Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181513
ทั้งหมด:13492751
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 180, 181, 182 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 15/06/2018 3:13 pm    Post subject: Reply with quote

กระทรวงคมนาคม รฟม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมมอบความสุขในการเดินทางด้วยบัตรโดยสารร่วม “แมงมุม” บัตรโดยสารที่สามารถใช้เดินทางในระบบรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง / MRT สายสีน้ำเงิน ได้ก่อน ต่อจากนั้นในเดือนตุลาคม 2561 จะขยายบริการไปใช้กับรถโดยสารประจำทาง ขสมก. / และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
โดยบัตรแมงมุม แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ บัตรบุคคลทั่วไป (สีน้ำเงิน) บัตรผู้สูงอายุ(สีทอง) และบัตรนักเรียน/นักศึกษา (สีเทา)

สามารถติดต่อขอรับบัตรแมงมุมได้ที่สถานีรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงทุกสถานี ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2561 เป็นต้นไป โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อขอรับบัตรแมงมุมได้ที่ห้องออกบัตรโดยสาร และเมื่อนำไปใช้ในระบบรถไฟฟ้า mrt จะต้องเติมเงินขั้นต่ำ 150 บาท โดยแบ่งเป็นค่ามัดจำบัตร 50 บาท และมูลค่าเงินสำหรับโดยสารรถไฟฟ้า 100 บาท ทั้งนี้ บัตรมีจำนวนจำกัด และจำกัดสิทธิ์ 1 คน/ใบ เท่านั้น
https://www.facebook.com/MRTA.PR/photos/a.1409211292628934.1073741828.1409174012632662/2014041318812592/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 18/06/2018 3:28 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.ยืนยัน 23 มิ.ย.นี้ เริ่มแจกบัตรแมงมุม
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 17 มิถุนายน พ.ศ. 2561 11:02

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า รฟม.เตรียมแจกบัตรแมงมุมให้ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง เชื่อมต่อสายสีน้ำเงิน ใช้เดินทางด้วยบัตรใบเดียวฟรีในวันที่ 23 มิถุนายนนี้ เพียงแสดงบัตรประชาชนเพื่อขอรับที่ห้องออกบัตรโดยสาร จำกัดสิทธิ์ 1 คนต่อใบเท่านั้น และเมื่อจะนำไปใช้ในระบบรถไฟฟ้า MRT จะต้องเติมเงินขั้นต่ำ 150 บาท โดยแบ่งเป็นค่ามัดจำบัตร 50 บาท และมูลค่าเงินสำหรับโดยสารรถไฟฟ้า 100 บาท ทั้งนี้ บัตรมีจำนวนจำกัด

ส่วนสาเหตุที่แจกบัตรแมงมุม 2 แสนใบ เฉพาะสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วงเท่านั้น ไม่แจกที่สถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงเป็นโครงการที่ภาครัฐจ้างเอกชนชนเดินรถ แตกต่างจากระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่เป็นการให้สัมปทานแก่เอกชนที่ภาครัฐจะได้รับส่วนแบ่งรายได้

สำหรับบัตรแมงมุมแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ บัตรบุคคลทั่วไป มีสีน้ำเงิน บัตรผู้สูงอายุ สีทอง และบัตรนักเรียน/นักศึกษา สีเทา โดยในเดือนตุลาคม 2561 จะขยายบริการไปใช้กับรถโดยสารประจำทาง ขสมก. และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ได้ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 18/06/2018 3:33 am    Post subject: Reply with quote

“บัตรแมงมุม” ใช้ขึ้นบีทีเอสไม่ได้ ระบบตั๋วร่วมแบบต่างคนต่างทำ
โดย: กิตตินันท์ นาคทอง
เผยแพร่: 17 มิถุนายน พ.ศ. 2561 18:47


ในที่สุด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ก็ประกาศว่า เช้าวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2561 จะเปิดตัวระบบตั๋วร่วมที่เรียกว่า “บัตรแมงมุม” อย่างเป็นทางการ ที่สถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน โดยมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม จะทดลองใช้บัตรร่วมกับสื่อมวลชน

จากนั้น วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน 2561 จะแจกบัตรแมงมุม 2 แสนใบแก่ประชาชน ที่สถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง 16 สถานี ตั้งแต่เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป แบ่งออกเป็น บัตรสีน้ำเงิน สำหรับบุคคลทั่วไป, บัตรสีขาว สำหรับนักเรียน นักศึกษา และบัตรสีทอง สำหรับผู้สูงอายุ โดยแสดงบัตรประชาชนและลงทะเบียน 1 คนต่อ 1 ใบ

แต่บัตรที่ได้นั้นจะเป็นบัตรเปล่า ไม่มีวงเงินในบัตร ประชาชนจะต้องนำบัตรไปเปิดบริการ ด้วยการจ่ายค่ามัดจำ 50 บาท และเติมเงินขั้นต่ำ 100 บาท จึงจะสามารถใช้บัตรได้ ซึ่งระยะแรกจะใช้ได้เฉพาะรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT (หัวลำโพง – เตาปูน) และรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่ - เตาปูน) เท่านั้น

หลังจากนั้น จะใช้ได้กับรถเมล์ ขสมก. ที่ติดตั้งเครื่องอ่านบัตร ระบบอี-ทิคเก็ต รวม 2,600 คัน ได้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ต่อด้วยรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (พญาไท – สุวรรณภูมิ) เนื่องจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) และบริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด ต้องไปปรับปรุงระบบเครื่องอ่านบัตรก่อน

ย้อนกลับไปในปี 2558 หรือเมื่อ 3 ปีก่อน โครงการระบบตั๋วร่วมเริ่มต้นขึ้น โดยมีสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม เป็นเจ้าภาพหลัก มีการประกวดตั้งชื่อและออกแบบสัญลักษณ์ตั๋วร่วม พบว่า “บัตรแมงมุม” ของ น.ส.วรรธิชา อเนกสิทธิสิน จากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้า ธนบุรี เป็นผู้คว้ารางวัลชนะเลิศ

แนวความคิดที่ใช้ชื่อแมงมุม น.ส.วรรธิชา ระบุว่า นึกถึงการปล่อยใยของแมงมุม ทำให้มันสามารถไปที่ใดก็ได้ เหมือนตัวร่วมที่สามารถเชื่อมต่อทุกการเดินทางด้วยบัตรใบเดียว ตั๋วสัญลักษณ์เป็นรูปตัว M โดยใช้ลักษณะของขาแมงมุมผูกรวมกันและดูเป็นการรวมทุกเส้นทางเข้าด้วยกัน

ดูเหมือนว่า การปั้นบัตรที่มีชื่อมาจากสัตว์แปดขา ชักใยไปมาได้ ยุ่งยากกว่าที่คิด!

ที่ผ่านมา สนข. มอบหมายให้ สำนักธุรกิจบัตรโดยสาร รฟม. ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม โดยให้สิทธิ์ใช้ระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (CCH) และเจรจากับผู้ประกอบการภาคขนส่งและนอกภาคขนส่งเพื่อใช้งานระบบตั๋วร่วม โดยมี สนข.เป็นหน่วยงานสนับสนุน

หลังเผยโฉมบัตรแมงมุมไปเมื่อเดือนกันยายน 2560 ที่ผ่านมา มีแผนที่จะแจกบัตรในช่วงปลายปีที่แล้ว แต่ก็ต้องเจอโรคเลื่อน เพราะจู่ๆ ก็เปลี่ยนระบบตั๋วร่วมมาใช้ระบบ EMV Contactless Smart Card (Open Loop) มาตรฐานเดียวกับบัตรวีซ่าและมาสเตอร์การ์ด อ้างว่าจะใช้ได้ทั้งบัตรเครดิตและบัตรเดบิต ช่วยลดต้นทุนเพราะสถานีไม่ต้องขายบัตรอีกต่อไป

งานนี้ต้องเสียเวลารื้อระบบใหม่ ส่งผลกระทบต้องเลื่อนการใช้ตั๋วร่วมออกไปอีก กระทั่ง 22 มิถุนายน 2561 จึงได้ฤกษ์เปิดตัวระบบตั๋วร่วม นำร่องรถไฟฟ้า รฟม. 2 เส้นทาง เป็นการเอาฤกษ์เอาชัย ซึ่งในระยะแรก คงไม่ต่างอะไรกับบัตรโดยสารรถไฟฟ้า MRT PLUS ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จนกว่าจะเชื่อมกับระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต ลิงก์ และรถเมล์ ขสมก. สำเร็จ



คำถามที่ยังคาใจคนกรุงเทพฯ ก็คือ ทำไมระบบตั๋วร่วมเฉกเช่น “บัตรแมงมุม” ยังใช้กับรถไฟฟ้าบีทีเอสไม่ได้?

มีคนวิเคราะห์กันว่า เพราะกลุ่มบีทีเอส ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท และสายสีลม รวมทั้งว่าจ้างกรุงเทพมหานครเดินรถช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และสะพานตากสิน-บางหว้า มีธุรกิจระบบชำระเงินที่เรียกว่า “แรบบิท” โดยเฉพาะบัตรที่ใช้ขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอส หรือระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ ร่วมกับซื้อสินค้าและบริการแทนเงินสดในใบเดียว

บัตรแรบบิทในปัจจุบัน ใช้ได้กับรถไฟฟ้าบีทีเอส รถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที และรถประจำทางสาย Y70E (สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส หมอชิต – ราชมงคลศาลายา) ของบริษัท ชัยวิเศษแทรนสปอร์ต จำกัด รวมทั้งรถประจำทาง RTC Chiangmai City Bus จ.เชียงใหม่ และยังใช้ได้กับร้านค้าชื่อดังในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

นอกจากนี้ ยังพยายามผลักดันระบบการชำระเงิน "Rabbit Line Pay" ที่เป็นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์บนมือถือ ให้สามารถใช้ขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ในเร็วๆ นี้ จึงทำให้ในขณะนี้ บีทีเอสเลือกที่จะพัฒนาแพลตฟอร์มการชำระเงินของตนเอง มากกว่าจะนำระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบตั๋วร่วม

สังเกตได้จาก เคาน์เตอร์จำหน่ายบัตรโดยสารบีทีเอส งดรับบัตรเครดิต และบัตรเดบิต ในกรณีการเติมมูลค่าของเงินอย่างเดียว ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2560 เป็นต้นมา โดยจะใช้บัตรเครดิต และบัตรเดบิตเติมเงินได้ก็ต่อเมื่อเติมเที่ยวเดินทาง หรือเติมเที่ยวเดินทางพร้อมเติมเงินเท่านั้น โดยมียอดชำระตั้งแต่ 300 บาทขึ้นไป

อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระบบตั๋วร่วมใช้งานกับรถไฟฟ้าบีทีเอสไม่ได้ เนื่องจากปัจจุบัน บัตรแรบบิทที่ใช้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส ยังคงใช้ระบบไมโครชิปไร้สายอาร์เอฟไอดี (RFID) ส่วนเครื่องอ่านบัตรบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ใช้ได้เฉพาะบัตรแรบบิท บัตรบีทีเอส สมาร์ทพาส และรองรับระบบ NFC ใช้ได้เฉพาะซิมการ์ด AIS mPAY Rabbit เท่านั้น

ที่ผ่านมา รฟม. พยายามเจรจากับบีทีเอสมาตลอด โดยมีอยู่ 2 แนวทาง คือ ปรับเปลี่ยนบัตรแรบบิทเดิม ให้เป็นบัตรแมงมุมก่อน เพื่อให้สามารถใช้กับระบบตั๋วร่วมได้ แต่อีกแนวทางหนึ่ง คือ รอให้ระบบตั๋วร่วมอัพเกรดเป็นระบบ EMV เชื่อมกับบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต ซึ่งอยู่ระหว่างติดตั้งระบบ และใช้เวลาค่อนข้างนาน ตั้งเป้าหมายว่าจะใช้งานได้ในปี 2563

นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ทั้งสองฝ่ายคงต้องเจรจา ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมการใช้บัตรระบบตั๋วร่วม ซึ่ง ศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง คิดอยู่ที่ 0.8% ต่อ 1 ธุรกรรม หรือจะเป็นอัตราค่าโดยสารร่วม โดยคิดอัตราค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว เพื่อให้คนที่เชื่อมต่อรถไฟฟ้าหลายสาย จ่ายค่าแรกเข้าครั้งเดียว ค่าโดยสารถูกลง

ฝั่งบีทีเอส คงต้องการให้รัฐช่วยชดเชยค่าโดยสารให้เอกชนบ้าง เหมือนอย่างที่รัฐอย่าง รฟม. ชดเชยค่าแรกเข้า 14 บาท ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินให้บีอีเอ็ม เจ้าของสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง หลังเชื่อมต่อที่สถานีเตาปูนสำเร็จ เรื่องนี้คงต้องรอกันอีกยาว เพราะรถไฟฟ้าอีกหลายสายกำลังทยอยก่อสร้างและเปิดให้บริการในปีหน้า

แม้บีทีเอสจะยังไม่ตัดสินใจเข้าร่วมระบบตั๋วร่วม โดยเฉพาะบัตรแมงมุม แต่ฐานผู้โดยสารกว่า 8 แสนรายที่มีอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นเส้นทางยอดนิยม บีทีเอสคงไม่เดือดร้อนอะไร แต่สิ่งที่น่าคิดก็คือ เมื่อโครงการบัตรแมงมุมเลื่อนแล้วเลื่อนอีกจนสังคมลืมไปแล้วว่ามีโครงการนี้ พอเปิดตัวมาไม่มีอะไรตื่นเต้น เพียงแค่เปลี่ยนบัตรพลาสติกในกระเป๋าสตางค์เท่านั้น

เป็นความน่าเสียดาย ที่สุดท้ายแล้วระบบตั๋วร่วมซึ่งออกแบบมาให้จ่ายค่าโดยสารแบบไร้รอยต่อ กลายเป็นการเล่นขายของ และเป็นเรื่องเสียของไปเสียจนได้!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 20/06/2018 10:10 am    Post subject: Reply with quote

“นายกฯ” กำชับเร่งใช้บัตรแมงมุมทุกระบบ แฉบีทีเอสยื้อร่วม คาดห่วงดอกเบี้ยเติมเงินแรบบิท
โดย: MGR Online

เผยแพร่: 19 มิถุนายน 2561 18:46
ปรับปรุง: 20 มิถุนายน 2561 09:18



“อาคม” แจกบัตรแมงมุม ครม.ก่อนเปิดตัว 22 มิ.ย. แจก 2 แสนใบ ประชาชนรับได้ที่สถานีสีม่วง ด้านรฟม.พร้อมผลิตเพิ่ม รอประเมินหลังเชื่อมกับรถเมล์ ต.ค.นี้ก่อน ยอมรับบีทีเอสยังไม่ร่วม มอบ “ไพรินทร์” เร่งรัด แฉบีทีเอสหวั่นเสียประโยชน์ดอกเบี้ยในบัตรแรบบิทกว่า 1 ล้านใบจากการที่ต้องเติมเงินเข้าไปทิ้งไว้ก่อน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันนี้ (19 มิ.ย.) ได้รายงานความก้าวหน้าของระบบตั๋วร่วมต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พร้อมแจกบัตรแมงมุมต่อ ครม.ด้วย โดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไดกำชับให้ขยายการใช้บัตรแมงมุมไปยังระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ โดยเร็ว ซึ่งในวันที่ 22 มิ.ย.นี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะเปิดตัวบัตรแมงมุมที่สถานีเตาปูน และทยอยแจกบัตรแมงมุมจำนวน 2 แสนใบ เริ่มใช้กับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย.นี้ และในเดือน ต.ค. 2561 จะใช้กับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และรถ ขสมก. จำนวน 2,600 คันได้ ส่วนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐใช้ได้เดือน ก.ค. 2561 กับรถไฟฟ้าสีน้ำเงินและสีม่วง

ในระยะที่ 2 รฟม.จะพัฒนาตั๋วร่วมเป็นแมงมุม 4.0 หรือบัตร EMV ที่รองรับบัตรเครดิต /เดบิต ( Master Card และ Visa Card) ภายในปี 2562

***บีทีเอสเล่นแง่ ยื้อปรับระบบรับบัตรแมงมุม
ส่วนกรณีที่รถไฟฟ้าบีทีเอสยังใช้ตั๋วร่วมไม่ได้นั้น นายอาคมกล่าวว่า บีทีเอสได้ร่วมลงนามใน MOU ความร่วมมือเชื่อมต่อระบบตั๋วร่วมกับ รฟม.ตั้งแต่ ต.ค. 2560 แต่การปรับปรุงระบบให้รองรับยังไม่เรียบร้อย ซึ่งได้มอบให้นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.ไปเร่งรัด ซึ่งบีทีเอสเป็นสัญญาเก่า เป็นภาคสมัครใจ ส่วนสายสีชมพูและเหลืองเป็นโครงการใหม่ที่ต้องมีระบบแมงมุม เรื่องนี้ต้องดูความสะดวกของผู้โดยสารเป็นหลัก การต่อตั๋วด้วยบัตรใบเดียวจะเป็นตัวกำหนดผู้โดยสารจะเลือกใช้ระบบใด ซึ่งขณะนี้มีธนาคารพร้อมจะออกบัตรที่มีชิปแมงมุมเป็นตั๋วร่วมทันทีอย่างน้อย 2 ล้านใบ และยังห้างสรรพสินค้า เซเว่นอีเลฟเว่น พร้อมจะร่วมในบัตรแมงมุมอีก ฐานลูกค้าจะกว้างมาก

“ปัจจุบันบัตรรถไฟฟ้า หรือบัตรทางด่วน Easy Pass, M Pass เป็นการเติมเงินเข้าไปก่อนจึงจะใช้ได้ ซึ่งเงินจะเข้าไปอยู่ในกระเป๋าของผู้ให้บริการ ซึ่งตรงนี้เชิงธุรกิจจะมีดอกเบี้ย แต่อนาคตแมงมุม 4.0 ประชาชนไม่ต้องเติมเงินทิ้งไว้ในบัตร ใช้ระบบเมื่อไหร่ค่อยจ่ายหักบัญชีสะดวกกว่าแต่เงินในบัตรจะหายไป ปัจจุบันบีทีเอสมีผู้ใช้บริการ 7-8 แสนคน, สายสีน้ำเงินกว่า 3 แสนคน, สีม่วง 6 หมื่นคน, แอร์พอร์ตลิงก์ 7.5 หมื่นคน, รถเมล์ 2 ล้านคน” นายอาคมกล่าว

ด้าน นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม กล่าวว่า หากบีทีเอสไม่ร่วมจะทำให้การต่อเชื่อมลำบาก เข้าใจว่าเพราะบัตรแรบบิทของบีทีเอสที่มีกว่า 1 ล้านใบเป็นบัตรเดบิตที่ต้องเติมเงินเข้าไปในบัตรก่อนใช้งาน มีวัตถุประสงค์อื่นๆ ด้วย อาจจะยังไม่อยากเปลี่ยนฟังก์ชันบัตร แต่เชื่อว่าอนาคตบีทีเอสต้องเปลี่ยนเพราะผู้ใช้บริการจะตัดสิน สุดท้ายคนไม่เข้าพวก ผู้โดยสารจะไม่เลือกใช้เอง

*** รฟม.ประเมินความต้องการก่อน พร้อมผลิตบัตรแมงมุมเพิ่ม
นายสมประสงค์ สัตยมัลลี ผู้อำนวยการสำนักธุรกิจบัตรโดยสาร รฟม.กล่าวว่า บัตรแมงมุม 2 แสนใบจะเริ่มแจกวันที่ 22 มิ.ย.ที่สถานีเตาปูน 900 ใบ และเริ่มใช้ได้ในวันที่ 23 มิ.ย. 61 เป็นต้นไป จากนั้นจะกระจายแจกที่สถานีสายสีม่วงจนกว่าจะหมด และจะมีการประเมินความต้องการ เชื่อว่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อใช้กับรถแอร์พอร์ตลิงก์และรถเมล์ได้ ซึ่งจะพิจารณาผลิตเพิ่มต่อไป

สำหรับบัตรแมงมุม แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ บัตรบุคคลทั่วไป (สีน้ำเงิน) บัตรผู้สูงอายุ (สีทอง) และบัตรนักเรียน/นักศึกษา (สีเทา) สามารถติดต่อขอรับบัตรแมงมุมได้ที่สถานีรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงทุกสถานี ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2561 เป็นต้นไป โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อขอรับบัตรแมงมุมได้ที่ห้องออกบัตรโดยสาร และเมื่อนำไปใช้ในระบบรถไฟฟ้า MRT จะต้องเติมเงินขั้นต่ำ 150 บาท โดยแบ่งเป็นค่ามัดจำบัตร 50 บาท และมูลค่าเงินสำหรับโดยสารรถไฟฟ้า 100 บาท ทั้งนี้ บัตรมีจำนวนจำกัด และจำกัดสิทธิ์ 1 คน/ใบ เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม รฟม.จะกระจายบัตรไปทุกสถานีของสายสีม่วง โดยกระจายตามปริมาณผู้โดยสารแต่ละสถานี จากนั้นจะประเมินความต้องการ ซึ่งคาดว่าหลังจากสามารถนำบัตรแมงมุมใช้กับรถเมล์ได้ในเดือน ต.ค.นี้คาดว่าจะได้รับความนิยมมากขึ้น และหากมีความต้องการ รฟม.พร้อมที่จะผลิตบัตรแมงมุมเพิ่มในช่วงที่การพัฒนาเป็นบัตรแมงมุม 4.0 ยังไม่แล้วเสร็จ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 20/06/2018 5:52 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม. เตรียมแจกบัตรแมงมุม 22 มิ.ย.นี้ นำร่อง 900 ใบที่สถานีเตาปูน
19 มิถุนายน 2561
รฟม. เตรียมแจกบัตรแมงมุม 22 มิ.ย.นี้ นำร่อง 900 ใบที่สถานีเตาปูน พร้อมขยายบริการเชื่อมต่อรถเมล์ 2,600 คัน และแอร์พอร์ตลิงก์ ต.ค.นี้

เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.61 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในวันที่ 22 มิ.ย.นี้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะเปิดตัวตั๋วร่วม หรือบัตรแมงมุมอย่างเป็นทางการ พร้อมแจกจ่ายให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้บัตรฟรีจำนวน 900 ใบ ซึ่งสามารถรับได้ ณ สถานีเตาปูน รถไฟฟ้าสายสีม่วงบางใหญ่ - บางซื่อ โดยบัตรดังกล่าวจะสามารถใช้เดินทางเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง และสายสีน้ำเงินได้ ตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย.61 เป็นต้นไป

“วันศุกร์นี้ประชาชนสามารถมารับบัตรฟรีได้ที่สถานีเตาปูน รฟม.เตรียมไว้แจกจ่ายจำนวน 900 ใบ หลังจากนั้นก็จะทยอยนำออกมาแจกทุกสถานีของรถไฟฟ้าสายสีม่วง จนครบตามจำนวน 2 แสนใบ ซึ่งประชาชนจะต้องนำบัตรดังกล่าวไปเติมเงินในครั้งแรก 150 บาท แบ่งเป็นค่ามัดจำบัตร 50 บาท และค่าเดินทาง 100 บาท ช่วงแรกสามารถเดินทางเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 2 สาย และในเดือน ต.ค.นี้ ก็จะขยายไปยัง ขสมก. จำนวน 2600 คัน และแอร์พอร์ตลิงก์”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/06/2018 9:39 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟม. เตรียมแจกบัตรแมงมุม 22 มิ.ย.นี้ นำร่อง 900 ใบที่สถานีเตาปูน
19 มิถุนายน 2561

รฟม.แจงขั้นตอนบัตรแมงมุม
เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน 2561 เวลา 19.05 น.

รฟม.เตรียมแจกบัตรแมงมุมให่้ประชาชนทั่วไปวันที่ 23 มิ.ย.นี้ ที่ที่สถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางซื่อ-เตาปูน ทั้ง16 สถานี รวม 16,000ใบต่อวัน ต้องเติมเงินขั้นต่ำ 150 บาท

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)  แจ้งว่า  วันที่ 22 มิ.ย.  นี้  รฟม.จัดงานเปิดตัวบัตรแมงมุมอย่างเป็นทางการโดยงานจะเริ่มตั้งแต่เวลา08.30น.ที่สถานีรถไฟฟ้าเตาปูน และเวลา09.25น. จะเริ่มสาธิตกสถานีรถไฟฟ้าเตาปูน รถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางซื่อ-เตาปูน โดยมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนนรี รมว.คมนาคม เป็นประธานพร้อมนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรฟม.  โดยในารใช้บัตรแมงมุม และแจกบัตรแมงมุมให้ประชาชนที่มาร่วมงานเปิดตัว 900 ใบ

ส่วนวันที่23มิ.ย. ที่จะเริ่มแจกบัตรแมงมุมประชาชนอย่างเป็นทางการ ที่สถานีรถไฟฟ้าสานียสีม่วงช่วงเตาปูน-บางซื่อ ทั้ง16 สถานี บัตรมีจำนวนจำกัด รฟม.จึงแบ่งประเภทการรับบัตร ดังนี้ บัตรบุคคลทั่วไป (สีน้ำเงิน) สามารถรับได้ ตั้งแต่วันที่23 -29มิ.ย.  และวันที่2-5ก.ค.แจกสถานีละ 1,000 ใบต่อวัน ทั้งหมด 16 สถานี รวม 16,000ใบต่อวัน ส่วนบัตรผู้สูงอายุ(สีทอง) และบัตรนักเรียน/นักศึกษา (สีเทา) รับได้ในวันที่ 30 มิ.ย.และ1ก.ค.ประเภทละ5,000 ใบต่อไปวัน โดยแบ่งเป็นสถานีละ 312 ใบต่อวัน ต่อประเภท โดยจะแจกจนครบทั้ง200,000ใบ

ถ้าหากบัตรหมดแล้ว รฟม.จะประเมินเสียงตอบรับของประชาชนในการใช้บัตรโดยสารว่าพึงพอใจมากน้อยแค่ไหนก่อนตัดสินใจดำเนินการต่อไป ทั้งนี้หากมีการผลิตเพิ่มรฟม.จะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการทั้งหมดซึ่งการผลิตชุดใหม่นี้จะไม่แจกฟรีเหมือนชุดแรก โดยจะคิดค่าบัตรแมงมุมให้มีต้นทุนน้อยที่สุด สำหรับขั้นตอนการติดต่อขอรับบัตรนั้น แสดงบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อขอรับบัตรแมงมุมได้ที่ห้องออกบัตรโดยสาร และเมื่อนำไปใช้ในระบบรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที จะต้องเติมเงินขั้นต่ำ 150 บาท โดยแบ่งเป็นค่ามัดจำบัตร 50 บาท และมูลค่าเงินสำหรับโดยสารรถไฟฟ้า 100 บาท ทั้งนี้ บัตรมีจำนวนจำกัด และจำกัดสิทธิ์ 1 คนต่อ 1  ใบ เท่านั้น.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 22/06/2018 10:25 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.แจก “บัตรแมงมุม” 2 แสนใบ ประเดิมตั๋วร่วม ใช้ได้ 23 มิ.ย.ใบเดียวขึ้น “น้ำเงิน-ม่วง” ฉลุย
โดย: MGR Online
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2561 เวลา 13:35
ปรับปรุง: ศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2561 เวลา 17:31




รฟม.ลุยแจก “บัตรแมงมุม” 2 แสนใบ ทุกสถานีของสายสีม่วง วันละ 2 หมื่นใบ เริ่มต้นระบบตั๋วร่วม ใบเดียวขึ้น “สีน้ำเงิน และม่วง” ก่อน ส่วนรถเมล์ ขสมก.และแอร์พอร์ตลิงก์ ใช้ได้ ต.ค. “อาคม” เผยอนาคตเชื่อมเรือด่วน-ทางด่วน ส่วนบีทีเอสอยู่ระหว่างเจรจา รฟม.แจก 23-29 มิ.ย. และ 2-5 ก.ค. สถานีละ 1,000 ใบ/วัน เติมเงินขั้นต่ำ 150 บาท

วันนี้ (22 มิ.ย.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในงานเปิดตัวบัตรโดยสารร่วม หรือ “บัตรแมงมุม” ภายใต้แนวคิด “แมงมุม เชื่อมโยงความสุข ทุกการเดินทาง ด้วยบัตรใบเดียว” ณ สถานีรถไฟฟ้าเตาปูน เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร โดยมีนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวง นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และนายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมงาน

ทั้งนี้ บรรยากาศช่วงเช้ามีความคึกคัก โดยมีประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจรอเข้ารับบัตรแมงมุมซึ่งในการเปิดตัวบัตรแมงมุมวันนี้ รฟม.จะแจกทั้งหมด 900 ใบ โดยแจกที่สถานีเตาปูน จำนวน 200 ใบ จากนั้นจะจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ รวมถึงแจกบัตรแมงมุมที่ตลาดนัดเมืองไทยภัทร หรือตลาดนัดรัชดาภิเษก และที่ตลาดนัดเลียบด่วน รามอินทรา

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า บัตรแมงมุมจะเริ่มใช้งานได้ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 23 มิ.ย. 2561 เป็นต้นไป โดยช่วงแรกจะใช้ได้กับระบบรถไฟฟ้า 2 สายของ รฟม.ก่อน คือ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) เป็นการเริ่มต้นระบบตั๋วร่วม ถือบัตรใบเดียว และในวันที่ 20 ก.ค. 2561 จะสามารถนำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมาใช้กับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ซึ่งในบัตรสวัสดิการจะมีชิปแมงมุมอยู่ด้านใน ซึ่งในบัตรสวัสดิการนั้นรัฐบาลใส่เงินในบัตร 500 บาทต่อเดือน สำหรับการเดินทางด้วยรถเมล์ ขสมก. และรถไฟฟ้า

ต่อจากนั้นในเดือน ต.ค. 2561 จะนำบัตรแมงมุมไปใช้งานได้กับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และรถเมล์ของ ขสมก. ในขณะนี้ รฟม.ได้เจรจากับเรือด่วนเจ้าพระยา ทางด่วน เพื่อเข้าร่วมกับระบบตั๋วร่วมต่อไป และในขั้นต่อไปจะขยายไปสู่การใช้บัตรแมงมุมกับร้านค้าต่างๆ ส่วนรถไฟฟ้าบีทีเอสนั้นยังไม่สามารถใช้ระบบตั๋วร่วมได้ อยู่ระหว่างเจรจา

สำหรับการพัฒนาระบบตั๋วร่วม หรือ Common Ticketing System ถือเป็นภารกิจสำคัญของกระทรวงคมนาคมที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อพัฒนาและส่งเสริมมาตรฐานคุณภาพการให้บริการระบบคมนาคมขนส่ง ตามนโยบายของรัฐบาลในการเพิ่มความสะดวกด้านการเดินทางให้แก่ประชาชน ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนผู้ประกอบการระบบขนส่งมวลชน ได้แก่ สนข. รฟม. ขสมก. ร.ฟ.ท. และ BEM ประสานความร่วมมือในการดำเนินงานเพื่อเชื่อมต่อระบบและให้บริการระบบตั๋วร่วม หรือ “บัตรแมงมุม” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ประชาชนสามารถใช้บัตรโดยสารเพียงใบเดียวเดินทางเชื่อมต่อได้ทุกระบบ

โดยมี รฟม.ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม (Common Ticketing Company : CTC) เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ดำเนินโครงการระบบขนส่งทางรางครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งที่จะเกิดขึ้นในเมืองภูมิภาค เช่น จังหวัดภูเก็ต เชียงใหม่ เป็นต้น จึงมีความเหมาะสมและความพร้อมในการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม โดยกำหนดให้เริ่มต้นใช้งานระบบตั๋วร่วมกับรถไฟฟ้าในเส้นทางที่เปิดให้บริการแล้ว ส่วนรถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้จะมีระบบตั๋วร่วมทั้งหมด

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม.กล่าวว่า รฟม.ได้เร่งรัดการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือBEM ในการเร่งติดตั้งเครื่องอ่านบัตร ติดตั้งซอฟต์แวร์และทดสอบระบบตั๋วร่วม เพื่อให้มีความพร้อมในการรับชำระค่าโดยสารผ่าน “บัตรแมงมุม” ได้ในระบบรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง จนแล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด

สำหรับวันที่ 23 มิ.ย. 2561 เป็นต้นไป รฟม.จะแจกบัตรแมงมุมจำนวน 2 แสนใบ ให้แก่ประชาชน ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ บัตรบุคคลทั่วไป (สีน้ำเงิน) บัตรผู้สูงอายุ (สีทอง) และบัตรนักเรียน/นักศึกษา (สีเงิน) ซึ่งสามารถติดต่อขอรับได้ที่รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงทุกสถานี โดยบัตรบุคคลทั่วไป รับได้ตั้งแต่วันที่ 23-29 มิถุนายน 2561 และ 2-5 กรกฎาคม 2561 จำนวน 16,000 ใบ/วัน สถานีละ 1,000 ใบ/วัน สำหรับบัตรนักเรียน/นักศึกษาและบัตรผู้สูงอายุ รับได้ในวันที่ 30 มิถุนายน และ 1 กรกฎาคม 2561 ประเภทละ 5,000 ใบ/วัน สถานีละ 312 ใบ/ประเภท/วัน โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชน/บัตรประจำตัวนักเรียน/นักศึกษา เพื่อขอรับบัตรที่ห้องออกบัตรโดยสาร และเมื่อจะนำไปใช้ในระบบรถไฟฟ้า MRT จะต้องเติมเงินขั้นต่ำ 150 บาท แบ่งเป็นค่ามัดจำบัตร 50 บาท และมูลค่าการเดินทางสำหรับโดยสารรถไฟฟ้าขั้นต่ำ 100 บาท ได้เฉพาะที่สายสีม่วงทุกสถานี ทั้งนี้ บัตรมีจำนวนจำกัด จึงจำกัดสิทธิ์ 1 คนต่อใบเท่านั้น

นอกจากนี้ รฟม.ยังเตรียมพร้อมที่จะพัฒนาบัตรแมงมุมเวอร์ชัน 2 ด้วยเทคโนโลยี EMV Contactless Smart Card ที่ใช้กันในบัตรเครดิต เพื่อให้เป็นบัตรใบเดียวที่เชื่อมโยงระบบขนส่งสาธารณะ พร้อมทั้งชำระสินค้าและบริการได้ โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเติมเงินล่วงหน้าในบัตร ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์ใช้บริการรูปแบบใหม่ให้แก่ผู้โดยสาร ทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์และความสะดวกในการพกบัตรใบเดียว อันเป็นการขับเคลื่อนนโยบายระบบตั๋วร่วมของรัฐบาล และกระทรวงคมนาคม เพื่อมอบความสุขให้ประชาชน ติดตามข้อมูลข่าวสาร รฟม.ได้ที่เว็บไซต์ รฟม. www.mrta.co.th เฟซบุ๊กแฟนเพจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และ Call Center รฟม. โทร. 0-2716-4044 และ Call Center BEM โทร. 0-2624-5200

Note: ผมเพิ่งได้บัตรฺแมงมุมวันที่ 25 มิถุนายนนี้เองแต่ ได้รับคำชี้แจงว่าให้รอไประยะหนึ่งก่อน อย่าเพิ่งใช้ข้ามระบบเรื่องจาก ระบบยังไม่เสถียรดีพอ


Last edited by Wisarut on 26/06/2018 2:52 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/06/2018 11:48 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.แจกแล้วตั๋วแมงมุมให้ประชาชนทั่วไปใช้ได้23มิ.ย.นี้
บ้านเมือง วันศุกร์ ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2561, 10.53 น.

Click on the image for full size

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในงานเปิดตัวบัตรโดยสารร่วม หรือ “บัตรแมงมุม” ภายใต้แนวคิด “แมงมุม เชื่อมโยงความสุข ทุกการเดินทาง ด้วยบัตรใบเดียว” ณ สถานีรถไฟฟ้าเตาปูน เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้บริหารกระทรวงคมนาคม ผู้บริหารการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมในกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งหลังจากวันนี้ประชาชนทั่วไปสามารถติดต่อขอรับบัตรได้ทุกสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยจะแจกบัตรวันละ 16,000ใบ ในสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วงเฉลี่ยสถานีละ 1,000 ใบ และสามารถใช้ได้ในระบบได้ในสายรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ในวันที่ 23มิ.ย.นี้ และสามารถทั้งนี้ การพัฒนาระบบตั๋วร่วม หรือ Common Ticketing System เป็นภารกิจสำคัญของกระทรวงคมนาคมที่ต้องเร่งดำเนินเพื่อพัฒนาการให้บริการระบบคมนาคมขนส่ง ตามนโยบายของรัฐบาลในการเพิ่มความสะดวกด้านการเดินทางให้แก่ประชาชน ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนผู้ประกอบการระบบขนส่งมวลชน ได้แก่ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม. ) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประสานความร่วมมือในการดำเนินงานเพื่อเชื่อมต่อระบบและให้บริการระบบตั๋วร่วมหรือ “บัตรแมงมุม” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ประชาชนสามารถใช้บัตรโดยสารเพียงใบเดียวเดินทางเชื่อมต่อได้ทุกระบบ โดยมี รฟม. ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม (Common Ticketing Company : CTC) เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ดำเนินโครงการระบบขนส่งทางรางครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งที่จะเกิดขึ้นในเมืองภูมิภาค เช่น จังหวัดภูเก็ต เชียงใหม่ เป็นต้น

Click on the image for full size

“สำหรับการแจกบัตรแมงมุมในวันนี้ถือเป็นวันแรกที่กระทรวงคมนาคม เริ่มแจกบัตรแมงมุม หรือบัตรโดยสารตั๋วร่วมให้กับประชาชน จำนวน 900 ใบ จากทั้งหมด 200,000 ใบ และนำร่องให้บริการบัตรแมงมุมกับรถไฟฟ้าMRT สายสีม่วง เส้นทาง คลองบางไผ่-เตาปูน และสีน้ำเงินเส้นทาง บางซื่อ-หัวลำโพง โดยในวันที่ 23 มิถุนายนนี้ เป็นต้นไป”

Click on the image for full size

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า รฟม.จะแจกบัตรแมงมุมให้ประชาชนทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ บัตรสีน้ำเงิน แทนบัตรบุคคลทั่วไป บัตรสีทอง แทนบัตรผู้สูงอายุ และบัตรสีเงิน แทนบัตรนักเรียนนักศึกษา ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดต่อขอรับบัตรได้ที่สถานีรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงทุกสถานี โดยระหว่างวันที่23-28 มิถุนายนนี้ และระหว่างวันที่ 2-5 กรกฎาคมนี้ จะแจกให้กับบุคคลทั่วไป จำนวน 16,000 ใบต่อวัน ในส่วนของนักเรียนนักศึกษาและบัตรผู้สูงอายุ รับได้ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน และวันที่ 1 กรกฎาคม ประเภทละ 5,000 ใบต่อวัน เพียงแสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรนักเรียรนักศึกษา เพื่อขอรับบัตรโดยสาร1 สิทธิ์ต่อ 1 ใบ


อย่างไรก็ตาม เมื่อประชาชนจะนำบัตรไปใช้ในระบบรถไฟฟ้า MRT จะต้องเติมเงินขั้นต่ำ 150 บาท แบ่งเป็นค่ามัดจำบัตร 50 บาท และมูลค่าการเดินทางสำหรับโดยสารรถไฟฟ้าขั้นต่ำ 100 บาท ที่สถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วงทุกสถานี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/06/2018 9:25 am    Post subject: Reply with quote

PPPสายสีส้มสะดุด กม.วินัยการเงินฯ บอร์ดรฟม.สั่งศึกษาเพิ่มหวั่นกระทบกรอบงบฯ
เผยแพร่: 25 มิ.ย. 2561 05:32 โดย: MGR Online

บอร์ดรฟม.สั่งศึกษารูปแบบลงทุน PPP สายสีส้มเพิ่ม เกรงไม่สอดคล้องกับพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ กระทบเพดานงบประมาณ เหตุเอกชนลงทุน 100% โยธาและเดินรถ 30 ปี รัฐต้องจัดงบอุดหนุนค่าโยธา ขณะที่แยกรัฐลงทุนเอง เกรงเจอปัญหาล่าช้า ซ้ำซาก “ประธานบอร์ด”เผย อัพเกรดตั๋วร่วมเป็น EMV แมงมุม 4.0 ในปี62 ส่วนบีทีเอส ต้องเจรจาเพื่อเปิดระบบเชื่อม

นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดรฟม.เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. ได้มีการรายงานความคืบหน้าการศึกษาแผนการร่วมทุน (PPP) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม แต่เนื่องจากผลการศึกษายังไม่เสร็จเรียบร้อย โดยให้รฟม.ไปพิจารณารายละเอียดให้รอบคอบ

นอกจากนี้ บอร์ดได้เร่งรัดการพัฒนาตั๋วร่วม ในระบบบัตร EMV Contactless Smart Card (Open Loop) เทคโนโลยีระบบใหม่ โดยประเมินว่า จะใช้เวลาในการปรับปรุงหัวอ่าน ทดสอบระบบ ทดสอบการใช้งานได้ประมาณเดือนธ.ค. 2562 ซึ่งได้สั่งเร่งให้เร็วขึ้น ทั้งนี้ ตัวบัตรเครดิต /เดบิต ข้อกำหนดของ Master Card และ Visa Card ที่เป็น Contactless จะมีครบในปี 2563 แต่ทางธนาคาร สามารถเร่งรัดให้เร็วขึ้นได้ เพื่อยกระดับเทคโนโลยีระบบตั๋วร่วม หรือแมงมุม 2.0 เป็น แมงมุม 4.0

“กรณี บีทีเอส ยังไม่ร่วม เพราะมีบัตรแรบบิท ที่เป็นระบบปิด (Close Loop) ซึ่งเมื่อพัฒนาเป็น EMV แล้วจะสะดวกมาก และผู้ให้บริการรถไฟฟ้าทุกรายควรจะเข้าร่วม ซึ่งบีทีเอสอยู่ภายใต้การกำกับของกรุงเทพมหานคร(กทม.) ต้องเจรจากันเพื่อดึงเข้ามาเพื่อให้เป็นระบบตั๋วต่อ หรือ Commom Ticket ก่อน การเป็นตั๋วร่วมที่สมบูรณ์ ต้องเป็น Common Fair ที่ต้องมีเจ้ามือคือ รัฐ แต่จะเป็นใครอย่างไรต้องพิจารณากันต่อไป”นายไกรฤทธิ์ กล่าว

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าฯ รฟม. กล่าวว่า บอร์ดมีข้อสังเกตุในการลงทุน PPP ของสายสีส้ม หลายประเด็น โดยให้รฟม.พิจารณาในทุกมิติอย่างรอบคอบ เช่น ความเป็นไปตามทางการเงิน อัตราดอกเบี้ย ปริมาณผู้โดยสาร รวมถึง จะต้องสอดคล้องกับ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ด้วย. ที่มีกรอบเพดานการใช้งบประมาณ เพราะรูปแบบ PPP ให้เอกชนลงทุน 100% งานโยธาและระบบเดินรถเป็นสัญญาเดียวนั้น จะมีเงื่อนไขที่รัฐจะอุดหนุนค่างานโยธา เช่น รัฐชำระในระยะ 10 ปี เป็นการผูกพันงบประมาณ ซึ่งรูปแบบนี้ ใช้กับการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสีเหลือง แต่ขณะนั้นยังไม่มี พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ จึงไม่มีเพดานการตั้งงบผูกพัน

ส่วนกรณีรัฐลงทุนก่อสร้างงานโยธาเองให้เอกชนลงทุนเฉพาะการเดินรถ จะต้องพิจารณาผลกระทบหนี้สาธารณะ ที่กำหนดไว้ว่าต้องไม่เกินกี่เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ผลต่อภาระของรัฐและความเสี่ยงที่การก่อสร้างจะล่าช้าเหมือนสีน้ำเงิน หรือสายสีแดงที่งานโยธาเสร็จแล้วยังเปิดเดินรถไม่ได้ เป็นต้น

“ตอนนี้มีโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการ ดังนั้น บอร์ดจึงอยากให้ศึกษาและตรวจสอบปัจจัยที่เกี่ยวข้องทุกมิติ ซึ่งจะศึกษาเพิ่มเติมเร่งสรุปเพื่อนำเสนอบอร์ดอีกครั้งในการประชุมเดือนก.ค.ซึ่งตามกรอบเวลา สายสีส้ม(ตะวันออก) จะก่อสร้างเสร็จปี 2566 ดังนั้นการจัดหาเรื่องระบบและเดินรถจะต้องสรุปและเปิดประมูลในปี 2562 เพราะจะต้องใช้เวลาในการจัดหาผลิตรถไฟฟ้าและติดตั้งระบบ 36 เดือน”

ทั้งนี้รถไฟฟ้าสายสีส้ม (ด้านตะวันตก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ระยะทาง 16.4 กม. วงเงินลงทุน 109,342 ล้านบาท โดยมีค่างานโยธา 85,288.54 ล้านบาท ซึ่งรฟม.ศึกษารายงานวิเคราะห์ลงทุน PPP พร้อมกับการขออนุมัติงานโยธา ตามมติครม. โดยผลการศึกษา ให้มีรูปแบบให้มีผู้รับงาน 1 ราย รับผิดชอบทั้งงานโยธา ด้านตะวันตก งานวางระบบ จัดหารถไฟฟ้า และเดินรถสายสีส้ม ตลอดสาย (มีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรมฯ- บางขุนนท์ ) ระยะทางรวม 39 กม. PPP ประเภท Net Cost ระยะเวลา 30 ปี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 26/06/2018 3:29 am    Post subject: Reply with quote

บีทีเอสแจงยื้อตั๋วร่วม รอเคลียร์เงื่อนไขธุรกิจ ลงตัวพร้อมอัพเกรด EMV”แมงมุม4.0”
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 25 มิถุนายน พ.ศ. 2561, 20:38 '
ปรับปรุง: 25 มิถุนายน พ.ศ. 2561, 21:17



นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. บีทีเอส เปิดเผยถึงการเข้าร่วมระบบตั๋วร่วม ว่า จากที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เปิดตัวบัตรแมงมุมแล้วแต่ยังใช้กับระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสไม่ได้นั้น เนื่องจากเป็นแมงมุมเวอร์ชั่น 1 ซึ่งฟรม.จะปรับเป็น ระบบแมงมุม 4.0 ซึ่ง เทคโนโลยีบัตรแบบ EMV (Euro Master and Visa) Contactless Smart Card (Open Loop) ซึ่งจะมีการหารือกันผ่านคณะกรรมการตั๋วร่วม ซึ่งมีธนาคารกรุงไทย เป็นตัวกลาง ซึ่ง บีทีเอสยังมีคำถาม อีกหลายประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจ ทั้งเรื่องเทคนิค วิธีการ ต่างๆ เช่น การรายงานปริมาณผู้โดยสาร ในแต่ละวันต่อ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ในฐานะผู้กำกับดูแลสัญญาสัมปทาน การจัดส่งรายได้ การจัดเก็บและอัตราค่าธรรมเนียมต่าง

ทั้งนี้ บีทีเอสยินดีเข้าร่วมระบบตั๋วร่วม แต่เห็นว่า การปรับระบบปัจจุบันไปสู่แมงมุม เวอร์ชั่น 1 และปรับเป็นระบบ EMV ในอนาคตอีก อาจจะไม่ได้ประโยชน์จริง และยังมีต้นทุนสูง เมื่อเทียบกับการปรับจากปัจจุบันไปสู่ บัตร EMV เลย ดังนั้นจึงขอเจรจารายละเอียดเงื่อนไขต่างๆกับ กรุงไทยให้เรียบร้อยก่อน ส่วนการปรับปรุงหัวอ่านต่างๆนั้น จะใช้เวลาประมาณ 12 เดือน ซึ่งตามแผน EMV จะใช้ได้ประมาณ เดือนธ.ค. 2562 อยู่แล้ว

“เรามีข้อสงสัยที่ต้องถามเพื่อทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนทั้งเรื่องเทคนิค และธุรกิจ ยืนยันยืนดีเข้าร่วม แต่ถ้าปรับตอนนี้ไปเป็นแมงมุมเวอร์ชั่น 1 ตามที่รฟม.ต้องการ คงไม่ได้ประโยชน์ อีกทั้ง ระบบของบีทีเอสแตกต่างจากรถไฟฟ้า MRT และแอร์พอร์ตลิงก์ ที่เป็นเครือข่ายที่ใกล้กับ แมงมุม จึงปรับได้ง่ายกว่า “นายสุรพงษ์กล่าว
[/url]
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 180, 181, 182 ... 277, 278, 279  Next
Page 181 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©