RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179850
ทั้งหมด:13491082
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 176, 177, 178 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/03/2018 7:54 am    Post subject: Reply with quote

ตั๋วร่วมรถไฟฟ้าขยับอีกคืบ ‘คมนาคม’สั่งอัพเกรดเป็นบัครเครดิต
ไทยโพสต์ 14 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 07:34 น.

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมได้เเห็นชอบร่วมกันที่จะอัพเกรดระบบตั๋วร่วมหรือบัตรแมงมุม ให้เป็นระบบ EMV (Euro/ Master Card และ Visa) หรือบัตรเครดิตแทน เป็นบัตรแมงมุม 4.0 เนื่องจากคนส่วนใหญ่มีบัตรเครดิตอยู่แล้ว ดังนั้นจึงได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปเร่งดำเนินการ และนำผลสรุปเสนอให้คณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ในวันที่ 23 มี.ค.61 นี้ พิจารณาต่อไป

แหล่งข่าวจาก สนข กล่าวว่า ขณะนี้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างพิจารณาข้อเสนอของบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BEM ในการปรับปรุงระบบ ของรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน เพื่อรองรับตั๋วร่วม คาดว่าจะพิจารณาอนุมัติให้เสร็จภายในเดือน มี.ค.นี้เพื่อให้ BEM ดำเนินการปรับปรุงระบบให้เสร็จในเดือน ต.ค. 61

ส่วนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ คาดว่าจะมีกำหนดเปิดใช้ตั๋วร่วมในเดือน มิ.ย. 61 ส่วนของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หากปรับปรุงระบบเสร็จ จะสามารถนำบัตรมาแตะเข้าระบบรถ ไฟฟ้าได้ทันที ส่วนบัตรแมงมุมจะยังเป็นบัตรกลางเหมือนเดิม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/03/2018 11:50 am    Post subject: Reply with quote

สนข.จัดแสดงสินค้าและเทคโนโลยีระบบรางรถไฟฟ้ารับกระแสเมกะโปรเจกต์

7 มีนาคม 2561

งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีระบบรางรถไฟฟ้า The 4thRISE & RAIL Asia Expo 2018ที่มีขึ้นวันที่ 28-29 มีนาคม 2561 ณ. ฮอลล์แสดงสินค้า สถานีรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มักกะสัน คึกคัก ศูนย์รวมนักลงทุนระบบรางทั่วโลกรับกระแสเมกะโปรเจกต์ระบบรางปี61 ที่รัฐบาลอนุมัติงบล่าสุดกว่า 500,000 ล้านบาท

จุดเด่นงานปีนี้ บ.เอเชีย เอ็กซิบิทชั่นฯ ผนึกกำลังร่วมกับ RISE จัดประชุมวิชาการและแสดงนิทรรศการ อุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางไทย ครั้งที่ 4ภายใต้แนวคิด”นวัตกรรมโลก นโยบายชดเชยการจัดซื้อจัดจ้าง และความเชี่ยวชาญไทย มุ่งสู่การพัฒนาระบบราง ในภูมิภาคอาเซียนแบบบูรณาการ” และมีหัวข้อเด่น ตีแผ่รถไฟความเร็วสูงกับการขนส่งในเขตเมือง และแผนการทุ่มทุน22,500ล้านเหรียญสหรัฐสู่ EEC มั่นใจงานปีนี้ดึงคนเข้างาน 3,000 ราย

นายดิสพล ผดุงกุล นายกสมาคมวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางไทย เผยถึง การจัดงาน การประชุมวิชาการและแสดงนิทรรศการ อุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางไทย ครั้งที่ 4 และ RAIL Asia Expo 2018 ( The 4th Thai Rail Industry Symposium and Exhibition (RISE) and RAIL Asia Expo 2018) หรือ The 4th RISE Symposium & RAIL Asia Expo 2018 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-29 มีนาคม 2561 ณ ฮอลล์แสดงสินค้า สถานีรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มักกะสัน กรุงเทพฯว่า ปีนี้นับเป็นการเติบโตของงานแสดงสินค้าด้านระบบราง ซึ่งงาน RAIL Asia Expo 2018 จัดโดยบริษัท เอเชีย เอ็กซิบิทชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด ที่จัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่6




ปีนี้ งาน RAIL Asia Expo 2018 มีการผนึกกำลังกับ RISE การประชุมสัมมนาระบบรางภายใต้ การสนับสนุนจากภาครัฐ ร่วมกันจัดงานสินค้าระบบรางระดับชั้นนำของภูมิภาคเอเชีย และการประชุมสัมมนาด้านอุตสาหกรรมระบบรางขั้นสูง งานนี้ถือเป็นการพัฒนาระบบรางครั้งสำคัญยิ่ง เนื่องด้วยจะมีหน่วยงานภาครัฐ ผู้ให้บริการเดินรถ ผู้ผลิตเทคโนโลยีระบบ อุปกรณ์ มาร่วมแสดงผลงานอย่างเต็มรูปแบบไปพร้อมกัน

การพัฒนางานวิจัยระบบรางของไทยนั้น ได้มีการสนับสนุนงบประมาณจากเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งได้กำหนดให้งานวิจัยระบบรางเป็นหนึ่งในแผนงานวิจัยมุ่งเป้าของประเทศ โดยมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดำเนินการบริหารแผนงานวิจัย เพื่อให้มีผลงานวิจัยที่ใช้ประโยชน์ได้จริง ในด้านการคมนาคมระบบรางและตรงตามความต้องการของประเทศ

พร้อมทั้งส่งมอบผลงานวิจัยสู่หน่วยงานผู้รับประโยชน์ โดยในปีนี้ เป็นการส่งมอบผลงานวิจัย เรื่อง “การพัฒนารถยนต์รางขนาดเบาวิ่งบนรางรถไฟมิเตอร์เกจหรือถนน” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรฏฐ์ สุคนธนกานต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น โดยส่งมอบผลงานให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) นายดิสพลกล่าว




ด้านนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข.ในฐานะประธานงานประชุมวิชาการ และแสดงนิทรรศการอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางไทย ครั้งที่4 กล่าวว่า ปี 2561 นับเป็นปีสำคัญที่โครงการระบบรางในประเทศไทยด้วยสัญญาการประมูลและจัดซื้อจำนวนมากที่กำลังเกิดขึ้น ดังนั้นในงาน The 4th Thai Rail Industry Symposium and Exhibition (RISE) and RAIL Asia Expo 2018 ที่จัดขึ้นในวันที่ 28-29 มีนาคม 2561

ทางกระทรวงคมนาคมจะเป็นแกนนำสำคัญในการจัดประชุม นำเสนอให้เห็นโอกาสใหม่ๆ ร่วมกับผู้ให้บริการเดินรถของภาครัฐและเอกชน และคู่ค้านักลงทุนระดับภูมิภาค การประชุมในครั้งนี้จะอยู่ใต้แนวคิด “อนาคตระบบรางของอาเซียน” มีหัวข้อที่อยู่ในกระแสความสนใจพิเศษอาทิ รถไฟความเร็วสูง การขนส่งในเขตเมือง โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งระดับภูมิภาค และนโยบายการวิจัยเกี่ยวกับระบบราง และจุดเด่นที่หัวข้อในการประชุมครั้งนี้จะมีเรื่อง รายละเอียดโครงการขนส่งรูปแบบใหม่ในเขตเมืองของจังหวัดขอนแก่น ภูเก็ต นครราชสีมาและเชียงใหม่ พร้อมทั้งเรื่องแผนการลงทุนโครงการและโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งของประเทศที่รัฐบาลประกาศลงทุนถึงมูลค่า22,500 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC อีกด้วย

อีกทั้งเมกะโปรเจ็กต์ระบบรางของไทย เนื้อหอมได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติมากมาย ล่าสุดรัฐบาลเห็นชอบการลงทุนระบบรางมูลค่ารวมกว่า 16 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือราว 500,000 ล้านบาท สร้างการเปลี่ยนแปลงการลงทุน เทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญระดับโลกให้กับประเทศไทยโครงการใหม่ 12 โครงการ รวมถึงโครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการขยายเส้นทางรถไฟทางคู่ เส้นทางรถไฟฟ้า 11 สายในกรุงเทพฯ โครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 5 จังหวัดและอื่นๆ

ส่วนนายเดวิด เอ็ทคิ่น กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชีย เอ็กซิบิทชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด เปิดเผยว่า งาน The 4th Thai Rail Industry Symposium and Exhibition (RISE) and RAIL Asia Expo 2018 ในปีนี้เป็นการผนึกงาน RAIL Asia Expo ครั้งที่ 6 และงาน RISE การประชุมวิชาการและแสดงนิทรรศการ อุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางไทย ครั้งที่ 4 สองงานใหญ่ เข้าไว้ด้วยกัน เป็นงานแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีรถไฟ และรถไฟใต้ดิน ใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะรวบรวมผู้ผลิตเทคโนโลยีด้านรถไฟ รถไฟใต้ดิน ผู้รับเหมา ระบบราง ผู้ให้บริการระบบรถไฟ ระบบไอที การสื่อสาร อาณัติสัญญาณ อุปกรณ์ในสถานี ระบบความปลอดภัย ฯลฯ ผู้ผลิตต่างประเทศ ชั้นนำทั้งจากยุโรป อเมริกา,เอเชีย มาจัดแสดงในงาน โดยมีบริษัทที่เข้าร่วมงานและตัวแทนจำหน่ายถึง 120 บริษัท จากทั่วโลก มีผู้เกี่ยวข้องผู้ผลิต ผู้ให้บริการเดินรถ ที่ปรึกษา ผู้รับเหมา นักลงทุน วิศวกร กว่า 1,000ราย คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานถึง 3,000 คน

ทั้งปีนี้ได้รับความสนใจจากบริษัทยักษ์ใหญ่ วงการขนส่งระบบรางจากทั่วโลก อาทิ บอมบาร์เดีย, ชไนเดอร์,ซีเมนส์,ซีอาร์เอสซี,และวอร์สทอนไพน์ มีพาวิเลียนจาก สหราชอาณาจักร จีน และเกาหลี จะนำเทคโนโลยีล่าสุด นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆในอุตสาหกรรมนี้มานำแสดงรองรับเมกะโปรเจกต์ระบบรางของไทย พบกับงานการประชุมวิชาการและแสดงนิทรรศการ อุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางไทย ครั้งที่ 4 และ RAIL Asia Expo 2018 (The 4th Thai Rail Industry Symposium and Exhibition (RISE) and RAIL Asia Expo 2018) ในวันที่ 28-29 มีนาคม 2561 ณ. ฮอลล์แสดงสินค้า สถานีรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มักกะสัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/03/2018 12:30 pm    Post subject: Reply with quote

“ไพรินทร์” จี้ รฟม.ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย “ส้ม-ชมพู-เหลือง”
วันที่ 9 มีนาคม 2561 - 17:19 น.


เมื่อวันที่ 9 มี.ค.2561 นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานประชุมพิจารณาการขอใช้พื้นที่ของหน่วยงานต่างๆ เพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า โดยมีผู้บริหารกรมทางหลวง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เข้าร่วมประชุม


โดยที่ประชุมได้พิจารณาติดตามการเข้าพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 3 สาย ประกอบด้วย 1.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี 2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว -สำโรง และ 3.โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี

โดยมอบหมายให้ รฟม.หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นที่ยังไม่ได้ข้อสรุปร่วมกัน ส่วนพื้นที่ที่ได้ก่อสร้างไปแล้วให้ดำเนินการตามแผนงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและส่งผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด และให้ สนข. ร่วมสนับสนุนการบริหารการจราจรในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการก่อสร้าง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/03/2018 5:53 pm    Post subject: เรือ Catamaran สำหรับเรือด่วนเจ้าพระยา เพื่อเชื่อมรถไฟฟ้า Reply with quote

เตรียมพบเรือด่วนโฉมใหม่! เชื่อมสถานีรถไฟฟ้าตลอดแนว “เจ้าพระยา”
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 15 มีนาคม 2561 - 10:17:
ปรับปรุง: 15 มีนาคม 2561 - 12:28:




กรมเจ้าท่าถกยกระดับเรือด่วนเจ้าพระยาต่อเรือใหม่ลำตัวคู่ Catamaran ทันสมัย และประหยัดพลังงาน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก 6 ลำ นำร่องบริการเชื่อมท่าเรือที่มีรถไฟฟ้า “ม่วง, น้ำเงิน, เขียว” จากพระนั่งเกล้า-สาทร เริ่มให้บริการปี 62

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.) เปิดเผยว่า ได้ประชุมหารือ บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด เพื่อวางแผนพัฒนาการเดินเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยารูปแบบใหม่ อันเป็นการพัฒนาระบบคมนาคมการขนส่งผู้โดยสารทางน้ำให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบัน และสามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งทางราง (รถไฟฟ้า)

ปัจจุบันบริษัทฯ ให้บริการเดินเรือ ตั้งแต่ท่าเรือปากเกร็ดถึงท่าเรือวัดราชสิงขร มีเรือให้บริการ 4 ประเภท ได้แก่ เรือโดยสารประจำทาง (ไม่มีธง) เรือด่วนพิเศษธงส้ม เรือด่วนพิเศษธงเหลือง และเรือด่วนพิเศษธงเขียว มีเรือที่ใช้งานอยู่ทั้งสิ้น 59 ลำ เป็นแบบเรือ mono hull (ลำตัวเดี่ยว) ตัวเรือทำด้วยไม้ตะเคียน มีทั้งเรือโดยสาร 1 เครื่องยนต์ และเรือโดยสาร 2 เครื่องยนต์

ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนจะทำการยกระดับพัฒนาเรือโดยสารฯ ให้เป็นเรือลำตัวคู่ Catamaran วัสดุตัวเรือทำด้วยอะลูมิเนียม มีการออกแบบที่ก่อให้เกิดคลื่นน้อย และประหยัดพลังงา นมีความสะดวกสบายและทันสมัย มีความปลอดภัย มีระบบติดตามเรือ (GPS) และระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลในเบื้องต้น บริษัทจะสร้างเรือจำนวน 6 ลำเพื่อให้บริการตั้งแต่ท่าเรือพระนั่งเกล้า ถึงท่าเรือสาทร

เรือโดยสารรูปแบบใหม่นี้จะให้บริการรับส่งผู้โดยสารจำนวน 10 ท่าเรือ ซึ่งเป็นท่าเรือมีระบบขนส่งเชื่อมต่อทางราง เช่น ท่าเรือพระนั่งเกล้า (รถไฟฟ้าสายสีม่วง) ท่าเรือบางโพ (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน) ท่าเรือราชินี (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน) และท่าเรือสาทร (รถไฟฟ้าสายสีเขียว) ซึ่งระยะเวลาเรือโดยสารรูปแบบใหม่จะให้บริการเดินเรือตั้งแต่เวลา 06.30-19.00 น. จำนวน 44 เที่ยว/วัน ความถี่ในการเดินเรือประมาณ 20-30 นาที /เที่ยว ซึ่งสามารถประหยัดเวลาเดินทางจากท่าเรือต้นทางถึงท่าเรือปลายทาง จากปกติใช้เวลาประมาณ 45 นาที ทำให้ลดลงเหลือเวลาประมาณ 30 นาที ประหยัดเวลาได้ประมาณ 10-15 นาที มีความสะดวกและรวดเร็วเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ เรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยารูปแบบใหม่จะใช้เวลาในการต่อสร้างเรือประมาณ 8-10 เดือน พร้อมรองรับการต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2562 และต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้า BTS ที่ท่าเรือสาทรอีกด้วย โดยกรมเจ้าท่าจะกำหนดอัตราค่าโดยสารให้มีความเหมาะสม

“กรมจ้าท่าได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของการพัฒนาเรือโดยสารในรูปแบบใหม่ ซึ่งจะเป็นการยกระดับเรืออันจะเป็นการยกระดับเรือโดยสารให้มีความทันสมัย สะดวก ปลอดภัย พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยว ที่สำคัญยังก่อให้เกิดความปลอดภัยอย่างสูงสุดต่อไป” นายจิรุตม์กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/03/2018 11:46 pm    Post subject: Reply with quote

เม.ย.ชงรถไฟฟ้าต่อขยาย”สีม่วงใต้-แดง”
วันที่ 15 มีนาคม 2561 - 19:47 น.

“อาคม” จัดแถวประมูลรถไฟฟ้าต่อขยาย 8 เส้นทาง วงเงินกว่า 2.8 แสนล้าน เร่งชง ครม.อนุมัติให้หมดภายในปี”61 ดีเดย์ เม.ย.คลอดทีโออาร์สายสีม่วงใต้ “เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ” แบ่งก่อสร้าง 6 สัญญา และสีแดง “ตลิ่งชัน-ศิริราช-ศาลายา”

นายฤทธิกา สุภารัตน์ รองผู้ว่าการและรักษาการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปีนี้จะเปิดประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้า 2 เส้นทาง เงินลงทุนรวม 210,454 ล้านบาท ได้แก่ สายสีม่วงใต้เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ 23.6 กม. วงเงิน 101,112 ล้านบาท เตรียมจะประกาศประกวดราคางานโยธาภายในเดือน เม.ย.-พ.ค.นี้ วงเงิน 77,385 ล้านบาท แยกเป็น 6 สัญญา มีงานใต้ดิน 4 สัญญา ทางยกระดับ 1 สัญญา และระบบราง 1 สัญญา คาดว่าปลายปี 2562 จะเซ็นสัญญาและเริ่มงานก่อสร้างและแล้วเสร็จในปี 2567

“การเปิดประมูลเลื่อนไปจากเดิมเดือน ก.พ. เพราะรอทางกรมบัญชีกลางอนุมัติการขอยกเว้นเงื่อนไขใน พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง ที่จะให้ใช้เงินกู้ธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือเอดีบี 10% ของวงเงินก่อสร้าง หรือ 7,700 ล้านบาท สำหรับจ่ายค่าก่อสร้างช่วงแรก ที่เหลือจะกู้ในประเทศ”

นอกจากนี้ยังต้องรอให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อนุมัติการใช้พื้นที่สมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบตรงข้ามท่าวาสุกรี เพื่อเป็นไซต์ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง เป็นงานก่อสร้างช่วงใต้ดิน โดย รฟม.จะจ่ายค่าชดเชยพร้อมกับสร้างอาคารหลังใหม่ให้หลังงานก่อสร้างแล้วเสร็จ หากไม่ได้รับการอนุมัติ อาจกระทบต่อการแบ่งสัญญางานก่อสร้างช่วงดังกล่าวจะต้องมีระยะทางที่ยาวขึ้น

“ในเดือน มี.ค.นี้จะมีการประชุมคณะกรรมการ รฟม. จะนำเสนอเรื่องผลวิเคราะห์รูปแบบการลงทุน PPP ของสายสีม่วงใต้ในส่วนของการเดินรถ”

นายฤทธิกากล่าวอีกว่า สำหรับสายสีส้มตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ 13.4 กม. กรอบวงเงิน 109,342 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบการลงทุน PPP ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2556 เพื่อเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณา ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติก่อสร้างและบริการจัดการเดินรถตามขั้นตอนต่อไป

ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาจะให้เอกชนร่วมลงทุน PPP ทั้งก่อสร้างและเดินรถ หรือ รฟม.จะลงทุนงานโยธาให้เอกชนลงทุนงานระบบ หรือ รฟม.ลงทุนเอง 100% ส่วนงานเดินรถจะรวมกับสายสีส้มตะวันออก ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี โดยให้เอกชนร่วมลงทุน PPP วงเงิน 30,000 ล้านบาท ตามแผนจะเปิดให้บริการในปี 2568

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ภายในปี 2561 จะนำโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายที่เหลือให้ ครม.อนุมัติให้หมด มีทั้งสิ้น 7 เส้นทาง จำนวน 8 โครงการ รวมระยะทาง 87.6 กม. ได้แก่ สายสีแดงเข้มช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ วงเงิน 7,596 ล้านบาท, สายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงิน 19,042 ล้านบาท, สายสีน้ำเงินต่อขยาย บางแค-พุทธมณฑลสาย 4 วงเงิน 21,197 ล้านบาท, สายสีส้มตะวันตก ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์

ส่วนแอร์พอร์ตเรลลิงก์ต่อขยายพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง วงเงิน 31,149 ล้านบาท จะนำไปรวมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ด้านสายเขียวเข้ม ช่วงคูคต-ลำลูกกาคลอง 5 วงเงิน 9,803 ล้านบาท และช่วงสมุทรปราการ-บางปู วงเงิน 12,146 ล้านบาท จะชะลอไปก่อน เนื่องจากยังอยู่ในระหว่างเจรจาโอนทรัพย์สินโครงการส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-คูคต และช่วงสำโรง-สมุทรปราการ ที่ รฟม.จะถ่ายโอนให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) รับผิดชอบ โดยรถไฟชานเมืองสีแดงอ่อนจะเสนอในที่ประชุม ครม.ภายในเดือน เม.ย.นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/03/2018 6:05 pm    Post subject: Reply with quote

‘อาคม’ สั่ง รฟม. ถกผู้พิการ แก้ปัญหาทางเข้าออกสถานีรถไฟฟ้าม่วง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 20 มีนาคม 2561 - 15:50 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมหารือสิ่งอำนวยความสะดวกในระบบบริการรถไฟฟ้าและระบบขนส่งสาธารณะ ร่วมกับ นายมานิต อินทร์พิมพ์ ภาคีเครือข่ายขนส่งมวลทุกคนต้องขึ้นได้ และตัวแทนคนพิการ ว่า ได้สั่งให้ตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างกระทรวงคมนาคมและภาคีเครือข่ายฯ โดยมีนายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน เพื่อสำรวจการให้บริการสาธารณะทุกระบบให้ผู้พิการสามารถเข้าถึงได้ โดยเฉพาะบันไดเลื่อน ลิฟต์และ ทางเดิน

ทั้งนี้ จะนำร่องจากระบบรางก่อน โดยเฉพาะรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากพบว่าปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการในหลายจุด จากนั้นจึงจะขยายไปยังระบบขนส่งสาธารณะอื่นต่อไป โดยในวันที่ 26 มี.ค. จะประชุมหารือร่วมกับรฟม. ก่อนเป็นหน่วยงานแรก

นายวรกร ไหลหรั่ง ที่ปรึกษาด้านกฎหมายภาคีเครือข่ายฯ กล่าวว่า ภาคีเครือข่ายฯ จะร่วมกับกระทรวงฯขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฎิบัติ โดยในวันที่ 26 มี.ค. จะหารือร่วมกับรฟม. เพื่อร่วมแก้ปัญหา ประเด็นหลักคือเรื่องของการออกแบบเข้าถึงทางเข้าออก เช่น 1 สถานีมีตั้งแต่ 3-6 ทางเข้าออก แต่ไม่ได้ออกแบบให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้พิการทุกทาง ทั้งนี้ จะดูที่ความสะดวกของผู้ใช้บริการเป็นหลัก ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องมีทุกทางเข้าออกหากสถานีนั้นไม่ใหญ่และมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อ

อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวเห็นว่าผู้พิการที่อยู่ในกทม. คือคนที่เดือดร้อนสุด เพราะโครงสร้างของการดูแลประชาชนไม่ดูแลเท่าที่ควร ผู้พิการไม่ได้รับประโยชน์จากระบบการบริหารท้องถิ่น ควรต้องรื้อระบบใหม่

ด้านนายมานิตย์ กล่าวว่า ขณะนี้กทม. ต้องเร่งแก้ไขทางเข้าออกบีทีเอสให้ครบทั้ง 23 สถานี ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ซึ่งล่วงเลยมา 3 ปีแล้ว ขณะเดียวกันต้องแก้ไขปัญหาเดิม และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นใหม่ เช่น ที่สถานีสำโรงแม้จะมีลิฟต์ 2 ฝั่ง แต่คนพิการสามารถใช้ได้ฝั่งเดียวไม่สามารถข้ามอีกฝั่งได้ รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่มี 18 สถานี แต่มีทางเข้าออกครบถ้วนให้ผู้พิการแค่ 3-4 สถานีเท่านั้น ทั้งนี้ มั่นใจว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นตัวเร่งให้การแก้ปัญหาเป็นรูปธรรมเร็วขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/03/2018 8:16 am    Post subject: Reply with quote

ผู้ว่ารฟม.คนใหม่ เตรียมขับเคลื่อนแผนรถไฟฟ้าภูธรแสนล้านบาท - ดันรถไฟฟ้าสี่สาย
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 21 มี.ค. 2561 เวลา 07:12 น.

เปิดใจ ‘ภคพงศ์’ ผู้ว่ารฟม.คนใหม่เผยใช้ประสบการณ์จริงเอาชนะใจทีมคัดเลือก เตรียมขับเคลื่อนแผนรถไฟฟ้าภูธรแสนล้านบาท พร้อมดันรถไฟฟ้าสี่สายเปิดประกวดราคา

จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้ นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) คนใหม่นั้น

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ รองผู้ว่าการฝ่ายวิศวกรรมและก่อสร้าง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยว่าตนได้เข้ามาทำงานที่รฟม.ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2536 ซึ่งนับเป็นช่วงเริ่มแรกของการก่อตั้งองค์กรได้เรียนรู้ประสบการณ์ทำงานทั้งด้านการก่อสร้างและบริการโครงการรถไฟฟ้า รวมถึงเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนารถไฟฟ้าเฟส 1 ทั้ง 10 สายมาโดยตลอดทำให้รู้ทั้งปัญหาและศักยภาพของการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางรางในเมืองหลวง

เมื่อถูกถามถึงวิสัยทัศน์ที่สามารถทำให้เอาชนะใจกรรมการคัดเลือกได้นั้น นายภคพงศ์ตอบว่าน่าจะเป็นเรื่องการเรียนรู้ประสบการณ์และผลงานที่ผ่านมาของตน โดยหวังต่อยอดแผนงานต่างๆเพื่อขับเคลื่อนรถไฟฟ้าเฟส 2 ทั้ง 10 สายที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(JICA) ส่วดน้านข้อร้องเรียนเรื่องรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่ผ่านมานั้นเป็นเรื่องที่จบแล้วและตนก็ชี้แจงทุกฝ่ายไปแล้วดังนั้นจึงอยากให้ประชาชนมองดูที่ผลงานมากกว่า

นายภคพงศ์กล่าวต่อว่าเมื่อเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการแล้วตนจะเร่งขับเคลื่อนโครงการรถไฟฟ้าเฟส 1 ที่เหลือไม่กี่สายอาทิ
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร วงเงิน 1.01 แสนล้านบาท
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน ระยะทาง 16.4 กิโลเมตร วงเงิน 1.23 แสนล้านบาท
- โครงการรรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ส่วนต่อขยาย ช่วงสมุทรปราการ-บางปู วงเงิน 1.37 หมื่นล้านบาท
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือส่วนต่อขยาย ช่วงคูคต-ลำลูกกา วงเงิน 1.19 หมื่นล้านบาท
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย4 ระยะทาง 8 กิโลเมตร วงเงิน 2.1 หมื่นล้านบาท

โดยทั้งหมดนี้มีความคืบหน้าไปมากแล้วถือว่าอยู่ในช่วงท้ายๆของขั้นตอนดำเนินโครงการแล้วคือต้องเปิดประกวดราคาในปีนี้

นอกจากนี้ตนยังจะผลักดันรถไฟฟ้าตามหัวเมืองใหญ่ของประเทศ ทั้งโครงการรถไฟรางเบา (แทรม) จ.ภูเก็ตช่วงท่านุ่น-ท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลองวงเงิน 3.94 หมื่นล้านบาท โครงการรถไฟรางเบา (แทรม) จ.ขอนแก่น วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท โครงการรถไฟรางเบา (แทรม) หาดใหญ่ ช่วงคลองหวะ–สถานีรถตู้ ระยะทาง12.54 กิโลเมตร วงเงิน1.6 หมื่นล้านบาทและโครงการรถไฟรางเบา (แทรม) จ.เชียงใหม่วงเงิน 1 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตามที่ผ่านมามารฟม.มีผลงานเบิกจ่ายงบประมาณตามเป้าหมายเกิน 95% เป็นสถิติที่ดีที่ต้องรักษาต่อไป

“ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้นเมืองหลวงได้ขยายตัวออกไปอย่างมากเช่นเดียวกับหัวเมืองในจังหวัดต่างๆที่มีการเติบโตของชุมชนรอบเมือง รฟม.จึงต้องขยายเส้นทางรถไฟฟ้าและระบบรางให้รองรับการกับทิศทางการขยายตัวของเมืองรวมถึงสอดรับกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรูปแบบอื่น”นายภคพงศ์กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/03/2018 10:28 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
‘อาคม’ สั่ง รฟม. ถกผู้พิการ แก้ปัญหาทางเข้าออกสถานีรถไฟฟ้าม่วง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 20 มีนาคม 2561 - 15:50 น.


"อาคม" เน้น UNIVERSAL DESIGN ระบบขนส่งมวลชนรองรับทุกคน

19 มีนาคม 2561 -
รมว.คมนาคม ประชุมหารือกรณีสิ่งอำนวยความสะดวกในระบบรถไฟฟ้าและระบบขนส่งสาธารณะ

- 19 มี.ค. 61 - นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ประชุมหารือกรณีสิ่งอำนวยความสะดวกในระบบรถไฟฟ้าและระบบขนส่งสาธารณะร่วมกับภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ โดยมี ผู้แทนสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมกระทรวงคมนาคม สรุปผลการประชุมดังนี้

1. เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรฐานที่ถูกต้องในการดูแลคนทุกกลุ่มในทุกระบบขนส่งสาธารณะ และให้ทุกโครงการของกระทรวงฯ ยึดหลักการออกแบบเพื่อทุกคน (UNIVERSAL DESIGN) ในการก่อสร้าง

2. รับรายงานผลสำรวจการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกผู้พิการในระบบรถไฟฟ้าและระบบขนส่งสาธารณะของภาคีเครือข่ายฯ เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในทุกระบบขนส่งสาธารณะอย่างยั่งยืน

3. ตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อสำรวจ ศึกษา และแก้ไขปัญหาการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในระบบขนส่งสาธารณะเพื่อให้คนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงการบริการได้อย่างเท่าเทียม โดยผลการดำเนินงานของคณะทำงานจะต้องรายงานถึงรัฐมนตรี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/03/2018 10:29 am    Post subject: Re: เรือ Catamaran สำหรับเรือด่วนเจ้าพระยา เพื่อเชื่อมรถไฟฟ้า Reply with quote

Wisarut wrote:
เตรียมพบเรือด่วนโฉมใหม่! เชื่อมสถานีรถไฟฟ้าตลอดแนว “เจ้าพระยา”
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 15 มีนาคม 2561 - 10:17:
ปรับปรุง: 15 มีนาคม 2561 - 12:28:


เจ้าท่าผนึกเรือด่วนเปิดบริการรับ-ส่ง​คนถึงสถานีรถไฟฟ้า


วันที่ 15 มีนาคม 2561 - 11:58 น.

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่าได้ประชุมหารือ บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด เพื่อวางแผนพัฒนา การเดินเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยารูปแบบใหม่ อันเป็นการพัฒนาระบบคมนาคมการขนส่งผู้โดยสารทางน้ำ ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบัน และสามารถเชื่อต่อกับระบบขนส่งทางราง (รถไฟฟ้า)

ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำ ซึ่งในปัจจุบันบริษัทฯ ให้บริการเดินเรือ ตั้งแต่ท่าเรือปากเกร็ดถึงท่าเรือวัดราชสิงขร มีเรือให้บริการ 4 ประเภท อาทิ เรือโดยสารประจำทาง (ไม่มีธง) เรือด่วนพิเศษธงส้ม เรือด่วนพิเศษธงเหลือง และเรือด่วนพิเศษธงเขียว มีเรือที่ใช้งานอยู่ ทั้งสิ้น 59 ลำ เป็นแบบเรือ mono hull (ลำตัวเดี่ยว) ตัวเรือทำด้วยไม้ตะเคียน มีทั้งเรือโดยสาร 1 เครื่องยนต์ และเรือโดยสาร 2 เครื่องยนต์ ซึ่งบริษัทฯ มีแผนจะทำการยกระดับพัฒนาเรือโดยสารฯ ให้เป็นเรือลำตัวคู่ Catamaran วัสดุตัวเรือทำด้วยอะลูมิเนียม มีการออกแบบที่ก่อให้เกิดคลื่นน้อย และประหยัดพลังงาน มีความสะดวกสบายและทันสมัย มีความปลอดภัย มีระบบติดตามเรือ (GPS) และระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลในเบื้องต้น บริษัทจะสร้างเรือ จำนวน 6 ลำ เพื่อให้บริการตั้งแต่ ท่าเรือพระนั่งเกล้า ถึงท่าเรือสาทร เรือโดยสารรูปแบบใหม่นี้จะให้บริการรับส่งผู้โดยสารจำนวน 10 ท่าเรือ ซึ่งเป็นท่าเรือมีระบบขนส่งเชื่อมต่อทางราง อาทิ ท่าเรือพระนั่งเกล้า (รถไฟฟ้าสายสีม่วง) ท่าเรือบางโพ (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน) ท่าเรือราชินี (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน) และท่าเรือสาทร (รถไฟฟ้าสายสีเขียว) ซึ่งระยะเวลาเรือโดยสารรูปแบบใหม่จะให้บริการเดินเรือตั้งแต่เวลา 06.30 – 19.00 น. จำนวน 44 เที่ยว/วัน ความถี่ในการเดินเรือ ประมาณ 20-30 นาที /เที่ยว และที่สำคัญประชาชนสามารถประหยัดเวลาเดินทางจากท่าเรือต้นทางถึงท่าเรือปลายทาง จากปกติใช้เวลาประมาณ 45 นาที ทำให้ลดลงเหลือเวลาประมาณ 30 นาทีประหยัดเวลาได้ประมาณ 10-15 นาที มีความสะดวกและรวดเร็วเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ เรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยารูปแบบใหม่จะใช้เวลาในการต่อสร้างเรือประมาณ 8-10 เดือน พร้อมรองรับการต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2562 และต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้า BTS ที่ท่าเรือสาทรอีกด้วย โดยกรมเจ้าท่า จะกำหนดอัตราค่าโดยสารให้มีความเหมาะสม
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/03/2018 6:26 pm    Post subject: Reply with quote

ดันแผนแม่บทบูรณาพัฒนาระบบจราจรเมืองกรุง
เดลินิวส์ ศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2561 เวลา 14.40 น.

ดันแผนแม่บทบูรณาพัฒนาระบบจราจรกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพิ่มการเข้าถึงรถไฟฟ้า 34 จุด ครอบคลุมรถไฟฟ้า 6 สาย เดินทางประหยัดเวลามากกว่า 30 ชม. ต่อคนต่อปี

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.กระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการสัมมนารับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทบูรณาการพัฒนาระบบการจราจรในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลว่า ที่ผ่านมาได้ดำเนินการแก้ปัญหาจราจรในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ พัฒนาสถานีกลางบางซื่อ เพื่อเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ รถไฟความเร็วสูงและรถไฟระหว่างเมือง ซึ่งจะเปลี่ยนวิธีการเดินทางของคนในกรุงเทพฯ เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ต้องจัดการด้านอุปทาน ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า 10 เส้นทาง รถไฟชานเมือง รถไฟระหว่างเมือง และรถไฟความเร็วสูง ซึ่งทุกโหมดการเดินทางจะต้องได้รับความปลอดภัย ดังนั้นตามที่ปรึกษาได้ทำการศึกษาซึ่งจะมีปัญหาเรื่องโครงข่ายหลักที่ยังมีข้อจำกัดเรื่องถนน เพราะฉะนั้นต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางของคนให้หันมาใช้ระบบสาธารณะมากขึ้นกว่าการใช้รถยนต์ในการเดินทาง

นายอาคม กล่าวต่อว่า โดยรถเมล์และรถไฟฟ้าต้องมีเพียงพอ รวมทั้งการเข้าถึงบริการที่ปัจจุบันถนนมีซอกซอยจำนวนมาก ดังนั้นต้องตัดถนนใหม่เพื่อเป็นเส้นทางลัด และเกิดการเดินทางเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชน รวมทั้งเน้นระบบการเชื่อมต่อระหว่างระบบและระบบทางน้ำ ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีรถไฟฟ้าและรถเมล์ใช้ และอีกทางเลือกหนึ่งที่ประชาชนให้การเดินทางคือระบบทางน้ำมากขึ้น โดยเฉพาะการเดินทางเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เชื่อมต่อรถไฟฟ้าที่สถานีสาทร สถานีตากสินและสถานีพระนั่งเกล้า นอกจากนี้การจัดการด้านอุปสงค์ที่นำระบบเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการบริหารจราจร เช่น โมเดลสาทร โดยใช้ข้อมูลปัจจุบันเชื่อมต่อกับจำนวนแยกต่างๆ เน้นรูปแบบวิธีการปล่อยรถ โดยไม่ปล่อยรถตามความรู้สึก หรือปล่อยทีละด้าน ทำให้การจราจรเดินทางไม่ต่อเนื่อง

ด้านนายชยธรรพ์ พรหมศร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ขณะนี้แผนฯ ดังกล่าวอยู่ระหว่างร่างรายงานแผนฯ ผลการศึกษาพบว่ามีปัญหา 4 ข้อ คือ 1.ปัญหาการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะรถไฟฟ้า ทำให้ประชาชนใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในการเดินทางสร้างปัญหาการจราจรติดมากขึ้น มาตรการแก้ไขเชื่อมถนนสายหลักเข้ากับสายรองให้ประชาชนเดินทางเชื่อมต่อรถไฟฟ้ามากขึ้น เช่น ปรับปรุงถนนหรือสร้างสะพานข้าม 2.ปัญหาพื้นที่ปิดล้อมขนาดใหญ่ ถนนสายหลักปิดล้อมพื้นที่ขนาดใหญ่ เพราะจำนวนถนนชุมชนมีน้อย การเดินทางในชุมชนเดินทางอ้อมระยะทางไกลเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุหรือการจราจรติดขัดระหว่างถนนหลักใช้ความเร็วสูงกับรถที่เข้าออกจากซอย ซึ่งใช้ความเร็วต่ำ ต้องใช้มาตรการขยายโครงข่ายสายรองเพิ่มเปลี่ยนเป็นพื้นที่ปิดล้อมพอเหมาะเดินทางเข้าออกสะดวกมากขึ้น 3.การขาดความต่อเนื่องของโครงข่าย สภาพถนนปัจจุบันของพื้นที่ศึกษาวางระบบเน้นสร้างถนนสายหลักมากกว่าถนนายรอง เชื่อมไปถนนท้องถิ่นในชุมชน ทำให้ขาดช่วงโครงข่ายระบบขนส่ง ผู้ใช้ทางต้องใช้เส้นทางอ้อม รถติดในบริเวณกว้าง มาตรการพัฒนาโครงข่ายถนนสายรองในพื้นที่ให้ทุกเส้นเชื่อมต่อกัน สร้างความคล่องตัวพื้นที่โดยรวม และ 4.ปัญหาจราจรติดขัดบริเวณคอขวด เน้นทางร่วมทางแยก ช่องจราจรลด และไม่สม่ำเสมอและความจุทางแยกไม่พอ รอสัญญาณไฟนานเป็นอีกปัจจัยเกิดรถติดสะสม แก้ไขขยายช่องจราจร รวมทั้งสร้างสะพานข้ามทางแยกหรือทางลอด

นายชยธรรพ์ กล่าวต่อว่า จากการศึกษาครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และบางส่วนจองปริมณฑล วงแหวนกาญจนาภิเษก แนวโครงการรถไฟฟ้าของแผนพัฒนาระบบราง 10 เส้นทาง แบ่งเป็น 8 พื้นที่ แผนแม่บทดังกล่าว แบ่งเป็นแผนพัฒนา 3 ระยะ คือ ระยะ 1 ปี 62-64 ระยะ 2 ปี 65-66 และ ระยะ 3 ปี 67-72 หากโครงการเสร็จสิ้นในปี 72 ช่วยเพิ่มการเข้าถึงรถไฟฟ้า 34 จุด ครอบคลุมรถไฟฟ้า 6 สาย ทำให้เดินทางประหยัดเวลามากกว่า 30 ชม. ต่อคนต่อปี ลดความสูญเสียคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ ปี 72 ได้มากกว่า 5 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามผลการศึกษาแล้วเสร็จ เม.ย. จากนั้นนำเสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อนำเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ให้เห็นชอบแผน ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

ด้านผู้เข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้เห็นด้วยกับแผนดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดี แต่เพิ่มวินับการจราจร ระเบียบการจอดรถ และควรแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ให้นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการจราจร สร้างถนนให้มีความปลอดภัย เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางถนนและลดค่าใช้จ่ายในการรักษา รวมทั้งปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าให้ประชาชนผู้ที่มีรายได้น้อยเข้าถึงบริการอย่างประหยัดและรวดเร็ว และออกแบบระบบระบายน้ำให้ดี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 176, 177, 178 ... 277, 278, 279  Next
Page 177 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©