RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179681
ทั้งหมด:13490913
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 264, 265, 266 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/03/2018 10:12 am    Post subject: Reply with quote

รัฐวิสาหกิจจีนคว้าไฮสปีด
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 31 มี.ค. 2561 เวลา 08:46 น.

รัฐวิสาหกิจจีน คว้างานระบบรถไฟไทย-จีน 5.4 หมื่นล้าน เคาะใช้เงินกู้ในประเทศ เตรียมนัดถก คณะทำงานปลายเดือน เม.ย.

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีน เฟสแรกช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ขณะนี้ รัฐบาลจีนและสถานทูตจีนแจ้งว่าจะมอบหมายให้บริษัทรัฐวิสาหกิจจีน CRRC Corporation Limited เป็นผู้ดำเนินการสัญญาจัดซื้องานระบบรถไฟไทย-จีน สัญญาที่ 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 5.4 หมื่นล้านบาท โดยไม่ต้องทำการเปิดประมูลเนื่องจากเป็นโครงการระหว่างรัฐบาล (G2G)

ทั้งนี้ สัญญาที่ 2.3 หลังจากหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว จะใช้ เงินกู้ในประเทศ เนื่องจากเป็นวงเงินที่ไม่มาก ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเงินบาทขณะนี้ต่ำมากเฉลี่ย 0.25-0.5% ซึ่งดีกว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารจีนและธนาคารโลก

สำหรับความคืบหน้า แบบการก่อสร้างตอนที่ 2 ช่วงปากช่อง-ขนานจิตร ระยะทาง 11 กม.นั้นทางฝ่ายจีนส่งแบบก่อสร้างมาแล้ว คาดว่าจะเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการประกวดราคาในช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์หรือภายในปลายเดือน เม.ย.นี้ โดยการประชุมคณะทำงานรถไฟไทย-จีนในช่วงปลายเดือน เม.ย.จะเร่งรัดแบบก่อสร้างตอนที่ 3 แก่งคอยนครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กม.และตอนที่ 4 บางซื่อ-แก่งคอย ระยะทาง 119 กม.ต่อไป ตลอดจนหารือรายละเอียดสัญญาที่ 2.3 จะมีแนวทางดำเนินการต่อไปอย่างไร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42622
Location: NECTEC

PostPosted: 31/03/2018 10:52 pm    Post subject: Reply with quote

ไฟเขียวไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน เอกชนร่วมทุนการรถไฟ 1.2 แสนล้าน
วันที่ 29 มีนาคม 2561 - 09:35 น.

ครม.ไฟเขียว ไฮสปีดเทรน เชื่อม 3 สนามบิน-ประกาศเพิ่มเติมพื้นที่อีอีซี ตลอดสองข้างทางเริ่มดอนเมืองสุดเขต กทม. 60 กม.-2,400 ไร่ คลุมมักกะสันด้วย

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ แถลงว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบหลักการโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้แก่ สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิและอู่ตะเภา ระยะทาง 220 กิโลเมตร 5 สถานี ประกอบด้วย ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยาและอู่ตะเภา อัตราความเร็ว 250 กม./ชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางจากสนามบินอู่ตะเภาเข้ากรุงเทพฯ ภายในเวลา 45 นาที ให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP Net Cost ระยะเวลา 50 ปี อัตราค่าโดยสาร จากมักกะสัน-พัทยา 270 บาท และจากมักกะสัน-อู่ตะเภา 330 บาท เปิดพื้นที่การพัฒนา 3 จังหวัด ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทราและระยอง

ขณะที่ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ทั้งโครงการ มูลค่า 700,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 50 ปีแรก 400,000 ล้านบาท และ 50 ปีต่อไป 300,000 ล้านบาท โดยผลตอบแทนมาจากมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากสนามบินอู่ตะเภา ลดการใช้น้ำมัน ลดระยะเวลาเดินทางและมลพิษจากการใช้รถยนต์ นอกจากนี้ยังได้ผลตอบแทนจากการพัฒนาเศรษฐกิจตลอดเส้นทาง รวมถึงความเจริญที่จะเกิดขึ้นโดยรอบสถานีรถไฟ การจ้างงานและการใช้ปัจจัยการผลิตภายในประเทศ ภาษีที่คาดว่าจะจัดเก็บได้มากขึ้น ทั้งนี้ในอนาคตระยะต่อไป จะเชื่อมโยงจากระยอง จันทบุรีและตราด



ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวหมายถึงการพัฒนาที่ดินมักกะสันและศรีราชา และรวมโครงการแอร์พอร์ตลิงก์รวมเข้าไปด้วยเป็นโครงการเดียวกัน โดยรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ใช้รางเดียวกับรถไฟความเร็วสูง

สำหรับรายละเอียดโครงการตามที่มติ ครม.อนุมัติ ได้แก่ 1.ภาครัฐลงทุนค่างานจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน ภาคเอกชนลงทุนค่างานโยธา ระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้า ค่าพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟและบริการผู้โดยสาร ค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ รวมถึงการบริหารและซ่อมบำรุงโครงการ โดยให้เอกชนร่วมลงทุนระยะเวลา 50 ปี โดยเอกชนเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสารและความเสี่ยงด้านจำนวนผู้โดยสารของโครงการ จัดเก็บรายได้จากการพัฒนาพื้นที่โครงการ

2.อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีอำนาจร่วมลงทุนกับเอกชนที่ได้รับเลือก 3.อนุมัติค่างานที่เกี่ยวข้องกับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์โครงการรถไฟความเร็วสูง กรอบวงเงิน 3,570.29 ล้านบาท

4.อนุมัติกรอบวงเงิน ร่วมลงทุนกับเอกชน ในวงเงินไม่เกิน 119,425.75 ล้านบาท ทั้งนี้จะทยอยจ่ายให้เอกชน แบ่งจ่ายเป็นรายปี ระยะเวลาแบ่งจ่าย ไม่ต่ำกว่า 10 ปี 5.เห็นชอบให้รัฐบาลรับภาระหนี้โครงสร้างพื้นฐานของแอร์พอร์ตเรลลิงก์ของ ร.ฟ.ท. เป็นจำนวนเงิน 22,558.06 ล้านบาท

6.เห็นชอบให้พื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงตั้งแต่สนามบินดอนเมือง ถึงสุดเขตกรุงเทพฯ และรวมถึงสนามบินสุวรรณภูมิ หรือพื้นที่ที่เป็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูงวิ่งผ่านและรอบสถานี ประกาศให้เป็นพื้นที่อีอีซีเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาในเชิงพาณิชย์ต่อไป

7.มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมและกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ ร.ฟ.ท. และสำนักงานอีอีซี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ขั้นตอนต่อไป คือ การร่าง TOR และสรรหาผู้ประมูลเพื่อนำเข้า ครม.อนุมัติอีกครั้ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการกำหนดพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเพิ่มเติม ตั้งแต่สถานีดอนเมืองถึงสุดเขตกรุงเทพฯ และรวมถึงสถานีสุวรรณภูมิที่มีระยะทางยาว 60 กิโลเมตร พื้นที่ 2,400 ไร่ ประกอบด้วย

1.พื้นที่แนวเขตทางรถไฟของโครงการ ตั้งแต่สถานีดอนเมืองถึงสถานีสุวรรณภูมิ ระยะทาง 60 กม. (ความกว้างของเขตทางรถไฟ 40-80 เมตร)

2.พื้นที่สถานีกลางบางซื่อ (เฉพาะในส่วนชานชาลาและรางที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการ)

3.พื้นที่สถานีมักกะสัน (28 ไร่)

4.พื้นที่บริเวณสถานีมักกะสันเพื่อใช้ในการสนับสนุนบริการรถไฟและบริการผู้โดยสารและการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ (150 ไร่) และ

5.พื้นที่สถานีสุวรรณภูมิ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42622
Location: NECTEC

PostPosted: 03/04/2018 7:20 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดทีโออาร์ไฮสปีดเทรน เอื้อทุนใหญ่1.2แสนล้าน

3 เมษายน 2561

คลอดทีโออาร์ไฮสปีดเทรนกรุงเทพฯ-อู่ตะเภา ต้นเม.ย.นี้ เปิดทางให้เอกชนจับมือร่วมประมูลกับต่างชาติ ตั้งบริษัท SPV คนไทยถือหุ้นใหญ่ 51% ต้องมีหนังสือการันตีเงินสดหรือสินทรัพย์ไม่ตํ่ากว่า 1.2 แสนล้าน วางคํ้าประกัน วิศวกรรมสถานฯระบุต้องเงินหนาพอถึงเข้าประมูลได้

การออกทีโออาร์โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน กรุงเทพฯ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กิโลเมตร สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) จะประกาศทีโออาร์ได้ในสัปดาห์นี้หรือราวต้นเดือนเมษายน 2561 ด้วยมูลค่าการร่วมลงทุน (พีพีพี)ราว 2.46 แสนล้านบาท เป็นการลงทุนของภาค เอกชนราว 2.2 แสนล้านบาท และรัฐ 2.6 หมื่นล้านบาท มีสัญญาดำเนินงาน 45 ปี รวมการก่อสร้าง 5 ปี รัฐจะรับผิดชอบค่าเวนคืนที่ดินแนวรถไฟความเร็วสูงราว 3.5 พันล้านบาท ขณะที่เอกชนต้องจ่าย ค่าเช่าที่ดินมักกะสันและศรีราชารวม 1.4 หมื่นล้านบาท เป็นต้น

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) เปิดเผยว่า หลังจากทำมาร์เก็ตซาวดิ้งครั้งแรกไปแล้ว ได้นำข้อคิดเห็นของนักลงทุนมาปรับปรุงร่างทีโออาร์ และคาดว่าจะประกาศช้าสุดได้ราวต้นเดือนเมษายน 2561 นี้

โดยร่างทีโออาร์ กำหนดผู้ที่จะเข้ามาร่วมลงทุน จะต้องเป็นนิติบุคคลรายเดียวหรือมากกว่า 1 รายร่วมกันในรูปกิจการร่วมค้า หรือร่วมทุน โดยต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งมาไม่น้อยกว่า 3 ปี และมีคุณสมบัติ ด้านการเงิน กล่าวคือ 1.กรณีนิติบุคคลแกนนำ ต้องมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ไม่น้อยกว่า 4.5 หมื่นล้านบาท หรือ 2.แกนนำต้องมีสินทรัพย์ไม่น้อยกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท บวกกับนิติบุคคล 2 ราย อีก 2 หมื่นล้านบาท โดยที่นิติบุคคลแต่ละรายต้องมีสินทรัพย์ไม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านบาท

ขณะที่คุณสมบัติด้านการระดมทุน ต้องมี 1.หนังสือแสดงเจตจำนง (LOI) หรือการันตีไม่น้อย กว่า 1.2 แสนล้านบาท หรือ 2. มีเงินสด/สินทรัพย์เทียบเท่าเงินสดไม่น้อยกว่า 1.2 แสนล้านบาท หรือ 3. LOI บวกกับเงินสดแล้ว ไม่น้อยกว่า 1.2 แสนล้านบาท

ส่วนคุณสมบัติด้านเทคนิค จะแยกเป็น 3 ส่วน โดยส่วนแรกจะเป็นเรื่องของประสบการณ์การก่อสร้างโครงการ ซึ่งมี 3 ส่วนย่อย ได้แก่ ประสบการณ์งานออก แบบโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการก่อสร้าง และด้านการจัดหางานระบบ พร้อมกับอุปกรณ์ เครื่องกล และไฟฟ้า ส่วนที่ 2 เป็นเรื่องของประสบการณ์ด้านการเดินรถไฟและซ่อมบำรุงรักษา ซึ่งผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีประสบการณ์ด้านการเดินรถไฟความเร็วสูงที่ความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และดำเนินการแล้ว 5 ปีต่อเนื่อง ส่วนที่ 3 ต้องมีประสบการณ์พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หรือประสบการณ์เป็นนักลงทุนพัฒนาเมือง บนเนื้อที่ไม่ตํ่ากว่า 2 หมื่นตารางเมตร


สำหรับค่าธรรมเนียมในขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนนั้น การซื้อซองจะอยู่ที่ 2 ล้านบาท และ เมื่อจัดทำเอกสาร ข้อเสนอแล้วยื่นซองประมูลเข้ามา ต้องยื่นหลักประกันซองที่มีมูลค่า 4 พันล้านบาท จากนั้นเข้าขั้นตอนการประเมิน ซึ่งจะต้องมีค่าธรรมเนียมประเมินเอกสารอีก 2 ล้านบาท หลังจากนั้นได้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการลงนามในสัญญาอีก 2 ล้านบาท

การพิจารณาข้อเสนอ จะต้องมีแผนการพัฒนาธุรกิจ การให้บริการ การบริหารความเสี่ยง การเงิน รวมทั้งวงเงินที่รัฐร่วมลงทุนน้อยที่สุดเป็นรายปี และแผนงานที่คาดว่าจะแบ่งปันผลกำไรให้กับการรถไฟแห่งประเทศ ไทย(ร.ฟ.ท.) ที่คำนวณกลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิสูงสุด ซึ่งจะเป็นผู้ผ่านเกณฑ์พิจารณา เมื่อคัดเลือกผู้ชนะได้แล้ว ก่อนลงนามสัญญาผู้ชนะประมูลจะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ (SPV) มีวัตถุประสงค์ดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเท่านั้น

บริษัทเฉพาะกิจที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ ต้องถือหุ้นโดยฝ่ายไทยมากกว่า 51% ถือโดยบริษัทแกนนำไม่น้อยกว่า 30% และบริษัทอื่นๆ ที่เหลือถือไม่ตํ่ากว่า 5% ซึ่งการจัดตั้งเริ่มแรกจะต้องมีเงินทุนจดทะเบียน 4 พันล้านบาท และเมื่อเปิดดำเนินการแล้วจะต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 3.6 หมื่นล้านบาท

นายรัฐภูมิ ปริชาตปรีชา ประธานคณะกรรมการวิศวกรรมระบบราง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ความเห็นว่า ร่างทีโออาร์ที่ออกมา ผู้เข้าร่วมประมูลจะต้องมีเงินหนาพอที่จะเข้ามาเสี่ยง เพราะหากเป็นบริษัทเล็กๆ เงินทุนน้อย จะสู้ไม่ไหว จากการเสนอผลตอบ แทนรัฐ และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาค่อนข้างสูง และผลตอบแทนระยะสั้น ระยะกลางแทบไม่มี

ดังนั้น การจะให้โครงการเกิดได้ การดำเนินงานอยากจะให้เอื้อกับเอกชนที่มีความสามารถไปเลย แต่ต้องสัญญากับรัฐว่า จะต้องคุมค่าโดยสารให้เหมาะสม ความปลอดภัยและความสะดวกสบายในการใช้งาน การสัญญาว่าจะต้องมีการพัฒนาอุตสาหกรรม และการให้บริการ จ้างคนในทุกระดับเป็นคนไทย มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีควบคู่กับการทำวิจัยและพัฒนา การจัดตั้งโรงงานอะไหล่ที่สำคัญเพื่อการซ่อมบำรุง เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/04/2018 8:41 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เตือน‘ภาระการคลัง-ผลตอบแทนรัฐ’
กรุงเทพธุรกิจ 4 เม.ย. 61 นโยบายเศรษฐกิจ

Click on the image for full size

การออกประกาศเชิญชวนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะมีขึ้นหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการไปเมื่อวันที่ 27 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานโครงการแรกของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี)

การพิจารณาโครงการ กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอให้มีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิและอู่ตะเภาแบบไร้รอยต่อ โดยเสนอให้รัฐมีมาตรการสนับสนุนการเงิน เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นเงินที่รัฐร่วมลงทุนกับเอกชนไม่เกินมูลค่าปัจจุบัน (เอ็นพีวี) 119,425 ล้านบาท ซึ่งการยื่นข้อเสนอร่วมลงทุนของเอกชนจะขอรับเงินร่วมลงทุนน้อยกว่านี้ก็ได้

ในการประชุม ครม.หน่วยงานต่างๆได้เสนอความเห็นเพื่อให้รัฐได้รับประโยชน์จากโครงการนี้่ โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ให้ความเห็นว่าปัจจุบันรูปแบบการร่วมลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสาขาขนส่งระหว่างรัฐและเอกชนมีแนวโน้มกำหนดเงื่อนไขให้รัฐจ่ายเงินสนับสนุนให้เอกชนผู้รับสัมปทานในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้เอกชนมีผลตอบแทนที่ยอมรับได้ ทำให้เกิดภาระผูกพันงบประมาณรายจ่ายของรัฐเพิ่มขึ้น

ดังนั้น สำนักงบประมาณและกระทรวงการคลังควรติดตามภาระผูกพันงบประมาณรัฐ ให้อยู่กรอบวินัยการเงินการคลัง และป้องกันไม่ให้กระทบกับการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาบริการขั้นพื้นฐานสาขาอื่น

การสนับสนุนทางการเงินในภาคเอกชนในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต้องอยู่บนพื้นฐานของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง มีการแบ่งปันผลประโยชน์และความเสี่ยงระหว่างรัฐและเอกชนที่เป็นธรรม และเกิดภาระกับรัฐน้อยที่สุดให้ความสำคัญกับการเปิดเผยรายละเอียดโครงการเพื่อเป็นมาตรฐานรองรับการประกวดราคานานาชาติ

นอกจากนี้ การที่ให้พื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ตั้งแต่สนามบินดอนเมืองถึงสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นพื้นที่อีอีซี ดังนั้นการคัดเลือกเอกชนควรดูแนวทางที่ะช่วยให้รัฐแบ่งผลกำไรที่เหมาะสม

สำนักงบประมาณให้ความเห็นว่ากรอบวงเงินที่รัฐร่วมลงทุนกับเอกชนควรเป็นวงเงินไม่เกิน 119,425 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าปัจจุบันตามที่ตกลงในสัญญาร่วมลงทุน โดยแบ่งจ่าย 10 ปี ใช้อัตราส่วนลดหรืออัตราดอกเบี้ยไม่เกินFDR+1 และกำหนดเงื่อนไขชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนให้เป็นธรรม สอดคล้องกับภาระการคลังในอนาคตเพราะวงเงินค่อนข้างสูง เพื่อไม่ให้เป็นภาระงบประมาณและภาระหนี้สาธารณะในอนาคต และเสนอให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้ในประเทศที่เหมาะสมวิธีการให้กู้ต่อหรือค้ำประกันเงินกู้เพื่อเป็นค่าก่อสร้าง

นอกจากนี้การที่ภาครัฐควรรับความเสี่ยงจากการดำเนินโครงการล่าช้าและภาระค่าใช้จ่ายเกินกว่าที่ประมาณการไว้ทำให้ ร.ฟ.ท.ต้องมีความชัดเจนถึงภาระที่รัฐต้องสนับสนุนเท่าที่จำเป็นและไม่ให้ราชการเสียประโยชน์

การกำหนดทีโออาร์จะต้องเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนได้ มีการแข่งขันเป็นธรรมโปร่งใส เพื่อให้เกิดกลไกตลาดที่จะทำให้รัฐประหยัดเงินลงทุน และไม่เป็นภาระทางการคลังเกินความจำเป็น เพราะโครงการนี้สร้างผลประโยชน์ด้านอื่นอีกมาก เช่นการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี

กระทรวงการคลังเห็นว่ารัฐบาลควรรับภาระหนี้แอร์พอร์ต เรล ลิงค์ 22,558 ล้านบาทเพื่อลดภาระหนี้ของ ร.ฟ.ท.และให้ ร.ฟ.ท.นำค่าสิทธิบริหารโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ 10,671 ล้านบาท ที่ได้รับจากเอกชนมาชำระหนี้ของแอร์พอร์ต เรล ลิงค์

โครงการนี้มีมูลค่าการลงทุนเริ่มต้นสูงถึง 224,544 ล้านบาท ดังนั้น ร.ฟ.ท.ควรให้ความสำคัญกับข้อมูลทางการเงิน เช่น ค่าเวนคืนที่ดิน รวมถึงรายได้จากโครงการที่เพียงพอในการกำหนดวงเงินที่รัฐจะร่วมลงทุน โดยต้องอยู่บนพื้นฐานแบ่งปันผลประโยชน์และความเสี่ยงที่เป็นธรรมระหว่างรัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดภาระทางการเงินน้อยที่สุด

การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟและบริการผู้โดยสารบริเวณสถานีมักกะสันและศรีราชา ร.ฟ.ท.ควรพิจารณาแนวทางที่รัฐจะได้รับการแบ่งปันผลตอบแทนที่เป็นธรรมเพิ่มเติมนอกจากค่าเช่าที่ ร.ฟ.ท.ได้รับ

ในขณะที่นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า กำลังเร่งร่างขอบเขตงานหรือ ทีโออาร์โครงการนี้ โดยหาข้อสรุปประเด็นต่างๆ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42622
Location: NECTEC

PostPosted: 05/04/2018 11:49 am    Post subject: Reply with quote

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "แผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อยกระดับประสิทธิภาพโลจิสติกส์และการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ" เมื่อ 4 เมษายน 2561 ได้ความว่า

"บางโครงการอาจดูล่าช้า เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการสื่อสาร แบบก่อสร้างใช้ภาษาจีนกำกับ ไม่เป็นสากล หากเราปล่อยให้จีนดำเนินการไปเลย เราจะไม่ได้รับองค์ความรู้ และไม่มีการใช้วัสดุในประเทศมากถึง 90%" รมว.คมนาคม กล่าว

http://www.ryt9.com/s/iq03/2808502
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/04/2018 8:28 am    Post subject: Reply with quote

"อาคม"ถกญี่ปุ่นดัน'รถไฟเร็วสูง'กรุงเทพ-เชียงใหม่
คมชัดลึก 7 เม.ย. 61

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะผู้แทนไทย ประกอบด้วย นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร นายบรรสาน บุนนาค เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงคมนาคม นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 5 เม.ย.2561 ณ ประเทศญี่ปุ่น

โดยได้หารือร่วมกับ H.E.Mr. Keiichi Ishii รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยว (MLIT) ญี่ปุ่น โดยมี H.E. Mr. Hiroto Izumi ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เข้าร่วมการประชุมฯ ด้วย

ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวมีประเด็นการหารือที่สำคัญ อาทิ (1) ความร่วมมือด้านระบบรางในการพัฒนารถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่(ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก) ซึ่งกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลประกอบการเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการฯ ซึ่งคาดว่าจะนำเสนอฯ ได้ภายในเดือนพ.ค.2561 จึงขอให้ฝ่ายญี่ปุ่นสนับสนุนรายละเอียดเพื่อความสมบูรณ์ในการนำเสนอฯ

(2) การพัฒนาการขนส่งสินค้าทางรถไฟในประเทศไทยเพื่อให้เกิดการบริการขนส่งสินค้าทางรางรูปแบบใหม่ (3) การพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ (4) การพัฒนาระบบการขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-MAP 2) (5) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และ (6) ความร่วมมือด้านการบิน ซึ่งขอฝากให้ MLIT พิจารณาคำขอในการเพิ่มเที่ยวบินเส้นทางกรุงเทพฯ-ฮาเนดะ ของการบินไทยด้วย

นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมยังได้กล่าวขอบคุณ MLIT สำหรับความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางถนนซึ่งทั้งสองกระทรวงได้มีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อวางมาตรการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทยซึ่งได้นำมาใช้ในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมาและจะดำเนินการในช่วงสงกรานต์ที่จะถึงนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42622
Location: NECTEC

PostPosted: 09/04/2018 10:07 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
"อาคม"ถกญี่ปุ่นดัน'รถไฟเร็วสูง'กรุงเทพ-เชียงใหม่
คมชัดลึก 7 เมษายน 2561

"อาคม" ถกญี่ปุ่น ดัน "รถไฟเร็วสูง" กรุงเทพ-เชียงใหม่
เรื่องโดย Nation TV | ภาพโดย Nation TV

8 เมษายน 2561 14:00

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะผู้แทนไทย ประกอบด้วย นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร นายบรรสาน บุนนาค เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงคมนาคม นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 5 เม.ย.2561 ณ ประเทศญี่ปุ่น

Ads by AdAsia
You can close Ad in 3 s



โดยได้หารือร่วมกับ H.E.Mr. Keiichi Ishii รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยว (MLIT) ญี่ปุ่น โดยมี H.E. Mr. Hiroto Izumi ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เข้าร่วมการประชุมฯ ด้วย


ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวมีประเด็นการหารือที่สำคัญ อาทิ (1) ความร่วมมือด้านระบบรางในการพัฒนารถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่(ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก) ซึ่งกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลประกอบการเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการฯ ซึ่งคาดว่าจะนำเสนอฯ ได้ภายในเดือนพ.ค.2561 จึงขอให้ฝ่ายญี่ปุ่นสนับสนุนรายละเอียดเพื่อความสมบูรณ์ในการนำเสนอฯ


(2) การพัฒนาการขนส่งสินค้าทางรถไฟในประเทศไทยเพื่อให้เกิดการบริการขนส่งสินค้าทางรางรูปแบบใหม่ (3) การพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ (4) การพัฒนาระบบการขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-MAP 2) (5) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และ (6) ความร่วมมือด้านการบิน ซึ่งขอฝากให้ MLIT พิจารณาคำขอในการเพิ่มเที่ยวบินเส้นทางกรุงเทพฯ-ฮาเนดะ ของการบินไทยด้วย


นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมยังได้กล่าวขอบคุณ MLIT สำหรับความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางถนนซึ่งทั้งสองกระทรวงได้มีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อวางมาตรการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทยซึ่งได้นำมาใช้ในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมาและจะดำเนินการในช่วงสงกรานต์ที่จะถึงนี้

//--------------------------

ชงครม.ไฟเขียวไฮสปีดกทม.-พิษณุโลกพ.ค.นี้

อาทิตย์ที่ 8 เมษายน 2561 เวลา 14.19 น.
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ในปี 61 ประชาชนจะเริ่มเห็นความชัดเจนของขั้นตอน และการเปิดประมูลโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาทขึ้นไป (เมกะโปรเจ็กต์) ในโครงการต่างๆ วงเงินรวมกว่า 6.4 แสนล้านบาท ประกอบด้วย

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน วงเงิน 2.15 แสนล้านบาท,

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์-ตลิ่งชัน วงเงิน 1.21 แสนล้านบาท,

โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 1.01 แสนล้านบาท,

โครงการแหลมฉบังเฟส 3 วงเงิน 1.41 แสนล้านบาท และ

โครงการงานระบบและซ่อมบำรุงมอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-กาญจนบุรี วงเงิน 2.8 หมื่นล้านบาท และสายบางปะอิน-นครราชสีมา วงเงิน 3.3หมื่นล้านบาท

นายอาคม กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ภายในปี 61 กระทรวงคมนาคม ตั้งใจจะผลักดันโครงการระบบรางขนาดใหญ่ให้สามารถเปิดประมูลได้ เริ่มจาก โครงการรถไฟทางคู่เฟส 2 รวม 9 เส้นทาง วงเงิน 3.98 แสนล้านบาท โดยต้องเปิดประกวดราคา และได้ตัวเอกชนในปีนี้

ขณะที่โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่นเฟส 1 ช่วงกรุงเทพ-พิษณุโลก วงเงิน 2.76 แสนล้านบาทนั้น รัฐบาลจะเร่งให้ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือน พ.ค.นี้ หรือนับจากวันนี้ไปอีก 2 เดือน

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาในการเปิดเวทีรับฟังเสียงนักลงทุน(Market Sounding) ของโครงการต่างๆ ที่ผ่านมานั้น มีเอกชนบริษัทใหญ่จากต่างชาติสนใจเข้าร่วมลงทุนมากมาย ทั้งจากอังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น รวมถึงโซนทวีปยุโรป

โดยเฉพาะอิตาลีที่สนใจลงทุนหลากหลายระบบทั้งถนน ทางด่วน และรถไฟ

นายอาคม กล่าวด้วยว่า รัฐบาลชุดนี้สนับสนุนงบลงทุนจำนวนมาก เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ หวังรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว รวมถึงกระตุ้นตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของประเทศ ซึ่งปีนี้คาดว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 4%
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42622
Location: NECTEC

PostPosted: 19/04/2018 12:47 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดทีโออาร์ไฮสปีดเทรน เอื้อทุนใหญ่1.2แสนล้าน

3 เมษายน 2561

คลอดทีโออาร์ไฮสปีดเทรนกรุงเทพฯ-อู่ตะเภา ต้นเม.ย.นี้ เปิดทางให้เอกชนจับมือร่วมประมูลกับต่างชาติ ตั้งบริษัท SPV คนไทยถือหุ้นใหญ่ 51% ต้องมีหนังสือการันตีเงินสดหรือสินทรัพย์ไม่ตํ่ากว่า 1.2 แสนล้าน วางคํ้าประกัน วิศวกรรมสถานฯระบุต้องเงินหนาพอถึงเข้าประมูลได้

การออกทีโออาร์โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน กรุงเทพฯ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กิโลเมตร สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) จะประกาศทีโออาร์ได้ในสัปดาห์นี้หรือราวต้นเดือนเมษายน 2561 ด้วยมูลค่าการร่วมลงทุน (พีพีพี)ราว 2.46 แสนล้านบาท เป็นการลงทุนของภาค เอกชนราว 2.2 แสนล้านบาท และรัฐ 2.6 หมื่นล้านบาท มีสัญญาดำเนินงาน 45 ปี รวมการก่อสร้าง 5 ปี รัฐจะรับผิดชอบค่าเวนคืนที่ดินแนวรถไฟความเร็วสูงราว 3.5 พันล้านบาท ขณะที่เอกชนต้องจ่าย ค่าเช่าที่ดินมักกะสันและศรีราชารวม 1.4 หมื่นล้านบาท เป็นต้น

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) เปิดเผยว่า หลังจากทำมาร์เก็ตซาวดิ้งครั้งแรกไปแล้ว ได้นำข้อคิดเห็นของนักลงทุนมาปรับปรุงร่างทีโออาร์ และคาดว่าจะประกาศช้าสุดได้ราวต้นเดือนเมษายน 2561 นี้

โดยร่างทีโออาร์ กำหนดผู้ที่จะเข้ามาร่วมลงทุน จะต้องเป็นนิติบุคคลรายเดียวหรือมากกว่า 1 รายร่วมกันในรูปกิจการร่วมค้า หรือร่วมทุน โดยต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งมาไม่น้อยกว่า 3 ปี และมีคุณสมบัติ ด้านการเงิน กล่าวคือ 1.กรณีนิติบุคคลแกนนำ ต้องมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ไม่น้อยกว่า 4.5 หมื่นล้านบาท หรือ 2.แกนนำต้องมีสินทรัพย์ไม่น้อยกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท บวกกับนิติบุคคล 2 ราย อีก 2 หมื่นล้านบาท โดยที่นิติบุคคลแต่ละรายต้องมีสินทรัพย์ไม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านบาท

ขณะที่คุณสมบัติด้านการระดมทุน ต้องมี 1.หนังสือแสดงเจตจำนง (LOI) หรือการันตีไม่น้อย กว่า 1.2 แสนล้านบาท หรือ 2. มีเงินสด/สินทรัพย์เทียบเท่าเงินสดไม่น้อยกว่า 1.2 แสนล้านบาท หรือ 3. LOI บวกกับเงินสดแล้ว ไม่น้อยกว่า 1.2 แสนล้านบาท

ส่วนคุณสมบัติด้านเทคนิค จะแยกเป็น 3 ส่วน โดยส่วนแรกจะเป็นเรื่องของประสบการณ์การก่อสร้างโครงการ ซึ่งมี 3 ส่วนย่อย ได้แก่ ประสบการณ์งานออก แบบโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการก่อสร้าง และด้านการจัดหางานระบบ พร้อมกับอุปกรณ์ เครื่องกล และไฟฟ้า ส่วนที่ 2 เป็นเรื่องของประสบการณ์ด้านการเดินรถไฟและซ่อมบำรุงรักษา ซึ่งผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีประสบการณ์ด้านการเดินรถไฟความเร็วสูงที่ความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และดำเนินการแล้ว 5 ปีต่อเนื่อง ส่วนที่ 3 ต้องมีประสบการณ์พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หรือประสบการณ์เป็นนักลงทุนพัฒนาเมือง บนเนื้อที่ไม่ตํ่ากว่า 2 หมื่นตารางเมตร


สำหรับค่าธรรมเนียมในขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนนั้น การซื้อซองจะอยู่ที่ 2 ล้านบาท และ เมื่อจัดทำเอกสาร ข้อเสนอแล้วยื่นซองประมูลเข้ามา ต้องยื่นหลักประกันซองที่มีมูลค่า 4 พันล้านบาท จากนั้นเข้าขั้นตอนการประเมิน ซึ่งจะต้องมีค่าธรรมเนียมประเมินเอกสารอีก 2 ล้านบาท หลังจากนั้นได้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการลงนามในสัญญาอีก 2 ล้านบาท

การพิจารณาข้อเสนอ จะต้องมีแผนการพัฒนาธุรกิจ การให้บริการ การบริหารความเสี่ยง การเงิน รวมทั้งวงเงินที่รัฐร่วมลงทุนน้อยที่สุดเป็นรายปี และแผนงานที่คาดว่าจะแบ่งปันผลกำไรให้กับการรถไฟแห่งประเทศ ไทย(ร.ฟ.ท.) ที่คำนวณกลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิสูงสุด ซึ่งจะเป็นผู้ผ่านเกณฑ์พิจารณา เมื่อคัดเลือกผู้ชนะได้แล้ว ก่อนลงนามสัญญาผู้ชนะประมูลจะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ (SPV) มีวัตถุประสงค์ดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเท่านั้น

บริษัทเฉพาะกิจที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ ต้องถือหุ้นโดยฝ่ายไทยมากกว่า 51% ถือโดยบริษัทแกนนำไม่น้อยกว่า 30% และบริษัทอื่นๆ ที่เหลือถือไม่ตํ่ากว่า 5% ซึ่งการจัดตั้งเริ่มแรกจะต้องมีเงินทุนจดทะเบียน 4 พันล้านบาท และเมื่อเปิดดำเนินการแล้วจะต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 3.6 หมื่นล้านบาท

นายรัฐภูมิ ปริชาตปรีชา ประธานคณะกรรมการวิศวกรรมระบบราง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ความเห็นว่า ร่างทีโออาร์ที่ออกมา ผู้เข้าร่วมประมูลจะต้องมีเงินหนาพอที่จะเข้ามาเสี่ยง เพราะหากเป็นบริษัทเล็กๆ เงินทุนน้อย จะสู้ไม่ไหว จากการเสนอผลตอบ แทนรัฐ และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาค่อนข้างสูง และผลตอบแทนระยะสั้น ระยะกลางแทบไม่มี

ดังนั้น การจะให้โครงการเกิดได้ การดำเนินงานอยากจะให้เอื้อกับเอกชนที่มีความสามารถไปเลย แต่ต้องสัญญากับรัฐว่า จะต้องคุมค่าโดยสารให้เหมาะสม ความปลอดภัยและความสะดวกสบายในการใช้งาน การสัญญาว่าจะต้องมีการพัฒนาอุตสาหกรรม และการให้บริการ จ้างคนในทุกระดับเป็นคนไทย มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีควบคู่กับการทำวิจัยและพัฒนา การจัดตั้งโรงงานอะไหล่ที่สำคัญเพื่อการซ่อมบำรุง เป็นต้น

Note: ทุนใหญ่ที่ว่าดันเป็นขมิ้นกะปูนกับ เจ้าของสปริงนิวส์ที่เป็นเจ้าของฐานเศรษฐกิจนี่ครับ จึงต้องเขียนเช่นนี้จึงจะถูกใจกอง บก. และเจ้าของ

//-------------------------

“ประยุทธ์” สั่งลุยศึกษาเมืองใหม่ EEC ไม่เกิน 2 สัปดาห์เปิดทีโออาร์ไฮสปีด ชี้ “แจ๊ค หม่า” จะประกาศอบรมเอสเอ็มอีไทย


18 เมษายน 2561

- 18 เม.ย. 61 - นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายอีอีซี ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ว่า วันนี้มีการหารือในความชัดเจนในการศึกษาการสร้างเมืองใหม่ ซึ่งยังมีความเห็นที่แตกต่างกันหลายประเด็น จึงยังไม่ได้ข้อสรุปว่าเมืองใหม่ต้องอยู่ที่ไหน อย่างไร เรื่องสิทธิประโยชน์จะให้อย่างไร การปกครองจะเป็นอย่างไร

เลขาธิการอีอีซี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีให้นโยบายว่า ขอให้ไปดูเมืองใหม่จริงๆ เมืองที่ทำงานกับเอกชนให้ได้ หน้าตาจะเป็นอย่างไร และเอกชนจะอยู่ตรงไหน โดยแบ่งเป็น เมืองน่าอยู่ เช่น เมืองเก่าหรือจังหวัดที่มีอยู่ จะทำที่จังหวัดชลบุรี หรือ ที่ไหนก็ได้ ซึ่งนายกฯมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมไปดูแล ส่วน เมืองของแรงงาน ที่ให้ผู้ใช้แรงงานและคนต่างประเทศอยู่ด้วยกัน มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ดูแล ซึ่งบีโอไอแจ้งว่าจะเสนอแพคเกจเมืองแรงงานได้ในการประชุมคณะกรรมการบีโอไอในวันที่ 9 พ.ค.นี้

ส่วนเรื่องเมืองใหม่ที่จะทำงานกับเอกชน หรือเรียกว่าเมืองปั้น เพราะปั้นขึ้นมาทั้งเมือง นายกฯให้สำนักงานอีอีซี ดูแล โดยกำชับให้ดูว่าจะทำอย่างไร ให้สิทธิประโยชน์อย่างไร เงื่อนไขเป็นอย่างไร ซึ่งสำนักงานอีอีซีได้รายงานว่า ต้องการให้เมืองใหม่เป็นเมืองอัจฉริยะ ต้องมี 6 ด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม คมนาคม พลังงาน การอยู่อาศัย และการบริหาร ซึ่งนายกฯจึงขอให้ไปตรวจสอบดูว่าเอกชนมีพื้นที่เท่าไร จะกำหนดพื้นที่ประมาณไหน และหาทางให้เอกชนเป็นคนดำเนินการ จะช่วยกันทำได้อย่างไร ติดกฎหมายอย่างไรบ้าง อันไหนทำได้ อันไหนทำไม่ได้ ต้องทำอะไรบ้าง

นายคณิศ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ให้ความเห็นไว้ 3 เรื่องที่ต้องรีบทำ คือ 1.เรื่องการลงทุน ที่ นายแจ๊ค หม่า ประธานบริหารของกลุ่มอาลีบาบา จะเดินทางมาประเทศไทยในวันที่ 19 เม.ย. ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนโทนของการลงทุน 2.เร่งให้ทำรถไฟความเร็วสูงให้จบ และ 3.ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) ที่ให้ช่วยกันทำโดยด่วน

นายคณิศ กล่าวอีกว่า เรื่องร่างขอบเขตของงาน (ทีโออาร์) รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วันนี้คณะทำงานได้รายงานความคืบหน้าของการจัดทำทีโออาร์ให้ที่ประชุมรับทราบว่า ร่างทีโออาร์มีโครงสร้างสำคัญอย่างไร แต่ขอยังไม่เปิดเผยรายละเอียดในตอนนี้ แต่เป็นไปตามเงื่อนไขที่นายกรัฐมนตรี และนายสมคิดต้องการให้เร่งทำทีโออาร์ให้เสร็จโดยเร็ว ซึ่งตอนนี้เกือบจะเสร็จแล้ว พอดีติดช่วงเทศกาลสงกรานต์จึงช้าไปเล็กน้อย แต่คาดว่าไม่เกิน 1-2 สัปดาห์ ร่างทีโออาร์ก็จะเสร็จแล้ว คงจะเปิดทีโออาร์ได้ โดยไม่ต้องนำกลับเข้าบอร์ดอีอีซีอีก เพราะคณะกรรมการคัดเลือกดำเนินการโดยอิสระ

“จากการตรวจสอบ เชื่อว่าเมื่อมีการเปิดทีโออาร์จะมีผู้เข้ามาประมูลแน่นอน นับจากวันที่เปิดทีโออาร์ก็นับไปอีก 4 เดือน ผู้เข้าประมูลก็จะมีข้อเสนอกลับมา จากนั้นเจรจาอีก 1 เดือน รวมแล้ว 5 เดือนก็จะเสร็จ ตั้งเป้าว่าปลายปีนี้ หรือ ช่วงเดือนพฤศจิกายนจะต้องได้ผู้เข้าลงทุนโครงการ” นายคณิศ กล่าว

นายคณิศ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายอีอีซีว่า การเดินทางมาประเทศไทย ของนายแจ๊ค หม่า ประธานบริหารของกลุ่มอาลีบาบา ในวันพรุ่งนี้ (19 เม.ย.) อาจจะมีการประกาศจำนวนเอสเอ็มอีที่อาลีบาบาจะมีการอบรมให้ รวมทั้งปริมาณข้าวที่จะส่งไปขาย จึงขอให้มองเป็นเรื่องของความร่วมมือกัน ไม่ใช่แค่เรื่องของการลงทุน เช่น ความร่วมมือการนำสินค้าเกษตรไปขายที่จีน การนำเอสเอ็มอี โอท็อป ไปอยู่บนแพลตฟอร์มของอาลีบาบา แต่ภายใต้ความร่วมมือมีการลงทุนเกี่ยวกับสมาร์ทดิจิทัลฮับ อีคอมเมิร์ซ ที่อาลีบาบาประกาศวงเงินลงทุนแล้วประมาณหมื่นล้านบาทในรอบแรก

“ไม่ใช่แค่เรื่องของการลงทุน เรื่องนี้เราเจรจาค่อนข้างนาน เพราะเราไม่ได้เน้นการลงทุนอย่างเดียว เราอยากจะเห็นเขาช่วยคนตัวเล็กตัวน้อยของประเทศไทย เพราะเขาตัวใหญ่มาก มาแบบนี้ก็คุยกันเรื่องความช่วยเหลือกันระหว่างเรากับอาลีบาบา ส่วนการลงทุนเป็นส่วนที่ตามมา

อีกส่วนที่เขาต้องการทำคือเรื่องการท่องเที่ยว เพราะเขาบอกว่าคนจีนมาเที่ยวประเทศไทยจำนวนมาก เขามีแผนที่บนแพลตฟอร์มท่องเที่ยวของเขาอยู่แล้ว จึงขอให้เขานำสินค้า ร้านอาหารของเราไปอยู่บนแผนที่ของเขา ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงกับระบบอีเพย์เม้นของเราได้ด้วย” นายคณิศ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/04/2018 6:33 am    Post subject: Reply with quote

ต่างชาติกินรวบไฮสปีดเทรน “ประยุทธ์” บี้เปิดประมูลรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 19 เม.ย. 2561 09:30

"ประยุทธ์" จี้เร่งคลอดทีโออาร์ประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ถกเครียดเปิดทางต่างชาติถือหุ้นใหญ่บริษัทเข้าประมูลงานได้ 51% รฟท.แจงเปิดเงื่อนไขประมูลให้ซื้อซองได้เดือน พ.ค.นี้ คาดได้เอกชนตอกเสาเข็มโครงการปลายปีนี้

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กนศ.ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้ติดตามความคืบหน้าการจัดทำร่างเงื่อนไขการประมูล หรือทีโออาร์ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือสนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา หรือไฮสปีดเทรน ซึ่งนายกรัฐมนตรี และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์<br />รองนายกรัฐมนตรี ต้องการให้เร่งทำทีโออาร์ให้เสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้ นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศ ไทย (รฟท.) ได้รายงานว่า ขณะนี้ร่างทีโออาร์ใกล้เสร็จสมบูรณ์เหลือปรับแก้รายละเอียดเล็กน้อย คาดว่าจะใช้เวลาอีก 1-2 สัปดาห์จะแล้วเสร็จ และเปิดขายซองประมูลได้ในเดือน พ.ค.นี้

"ผมมั่นใจว่าจะมีคนเข้ามาร่วมประมูล เพราะเช็กตลาดมาเรียบร้อยแล้ว โดยหลังจากเปิดขายซองประมูล จะใช้เวลาประมาณ 4 เดือนให้บริษัทเอกชนเสนอข้อเสนอเข้ามา จากนั้นจะตรวจสอบข้อเสนอและคัดเลือกคนที่ชนะ และเรียกมาเจรจาภายใน 1 เดือน เมื่อได้ผู้ชนะการประมูลแล้วก็นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อรับทราบเพราะมีเรื่องงบประมาณเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งภายในปลายปีนี้ หรือช่วงเดือน พ.ย.2561 จะได้ตัวเอกชนมาลงทุนแน่นอน"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุม กนศ.ได้หารือกันถึงร่างทีโออาร์ที่ได้กำหนดให้บริษัทเอกชนที่เข้ามาประมูลโครงการสามารถถือหุ้นในนิติบุคคลที่จะจดทะเบียนในประเทศไทยในสัดส่วน 51% ตามข้อเสนอของต่างชาติ เพื่อจูงใจให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน แต่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการขนาดใหญ่และเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญจึงเห็นควรให้บริษัทสัญชาติไทยเป็นผู้ถือหุ้นข้างมาก ซึ่งไม่ได้ข้อสรุปในที่ประชุมว่าจะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไร จึงได้ให้คณะกรรมการจัดทำร่างทีโออาร์และคัดเลือกเอกชนที่มีนายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รักษาการผู้ว่าการ รฟท. เป็นประธาน ไปพิจารณาความเหมาะสมก่อนจะประกาศเชิญชวนนักลงทุนต่อไป

ทั้งนี้ นายคณิศได้กล่าวถึงประเด็นสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าวว่า เรื่องสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติในบริษัทที่เข้ามาบริหารจัดการโครงการนั้น มาจากรับฟังความเห็นต่างชาติที่มีความต้องการสัดส่วนการถือหุ้นเกินกึ่งหนึ่งเพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการ แต่เรื่องสัดส่วนการถือหุ้นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ยังมีประเด็นอื่นๆ อีกที่จะทำให้การประมูลครั้งนี้เป็นการประมูลแบบนานาชาติได้อย่างแท้จริง

นอกจากนี้ ที่ประชุม กนศ.ยังได้พิจารณาเรื่องโครงการพัฒนาเมืองใหม่ ซึ่งนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้จัดทำแผนให้ชัดใน 3 ส่วนประกอบด้วย ส่วนที่ 1.ซึ่งเป็นเมืองเก่าจะพัฒนาให้ไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนที่ 2 เมืองที่จะเป็นพื้นที่รองรับที่อยู่อาศัยของแรงงานต่างชาติ ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ไปพิจารณามาตรการส่งเสริมให้เอกชนลงทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยรองรับในส่วนนี้ ซึ่งทางบีโอไอจะประชุมบอร์ดเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ในวันที่ 9 พ.ค.นี้ และส่วนที่ 3 การพัฒนาเมืองใหม่ที่แท้จริง รองรับอีอีซี และเป็นสมาร์ทซิตี้ในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม คมนาคม พลังงาน ที่อยู่อาศัย ทางสำนักงานอีอีซีจะเป็นผู้ดูแล โดยนายก-รัฐมนตรีให้พิจารณาในรายละเอียดทั้งแผนงาน กฎหมาย ส่วนที่ไปเกี่ยวข้องกับการปกครองส่วนท้องถิ่น และมาตรการส่งเสริมการลงทุนว่าสิ่งใดสามารถดำเนินการได้หรือไม่ได้ รวมทั้งพิจารณาด้วยว่าเอกชนมีพื้นที่มากน้อยเพียงใดที่จะพัฒนาเป็นสมาร์ทซิตี้

"นายกฯสั่งให้ไปดูว่าถ้าจะมีเมืองใหม่ขึ้นมา จะให้สิทธิประโยชน์ และเงื่อนไขอย่างไรบ้าง รวมทั้งดูด้วยว่าเอกชนมีพื้นที่ที่จะเอามาทำเมืองใหม่อยู่เท่าไร ติดขัดปัญหาอะไรก็หาทางช่วยกัน โดยเฉพาะด้านกฎหมายมีอะไรบ้างที่ต้องแก้ไข ซึ่งข้อกฎหมายที่ต้องไปดูมี 16 เรื่อง เช่น การขุดดิน ถมดิน เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคาร และยังมีเรื่องที่เกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษา โดยหลักการที่จะเป็นเมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริงต้องมีครบทั้ง 6 ด้าน คือด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม คมนาคม พลังงาน การอยู่อาศัย และการบริหารจัดการ"

สำหรับงานที่ต้องเร่งดำเนินการในอีอีซีเพื่อสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนตามที่นายสมคิดสั่งการไว้ที่สำคัญคือ เรื่องรถไฟความเร็วสูงซึ่งกำลังจะออกทีโออาร์ ถัดไปที่จะต้องเร่งทำคือทีโออาร์สนามบินอู่ตะเภาซึ่งจะใช้เวลาอีก 2-3 เดือน และศูนย์ซ่อมบำรุงการบิน หรือเอ็มอาร์โอ ที่บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับแอร์บัส ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมาก ส่วนเรื่องพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ได้ดำเนินการไปแล้ว.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42622
Location: NECTEC

PostPosted: 20/04/2018 1:04 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งผลิตช่าง 7.5 หมื่นคน! ป้อนรถไฟความเร็วสูง
ออนไลน์เมื่อ 19 เมษายน 2561
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,353 วันที่ 1-4 เมษายน 2561 หน้า 11

วศรท. ผนึก สนง. คณะกรรมการอาชีวศึกษา เร่งผลิตบุคลากรระดับช่างเทคนิคระบบรางป้อนโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน และพื้นที่อีอีซี พร้อมเอ็มโอยู ‘อินชอน’ จากเกาหลี แลกเปลี่ยนเทคโนโลยีเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า เผย ระดับช่างเทคนิคมีความต้องการกว่า 7.5 หมื่นคน

นายดิสพล ผดุงกล นายกสมาคมวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางไทย (วศรท.) เปิดเผยถึงความร่วมมือกับคณะกรรมการการอาชีวศึกษาป้อนระบบรางให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเมกะโปรเจ็กต์ระบบรางของรัฐบาล ว่า ในการลงนามบันทึกความร่วมมือของ วศรท. เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2561 ที่ผ่านมา มีการลงนามบันทึกความร่วมมือร่วมโครงการผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาด้านระบบขนส่งทางรางเขตพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออก (อีอีซี) ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและ วศรท. รวมถึงการลงนามกับ บริษัท อินซอน ทรานซิท คอร์ปอเรชั่นฯ กับ บริษัท รุ่งณรงค์ จำกัด และบริษัท KTT คอนซัลแตนท์ จำกัด ซึ่งบริษัท อินชอนฯ เป็นผู้ให้บริการรถไฟฟ้า รถเมล์ รถแท็กซี่ ในเมืองอินชอน ของเกาหลีใต้





โดยการร่วมมือครั้งนี้ วศรท. พร้อมเป็นศูนย์กลางจัดหาวิทยากร สถานที่ฝึกงาน ตลอดจนสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาต้องการ ซึ่งได้มอบหมายให้วิทยาลัยเทคนิคชลบุรีเป็นหัวหน้าเขตของการพัฒนาระบบรางในพื้นที่อีอีซี รับเป็นเจ้าภาพรับไปดำเนินการ

“การดำเนินงานด้านการพัฒนาเพื่อหาบุคลากรระดับอาชีวศึกษา หรือ ระดับช่างเทคนิคป้อนระบบรางนำร่องในพื้นที่อีอีซี ส่วนการขยายและจัดหากำลังคนให้ครบและเพียงพอได้อย่างไรนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ได้มีการศึกษารองรับไว้แล้ว ประมาณ 2 หมื่นคน เมื่อประมาณช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่รวมแผนการพัฒนาอีอีซีและโครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน เอาไว้ด้วย เช่นเดียวกับการขยายสนามบินอู่ตะเภา คาดว่าจำนวนความต้องการแรงงานป้อนระบบรางน่าจะมากกว่า 1 แสนคน โดยประมาณ 7.5 หมื่นคน จะเป็นแรงงานระดับช่างเทคนิคที่มีความต้องการใช้งาน”





สำหรับการลงนามครั้งนี้ กับ ‘อินชอน ทรานซิท’ เพื่อให้บริการเดินรถและบำรุงรักษา เนื่องจากบริษัท รุ่งณรงค์ฯ ได้รับงานจากสนามบินสุวรรณภูมิ เกี่ยวกับระบบขนส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารผู้โดยสารหลังเก่ากับอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง อีกทั้ง ภายหลังผ่านพ้นระยะเวลา 2 ปีนี้ไปแล้ว บริษัท รุ่งณรงค์ฯ ยังมีโอกาสได้รับงานโครงการอื่น ๆ ต่อเนื่องกันไป

“วศรท. พร้อมประสานงานให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีกับ บริษัท รุ่งณรงค์ฯ ด้านธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษา ประการสำคัญทางบริษัท รุ่งณรง และอินชอน ยังพร้อมร่วมมือกันยื่นข้อเสนอในการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่มีมูลค่ากว่า 3.2 หมื่นล้านบาท ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นระยะเวลา 30 ปีอีกด้วย


……………….
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 264, 265, 266 ... 542, 543, 544  Next
Page 265 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©