Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179718
ทั้งหมด:13490950
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 267, 268, 269 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 08/05/2018 12:53 pm    Post subject: Reply with quote

ปลดล็อก พ.ร.บ.ฮั้วประมูล เปิดทางกลุ่มทุนจีนลุยไฮสปีดเทรนกรุงเทพฯ-อู่ตะเภา
ออนไลน์เมื่อ 6 พฤษภาคม 2561
ตีพิมพ์ใน เชกชั่นอีอีซี | หน้า 5
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,360 ระหว่างวันที่ 26 -28 เมษายน 2561

กนศ.ปลดล็อกพ.ร.บ.ฮั้วประมูลพีพีพี ไฟเขียวบริษัทต่างชาติที่เป็นรัฐวิสาหกิจเข้าร่วมประมูลได้ เปิดทางกลุ่มทุนจีน เดินหน้าลุยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และโครงการอื่นๆ คาดทีโออาร์ไฮสปีดเทรนกรุงเทพ-อู่ตะเภา ประกาศได้ พ.ค.นี้

มีความคืบหน้าเป็นลำดับสำหรับการออกทีโออาร์โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินกรุงเทพ-อู่ตะเภา เงินลงทุน 2.4 แสนล้านบาท ซึ่งล่าช้ากว่ากรอบการดำเนินงานที่กำหนดจะประกาศได้ตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 2561 ที่ติดปัญหาในเรื่องหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมทุน ที่ยังไม่เปิดกว้างให้เอกชนเข้ามาแข่งขัน โดยเฉพาะกรณีบริษัทจีนที่ให้ความสนใจเข้าร่วมประมูลโครงการจำนวนมาก ที่อาจเข้าข่ายข้อห้ามตามพ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว

เนื่องจากบริษัทเอกชนจีนหลายราย เป็นรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลจีนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จึงเข้าข่ายต้องห้ามตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างฯ และ พ.ร.บ.ฮั้ว ที่กำหนดลักษณะผู้ยื่นข้อเสนอการจัดซื้อจัดจ้าง หรือ ที่ได้รับการคัดเลือกต้องไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน หรือ มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่น หรือ ขัดขวางการแข่งขันอย่างเป็นธรรม หรือสมยอมกันกับผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่น หรือ เจ้าหน้าที่ในการเสนอราคา หรือ ส่อว่ากระทำการทุจริตอื่นใดในการเสนอราคา

ดังนั้น เพื่อเป็นการเปิดกว้างและให้เอกชนหลายรายเข้ามาแข่งขันประมูลโครงการฯมากขึ้น ทางกนศ.จึงได้เห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบรัฐร่วมลงทุนกับเอกชน(พีพีพี) เพิ่มเติม เพื่อปลดล็อกการเข้าร่วมประมูลโครงการดังกล่าว


นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(กนศ.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ความล่าช้าในการออกที่โออาร์ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ทางกนศ.ต้องการให้การจัดทำรายละเอียดครอบคลุมในด้านต่างๆ และต้องการให้มีเอกชนหลายๆรายเข้ามาแข่งขัน เพื่อใช้เป็นต้นแบบของการออกทีโออาร์ในโครงการต่างๆ ที่มีการเปิดประมูลในรูปแบบรัฐร่วมลงทุนกับเอกชน(พีพีพี) ซึ่งหลังจากเปิดรับฟังความเห็นของนักลงทุน(มาร์เก็ต ซาว์ดิ้ง) เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ที่ผ่านมา พบว่า หลักเกณฑ์การดำเนินการคัดเลือกเอกชนของโครงการ ยังไม่สอดคล้องกับการคัดเลือกดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงเงื่อนไข

ในการประชุมกนศ.เมื่อวันที่..เมษายน ที่ผ่านมา จึงได้เห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติม ให้เป็นรูปแบบการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนแบบนานาชาติ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล ที่กำหนดโดยธนาคารโลก บนพื้นฐานการให้โอกาสอย่างเท่าเทียม และความเป็นธรรมระหว่างรัฐและเอกชน เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานของรัฐหลายรายของต่างประเทศเดียวกัน สามารถยื่นข้อเสนอเข้ารับการคัดเลือกเอกชนของโครงการได้ และส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันอันเป็นประโยชน์กับไทย

โดยได้กำหนดกรณีที่มีเอกชนซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐของรัฐบาลต่างประเทศเดียวกันตั้งแต่ 2 รายขึ้นไปเป็นผู้ยื่นข้อเสนอนั้น หน่วยงานของรัฐแต่ละแห่งต้องออกหนังสือรับรองความเป็นอิสระในการบริหารจัดการของหน่วยงานนั้นๆ

นอกจากนั้นคำรับรองดังกล่าวต้องได้รับการยืนยันจากสถานทูตหรือหน่วยงานรัฐบาลของประเทศนั้นๆ รวมทั้งให้การยืนยันว่าการยื่นข้อเสนอของแต่ละหน่วยงานของรัฐดังกล่าวไม่อยู่ภายใต้การครอบงำ หรือควบคุมของรัฐบาลต่างประเทศ หรือหน่วยงานของรัฐหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งของประเทศนั้น

ในกรณีนี้มิให้ถือว่าเอกชน ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐนั้นมีผลประโยชน์ร่วมกัน หรือมีส่วนได้เสียกับเอกชนซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐอื่น และในกรณีที่การคัดเลือกเอกชนของโครงการใด มีเพียงเอกชน ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐของรัฐบาลต่างประเทศเดียวกัน ตั้งแต่ 2 รายขึ้นไปเป็นผู้ยื่นข้อเสนอโดยไม่มีเอกชนรายอื่นร่วมยื่นข้อเสนอกับหน่วยงานของรัฐดังกล่าว หากคณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาเห็นว่า เป็นประโยชน์ต่อประเทศ อาจรับข้อเสนอของเอกชน ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐของรัฐบาลต่างประเทศนั้นก็ได้

นายคณิศ กล่าวอีกว่า การปรับปรุงหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชนร่วมทุนดังกล่าว จะทำให้กลุ่มนักลงทุนจีน สามารถเข้ามาร่วมประมูลในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และโครงการอื่นๆ ได้ โดยไม่เข้าข่ายพ.ร.บ.ฮั้ว แต่อย่างใด

ดังนั้น ภายในสัปดาห์นี้ คาดว่าการจัดทำร่างทีโออาร์ของโครงการดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จ และนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติต่อไปได้ คาดว่าทีอาร์ดังกล่าวจะสามารถประกาศออกมาได้ไม่เกินเดือนพฤษภาคม 2561 นี้ และ และคาดว่าจะได้เอกชนผู้ลงทุนประมาณเดือนกันยายน 2561 เพื่อเสนอผลการคัดเลือกและร่างสัญญาให้กนศ.เห็นชอบประมาณเดือนตุลาคม 2561 เพื่อเสนอครม. เห็นชอบผลการคัดเลือก และลงนามในสัญญาต่อไป

.........................................

รถไฟความเร็วสูงจูงจมูกเรา?
วันที่ 6 พฤษภาคม 2561 เวลา 06:52 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 08/05/2018 12:55 pm    Post subject: Reply with quote

เลื่อนประมูลไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน ไม่ทัน 15 พ.ค. “รถไฟ” แจงต้องรอประกาศอีอีซี
ในประเทศ
ที่มา: ข่าวสดออนไลน์
วันที่ 7 พฤษภาคม 2561 เวลา 18:31 น.

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กิโลเมตร (ก.ม.) วงเงินลงทุนประมาณ 2 แสนล้านบาทว่า รฟท. จัดทำร่างทีโออาร์แล้วเสร็จ 90% แต่ยังไม่สามารถเปิดประมูลได้ เนื่องจากต้องรอให้มีการออกประกาศเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งจะกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับเหลักเกณฑ์ของผู้เข้าร่วมลงทุนในโครงการก่อน เช่น สัดส่วนการถือหุ้นระหว่างไทยกับต่างชาติ, เกณฑ์เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์การใช้ที่ดิน เป็นต้น จากนั้น รฟท. จะต้องนำร่างทีโออาร์ที่จัดทำขึ้นไปเทียบเคียงกับประกาศว่าสอดคล้องกันหรือไม่ หากไม่สอดคล้องจะต้องทำการปรับเงื่อนไขใหม่


“ขณะนี้ทีร่างโออาร์เสร็จเกือบสมบูรณ์แล้ว แต่ต้องรอประกาศอีอีซีก่อนว่าจะมีข้อกำหนดเรื่องการร่วมทุนอย่างไรบ้าง เดิม รฟท. ตั้งเป้าที่จะออกประกาศเชิญชวนผู้เข้าร่วมประมูลในวันที่ 15 พ.ค. นี้ แต่ขณะนี้ประกาศยังไม่ออกเลยคาดว่าอาจจะต้องเลื่อนการประกาศเชิญชวนออกไปก่อนซึ่งยังบอกไม่ได้ว่าจะเป็นช่วงไหน แต่เบื้องต้นตั้งเป้าที่จะให้มีการลงนามในสัญญาผู้รับจ้างให้ได้ในต้นปี 2562 จากนั้นเริ่มก่อสร้างได้ ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 5 ปี โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2567”

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งว่า รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีระยะทาง 220 กิโลเมตร รวม 5 สถานี ประกอบด้วย ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยาและอู่ตะเภา อัตราความเร็ว 250 ก.ม./ชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางจากสนามบินอู่ตะเภาเข้ากรุงเทพฯ ภายในเวลา 45 นาที รูปแบบบการลงทุนนั้นจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนรูปแบบ PPP Net Cost ระยะเวลา 50 ปี อัตราค่าโดยสาร จากมักกะสัน-พัทยา 270 บาท และจากมักกะสัน-อู่ตะเภา 330 บาท เปิดพื้นที่การพัฒนา 3 จังหวัด ในพื้นที่อีอีซี ได้แก่ จ.ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง ส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (อีไออาร์อาร์) ทั้งโครงการ มูลค่า 700,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 50 ปีแรก 400,000 ล้านบาท และ 50 ปีต่อไป 300,000 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 09/05/2018 10:09 am    Post subject: Reply with quote

ต.ค.นี้คันทางรถไฟไทย-จีนเสร็จแน่

วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม 2561 เวลา 15.16 น.

นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง(ทล.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่5 พ.ค. ที่ผ่านมา นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม และคณะผู้บริหารกระทรวงคมนาคมได้ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน)ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนหรือรถไฟไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ -หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา) ช่วงที่ 1 จากสถานีกลางดง – สถานีปางอโศก จ. นครราชสีมา ระหว่าง กม.ที่ 150+500 - กม.ที่ 154+000 ระยะทาง 3.5 กม. ขณะนี้คืบหน้าไปแล้ว 8% โดยนายอาคมได้สอบถามปัญหาการก่อสร้างและการทำงานร่วมกับวิศวกรจีนและบริษัทที่ปรึกษา ซึ่งไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

นายธานินทร์ กล่าวต่อว่า ทล.ดำเนินการก่อสร้างตามแผนอย่างเต็มที่หลังจากได้รับงบประมาณก่อสร้างมา30% หรือประมาณ 112 ล้านบาท จากที่ตั้งไปทั้งหมด425ล้านบาท

ส่วนที่เหลือการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)จะทยอยจ่ายภายหลัง สำหรับการก่อสร้างคาดว่าอีก4เดือนหรือประมาณเดือนส.ค.จะก่อสร้างคันดินแล้วเสร็จ และอีก2เดือนต่อไปจะเป็นการก่อสร้างท่อระบายน้ำ

ส่วนที่ทล.รับผิดชอบก่อสร้างคันทางของรางรถไฟจะแล้วเสร็จทั้งหมดในเดือนต.ค.นี้ตามแผนที่วางไว้แน่นอนเพื่อส่งมอบให้รฟท.ไปก่อสร้างในส่วนของงานวางรางต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 16/05/2018 9:22 pm    Post subject: Reply with quote

กระทุ้งจีนเร่งส่งแบบไฮสปีด ภายในเดือนนี้ หวังเริ่มประมูลต้นเดือน มิ.ย. ห่วงสัญญา 2.3 ติดปัญหาเทคนิคหลังจีนเสนอสเปกสูง ทำให้ นัดถกรื้อสเปกลดการนำเข้า
นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า โครงการรถไฟไทย-จีนเฟสแรก ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท

ขณะนี้การก่อสร้างตอนที่ 1 ช่วงกลางดง-ปางอโศกระยะทาง 3.5 กิโลเมตร (กม.) แรกนั้นคาดจะเสร็จเดือน ต.ค.นี้ สำหรับการออกแบบก่อสร้าง

ตอนที่ 2 ช่วงปากช่อง-ขนานจิตร ระยะทาง 11 กม.อยู่ระหว่างเร่งรัดจากฝ่ายจีนมูลค่าลงทุน 5,000 ล้านบาท โดย จะเร่งอนุมัติแบบก่อสร้างให้ได้ภายในเดือน พ.ค.นี้ ก่อนกำหนดการประชุมความร่วมมือรถไฟไทย-จีนในวันที่ 31 พ.ค.-1 มิ.ย.นี้ในประเทศไทย

ทั้งนี้ หากเดินได้ตามแผนดังกล่าว รฟท.จะเริ่มขั้นตอนการร่างเอกสารเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) ช่วงต้นเดือน มิ.ย.ก่อนเชิญชวนเอกชนซื้อซองทีโออาร์และเปิดประมูลต่อไปในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.นี้

ด้านแบบก่อสร้างตอน 3 ช่วงแก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กม.นั้น ฝ่ายจีนได้ส่งแบบเบื้องต้นมาแล้ว โดยต้องใช้เวลาถอดแบบอีกสักพักเพราะงานส่วนนี้มีเรื่องก่อสร้างอุโมงค์ด้วย คาดจะสามารถพิจารณาพร้อมอนุมัติได้ตามแผนภายในเดือน สค.
https://www.posttoday.com/economy/551274
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 17/05/2018 10:35 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เลื่อนประมูลไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน ไม่ทัน 15 พ.ค. “รถไฟ” แจงต้องรอประกาศอีอีซี
ในประเทศ
ที่มา: ข่าวสดออนไลน์
วันที่ 7 พฤษภาคม 2561 เวลา 18:31 น.


รฟท.เปิดประมูลไฮสปีดเทรน คุยลั่นทุ่งนักลงทุนแห่แย่งชิงขุมทรัพย์เดือน พ.ค.นี้
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
17 พฤษภาคม 2561 เวลา 10:20

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ว่า รฟท.กำลังศึกษารายละเอียดของ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) พ.ศ.2561 เพื่อนำมาหาข้อสรุปของเงื่อนไข การเปิดให้เอกชนร่วมประมูลโครงการฯมั่นใจว่าจะเปิดประมูลได้ในเดือน พ.ค.นี้ สำหรับเอกชนที่แสดงความสนใจเข้าร่วมประมูล คือ กลุ่มบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ส่วนต่างชาติที่จะเข้าร่วมประมูล คือ ญี่ปุ่น จีน สหภาพยุโรป

รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีระยะทาง 220 กิโลเมตร รวม 5 สถานี ประกอบด้วย ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยาและอู่ตะเภา อัตราความเร็ว 250 ก.ม./ชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางจากสนามบินอู่ตะเภาเข้ากรุงเทพฯ ภายในเวลา 45 นาที รูปแบบบการลงทุนนั้นจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนรูปแบบ PPP Net Cost ระยะเวลา 50 ปี อัตราค่าโดยสาร จากมักกะสัน-พัทยา 270 บาท และจากมักกะสัน-อู่ตะเภา 330 บาท เปิดพื้นที่การพัฒนา 3 จังหวัด ในพื้นที่อีอีซี ได้แก่ จ.ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง ส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (อีไออาร์อาร์) ทั้งโครงการ มูลค่า 700,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 50 ปีแรก 400,000 ล้านบาท และ 50 ปีต่อไป 300,000 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 18/05/2018 12:56 pm    Post subject: Reply with quote

ซีพี-BTSแยกวงชิงไฮสปีด แย่งถือหุ้นใหญ่คุมเกม”อีอีซี” เปิดทางต่างชาติลงทุน51%
เศรษฐกิจในประเทศ
วันที่ 18 พฤษภาคม 2561 เวลา 08:28 น.

2 ก๊กทุนยักษ์ไทย-ต่างชาติชิงเดือดไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ซี.พี.-บีทีเอสส่อแยกวง ไม่มีใครยอมถอย แย่งถือหุ้นใหญ่กำหนดเกมอีอีซี โชว์ฐานะการเงินแข็งแกร่ง ซี.พี.ปักหลักจับจีน-ญี่ปุ่น บีทีเอสควงราชบุรีโฮลดิ้ง ซิโน-ไทยฯ ลุ้น ปตท.ร่วมวง ชี้แจงทูต-นักลงทุนทั่วโลก ต่างชาติถือหุ้นได้เกิน 51% ชง “บิ๊กตู่” ขยายอู่ตะเภา มาบตาพุด

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ภายหลังพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่า จากนี้ไปจะเดินหน้าทุกโครงการ โดยเฉพาะแผนการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ที่สำคัญที่สุด เป็นปัจจัยความสำเร็จของเขต EEC คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา ซึ่งจะมีการออกประกาศเงื่อนไขการประมูล หรือทีโออาร์ ในเร็ว ๆ นี้

2 ยักษ์เจรจาฝุ่นตลบชิงเบอร์หนึ่ง

สำหรับความเคลื่อนไหวของกลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ในและต่างประเทศที่สนใจจะร่วมประมูลในครั้งนี้ แหล่งข่าวกล่าวว่า ขณะนี้มีการจับมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกันไว้อย่างไม่เป็นทางการ 2 กลุ่ม โดยแต่ละรายแสดงความจำนงที่จะเป็น “ผู้ถือหุ้นใหญ่” ในการบริหารกิจการรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่เชิงพาณิชย์

ทั้งนี้ กลุ่มแรก คือ 3 รายเดิม ที่เคยแสดงความจำนงจะร่วมเป็นกิจการร่วมค้า คือ กลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี และเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.)

ซี.พี.ควงจีน-ญี่ปุ่นปาดเค้ก

แหล่งข่าวกล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมามีการเจรจากันอย่างเข้มข้น ระหว่างกลุ่ม ซี.พี.กลับกลุ่มบีทีเอส ซึ่งต่างฝ่ายต่างต้องการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงสำคัญคือ ประสบการณ์ในการเดินรถ และการบริหารกิจการระบบรางในเมืองไทย ซึ่งกลุ่มบีทีเอสมีประสบการณ์และผลงานมากกว่า แต่ฝ่ายกลุ่ม ซี.พี.ก็มีเหตุผลในการสนับสนุนที่จะถือหุ้นใหญ่ว่า เป็นกลุ่มทุนไทยที่แข็งแกร่งและมีพันธมิตรที่เป็นต่างชาติสนับสนุนคือจีน และมีการร่วมทุนกับกลุ่มอิโตชูจากญี่ปุ่นไว้แล้ว นอกจากนี้ยังมีพันธมิตรที่เป็นบริษัทก่อสร้างด้วย

“ขณะนี้การเจรจายังไม่ลงตัวว่า กลุ่มแรกนี้ใครจะเป็นฝ่ายถือหุ้นใหญ่ ดังนั้นกลุ่ม ซี.พี.จึงถอยออกมา เพื่อหาพันธมิตรใหม่เพิ่มจากเดิม โดยกลุ่ม ซี.พี.ยังคงต้องการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และจะเป็นกลุ่มที่ 2 ที่จะร่วมเข้าประมูลในครั้งนี้”


แหล่งข่าวกล่าวและว่า โครงการนี้เป็นโครงการใหญ่ที่สุดในรอบ 10 ปี ดังนั้น ทั้งกลุ่มบีทีเอส และกลุ่ม ซี.พี.คงไม่ยอมถอย รายงานข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้การเจรจาหาพันธมิตรระหว่างกลุ่มบีทีเอส ปตท. และ ซี.พี. ยังไม่เป็นที่ยุติเรื่องโมเดลการร่วมลงทุน เนื่องจากทั้งบีทีเอส มีนายคีรี กาญจนพาสน์ เป็นเจ้าของ และ ซี.พี. มีนายธนินท์ เจียรวนนท์ ต้องการจะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทเพื่อเข้าร่วมประมูล หากใครเป็นผู้ถือหุ้นจะทำให้มีอำนาจในการบริหารและกำหนดทิศทางของบริษัทได้

“ทางบีทีเอส ตอนนี้มีซิโน-ไทยฯและราชบุรีโฮลดิ้งเป็นพันธมิตรอยู่แล้ว กำลังเจรจากับ ปตท. รวมถึง ซี.พี.ด้วย แต่หาก ซี.พี.ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ก็มีความเป็นไปได้ที่ ซี.พี.จะผนึกกับผู้ประกอบการไทยที่เป็นรับเหมาแทนก็ได้ เช่น อิตาเลียนไทย ช.การช่าง เพราะ ซี.พี.ด้วยศักยภาพมีสถานะการเงินที่แข็งแกร่ง มีบริษัทที่พัฒนาธุรกิจอสังหาฯในเครืออยู่แล้ว ส่วนงานระบบรถไฟความเร็วสูงก็มีพันธมิตรจากจีนและญี่ปุ่นที่มีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว ซึ่งตอนนี้มีกระแสข่าวว่าบริษัทรถไฟของจีนกำลังรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อจับมือกับ ซี.พี.แล้ว แต่ที่ ซี.พี.มาเจรจาบีทีเอสเพราะมีประสบการณ์เดินรถไฟฟ้ามานาน”

สำหรับบีทีเอส หากไม่ร่วมกับ ซี.พี. อาจจะตัดสินใจร่วมกับ ปตท. โดยถือหุ้นสัดส่วนเท่ากัน อาจจะเป็นคนละ 30% เนื่องจาก ปตท.ไม่มีประสบการณ์ด้านระบบราง แต่มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง ส่วนซิโน-ไทยฯและราชบุรีโฮลดิ้งอาจจะถือหุ้นคนละ 15% ที่เหลือ 10% อาจจะเป็นบริษัทต่างชาติที่มีความเชี่ยวชาญด้านงานระบบอาณัติสัญญาณ

คีรีประกาศตีตั๋วประมูล

ก่อนหน้านี้ นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.บีทีเอสกรุ๊ปโฮลดิ้งส์ กล่าวว่า บีทีเอสและ ปตท.กำลังเจรจาเพื่อร่วมกันเป็นพันธมิตรเข้าประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ แต่เข้าร่วมประมูลแน่นอน เพราะเป็นธุรกิจหลักของบริษัท นอกจากนี้ยังเจรจากับรายอื่น ๆ ด้วย ทั้งนักลงทุนไทยและต่างชาติ

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.บีทีเอสซี กล่าวว่า การเจรจากับ ปตท.ยังไม่เป็นที่ยุติ ขณะเดียวกันได้เจรจากับรายอื่น ๆ ด้วย ขณะนี้ยังไม่ตัดสินใจจะร่วมกับใครบ้าง รอดูทีโออาร์ประมูลที่รัฐจะประกาศออกมา รวมถึงผลศึกษาความคุ้มค่าของโครงการที่บริษัทกำลังศึกษาอยู่ด้วย อย่างไรก็ตาม บีทีเอสจะร่วมกับซิโน-ไทยฯและราชบุรีโฮลดิ้งอย่างแน่นอน

พ.ค.นี้ตีฆ้องเชิญทั่วโลก

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภายในเดือน พ.ค.นี้จะออกประกาศเชิญชวนนักลงทุนทั่วโลกเข้าร่วมประมูล PPP net cost 50 ปี รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะทาง 220 กม. วงเงินกว่า 2.2 แสนล้านบาท จากนั้นภายในเดือน มิ.ย.จะขายเอกสารประกวดราคาและเปิดยื่นซองประมูลภายในเดือน พ.ย.นี้ คาดว่าจะได้ผู้ชนะอย่างเร็วปลายปีนี้ หรืออย่างช้าต้นปี 2562 เพราะการเจรจาอาจจะใช้เวลานาน เนื่องจากเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนที่เป็นโครงการขนาดใหญ่และใช้เงินลงทุนสูง

“รถไฟอยู่ระหว่างร่าง พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน ซึ่งมีพื้นที่เวนคืนไม่มาก เพราะงานก่อสร้างใช้แนวเขตทางรถไฟประมาณ 95% ยกเว้นศูนย์ซ่อมบำรุง หรือเดโป้ 100 ไร่ ที่ฉะเชิงเทรา”

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวย้ำว่า จะประกาศเชิญชวนนักลงทุนร่วมประมูลให้ได้ภายในเดือน พ.ค.นี้อย่างแน่นอน และบอร์ดได้เตรียมการชี้แจงรายละเอียด พ.ร.บ.อีอีซี ให้กับทูตทั่วโลกได้รับทราบ

เปิดทางต่างชาติถือหุ้นเกิน 51%

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกให้ข้อมูลว่า โครงการนี้จะมีเงื่อนไขพิเศษ คือ เปิดประมูลแบบอินเตอร์เนชั่นแนล (นานาชาติ) และเป็นโครงการที่อยู่ในเขตส่งเสริมพิเศษของสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดโอกาสให้ต่างชาติมีสัดส่วนในการถือหุ้นเข้ามาบริหารจัดการได้เกินกว่า 51% จึงเป็นที่สนใจของทุนยักษ์ต่างชาติมาก แต่ทุนต่างชาติก็ต้องเข้ามาจับมือกับพันธมิตรธุรกิจไทย จึงจะมีโอกาสสูงกว่า

“จากการฟังผลการเจรจาของทุนใหญ่ ๆ ในเมืองไทย ทุกบริษัทแสดงตัวและฐานะทางการเงินว่า ทุนไทยมีสภาพคล่องแข็งแกร่งมากพอที่จะร่วมลงทุนโครงการนี้ โดยอาจจะไม่ต้องพึ่งพาทุนจากต่างชาติด้วยซ้ำ แม้จะมีการเปิดประมูลแบบอินเตอร์เนชั่นแนลก็ตาม” แหล่งข่าวกล่าวย้ำ

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า หลัง พ.ร.บ.อีอีซีมีผลบังคับใช้แล้ว รอดูว่าทางคณะกรรมการอีอีซีจะออกประกาศแนวทางการให้เอกชนร่วมทุน PPP มารองรับหรือไม่ เพราะมีแก้ไขบางประเด็นให้ทีโออาร์เปิดกว้างให้ต่างชาติร่วมประมูลได้มากขึ้น เช่น ไม่ต้องกำหนดสัดส่วนถือหุ้นของต่างชาติเพื่อให้ต่างชาติเข้ามาได้มากขึ้น หรือกฎหมายที่ระบุไว้ 51 : 49 มีอะไรที่จะรองรับได้บ้าง หากให้เกินจากนี้จะผิดหรือไม่ ในเร็ว ๆ นี้จะสรุป เพราะทางอีอีซีต้องการใช้โครงการประมูลรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เป็นต้นแบบให้กับโครงการอื่น ๆ เช่น ท่าเรือ สนามบิน

อู่ตะเภา-มาบตาพุดคิวต่อไป

แหล่งจากคณะกรรมการอีอีซีกล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 25 พ.ค.นี้ จะมีวาระสำคัญ คือการขออนุมัติ กรอบระยะเวลาในการประกาศทีโออาร์ การประมูล และการเริ่มก่อสร้างโครงการสนามบินอู่ตะเภา ส่วนต่อขยาย และประเด็นขอความร่วมมือกับกองทัพเรือ ในการร่วมดำเนินการในระยะต่อไป ซึ่งรัฐบาลจะเตรียมความพร้อมให้เกิดการประมูลทั้งโครงการรถไฟไฮสปีดเทรน สนามบินอู่ตะเภา และท่าเรือมาบตาพุด ให้แล้วเสร็จภายในปีนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า โครงการโครงสร้างพื้นฐานหลัก 4 โครงการในอีอีซี ที่จะเปิดประมูลภายในปี 2561 รูปแบบ PPP ระยะเวลา 30-50 ปี มีมูลค่าร่วม 5 แสนล้านบาท ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 และสนามบินอู่ตะเภา

พลเรือตรี ลือชัย ศรีเอี่ยมกูล ผู้อำนวยการท่าอากาศยานอู่ตะเภา กล่าวว่า ขณะนี้กำลังรอความชัดเจนจากอีอีซี เรื่องการประมูลพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา เนื้อที่ 6,500 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 1.5 กม. โดยจะใช้เงินลงทุนหลายแสนล้านบาท ตามแผนจะให้แล้วเสร็จใน 5 ปี ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณารูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน PPP ว่าจะเป็นสัมปทานเดียวหรือรายพื้นที่ คาดว่าจะเปิดประมูลได้ภายในปีนี้

พ.ร.บ.อีอีซีพิเศษทุกขั้นตอน

สาระสำคัญของ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 (EEC) ที่ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา อาทิ ให้พื้นที่ EEC ครอบคลุม 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง กับพื้นที่อื่นที่จะออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเพิ่มเติม การดำเนินโครงการ กิจกรรม ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีสำนักงานคณะกรรมการนโยบายฯทำหน้าที่เป็นเลขานุการมีอำนาจจัดทำแผนพัฒนา แผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค จัดซื้อ เช่าซื้อ แลกเปลี่ยน เวนคืนที่ดิน ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ใช้ประโยชน์ที่ดิน ส.ป.ก.ได้ กำหนดกระบวนการร่วมทุนกับภาคเอกชน โดยไม่ต้องผ่าน พ.ร.บ.ร่วมทุน PPP มีอำนาจอนุญาต อนุมัติ ให้ความเห็นชอบ ตามกฎหมายว่าด้วยการขุดดินถมดิน ควบคุมอาคาร สาธารณสุข ตรวจคนเข้าเมือง ทะเบียนพาณิชย์ โรงงาน จัดสรรที่ดิน รวมถึงการให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินภายในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อการประกอบกิจการที่ได้รับอนุญาต โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตตามประมวลกฎหมายที่ดิน และสามารถถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดในอาคารชุดได้เกิน 49% ของเนื้อที่ห้องชุดในอาคารชุด

สำหรับการทำสัญญาเช่าช่วงที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ให้ทำสัญญาเช่าไม่เกิน 50 ปี และการต่อสัญญาเช่าต้องไม่เกิน 49 ปี เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/05/2018 6:31 pm    Post subject: Reply with quote

หวั่นเสียโอกาส.. ภาคเอกชนระยอง เตรียมร้องรัฐบาลผุดสถานีรถไฟความเร็วสูงในพื้นที่
โดย: MGR Online

เผยแพร่: 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เวลา 22:05:



ระยอง - หวั่นเสียโอกาสด้านรายได้ทางการท่องเที่ยว.. องค์กรภาคเอกชนใน จ.ระยอง เตรียมยื่นหนังสือถึงรัฐบาล เรียกร้องให้ผลักดันโครงการสถานีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมพื้นที่ 5 จังหวัด สถานีที่ 10 เกิดขึ้นในเขตตัวเมืองระยอง หลังก่อนหน้านี้รัฐบาลเคยมีโครงการดังกล่าว แต่ปัจจุบันกลับถูกตัดทิ้ง เหลือเพียงสถานีที่ 9 ที่เชื่อมถึงแค่สนามบินอู่ตะเภา

วันนี้( 18 พ.ค.) คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและชมรมธนาคารใน จ.ระยอง ได้จัดประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับการเตรียมยื่นหนังสือต่อรัฐบาล เพื่อให้ผลักดันสถานีรถไฟความเร็วสูง สถานีที่ 10 เข้ามาที่ตัวเมืองระยอง หลังทราบข่าวว่ารัฐบาลมีโครงการที่จะก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน คือ ดอนเมือง ,สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา แต่กลับไม่เชื่อมต่อถึงตัวเมืองระยอง ซึ่งจะทำให้ จ.ระยอง เสียโอกาสทางเศรษฐกิจ ทั้งที่เป็น 1ในจังหวัดที่อยู่ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี

นายนพดล ตั้งทรงเจริญ ประธานหอการค้า จ.ระยอง กล่าวว่า หอการค้า จ.ระยอง ได้รับการร้องเรียนจากหลายภาคส่วนเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่ง ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดคือ ชลบุรี ฉะเชิงเทราและระยอง ซึ่งจะทำให้ จ.ระยอง มีประชากรจำนวนมากเดินทางเข้ามาในพื้นที่ แต่ปัจจุบันยังพบว่าระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ยังไม่มีความพร้อม โดยเฉพาะด้านการคมนาคม

“ ที่ผ่านมารัฐบาล ได้เร่งผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน จากการศึกษาแนวเส้นทางโครงการผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร ,สมุทรปราการ ,ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และระยอง โดยใช้แนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนทางรางของโครงการเดิม และมีการออกแบบใหม่เฉพาะบริเวณเชื่อมต่อเข้าสู่สนามบินสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ(ขาออก) และสนามบินอู่ตะเภา(ขาเข้า) เป็นจุดสิ้นสุดเส้นทางรถไฟความเร็วสูง รวมทั้งสิ้น 9 สถานี แต่สถานีที่ 10 ซึ่งเดิมเคยมีโครงการใน จ.ระยอง วันนี้กลับถูกชะลอออกไป”

นายนพดล กล่าวอีกว่าเมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมทำให้นักลงทุน และนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาถึงสนามบินอู่ตะเภา อ.บ้านฉาง ไม่สามารถเดินทางต่อเข้าตัวเมืองระยองได้อย่างสะดวก เนื่องจากไม่มีสถานีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อเข้าพื้นที่ ทำให้ระยองเสียโอกาสในเรื่องรายได้ที่จะเกิดจากการท่องเที่ยวและการลงทุน

“หากเป็นเช่นนี้จังหวัดระยองจะได้อะไรบ้างกับการเข้าสู่ อีอีซี ทั้งนี้จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาล พิจารณาสถานีรถไฟความเร็วสูง สถานีที่ 10 ในตัวเมืองระยองด้วย ”

อย่างไรก็ตามในวันที่ 30 พ.ค.นี้ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและชมรมธนาคารใน จ.ระยอง จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมปรึกษาหารือเพื่อหาแนวทางเสนอต่อภาครัฐ ในการผลักดันสถานีรถไฟความเร็วสูงสถานีที่ 10 ที่ระยองให้เกิดขึ้นจริง
//---------------
พูดอะไรเลอะเทอะเช่นนั้น พวกเองอยากได้อยากมี แต่ เคยมาอำนวยความสะดวกในการเคลียร์กะบรรดา กลุ่มผลประโยชน์ เคลียร์เรื่่องการเวนคืนที่ดินให้ไปจากมาบตาพุดถึงระยอง บ้างหรือเปล่า และ การเคลียร์เรื่อง EIA หรือเปล่าหือ หรือ เห็นว่าธุระมิใช่ เพราะ มีแต่ตัณหาอยากได้อยากมีแต่ไม่คิดแม้แต่จะลงทุนลงแรงให้มันเป็นจริงขึ้นมานี่มันใช้ไม่ได้เด็ดขาดเชียวนะครับท่าน


Last edited by Wisarut on 19/05/2018 8:27 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/05/2018 8:16 pm    Post subject: Reply with quote

“เกาหลี”สนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบราง 4.78 แสนล้านบาท

18 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เวลา 10:05 น.


“เกาหลี”สนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบราง 4.78 แสนล้านบาท จับตาเปิดประมูลรถไฮสปีดเชื่อม3 สนามบินภายในเดือนหน้า พร้อมเสนอลงทุนงานระบบมอเตอร์เวย์แสนล้านบาท

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังจากหารือกับผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานและการขนส่งของประเทศเกาหลีใต้รวมถึงกลุ่มทุนเอกชนว่าหลังจากที่หารือร่วมกันพบว่ารัฐบาลและกลุ่มทุนจากประเทศเกาหลีใต้ความสนใจเข้ามาร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทย โดยเฉพาะงานด้านระบบรางที่เกาหลีมีความเชี่ยวชาญรวมมูลค่าการลงทุนกว่า 4.78 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ได้แก่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3 สนามบินโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออ(อีอีซี) วงเงิน 2.15 แสนล้านบาท โครงการรถไฟฟ้ารางเบา(แทรม)จังหวัดภูเก็ต วงเงิน 3.94 หมื่นล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร วงเงิน 1.01 แสนล้านบาทและโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน ระยะทาง 16.4 กิโลเมตร วงเงิน 1.23 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตามโครงการที่เกาหลีสนใจลงทุนมากที่สุดคือโครงการรถไฟฟ้ารางเบา(แทรม)ในประเทศไทย กระทรวงคมนาคมจึงได้ชี้แจงว่าขณะนี้ประเทศไทยอยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนารถไฟฟ้าแทรมในจังหวัดหัวเมืองใหญ่หลายโครงการอาทิ โครงการรถไฟฟ้ารางเบา(แทรม)จังหวัดเชียงใหม่ วงเงิน 1 แสนล้านบาท โครงการรถไฟฟ้ารางเบา(แทรม)จังหวัดขอนแก่น วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาทและโครงการรถไฟฟ้ารางเบา(แทรม)จังหวัดนครราชสีมา วงเงิน 3.26 หมื่นล้านบาทเป็นต้น

นายพีระพลกล่าวต่อว่าสำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบินนั้นขณะนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ได้ดำเนินการร่างเอกสารเงื่อนไขการประกวดราคา(ทีโออาร์) ใกล้เสร็จเรียบร้อยแล้วคาดว่าเดินหน้าจะเข้าสู่ขั้นตอนการประกวดราคาได้ภายในเดือนหน้า โดยเริ่มจากการเปิดขายซองทีโออาร์ให้เอกชน ส่วนด้านความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าแทรม จังหวัดภูเก็ตนั้นในวันที่ 21 พ.ค.นี้กระทรวงคมนาคมจะเข้าประชุมร่วมกับคณะกรรมการนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (บอร์ดพีพีพี) เพื่อชี้แจงความคืบหน้าของโครงการ ส่วนเรื่องที่ว่าโครงการดังกล่าวจะสามารถประมูลได้ทันปีนี้หรือไม่นั้นยังไม่มีความชัดเจนเพราะต้องรอผลการศึกษาแนวทางร่วมทุนจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)

//------------------------------------
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/05/2018 8:32 pm    Post subject: Reply with quote

รัฐบาลเตรียมเปิดประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน เชิญชวนนักลงทุนทั่วโลก


วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เวลา 10:48 น.

หลังจากพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วนั้น

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภายในเดือน พ.ค.นี้จะออกประกาศเชิญชวนนักลงทุนทั่วโลกเข้าร่วมประมูล PPP net cost 50 ปี รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. วงเงินกว่า 2.2 แสนล้านบาท จากนั้นภายในเดือน มิ.ย.จะขายเอกสารประกวดราคาและเปิดยื่นซองประมูลภายในเดือน พ.ย.นี้ คาดว่าจะได้ผู้ชนะอย่างเร็วปลายปีนี้ หรืออย่างช้าต้นปี 2562 เพราะการเจรจาอาจจะใช้เวลานาน เนื่องจากเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนที่เป็นโครงการขนาดใหญ่และใช้เงินลงทุนสูง



“รถไฟอยู่ระหว่างร่าง พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน ซึ่งมีพื้นที่เวนคืนไม่มาก เพราะงานก่อสร้างใช้แนวเขตทางรถไฟประมาณ 95% ยกเว้นศูนย์ซ่อมบำรุง หรือเดโป้ 100 ไร่ ที่ฉะเชิงเทรา” นายอานนท์กล่าว

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวย้ำว่า จะประกาศเชิญชวนนักลงทุนร่วมประมูลให้ได้ภายในเดือน พ.ค.นี้อย่างแน่นอน และบอร์ดได้เตรียมการชี้แจงรายละเอียด พ.ร.บ.อีอีซี ให้กับทูตทั่วโลกได้รับทราบ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/05/2018 8:21 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.เดินหน้าประมูลรถไฟเชื่อมอีสาน-อีอีซี
โพสต์ทูเดย์ 21 พ.ค. 61 07.28 น.

บอร์ด รฟท.ไฟเขียวเปิดประมูลพีพีพีรถไฟอีอีซีเชื่อมอีสาน 2 หมื่นล้าน คาดประมูลปลายปี จ่อขายซองทีโออาร์รถไฟไฮสปีดกลางเดือนหน้า

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ได้มีมติเห็นชอบโครงการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในการเดินรถขนส่งสินค้า เส้นทางขอนแก่น-แหลมฉบัง วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท โดยจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการภาครัฐ (พีพีพี) และ รฟท.จะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและงานก่อสร้าง

ด้านเอกชนลงทุนจัดหารถไฟ งานระบบ รวมถึงงานซ่อมบำรุง ซึ่งระบบการเดินรถจะเป็นรถไฟฟ้า โดยหลังจากบอร์ดอนุมัติโครงการจะเร่งเสนอแผนเข้าสู่กระทรวงคมนาคมและคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของภาครัฐ (บอร์ดพีพีพี) ควบคู่ไปกับการร่างเอกสารเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) คาดว่าจะเปิดประมูลปลายปี 2561

สำหรับโครงการนี้จะเป็นกลไกส่งเสริมเศรษฐกิจและการค้าในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยเฉพาะเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งสินค้าจากภาคอีสานและประเทศเพื่อนบ้านมาเชื่อมต่อการขนส่งทางน้ำที่ท่าเรือขนาดใหญ่ในอีอีซี

ขณะที่ความคืบหน้าการจัดซื้อหัวรถจักร 50 คัน วงเงิน 6,500 ล้านบาท บอร์ดได้เห็นชอบทีโออาร์แล้ว และ รฟท.จะนำร่างทีโออาร์ขึ้นเว็บไซต์เพื่อเปิดประชาพิจารณ์และเข้าสู่ขั้นตอนการประมูล ตั้งเป้าจะได้ตัวผู้ชนะโครงการและลงนามสัญญาภายในปีนี้

นอกจากนี้ ความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินอีอีซี ช่วงกรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 260 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 2.15 แสนล้านบาทนั้น คาดว่าทีโออาร์จะเสร็จพร้อมเสนอกระทรวงคมนาคมในสัปดาห์นี้ควบคู่กับเปิดรับฟังความคิดเห็นทางเว็บไซต์ จะประกาศเชิญชวนเอกชนซื้อซองทีโออาร์ภายในเดือน พ.ค. และอีก 15 วันจะขายซองประมูลโครงการและมีเวลาให้เอกชนศึกษาก่อนยื่นซองประมูล 4-5 เดือน

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการ กลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รฟท. กล่าวว่า บอร์ด รฟท.ได้มีมติเห็นชอบแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีกลางบางซื่อ หลังจากนี้ รฟท.จะพิจารณารายละเอียดเพื่อแบ่งพื้นที่พัฒนา ซึ่งปีนี้จะเปิดประมูลพื้นที่แปลงเอ มูลค่า 1 หมื่นล้านบาทได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 267, 268, 269 ... 542, 543, 544  Next
Page 268 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©