RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263823
ทั้งหมด:13575106
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 177, 178, 179 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/03/2018 6:26 pm    Post subject: Reply with quote

ดันแผนแม่บทบูรณาพัฒนาระบบจราจรเมืองกรุง
เดลินิวส์ ศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2561 เวลา 14.40 น.

ดันแผนแม่บทบูรณาพัฒนาระบบจราจรกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพิ่มการเข้าถึงรถไฟฟ้า 34 จุด ครอบคลุมรถไฟฟ้า 6 สาย เดินทางประหยัดเวลามากกว่า 30 ชม. ต่อคนต่อปี

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.กระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการสัมมนารับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทบูรณาการพัฒนาระบบการจราจรในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลว่า ที่ผ่านมาได้ดำเนินการแก้ปัญหาจราจรในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ พัฒนาสถานีกลางบางซื่อ เพื่อเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ รถไฟความเร็วสูงและรถไฟระหว่างเมือง ซึ่งจะเปลี่ยนวิธีการเดินทางของคนในกรุงเทพฯ เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ต้องจัดการด้านอุปทาน ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า 10 เส้นทาง รถไฟชานเมือง รถไฟระหว่างเมือง และรถไฟความเร็วสูง ซึ่งทุกโหมดการเดินทางจะต้องได้รับความปลอดภัย ดังนั้นตามที่ปรึกษาได้ทำการศึกษาซึ่งจะมีปัญหาเรื่องโครงข่ายหลักที่ยังมีข้อจำกัดเรื่องถนน เพราะฉะนั้นต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางของคนให้หันมาใช้ระบบสาธารณะมากขึ้นกว่าการใช้รถยนต์ในการเดินทาง

นายอาคม กล่าวต่อว่า โดยรถเมล์และรถไฟฟ้าต้องมีเพียงพอ รวมทั้งการเข้าถึงบริการที่ปัจจุบันถนนมีซอกซอยจำนวนมาก ดังนั้นต้องตัดถนนใหม่เพื่อเป็นเส้นทางลัด และเกิดการเดินทางเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชน รวมทั้งเน้นระบบการเชื่อมต่อระหว่างระบบและระบบทางน้ำ ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีรถไฟฟ้าและรถเมล์ใช้ และอีกทางเลือกหนึ่งที่ประชาชนให้การเดินทางคือระบบทางน้ำมากขึ้น โดยเฉพาะการเดินทางเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เชื่อมต่อรถไฟฟ้าที่สถานีสาทร สถานีตากสินและสถานีพระนั่งเกล้า นอกจากนี้การจัดการด้านอุปสงค์ที่นำระบบเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการบริหารจราจร เช่น โมเดลสาทร โดยใช้ข้อมูลปัจจุบันเชื่อมต่อกับจำนวนแยกต่างๆ เน้นรูปแบบวิธีการปล่อยรถ โดยไม่ปล่อยรถตามความรู้สึก หรือปล่อยทีละด้าน ทำให้การจราจรเดินทางไม่ต่อเนื่อง

ด้านนายชยธรรพ์ พรหมศร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ขณะนี้แผนฯ ดังกล่าวอยู่ระหว่างร่างรายงานแผนฯ ผลการศึกษาพบว่ามีปัญหา 4 ข้อ คือ 1.ปัญหาการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะรถไฟฟ้า ทำให้ประชาชนใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในการเดินทางสร้างปัญหาการจราจรติดมากขึ้น มาตรการแก้ไขเชื่อมถนนสายหลักเข้ากับสายรองให้ประชาชนเดินทางเชื่อมต่อรถไฟฟ้ามากขึ้น เช่น ปรับปรุงถนนหรือสร้างสะพานข้าม 2.ปัญหาพื้นที่ปิดล้อมขนาดใหญ่ ถนนสายหลักปิดล้อมพื้นที่ขนาดใหญ่ เพราะจำนวนถนนชุมชนมีน้อย การเดินทางในชุมชนเดินทางอ้อมระยะทางไกลเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุหรือการจราจรติดขัดระหว่างถนนหลักใช้ความเร็วสูงกับรถที่เข้าออกจากซอย ซึ่งใช้ความเร็วต่ำ ต้องใช้มาตรการขยายโครงข่ายสายรองเพิ่มเปลี่ยนเป็นพื้นที่ปิดล้อมพอเหมาะเดินทางเข้าออกสะดวกมากขึ้น 3.การขาดความต่อเนื่องของโครงข่าย สภาพถนนปัจจุบันของพื้นที่ศึกษาวางระบบเน้นสร้างถนนสายหลักมากกว่าถนนายรอง เชื่อมไปถนนท้องถิ่นในชุมชน ทำให้ขาดช่วงโครงข่ายระบบขนส่ง ผู้ใช้ทางต้องใช้เส้นทางอ้อม รถติดในบริเวณกว้าง มาตรการพัฒนาโครงข่ายถนนสายรองในพื้นที่ให้ทุกเส้นเชื่อมต่อกัน สร้างความคล่องตัวพื้นที่โดยรวม และ 4.ปัญหาจราจรติดขัดบริเวณคอขวด เน้นทางร่วมทางแยก ช่องจราจรลด และไม่สม่ำเสมอและความจุทางแยกไม่พอ รอสัญญาณไฟนานเป็นอีกปัจจัยเกิดรถติดสะสม แก้ไขขยายช่องจราจร รวมทั้งสร้างสะพานข้ามทางแยกหรือทางลอด

นายชยธรรพ์ กล่าวต่อว่า จากการศึกษาครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และบางส่วนจองปริมณฑล วงแหวนกาญจนาภิเษก แนวโครงการรถไฟฟ้าของแผนพัฒนาระบบราง 10 เส้นทาง แบ่งเป็น 8 พื้นที่ แผนแม่บทดังกล่าว แบ่งเป็นแผนพัฒนา 3 ระยะ คือ ระยะ 1 ปี 62-64 ระยะ 2 ปี 65-66 และ ระยะ 3 ปี 67-72 หากโครงการเสร็จสิ้นในปี 72 ช่วยเพิ่มการเข้าถึงรถไฟฟ้า 34 จุด ครอบคลุมรถไฟฟ้า 6 สาย ทำให้เดินทางประหยัดเวลามากกว่า 30 ชม. ต่อคนต่อปี ลดความสูญเสียคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ ปี 72 ได้มากกว่า 5 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามผลการศึกษาแล้วเสร็จ เม.ย. จากนั้นนำเสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อนำเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ให้เห็นชอบแผน ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

ด้านผู้เข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้เห็นด้วยกับแผนดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดี แต่เพิ่มวินับการจราจร ระเบียบการจอดรถ และควรแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ให้นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการจราจร สร้างถนนให้มีความปลอดภัย เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางถนนและลดค่าใช้จ่ายในการรักษา รวมทั้งปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าให้ประชาชนผู้ที่มีรายได้น้อยเข้าถึงบริการอย่างประหยัดและรวดเร็ว และออกแบบระบบระบายน้ำให้ดี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2018 11:08 am    Post subject: Reply with quote

เร่ง3บิ๊กโปรเจ็กต์กว่า4แสนล้าน

24 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 09:05 น.

สคร. ดัน 3 เมกะโปรเจ็กต์วงเงินลงทุนรวม 4.06 แสนล้านบาท เข้ามาตรการ PPP Fast Track หวังช่วยกระตุ้นแผนลงทุนเดินหน้ารวดเร็ว ประเมิน ต.ค. 2561 เคาะเลือกเอกชนลุยโครงการ

24 มี.ค. 61-นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ภายในปี 2561 จะมีการเสนอโครงการลงทุนภายใต้มาตรการ PPP Fast Track ให้คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) พิจารณา จำนวน 3 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม ประมาณ 4.06 แสนล้านบาท ได้แก่

1. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายนครปฐม-ชะอำ มูลค่าการลงทุนรวม 8.06 หมื่นล้านบาท

โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการกำหนดเวลาปรับปรุงรายงาน PPP แล้วเสร็จ และจะเสนอให้ รมว.คมนาคมพิจารณาและได้ข้อสรุปภายในเดือน เม.ย. 2561 และภายในเดือน ก.ค. คณะกรรมการ PPP จะมีการพิจารณาเห็นชอบ หลังจากนั้นในเดือน ส.ค. นี้ คาดว่าจะสามารถเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้ และภายในเดือน ต.ค. 2561 จะสามารถคัดเลือกบริษัทที่สนใจมารับเอกสารข้อเสนอ (Request for Proposal: RFP) เพื่อรับการคัดเลือกเป็นที่ปรึกษากำกับการดำเนินงานโครงการได้

2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-วงแหวนกาญจนาภิเษก วงเงินลงทุน 1.31 แสนล้านบาท โดยเบื้องต้นคาดว่าจะเสนอรายละเอียดโครงการทั้งหมดให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาเห็นชอบได้ภายในเดือน เม.ย. นี้ โดยระหว่างนี้คณะทำงานจะเร่งพิจารณารายละเอียดโครงการก่อนเสนอให้คณะกรรมการ PPP พิจารณาในเดือน ก.ค. 2561 และจะเสนอให้ ครม. พิจารณาอนุมัติโครงการภายในเดือน ส.ค. นี้ โดยคาดว่าจะสามารถคัดเลือกเอกชนที่จะมาดำเนินโครงการได้พร้อมกับโครงการทางพิเศษระหว่างเมือง สายนครปฐมชะอำ

“ก่อนหน้านี้ ครม. ได้มอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งเจรจาตกลงกับเอกชนผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงเหนือ เพื่อให้ได้ข้อสรุปในรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงร่วมกันของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงเหนือและสายสีม่วงใต้” นายเอกนิติ กล่าว

3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน – ศูนย์วัฒนธรรม มูลค่าการลงทุน 1.95 แสนล้านบาท คาดว่าจะสามารถเสนอให้ ครม. พิจารณาตามแผนมาตรการ PPP Fast Track ได้ภายในเดือน เม.ย. นี้ หลังจากนั้นจะเร่งเสนอให้ รมว.คมนาคมพิจารณา ก่อนส่งเรื่องให้คณะกรรมการ PPP พิจารณาอีกครั้ง และคาดว่าภายในเดือน ส.ค. นี้จะสามารถเสนอ ครม. พิจารณาในรายละเอียดได้ โดยจะสามารถคัดเลือกบริษัทที่สนใจมารับเอกสารข้อเสนอ (Request for Proposal: RFP) เพื่อรับการคัดเลือกเป็นที่ปรึกษากำกับการดำเนินงานโครงการได้ภายในเดือน ต.ค. เช่นเดียวกัน

“ทั้ง 3 โครงการลงทุนขนาดใหญ่นั้น ตามกรอบการดำเนินงานของมาตรการ PPP Fast Track จะมีระยะเวลาดำเนินการทั้งหมด 9 เดือน โดยมาตรการดังกล่าวจะช่วยให้โครงการลงทุนเดินหน้าได้เร็วขึ้น โดยกระบวนการตามมาตรการ PPP Fast Track จะจบก็ต่อเมื่อได้รายชื่อเอกชนที่จะมาลงนามในสัญญาก่อสร้าง หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่กระบวนการก่อสร้างต่อไป” นายเอกนิติ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 28/03/2018 9:49 pm    Post subject: Reply with quote

งานด่วน ผู้ว่า รฟม.คนใหม่ เร่งแจกสัมปทานรถไฟฟ้า 3 แสนล้าน
วันที่ 28 มีนาคม 2561 - 08:30 น.

สัมภาษณ์พิเศษ

หลังใช้เวลาเกือบปีในการสรรหา ในที่สุดคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ “ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ” รั้งเก้าอี้ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) คนที่ 6 เมื่อวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา

สำหรับ “ภคพงศ์” ปัจจุบันอายุ 54 ปี ดีกรีวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญาโทวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต Lamar University, U.S.A. เป็นลูกหม้อ รฟม.มีสไตล์การทำงานออกแนวบู๊ เติบโตตามสายงานก่อสร้าง จากตำแหน่งวิศวกรธรรมดา ได้เลื่อนชั้นเป็นรองผู้ว่าการด้านวิศวกรรมและก่อสร้าง จนได้รั้งเก้าอี้ใหญ่คุมงานก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 แสนล้าน

“ภคพงศ์” เปิดใจกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภารกิจแรกหลังรับตำแหน่งเม.ย.นี้ จะเร่งเปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 101,112 ล้านบาท แยกเป็น 6 สัญญา จะประกาศเชิญชวนกลางปีนี้ รวมถึงเร่งสายสีส้มตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ 90,271 ล้านบาทให้เริ่มต้นประกวดราคาภายในปีนี้

นอกจากนี้ จะเร่งเปิดประมูล PPP หาเอกชนเดินรถไฟฟ้า 2 สายทาง ได้แก่ สายสีส้มตลอดสายจากบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทาง 34.6 กม. วงเงิน 35,000-40,000 ล้านบาท ล่าสุดทางบริษัทที่ปรึกษาอยู่ระหว่างวิเคราะห์จะเป็นรูปแบบ PPP net cost คือ เอกชนรับสัมปทานเป็นผู้จัดเก็บรายได้และแบ่งรายได้ให้แก่ภาครัฐเหมือนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หรือ PPP gross cost ภาครัฐเป็นผู้จัดเก็บรายได้และจ้างเอกชนเดินรถ โดยจ่ายผลตอบแทนแบบกำหนดราคาเหมือนรถไฟฟ้าสายสีม่วง

“ยังไม่สรุป แต่สายสีม่วงใต้ ระยะทาง 23.6 กม. วงเงินกว่า 20,000 ล้านบาท เนื่องจากสายสีม่วงช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ เป็นรูปแบบ PPP gross cost โดย รฟม.จ้าง BEM เดินรถให้ 30 ปี ก็มีโอกาสสูงที่สายสีม่วงใต้จะใช้รูปแบบเดียวกัน เพื่อให้การเดินรถต่อเชื่อมกันด้วยเอกชนรายเดียว”

การจัดหาเอกชนร่วมลงทุน PPP ในส่วนของงานเดินรถ ด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ อาจจะใช้เวลาพอสมควร คาดว่าภายในเดือน มิ.ย.นี้จะนำการเดินรถของสายสีส้มให้ที่ประชุมคณะกรรมการ PPP พิจารณา จากนั้นไตรมาสที่ 3 จะเริ่มเปิดประกวดราคา ขณะที่สายสีม่วงใต้อาจจะล่าช้าออกไป 2 เดือน เนื่องจากบริษัทที่ปรึกษายังทำรายละเอียดไม่สมบูรณ์ แต่ยังไงจะเร่งเปิดประมูลภายในปีนี้

“ผู้ว่าการรถไฟฟ้าป้ายแดง” ยังบอกอีกว่า อีกหนึ่งภารกิจเฉพาะหน้า คือเร่งประสานกรมทางหลวงและกรุงเทพมหานคร ขอใช้พื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูแคราย-มีนบุรี กับสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง โดยจะเร่งเคลียร์ให้จบและส่งมอบพื้นที่ให้กลุ่มบีเอสอาร์ (บีทีเอส-ซิโน-ไทยฯ-ราชบุรีโฮลดิ้งส์) ผู้ลงทุนก่อสร้างโครงการภายในเดือน พ.ค.นี้ เพื่อเริ่มนับหนึ่งงานก่อสร้างตามสัญญา โดยทั้ง 2 โครงการพร้อมเปิดบริการในปี 2564

ขณะที่โครงการลงทุนในภูมิภาคจะเร่งลงทุนโมโนเรล จ.ภูเก็ต เป็นลำดับแรก ล่าสุดกำลังศึกษารูปแบบ PPP ให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน วงเงิน 23,499 ล้านบาท คาดว่าจะเสนอให้คณะกรรมการ PPP ภายในปีนี้

อีกทั้งยังจะต้องเร่งหารายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ควบคู่ไปด้วย ขณะนี้รอแก้ไขกฎหมายให้อำนาจ รฟม.สามารถนำที่ดินมีมูลค่าเกิน 10 ล้านบาท มาพัฒนาได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งได้นำเสนอข้อมูลไปยังคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติแล้ว

ตามแผนจะมีที่ดินศูนย์ซ่อมตรงพระราม 9 พื้นที่จอดแล้วจรตามสถานีที่อยู่กลางเมือง เช่น สามย่าน ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ รัชดาภิเษก พัฒนาเป็นคอมมิวนิตี้มอลล์เล็ก ๆ อีกทั้งยังมีโครงการ TOD นำที่ดินรอบสถานีมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ เช่น สถานีคลองบางไผ่ สถานีเพชรเกษม 48 สถานีมีนบุรี หรือพื้นที่จอดแล้วจรขนาดใหญ่ ๆ

“ภคพงศ์” ย้ำว่า การผลักดันงานให้เดินไปข้างหน้าได้ตามเป้าหมาย สิ่งสำคัญที่สุดคือองค์กรที่ต้องทำงานเป็นทีม เป็นหนึ่งเดียวกัน ต้องเปิดใจ และจะไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งขั้วเหมือนที่ผ่านมา
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/04/2018 8:35 am    Post subject: Reply with quote

‘อีเอ็มวี’ลดต้นทุน 50% เลื่อนใช้ตั๋วร่วม 4 เดือน
กรุงเทพธุรกิจ 4 เม.ย. 61 นโยบายเศรษฐกิจ

“คมนาคม” ไฟเขียวเทคโนโลยีอีเอ็มวี รองรับการใช้บัตรเครดิต-เดบิตจ่ายค่าโดยสาร คาดช่วยงบลงทุนลง 2,000 ล้านบาทและเริ่มใช้ได้จริงเดือน ธ.ค. 2562 ส่วนระบบตั๋วร่วมแบบเดิมต้องเลื่อนไปอีก 4 เดือน คาดเริ่มใช้ได้เดือน ต.ค. ปีนี้

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม (ตั๋วแมงมุม) วานนี้ (3 เม.ย.) ว่าได้เห็นชอบหลักการให้นำเทคโนโลยีอีเอ็มวี(Europay, Master Card,Visa) มาใช้ในระบบ เพื่อรองรับการจ่ายค่าโดยสารผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต และบัตรเติมเงิน (Pre-paid) ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารและประหยัดงบลงทุน

เบื้องต้นคาดว่าเทคโนโลยีอีเอ็มวีจะลดวงเงินการพัฒนาระบบตั๋วร่วม 50%ในระยะเวลา 20 ปี จากเดิมอยู่ที่ 4 พันล้านบาท เหลือ 2 พันล้านบาท เนื่องจากไม่มีต้นทุนการบริหารจัดการค่าโดยสารและต้นทุนในการออกบัตร เพราะธนาคารและสถาบันการเงินจะเป็นผู้ออกบัตรอีเอ็มวี ทั้งหมด

โดยที่ประชุมให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ (รฟม.) ไปดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายคือ เสนอแนวทางการใช้เทคโนโลยีอีเอ็มวีให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ รวมทั้งดำเนินการติดตั้ง ปรับปรุงระบบซอฟท์แวร์และเครื่องอ่านบัตรให้เรียบร้อย คาดว่าจะเริ่มใช้ได้ตั้งแต่เดือน ธ.ค. ปี 2562 เป็นต้นไป

อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมไม่ได้ยกเลิกตั๋วร่วมหรือตั๋วแมงมุมแบบเดิม โดย สนข. ได้จัดทำบัตรแมงมุมออกมาแล้ว 2 แสนใบ คาดว่าจะเริ่มนำมาใช้ได้พร้อมกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจำนวน 1.3 แสนใบ และบัตรเอ็มอาร์ทีพลัสตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. นี้ ซึ่งจะใช้ในการเดินทาง 4 ระบบ คือ รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงเตาปูน-หัวลำโพง รถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชน (รถเมล์ขสมก.) จำนวน 2,600 คัน รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และอยู่ระหว่างเจรจาเพื่อใช้ในรถไฟฟ้าสีเขียว (BTS)

“ในอนาคตใครถือบัตรอีเอ็มวีหรือมีบัตรเครดิต ทั้งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศก็สามารถใช้บัตรแตะชำระค่าโดยสารในระบบตั๋วร่วมในไทยได้ครบทุกโหมดการเดินทาง ใช้บัตรเดียวเที่ยวได้ทั่วโลกเพียงแต่มีบัตรเครดิต” นายชัยวัฒน์ กล่าว

สำหรับระบบอีเอ็มวี ปัจจุบันได้รับความนิยมในหลายประเทศ เช่น ในอังกฤษ สิงคโปร์ เพราะเป็นเครือข่ายของวีซ่าและมาสเตอร์การ์ด โดยปัจจุบันระบบบัตรเครคิตในโลก 90% เป็นระบบอีเอ็มวี ส่วนในประเทศไทยพบว่ามีผู้ถือบัตรเครดิตในระบบอีเอ็มวีมากถึง 70 ล้านใบ แบ่งออกเป็น บัตรเดบิต 50 ล้านใบ และบัตรเครดิต 20 ล้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงคมนาคมได้เลื่อนการเปิดให้บริการตั๋วร่วมแบบเดิมออกไปอีก 3 เดือน เป็นวันที่ 1 ต.ค. 2561 จากเป้าหมายเดิมคือ รถเมล์ ขสมก. จะเปิดให้บริการทั้งหมด 2,600 คันในเดือน มิ.ย. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดให้บริการเดือน ส.ค. รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 3 สายเปิดให้บริการเดือน พ.ย. นี้

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า รฟม. อยู่ระหว่างเจรจาขอพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร วงเงิน 53,519 ล้านบาทและรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร วงเงิน 51,931ล้านบาท จากกรมทางหลวง (ทล.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) เนื่องจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าจะกระทบต่อพื้นผิวจราจร

โดย รฟม. ต้องรวบรวมพื้นที่ให้ได้ 95% จากนั้นจึงส่งมอบให้ผู้รับสัมปทานคือ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture)เริ่มต้นก่อสร้าง ซึ่งขณะนี้คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้เร็วที่สุดในเดือน มิ.ย.อย่างไรก็ตาม สัญญาไม่ได้กำหนดให้ รฟม. ต้องจ่ายค่าชดเชยให้เอกชน ในกรณีที่ รฟม. ส่งมอบพื้นที่ล่าช้า แต่ถ้าเอกชนต้องการเรียกร้องค่าเสียหายจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ก็ต้องดำเนินตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ 2560 (PPP)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 04/04/2018 11:03 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
‘อีเอ็มวี’ลดต้นทุน 50% เลื่อนใช้ตั๋วร่วม 4 เดือน
กรุงเทพธุรกิจ 4 เม.ย. 61 นโยบายเศรษฐกิจ


อัพ"ตั๋วร่วม"ใช้เหมือนบัตรเครดิต
อังคารที่ 3 เมษายน 2561 เวลา 18.43 น.

เตรียมนำอระบบเทคโนโลยีบัตร EMV (Euro/ MasterCard และ Visa) หรือระบบบัตรเครดิตดิจิทัลใช้ร่วมระบบตั๋วร่วม ช่วยประหยัดงบลงทุนลง 2 พันล้านบาท เลื่อนเปิดใช้ไปเดือนต.ค.

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม(บัตรแมงมุม) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการให้นำระบบเทคโนโลยีบัตร EMV (Euro/ MasterCard และ Visa) หรือระบบบัตรเครดิตดิจิทัลที่เป็นสากลมีใช้กันทั่วโลกมาใช้ร่วมในระบบตั๋วร่วม ตามที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เสนอ ซึ่งไม่ได้เป็นการเปลี่ยนระบบ แต่อัพเกรดระบบบัตรแมงมุมจาก 2.0 เป็น 4.0 โดยมอบหมายให้ รฟท.ไปดำเนินการตามขั้นตอนและกฎหมายต่างๆ รวมถึงออกแบบซอฟแวร์และปรับปรุงเครื่องอ่านบัตรให้สามารถอ่านบัตรได้ทั้งบัตรเดบิต บัตรเติมเงิน และบัตร EMV จากนั้นจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบต่อไป

ผอ.สนข.กล่าวต่อว่า การนำเทคโนโลยีบัตรEMV มาใช้กับระบบตั๋วร่วมจะทำช่วยประหยัดงบประมาณลงทุนลงได้ถึง 50% จาก4,000 ล้านบาท เหลือแค่ 2,000 ล้านบาท เนื่องจากไม่ต้องมีเครื่องจำหน่ายตั๋วแล้ว ทั้งนี้การใช้บัตรเดบิตและบัตรเติมเงินและบัตรแมงมุมเดิมที่มีอยู่แล้วจำนวน 200,000 ใบ ที่จะนำมาใช้จำหน่ายให้กับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ จะสามารถใช้ในการเดินทางระบบขนส่งสาธารณะนำร่องใน 4 ประเภท ได้แก่ รถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) ขสมก. ซึ่งจะติดระบบอีทิตเก็ตให้ครบ 2,600 คัน รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ในวันที่ 1 ต.ค.นี้ ส่วนเทคโนโลยีบัตร EMVจะนำใช้ได้ในเดือนธ.ค.62 สำหรับการเรียกเก็บเงินของบัตร EMVก็จะเหมือนกับบัตรเครดิตทั่วไปที่เรียกเก็บตามรอบบัญชีเป็นรายเดือน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีการออกบัตรเดบิต 50 ล้านใบและบัตรเครดิต 20 ล้านใบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงคมนาคมได้เลื่อนการเปิดให้บริการตั๋วร่วมออกไปเป็นเดือน ต.ค. 61 จากเป้าหมายเดิมคือ รถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) ขสมก. จะเปิดให้บริการทั้งหมด 2,600 คันในเดือน มิ.ย.61, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดให้บริการเดือน ส.ค.61, รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 3 สายเปิดให้บริการเดือน พ.ย.61 
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/04/2018 8:35 pm    Post subject: Reply with quote

เมกะโปรเจ็กต์คมนาคมเนื้อหอม ต่างชาติสนใจลงทุน PPP หลายโครงการบก-ราง-น้ำ-อากาศ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 4 เมษายน 2561 - 13:06 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ปัจจุบันหอการค้าจากต่างประเทศ เช่น อิตาลี, ฝรั่งเศส, สหภาพยุโรป, เนเธอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา ให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง เพราะส่วนใหญ่มีความเชื่ยวชาญ แต่ขอพิจารณาถึงการเปิดกว้างของประเทศไทยก่อน แม้ว่าประเทศไทยจะมี พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ 2556 แล้วก็ตาม

“ทางเราพยายามแจ้งให้ทราบเป็นระยะว่า ได้มีการปรับปรุงให้มีความยืดหยุ่นอยู่ตลอดเวลา แต่ต้องพิจารณาด้วยว่าจะสามารถยืดหยุ่นได้แค่ไหน เพราะบ้านเราร่างกฎหมายแบบมองจากข้างในไปข้างนอก ”

อย่างไรก็ตาม หากภาคเอกชนมีความคิดที่ใหม่ๆ ที่ทำให้โครงการมีความคุ้มค่ามากขึ้น ก็สามารถเสนอเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กำหนดใน TOR ได้ เช่น ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย – มีนบุรี) ก็มีภาคเอกชนเสนอให้ทำทางเชื่อมเข้าไปในอิมแพค เมืองทองธานี เพื่อเพิ่มมูลค่าของโครงการ เป็นต้น คาดว่าตัว พ.ร.บ. PPP ฉบับใหม่น่าจะยืดหยุ่นมากขึ้น แต่ไม่แน่ใจว่าจะบังคับใช้ได้เมื่อไหร่ แต่ทางกระทรวงคมนาคมได้เตรียมการไว้แล้ว

ส่วนโครงการที่ทางหอการค้าต่างประเทศให้ความสนใจก็มีหลายโครงการและทุกประเภททั้งระบบราง ท่าเรือ สนามบิน รวมไปถึงสมาร์ทซิตี้ด้วย เช่น การลงทุนระบบ O&M ของมอเตอร์เวย์สาย 6 (บางปะอิน – นครราชสีมา) และ สาย 81 (บางใหญ่ – กาญจนบุรี)

และมีโครงการที่ให้เอกชนทำ 100% อย่างมอเตอร์เวย์สายนครปฐม-ชะอำ ระยะทาง 109 กิโลเมตร วงเงิน 6.3 หมื่นล้านบาท แต่ทางต่างประเทศก็มีข้อกังวลกลับมาว่า ถ้าให้เอกชนทำ รัฐบาลจะค้ำประกันแหล่งเงินให้หรือไม่ เพราะเป็นภาระของเอกชนที่ต้องไปหาแหล่งเงินทุนเอง ซึ่งส่วนใหญ่โครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน รัฐบาลก็ค้ำประกันให้อยู่แล้ว

ส่วนโครงการที่เร่งจะเปิดประมูล PPP ปีนี้ ก็มีหลายโครงการ จะมีโครงการมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน – นครราชสีมา ระยะทาง 196 กม. เงินลงทุน 8.4 หมื่นล้านบาท, มอเตอร์เวย์สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กม. เงินลงทุน 5.5 หมื่นล้านบาท, รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ – ดอนเมือง – อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 2.9 แสนล้านบาท, ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 มีพื้นที่ 6,340 ไร่ เงินลงทุน 1.55 แสนล้านบาท, โครงการรถไฟสายสีส้มศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทาง 39.6 กม. เงินลงทุน 7.92 หมื่นล้านบาท ซึ่งแต่ละโครงการจะพยายามเร่งให้ได้ภายในปีนี้ทั้งหมด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/04/2018 8:33 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมจ่อผุดรถไฟฟ้าสายรอง “รังสิต-ธัญบุรี” เชื่อมสายสีแดง-พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 6 เมษายน 2561 - 17:16 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้พิจารณาแนวทางการเชื่อมต่อการเดินทางกับพื้นที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนมากที่สุด เนื่องจากพิพิธภัณฑ์ฯ ตั้งอยู่ภายในพื้นที่เทคโนธานี ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมากกว่า 1 ล้านคน/ปี

รวมทั้งมีหน่วยงานภาครัฐหลายแห่งที่มีภารกิจให้บริการเยาวชนและประชาชน ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ หออัครศิลปิน และหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ

ทั้งนี้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้เสนอแนวทางการเชื่อมต่อการเดินทางพิพิธภัณฑ์ฯ ด้วยการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสายรอง เพื่อให้เชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ – รังสิต เส้นทางรังสิต – ธัญบุรี และต่อขยายเส้นทางไปยังพิพิธภัณฑ์ฯ

พร้อมกับจัดรถโดยสาร Shuttle Bus เส้นทางถนนลำลูกกา – ถนนรังสิต-นครนายก เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – คูคต ที่สถานีคูคต ซึ่งกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) จะพิจารณาแนวเส้นทางและความเป็นไปได้ของผู้ให้บริการเดินรถในเส้นทางเชื่อมต่อดังกล่าว ก่อนดำเนินการออกใบอนุญาตเดินรถต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 09/04/2018 3:20 pm    Post subject: Reply with quote

เคาะ ส.ค.พิมพ์เขียวรถไฟฟ้าเฟส 2 คมนาคมเล็งดึง 5 สาย บรรจุในแผนเน้นเชื่อมซับเซ็นเตอร์
วันที่ 9 เมษายน 2561 - 14:22 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันทึ่ 9 เม.ย.2561 ได้ติดตามความคืบหน้าการจัดทำแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 (M-MAP 2) ร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ซึ่งผลศึกษามีความก้าวหน้าโดยลำดับ

ขณะนี้กำลังเร่งรัดให้โครงการตามแผนแม่บทระยะที่ 1 ได้รับการปฏิบัติจริงทั้งหมดก่อน ซึ่งตอนนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (เตาปูน – ราษฎร์บูรณะ) กำลังอยู่ในขั้นตอนของการประกวดราคา ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก (ตลิ่งชัน – ศูนย์วัฒนธรรม) อยู่ระหว่างการรอเสนอเข้าคณะกรรมการ PPP

สำหรับตัว M-MAP2 วางไว้ว่า จะเน้นส่วนที่เป็น Sub-Center หรือศูนย์ย่อยรอบเมืองใน 3 จุดสำคัญ คือ 1.สถานีกลางบางซื่อ ที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมในอนาคต 2.บริเวณมักกะสัน และ 3.สถานีแม่น้ำ ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีแผนพัฒนาพื้นที่อยู่ ก็จะดูว่าสามารถนำระบบขนส่งใดเชื่อมต่อเข้าไปได้บ้าง เมื่อศึกษาเสร็จแล้ว ก็ไปสู่การทำรายละเอียดในแต่ละเส้นทางต่อไป


เบื้องต้น กำลังจะพิจารณาที่จะนำสายสีน้ำตาล (แคราย – ลำสาลี), สายสีเทา (วัชรพล – พระราม 9), สายสีทอง (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี – คลองสาน – ประชาธิปก) และโครงการรถไฟฟ้าบางนา – สุวรรณภูมิ เข้ามาอยู่ในแผน M-MAP2 นี้ด้วย แต่ทั้งนี้ อาจจะมีการปรับแก้ได้อีก เพราะสถานการณ์ของการใช้ที่ดินของกรุงเทพมหานครเปลี่ยนแปลงไปมาก

“บางเส้นทางอาจจะไม่ได้มีเพียงระบบรถไฟฟ้า อาจจะมีรถเมล์บ้างก็ได้ เพราะดีมานด์ยังไม่พอ จึงขอทางไจก้าให้พิจารณาตรงนี้ด้วย บางพื้นที่อาจจะมีดีมานด์เพียงพอ แต่ไม่คุ้มที่จะลงทุนก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นระบบอื่น ผสมกันหลายอย่าง เพื่อเติมเต็มระบบโครงข่ายการเดินทางของประชาชน”

นายอาคมกล่าวต่อว่า ในวันที่ 30 เม.ย.นี้ จะจัดสัมมนาเพื่อรายงานความก้าวหน้าของการศึกษา ก่อนที่จะสรุปผลในเดือน ส.ค.นี้ จากนั้นก็จะนำผลการศึกษาที่ทางไจก้าจัดทำมาพิจารณาทบทวนกันอีกรอบ เพราะยังมีเวลาก่อนที่โครงการตามแผนแม่บทระยะที่ 1 จะแล้วเสร็จในปี 2568

ด้านนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ภาพรวมของ M-MAP 2 จะเน้นการระบายความหนาแน่นของประชาชนในการใช้บริการระบบขนส่งมวลชนที่มีอยู่เดิมในกรุงเทพฯ เนื่องจากระบบรถไฟฟ้าแต่ละสายทั้งสายสีเขียว สีน้ำเงิน และสีม่วง มีปริมาณคนใช้เพิ่มมากขึ้น

ส่วนใหญ่จะเชื่อมต่อกับโครงการหลักในแผน M-MAP 1 เดิม ในลักษณะแตกเป็นแขนงแตกออกมา โดยจะเน้นโมโนเรลและระบบรางเบามากขึ้น เมื่อทำแผนแล้วเสร็จ แต่ละหน่วยงานก็สามารถนำไปพิจารณาเพื่อจัดทำลงท้องถิ่นของตัวเองก็ได้

ส่วนความคืบหน้าของการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย – ลำสาลี) ขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการศึกษาความเหมาะสมของการก่อสร้างอยู่ หากผลการศึกษาแล้วเสร็จ ก็จะเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ต่อไป ส่วนจะนำมาบรรจุในแผน M-MAP 2 ต้องรอผลการศึกษาความเหมาะสมก่อน และต้องรอให้สายหลักที่กำลังก่อสร้างในขณะนี้เสร็จก่อนด้วย

“ตอนนี้รัฐบาลพยายามขับเคลื่อนโครงการในแผน M-MAP 1 ให้สำเร็จ ทุกอย่างอยู่ในไทม์ไลน์หมดแล้ว แต่ก็ต้องคิด M-MAP 2 เอาไว้ก่อน อาจจะใช้ใน 15 – 20 ปีข้างหน้า เพราะต้องขับเคลื่อนโครงการใน M-MAP1 ให้ครบและพร้อมใช้บริการทั้งโครงข่ายก่อนทั้งหมดก่อน คาดว่าประมาณปี 2568 นี้จึงจะครบทั้งหมด”

นายชัยวัฒน์ยังระบุอีกว่า นายอาคมฝากการบ้านให้ไจก้าเพิ่มเติมว่า ต้องการให้ศึกษาถึงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ที่ได้รับการก่อสร้างด้วย เพราะปัจจุบันมีพื้นที่แปลงใหญ่ในกรุงเทพฯที่มีศักยภาพเกิดขึ้นหลายพื้นที่ มีความสามารถที่จะพัฒนาได้ เช่น บริเวณสถานีแม่น้ำ ที่ร.ฟ.ท.สามารถนำพื้นที่ดังกล่าวมาพัฒนาได้ ไม่ใช่คิดถึงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าอย่างเดียว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 10/04/2018 9:49 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคม ชู 3 สถานีรถไฟฟ้าเป็นฮับ สร้างเส้นทางเชื่อมจากกลางเมืองไปเมืองรอง

วันที่ 9 เมษายน 2561 - 20:12 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับคณะผู้แทนไจก้า เกี่ยวกับความคืบหน้าแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพฯ และปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 (M-MAP2) ว่า สำหรับแผนแม่บท M-MAP2 นั้น มีกำหนดวิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นพัฒนากรุงเทพฯ และปริมณฑล (Bangkok Metropolitan Region: BMR) สู่เมืองชั้นนำอย่างยั่งยืนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเนื่องจากการจราจรติดขัด และทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่น่าอยู่และน่าสนใจด้วยอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม

โดยมีทิศทางนโยบายและมาตรการสำคัญในการพัฒนาแผนแม่บท M-MAP2 ดังนี้

1. เพิ่มเครือข่ายและความสามารถในการรองรับการคมนาคมขนส่ง เพื่อให้สอดรับกับทำเลที่พักอาศัยของประชาชนในปัจจุบันและในอนาคต รวมถึงการพัฒนาร ะบบขนส่งมวลชนให้มีการเชื่อมโยงระหว่างใจกลางเมืองและเมืองรอง (Sub- Center) โดยกำหนดพื้นที่ในรัศมี 40 20 และ 10 กิโลเมตร โดยมีสถานีสยาม สีลม มักกะสัน และพระราม 9 เป็นสถานีศูนย์กลาง และเสนอแนวทางการศึกษาโดยวางแผนบนพื้นฐานของ
(1) แผนงานโครงสร้างภูมิภาค
(2) การเติบโตของปริมาณประชากร และ
(3) ปริมาณอุปสงค์/อุปทานในพื้นที่

2. การเพิ่มการเข้าถึง ความสะดวก และความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ
3. การเชื่อมโยงระหว่างสถานีและการพัฒนาพื้นที่โดยรอบตามแนวเส้นทางรถไฟ รวมถึงบูรณาการการพัฒนาพื้นที่โดยรอบด้วย
4. การส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ โดยการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและการบริการรถโดยสารประจำทาง นโยบายด้านอัตราค่าโดยสาร และมาตรการในการเชื่อมต่อระบบขนส่ง
5. การเพิ่มการเข้าถึงสนามบิน (Global Gateways) โดยพิจารณาจากปัจจัยด้านเวลาและความสะดวก รวมถึงการจัดเตรียมเส้นทางทางเลือกเพื่อเดินทางสู่สนามบิน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 10/04/2018 11:57 am    Post subject: Reply with quote

บัตรแมงมุมช้า! บัญชีกลางไม่จ่าย
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันที่ 9 เมษายน 2561 - 05:15
นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางจะไม่จ่ายเงินค่าอุดหนุนบริการรถเมล์ฟรีแก่ประชาชนให้กับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เนื่องจากระบบออนไลน์ระหว่าง ขสมก.กับกรมบัญชีกลาง ไม่สามารถเชื่อมกันได้ หลังกระทรวงการคลังเดินหน้าโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจน เมื่อวันที่ 1 ต.ค.60 โดยได้เริ่มใช้ตั้งแต่ วันที่ 17 ต.ค.เป็นต้นไป ยกเว้น 7 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ นครปฐม และสมุทรสาคร เนื่องจากประชาชน 1.3 ล้านคน ใน 7 จังหวัด จะได้รับบัตรสวัสดิการฯแบบ Hybrid 2 Chips หรือบัตรแมงมุม ที่สามารถใช้ชำระค่าสินค้าและค่าโดยสาร ขสมก. และรถไฟฟ้าภายในวงเงิน 500 บาทต่อเดือน “ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการเมื่อ 17 ต.ค. จนถึงขณะนี้กรมบัญชีกลางยังไม่ได้ จ่ายเงินให้ ขสมก.เลย หลัง ครม.ได้ยกเลิกรถเมล์ฟรี แล้วเปลี่ยนมาใช้บัตรคนจนแทน โดยคนที่ถือบัตรคนจนแบบ Hybrid 2 Chips ต้องมารูดบัตรที่เครื่องรับบัตรที่อยู่ภายในรถ ขสมก. ถึงจะได้รับยกเว้นไม่เสียค่ารถเมล์ แต่จนถึงขณะนี้เครื่องรูดบัตร ของ ขสมก.ยังติดตั้งไม่เรียบร้อย ทำให้ ขสมก.ไม่สามารถเชื่อมการเบิกจ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลางได้”

นางสาวสุทธิรัตน์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาคมนาคมได้แก้ไขเรื่องนี้ โดยอนุมัติให้ ขสมก.ไม่เก็บค่าโดยสารรถเมล์กับประชาชนที่โชว์ บัตรคนจน โดยสัญญาว่ารถเมล์จะติดตั้งเครื่องรูดบัตรแบบ Hybrid 2 Chips ใน 6 เดือนหรือสิ้นสุดไปแล้วเมื่อ มี.ค.61 และยังสัญญา ว่า เดือน มิ.ย.ปีนี้ จะนำบัตรไปใช้กับรถไฟฟ้าได้ด้วย ทั้งนี้ นับแต่ เริ่มบัตรสวัสดิการคนจนเมื่อ ต.ค.60 ถึง มี.ค.61 ได้เบิกจ่ายเงินงบประมาณไปแล้ว 19,000 ล้านบาท ร้านธงฟ้าประชารัฐเบิกมากที่สุด 18,800 ล้านบาท รถไฟ 108 ล้านบาท บขส. 59 ล้านบาท ร้านค้าก๊าซ 21 ล้านบาท ขณะที่ ขสมก.ไม่มีการเบิกจ่าย.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 177, 178, 179 ... 278, 279, 280  Next
Page 178 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©