RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179825
ทั้งหมด:13491057
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 270, 271, 272 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/06/2018 11:09 am    Post subject: Reply with quote

เปิดพิกัดเมืองใหม่! รอบสถานีไฮสปีด
ออนไลน์เมื่อ 5 มิถุนายน 2561
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,370 วันที่ 31 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน 2561 หน้า 01+15


ขาใหญ่-นายหน้าวิ่งฝุ่นตลบ! จุฬาฯ ชี้พิกัดตั้งสถานีไฮสปีดแปดริ้วแห่งใหม่อยู่เขตอำเภอเมือง ห่างสถานีเดิม 4 กม. มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เตรียมปักธงวางผังเมืงอัจฉริยะ

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (อีอีซี) ที่เปิดเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนวันที่ 30 พ.ค. 2561 นี้ แนวเส้นทางจากอู่ตะเภาถึงดอนเมืองมี 9 สถานีหลัก จำนวนนี้มีสถานีเกิดใหม่ 2 สถานี คือ อู่ตะเภากับฉะเชิงเทรา ขณะที่ อีก 7 สถานี สร้างคร่อมพื้นที่สถานีเดิมพร้อมปรับใหญ่ขึ้น เพื่อสร้างให้เป็นเมืองใหม่ ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่


ชี้พิกัดสถานีแปดริ้ว

นายพนิต ภู่จินดา อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะที่ปรึกษาวางผังเมืองอีอีซี เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การพัฒนาเมืองใหม่อีอีซีมีประมาณ 3-4 แห่ง ตามแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง สำหรับสถานีฉะเชิงเทราตั้งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟเดิม ซึ่งอยู่เขตอำเภอเมือง มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร หากได้ข้อสรุป ทางจุฬาฯ จะเข้าไปวางผังพัฒนาเมืองอัจฉริยะต่อไป

เนื่องจากรถไฟความเร็วสูงต้องใช้เขตทางกว้าง 1,200 เมตร ต่างจากรถไฟธรรมดาที่ใช้วงรัศมีเพียง 400 เมตร แต่ปัจจุบันยังไม่สรุป แต่สถานีจะไม่อยู่ที่เก่า เนื่องจากมีความแออัด อยู่ในย่านชุมชนและติดกับบริษัทขนส่ง สำหรับสถานีพื้นที่ ด้านหน้ากว้างประมาณ 50-60 เมตร ความยาวประมาณ 200 เมตร แต่ต้องมีพื้นที่พัฒนารอบสถานีเกิดขึ้นแน่นอน เพื่อเป็นรายได้ชดเชยให้กับ ร.ฟ.ท.

"การปักหมุดสถานีรถไฟความเร็วสูงสถานีฉะเชิงเทรา ยอมรับว่า มีการวิ่งซื้อที่ดินดักกระจายทั่วไป แต่หากไม่สร้างสถานีบริเวณที่ซื้อที่ดินก็ต้องทำใจ"

นายพนิต ย้ำว่า เมืองใหม่แปดริ้วจะอยู่บริเวณรอยต่อของ กทม. เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยชั้นดีสำหรับแรงงานด้านมีทักษะสูง ที่สามารถแบกรับค่ารถไฟความเร็วสูง ไม่ว่าจะมา กทม. หรืออีสเทิร์นซีบอร์ด


ขณะที่ เมืองใหม่ชลบุรีอยู่บริเวณสัตหีบ หรือทางตอนใต้ของพัทยา เมืองใหม่ระยองอยู่ทางด้านเหนืออำเภอเมืองระยอง ขณะที่ ศรีราชา บริเวณที่รถไฟความเร็วสูงจอดจะเป็นทีโอดี ซึ่งเป็นพื้นที่แรกที่ ร.ฟ.ท. จะพัฒนารอบสถานี มีที่ดิน 25 ไร่ โดยไม่ต้องเวนคืน ขณะเดียวกัน ก็มีแลนด์แบงก์ของนิคมอุตสาหกรรม 31 แห่ง ล่าสุด ประกาศเขตนิคม 21 แห่ง ซึ่งจะแบ่งนักลงทุนในทางลับอย่างชัดเจน คือ ญี่ปุ่นจะลงทุนในนิคมอมตะ ซึ่งมีอยู่ 13-14 เฟส ขณะที่ จีนจะลงทุนของซีพี ซึ่งซีพีทยอยเก็บที่ดินไม่ต่ำกว่า 10,000 ไร่ ใน จ.ระยอง ซึ่งขณะนี้ได้ขอเป็นเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเปลี่ยนสีผังเมืองจากสีเขียวเกษตรกรรมเป็นสีม่วงทั้งหมดแล้ว

หดสมาร์ทซีตีเหลือ 80 ไร่

นายจอมพงษ์ ชูทับทิม เลขาธิการหอการค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า คณะกรรมการอีอีซี จ.ฉะเชิงเทรา ได้พิจารณาปรับพื้นที่ทีโอดีรอบสถานีฉะเชิงเทรา ว่า จะหดพื้นที่ลงเหลือ 80-100 ไร่ ซึ่งเปรียบเสมือนไข่แดง แต่อยู่ติดกับสถานี เนื่องจากเป็นสมาร์ทซิตี จึงใช้พื้นที่ไม่มาก เช่น ธรรมศาสตร์รังสิต เอแบคบางนา แต่ใส่สิ่งอำนวยความสะดวกเข้าไป ขณะที่ พื้นที่วงรอบ ๆ จะเหมือนไข่ขาว ซึ่งเอกชนจะทำหน้าที่พัฒนาต่อไป อย่างไรก็ดี ที่ดินในแปดริ้วอยู่ในมือนักลงทุนรายใหญ่ ทั้งนักการเมืองระดับชาติ นักการเมืองท้องถิ่น กลุ่มซีพี ค่ายเบียร์ช้าง ค่ายบุญรอด กลุ่มดั๊บเบิ้ลเอ บริษัทจัดสรรรายใหญ่ อาทิ ค่ายเอสซีแอสเสท เป็นต้น


ร.ฟ.ท. เร่งเต็มสูบ

แหล่งข่าวระดับสูงของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า แนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อู่ตะเภา-ดอนเมือง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เริ่มจากสนามบินดอนเมืองนั้น จะใช้พื้นที่ของสถานีรถไฟปัจจุบัน พร้อมแบ่งเขตทางและปรับชานชาลาให้กว้างขึ้น

ส่วนที่เด่นชัดจะเริ่มจากสนามบินสุวรรณภูมิ จะก่อสร้างเส้นทางเชื่อมเข้ากับสนามบินสุวรรณภูมิอีก 1 แนว ซึ่งมาจากสนามบินอู่ตะเภา เช่นเดียวกับการก่อสร้างแนวเส้นทางเชื่อมเข้าไปยังศูนย์ซ่อมบำรุงที่อยู่ก่อนถึงสถานีฉะเชิงเทราราว 800 เมตร มีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ซึ่งจุดดังกล่าวจะเป็นจุดแยกที่มีแนวเส้นทางไปยังแก่งคอยได้ ซึ่งจุดศูนย์ซ่อมบำรุงจะมีทางเข้าออกชัดเจนใกล้กับแนวเส้นทางหลักประมาณ 100 เมตร

"บางส่วนอาจจะต้องก่อสร้างไปพร้อมกับโครงการรถไฟสายสีแดงในเขตเมือง แต่ส่วนใหญ่จะใช้สถานีปัจจุบันแทบทั้งหมด ยกเว้น สถานีอู่ตะเภาที่จะเป็นสถานีใหม่และใช้แนวเส้นทางใหม่ บางสถานีจะสร้างคร่อมสถานีปัจจุบัน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ บางสถานีอาจจะสร้างก่อนเข้าสู่หรือหลังพ้นสถานี แต่ไม่ควรจะห่างกับสถานีเดิมมากจนเกินไป เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่ออย่างสะดวก โดยจะมีการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดยาวประมาณ 300 เมตร ช่วงสถานีพัทยา-อู่ตะเภา สำหรับรถไฟเส้นทางนี้อีกด้วย"

ในส่วนพื้นที่การพัฒนาเมืองใหม่นั้น เป็นหน้าที่ของกรมโยธาธิการและผังเมืองไปกำหนดจุดเบื้องต้นนั้น ทราบว่า อยู่ในโซนสถานีฉะเชิงเทราและอู่ตะเภาบางส่วน เช่นเดียวกับสถานีศรีราชาที่จะพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ประมาณ 25 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 100 ไร่ พร้อมกับสถานีมักกะสันนั้น ล่าสุด ทราบว่าอยู่ระหว่างการนำเสนอคณะกรรมการอีอีซีพิจารณา ซึ่งหากเอกชนรายใดชนะการประมูลก็จะต้องประชุมร่วมกันในรายละเอียดการพัฒนาแต่ละพื้นที่ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/06/2018 11:12 am    Post subject: Reply with quote

ปตท. ผนึก BTS สู้ซีพี! ประมูลไฮสปีดระอุ ส่ง 'เอนโก้' ร่วมทุน 4 พันธมิตร
ออนไลน์เมื่อ 6 มิถุนายน 2561
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,372 วันที่ 7-9 มิถุนายน 2561 หน้า 01-02


ปตท. จัดทัพชิงเค้กไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ส่งบริษัทลูก 'เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์' ผนึก 4 พันธมิตร ตั้งบริษัทร่วมทุน ... กูรูอสังหาฯ ชี้! มิกซ์ยูสมักกะสันโครงการใหญ่ พัฒนานาน 10 ปี เสี่ยงถ้ารถไฟความเร็วสูงช้าหรือสะดุด ราคาที่ฉะเชิงเทราพุ่งแล้ว 60%

การประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) วงเงินกว่า 2.2 แสนล้านบาท ดุเดือดขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเอกชนรายใหญ่ของไทยอย่างน้อย 5 ราย ประกอบด้วย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) , บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTSC) , บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด (มหาชน) จะผนึกกำลังจับมือกันร่วมประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูง แข่งกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี ที่จะจับมือกับกลุ่มทุนจีนและญี่ปุ่น ประกอบด้วย ไชน่า เซาธ์ โลโคโมทีฟ แอนด์ โรลลิ่ง สต๊อค (China South Locomotive and Rolling Stock) หรือที่รู้จักกันในอีกนามว่า 'ไชน่า เซาเธิร์น เรลเวย์' จากประเทศจีน และบริษัท อิโตชู คอร์ปอเรชั่น จากญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม มีรายงานข่าวเปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือซีพี พยายามดึงกลุ่มบีทีเอสออกจากการเป็นพันธมิตรของ ปตท. โดยเจรจากับ นายคีรี กาญจนพาสน์ แต่ไม่สำเร็จ เพราะซีพีต้องการถือหุ้นข้างมากในสัดส่วน 60% แต่เจ้าสัวคีรีแจ้งกลับว่า บีทีเอสต้องถือหุ้น 80% และซีพีถือ 20% อีกทั้งยังติดเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารเส้นทางเดินรถไฟฟ้า ทางบีทีเอสจึงยืนยันที่จะจับมือกับ ปตท. และพันธมิตรแข่งประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงซีพี


ดันบริษัทลูกร่วมทุนพันธมิตร

แหล่งข่าวจาก บริษัท ปตท. เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงครั้งนี้ ทาง ปตท. จะให้บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด หรือ เอนโก้ บริษัทในเครือ ปตท. เข้าไปตั้งบริษัทร่วมทุนกับกลุ่มพันธมิตรทั้ง 4 ราย ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาสัดส่วนการถือหุ้น โดยทางกลุ่มบีทีเอสจะเป็นผู้เจรจากับนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในระบบรถไฟความเร็วสูง ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้มีการเจรจากับอัลสตอมเอสเอ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรถไฟรายใหญ่ของฝรั่งเศส แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากอัลสตอมเสนอราคาสูงเกินไป

ขณะเดียวกัน ทาง ปตท. อยู่ระหว่างทบทวนผลการศึกษาความคุ้มค่าการลงทุน โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ จำนวน 150 ไร่ บริเวณสถานีมักกะสัน ซึ่งตามทีโออาร์กำหนดให้มีการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวไม่น้อยกว่า 850,000 ตารางเมตร และต้องลงทุนอาคารและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งส่วนควบต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 42,000 ล้านบาทนั้น มีความคุ้มค่าการลงทุนตามผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรหรือไม่


คาดมักกะสันใช้เวลาพัฒนา 10 ปี

นายสุรเชษฐ กองชีพ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยตลาดไรส์แลนด์ (ประเทศไทย) วิพากษ์ถึงความคุ้มค่าของแผนการลงทุนพัฒนาเชิงพาณิชย์บริเวณที่ดิน ย่านมักกะสัน-แอร์พอร์ตลิงค์ ว่า ในฐานะเอกชน ยังไม่สามารถประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนที่มหาศาลเช่นนั้นได้ เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ อาจต้องใช้เวลาพัฒนายาวนานมากกว่า 10 ปี ทั้งนี้ แม้แต่โครงการวันแบงค็อก ซึ่งเป็นมิกซ์ยูสที่มีมูลค่าโครงการกว่า 1 แสนล้านบาท ยังใช้เวลาการพัฒนา 9 ปี ฉะนั้น

หากโครงการรถไฟไฮสปีดเกิดความล่าช้าหรือสะดุด เท่ากับเม็ดเงินที่เอกชนลงไปจะจมหายได้ นอกจากนี้ การเดินทางเข้าสู่ศูนย์โลจิสติกส์ที่มักกะสันยังไม่เพียงพอ การเดินทางต้องต่อหลายช่วง ขึ้นรถไฟฟ้า BTS เดินเชื่อมสถานีพญาไทไปยังสถานีแอร์พอร์ตลิงค์ ซึ่งก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการเดินทางได้ อีกทั้งควรสร้างทางขึ้น-ลง ทางด่วนในพื้นที่เพิ่มเติม

"โดยส่วนตัว มองว่าความเป็นไปได้ที่เกิดการพัฒนาที่ดี คือ รัฐต้องเปิดโอกาสให้เอกชนต่างชาติเข้ามาถือกรรมสิทธิ์ได้เต็ม 100% อาจจะส่งผลให้เอกชนต่างชาติเข้ามาเล่นด้วย"

ผศ.ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา

ผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมถนนและระบบราง มหาวิทยาลัยนเรศวร และในฐานะประธานคณะกรรมการวิศวกรรมระบบราง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)

ผศ.ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา ผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมถนนและระบบราง มหาวิทยาลัยนเรศวร และในฐานะประธานคณะกรรมการวิศวกรรมระบบราง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) วิเคราะห์ว่า "จุดที่ผู้ร่วมลงทุนหลายฝ่ายให้ความสนใจ คือ การบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีรถไฟ เนื่องจากเฉพาะการเดินรถ คงจะไม่มีผู้ร่วมลงทุนรายไหนอยากจะดำเนินการ เพราะใช้ระยะเวลานานกว่าจะคืนทุน แต่การใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่จะให้ความสำคัญมากกว่า แค่แปลงมักกะสันและศรีราชา ไม่กี่ปีก็สามารถคืนทุนได้แล้ว นี่ยังไม่รวมสถานีและพื้นที่อื่น ๆ ด้วย ซึ่งทั้งกลุ่มซีพีและ ปตท. ล้วนมีพื้นที่ในโซนภาคตะวันออกที่สามารถเอาไปพัฒนาเชิงพาณิชย์รองรับไว้แล้วทั้งสิ้น"

นักวิชาการด้านระบบรางรายเดียวกัน ยังกล่าวอีกว่า การร่วมลงทุนในโครงการขนาดใหญ่เช่นนี้ หากสายป่านเงินลงทุนไม่มั่นคงพอ ก็จะต่อสู้กันไม่ได้แน่ สำหรับ 2 กลุ่มใหญ่ ที่เป็นข่าว ปตท. สายป่านการเงินเพียงพอแน่ แต่ซีพีเลือกใช้ทุนต่างประเทศเข้ามาร่วม เพื่อลดความเสี่ยงเรื่องดอกเบี้ยและความผันผวนของค่าเงิน ซึ่งพันธมิตรญี่ปุ่นและจีนต่างก็มีความเข้มแข็งทั้งคู่สุดท้ายคงจะดูกันเรื่องการบริหารจัดการและบำรุงรักษา เพราะมีดอกเบี้ยเป็นตัวกำหนดทิศทางว่ากลุ่มใดจะเฉือนชนะไปในเกมการแข่งขันครั้งนี้

เนื่องจากรถไฟไฮสปีด การดูแลบำรุงรักษาทางวิ่ง ราง รวมทั้งอะไหล่ต่าง ๆ มูลค่าสูงมาก ซึ่งทั้ง 2 กลุ่ม ยังใกล้เคียงกัน แต่ ปตท. ก็ฉลาดพอที่จะหาพาร์ตเนอร์มาร่วมสนับสนุน ยังเป็นการกระจายความเสี่ยงและระดมความเด่นมารวมไว้ด้วยกันได้ ดังนั้น จึงจับตามองว่า แล้วจีนกับญี่ปุ่นจะเอาเทคโนโลยีไหนมาเสนอแข่งกับกลุ่มบีทีเอส


ที่ฉะเชิงเทราถีบตัว 60%

สถานีฉะเชิงเทราเป็นอีกพื้นที่ที่มีความน่าสนใจ เพราะตรงจุดนี้จะมีการพัฒนาเมืองใหม่ตามนโยบายของรัฐบาลให้เป็น 'เมืองสมาร์ทซิตี' ที่มีองค์ประกอบ 6 ลักษณะ ได้แก่
(1) ชุมชนอัจฉริยะ (Smart Community)
(2) สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)
(3) การคมนาคมขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility)
(4) พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy)
(5) เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy)
(6) การบริหารจัดการอัจฉริยะ (Smart Governance)

นายจอมพงษ์ ชูทับทิม เลขาธิการหอการค้า จ.ฉะเชิงเทรา เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จ.ฉะเชิงเทรา ได้รับมอบหมายให้เป็น 'เมืองสมาร์ทซิตี' ซึ่งหอการค้าฉะเชิงเทราได้ประชุมกับหน่วยงานราชการในพื้นที่ เพื่อกำหนดรูปแบบพัฒนาเมือง แต่พอมีข่าวออกไปว่า จะมีโครงการต่าง ๆ ราคาที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ ก็ถีบตัวสูงขึ้น 50-60% เพราะ จ.ฉะเชิงเทรา ไม่เคยรับโครงการขนาดใหญ่แบบนี้มาก่อน นักลงทุน ภาคเอกชนก็มีความตื่นเต้น กลุ่มคนที่มีที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดก็มีความคึกคัก แต่ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะการปั่นราคาที่ดิน

"คาดการณ์ว่า สมาร์ทซิตีของฉะเชิงเทราอาจจะมีขนาดไม่ใหญ่มาก อาจจะเป็นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แล้วมีคนไปอยู่ในนั้น ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นพื้นที่สถานีรถไฟเดิมของจังหวัด"
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/06/2018 12:28 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เร่งออกแบบรถไฟไทย-จีน เฟส2 ดันประมูลในปี62 เจรจาผุดสะพานใหม่เชื่อมเวียงจันทน์
โดย: MGR Online

เผยแพร่: 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 19:41:
รถไฟไทย-จีนช่วงที่2สร้างพ.ย.61
เผยแพร่: 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ถกรถไฟไทย-จีนคืบเร่งประมูล13 สัญญาส.ค.นี้
เผยแพร่: 2 มิถุนายน พ.ศ. 2561




ลุ้น 13 สัญญาไทย-จีน สั่งร.ฟ.ท.ทบทวนแบบช่วงโคราช-หนองคาย
ออนไลน์เมื่อ 6 มิถุนายน 2561

ตีพิมพ์ใน เชกชั่น : เศรษฐกิจมหภาค
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3371 ระหว่างวันที่ 3-6 มิถุนายน 2561 หน้า 12


“อาคม” สั่งร.ฟ.ท.ปรับผลศึกษาออกแบบโครงการรถไฟไทย-จีน ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ให้เสร็จในปีนี้ ล่าสุดช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาเตรียมเปิดประมูล 13 สัญญารวมค่ากว่า 179,412.21 ล้านบาท

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟภายใต้ความร่วมมือไทย-จีนที่ประชุมร่วมมาแล้วจำนวน 24 ครั้งว่า ขณะนี้การก่อสร้างช่วง 3.5 กิโลเมตรที่กรมทางหลวงรับไปดำเนินการมีความคืบหน้าไปมากแล้ว ดังนั้นจึงขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เร่งว่าจ้างศึกษาออกแบบระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ต่อไปได้ทันที เนื่องจากจะต้องมีกระบวนการอีกหลายขั้นตอนกว่าจะแล้วเสร็จคาดว่าจะใช้ระยะเวลาในปี 2562 เพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้างต่อเนื่องกันไป พร้อมกับการเปิดให้บริการเดินรถถึงหนองคายตามแผนที่กำหนดไว้

ด้านนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กล่าวว่า การหารือความร่วมมือรถไฟไทย-จีนครั้งที่ 24 นี้ นอกจากจะหารือที่เกี่ยว ข้องกับเฟสแรกช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาแล้วยังจะมีการหารือในเฟสที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ที่ควรจะเริ่มดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับเฟสแรกที่มีความคืบหน้ามาอย่างต่อเนื่อง

“ฝ่ายไทยออกแบบเองโดยร.ฟ.ท.ว่าจ้างที่ปรึกษาไปดำเนินการและมีฝ่ายจีนร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจสอบผลการศึกษาดังกล่าวนี้ซึ่งขณะนี้สภาวิศวกรมีความเคลื่อนไหวเรื่องนี้แล้ว โดยโครงการช่วงนี้สนข.ได้ออกแบบเบื้องต้นไว้แล้วตั้งแต่ปี 2553 จึงสามารถปรับปรุงแบบนั้นใหม่ต่อไปได้ทันที

ส่วนบทบาทสนข.ต่อไปจะดูในเรื่องความเป็นไปได้ของโครงการ โดยฝ่ายจีนจะรับไปทบทวนโครงการ ทั้งนี้จะมีการรายงานผลการประชุมครั้งที่ 24 ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อทราบความคืบหน้าซึ่งการลงทุนระยะที่ 2 และการออกแบบจะต้องปรับราคาลดลงกว่าระยะแรกเนื่องจากฝ่ายไทยดำเนินการเองทั้งหมด”

ด้านแหล่งข่าวระดับสูงของกระทรวงคมนาคมรายหนึ่งกล่าวว่า สำหรับสัญญา 2.3 ล่าสุดฝ่ายจีนส่งแบบให้ฝ่ายไทยแล้ว โดยสรุปว่าโครงการระยะแรกช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาแบ่งออกเป็นจำนวน 13 สัญญา ที่พร้อมจะเปิดประมูลให้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาได้ในช่วงปลายปีนี้เป็นต้นไป รวมมูลค่าประมาณ 1 แสนล้านบาท ตามรายการต่อไปนี้:



สำหรับแผนก่อสร้าง 14 ตอน/สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. กรมทางหลวงอยู่ระหว่างก่อสร้างกำหนดแล้วเสร็จ เดือนส.ค.2561

สัญญาที่2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก. ระยะทาง 11 กม.ประมูลเดือนส.ค.2561 เริ่มก่อสร้างเดือนพ.ย.2561

สัญญาที่3 ช่วงแก่งคอย-บันไดม้า ระยะทาง 32 กม.
สัญญา4 ช่วงมวกเหล็ก-ลำตะคอง ระยะทาง 11.7 กม.
สัญญา5 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 24.8 กม.
สัญญา 6 ช่วงลำตะคอง-โคกกรวด ระยะทาง 37.6 กม.
สัญญา7 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 13.7 กม. กำหนดเปิดประมูลช่วงเดือนก.ย.2561-ม.ค.2562

สัญญา 8 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง11 กม.
สัญญา9 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 22.6 กม.
สัญญา 10 ช่วงนวนคร-บ้านโพธิ์ ระยะทาง 23 กม.
สัญญา 11 เชียงรากน้อย (เดปโป้)
สัญญา 12 ช่วงบ้านโพธิ์-พระแก้ว ระยะทาง 14.4 กม.
สัญญา 13 ช่วงพระแก้ว- สระบุรี ระยะทาง 30.5 กม.
สัญญา 14 ช่วง สระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 13 กม.

สำหรับระยะที่ 2 ช่วง นครราชสีมา-หนองคาย มีระยะทางประมาณ 355 กิโลเมตรคาดว่าจะใช้กรอบวงเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 2 แสนล้านบาทนั้นส่วนใหญ่จะเป็นพื้นราบ แตกต่างจากระยะแรกที่เป็นภูเขา ดังนั้นราคาต่อกิโลเมตรจึงสูงกว่าโดยกำหนดกรอบวงเงินไว้ที่ 179,412.21 ล้านบาทเบื้องต้นนั้นยังมีลุ้นโมเดลองค์กรที่นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมจะนำเข้าไปบริหารจัดการโครงการแทนร.ฟ.ท. หรือแอร์พอร์ตลิ้งค์ และคงต้องจับตาว่าฝ่ายจีนจะยังให้การสนับสนุนการศึกษาออกแบบระยะที่ 2 ต่อไปหรือไม่ ซึ่งร.ฟ.ท.ยังไม่ได้ดำเนินการ แต่น่าจะง่ายกว่าระยะแรกเนื่องจากมีประสบการณ์ร่วมกับฝ่ายจีนมามากแล้ว

“ผลการศึกษาระยะที่ 2 สนข.เริ่มศึกษาไว้นานแล้วร.ฟ.ท.คงใช้งบประมาณอีกราว 10 ล้านบาทไปรีวิวผลการศึกษา จึงประหยัดได้อย่างมากเพราะฝ่ายไทยดำเนินการเอง แต่ใช้มาตรฐานจีนโดยต้องขอให้ฝ่ายจีนประมาณราคากลาง คาดว่า 1-2 เดือนนี้จะชัดเจน ดังนั้นเสียงเรียกร้องจากหลายฝ่ายเมื่อครั้งที่มีการประกาศใช้ม.44 ให้ฝ่ายจีนดำเนินการก็คงจะหมดไป รับเหมาก็มีลุ้นได้รับงาน บริษัทที่ปรึกษาต่างๆก็มีโอกาสรับงานมากขึ้น เนื่องจากได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากฝ่ายจีนมาแล้วนั่นเอง”

ด้านนายพิเชฐ นิ่มพานิช ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น(ไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หวังว่าเป็นโอกาสของผู้รับเหมาไทยที่จะได้เข้าไปรับงานโครงสร้างงานทางในช่วงปลายปีนี้อีกหนึ่งเมกะโปรเจ็กต์ที่หลายบริษัทเฝ้ารอมานาน แต่ก็ยังเป็นห่วงว่าจะรัฐบาลเอาเงินทุนจากไหนได้ดำเนินการ การเวนคืนสำเร็จจริงหรือไม่ เพราะไม่อยากเห็นความล่าช้าเช่นโครงการมอเตอร์เวย์ช่วงบางใหญ่-กาญจนบุรี ที่ยังเข้าพื้นที่ไม่ได้จนถึงปัจจุบันนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/06/2018 1:51 pm    Post subject: Reply with quote

ลุย “ไฮสปีดโคราช” เต็มสูบ จีนรุก EEC บี้ไทยเชื่อม “หนองคาย-ลาว-คุนหมิง”
วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2561 - 08:00 น.
Click on the image for full size

นับจากรัฐบาลทหารเข้ามาบริหารประเทศ พร้อมประกาศจะผลักดันการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ประเดิมเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ในพื้นที่ภาคอีสานเป็นสายแรก ระยะทาง 253 กม.

ด้วยการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศจีน ร่วมกันแจ้งเกิดรถไฟหัวจรวดสายนี้ให้เป็นจริง โดยรัฐบาลไทยจะเป็นผู้ลงทุนโครงการทั้งหมดด้วยเม็ดเงิน 179,412 ล้านบาท ขณะที่รัฐบาลจีนจะช่วยออกแบบรายละเอียดและจัดหาระบบรถไฟความเร็วสูงให้ หลัง “ไทย-จีน” ประชุมร่วมกันมาแรมปี ถึงขณะนี้ไฮสปีดเทรนสายแรกของประเทศไทย กำลังเดินหน้าด้วยความละเมียดละไม

จากไทม์ไลน์การก่อสร้างของโครงการ ที่แบ่งออกเป็น 14 ตอน หลังคิกออฟช่วงแรกจากสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. โดยกระทรวงคมนาคมให้ “กรมทางหลวง” รับหน้าที่เนรมิตถมคันดินด้วยวงเงิน 425 ล้านบาท เปิดไซต์เมื่อเดือน มี.ค. 2561 ปัจจุบันผลงานคืบหน้ากว่า 7% มีกำหนดจะแล้วเสร็จในเดือน ส.ค.นี้

ส่วนอีก 13 สัญญาที่เหลือ มีข้อสรุปจากที่ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 24 เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา

โดย “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่างานช่วงแรกการก่อสร้างเป็นที่น่าพอใจและมีความคืบหน้าตามลำดับ โดยมีวิศวกรชาวจีนเป็นที่ปรึกษาควบคุมงาน ส่วนตอนที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. กำลังตรวจสอบแบบรายละเอียดที่ฝ่ายจีนจัดส่งและมีปรับแก้ไข ทางจีนจะส่งให้ภายในวันที่ 8 มิ.ย.นี้ คาดว่าจะประกวดราคาในเดือน ส.ค. และเริ่มการก่อสร้างในเดือน พ.ย.นี้

อีก 12 ตอน จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 5-6 ตอน ฝ่ายจีนจะส่งแบบรายละเอียดทั้ง 2 กลุ่ม ให้ภายในเดือน มิ.ย.นี้ ซึ่งไทยต้องใช้เวลาในการตรวจสอบแบบรายละเอียดและเสนอความเห็นให้จีน หากต้องมีการปรับแก้ไข

เช่น การออกแบบอาคารสถานีที่ไทยต้องการให้มีเอกลักษณ์ในรูปแบบของสถาปัตยกรรมไทย คาดว่าจะดำเนินการประกวดราคากลุ่มแรก จำนวน 5 ตอน ได้ประมาณเดือน ก.ย.นี้ เริ่มก่อสร้างประมาณเดือน มี.ค. 2562

ประกอบด้วย
สัญญาที่ 3 ช่วงแก่งคอย-บันไดม้า ระยะทาง 32 กม.
สัญญา 4 ช่วงมวกเหล็ก-ลำตะคอง ระยะทาง 11.7 กม.
สัญญา 5 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 24.8 กม.
สัญญา 6 ช่วงลำตะคอง-โคกกรวด ระยะทาง 37.6 กม.
สัญญา 7 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 13.7 กม.

จากนั้นประมาณเดือน พ.ย.นี้จะเริ่มดำเนินการประกวดราคากลุ่มที่ 2 จำนวน 6 ตอน เพื่อให้เริ่มงานก่อสร้างประมาณเดือน เม.ย. 2562

ประกอบด้วย สัญญา 8 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 11 กม.
สัญญา 9 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 22.6 กม.
สัญญา 10 ช่วงนวนคร-บ้านโพธิ์ ระยะทาง 23 กม.
สัญญา 11 เชียงรากน้อย (เดโป้)
สัญญา 12 ช่วงบ้านโพธิ์-พระแก้ว ระยะทาง 14.4 กม.
สัญญา 13 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 30.5 กม.
สัญญา 14 ช่วง สระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 13 กม.

“การประมูลสัญญาที่เหลือ การรถไฟฯจะดำเนินการปกติและเป็นการทั่วไป ตามขั้นตอน พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง 2560 จะกำหนดเป็นทีโออาร์เพื่อเปิดประมูลต่อไป” นายอาคมกล่าวและว่า

ขณะเดียวกันยังมีการเจรจาหารือสัญญา 2.3 เป็นงานระบบรถไฟความเร็วสูงและการฝึกอบรม วงเงินลงทุนกว่า 5.4 หมื่นล้านบาท โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะเร่งเจรจาร่วมกันให้ได้ข้อสรุปภายในเดือน ส.ค.นี้ เพื่อที่กระทรวงการคลังจะได้จัดหาแหล่งเงินกู้ต่อไป ซึ่งรวมถึงเงินกู้จากประเทศจีนด้วย

นายอาคมยังกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมฯยังมีการติดตามความก้าวหน้า แผนการก่อสร้างเฟส 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทางประมาณ 350 กม. ที่จะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงลาว-จีน ที่เวียงจันทน์ ที่กำลังก่อสร้างด้วยระยะทาง 420 กม.ในอนาคต

“หลักการฝ่ายไทยจะออกแบบรายละเอียดเอง โดยจีนเป็นที่ปรึกษา เพราะใช้เทคโนโลยีจีนและมีส่วนเชื่อมต่อกับลาวไปยังจีน และให้จีนประเมินกรอบวงเงินเบื้องต้น ตั้งเป้าจะศึกษาออกแบบให้เสร็จอย่างเร็วในปี 2561 และจะเริ่มก่อสร้างในปี 2562 โดยจีนต้องการเร่งเฟส 2 ให้ทันกับเฟสแรก ในปี 2566 เพื่อเปิดเดินรถพร้อมกันตลอดสายจากกรุงเทพฯ-โคราช-หนองคาย-เวียงจันทน์-คุนหมิง”

ทั้งนี้ จะมีการประชุมร่วมกัน 3 ฝ่าย คือ ไทย สปป.ลาวและจีน เพื่อกำหนดตำแหน่งสะพาน ตำแหน่งที่ตั้งสถานีฝั่งลาว เนื่องจากจะต้องสร้างสะพานแห่งใหม่มารองรับกับแนวเส้นทางโครงการ เนื่องจากติดปัญหาการจราจรคอขวดบนสะพานที่ใช้ร่วมกับรถยนต์

โดยตำแหน่งที่จะสร้างจะตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ปัจจุบันห่างออกไปประมาณ 30 เมตร จะสร้างคู่ขนานไปกับสะพานเดิม และจะสามารถรองรับได้ทั้งรางขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร สำหรับระบบรถไฟความเร็วสูงและรางขนาด 1 เมตร สำหรับรถไฟทางคู่ ส่วนสะพานมิตรภาพเดิมจะยกเลิกทางรถไฟในปัจจุบัน และให้สะพานรองรับรถยนต์เพียงอย่างเดียว

ทั้งนี้ ในผลการศึกษาของ “สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” ก่อนหน้านี้ ในเบื้องต้นจะใช้เงินลงทุนจากนครราชสีมา-หนองคาย ประมาณ 170,725 ล้านบาท เป็นความก้าวหน้าล่าสุดของไฮสปีดไทย-จีน ที่ใช้ระบบรถไฟหัวจรวดจากแดนมังกร

ว่ากันว่า…กลุ่มบริษัทจีน 7 ราย ที่ลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อมเวียงจันทน์-คุนหมิงเมืองเอกในมณฑลยูนนาน ประตูการค้าทางฝั่งตะวันตกของประเทศจีน

กำลังรุกคืบมายังกระดานประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เพื่อต่อยอดกับเส้นทางที่กำลังสร้างอยู่ฝั่งลาวให้เชื่อมโยงประตูการค้าให้ไปด้วยกัน

หากเข้าป้ายเท่ากับ “จีน” ดันเส้นทางสายไหมโดยรวบรถไฟความเร็วสูงไว้เป็นหนึ่งเดียวกัน ภายใต้ยุทธศาสตร์ One Belt One Road จะเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมขนส่งทางรางของไทยสู่การค้ากับ 64 ประเทศ มีประชากรรวมกันประมาณ 4,400 ล้านคน ได้อย่างราบรื่นด้วยรถไฟความเร็วสูง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/06/2018 2:19 pm    Post subject: Reply with quote

จากโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส “ชิบูย่า” “โตคิว” ลุ้นตีตั๋วอีอีซีลุย “มักกะสัน-ศรีราชา”
วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2561 - 19:37 น.

ท่ามกลางการเปิดโต๊ะแถลงข่าวโปรเจ็กต์ร่วมทุน “แสนสิริ-โตคิว” ที่ขนทัพนักข่าวจากประเทศไทยไปร่วมงานใหญ่แห่งปีที่ประเทศญี่ปุ่น

นอกจากแผนงานโครงการพัฒนาคอนโดมิเนียมจะลงขันกันกว่า 5,000 ล้านบาทผุด 2 โครงการใหม่ที่ย่านเอกมัยและสุขุมวิท 50

อีกหนึ่งไฮไลต์ที่ “บิ๊กโตคิว คอร์ปอเรชั่น” ถูกตั้งคำถามนั่นคือแผนการเข้าไปลงทุนก่อสร้างและพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา มูลค่ากว่า 2.2 แสนล้าน ที่รัฐบาลไทยกำลังตีปี๊บเปิดประมูลนานาชาติ

เพราะไม่ใช่แค่นักข่าวไทย แม้แต่นักข่าวจากแดนอาทิตย์อุทัยก็ให้ความสนใจกับเมกะเวิลด์ของไทยแลนด์ที่หลายประเทศกำลังเฝ้าจับตาดู


“โตคิวมีธุรกิจทั้งรถไฟและอสังหาริมทรัพย์ การพัฒนาของรถไฟในขณะนี้ทุกคนมีความคาดหวังจากเรา การขยายการลงทุนไปต่างประเทศ โดยเฉพาะเรื่องรถไฟคิดว่ายาก ต้องเป็นการลงทุนของรัฐบาล เพราะเป็นเรื่องสาธารณูปโภค ที่รัฐต้องรับภาระ เพราะการบริหารรถไฟมีอุปสรรคมาก เราสนใจแค่การก่อสร้าง” เป็นคำตอบแรกจาก นายโตชิยูคิ โฮชิโนะ กรรมการและเจ้าหน้าที่ผู้จัดการบริหารอาวุโสและผู้จัดการบริหารทั่วไป สำนักงานใหญ่ธุรกิจต่างประเทศ บจ.โตคิว คอร์ปอเรชั่น หลังนักข่าวญี่ปุ่นตั้งคำถาม

แต่หลังจากนักข่าวไทยถามย้ำถึงความสนใจเรื่องการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสสถานีมักกะสันและศรีราชา ที่รวมอยู่ในแผนการลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินด้วย

นายโตชิยูคิกล่าวว่า ประเทศไทยกำลังเดินหน้าพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบินอู่ตะเภาเป็นโครงการแรกจะมีการพัฒนาอสังหาฯ แนวเส้นทางด้วยทางโตคิวก็มีความสนใจและกำลังศึกษารายละเอียด



“แต่การเข้าร่วมเป็นรูปแบบ PPP รัฐบาลมีการพูดคุยกันบ้าง แต่เนื่องจากเป็นโครงการที่ใหญ่มาก เรายังไม่มีรายละเอียดพอที่จะบอกได้ว่าจะเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมลงทุน และคงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีผู้พัฒนาเพียงรายเดียว ต้องเป็นจอยต์เวนเจอร์หลาย ๆ บริษัท ปัจจุบันเรายังศึกษาข้อมูลอยู่”

ถึงจะยังไม่ฟันธง แต่ “บิ๊กโตคิว” ก็ย้ำว่า จากประสบการณ์ที่พัฒนาที่อยู่อาศัยให้เช่าที่ศรีราชา คิดว่าการพัฒนาอสังหาฯแนวรถไฟ เช่น สถานีมักกะสัน ศรีราชา ถ้ามีโอกาสก็อยากเข้าไปร่วม ขณะนี้รอข้อมูลจากแสนสิริจะพัฒนาเป็นรูปแบบใด และยังสนใจพัฒนาสมาร์ทซิตี้ในกรุงเทพฯ และพัฒนาอสังหาฯในพื้นที่อีอีซีร่วมกับแสนสิริและสหพัฒน์

“อยู่ในช่วงศึกษาตลาดเมืองไทยไม่ว่าจะเป็นรถไฟหรืออะไรก็ตาม ในกิจการต่าง ๆ อะไรท้าทายก็ให้ความสนใจ เพราะโตคิวนอกจากจะเป็นบริษัทพัฒนารถไฟ ยังมีธุรกิจอื่น ๆ เช่น อสังหาฯ เซอร์วิส”

สำหรับ “โตคิว” เริ่มต้นจากทำธุรกิจโดยก่อสร้างทางรถไฟสายเมกุโระ-คามาตะ เมื่อปี 2465 ถึงปี 2560 มีบริษัทในเครือ 220 บริษัท มี 4 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ ขนส่งคมนาคม อสังหาริมทรัพย์ บริการ โรงแรมและรีสอร์ต โดยนำการบริการด้านคมนาคมเป็นหัวใจหลักของธุรกิจ

ในประเทศไทย มี บจ. โตคิว ดีพาร์ทเม้นท์ สโตร์ ให้บริการห้างโตคิว ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ 2 แห่ง ขณะที่ บจ.โตคิว คอนสตรัคชั่น ร่วมมือกับ บมจ.ช.การช่างก่อตั้ง บจ.ช.การช่าง-โตคิว ดำเนินธุรกิจก่อสร้างถนน และโรงงาน

เมื่อปี 2559 โตคิว คอร์ปอเรชั่นและสหกรุ๊ปร่วมกันก่อตั้งบริษัทร่วมทุน สหโตคิว คอร์ปอเรชัน ขึ้นและได้เข้าบริหารอาคารอพาร์ตเมนต์พร้อมบริการ ในชื่อ “ฮาโมนิค เรสซิเดนซ์ ศรีราชา” เจาะลูกค้าญี่ปุ่นที่เข้ามาทำงานในไทย

สำหรับการลงทุนในญี่ปุ่น “โตคิว” ได้ปั้นเมืองใหม่ “ฟูตาโกะ ทามากาวะ” ติดกับสถานีรถไฟฟูตาโกะ-ทามากาวะ บนเนื้อที่ 75 ไร่ พลิกพื้นที่จากเดิมเป็นสวนสาธารณะ พัฒนาเป็นอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า สถานีรถโดยสาร ที่อยู่อาศัย และสวนสาธารณะ มีมูลค่าโครงการ 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยโปรเจ็กต์มีจุดริเริ่มในปี 2525 กว่าเฟสแรกจะเริ่มสร้างเมื่อ 11 ปีที่ผ่านมา

ปัจจุบัน “โตคิว” กำลังพัฒนาโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส มูลค่า 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ บนสถานีรถไฟชิบูย่าและโดยรอบ ประกอบด้วย สำนักงาน และศูนย์การค้า เริ่มพัฒนาเมื่อปี 2556 ทั้งโครงการมีกำหนดจะแล้วเสร็จปี 2563

ส่วนในเมืองไทย “สถานีมักกะสันและสถานีศรีราชา” กำลังเป็นพื้นที่เป้าหมายใหม่ที่ “โตคิว” อยากจะเข้ามาลงทุน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/06/2018 8:33 pm    Post subject: Reply with quote

ไม่รอเฟส2!คนระยองแห่ลงชื่อขอรถไฟความเร็วสูงเฟส1
by suradet 245
05 มิ.ย. 2561

ชาวจังหวัดระยอง ได้รณรงค์ ร่วมลงชื่อ ขอรถไฟความเร็วสูงผ่านระยองในเฟสแรก หลังรัฐบาลประกาศ TOR ประมาณรถรถไฟความเร็วสูง ไม่มีสถานีระยองรวมอยู่ด้วย


ชาวจังหวัดระยอง ได้รณรงค์ ร่วมลงชื่อ ขอรถไฟความเร็วสูงผ่านระยองในเฟสแรก หลังรัฐบาลประกาศ TOR ประมาณรถรถไฟความเร็วสูง ไม่มีสถานีระยองรวมอยู่ด้วย โดยเพจ ทวงคืนสถานีระยอง-Next Station Rayong ได้โพสต์ข้อความระบุว่า
เอารถไฟความเร็วสูงสถานีระยอง…คืนมา” ขอเชิญชาวระยองร่วมแสดงพลังเพื่อรักษาผลประโยชน์ของท่านและลูกหลานชาวระยอง โดยการร่วมลงชื่อจัดขึ้นเมื่อ วันเสาร์-อาทิตย์ที่ 2-3 มิ.ย.ที่ผ่านมา ณ
ที่ลานชั้น 1 เซ็นทรัล พลาซ่า ระยอง 12.00-19.00 น. หลังจากนั้น ในวันจันทร์ 4 มิ.ย.-วันศุกร์ 8 มิย. เปิดให้ร่วมลงชื่อที่สวนศรีเมือง จ.ระยอง เวลา 16.00-18.00 น. วันเสาร์ 9 มิย.-วันอาทิตย์ 10 มิ.ย. จะเปิดให้ลงชื่อที่ลานชั้น 1 แพชชั่น ช็อปปิ้ง เดสติเนชั่น 12.00-19.00 น. ซึ่งมีชาวระยองให้ความสนใจไปร่วมลงชื่อเป็นจำนวนมาก เพราะทุกคนอยากได้รถไฟความเร็วสูงในเฟสแรก

ทั้งนี้ หลังได้มีการลงชื่อแล้ว ทางกลุ่มผู้รณรงค์จะนำรายชื่อเสนอรัฐบาลผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดระยองต่อไป

ทั้งนี้ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน” ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา โดย การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)ได้ประกาศ TOR เพื่อหาผู้ลงทุนโครงการไปเมื่อวันที่ 30 พ.ค. ที่ผ่านมา มีระยะทางรวม 220 กม. วิ่งด้วยความเร็ว 250 กม./ช.ม. เมื่ออยู่นอกเมือง วงเงินลงทุน 2.2 แสนล้านบาทใช้รูปแบบการลงทุนแบบ PPP Net Cost โดยจะให้สัมปทาน 50 ปี กับผู้ชนะการประมูลที่เสนอราคาก่อสร้างต่ำที่สุด


โดยโครงการเป็นการควบรวมโครงการแอร์พอร์ตลิ้งค์ส่วนต่อขยายเข้าไป โดยในเฟสแรกจะวิ่งในบริการจากสนามบินดอนเมืองผ่านสนามบินสุวรรณภูมิไปสิ้นสุดแค่สนามบินอู่ตะเภา จะไม่ถึง จ.ระยอง เนื่องจากติดขั้นตอนการศึกษา EIA ที่บริเวณมาบตาพุด แต่จะมีการสร้างส่วนต่อขยายในเฟส 2 จากอู่ตะเภาผ่านระยองไปสิ้นสุดที่ จ.ตราด ด้วยเช่นกัน

การสร้างรถไฟความเร็วสูง เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาพื้นที่เมืองใหม่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC ที่ครอบคลุมจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี เมืองพัทยา และระยอง, การพัฒนา อ.ศรีราชา ในเป็นสมาร์ทซิตี้แห่งใหม่, การพัฒนาเมืองการบินแห่งใหม่ที่สนามบินอู่ตะเภา รวมไปถึงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีมักกะสันให้ เป็นศูนย์รับส่งผู้โดยสารในเมือง (City Air Terminal) และเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ
https://www.facebook.com/1515188633/posts/10211231482852284/
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/06/2018 11:36 am    Post subject: Reply with quote

ยึดโมเดลไฮสปีดดึงต่างชาติลงทุนอีอีซี 75%
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 13 June 2018 - 11:03 น.

รัฐบาลฟาสต์แทร็ก 6 เมกะโปรเจ็กต์ EEC มูลค่ากว่า 6 แสนล้าน ดึงต่างชาติร่วมลงทุน 75% ใช้โมเดลไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินเป็นต้นแบบ เพิ่มการแข่งขัน เฟ้นหาของดี ดีเดย์ ส.ค.ประกาศทีโออาร์พัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 พื้นที่ 1.6 พันไร่ มูลค่า 1.5 แสนล้าน คาดเซ็นสัญญาครบทุกโครงการก่อนเลือกตั้งปีหน้า

Click on the image for full size

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ภายในปีนี้รัฐบาลจะเร่งเปิดประมูลและเซ็นสัญญาโครงการลงทุนขนาดใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นโครงการสำคัญในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) จำนวน 6 โครงการ เงินลงทุนกว่า 6 แสนล้านบาทให้เสร็จ เพื่อให้เริ่มเดินหน้าพัฒนาได้ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป

โดยการลงทุนจะเป็นรูปแบบ PPP fast track เปิดให้เอกชนไทยและต่างชาติเข้าร่วมลงทุน โดยเฉพาะจากต่างประเทศมีเป้าหมายจะให้เข้าร่วมลงทุนให้มากที่สุด เนื่องจากเป็นโครงการที่ประเทศไทยยังไม่เคยมีการดำเนินการมาก่อน ซึ่งจะใช้ทีโออาร์ประมูลของรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. วงเงินกว่า 2.2 แสนล้านบาท ที่กำลังประกาศเชิญชวนนักลงทุนทั่วโลกให้ซื้อเอกสารประมูลวันที่ 18 มิ.ย.นี้ เป็นโมเดลต้นแบบการเปิดประมูลโครงการที่เหลืออีก 5 โครงการ เช่น การให้ต่างชาติเข้าร่วมลงทุนได้ 75% เป็นต้น


สำหรับ 5 โครงการที่เหลือ ได้แก่ โครงการพัฒนาสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก, พัฒนาท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3, พัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3, โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) และดิจิทัลพาร์ก (EECd)

“ทุกโครงการรัฐบาลขับเคลื่อนมากว่า 2 ปี ในปีนี้จะต้องเป็นปีแห่งการลงหลักปักฐานของโครงการต่าง ๆ ใน EEC จะประมูลให้ เสร็จอย่างช้าต้นปีหน้า และเซ็นสัญญาให้ได้ก่อนที่การเลือกตั้งจะเกิดขึ้น เพื่อให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่า EEC จะเกิดขึ้นจริง และเพื่อไม่ให้โครงการ EEC ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่อีก”

นายกอบศักดิ์กล่าวว่า ล่าสุดกำลังทดสอบความสนใจ (market sounding) ภาคเอกชนลงทุนโครงการท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 เนื้อที่ 1,600 ไร่ มูลค่าลงทุน 1.5 แสนล้านบาทเป็นครั้งที่ 2 เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน ซึ่งหลังจากนี้การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) จะนำไปจัดทำรายละเอียดให้สอดรับกับความต้องการต่อไป ซึ่งท่าเรือแหลมฉบังจะเป็นท่าเรือน้ำลึกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นท่าเรือของประเทศในแถบอินโดจีนทั้งหมด เพราะจะต่อเนื่องเชื่อมโยงไปถึงทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย ในอนาคต

ทั้งนี้ให้แนวคิด กทท.ในการจัดทำร่างทีโออาร์ไปว่า นอกจากการก่อสร้างท่าเรือแล้ว ต้องคำนึงถึงพื้นที่โรงงานภายในบริเวณท่าเรือและโครงข่ายการคมนาคมขนส่งที่จะเชื่อมต่อพื้นที่ทั้งหมดไปสู่พื้นที่ภายนอกด้วย รัฐบาลจึงมีการลงทุนโครงการมอเตอร์เวย์, ถนนเชื่อมโยงเป็นโครงข่าย และรถไฟทางคู่ที่สามารถขนส่งสินค้ามาที่ท่าเรือแหลมฉบังได้ และต้องมีระบบอัตโนมัติสำหรับเคลื่อนย้ายสินค้าจากเรือขนส่งสินค้ามาสู่ท่าเรือ และส่งต่อไปยังรถไฟได้อย่างรวดเร็ว

“ภายในเดือน ส.ค.นี้ทีโออาร์จะแล้วเสร็จ จากนั้นประมาณเดือน ธ.ค.กระบวนการประมูลจะต้องเสร็จ จะเปิดประมูลแบบนานาชาติ เพื่อเปิดกว้างให้ต่างชาติเข้ามาร่วมแข่งขันด้วย เพื่อให้ได้ของที่ดีที่สุด ส่วนจะให้ร่วมทุนได้สูงสุดถึง 75% แบบเดียวกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินหรือไม่นั้น ขอตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อนว่า ติดขัดจุดใดหรือไม่ แต่ขอยืนยันว่าจะไม่มีการล็อกสเป็กผู้ชนะแต่อย่างใด ตั้งเป้าเริ่มก่อสร้างในเดือน ก.พ. 2562 ใช้เวลา 5 ปี จะสร้างเสร็จในปี 2568”

มีประมาณการไว้ใน 5 ปีข้างหน้า หากอัตราการส่งออกของประเทศไทยโตขึ้นอย่างน้อย 5% ขีดความสามารถที่มีอยู่ปัจจุบัน 11.1 ล้านคอนเทนเนอร์/ปีจะเต็มพอดี ยังไม่รวมความต้องการของต่างประเทศ จึงทำให้ยิ่งต้องเร่งสร้างท่าเรือเฟส 3 ตั้งแต่วันนี้เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต และลดต้นทุนของเอกชนด้วยในทางหนึ่ง โดยขีดความสามารถจะเพิ่มขึ้น 40% เป็น 18.1 ล้านคอนเทนเนอร์/ปี การส่งออกรถยนต์จะเพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านคัน จากปัจจุบันอยู่ที่ 2 ล้านคัน

ด้าน ร.ต.ต.มนตรี ฤกษ์จำเนียร ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง กล่าวว่า ขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างปรับแก้การทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) คาดว่าในเดือน ส.ค.นี้ น่าจะได้รับอนุมัติ จะเดินหน้าคู่ขนานไปกับการเปิดประมูลโครงการ

ขณะที่ผลตอบรับจากการทดสอบความสนใจครั้งนี้ มีนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศให้ความสนใจถึง 90% ในส่วนงานก่อสร้างท่าเรือตู้สินค้าทั้ง 4 ท่า คือ E1, E2, F1 และ F2 ทั้งนี้จะแบ่งพื้นที่พัฒนาใหม่เป็นฝั่ง E มีความยาวรวม 1,500 เมตร รองรับตู้สินค้าได้ 3 ล้านตู้/ปี และฝั่ง F มีความยาว 2,000 เมตร รองรับตู้สินค้าได้ 4 ล้านตู้/ปี เพื่อป้องกันปัญหาการผูกขาดในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/06/2018 9:38 pm    Post subject: Reply with quote

จับตาต่างชาติแห่ซื้อซอง TOR รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน
ไทยโพสต์ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เวลา 18:52 น.

"อุตตม"ชี้ 18 มิ.ย.นี้เปิดขายซองทีโออาร์รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน แย้มมีผู้สนใจหลายบริษัททั้งไทยและต่างชาติ ด้าน ปตท. ยังหารือถึงความชัดเจนพร้อมคัดเลือกพันธมิตร เผย รฟท. ออกขายซองชุดละ 1 ล้านบาท ก่อนเปิดให้ผู้ยื่ข้อเสนอดูสถานที่ 24 ก.ค.นี้

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในวันที่ 18 มิ.ย.นี้ จะมีการเปิดขายซองร่างขอบเขตการประมูล (ทีโออาร์) รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานอู่ตะเภา โดยได้รับรายงานจากคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีซีซี) ว่า มีผู้สนใจที่จะเข้าซื้อซองประมูลจำนวนหนึ่ง ทั้งนักลงทุนไทยและต่างชาติ และเป็นการรวมทุนระหว่างกัน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะเปิดขายซองนะหว่างวันที่ 18 มิ.ย.-9 ก.ค.2561

แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า เบื้องต้นมีผู้สนใจซื้อซองทีโออาร์ประมาณสี่กลุ่ม โดยแบ่งเป็นกลุ่มยุโรป เช่น ฝรั่งเศส และกลุ่มนักลงทุนเอเชีย เช่น จีน และญี่ปุ่น ซึ่งนักลงทุนต่างประเทศบางส่วนอาจจะมารวมกลุ่มกับชาวไทย แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าจะมีกลุ่มใดร่วมเป็นพันธมิตรกันบ้าง แต่เชื่อว่ามีนักลงทุนหลายกลุ่มสนใจเข้าร่วมการประมูลอย่างแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/06/2018 3:11 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
จับตาต่างชาติแห่ซื้อซอง TOR รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน
ไทยโพสต์ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เวลา 18:52 น.

เริ่มแล้วขายซองชิงไฮสปีดเทรนเชื่อม3สนามบินมูลค่า2แสนล.
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 17 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เวลา 21:55
ชิงรถไฟฟ้าเชื่อม3สนามบิน ซื้อซองวันแรกมั่นใจลงทุนคึก
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 17 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เวลา 22:25

เปิดขายซองชิงดำประมูลรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลักในอีอีซีมูลค่า 2 แสนล้านบาทวันแรก( 18 มิ.ย.) “อุตตม” เชื่อมั่นเอกชนจะให้ความสนใจ ด้าน ปตท.ยังอุบท่าทีจับมือบีทีเอสร่วมซื้อซองหรือไม่ คาดมีประมาณ 4 กลุ่มลงทุน

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า วันนี้(18 มิ.ย.) จะมีการเปิดขายซองร่างขอบเขตการประมูล (ทีโออาร์) รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินซึ่งโครงการนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่จะเชื่อมต่อ 3 ท่าอากาศยานในเขตกรุงเทพมหานครและ อีอีซี ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานอู่ตะเภาระยะทาง 220 กิโลเมตรมูลค่าลงทุนประมาณ 200,000 ล้านบาท มั่นใจการดำเนินงานจะเป็นไปตามระยะเวลาที่วางไว้และจะได้รับความสนใจจากกลุ่มนักลงทุนจากทั้งในและนอกประเทศ

“ วันนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)จะเป็นวันแรกที่จะเปิดขายซองโดยจะเปิดระหว่างวันที่ 18มิ.ย.-9 ก.ค.นี้ ล่าสุดได้รับรายงานจากบอร์ดอีอีซี ว่า มีผู้สนใจที่จะเข้าซื้อซองประมูลจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีทั้งนักลงทุนทั้งชาวไทย ชาวต่างชาติ และเป็นการรวมกลุ่มกันของนักลงทุนชาวไทยและนักลงทุนชาวต่างชาติที่สนใจ ส่วนจะมีกี่กลุ่มจะต้องรอดูความชัดเจนอีกครั้ง”นายอุตตมกล่าว

แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า เบื้องต้นมีผู้สนใจซื้อซองทีโออาร์ประมาณสี่กลุ่ม โดยแบ่งเป็นกลุ่มยุโรป เช่น ฝรั่งเศส และกลุ่มนักลงทุนเอเชีย เช่น จีน และญี่ปุ่น ซึ่งนักลงทุนต่างประเทศบางส่วนอาจจะมารวมกลุ่มกับชาวไทย แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าจะมีกลุ่มใดร่วมเป็นพันธมิตรกันบ้าง แต่เชื่อว่ามีนักลงทุนหลายกลุ่มสนใจเข้าร่วมการประมูลอย่างแน่นอน

แหล่งข่าวจาก บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด ปตท.) มีการหารือถึงประเด็นการซื้อซองทีโออาร์เพื่อเข้าประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่า ปตท.จะร่วมกับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC บริษัทย่อยของ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ในการเข้าซื้อซองประมูล ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการตัดสินใจ แต่มีโอกาสที่จะร่วมกับพันธมิตรที่เชี่ยวชาญในการยื่นประมูล

“ ขณะนี้ปตท.เองมองธุรกิจใหม่ๆ มากขึ้นโดยเฉพาะเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่เป็นเทรนด์อนาคตเพราะมองว่าระยะยาวการใช้น้ำมันจะถูกแทนที่ด้วยไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่ารถไฟฟ้า รวมไปถึงยานยนต์ไฟฟ้า และแบตเตอรี่(เอ็นเนอร์ยี่สตอเรจ)หรือกระทั่งธุรกิจไฟฟ้าที่จะเชื่อมโยงกับก๊าซธรรมชาติที่ปตท.เป็นผู้จัดหารายใหญ่จะเป็นเทรนด์ในอนาคตมากขึ้น”แหล่งข่าวกล่าว

สำหรับขั้นตอนการดำเนินงาน รฟท. ได้กำหนดเวลาการขายเอกสารการคัดเลือกเอกชนในวันที่ 18 มิ.ย.- 9 ก.ค.61 ในเวลาทำการ ณ ห้องประชุมฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง โดยเอกสารจะขายชุดละ 1 ล้านบาท รฟท.จะจัดประชุมชี้แจงจำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรกในวันที่ 23 ก.ค.2561 และ 24 ก.ย.2561 ที่สโมสรรถไฟชั้น 2 การรถไฟแห่งประเทศไทย

อย่างไรก็ตามเมื่อผ่านขั้นตอนดังกล่าวแล้ว รฟท.จะจัดให้ผู้ยื่นข้อเสนอไปดูสถานที่ก่อสร้างของโครงการวันที่ 24 ก.ค.นี้ และจะเปิดให้มีการส่งข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ หรือคำถามเกี่ยวกับเอกสารการคัดเลือกเอกชน ในวันที่ 10 ก.ค.- 9 ต.ค.2561 ในเวลาราชการ หลังจากนั้น รฟท.กำหนดเปิดให้มีการรับซองข้อเสนอวันจันทร์ที่ 12 พ.ย.2561 โดยผู้ยื่นข้อเสนอต้องยื่นหลักประกันซองพร้อมกับการซื้อซองเอกสารข้อเสนอ มูลค่า 2,000 ล้านบาท และต้องชำระค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอให้แก่ รฟท.เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท ที่สำนักงานโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์มักกะสัน และกำหนดให้เปิดซองผู้ยื่นข้อเสนอวันที่ 13 พ.ย.2561[url][/url]
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/06/2018 5:58 pm    Post subject: Reply with quote

ลุ้นวันแรกขายซองละ 1 ล. ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน
จันทร์ที่ 18 มิถุนายน 2561 เวลา 07.15 น.


รฟท. พร้อมขายซองไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา ซองละ 1 ล้านบาท ด้านซีพี-บีทีเอส ตบเท้าชิงเค้กส่วนสนลงทุนทุกรูปแบบ

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มบริหารทรัพย์สิน และรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) เปิดเผยว่า รฟท. พร้อมเปิดขายเอกสาร (ซอง) ข้อเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินวงเงิน 2.15 แสนล้านบาท ระหว่างวันที่ 18 มิ.ย.-9 ก.ค.นี้ เวลา 9.00-12.00 น. และ 13.00-15.00 น. ที่ห้องประชุมฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง ราคาชุดละ 1 ล้านบาท คาดว่า จะได้รับความสนใจจากเอกชนรายใหญ่หลายราย เนื่องจากกลุ่มทุนแสดงความสนใจเข้าลงทุน อาทิ บริษัทบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)  ระบุว่าจะร่วมกับกลุ่มบริษัทซิโน-ไทย และกลุ่มพลังงานราชบุรีโฮลดิ้งภายใต้ชื่อกลุ่ม BSR นอกจากนี้ยังมีบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ขณะที่บริษัทต่างชาติก็ให้ความสนใจเช่นกันทั้งจากญี่ปุ่นและจีน

นายวรวุฒิ กล่าวต่อว่า หลังขายซองเอกสารแล้วจะจัดประชุมชี้แจง 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 23 ก.ค.และ 24 ก.ย. จากนั้นจะเปิดให้ส่งข้อเสนอแนะหรือคำถามเกี่ยวกับเอกสารการคัดเลือกเอกชน ในวันที่ 10 ก.ค.- 9 ต.ค. พร้อมเปิดรับซองข้อเสนอวันจันทร์ที่ 12 พ.ย. เวลา 9.00-15.00น. โดยผู้ยื่นข้อเสนอต้องยื่นหลักประกันซองข้อเสนอมูลค่า 2,000 ล้านบาท และต้องชำระค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอแก่ รฟท. 2 ล้านบาท กำหนดเปิดซองข้อเสนอวันที่13 พ.ย. เวลา 10.00 น.ที่สำนักงานโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ มักกะสัน ทั้งนี้ได้กำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอต้องยื่นเอกสารหนังสือมอบอำนาจ หลักประกัน และหลักฐานการซื้อเอกสารการคัดเลือกเอกชนบรรจุซองไม่ปิดผนึก 4 ซอง ได้แก่ ซองที่ 1 คุณสมบัติทั่วไป ซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค ซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน และซองที่ 4 ข้อเสนออื่นๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการ
  ... อ่านต่อที่ :


Last edited by Wisarut on 18/06/2018 9:04 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 270, 271, 272 ... 542, 543, 544  Next
Page 271 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©