RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181343
ทั้งหมด:13492578
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 178, 179, 180 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/04/2018 7:24 am    Post subject: Reply with quote

อัพเดตก่อสร้างรถไฟฟ้า! คืบหน้ากันไปมากน้อยเพียงใด?
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 12 เม.ย. 2561 05:30

โครงการรถไฟฟ้าใยแมงมุมในเมืองหลวง จัดเป็นอภิมหาโปรเจกต์ของชาวกรุงเทพฯและปริมณฑลที่รอคอยมานานแสนนาน กว่าบุพเพสันนิวาสดวงชะตามาบรรจบให้โครงการก่อสร้างเกิด และผุดเป็นดอกเห็ด เห็นเป็นเรื่องเป็นราว เดินเครื่องก่อสร้างกันอย่างจริงจัง ก็เพิ่งจะมาเกิดในยุคสมัยที่มี ฯพณฯ นายกฯบิ๊กตู่ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งหลายๆคนที่มีรถไฟฟ้าผ่านหน้าบ้าน หรือผ่านที่ทำงาน ก็กำลังสัมผัสได้กับความหวังรางๆ ที่มาพร้อมกับปัญหารถติดวินาศสันตะโร

ถนนสายสำคัญอย่างถนนแจ้งวัฒนะ ถนนลาดพร้าว ถนนรามอินทรา ถนนรามคำแหง ถนนพหลโยธิน ที่กำลังปิดช่องทางจราจรเพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าขณะนี้ ได้ซ้ำเติมจากเดิมติดเป็นอัมพฤกษ์กันอยู่แล้ว ให้กลายเป็นอัมพาตไปทั้งสาย อย่างไรก็ตาม หน้าเศรษฐกิจไทยรัฐ เลยอาสาขอพาไปสำรวจอัพเดตการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่างๆ รวมถึงอีกหลายสายที่ยังไม่เริ่มตอกเสาเข็ม ว่าคืบหน้ากันไปมากน้อยเพียงใด

มาเริ่มกันที่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ เป็นโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าใต้ดินที่เดิมสิ้นสุดที่บางซื่อและหัวลำโพง ให้วิ่งผ่าเมืองเชื่อม 2 ฝั่งพระนครและกรุงธนบุรีเข้าด้วยกัน โดยมีทั้งในส่วนเส้นทางลอยฟ้า ใต้ดิน และอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 27 กม. รวม 21 สถานี ซึ่งการก่อสร้างเส้นทางนี้มีความยืดเยื้อที่สุดสายหนึ่ง เพราะเริ่มกันตั้งแต่ปี 2554 หรือเมื่อ 7 ปีที่แล้ว แถมระหว่างทางก็ประสบปัญหามากมาย ทั้งการเกิดมหาอุทกภัยใหญ่ในปี 54 จนทำให้การก่อสร้างต้องหยุดชะงัก

อีกทั้งโครงการยังต้องใช้เทคนิคการก่อสร้างชั้นสูงทำอุโมงค์ลอดผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาจึงใช้เวลาเยอะ อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ความฝันของคนทั้ง 2 ฝั่งก็ใกล้เป็นจริงแล้ว เมื่องานการก่อสร้างงานโยธาเสร็จไป 98.09% ขณะที่งานระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถ มีความคืบหน้า 36% ซึ่งภายในปีหน้า 2562 จะเปิดใช้ช่วงหัวลำโพง-บางแคได้ก่อน จากนั้นในปีถัดไป 2563 ก็จะเริ่มเปิดช่วงบางซื่อ-ท่าพระได้

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (เหนือ) ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เป็นโครงการหนึ่งที่สร้างความสาหัสทางจราจรให้กับพี่น้องฝั่งทางเหนือของเมืองหลวง เพราะนอกจากรถจะติดถนนพหลโยธินจากจตุจักรยาวไปถึงสายไหมแล้ว ยังกระทบไปถึงถนนวิภาวดีรังสิตอีกด้วย ซึ่งโครงการมีทั้งสิ้น 16 สถานี เริ่มก่อสร้างกันตั้งแต่ปี 2558 ตามแนวเส้นทางจากรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีหมอชิต ผ่านห้าแยกลาดพร้าว มุ่งสู่แยกรัชโยธิน ไปตามถนนพหลโยธิน ไปสิ้นสุดที่คูคต ซึ่งขณะนี้การก่อสร้างราบรื่นดี งานโยธาคืบหน้ากว่า 60.86% คาดจะสร้างเสร็จปี 2562 แต่กว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้จริงก็ต้องรอปี 2563 โน่น

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรม แห่งประเทศไทย-มีนบุรี โครงการเริ่มก่อสร้างไปตั้งแต่เดือน พ.ค.2560 ปัจจุบันการก่อสร้างงานโยธาคืบกว่า 7.72% ซึ่งถือว่าหนทางยังอีกยาวไกล โดยเส้นทางก่อสร้างมีทั้งใต้ดินและลอยฟ้า ประกอบด้วย 17 สถานี แนวเส้นทางเริ่มก่อสร้างแบบใต้ดินจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมเป็นแบบรถใต้ดิน ก่อนเข้าสู่ถนนพระราม 9 ไปถนนรามคำแหง ก่อนถึงจุดตัดถนนศรีบูรพา เพื่อยกระดับลอยฟ้าไปตามแนวเกาะกลางสิ้นสุดถนนสุวินทวงศ์ ดังนั้นการที่สร้างทั้งใต้ดินและบนฟ้าทำให้ระยะเวลาการก่อสร้างจะกินเวลานาน พี่น้องย่านถนนรามคำแหง พระรามเก้า และเส้นทางใกล้เคียง คงต้องจำใจรับสภาพปัญหารถติดไปไม่ต่ำกว่า 5 ปี เพราะตามแผนสายสีส้มนี้จะเปิดให้บริการได้ก็ปี 2566

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เพิ่งเริ่มลงมือเข้า พื้นที่ก่อสร้างสดๆร้อนๆ เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ มีระยะทาง 36 กม. จำนวน 30 สถานี โดยจะสร้างเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว โมโนเรล หรือเป็นทางรถไฟฟ้าขนาดเล็กกว่าทางปกติที่เป็นทางคู่ ทำให้ระยะเวลาก่อสร้างใช้ไม่นานนักเพียงแค่ 3-4 ปีเท่านั้น ซึ่งเส้นทางเริ่มต้นจากหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี วิ่งเข้า ถ.ติวานนท์ ผ่านถนนแจ้งวัฒนะ พุ่งตรงสู่ถนนรามอินทรา จนถึงแยกมีนบุรี สิ้นสุดที่แยกร่มเกล้า อย่างไรก็ดี ปัจจุบันโครงการเพิ่งเริ่มตั้งไข่ อยู่ ระหว่างดำเนินการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคเพื่อเตรียมการก่อสร้าง กว่าจะเปิดใช้ได้ต้องปี 2564

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง มีกำหนดการก่อสร้างใกล้เคียงกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู โดยก่อสร้างเป็น รถลอยฟ้าทั้งหมด 23 สถานี ระยะทาง 30.4 กม. แนวเส้นทางเริ่มต้น ที่จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าใต้ดินที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว วิ่งไปจนถึงทางแยกบางกะปิ ถนนศรีนครินทร์ ถนนเทพารักษ์ สิ้นสุดที่ถนนปู่เจ้าสมิงพราย ซึ่งความคืบหน้าปัจจุบันอยู่ระหว่างการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคเพื่อเตรียมก่อสร้าง และกำหนดเปิดให้บริการภายในปีเดียวกัน 2564 ดังนั้น ถนนลาดพร้าว ศรีนครินทร์ ก็ยังจะเป็นถนนต้องห้ามสำหรับผู้เดินทางอย่างน้อยไปอีก 3-4 ปีทีเดียว

โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง หรือโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต เป็นเส้นทางที่สร้างผลกระทบทางจราจรน้อยที่สุด เนื่องจากมีเขตการก่อสร้างขนานในเส้นทางรถไฟเดิม มีระยะทาง 26 กิโลเมตร จำนวน 10 สถานี การก่อสร้างปัจจุบันคืบหน้า ไป 55% โดยจะเปิดให้บริการในปี 2563 คาดว่าจะมีผู้โดยสารประมาณ 86,000 คนต่อวัน นอกจากนี้ยังเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู รถไฟฟ้าสายสีเหลือง และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ได้อีกด้วย</p>
<p>ถัดจากนี้ไปเป็นโครงการรถไฟฟ้าที่ยังไม่เริ่มลงพื้นที่ก่อสร้าง แต่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ตั้งเป้าหมายจะเริ่มดำเนินการโครงการในปี 2561 เป็นต้นไป ได้แก่

โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วง แหวนกาญจนาภิเษก) มีระยะทาง 23.6 กม. แบ่งเป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 10 สถานี และยกระดับ 7 สถานี ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมการประกวดราคางานโยธาและจัดทำรายงานศึกษาวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 (พีพีพี) ก่อนเสนอขออนุมัติรูปแบบการลงทุนโครงการตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ มีแผนจะเปิดให้บริการปี 2567

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ) มีระยะทาง 13.4 กม. โดยเป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ตลอดสาย จำนวน 11 สถานี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการพร้อมกับรูปแบบการลงทุนโครงการไปในคราวเดียวกัน โดยมีแผนจะเปิดให้บริการปี 2568

โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (บางแค-พุทธมณฑล สาย 4) มีระยะทาง 8 กม. เป็นสถานีรถไฟฟ้ายกระดับตลอดสาย จำนวน 4 สถานี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุงรายงาน PPP พร้อม ทั้งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ โดยมีแผนจะเปิดให้บริการปี 2568

ปิดท้ายด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย (สมุทร-ปราการ-บางปู) ระยะทาง 6.7 กม. มีสถานีรถไฟฟ้ายกระดับจำนวน 4 สถานี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย (คูคต-ลำลูกกา) ระยะทาง 9.2 กม. มีสถานีรถไฟฟ้ายกระดับจำนวน 5 สถานี ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้สั่งการให้รอความชัดเจนการโอนทรัพย์สินและหนี้สินสายสีเขียวฯ กับกรุงเทพมหานคร ให้ได้ข้อยุติก่อนเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

อัพเดตกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับโครงการรถไฟฟ้าในฝันของใครหลายคน ซึ่งถึงวันนี้ หลายสายก็มีวี่แววจะเสร็จในไม่ช้า แต่อีกหลายเส้นทางก็ยังไม่เริ่มตั้งไข่ หรือหากเริ่มก็เพิ่งแค่หัดคลานเท่านั้น ซึ่งคนกรุงจะต้องจำใจรับสภาพกับปัญหารถติดไปอีกหลายปี แต่เพื่อแลกกับความสะดวกสบายในระยะยาวก็ต้องทนกันไป.....
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 18/04/2018 11:11 pm    Post subject: Reply with quote

ปลุกลงทุนรถไฟฟ้าภูธร 2 แสนล้าน แจก 50 ปีนำร่อง “ภูเก็ต-เชียงใหม่-โคราช”

วันที่ 17 เมษายน 2561 - 17:57 น.

การประชุม “คจร.-คณะกรรมการจัดระบบการจราจร” นัดแรกของปี 2561 วันที่ 21 ก.พ. 2561 มี “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” นั่งหัวโต๊ะ ได้เร่งรัดกระทรวงคมนาคมลงทุนระบบขนส่งมวลชนในภูมิภาคตามแผนแม่บท ที่ “สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” ศึกษาไว้ 5 จังหวัด ในภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคใต้ เพื่อให้รัฐและเอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP ระยะเวลา 30 ปี 40 ปีและ 50 ปี มูลค่าลงทุนรวม 211,234 ล้านบาท

มี “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” เป็นเจ้าภาพศึกษารูปแบบลงทุน PPP การเปิดประมูลโครงการ คาดว่าสิ้นปีนี้จะประเดิม “ภูเก็ต” เป็นจังหวัดแรก ฟาสต์แทร็กภูเก็ต 4 หมื่นล้าน

จากผลศึกษาพัฒนาเป็น “ระบบรถไฟฟ้ารางเบา” ได้ทั้งไลต์เรลและแทรม เงินลงทุน 39,406 ล้านบาท มีโครงสร้างทางวิ่งระดับดินตลอดเส้นทาง ยกเว้นบริเวณสนามบินภูเก็ตจะเป็นสถานียกระดับ มีทั้งหมด 24 สถานี เป็นยกระดับ 1 สถานี ที่สนามบินภูเก็ต และใต้ดิน 1 สถานีที่สถานีถลาง มีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณ อ.ถลาง

จุดเริ่มต้นโครงการอยู่บริเวณสถานีรถไฟท่านุ่น จ.พังงา จะเชื่อมต่อกับระบบรถไฟสายใหม่เส้นทาสุราษฎร์ธานี-พังงา จุดสิ้นสุดโครงการอยู่ทางเหนือของห้าแยกฉลอง ห่างจากห้าแยก 200 เมตร รวมระยะทาง 58.525 กม.

ปัจจุบันโครงการได้ถูกบรรจุไว้ในโครงการตามมาตรการ PPP Fast Track 2560 ของกระทรวงคมนาคม ล่าสุด “รฟม.” อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบ PPP ที่ให้เอกชนร่วมลงทุน คาดว่า
จะแล้วเสร็จและเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในปีนี้

เชียงใหม่อัดแสน ล.มุดดิน-บนดิน



จากนั้นเป็นคิวของ “เชียงใหม่” ที่ สนข.เร่งดำเนินการต่อ ซึ่งผลศึกษาแล้วเสร็จเมื่อเดือน ต.ค.ปีที่แล้ว เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา เงินลงทุน 105,735 ล้านบาท เนื่องจากโครงสร้างมีทั้งอุโมงค์ใต้ดินช่วงผ่านพื้นที่ในเมืองและยกระดับในช่วงนอกเมือง มี 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 36 กม. 1.สายสีแดง รพ.พิงค์-ศูนย์ราชการเชียงใหม่-สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี-ศูนย์ประชุมนานาชาติ-สถานีตำรวจช้างเผือก-แยกข่วงสิงห์-ม.ราชภัฏเชียงใหม่-สถานีขนส่งช้างเผือก-รพ.เชียงใหม่ราม-รพ.มหาราชนครเชียงใหม่-ร.ร.วัฒโนทัยพายัพ-สนามบินเชียงใหม่-ขนส่งทางบก-บิ๊กซีหางดง

2.สายสีเขียว แยกรวมโชค-แยกแม่โจ้-เซ็นทรัลเฟสติวัล-สถานีขนส่งอาเขต-รพ.แมคคอร์มิคเชียงใหม่-ร.ร.ดาราวิทยาลัย-ร.ร.ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย-ตลาดวโรรส-เทศบาลนครเชียงใหม่-เชียงใหม่ไนท์บาซาร์-ร.ร.เรยีนาเชลีวิทยาลัย-ร.ร.พระหฤทัย-ร.ร.มงฟอร์ตวิทยาลัย-เชียงใหม่แลนด์-เซ็นทรัลพลาซา-เชียงใหม่แอร์พอร์ต-ม.ฟาร์อีสเทอร์น-สนามบินเชียงใหม่

3.สายสีน้ำเงิน สวนสัตว์เชียงใหม่-ม.เทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา-ม.เชียงใหม่-แยกตลาดต้นพยอม-รพ.มหาราชนครเชียงใหม่-วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร-ประตูท่าแพ-ย่านเชียงใหม่ไนท์บาซาร์ตลาดสันป่าข่อย-สถานีรถไฟเชียงใหม่-แยกหนองประทีป-บิ๊กซีดอนจั่น -ห้างพรอมเมนาดา

สำหรับการลงทุนมี 3 ทางเลือก ได้แก่ รัฐลงทุน 100% เปิด PPP โดยรัฐลงทุนงานโยธา เอกชนลงทุนงานระบบเครื่องกลและระบบไฟฟ้าและจัดหาขบวนรถไฟฟ้า และ PPP รัฐร่วมเอกชน จัดตั้งบริษัท และระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน



เร่งลงทุนโคราชรับไฮสปีด

ตามมาด้วย “นครราชสีมา” กำลังเร่งเครื่องไม่แพ้จังหวัดอื่น ๆ สร้างเป็นรถไฟฟ้ารางเบา วงเงิน 32,600 ล้านบาท มี 3 เฟส ระยะแรก 14,000 ล้านบาท มีสายสีส้มเข้ม แยกประโดก-ถนนช้างเผือก-คูเมืองเก่า 9.81 กม. 17 สถานี สีเขียวเข้ม ตลาดเซฟวัน-ถนนมุขมนตรี-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ 11.17 กม. 18 สถานี

ระยะที่ 2 ลงทุน 4,900 ล้านบาท สายสีม่วงเข้ม ตลาดเซฟวัน-ถนนมิตรภาพ-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ 11.92 กม. 9 สถานี ระยะที่ 3 ลงทุน 13,600 ล้านบาท สายสีส้มอ่อน ร.ร.เทศบาล 1-หัวทะเล-ดูโฮม 5.37 กม. 4 สถานี สายสีเขียวอ่อนสถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 3 (ห้วยบ้านยาง)-ตลาดเซฟวัน และสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์-สำนักงานขนส่ง จ.นครราชสีมาสาขา 2 ระยะทาง 12.12 กม. 13 สถานี สายสีม่วงอ่อน ม.วงษ์ชวลิตกุล-แยกจอหอ-ค่ายสุรนารายณ์ 4.48 กม. 3 สถานี

“ระยะแรก” เร่งลงทุนสายสีเขียวพร้อมกับสายสีส้ม จากนั้นเป็น “สายสีม่วง” จะมีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีหรือจุดจอดของระบบขนส่งสาธารณะ 2 บริเวณ ที่ย่านสถานีรถไฟนครราชสีมา และย่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจ.นครราชสีมาแห่งที่ 2

ขอนแก่นเลือกไลต์เรล

ขณะที่ “ขอนแก่น” ที่ประชุมรับทราบผลการศึกษาโครงการ ซึ่งผลศึกษาเลือก “ระบบไลท์เรล” เป็นระบบที่เหมาะสม ส่วนการลงทุนรัฐจะเวนคืนที่ดินแล้วให้เอกชนร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน งานระบบและจัดหาตัวรถ ตลอดจนซ่อมบำรุงรักษาโครงการตลอดอายุสัญญา

จะนำร่องเส้นทางในแนวเหนือ-ใต้ จากบ้านสำราญตำบลสำราญ – ต.ท่าพระ อ.เมืองขอนแก่น ระยะทาง 22.8 กม.เป็นโครงสร้างระดับดิน 15.07 กม.และทางวิ่งยกระดับ 7. 27 กม. มี 16 สถานี เป็นระดับดิน 10 แห่ง ยกระดับ 6 แห่ง เงินลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาท

พิษณุโลกแบ่งพัฒนา2เฟส

ด้าน “พิษณุโลก” จังหวัดในแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก และฮับสี่แยกอินโดจีน จากการศึกษาพบว่าเทคโนโลยีระบบขนส่งสาธารณะที่มีความเหมาะสมกับแนวเส้นทาง และมีความเป็นไปได้มี 3 รูปแบบ ได้แก่ รถโดยสารขนาดปกติ รถโดยสารขนาดเล็ก (ไมโครบัส) และรถรางล้อยาง (Tram)

มีระยะทางรวม 114.65 กม. มูลค่าการลงทุนรวม 13,493 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่1 ปี 2565-2573 มี 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 83.05 กม. มูลค่าก่อสร้าง 2,607 ล้านบาท มูลค่าการบำรุงรักษาตลอดอายุโครงการ 8,190 ล้านบาท ระยะที่ 2 ปี 2574-2584 มี 2 เส้นทางและ 3 ส่วนต่อขยาย ระยะทาง 31.6 กม. มูลค่าการก่อสร้าง 643 ล้านบาทและมูลค่าการบำรุงรักษาตลอดอายุโครงการ 2,171 ล้านบาท

ด้านอัตราค่าโดยสารกำหนดไว้ 3 ลักษณะ คือ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้สูงอายุและผู้พิการ 10 บาท ประชาชนทั่วไป 20 บาท และนักท่องเที่ยว 30 บาท

นอกจากนี้กำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี (TOD) 3 แห่ง ได้แก่ 1.สถานีขนส่งพิษณุโลก แห่งที่ 1 พื้นที่ 6 ไร่ รองรับกิจกรรมเชิงพาณิชย์เป็นหลักมีความพร้อมค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นจุดศูนย์กลางในการเชื่อมโยงระบบขนส่งสาธารณะ

2. ศูนย์การค้าโลตัสท่าทอง พื้นที่ 25 ไร่ รองรับกิจกรรมที่พักอาศัยเป็นหลัก ความพร้อมค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นจุดศูนย์กลางการเชื่อมโยงระหว่างศูนย์การค้าชานเมืองและขั้วความเจริญมหาวิทยาลัยนเรศวรและ 3. สถานีขนส่งพิษณุโลก แห่งที่ 2 พื้นที่ 50 ไร่ รองรับกิจกรรมเชิงพาณิชย์เป็นหลัก ความพร้อมค่อนข้างสูง เนื่องจากทำเลที่ตั้งใกล้กับศูนย์พัฒนาสี่แยกอินโดจีนและสถานีขนส่งสาธารณะแห่งใหม่และรองรับการบริการขนส่งสาธารณะและบริการด้านโลจิสติกส์

เป็นความก้าวหน้าล่าสุด ส่วนจะเป็นจริงได้แค่ไหน คงต้องดูกันต่อไปยาวๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 19/04/2018 12:41 pm    Post subject: Reply with quote

จับตา: จำนวนผู้ใช้รถเมล์และรถไฟฟ้าใน กทม. ปี 2552-2558


ทีมข่าว TCIJ : 8 เมษายน 2561 -

ข้อมูลจำนวนผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.), รถไฟฟ้า BTS, รถไฟฟ้า MRT และ แอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ในกรุงเทพฯ ระหว่างปี 2552-2558 ที่มาภาพประกอบ: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

จาก รายงานการพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลแบบองค์รวม ของคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.), 2560 ได้รวบรวมข้อมูลจำนวนผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.), รถไฟฟ้า BTS, รถไฟฟ้า MRT และ แอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ในกรุงเทพฯ ระหว่างปี 2552-2558 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

จำนวนผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) ปี 2552 มีผู้ใช้ 315,183,985 ครั้ง ปี 2553 มีผู้ใช้ 308,175,956 ครั้ง ปี 2554 มีผู้ใช้ 303,380,034 ครั้ง ปี 2555 มีผู้ใช้ 282,754,160 ครั้ง ปี 2556 มีผู้ใช้ 248,989,130 ครั้ง ปี 2557 มีผู้ใช้ 229,023,066 ครั้ง และปี 2558 มีผู้ใช้ 224,363,943 ครั้ง

จำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ปี 2552 มีผู้ใช้ 140,967,000 ครั้ง ปี 2553 มีผู้ใช้ 143,141,000 ครั้ง ปี 2554 มีผู้ใช้ 167,097,353 ครั้ง ปี 2555 มีผู้ใช้ 201,085,000 ครั้ง ปี 2556 มีผู้ใช้ 214,962,000 ครั้ง ปี 2557 มีผู้ใช้ 229,302,191 ครั้ง และปี 2558 มีผู้ใช้ 241,114,462 ครั้ง

จำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT (ปี 2552 ไม่มีข้อมูล) ปี 2553 มีผู้ใช้ 4,740,764 ครั้ง ปี 2554 มีผู้ใช้ 12,421,636 ครั้ง ปี 2555 มีผู้ใช้ 14,931,790 ครั้ง ปี 2556 มีผู้ใช้ 15,064,034 ครั้ง ปี 2557 มีผู้ใช้ 17,064,148 ครั้ง และปี 2558 มีผู้ใช้ 19,162,144 ครั้ง

จำนวนผู้ใช้บริการแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ปี 2552 มีผู้ใช้ มีผู้ใช้ 63,726,982 ครั้ง ปี 2553 มีผู้ใช้ 64,913,628 ครั้ง ปี 2554 มีผู้ใช้ 69,040,480 ครั้ง ปี 2555 มีผู้ใช้ 80,602,326 ครั้ง ปี 2556 มีผู้ใช้ 86,436,032 ครั้ง ปี 2557 มีผู้ใช้ 92,437,991 ครั้ง และปี 2558 มีผู้ใช้ 95,018,698 ครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 20/04/2018 10:16 am    Post subject: Reply with quote

เร่งรฟม.ส่งมอบพื้นที่สร้างโมโนเรล ช้า 3 เดือนหวั่นกระทบแผนเปิดหวูดชมพู-เหลือง
วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2561 - 07:31 น.


บีทีเอสเร่งยก รฟม.ส่งมอบพื้นที่สร้าง”โมโนเรล”สายสีชมพู-เหลือง หลังดีเลย์มาแรมเดือน หวั่นหลุดเป้า พ.ค.นี้ กระทบแผนเปิดหวูด ต้นทุนก่อสร้าง กรอบสัญญาเงินกู้ 3 แบงก์ใหญ่ วงเงิน 6.3 หมื่นล้าน รฟม.ประสาน กทม. กรมทางหลวง เคลียร์แบบวางตอม่อ กฟน.ทุ่ม 7 พันล้านดึงสายไฟลงใต้ดิน ปรับภูมิทัศน์ติวานนท์ แจ้งวัฒนะ รามอินทรา ลาดพร้าว ศรีนครินทร์ เทพารักษ์ ถนนไร้สาย



นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการ บริษัท บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า นับจากกลุ่มบริษัท BSR ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และ บมจ.ราชบุรีโฮลดิ้งส์ เซ็นสัญญาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงิน 46,643 ล้านบาท และสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. วงเงิน 45,797 ล้านบาท กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2560 ถึงขณะนี้ยังไม่ได้เริ่มต้นนับหนึ่งสัญญาก่อสร้าง เนื่องจาก รฟม.ยังไม่ได้ส่งมอบพื้นที่ให้ คาดว่าจะเป็นภายในเดือน พ.ค. 2561 นี้

บีทีเอสรอได้ถึง พ.ค.นี้

“การส่งมอบพื้นที่ล่าช้าจากแผน จากเดิมคาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ในเดือน ก.พ. 2561 แต่ที่ผ่านมาบริษัทก็เข้าพื้นที่ในบางจุดที่สามารถดำเนินการได้แล้ว เพื่อทำการทดสอบเสาเข็มที่จะใช้ก่อสร้างทั้ง 2 โครงการแล้ว เมื่อได้รับส่งมอบพื้นที่อย่างเป็นทางการบริษัทจะเร่งงานก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามกำหนดสัญญา 3 ปี 3 เดือน หรือเปิดบริการในปี 2564”

นายสุรพงษ์กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม หากบริษัทยังไม่ได้ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างเพื่อเริ่มต้นสัญญางานโครงการภายในเดือน พ.ค.นี้ อาจจะมีผลกระทบต่อบริษัทในแง่ของค่าใช้จ่ายที่ได้ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ รวมถึงกรอบเวลาในเซ็นสัญญาการกู้เงินกับสถาบันการเงินที่ให้การสนับสนุนโครงการ เนื่องจากในการเซ็นสัญญาเงินกู้จะระบุว่าจะเริ่มงานเมื่อไร หากเลยจากที่กำหนด ทางบริษัทจะต้องหารือกับธนาคาร ธนาคารจะยืดระเวลาการกู้เงินหรือเปลี่ยนเงื่อนไขหรือไม่


หวั่นต้นทุนบานปลาย

“ไม่ใช่เราจะใช้เงื่อนนี้ไปเร่ง รฟม. แต่เราเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างโครงการ อยากจะบอกว่าถ้าเริ่มงานจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เพราะที่ผ่านเราเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาก่อสร้าง บริษัทซัพพลายเออร์ผู้ผลิตระบบรถ และแบงก์ที่ให้กู้ จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น เช่น ค่าจ้าง ค่าฟี ค่าใช้จ่ายในสำนักงานโครงการ เท่ากับทุนจดทะเบียนกว่า 3,000 ล้านบาทต่อโครงการ รวม 2 โครงการก็ประมาณ 7,000 ล้านบาท ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ยังไม่เริ่มนับ แต่มีเงินค่าเสียโอกาสเกิดขึ้นหากล่าช้า อีกทั้งอาจจะกระทบต่อการเปิดใช้ด้วยเช่นกัน”

นายสุรพงษ์กล่าวอีกว่า เมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2560 ได้เซ็นสัญญาเงินกู้จำนวน 63,360 ล้านบาท กับธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทยและธนาคารไทยพาณิชย์ สำหรับลงทุนก่อสร้างสถานี ทางวิ่งยกระดับ งานระบบ เครื่องกล ระบบอาณัติสัญญาณ ขบวนรถไฟฟ้าโมโนเรลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่าง ๆ ทั้ง 2 สายทาง แยกเป็นของสายสีชมพู 31,680 ล้านบาท และสายสีเหลือง 31,680 ล้านบาท เป็นสัญญากู้เงินระยะยาว 14 ปี จะเริ่มชำระนับจากปีที่เปิดเดินรถ

รฟม.เร่งประสาน กทม.-ทางหลวง

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม.กล่าวว่า จะเร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรุงเทพมหานคร (กทม.) กับกรมทางหลวง (ทล.) ส่งมอบพื้นที่สายสีชมพูกับสีเหลืองให้เอกชนภายในเดือน พ.ค.นี้ เพื่อเร่งงานก่อสร้างให้เสร็จตามแผนเปิดใช้บริการในปี 2564

ปัจจุบันงานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินของสายสีชมพูสร้างบนแนวถนนติวานนท์ แจ้งวัฒนะ รามอินทรา ดำเนินการแล้วเสร็จ 27.71% เร็วกว่าแผนงาน 0.03% จากตลอดเส้นทางมีผู้ถูกเวนคืน 434 ราย เป็นที่ดิน 640 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 761 หลัง ค่าเวนคืน 6,847 ล้านบาท

ส่วนสายสีเหลือง สร้างบนถนนลาดพร้าว ศรีนครินทร์ เทพารักษ์ ดำเนินการแล้วเสร็จ 43.78% เร็วกว่าแผน 4.63% จากตลอดเส้นทางมีผู้ถูกเวนคืน 198 ราย เป็นที่ดิน 298 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 284 หลัง ค่าเวนคืน 6,013 ล้านบาท

ปรับแบบก่อสร้างหลายจุด

นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า กรมจะเร่งส่งมอบพื้นที่ของสายสีชมพูกับสีเหลืองให้ รฟม.ภายในเดือน พ.ค. ขณะนี้รอการประสานงานจาก รฟม.เรื่องแบบก่อสร้าง เนื่องจากจะต้องมีการปรับแบบในบางบริเวณที่มีปัญหา อย่างสายสีเหลือง รฟม.ยินยอมปรับแบบและย้ายจุดก่อสร้างอาคารจอดรถของสถานีวัดศรีเอี่ยม จากเดิมขอใช้พื้นที่แขวงทางหลวงสมุทรปราการไปฝั่งตรงข้ามถนนบางนา-ตราด มีพื้นที่ว่าง 10 ไร่แล้ว ส่วนท่อระบายน้ำช่วงถนนศรีนครินทร์ให้ปรับแบบใหม่ ย้ายท่อระบายน้ำมาอยู่เกาะกลางถนนแทน

ส่วนสายสีชมพูมีปรับแบบหลายจุด เช่น ปรับระยะห่างเสาตอม่อช่วงถนนติวานนท์จาก 30 เมตร เป็น 40 เมตร ให้มีจุดกลับรถ 10 จุด ปรับตำแหน่งสถานีบริเวณแยกหลักสี่ ตรงข้ามกับไอทีสแควร์ ซึ่ง รฟม.ขอใช้พื้นที่หลังหมวดการทางหลักสี่ สร้างจุดจอดรถแท็กซี่เพื่อแก้ปัญหารถติด อีกจุดบริเวณถนนรามอินทรา หน้าโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี จุดตัดกับถนนสาย 350 (ถนนรัชดาฯ-รามอินทรา) ให้ รฟม.ปรับแบบเสาตอม่อให้สร้างคร่อมแลมป์ข้ามแยกแทน

“กรมพร้อมจะส่งมอบพื้นที่ให้ รฟม. แต่ที่ผ่านมาไม่เคยได้รับการประสานงานและส่งแบบรายละเอียดให้กรมพิจารณาแต่อย่างใด”

กฟน.ถือโอกาสดึงสายไฟลงใต้ดิน

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ยังทุ่มเงิน 7,000 ล้านบาท เซ็นสัญญากับผู้รับเหมาก่อสร้างสายสีชมพูกับสีเหลือง ให้ก่อสร้างท่อสายไฟฟ้าลงดินตลอด

แนวถนนที่รถไฟฟ้าพาดผ่านเพื่อปรับปรุงทัศนียภาพ แยกเป็น สายสีชมพู วงเงิน 4,400 ล้านบาท และสายสีเหลือง วงเงิน 3,900 ล้านบาท จะแล้วเสร็จพร้อมกับรถไฟฟ้าปี 2564




//-------------------------------------

คมนาคมตั้งกรอบงบปี 62 กว่า 2.09 แสนล้าน - จี้ รฟม.เร่งจ่ายเวนคืน “ส้ม-ชมพู-เหลือง” เหตุล่าช้าข้ามปี

โดย: MGR Online
เผยแพร่: 19 เมษายน พ.ศ. 2561 17:53:
ปรับปรุง: 19 เมษายน พ.ศ. 2561 18:39:

“คมนาคม” ตั้งกรอบงบประมาณปี 2562 กว่า 2.09 แสนล้าน ลดลงจากปี 61 เกือบ 2% เนื่องจากลดงบของรัฐวิสาหกิจ หลังเวนคืนล่าช้า โดยเฉพาะ รฟม.ติดปัญหาเวนคืนสายสีส้ม-ชมพู-เหลือง เลื่อนการจ่ายเงิน ส่วน ทล.และ ทช.ยังได้งบเพิ่ม ลุยมอเตอร์เวย์ และถนนใน EEC รวมถึงไทยแลนด์ริเวียรา

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้ประชุมร่วมกับสำนักงบประมาณเพื่อพิจารณากรอบวงเงินงบประมาณประจำปี 2562 ของกระทรวงคมนาคม ได้สรุปกรอบวงเงินไว้ที่ 209,323 ล้านบาท แบ่งเป็นงบในส่วนหน่วยงานราชการจำนวน 183,732.53 ล้านบาท หน่วยงานรัฐวิสาหกิจจำนวน 25,590.99 ล้านบาท โดยภาพรวมของงบประมาณปี 2562 ลดลงจากปี 2561 ประมาณ 1.91% โดยปี 2561 กระทรวงคมนาคมได้รับจัดสรรงบประมาณจำนวน 213,389 ล้านบาท โดยเป็นของหน่วยงานราชการ 168,767 ล้านบาท หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 44,621.80 ล้านบาท และหลังจากนี้จะปรับปรุงอีกเล็กน้อย แต่จะไม่เปลี่ยนแปลงกรอบวงเงิน เพื่อส่งสำนักงบประมาณนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณฯ ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2561

ทั้งนี้ ปี 2562 หน่วยงานราชการ ได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้น 9% ซึ่งเป็นงบของกรมทางหลวง (ทล.) วงเงิน 119,091 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2561 ที่ได้รับจัดสรรที่ 105,746 ล้านบาท เนื่องจากมีการดำเนินโครงการมอเตอร์เวย์ต่อเนื่อง ทั้งการก่อสร้างและค่าเวนคืนที่ดิน ส่วนกรมทางหลวงชนบท (ทช.) มีกรอบวงเงิน 48,089 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2561 ที่ได้รับจัดสรรจำนวน 46,335 ล้านบาท โดยเน้นโครงการตามนโยบายรัฐบาล เช่น ไทยแลนด์ริเวียรา เป็นต้น นอกจากนี้ทั้งสองหน่วยงานจะมีถนนในพื้นที่ EEC มูลค่าประมาณ 11,000 ล้านบาท ซึ่งทั้ง ทล.และ ทช.ถือว่าเป็นหน่วยงานที่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมาย โดยในปี 2560 ทล.เบิกจ่ายงบได้ 43% ทช.เบิกจ่ายได้กว่า 50% เป็นไปตามเป้าหมายอีกด้วย

ขณะที่หน่วยงานรัฐวิสาหกิจได้รับงบปี 2562 ลดลงประมาณ 42% จากปีก่อน ผลมาจากเป็นการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินหลายโครงการดำเนินการล่าช้า เช่น การเวนคืนที่ดินเพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู, สีเหลือง และสีส้ม ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยให้นำงบที่ได้รับในปี 2561 มาเร่งดำเนินการเวนคืนในปี 2562

นอกจากนี้ ได้หารือกับสำนักงบประมาณในการจัดสรรงบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางถนน เช่น อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยต่างๆ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและกรณีเกิดน้ำท่วม เนื่องจากที่ผ่านมา จัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ เมื่อเกิดเหตุจะไม่มีงบเข้าไปดูแล ต้องใช้วิธีการปรับแผนงานเข้าไปช่วย และงบในด้านการแก้ปัญหาจราจร

“ที่ผ่านมาการก่อสร้างถนนจะต้องประหยัดงบประมาณจึงมีการตัดอุปกรณ์บางส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย เช่น เกาะสี หรือการ์ดเรล หรือเหล็กราวที่กั้นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุอันตรายตามข้างถนนและโครงการที่เป็นความต้องการของประชาชน จากการประชุม ครม.สัญจรและจากที่นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่” นายอาคมกล่าว

สำหรับโครงการที่สำคัญของกระทรวงคมนาคมที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ตามนโยบายรัฐบาล เช่น การดำเนินการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนน การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) แผนงานบูรณาการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับภารกิจด้านการบิน (ICAO) และแผนงานบูรณาการด้านคมนาคมและระบบลอจิสติกส์ เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 21/04/2018 11:35 pm    Post subject: Reply with quote

“ดิจิทัล” เชื่อมบัตรโดยสารรถไฟฟ้า คมนาคมตื่นอัพเกรดระบบแมงมุม 4.0

วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561 - 11:15 น.

ยังไม่ทันเริ่มกดปุ่มคิกออฟ “ระบบตั๋วร่วม” กับบัตรแมงมุม เพื่อขยุ้มการเดินทางระบบขนส่งมวลชนด้วยบัตรใบเดียวอย่างที่ตั้งเป้าไว้


ล่าสุด “กระทรวงคมนาคม” เตรียมอัพเกรดระบบให้รับกับเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล และนโยบายอีเพย์เมนต์ (e-Payment) ของรัฐบาล คสช. จัมป์ก้าวกระโดด จาก “บัตรแมงมุม 2.0” ที่ใช้กับบัตรเฉพาะเจาะจงภาคขนส่ง เป็น “บัตรแมงมุม 4.0” เป็นระบบเปิดตามมาตรฐาน EMV ที่ใช้ได้ทั้งบัตรเครดิตและเดบิต มีข้อกังขากับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเหมือนสายฟ้าแลบ ทั้งที่ “สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” ใช้เวลาร่วม 5 ปีนับจากปี 2555 กว่าจะตั้งไข่ระบบและส่งไม้ต่อให้ “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” เป็นผู้บริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม (CTC) จากนั้นไม่นาน “ระบบ EMV” ก็เข้ามาอยู่ในสารบบของตั๋วร่วม

ชี้เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว

นายภคพงศ์ สิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม.เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ระบบเปิดตามมาตรฐาน EMV เป็นการอัพเกรดระบบตั๋วร่วมแมงมุมที่ สนข.ดำเนินการอยู่ให้ทันกับเทคโนโลยี ซึ่ง สนข.ศึกษาระบบ EMV ไว้แต่แรกแล้ว แต่เดินหน้าตามสเต็ป ซึ่งเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาระบบ EMV ยังไม่มีการใช้แพร่หลาย เริ่มใช้ที่ลอนดอนประเทศอังกฤษเป็นแห่งแรก แต่ปัจจุบันมีการพิสูจน์แล้วว่าระบบเสถียรและมีใช้อย่างแพร่หลาย 127 ประเทศ


“ช่วงที่ สนข.ศึกษา ระบบ EMV ยังไม่เป็นที่ยอมรับ จึงเสนอเป็นระบบตั๋วแมงมุมก่อน แต่ด้วยความเร็วของเทคโนโลยียุคดิจิทัลและ EMV เป็นที่พิสูจน์แล้วว่าดีและคล่องตัวกว่า ข้อดีคือผู้ถือบัตรสมาร์ทการ์ดติดระบบ EMV ที่ออกโดยสถาบันการเงินในประเทศและต่างประเทศ ใช้บัตรที่มีอยู่ทั้งบัตรเครดิต บัตรเดบิต นำมาใช้แทนบัตรโดยสารได้โดยไม่ต้องออกใหม่ เพียงแตะบัตรก็เข้าไปในระบบได้ ส่วนค่าเดินทางจะเรียกเก็บภายหลังเหมือนกับใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าต่าง ๆ ในปี 2563 ทางมาสเตอร์การ์ดและวีซ่าจะบังคับให้ใช้ระบบนี้ทั้งหมด”

เพิ่มทางเลือกผู้บริโภค

นายภคพงศ์กล่าวอีกว่า สำหรับบัตรแมงมุม จะแปลงสภาพเป็นระบบหลังบ้านเคลียร์เรื่องค่าโดยสารของแต่ละระบบ และส่งข้อมูลให้แต่ละธนาคารเพื่อหักบัญชีผู้ถือบัตร จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคไม่ต้องจ่ายเงินในบัตรโดยสารไว้ล่วงหน้า จะจ่ายก็ต่อเมื่อเดินทาง (pay as you go) เป็นทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภคและเป็นการจูงใจให้คนมาใช้ระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น ที่สำคัญทำให้ลดต้นทุนการจัดหาและดูแลรักษาระบบได้เท่าตัว โดย รฟม.จะเป็นผู้ลงทุนระบบ ใช้เวลา 18 เดือน จะแล้วเสร็จในเดือน ธ.ค. 2562

นายเผด็จ ประดิษฐเพชร ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวเสริมว่า บัตรแมงมุมเป็นระบบปิดที่ใครจะใช้ต้องปรับปรุงให้รับกับระบบ ปัจจุบันโลกไปไกลเป็นระบบเปิด EMV บัตรใบไหนก็ได้ในกระเป๋าสามารถขึ้นรถไฟฟ้าได้ เมื่อระบบสมบูรณ์จึงจัมป์จากแมงมุม 2.0 เป็นแมงมุม 4.0

EMV ลดต้นทุนเท่าตัว

โดยประเมินไว้ภายใน 20 ปีระบบแมงมุมเดิมจะใช้เงินลงทุนระบบประมาณ 4,000 ล้านบาท แต่เมื่ออัพเกรดระบบเป็น 4.0 จะเหลือ 2,000 ล้านบาท โดยมีเงินลงทุนขั้นต้น 623 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายดำเนินงานปีแรก 49 ล้านบาท จากระบบเดิมมีเงินลงทุนขั้นต้น 1,086 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายดำเนินงานปีแรก 143 ล้านบาท

“ระบบรองรับบัตรแมงมุม ก่อนหน้านี้ประเมินรถไฟฟ้า 4 สาย ได้แก่ บีทีเอสสายสีน้ำเงิน สายสีม่วง และแอร์พอร์ตลิงก์ จะต้องลงทุนระบบ 500 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นระบบ EMV อยู่ที่ 218 ล้านบาท เพราะหัวอ่านทำหน้าที่น้อยลง ต่อไปจะใช้ได้ทั้งทางด่วน มอเตอร์เวย์ และรถเมล์ด้วย”

นายเผด็จกล่าวว่า สำหรับบัตรแมงมุม จำนวน 2 แสนใบที่ผลิตออกมาแล้วนั้น จะนำมาใช้ในระยะสั้น ๆ วันที่ 1 ต.ต. 2561 เรียกว่าบัตรแมงมุม 2.5 กับรถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีม่วง แอร์พอร์ตลิงก์ และรถเมล์ ขสมก. ส่วนบีทีเอสอยู่ระหว่างเจรจาจะอัพเกรดระบบ EMV หรือไม่ ถ้าบริษัทไม่ดำเนินการจะทำให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 1.3 ล้านใบ ที่ติดระบบ EMV แล้วก็ไม่สามารถใช้กับบีทีเอส ใช้ได้แต่บัตรแรบบิท

บัตรแรบบิทบีทีเอสสะเทือน

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC กล่าวว่า บริษัทกำลังศึกษารายละเอียดข้อมูลให้รอบคอบ เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ที่เพิ่งมีนโยบายเปลี่ยนแปลง รวมถึงต้องดูเรื่องค่าทรานแซ็กชั่นฟีของแต่ละสถาบันการเงินด้วย ทั้งนี้หากเป็นระบบเดิม จะคล้ายกับบัตรแรบบิทของบีทีเอส แต่เมื่อเป็นระบบ EMV ก็อาจจะเป็นคู่แข่งของแรบบิทได้ในอนาคต

สำหรับบัตรแรบบิทบีทีเอสเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2555 โดยเป็นบัตรสามร์ทการ์ดที่สามารถใช้ชำระเงินได้ทั้งระบบขนส่งสาธารณะ เช่น บีทีเอส บีอาร์ที และสามารถใช้ชำระค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ ได้ ปัจจุบันมีผู้ถือบัตรแรบบิทมากกว่า 8.5 ล้านใบ และมีจุดรับบัตรมากกว่า 5,200 จุดทั่วประเทศ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 27/04/2018 4:51 pm    Post subject: Reply with quote

ปี”68 รถไฟฟ้าเปิดครบ 10 สาย ผุดโมโนเรลเชื่อม “บางซื่อ-มักกะสัน-แม่น้ำ”
วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561 - 11:02 น.

ภายในเดือน ส.ค.นี้ น่าจะเห็นเค้าโครงเส้นทางรถไฟฟ้ากรุงเทพฯและปริมณฑลระยะที่ 2 ที่ “ไจก้า-องค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น” และ “สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” ร่วมกันศึกษาจัดทำเป็นแผนแม่บทอยู่ในขณะนี้

ความคืบหน้าล่าสุด “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า หลังได้ติดตามความคืบหน้าการจัดทำแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในพื้นที่ต่อเนื่อง ระยะที่ 2 (M-MAP 2) ร่วมกับไจก้า พบว่าผลศึกษามีความก้าวหน้าโดยลำดับ

ขณะนี้กำลังเร่งรัดให้รถไฟฟ้า 10 สายทางตามแผนแม่บทระยะที่ 1 (M-MAP 1) ได้รับอนุมัติและก่อสร้างทั้งหมด

ตอนนี้ยังเหลือสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) อยู่ในขั้นตอนการประกวดราคา ขณะที่สายสีส้มตะวันตก (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม) รอเสนอเข้าคณะกรรมการ PPP พิจารณาร่วมกับงานเดินรถ


ยังมีสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงคูคต-ลำลูกกา และสมุทรปราการ-บางปู สายสีน้ำเงินต่อขยายบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 สายสีแดงต่อขยายตลิ่งชัน-ศิริราช-ศาลายา และช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์

สำหรับ M-MAP 2 จะเป็นโครงข่ายส่วนต่อเชื่อมกับเส้นทางเดิมที่ยังขาดช่วงอยู่ และให้เชื่อมระหว่างศูนย์กลางเมืองกับเมืองรองหรือ sub-center มี 3 จุดสำคัญ คือ 1.สถานีกลางบางซื่อ ที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมในอนาคต 2.บริเวณมักกะสัน และ 3.สถานีแม่น้ำ ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีแผนพัฒนาพื้นที่อยู่ ทางไจก้ากำลังจะพิจารณาว่าสามารถนำระบบขนส่งใดเชื่อมต่อเข้าไปได้บ้าง เมื่อศึกษาเสร็จแล้วก็ไปสู่การทำรายละเอียดในแต่ละเส้นทางต่อไป

ในเบื้องต้น กำลังจะพิจารณาจะนำโมโนเรลสายสีน้ำตาล แคราย-ลำสาลี, โมโรเรลสายสีเทา วัชรพล-พระราม 9 โมโนเรลสายสีทอง กรุงธนบุรี-คลองสาน-ประชาธิปก และไรต์เรล สายบางนา-สุวรรณภูมิ เข้ามาอยู่ในแผน M-MAP 2 ด้วย แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การใช้ที่ดินของกรุงเทพฯจะเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน

“บางเส้นทางอาจจะไม่ได้มีเพียงระบบรถไฟฟ้า อาจจะมีรถเมล์บ้างก็ได้ เพราะดีมานด์ยังไม่พอ จึงขอทางไจก้าพิจารณาตรงนี้ด้วย บางพื้นที่อาจจะมีดีมานด์เพียงพอ แต่ไม่คุ้มที่จะลงทุนก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นระบบอื่น ผสมกันหลายอย่าง เพื่อเติมเต็มระบบโครงข่ายการเดินทางของประชาชน”

นายอาคมกล่าวต่อว่า ในวันที่ 30 เม.ย.นี้ มีรายงานความก้าวหน้าของการศึกษา ก่อนที่จะสรุปผลในเดือน ส.ค.จากนั้นจะนำผลการศึกษาที่ไจก้าจัดทำมาพิจารณาทบทวนกันอีกรอบ ยังมีเวลาดำเนินการก่อนที่โครงการตามแผนแม่บทระยะที่ 1 จะแล้วเสร็จในปี 2568

ด้านนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า ภาพรวมของ M-MAP 2 เน้นการระบายความหนาแน่นของประชาชนในการใช้บริการระบบขนส่งมวลชนที่มีอยู่เดิมในกรุงเทพฯ เนื่องจากระบบรถไฟฟ้าแต่ละสาย ทั้งสายสีเขียว สีน้ำเงิน และสีม่วง มีปริมาณคนใช้เพิ่มมากขึ้น

ส่วนใหญ่จะเชื่อมต่อกับโครงการหลักในแผน M-MAP 1 ในลักษณะแตกเป็นแขนงแตกออกมา โดยจะเน้นโมโนเรลและระบบรางเบามากขึ้น เมื่อทำแผนแล้วเสร็จ แต่ละหน่วยงานก็สามารถนำไปพิจารณาเพื่อจัดทำลงท้องถิ่นของตัวเองก็ได้

ด้านความคืบหน้าของสายสีน้ำตาล แคราย-ลำสาลี ขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการศึกษาความเหมาะสมของการก่อสร้างอยู่ หากผลการศึกษาแล้วเสร็จ จะเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ต่อไป เพื่อบรรจุในแผน M-MAP 2

“ตอนนี้รัฐบาลพยายามขับเคลื่อนรถไฟฟ้าในแผน M-MAP 1 ให้สำเร็จ ทุกอย่างอยู่ในไทม์ไลน์หมดแล้ว แต่ก็ต้องคิด M-MAP 2 เอาไว้ก่อน อาจจะใช้ใน 15-20 ปีข้างหน้า เพราะต้องขับเคลื่อนโครงการใน M-MAP 1 ให้ครบ และพร้อมใช้บริการทั้งโครงข่ายทั้งหมดในปี 2568”

ขณะเดียวกัน ให้ไจก้าศึกษาถึงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ที่ได้รับการก่อสร้างด้วย เพราะปัจจุบันมีพื้นที่แปลงใหญ่ในกรุงเทพฯที่มีศักยภาพเกิดขึ้นหลายพื้นที่ มีความสามารถที่จะพัฒนาได้ เช่น สถานีแม่น้ำ ที่ ร.ฟ.ท.สามารถนำพื้นที่ดังกล่าวมาพัฒนาได้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/04/2018 6:22 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.จ่อขึ้นแบล็คลิสต์ อิตาเลียนไทย ประมูลงาน
กรุงเทพธุรกิจ 28 เม.ย. 61

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แสดงวิสัยทัศน์ 4.0 รถไฟฟ้าเปลี่ยนเมือง โดยบรรยากาศพูดคุยกับสื่อมวลชนแบบเป็นกันเอง ที่ สำนักงาน รฟม. ถนนพระราม 9

รฟม.จ่อขึ้นแบล็คลิสต์ อิตาเลียนไทยหากพบ เปรมชัย ผิดจริงคดีฆ่าเสือดำ ห้ามร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าในอนาคต เตรียมใช้ใช้บัตรเครดิตรูดตั๋วร่วมต้นปี 2563

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการกล่าวหานายเปรมชัย กรรณสูต ประธานกรรมการ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ที่ปัจจุบันรับงานก่อสร้างรถไฟฟ้ากับ รฟม.หลายเส้นทาง และมีความเสี่ยงต่อกระทำผิดต่อหลักธรรมาภิบาล ตาม พ.ร.บ. ตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์นั้น ในเรื่องนี้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) มีหลักเกณฑ์ของธรรมาภิบาลอยู่แล้ว ที่จะกำหนดให้ทุกบริษัทต้องปฏิบัติตาม ซึ่งบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่เกือบทุกบริษัท รวมทั้งบริษัทอิตาเลียนไทย ก็ต้องยึดตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว แม้ว่าจะไม่มีผลกระทบต่อสัญญาจ้างงานก่อสร้างของ รฟม.โดยตรง

ดังนั้น หากคดีนายเปรมชัย สิ้นสุดลงแล้วพบว่า มีความผิดเกิดขึ้นจริง ทาง รฟม.ไม่มีอำนาจในการยกเลิกสัญญางานก่อสร้างเดิมที่ได้ลงนามไปแล้ว แต่สำหรับสัญญาในอนาคตที่จะเข้าร่วมประมูลกับ รฟม.อาจจะต้องพิจารณาและยึดถึงหลักเกณฑ์ธรรมาภิบาลของ ตลท.

หากคดีถึงที่สุดแล้วจริง บริษัทจะต้องปรับเปลี่ยนผู้บริหารใหม่ เพื่อให้บริษัทเข้าเกณฑ์บรรษัทธรรมาภิบาลตามกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ แต่หากบริษัทไม่ยอมปรับเปลี่ยนผู้บริหาร สำหรับงานประมูลโครงการใหม่ คงไม่สามารถให้เข้าร่วมประมูลในโครงการใหม่ของ รฟม.ได้ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ ที่จะทำการแบล็กลิสต์บริษัทนั้นไปโดยปริยาย

รายงานข่าวระบุว่า เมื่อวันที่ 4 เม.ย.ที่ผ่านมา นางสมศรี วัฒนไพศาล อธิบดีอัยการภาค 7 ได้ออกมาชี้แจงความคืบหน้าการฟ้องคดีที่เกี่ยวข้องกับนายเปรมชัย โดยพิจารณาพยานหลักฐานแล้วมีความเห็นสั่งฟ้องนายเปรมชัย 6 ข้อหา คือ
1.ร่วมกันพกพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต 2.ร่วมกันล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต 3.ร่วมกันล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาต 4.ร่วมกันมีซากสัตว์ป่าไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต 5.ร่วมกันซ่อนเร้นซากสัตว์ป่า และ 6.ร่วมกันเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต

ส่วนอีก 4 ข้อหาที่ไม่ฟ้อง คือ 1.ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต 2.ร่วมกันเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต 3.ร่วมกันนำอาวุธปืนหรือเครื่องจับหรือล่าสัตว์ป่าเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต และ 4.ร่วมกันกระทำทารุณกรรมสัตว์

นายภคพงศ์ กล่าวถึงความคืบหน้าการนำระบบอีเอ็มวี (Euro/ Master Card และ Visa) หรือบัตรเครดิตมาใช้ชำระค่าโดยสารในระบบตั๋วร่วมว่า จะเป็นการเพิ่มเติมจากบัตรแมงมุม 4.0 จะนำมาใช้ได้ต้นปี 2563 โดยกำลังปรับปรุงระบบต่างๆ เพื่อติดตั้งระบบอ่านบัตรอีเอ็มวี ใช้เวลา 18 เดือน ซึ่งปัจจุบันมีแผนเร่งรัดให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่มีการกระจายให้กับผู้มีสิทธิ์ราว 1.3-1.4 ล้านใบ ที่มีวงเงินสำหรับใช้บริการขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯอยู่ที่ 500 บาทต่อเดือน ที่ยังใช้บริการรถไฟฟ้าไม่ได้ ให้ใช้บริการกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง สายสีน้ำเงิน และแอร์พอร์ตลิงค์ ได้ช่วงประมาณเดือนก.ค.นี้ ส่วนการใช้บริการกับรถเมล์ อาจล่าช้าออกไปเนื่องจากยังต้องใช้เวลาติดตั้งเครื่องอ่านบัตรในรถ้เมล์ทั้งหมดกว่า 2,000 คัน

ตั๋วร่วมแบบเดิมจะหักค่าโดยสารที่ประตูขาออก แต่บัตรEMV จะเป็นการคำนวนค่าโดยสารหลังเวลาปิดทำการ หรือ เวลา 24.00น.ของทุกวัน จึงต้องมีระบบคิดค่าโดยสารหลังบ้าน ที่จะต้องรวบรวมข้อมูลการเดินทางทั้งหมดของผู้ถือบัตรแล้วนำมาคำนวนหลังสิ้นสุดเวลาให้บริการ ใช้เวลาจัดทำระบบ รวมถึงปรับเปลี่ยนเครื่องอ่านบัตรใช้เวลาราว 12 เดือน จากนั้นต้องทดสอบระบบ และทดสอบการใช้งาน ร่วม 18 เดือน

ทั้งนี้ ในส่วนของการลงทุนระบบนั้น จะแบ่งเป็นส่วน รฟม.และสถาบันการเงินที่เป็นผู้ออกบัตรเครดิตที่จะนำมาใช้ในระบบ ซึ่งจะมีต้นทุนต่ำกว่าระบบตั๋วร่วมแบบเดิมราว 30-40%

ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย มีนบุรี และสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง ขณะนี้ รฟม. ยังไม่ได้ส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมา เนื่องจากอยู่ระหว่างเจรจาเงื่อนไขขอใช้พื้นที่ร่วมกับกรมทางหลวงและกรุงเทพมหานคร คาดว่าจะได้ข้อยุติภายในเดือนพ.ค. นี้ และคาดว่าจะสามารถส่งมอบพื้นที่90% ให้ผู้รับเหมาทั้ง2 รายภายในเดือนมิ.ย. นี้ โดยยอมรับว่า การส่งมอบพื้นที่มีความล่าช้ากว่าแผน 6เดือน แต่จะไม่ส่งผลกระทบกับระยะเวลาในการเปิดให้บริการในปี 2564

ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าเส้นทางที่กำลังก่อสร้าง คาดว่า สายที่จะเปิดเดินรถได้ก่อนในปลายปีนี้ คือ สายสีเขียว ช่วงสำโรง-สมุทรปราการ จากนั้นเดือน ก.ย.2562 เปิดสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค ส่วนช่วงเตาปูน-ท่าพระ เปิดบริการเดือน มี.ค.2563 ซึ่งงานก่อสร้างคืบหน้า 99% ส่วนงานระบบติดตั้งไปแล้ว 30-40%

ขณะที่สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-คูคต จะเปิดบริการปี 2563 สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ต้องใช้เวลาก่อสร้างอีก 6 ปีถึงจะเสร็จ และสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง อยู่ระหว่างรื้อย้ายสาธารณูปโภคเพื่อก่อสร้าง จะแล้วเสร็จและเปิดบริการได้ในปี 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 30/04/2018 2:03 pm    Post subject: Reply with quote

ผู้ว่าฯรฟม. เร่งตั๋วร่วม ยันก.ค. ใช้บัตรสวัสดิการ ขึ้น “MRT-สีม่วง-แอร์พอร์ตลิงก์”ได้
โดย: MGR Online

เผยแพร่: 27 เมษายน พ.ศ. 2561 18:14:


“ผู้ว่าฯรฟม.”เร่งปรับปรุงระบบตั๋วร่วมใช้ร่วมกับบัตรสวัสดิการคนจน กับรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน-ม่วง-แอร์พอร์ตลิงก์ ในเดือนก.ค.นี้ ส่วนประชาชนทั่วไป คคาดว่าจะใช้ได้ต้นปี 63 ขณะที่ งานก่อสร้างรถไฟฟ้าในแผนแม่บท ระยะที่1 สีม่วงใต้ (ช่วงเตาปูน-ราษฏร์บูรณะ) จะเสร็จสุดท้าย เปิดเดินรถในปี 2569

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า จากที่รฟม.จะพัฒนาตั๋วร่วม ในระบบบัตร EMV Contactless Smart Card (Open Loop) เทคโนโลยีระบบใหม่ โดยประเมินว่า จะใช้เวลาในการปรับปรุงหัวอ่าน ทดสอบระบบ ทดสอบการใช้งานประมาณ 18 เดือน คาดใช้ได้ในต้นปี 2563 แต่ได้มีการเร่งรัดแผนเพื่อรองรับการใช้งานกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ก่อน ซี่งมีผู้ถือบัตรประมาณ 1.3-1.4ล้านใบ และมีสิทธิ์ ในการใช้บริการ ระบบขนส่งมวลชนในกทม. วงเงิน 500 บาท/เดือน ซึ่งจะเร่งให้สามารถนำบัตรสวัสดิการใช้กับระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (MRT) สายสีม่วง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ได้ ภายในเดือนก.ค.นี้ ส่วนรถเมล์ จะใช้ได้หลังจากนั้นอีก ประมาณ 2-3 เดือน เนื่องจากจะต้องติดตั้งระบบอ่านบัตรในรถ กว่า2,000 คันให้ครบก่อน

สำหรับ ระบบEMV เป็นระบบตั๋วร่วมสมัยใหม่ ที่เป็นระบบเปิด และคำนวนค่าโดยสารหลังปิดบริการแต่ละวัน (หลังเที่ยงคืน) เป็นระบบการคิดหลังบ้าน ที่จะรวบรวมข้อมูลการเดินทางทั้งหมดของผู้ถือบัตรและคำนวนหลังปิดระบบ โดยหักค่าโดยสารจากบัตรเครดิต ซึ่งจะมีค่าลงทุนน้อยกว่ารูปแบบตั๋วร่วมเดิมประมาณ 30-40% และการหักจากบัตรเครดิตทำให้ผู้โดยสารที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถใช้ระบบรถไฟฟ้าและขนส่งมวลชนอื่นๆ ได้สะดวกมากขึ้น

นายภคพงศ์ กล่าวถึงความคืบหน้าการก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ในความรับผิดชอบของรฟม.ว่า สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ) กำหนดเปิดเดินรถ ช่วงแรก ในด้านใต้ จากหัวลำโพง -ท่าพระ -บางแค ในเดือนก.ย.2562 ส่วนช่วงเตาปูน-ท่าพระเปิดเดินรถในเดือน มี.ค.2563

สายสีเขียว ใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ซึ่งรฟม. รับผิดชอบในส่วนของงานโยธา และกรุงเทพมหานคร(กทม.) รับผิดชอบ ติดตั้งงานระบบและรถไฟฟ้า กำหนดเปิดเดินรถ จากแบริ่ง-สมุทรปราการ ปลายปี 2561 ส่วนสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคร) อยู่ระหว่างก่อสร้างงานโยธา โดยมีความคืบหน้ากว่า60% กำหนดเปิดเดินรถในปี 2563

สายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม.วงเงิน 53,519.50 ล้านบาท และสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. วงเงิน 51,931.15 ล้านบาท ปัจจุบันเริ่มรื้อย้ายสาธาณูปโภค และทำเสาเข็มทดสอบ และอยู่ระหว่างเจรจากับกรมทางหลวงและกทม. ในการปรับปรุงแบบ ซึ่งจะได้ข้อ ยุติ ในเดือนพ.ค. นี้ และเริ่มส่งมอบพื้นที่ให้กลุ่ม กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ผู้รับจ้าง ในเดือนมิ.ย. ซึ่งถือว่าช้ากว่าแผนประมาณ 6 เดือน ขณะที่ไม่ได้กระทบต่อสัญญาก่อสร้าง เนื่องจากจะเริ่มต้นสัญญาก่อสร้าง เมื่อรฟม.ออกหนังสือแจ้งบอกกล่าวให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) โดยมีเวลาก่อสร้าง 3ปี 3 เดือน (39เดือน) คาดเปิดจะเดินรถ ได้ภายในปี 2564

ส่วนสายสีส้ม (ส่วนตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) คาดว่าจะเปิดเดินรถในปี2566 ส่วนรถไฟฟ้าสายสีส้ม ด้านตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน ระยะทาง 16.4 กม. วงเงินลงทุน 109,342 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดเดินรถในปี2566 รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (ช่วงเตาปูน-ราษฏร์บูรณะ) เปิดเดินรถในปี 2569

สำหรับรถไฟฟ้าในภูมิภาค ใน 3 จังหวัดหลัก คือ ภูเก็ต เชียงใหม่คาด เริ่มก่อสร้างในปั 2563 เปิดเดินรถปี 2569 ส่วนที่จังหวัดนครราชสีมา กำลังศึกษาโครงการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 01/05/2018 10:17 am    Post subject: Reply with quote

สนข.ผนึกJICA ศึกษาทิศทางนโยบายแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะ 2จ่อชงปีนี้

30 เมษายน พ.ศ. 2561

สนข.จับมือ JICA ศึกษาและเตรียมเสนอทิศทางนโยบายการจัดทำแผนแม่บทรถไฟฟ้า ระยะ 2 (M-MAP 2) ภายในปีนี้

วันนี้ (30 เม.ย. 61) -สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ร่วมกันจัดการสัมมนา “The Blueprint for the 2nd Bangkok Mass Rapid Transit Master Plan (M-MAP 2)” เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆ ร่วมกันเสนอข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อ (ร่าง) ทิศทางนโยบายการจัดทำแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 (M-MAP 2)

ในโอกาสนี้ นายชิโระ ซะโดะชิมะ เอกอัครราชฑูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานร่วมเปิดงานสัมมนาในครั้งนี้ โดยมีตัวแทนหน่วยงานจากภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ และกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับระบบราง ทั้งจากประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น เข้าร่วมการสัมมนา จำนวนกว่า 200 คน




นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ กล่าวว่า ตามที่กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินงานตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่ 1 มาระยะหนึ่งแล้วนั้น ทำให้บริบทของการพัฒนาเมืองเปลี่ยนไปจากเดิมเนื่องจากมีการขยายตัวของเขตเมือง การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรอย่างต่อเนื่องที่ก่อให้เกิดปัญหาจราจรติดขัดอย่างมาก และการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้น แผนแม่บทฯ ระยะที่ 2 จึงเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลของโครงข่ายหลักตามแผนฯ ระยะที่ 1 และเพิ่มเติมโครงข่ายให้ครอบคลุมและทั่วถึงในพื้นที่ที่มีความจำเป็น รวมทั้งสอดรับกับการขยายตัวของเมืองในปัจจุบันและอนาคต สำหรับการสัมมนาฯ ในครั้งนี้ นับเป็นโอกาสอันดีที่ทุกภาคส่วนจะได้มีส่วนร่วมในการเสนอข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเพื่อให้แผน M-MAP2 มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

นายชิโระ ซะโดะชิมะ เอกอัครราชฑูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กล่าวว่า รถไฟฟ้าในเมืองมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นเนื่องจากการเพิ่มจำนวนประชากรของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดังนั้นจึงยินดีที่มีความคืบหน้าในการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ระยะที่ 1 (M-MAP 1) ซึ่งรัฐบาลไทยได้รับการออกแบบร่วมกับ JICA ในปี 2553 เอกอัครราชฑูตญี่ปุ่นยังกล่าวต่อว่าที่มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องนั้นจะช่วยเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าให้มากขึ้น และลดปัญหาการจราจรที่ติดขัดในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้ ทางญี่ปุ่นพร้อมที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟได้อย่างง่ายดาย และเปลี่ยนถ่ายการเดินทางไปยังระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆได้สะดวกมากขึ้น สำหรับทุกคนรวมทั้งผู้สูงอายุ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถตระหนักถึงสังคมเพื่อคนทั้งมวล (Inclusive Society)




ส่วนของการจัดทำแผนแม่บทขนส่งมวลชนระบบรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 (M-MAP 2) นั้น องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ได้ร่วมสนับสนุนดำเนินการทบทวนศึกษาและเสนอทิศทางนโยบายการจัดทำแผนแม่บทฯ ระยะ 2 ให้กับ สนข. เพื่อให้สอดคล้องกับการเติบโตและรองรับทิศทางการพัฒนาเมืองในอนาคต โดยได้เริ่มดำเนินโครงการนี้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2560 ปัจจุบันมีความคืบหน้ากว่าร้อยละ 80 แล้ว สำหรับการสัมมนาในครั้งนี้ได้นำเสนอ สาระสำคัญเกี่ยวกับทิศทางนโยบายและมาตรการสำคัญในการพัฒนาแผนแม่บท M-MAP 2 ดังนี้

1. เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
1.1 เพิ่มความสามารถในการรองรับการคมนาคมขนส่งของระบบขนส่งมวลชนในปัจจุบันให้สูงขึ้น เช่น การเพิ่มขบวนรถไฟฟ้า และความถี่ในการให้บริการ เป็นต้น
1.2 ขับเคลื่อนให้มีการดำเนินการตามแผนระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่ 1 (M-MAP)
1.3 เพิ่มโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่ศูนย์กลางเมืองที่ยังไม่มีโครงข่าย
1.4 ส่งเสริมให้มีรูปแบบการขนส่งสาธารณะต่อเนื่องหลายรูปแบบ




2. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาโครงข่ายรถไฟในภาพรวมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
2.1 พัฒนาระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่ที่มีความต้องการการเดินทางสูงแต่โครงข่ายยังเข้าไม่ถึง
2.2 พัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้มีการเชื่อมโยงระหว่างศูนย์กลางเมืองและเมืองรอง
2.3 ส่งเสริมให้มีการใช้โครงข่ายรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน โดยให้มีการเชื่อมต่อกับโครงข่ายระบบขนส่งมวลชน
2.4 ส่งเสริมให้มีสถานีขนส่งสำหรับเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างศูนย์กลางเมืองและเมืองรอง รวมทั้งมีการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีโดยรอบ

3. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงสถานี
3.1 การพัฒนาจุดเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการเดินทาง (Inter-modal facilities)
3.2 เพิ่มความสะดวก และความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ
3.3 บูรณาการการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี




4. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเปลี่ยนมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
4.1 ผู้โดยสารสามารถเข้าถึงข้อมูลการเดินทางได้อย่างสะดวก
4.2 นโยบายด้านอัตราค่าโดยสารที่ดึงดูดผู้ใช้บริการและเงินสวัสดิการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะจากนายจ้างประจำ
4.3 นโยบายด้านความปลอดภัยและสิ่งอำนวยความสะดวก
4.4 ความรวดเร็วในการเดินทางและการแก้ไขปัญหา
4.5 จัดให้มีขบวนรถไฟชั้นธุรกิจ

5.เพื่อเพิ่มการเข้าถึงสนามบิน (Global gateways)
5.1 การจัดเตรียมแนวเส้นทางที่เหมาะสมในการเดินทางเข้าสู่สนามบิน
5.2 ลดระยะเวลาในการเดินทางไปสนามบิน เช่น จัดให้มีรถไฟขบวนด่วนพิเศษ เป็นต้น




การสัมมนาครั้งนี้ยังมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ "ประเด็นสำคัญในการพิจารณาการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง" โดยศาสตราจารย์ ดร. Shigeru Morichi จาก National Graduate Institute of Policy Studies (GRIPS) โดย ดร. Morishi เน้นประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง รวมทั้งการเข้าถึงสถานี และการปรับพฤติกรรมของประชาชนให้เปลี่ยนมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะให้มากขึ้น นอกจากนี้ตัวแทนจาก หน่วยงานราชการของไทย ประกอบด้วย สนข. รฟม. รฟท. ยังได้ร่วมกันอภิปรายกับ ศาสตราจารย์ ดร. Morichi และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมและการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น (MLIT) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดทำ M-MAP 2 อีกด้วย โดยภายหลังการสัมมนาฯ ทาง สนข. และ JICA จะรวบรวมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ เพื่อนำไปปรับปรุงทิศทางนโยบายการจัดทำแผน M-MAP2 ที่มีกำหนดจะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2561 นี้

//--------------------------

Note: วันนี้ อ่านในโพสต์ทูเดย์หน้า 1 วันนี้ ก็พูดถึงเส้นทาง จากวัชรพลไปลำลูกกา และ เส้นทางอื่นที่ไปพ้องพานกะ เส้นทางที่ออหมัก เคยพูดถึงซะด้วย นอกเหนือ จากทางจากสถานีรถไฟรังสิตไปธัญบุรี ที่ น่าต่อไปเชื่อมที่สถานีองครักษ์ จริงๆ ถ้า รฟท. คิดจะเล่นนะ เนื่องจากปัญหาการควบคุมระดับน้ำในคลองรังสิต ที่คุมไม่อยู่ เลยฟื้นฟูการเดินเรือคลองรังสิตไม่สำเร็จ และ พูดถึงทาง LRT จากบางนาไปสุวรรณภูมิด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 01/05/2018 3:22 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
สนข.ผนึกJICA ศึกษาทิศทางนโยบายแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะ 2จ่อชงปีนี้

30 เมษายน พ.ศ. 2561


เสนอ"คมนาคม"สร้างรถไฟฟ้าสายใหม่ 6 เส้นทาง
วันที่ 01 พฤษภาคม 2561 เวลา 10:50 น.
'อาคม' ลั่น ส.ค.สรุปร่างแผนแม่บทรถไฟฟ้าเฟส 2
1 พฤษภาคม 2561

ไจก้าเปิดผลการศึกษาแผนพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าเฟสสอง 6 เส้นทาง เชื่อมต่อสถานีหลักรองรับการเดินทางรอบเมืองหลวง

กระทรวงคมนาคมเปิดเผยผลการศึกษาขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) เกี่ยวกับแผนพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าเมืองหลวง ระยะที่ 2 (M-MAP2) ระบุว่า เส้นทางที่ควรจะพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าเฟส 2 เพื่อแก้ปัญหารถติดและรองรับการขยายตัวของเมืองหลวงมีทั้งสิ้น 6 เส้นทาง ประกอบด้วย

1.รถไฟฟ้าช่วงรังสิต-ธัญบุรี เชื่อมต่อรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงที่สถานีรังสิต => ถ้าเป็นรถไฟฟ้าสายแดงเชื่อมไกลถึงสถานี องครักษ์ก็เรี่ยมไปเลย เพราะ เรือด่วนคลองรังสิตไม่ได้เกิดเนื่องจากคุมระดับน้ำไม่อยู่

2.รถไฟฟ้าช่วงรามอินทรา-ลำลูกกา เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่ลำลูกกา และเชื่อมรถไฟฟ้าสีเทาช่วงรามอินทรา-เอกมัย ที่สถานีรามอินทรา => งั้นทำรถไฟฟ้าสายสีเทาต่อไปถึงลำลูกกาท่าจะเหมาะ

3. รถไฟฟ้าช่วงบางนา-สนามบินสุวรรณภูมิ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ที่สถานีสุวรรณภูมิ และเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีบางนา => LRT บางนา - สุวรรณภูมิ

4.รถไฟฟ้าช่วงพญาไท-สถานีแม่น้ำ-บางนา => ส่วนต่อขยาย LRT บางนา - สุวรรณภูมิ คราวนี้เข้าตัวเมืองเลยหลังจากความคิดที่จะฝ่าบางกระเจ้าไปถึงที่ช่องนนทรีย์เป็นหมันไป แต่งานนี้เสี่ยงจะเปิดศึกกะรฟท. แน่ เพราะ ไม่ยอมให้ที่ตามเส้นทางสายแม่น้ำเด็ดขาด และ รฟท. ไปตามเส้นเพชรบุรีตัดใหม่ด้วย

5.รถไฟฟ้าช่วงสถานีมักกะสัน-มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสาย สีน้ำตาลและสายสีเขียวที่บริเวณสี่แยกเกษตร => ตรงนี้กะจะเล้นเลียบคลองลาดพร้าว ก่อน วกเข้าเส้นพระราม 9 ไปมักกะสันหละสินะ ถ้า รฟม. ได้ก็ น่าจะแบ่งว่าจะไปกันอย่างไรดี แต่ ถ้า กทม. จะเอา งานนี้ได้เปิดศึก กับ รฟม. และ รฟท. แน่นอน

6.รถไฟฟ้าเชื่อมสถานีหลักช่วงบางหว้า-ตลิ่งชัน-นนทบุรี-บางกะปิ เป็นเส้นทางแบบวงกลมเชื่อมการเดินทางรอบนอกเมืองหลวง - คราวนี้จะว่าไง เพราะ จากบางหว้าไปตลิ่งชัน กทม. จะทำ แต่ พ้นจาก ตลิ่งชันไปม. เกษตรนี่สิ ถ้าเอาตามที่ ออหมักเคยคิดไว้ก็เปิดศึก กะ รฟม. เต็มตัวแน่

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าวไจก้าได้เสนอเป็นหลักการเบื้องต้นให้กระทรวงคมนาคมพิจารณานำเสนอรัฐบาลเพื่อรองรับแนวโน้มปริมาณการเดินทางในอีก 20 ปีข้างหน้า หรือในปี 2580 ที่จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 100% ตามการขยายตัวประชากรเมืองหลวงไปยังปริมณฑล 5 แห่ง ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ และนครปฐม

ทั้งนี้ ปัจจุบันตัวเลขผู้โดยสารต่อเที่ยวต่อเส้นทางในชั่วโมงเร่งด่วนอยู่ที่ 6.8 หมื่นคน คาดว่าจะเพิ่มเป็น 1.57 แสนคน/ชั่วโมง/เส้นทาง


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ตามแผนแม่บทพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้า ระยะที่ 2 ได้ทำการศึกษาไปแล้ว 80% คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 3 เดือนนี้ จากนั้นในปี 2562 จะเริ่มสำรวจแนวเส้นทางรถไฟฟ้าใหม่ มั่นใจว่าสามารถออกแผนแม่บทได้ภายในรัฐบาลนี้ และจะส่งมอบแผนให้กับรัฐบาลชุดต่อไปศึกษาความเหมาะสมและก่อสร้างต่อไป

นายอาคม กล่าวอีกว่า หากโครงการใดได้ข้อสรุปและสามารถดำเนินการก่อนได้ก็จะเร่งดำเนินการให้สามารถเปิดให้บริการเชื่อมต่อโครงการให้สมบูรณ์เร็วขึ้น ซึ่งกรอบระยะเวลาการดำเนินการในปี 2562 จะสำรวจรายละเอียดแนวเส้นทางปี 2563 กำหนดแนวเส้นทาง จากนั้นสรุปข้อมูล รวมถึงศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและอนุมัติโครงการ และภายในปี 2564-2565เริ่มต้นการก่อสร้าง

“เป้าหมายการพัฒนารถไฟฟ้าระยะที่ 2 เน้นเชื่อมต่อการขนส่งทุกรูปแบบ ทั้งรถเมล์ เรือโดยสาร และท่าอากาศยาน โดยเฉพาะพื้นที่บางซื่อ มักกะสัน และสถานีแม่น้ำ” นายอาคม กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 178, 179, 180 ... 277, 278, 279  Next
Page 179 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©