2561 จะเข้มข้นขึ้นในครึ่งหลังปี 2561

ขณะที่การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 5-22 บาทต่อวัน เริ่มต้นเดือนเม.ย.นี้ กระทบต่อต้นทุนบางส่วน แม้ว่าจะมาตรการลดหย่อนภาษีเข้ามาช่วยก็ตาม อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นปรับตัวลงตอบรับประเด็นลบไปพอควร เป็นโอกาสทยอยสะสม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 22/02/2018 3:53 pm    Post subject: Reply with quote

เจาะรายละเอียดงบ‘1ล้านล้าน’ ดัน‘อีอีซี’ประตูเศรษฐกิจอาเซียน
รายงานพิเศษ
วันที่ 21 มกราคม 2561 - 07:00 น.

การที่ไทยตั้งอยู่ตรงจุดศูนย์กลางกลุ่มประเทศในเอเชีย ทำให้ไทยกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ด้านการลงทุน ผลิต การค้า การส่งออกและการขนส่ง ของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC เอื้อให้ไทยสามารถผลักดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ ให้กระจายไปยังทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียนได้ง่าย เริ่มตั้งแต่จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม กัมพูชา ลาว เมียนมา

ดังนั้น รัฐบาลจึงหันมาเร่งรัดจัดทำโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ พิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่เพื่อต่อยอดความสำเร็จจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีสเทิร์นซีบอร์ด เมื่อ 30 ปีที่แล้ว เพื่อ เร่งขยายการส่งเสริมการลงทุน และยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

ผลักดันการเชื่อมโยงประตูเศรษฐกิจ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือมาบตาพุด ท่าอากาศยาน อู่ตะเภา กับโครงข่ายคมนาคมยกระดับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนถาวร

ระยะแรกมุ่งเน้นพื้นที่เป้าหมาย 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ให้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบและ มีประสิทธิภาพ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นั่งเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกด้วยตัวเอง ตั้งเป้าหมายยกระดับการลงทุนทุกด้านไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ใน 5 ปีแรก เพื่อให้เกิดฐานเทคโนโลยีใหม่ของประเทศ และเกิดการพัฒนาคน ทำให้รายได้ประชาชาติขยายตัวไม่ต่ำกว่า 5% ต่อปี

คณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียบเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กรศ.) จึงมอบให้อนุกรรม กรศ. โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม รับผิดชอบจัดทำแผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม โดยเมื่อวันที่ 24 ก.ย.2560 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ได้เห็นชอบแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก จำนวน 168 โครงการ วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 998,948.10 ล้านบาท

โดยจัดทำเป็นแผนปฏิบัติลงทุนรวม 3 ระยะ ประกอบด้วย

ระยะที่ 1 แผนปฏิบัติการระยะเร่งด่วน ระหว่างปี 2560-2561 ซึ่งเป็นแผนงานที่ต้องดำเนินการทันทีเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจภายในอีอีซี จำนวนรวม 8 แผนงานย่อย วงเงินรวม 217,412.63 ล้านบาท

ประกอบด้วยโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (Maintenance, Repair and Overhaul : MRO) ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา, รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามท่าอากาศยาน, สถานีรถไฟอู่ตะเภา, ท่าเรือแหลมฉบัง เฟสที่ 3, ท่าเรือมาบตาพุด เฟสที่ 3, ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์ เวย์) พัทยา-มาบตาพุด, อาคารผู้โดยสาร ท่าเรือจุกเสม็ด และการปรับปรุงโครงข่ายถนนสายรอง

2.แผนปฏิบัติการระยะกลาง ระหว่างปี 2562-2564 ซึ่งเป็นแผนงานที่ต้องดำเนินการต่อเนื่องจากระยะเร่งด่วน เพื่อให้โครงข่ายการขนส่งสามารถรองรับกิจการทางเศรษฐกิจ ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำนวน 7 แผนงานย่อย วงเงินรวม 414,360.60 ล้านบาท

ประกอบด้วยโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงแหลมฉบัง-มาบตาพุด, ทางวิ่งที่ 2 ท่าอากาศยานอู่ตะเภา, พื้นที่ขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Cargo) ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ระยะที่ 1, เขตปลอดอากร (Free Zone) ท่าอากาศยาน อู่ตะเภา, มอเตอร์เวย์ ช่วงแหลมฉบัง-ปราจีนบุรี, การปรับปรุงโครงข่ายถนนสายรอง และการเพิ่มโครงข่ายทางเลี่ยงเมือง

3.แผนปฏิบัติการระยะต่อไป เริ่มตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นแผนงานเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่อีอีซีอย่างยั่งยืน รวมถึงการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อสนับสนุนให้อีอีซีเป็นประตูเศรษฐกิจของ CLMV อย่างสมบูรณ์ จำนวน 7 แผนงานย่อย วงเงินรวม 357,174.87 ล้านบาท


ประกอบด้วย โครงการรถไฟ ช่วงระยอง-จันทบุรี-ตราด, รถไฟเชื่อมอีอีซี-ทวาย-กัมพูชา, สถานีบรรจุและยกสินค้ากล่อง (ICD) ฉะเชิงเทรา, อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 อู่ตะเภา, พื้นที่ขนส่งสินค้าทางอากาศ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา เฟส ที่ 2, มอเตอร์เวย์ ชลบุรี-อ.แกลง จ.ระยอง และการปรับปรุงโครงข่ายถนนสายรอง
...
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/02/2018 7:14 am    Post subject: Reply with quote

ไทยเนื้อหอมรัฐเซียสนใจลงทุนอีอีซี
ไทยโพสต์ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เวลา 07:00 น.

อุตฯ ผนึกรัสเซียตั้งคณะทำงานเพิ่มโอกาสการลงทุนในอีอีซี เผยรัสเซียสนใจลงทุนท่าเรือแหลมฉบัง ปิโตรเคมี รถไฟความเร็วสูง ไบโอชีวภาพ

23 ก.พ. 61- นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2561 นายอเล็กเซย์ กรูซเดียฟ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาเศรษฐกิจสหพันธรัฐรัสเซีย ได้นำคณะนักลงทุนจากรัสเซีย ประมาณ 50 ราย เข้าหารือกับนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ เพื่อดูลู่ทางการลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ซึ่งในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมจะร่วมกับกระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจสหพันธรัฐรัสเซียและภาคเอกชนทั้ง 2 ประเทศ ตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อเพิ่มโอกาสการลงทุนระหว่างกัน โดยเฉพาะการลงทุนของรัสเซียในไทยที่จะเพิ่มขึ้นจากนโยบายอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยฝ่ายไทยมีนายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน

ขณะเดียวกันจะพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) รวมถึงการเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมโดยใช้ดิจิทัล ที่รัสเซียมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว โดยอุตสาหกรรมที่รัสเซียสนใจ อาทิ ท่าเรือแหลมฉบัง ปิโตรเคมี รถไฟความเร็วสูง ไบโอชีวภาพ นอกจากนี้ทางรัสเซียได้เชิญฝ่ายไทยไปร่วมงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่ประเทศรัสเซีย ช่วงเดือนพ.ค.นี้ โดยฝ่ายไทยตอบรับแล้ว

นอกจากนี้กระทรวงอุตสาหกรรมอยู่ระหว่างหารือร่วมกับสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(สกรศ.) ในการกำหนดแผนการชักจูงการลงทุน(โรดโชว์) ในประเทศสำคัญเพื่อดึงดูดการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายในอีอีซี คาดว่าจะมีความชัดเจนเร็ว ๆ นี้ ซึ่งแผนการ โรดโชว์นี้จะมีการดึงเข้ามาศึกษาพื้นที่ลงทุนจริงในไทย

----

รฟท.อุ้มต่างชาติ แก้เงื่อนไขลงทุนรถไฟเชื่อม3สนามบิน
แนวหน้า วันเสาร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561, 06.00 น.

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผย ความคืบหน้าโครงการถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาว่า คณะกรรมการ(บอร์ด)การรถไฟฯได้พิจารณารูปแบบการลงทุนเป็นแบบ PPP Net Cost โดยให้เอกชนเป็นผู้บริหาร และรับความเสี่ยงโครงการทั้งหมด

ส่วนด้านวงเงินลงทุนโครงการนั้นแบ่งเป็นค่างานโยธาก่อสร้างประมาณ 50% ของวงเงินลงทุน หรือคิดเป็น 115,000 ล้านบาท ขณะที่ค่างานระบบและตัวรถจะอยู่ที่ประมาณ 100,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมีเอกชนสนใจหลายรายได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และยุโรป

“ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาเรื่องการแก้กฎหมายการลงทุนของโครงการ เช่น การพิจารณาให้ต่างชาติถือหุ้นในโครงการเกิน 50% และการปรับกฎหมายสิทธิประโยชน์การใช้ที่ดินมักกะสันให้เป็นเงื่อนไขเดียวกับการให้สัมปทานในพื้นที่ EEC เนื่องจากพื้นที่มักกะสันแปลง A ที่มีจำนวน 130 ไร่ที่ต้องยกให้เอกชนที่เข้ามาบริหารพื้นที่มักกะสันนั้น ระยะเวลาสัมปทานพื้นที่มักกะสันจำนวน 50 ปี เอกชนต้องคืนพื้นที่ให้การรถไฟฯหลังจากหมดอายุสัมปทานและไม่สามารถต่อสัมปทานได้อีก

นายอานนท์กล่าวเพิ่มเติมถึงโครงการรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 76,000 ล้านบาท ว่า ทางกระทรวงคมนาคมคาดหวังว่าน่าจะเป็นเส้นทางแรกของระยะที่ 2 ที่จะสามารถออกประกาศประกวดราคาได้ เนื่องจากขณะนี้การศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม(EIA) ผ่านแล้ว และทาง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)อยู่ระหว่างพิจารณาโครงการ น่าจะเป็นโครงการที่มีความพร้อมมากที่สุดในขณะนี้และคาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาอนุมัติโครงการได้ภายในเดือนมีนาคม 2561 นี้

ทั้งนี้ในส่วนของโครงการรถไฟทางคู่เส้นทางเด่นชัย-เชียงใหม่ นั้น คาดว่าจะดำเนินการได้ช้าที่สุดเพราะทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เป็นผู้ออกแบบโครงการและขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อมูลคาดว่าภายในเดือนนี้ หรือต้นเดือนมีนาคม 2561 จะสามารถเสนอเรื่องเข้ากระทรวงคมนาคมได้

ขณะที่โครงการรถไฟทางคู่เส้นทางอื่นๆ จะสามารถทยอยเปิดประมูลได้ภายในปี 2561 นอกจากนี้ในส่วนของโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 เส้นทางช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงิน 23,300 ล้านบาท ทางคู่ช่วงสุราษฎร์ธานี-สงขลา ระยะทาง 339 กิโลเมตร วงเงิน 51,800 ล้านบาท เข้าสู่ที่ประชุม ครม.ด้วยเช่นกัน แต่จะดำเนินการได้ต่อจากเส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ซึ่งขณะนี้ได้มีการส่งเรื่องเข้ากระทรวงคมนาคมพิจารณาหมดแล้ว 8 เส้นทาง ซึ่งทางกระทรวงจะให้ทาง สนข.พิจารณาข้อมูลเบื้องต้นก่อน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/02/2018 8:08 am    Post subject: Reply with quote

ทุ่ม1.4แสนล้าน ! แหลมฉบังเฟส3 รับEEC กลางปีเปิดประมูลPPP- ต่างชาติ4รายสนใจร่วมทุน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 - 06:43 น.

การท่าเรือฯเร่งเดินหน้าโครงการขยายท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 มูลค่าลงทุน 1.4 แสนล้าน ตั้งเป้าเปิดให้บริการเต็มรูปแบบปี 2562 รองรับปริมาณตู้สินค้าเพิ่มขึ้นถึง 7 ล้านทีอียู/ปี เผยทุนต่างชาติ 4 ราย สนใจร่วมลงทุน PPP ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน-บริหารท่าเรือ เริ่มสนใจแล้ว 4 ราย พร้อมทั้งมุ่งสู่การชิปโหมดทางรถไฟ-เรือ หวังลดปัญหาการจราจร

นางพรทิพา ทวีนุช ผู้อำนวยการกองบริหารงานทั่วไป ท่าเรือแหลมฉบัง การท่าเรือแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การท่าเรือฯอยู่ระหว่างผลักดันโครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 ในพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือน้ำลึกหลักของไทย ซึ่งมีเนื้อที่รวมทั้งหมด 6,340 ไร่ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ที่รัฐบาลกำลังเร่งดำเนินการ ทั้งนี้ ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 จะมีส่วนสำคัญยิ่งในการอำนวยความสะดวกเรื่องของการนำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ

โดยท่าเรือแหลมฉบังเป็นแลนด์ลอร์ดพอร์ต คือเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งการถมทะเลเพิ่มพื้นดินสำหรับเป็นท่าเทียบเรือ และการขุดลอกร่องน้ำเพิ่มความลึกของร่องน้ำให้สามารถรองรับเรือขนาดต่าง ๆ ได้ ตามแผนที่วางไว้จะเชิญชวนภาคเอกชนเข้ามาเป็นผู้บริหาร และลงทุนในซูเปอร์อินฟราสตรักเจอร์ต่าง ๆ ด้วยวิธีการร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP เช่น ระบบไอที รวมทั้งการบริหารจัดการด้านอื่น ๆ

เร่งเฟส 3 ทุ่มลงทุน 1.4 แสน ล.

สำหรับโครงการท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 มูลค่าการลงทุนรวมกว่า 1.4 แสนล้านบาท ขณะนี้ได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) เสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) คาดว่า สผ.จะใช้ระยะเวลาในการพิจารณา 6 เดือน จากนั้นจะนำเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาภายใต้โครงการ EEC Fast Track ประมาณกลางปี 2561 จะเปิดหาผู้ประกอบการภาคเอกชน เพื่อเข้ามาทำเทอร์มินอลโอเปอเรเตอร์ และไม่เกินต้นปี 2562 จะได้ตัวผู้ประกอบการ หลังจากนั้นจะประมูลหาผู้ก่อสร้าง ซึ่งคาดว่าไม่เกินต้นปี 2562 จะเดินหน้าก่อสร้างได้ ใช้เวลาในการก่อสร้าง 4-5 ปี รวมระยะเวลาทั้งการติดตั้งเครื่องมือ และสรรหาผู้ประกอบการ ไม่เกินปี 2568 ท่าเทียบเรือท่าแรกของท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 จะสามารถเปิดให้บริการเต็มรูปแบบ

ขณะนี้มีนักลงทุน 2 ส่วนแสดงความสนใจโครงการขายท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 ได้แก่ 1.ผู้สนใจก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถมทะเล ขุดลอกร่องน้ำ และ 2.ผู้สนใจเข้ามาบริหารจัดการส่วนเทอร์มินอล รวมถึงมีนักลงทุนที่สนใจเข้ามาลงทุนในโครงการ EEC ที่ต้องการความมั่นใจว่าประตูส่งออกสินค้าสามารถรองรับจำนวนตู้สินค้าที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคตได้

นายจำเริญ โพธิยอด ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า นอกจากนักลงทุนไทยแล้ว นักลงทุนจากต่างประเทศก็เข้ามาว่าโครงการนี้มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน และรายละเอียดโครงการเป็นอย่างไร ในจำนวนนี้มีทั้งกลุ่มที่สนใจเทอร์มินอลโอเปอเรเตอร์ และกลุ่มที่สนใจงานก่อสร้าง สำหรับมูลค่าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอยู่ที่ 5.4 หมื่นล้านบาท ในจำนวนนี้มีกลุ่มใหญ่ ๆ เข้ามาประมาณ 4 ราย

เพิ่มความสามารถรองรับตู้สินค้า

นางพรทิพากล่าวว่า โครงการท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 จะเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าได้มากถึง 7 ล้านทีอียู/ปี มากกว่าเฟสที่ 1 และ 2 ที่อยู่ที่ 4.3 และ 6.8 ล้านทีอียู/ปี ตามลำดับ ขณะที่ปัจจุบันมีตู้สินค้าเข้ามาประมาณ 7.6 ล้านทีอียู/ปี อย่างไรก็ตาม ปริมาณตู้สินค้ามีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณปีละ 5% หากไม่ดำเนินการเฟส 3 คาดว่าภายในปี 2563-2564 จำนวนตู้สินค้าก็เต็มขีดความสามารถของทั้งเฟส 1 และ 2 ที่รับได้เพียง 10.8 ล้านทีอียู/ปี

แม้ว่าท่าเทียบเรือกว่า 14 ท่าในท่าเรือแหลมฉบัง ประมาณ 90% จะเป็นท่าเทียบเรือคอนเทนเนอร์ แต่ยังมีสินค้ารถยนต์เป็นอีกหนึ่งสินค้าสำคัญ จึงต้องเร่งขยายท่าเรือรองรับเพิ่ม โดยสินค้ารถยนต์ประมาณ 98% ของไทยนำเข้าและส่งออกที่ท่าเรือแหลมฉบัง มีทั้งส่งออกไปตลาดหลักแถบยุโรป และออสเตรเลีย และตลาดรองในเอเชีย ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และแอฟริกาใต้ ทั้งนี้ ไทยถือเป็นอันดับ 5 ของโลกที่มีการส่งออกรถยนต์ โดยปี 2560 มีปริมาณรถยนต์เข้าท่าเรือกว่า 1.3 ล้านคัน ขณะที่ความสามารถในการรองรับอยู่ที่ 1.9 ล้านคัน/ปี แต่หากท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 แล้วเสร็จ จะเพิ่มขีดความสามารถรองรับรถยนต์ได้ถึง 3 ล้านคัน/ปี


เพิ่มศักยภาพ – ปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบังมีปริมาณตู้สินค้ากว่า 7.6 ล้านทีอียู ขณะที่ขีดความสามารถในการรองรับตู้ทั้งเฟส 1 และ 2 ได้ทั้งหมด 10.8 ล้านทีอียู ซึ่งอัตราการเติบโตของตู้เพิ่มขึ้นทุกปี หากโครงการท่าเรือแหลมฉบังแล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถรองรับตู้ได้มากขึ้นถึง 18 ล้านทีอียู

เน้นขนส่งทางรถไฟ-เรือ

ขณะเดียวกันจากที่ปัจจุบันโหมดการขนส่งในท่าเรือแหลมฉบังมี 3 โหมด ได้แก่ ทางรถบรรทุก 87.5% ทางเรือชายฝั่ง 7% และทางรถไฟ 5.5% จะเห็นว่าการขนส่งหลักยังคงเป็นทางรถบรรทุก ส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรแออัด ส่วนนี้การท่าเรือฯตระหนักและให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยได้จัดทำโครงการเพื่อชิปโหมดการขนส่งตู้ให้มาขนส่งทางชายฝั่งและทางรถไฟแทน เพื่อบรรเทาการจราจรแออัดบริเวณโดยรอบท่าเรือแหลมฉบัง

นอกจากนี้ ท่าเรือแหลมฉบังได้พัฒนาอีก 2 โครงการ คือ 1.โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ (Single Rail Transfer Operator) เพื่อเพิ่มสัดส่วนการขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟให้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีการขนถ่ายทางรถไฟปีละประมาณ 4 แสนทีอียู โดยจะลงทุนรางรถไฟให้เป็น 6 แทร็ก และติดตั้งปั้นจั่นยกตู้สินค้าชนิดเดินบนรางคร่อมรางรถไฟ (Rail Mounted Gantry Crane : RMG) โดยมีอัตราค่าภาระที่จูงใจผู้ประกอบการ เพื่อให้สามารถแข่งกับการขนส่งทางถนนได้

คิดค่าบริการอัตราต่ำดึงลูกค้า

โดยคิดอัตราการต่ำสุดอยู่ที่ 376 บาท และอัตราขั้นสูงที่ 830 บาทต่อตู้ ในจำนวนนี้รวมถึงค่ายกจากรถไฟและค่าลากไปเทอร์มินอลโอเปอเรเตอร์ด้วย ขณะนี้การก่อสร้างคืบหน้าไปแล้วกว่า 90% คาดว่าสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2562 ทั้งนี้ เมื่อแล้วเสร็จจะสามารถขนถ่ายตู้สินค้าได้มากถึงปีละ 3 ล้านทีอียูในระยะแรก หรือสามารถเพิ่มขึ้นจาก 7% เป็น 16-17% และจะเพิ่มขึ้นเป็น 6 ล้านทีอียูในอนาคต

2.โครงการท่าเทียบเรือชายฝั่ง (Coastal Terminal A) ปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบังยังไม่ได้เป็นท่าเรือชายฝั่งเป็นการเฉพาะ เพราะส่วนใหญ่เป็นเรือขนส่งระหว่างประเทศ ฉะนั้นหากมีท่าเทียบเรือชายฝั่งเฉพาะ ให้เรือชายฝั่งที่มาจากทางภาคต่าง ๆ หรือทางแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถขนส่งตู้มาที่แหลมฉบังได้ จะสามารถช่วยลดความแออัดบนท้องถนนได้มาก ซึ่งโครงการนี้สามารถรองรับได้ 3 แสนทีอียู/ปี ขณะนี้ก่อสร้างคืบหน้าแล้ว 98% คาดว่าไม่เกินปลายปี 2561 จะสามารถเปิดให้บริการได้

ด้านนายจำเริญ โพธิยอด ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า นอกจากนักลงทุนไทยแล้ว นักลงทุนจากต่างประเทศก็สนใจเข้ามาลงทุนโครงการขยายท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 เห็นได้จากหลายรายเข้ามาสอบถามรายละเอียดโครงการ ในจำนวนนี้มีทั้งกลุ่มที่สนใจเทอร์มินอลโอเปอเรเตอร์ และกลุ่มที่สนใจงานก่อสร้าง สำหรับมูลค่าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอยู่ที่ 5.4 หมื่นล้านบาท ในจำนวนนี้มีกลุ่มใหญ่ ๆ เข้ามาประมาณ 4 ราย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/02/2018 2:02 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมชงแผนยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานฯ เข้า ครม.สัญจรเพชรบุรี
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 18:18:07 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) จังหวัดเพชรบุรี ระหว่างวันที่ 5-6 มี.ค.61 ในส่วนของกระทรวงคมนาคมจะนำเสนอแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง ซึ่งจะมีการพัฒนาถนน เส้นทางรถไฟ และสนามบินเพื่อสนับสนุนการขนส่งและท่องเที่ยว

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้ร่วมมือกับการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พัฒนาถนนเลียบทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย ตั้งแต่ จ.สมุทรสาคร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ไปสิ้นสุดที่ระนอง ซึ่งได้มอบหมายให้กรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ไปพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาเส้นทางขาดช่วงในบางจุดที่ไม่สามารถก่อสร้างเลียบชายทะเลได้ เพราะติดพื้นที่ป่าสงวน และพื้นที่อุทยานแห่งชาติ

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมจะรายงานความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หัวหิน, รถไฟทางคู่สายใต้ ซึ่งได้มีการลงนามสัญญาก่อสร้างแล้ว 3 เส้นทาง คือ นครปฐม-หัวหิน, หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์, ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร และในปี 2561 จะเสนอ ครม.ขออนุมัติเพิ่มอีก 2 เส้นทาง คือ ชุมพร-สุราษฏร์ธานี และสุราษฏร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา

ส่วนการขนส่งทางอากาศนั้นจะพัฒนาสนามบินบ่อฝ้ายของกรมท่าอากาศยาน (ทย.) โดยเร็วๆนี้ สายการบินไทยแอร์เอเชียจะเปิดให้บริการบินในเส้นทางกัวลาลัมเปอร์-หัวหิน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 92, 93, 94 ... 121, 122, 123  Next
Page 93 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©