Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13262669
ทั้งหมด:13573949
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 274, 275, 276 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44517
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/07/2018 10:12 pm    Post subject: Reply with quote

เอกชน23รายยื่นซื้อเอกสารรถไฟเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน
6 กรกฎาคม 2018 - 19:32

สกพอ. เผย มีเอกชนซื้อเอกสาร Request for Proposal (RFP) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแล้ว 23 ราย

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) สรุปรายชื่อผู้ซื้อเอกสาร Request for Proposal (RFP) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) โดยล่าสุดมี 4 บริษัทสนใจซื้อเอกสารเพิ่มในวันนี้(6ก.ค.) ได้แก่
1.บริษัท เทอดดำริ จำกัด
2.Salini Impregio S.p.A.
3.บริษัท ฮิตาชิ เอเซีย (ประเทศไทย) จำกัด
4.Transdev

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ได้ทำการเปิดขายเอกสาร Request for Proposal (RFP) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ตั้งแต่วันที่ 18 มิ.ย. พบว่ามีเอกชนสนใจเข้าซื้อเอกสารแล้ว 23 ราย
ได้แก่
1) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
2) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด
3) บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
4) บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
5) บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (EnCo)
6) บริษัท อิโตชู คอร์ปอเรชั่น จำกัด
7) บริษัท Sinohydro Corporation Limited
8) บ.ชิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
9) บ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
10) Fujita Corporation (Thailand) Ltd.
11) China Railway Construction Corporation Limited
12) บ. ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
13) บ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
14) บมจ. ทีพีไอ โพลีน
15) China Railway Group Limited
16) China Communications Construction Company Limited
17) China Resources (Holding) Company Limited
18) CITIC Group Corporation
19) Korea Thai Highspeed Rail Road Consortium
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42703
Location: NECTEC

PostPosted: 08/07/2018 3:24 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เอกชน23รายยื่นซื้อเอกสารรถไฟเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน
6 กรกฎาคม 2018 - 19:32

ไฮสปีด 3 สนามบินสุดฮอต เอกชนรุมซื้อซองแล้ว 23 บริษัท
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 6 กรกฎาคม 2561 16:42
ปรับปรุง: 6 กรกฎาคม 2561 18:55



รถไฟเชื่อม 3 สนามบินสุดฮอต วันนี้ (6 ก.ค.) มีเอกชนซื้อซองเพิ่มอีก 4 บริษัท ทำให้มีผู้ซื้อซองไปแล้วทั้งสิ้น 23 บริษัท จับตาขายซองวันสุดท้าย 9 ก.ค.จะมีเพิ่มอีกหรือไม่

รายงานข่าวการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แจ้งว่า วันนี้ (6 ก.ค. 61) บริษัทเข้าซื้อเอกสารการคัดเลือกเอกชน Request for Proposal (RFP) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงินกว่า 2 แสนล้านบาท เพิ่มอีก 4 บริษัท คือ บริษัท เทิดดำริ จำกัด, Salini Impregio S.p.A., บริษัท ฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด, TRANSDEV GROUP

ขณะนี้มีเอกชนซื้อซองรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแล้ว ตั้งแต่วันที่ 18 มิ.ย. 2561 จนถึงวันที่ 9 ก.ค. 2561 รวม 23 บริษัท

วันที่ 18 มิ.ย. 61 มี 7 ราย ได้แก่
1) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
2) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด
3) บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
4) บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
5) บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (EnCo)
6) บริษัท อิโตชู คอร์ปอเรชั่น จำกัด
7) บริษัท Sinohydro Corporation Limited

วันที่ 20 มิ.ย. 61
8) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

วันที่ 21 มิ.ย. 61
9) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BEM
10) Fujita Corporation (Thailand) Ltd.

วันที่ 25 มิ.ย. 61
11) China Railway Construction Corporation Limited
12) บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK

วันที่ 27 มิ.ย. 61
13) บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)

วันที่ 29 มิ.ย. 61
14) บมจ.ทีพีไอ โพลีน

วันที่ 2 ก.ค. 61
15. Chaina Railway Group limited

วันที่ 4 ก.ค. 61
16) China Communications Construction Company Limited

วันที่ 5 ก.ค. 61
17) China Resources (Holdings) Company Limited
18) CITIC Group Corporation
19) Korea-Thai High-Speed Railroad Consortium Inc.

วันที่ 6 ก.ค. 61
20) บริษัท เทิดดำริ จำกัด
21) Salini Impregio S.p.A.
22) บริษัท ฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด
23) TRANSDEV GROUP
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42703
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2018 12:08 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
เอกชน23รายยื่นซื้อเอกสารรถไฟเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน
6 กรกฎาคม 2018 - 19:32

ไฮสปีด 3 สนามบินสุดฮอต เอกชนรุมซื้อซองแล้ว 23 บริษัท
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 6 กรกฎาคม 2561 16:42
ปรับปรุง: 6 กรกฎาคม 2561 18:55


ยุโรปมาแล้ว! บริษัทก่อสร้างอิตาลี-ฝรั่งเศส ร่วมแจมซื้อซองประมูลไฮสปีด 3 สนามบิน 2.2 แสนล้าน
วันที่ 6 กรกฎาคม 2561- 17:13 น.


แฟ้มภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (6 ก.ค.) เป็นวันที่ 17 ขายเอกสารประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุนกว่า 2.2 แสนล้านบาท



ปรากฎว่ามีเอกชน 4 ราย สนใจมาซื้อซองเพิ่ม ได้แก่ 1.บริษัท เทอดดำริ จำกัด 2.บริษัท Salini Impregio S.p.A จากประเทศอิตาลี 3.บริษัท ฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด และ 4.บริษัท TRANSDEV กรุ๊ป จากประเทศฝรั่งเศส เมื่อรวมตั้งแต่วันที่ 18 มิ.ย.-6 ก.ค.2561 รวมมีมาซื้อซองประมูลทั้งสิ้น 23 ราย ประกอบด้วย

1) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
2) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด
3) บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
4) บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
5) บริษัท เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ จำกัด
6) บริษัท อีโตชู คอร์ปอเรชั่น จำกัด
7) Sinohydro Corporation Limited
8) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
9) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ BEM
10) บริษัท ฟูจิตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
11) บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
12) China Railway Construction Corporation Limited
13) บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
14) บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน)
15) บริษัท ไชน่า เรลเวย์ กรุ๊ป จำกัด
16) บริษัท ไชน่า คอมมูนิเคชั่น คอนสตรัคชั่น คัมปะนี จำกัด
17) บริษัท China Resources (Holdings) Company Limited
18) บริษัท ซิติกกรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น
19) บริษัท Korea-Thai High-Speed Railroad Consortium Inc.
20) บริษัท เทอดดำริ จำกัด
21) บริษัท Salini Impregio S.p.A จากประเทศอิตาลี
22) บริษัท ฮิตาชิ. เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด
และ 23) บริษัท TRANSDEV กรุ๊ป จากประเทศฝรั่งเศส
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42703
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2018 12:21 pm    Post subject: Reply with quote

BTS ทอดสะพานซีพี-เซ็นทรัล ฮั้วลงทุนมิกซ์ยูสไฮสปีดอีอีซี


วันที่ 8 กรกฎาคม 2561 - 22:39 น.

ไฮสปีดอีอีซี 2.2 แสนล้านคึกคัก ทั่วโลกแห่ซื้อซองประมูลถึง 23 บริษัท ทุนใหญ่เจรจาหาพันธมิตรร่วมทุนฝุ่นตลบ “คีรี กาญจนพาสน์” เปิดกว้างทอดสะพาน “เจ้าสัวซีพี-เซ็นทรัล” ลงขันแจ้งเกิดเมกะโปรเจ็กต์แห่งชาติ ลุยมิกซ์ยูส 4 หมื่นล้าน ดันมักกะสันฮับค้าปลีก “อิตาเลียนไทย-ทีพีไอ”เดินสายวุ่น

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สินและรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า 9 ก.ค.นี้จะปิดขายเอกสารประกวดราคาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 2.2 แสนล้านบาท คาดมีผู้สนใจ 20-25 ราย หลังเปิดขาย 18 มิ.ย.-6 ก.ค. 2561 มีนักลงทุนไทย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ซื้อ 23 ราย

ซื้อซองเกิน 20 ราย ได้แก่
1) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
2) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด
3) บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
4) บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
5) บริษัท เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ จำกัด
6) บริษัท อีโตชู คอร์ปอเรชั่น จำกัด
7) Sinohydro Corporation Limited
8) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
9) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ BEM
10) บริษัท ฟูจิตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
11) บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
12) China Railway Construction Corporation Limited
13) บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
14) บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน)
15) บริษัท ไชน่า เรลเวย์ กรุ๊ป จำกัด
16) บริษัท ไชน่า คอมมูนิเคชั่น คอนสตรัคชั่น คัมปะนี จำกัด
17) บริษัท China Resources (Holdings) Company Limited
18) บริษัท ซิติกกรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น
19) บริษัท Korea-Thai High-Speed Railroad Consortium Inc.
20) บริษัท เทอดดำริ จำกัด
21) บริษัท Salini Impregio S.p.A จากประเทศอิตาลี
22) บริษัท ฮิตาชิ. เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด
และ
23) บริษัท TRANSDEV กรุ๊ป จากประเทศฝรั่งเศส

ซึ่งจะยื่นประมูลวันที่ 12 พ.ย. 2561

“คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประมูล 3-4 ราย เช่น กลุ่มซีพี บีทีเอส แต่ละกลุ่มน่าจะร่วมกันหลายบริษัท เพราะโครงการใหญ่ใช้เงินลงทุนสูง ไม่ได้มีแค่รถไฟความเร็วสูง ยังมีการพัฒนาสถานีมักกะสันและศรีราชา ส่วนผู้รับเหมาน่าจะใช้หลายบริษัท เพราะระยะทาง 220 กม. ต้องเสร็จใน 5 ปี”


ขาใหญ่เจรจาฝุ่นตลบ

ขณะนี้ผู้ซื้อซองกำลังเจรจาร่วมทุนกัน เพื่อจัดตั้งเป็นกิจการร่วมค้า ยังไม่มีอะไรนิ่ง ทุกอย่างเปลี่ยนได้ตลอดไม่ว่าจะเป็นซีพี บีทีเอส ช.การช่าง ปตท. แต่น่าจะมียื่นประมูลเกิน 2 รายอย่างน้อยมีกลุ่มซีพีร่วมกับอีโตชู ซิติกและรัฐวิสาหกิจจีน เช่น ไชน่าเรลเวย์ คอนสตรัคชั่นฯ และกลุ่มบีทีเอส หรือทั้งซีพีและบีทีเอสอาจร่วมทุนกัน ถ้าเจรจาลงตัว ส่วน ช.การช่างมี BEM บริษัทในเครือกำลังหาพันธมิตรเพิ่มทั้งไทยและต่างชาติ

คีรีเปิดกว้างพันธมิตร

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) เปิดเผยว่า บีทีเอสและพันธมิตรคือซิโน-ไทยฯและราชบุรีโฮลดิ้งในนามกิจการร่วมค้า BSR สนใจเข้าร่วมประมูลเหมือนเดิม กำลังศึกษารายละเอียดทีโออาร์ เนื่องจากเป็นระบบใหม่ เส้นทางใหม่ ใช้เงินลงทุนสูงไม่ง่ายอย่างแน่นอน ทางบริษัทได้จ้างที่ปรึกษามาศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการอีกครั้ง และอยู่ระหว่างเจรจาหาพันธมิตรเพิ่ม มีทั้ง ปตท.และต่างชาติอีก 2 บริษัท แต่ยังไม่พิจารณา ทั้งเอเชีย ยุโรป ที่มีความชำนาญด้านการบริหารพัฒนาที่ดิน ก่อสร้าง ผลิตขบวนรถ รวมถึงกลุ่มซีพีด้วย

แย้มคุย ปตท.-ซีพี

“ปตท.เป็นบริษัทใหญ่ ต้องรอเสนอเข้าบอร์ดก่อน หากตัดสินใจร่วมกับเราก็ยินดี ส่วนซีพีคุยกันตลอด ผมกับเจ้าสัว (ธนินท์ เจียรวนนท์) กินข้าวคุยกันบ่อย คุยทุกเรื่องทั้งบ้านเมือง รถไฟความเร็วสูง ส่วนจะจับมือกันมั้ย ต้องดูความจำเป็นกับประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจริง ๆ แล้วผมจับมือได้กับทุกคน”

ผู้สื่อข่าวถามว่า มีความเป็นไปได้แค่ไหนที่จะร่วมกับซีพี นายคีรีกล่าวว่า เทียบกับบีทีเอสแล้ว กลุ่มซีพีใหญ่กว่ามาก ใครที่เป็นพาร์ตเนอร์ที่มีศักยภาพและจริงใจก็ร่วมทุนได้หมด ส่วนสัดส่วนการถือหุ้น ต้องดูความสามารถทางการเงิน การทำงาน ใครเก่งด้านไหน

“ยังคอนเฟิร์มไม่ได้ (เน้นเสียง) ทุกอย่างเกิดขึ้นได้หมด ซีพีเป็นบริษัทใหญ่ ยังไม่ถึงเวลาจะเปิดเผยว่าใครจับกับใคร เป็นความลับทางธุรกิจ ใครจะรู้ว่า ถ้าผมชนะ ซีพีก็อาจมีโครงการบางอย่างที่ผมจะไปร่วมกับเขาได้ ถ้าซีพี ชนะก็อาจมีอะไรบางอย่างที่ผมสามารถทำให้เขาได้เช่นกัน ทั้งการเดินรถ หรือพัฒนาอสังหาฯ เราก็มียูซิตี้ แต่รู้ว่าซีพีตั้งใจจริงและบอกพวกเราตลอดว่า ต้องเข้าไปประมูลเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ ส่วนต่างประเทศถ้ามาประมูลได้ ก็ยิ่งดี”

และนายคีรีกล่าวอีกว่า “โครงการระดับประเทศ ไม่มีใครใจแคบทำอะไรคนเดียว ผมไม่ได้พูดเล่น ถ้าดูดีมานด์เรื่องรถไฟความเร็วสูงในเวลานี้ยังไม่ใช่ใช่ไหม มองผิวเผินก็ใช่ แต่ถ้ามองถึงอนาคต ทุกประเทศที่เริ่มโครงการต้องมองไปวันข้างหน้า เป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศชาติ ต้องมุ่งมั่น ตั้งใจ เป็นเรื่องที่สร้างสรรค์มาก สนใจทุกคน แต่ไม่หมู แม้รัฐบาลจะร่วมผลักดันในรูปแบบ PPP

“ความสามารถในการเข้าใจทีโออาร์นั้นสำคัญ ต้องใช้ความเป็นมืออาชีพ ความเข้าใจในเรื่องระบบ การคิดต้นทุน การซื้อซองเราเคยผ่านจุดนี้มาหมดแล้ว เพราะรถไฟฟ้าเป็นอาชีพของเรา ผมไม่คิดว่าคู่แข่งจะน่ากลัวหรือไม่น่ากลัว ผมจะดีใจมาก ถ้ามีคนเข้ามาประมูลเยอะ เพราะเป็นโครงการระดับชาติ เรื่องโครงสร้างพื้นฐานยิ่งเร็วยิ่งดี ถ้าทำได้มากก็ยิ่งทำให้ประเทศเจริญขึ้น ถ้าโปรเจ็กต์นี้ไม่ได้ก็มีรถไฟฟ้าอีกหลายสาย ทั้งสีส้มตะวันตก สีม่วงใต้” นายคีรีย้ำ

ซุ่มจีบเซ็นทรัลร่วมทุน

รายงานข่าวจากกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR กล่าวว่า นอกจากกลุ่มบีทีเอสจะเจรจากับ ปตท. ซีพี และบริษัทต่างชาติแล้ว ทางกลุ่มยังได้เจรจากับ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา เพื่อร่วมพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสที่สถานีมักกะสัน 150 ไร่ และศรีราชา 25 ไร่ เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งบีทีเอสไม่เชี่ยวชาญด้านศูนย์การค้าและการพัฒนาเชิงพาณิชย์รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงถือเป็นหัวใจหลักในการสร้างรายได้ให้กับโครงการ

“เซ็นทรัลมีเงินทุน เชี่ยวชาญค้าปลีก มีศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 อยู่เยื้องสถานีมักกะสันอยู่แล้ว น่าจะต่อยอดกันได้ เหมือนที่กลุ่มเดอะมอลล์สร้าง ดิ เอ็มโพเรียม และดิ เอ็มควอเทียร์ ติดสถานีพร้อมพงษ์”

ITD-TPI ไม่ตกขบวน

แหล่งข่าวจาก บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) เปิดเผยว่า สนใจเข้าร่วมประมูลเช่นกัน กำลังหาพันธมิตรบริษัทไทยอย่าง ปตท. ซีพี ช.การช่าง ส่วนต่างชาติมีจีน ญี่ปุ่น ยุโรป สนใจลงทุนโครงการนี้ แต่ยังไม่มีข้อสรุป

นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ทีพีไอ โพลีน กล่าวว่า จะร่วมประมูลแน่นอนกำลังเจรจาพันธมิตรจากจีน ญี่ปุ่น และยุโรป เพื่อร่วมทุนเป็นคอนซอร์เตี้ยม โดยทีพีไอถือหุ้นอย่างน้อย 25% ที่สนใจเพราะการก่อสร้างต้องใช้วัสดุถึง 50% ซึ่งทีพีไอมีทุกอย่างและเป็นคู่ค้ากับการรถไฟฯอยู่แล้ว โดยลงทุนซื้อหัวรถจักรและขบวนรถขนส่งสินค้าให้อยู่ในปัจจุบัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42703
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2018 5:16 pm    Post subject: Reply with quote

ว้าว! เซ็นทรัลก็มาซื้อซองประมูลไฮสปีด3สนามบิน2.2แสนล้าน ปิดจ็อบวันสุดท้ายท่วมท้น31ราย
วันที่ 9 กรกฎาคม 2561 - 15:11 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (9 ก.ค.) เป็นวันสุดท้ายขายเอกสารประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุนกว่า 2.2 แสนล้านบาท


ปรากฎว่ามีเอกชน 8 ราย สนใจมาซื้อซอง ได้แก่ 1.บริษัท SNCF INTERNATIONAL 2.บริษัท Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport & Urban Development 3.บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) 4.บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด(มหาชน) 5.บริษัท แอล เอ็ม ที สโตน จำกัด 6.บริษัท Wannasser Internationnal Green Hub Berhad3 7.บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด (สาธารณรัฐประชาชนจีน) และ 8.MRCB Builders SDN. BHD. (ประเทศมาเลเซีย)

เมื่อรวมตั้งแต่วันที่ 18 มิ.ย.-9 ก.ค.2561 รวมมีมาซื้อซองประมูลทั้งสิ้น 31 ราย ประกอบด้วย

1) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
2) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด
3) บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
4) บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
5) บริษัท เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ จำกัด
6) บริษัท อีโตชู คอร์ปอเรชั่น จำกัด
7) Sinohydro Corporation Limited
8) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
9) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ BEM
10) บริษัท ฟูจิตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
11) บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
12) China Railway Construction Corporation Limited
13) บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
14 )บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน)
15) บริษัท ไชน่า เรลเวย์ กรุ๊ป จำกัด
16) บริษัท ไชน่า คอมมูนิเคชั่น คอนสตรัคชั่น คัมปะนี จำกัด
17) บริษัท China Resources (Holdings) Company Limited
18) บริษัท ซิติกกรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น
19) บริษัท Korea-Thai High-Speed Railroad Consortium Inc.
20) บริษัท เทอดดำริ จำกัด
21) บริษัท Salini Impregio S.p.A จากประเทศอิตาลี
22) บริษัท ฮิตาชิ. เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด
23) บริษัท TRANSDEV กรุ๊ป จากประเทศฝรั่งเศส
24) SNCF INTERNATIONAL
25) Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport & Urban Development
26) บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)
27) บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
28) บริษัท แอล เอ็ม ที สโตน จำกัด
29) Wannasser Internationnal Green Hub Berhad ประเทศมาเลเซีย
30.) บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
31) MRCB Builders SDN. BHD. (ประเทศมาเลเซีย)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42703
Location: NECTEC

PostPosted: 10/07/2018 10:46 am    Post subject: Reply with quote

ประวัติศาสตร์รับเหมาไทย! "31 ขาใหญ่" โดดชิงเค้กรถไฟฟ้า 3 สนามบิน
9 กรกฎาคม 2561

รฟท.เผยรายชื่อบริษัทแห่ซื้อเอกสารการคัดเลือกเอกชน ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน พุ่งสูงถึง 31 ราย มีลุ้นจับขั้วพร้อมกำหนดยื่นข้อเสนอ 12 พย.นี้ เผยตัวเต็งมากันครบทีม

ฝ่ายประชาสัมพันธ์การรถไฟแห่งประเทศไทย แจ้งว่า ตามที่ได้มีการเปิดขายเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน เป็นต้นมาจนถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2561 (วันนี้) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการขายเอกสาร รวมระยะเวลา 3 สัปดาห์ โดยมีเอกชนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก เข้าซื้อเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน จำนวน 31 ราย ประกอบไปด้วย

1. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
2. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย)
3. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
4. บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
5. บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (ประเทศไทย)
6. ITOCHU Corporation (ประเทศญี่ปุ่น)
7. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด (ประเทศจีน)
8. บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
9. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทย
10. บริษัท ฟูจิตะ คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น)
11. China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
12. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
13. บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
14. บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
15. CHINA RAILWAY GROUP LIMITED (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
16. China Communications Construction Company Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
17. China Resources (Holdings) Company Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
18. CITIC Group Corporation (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
19. Korea-Thai High-speed Railroad Consortium Inc. (ประเทศไทย)
20. บริษัท เทอดดำริ จำกัด (ประเทศไทย)
21. Salini Impregio S.p.A. (ประเทศอิตาลี)
22. บริษัท ฮิตาชิ เอเซีย (ประเทศไทย) จำกัด (ประเทศไทย)
23. TRANSDEV GROUP (ประเทศฝรั่งเศส)
24. SNCF INTERNATIONAL (ประเทศฝรั่งเศส)
25. Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport & Urban Development (ประเทศญี่ปุ่น)
26. บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
27. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
28. บจก. แอล เอ็ม ที สโตน (ประเทศไทย)
29. WANNASSER INTERNATIONAL GREEN HUB BERHAD (ประเทศมาเลเซีย)
30. บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
31. MRCB Builders SDN. BHD. (ประเทศมาเลเซีย)

ภายหลังจากการขายเอกสารเสร็จสิ้นแล้ว จะจัดให้มีการประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจ จำนวน 2 ครั้ง ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2561 ณ สโมสรรถไฟชั้น 2 การรถไฟแห่งประเทศไทย เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ หลังจากนั้นจะนำผู้ยื่นข้อเสนอไปดูสถานที่ก่อสร้างของโครงการ (Site Visit) ในวันอังคารที่ 24 กรกฎาคม 2561 และวันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม 2561

โดยเข้าดูพื้นที่ของโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงค์ มักกะสัน สถานีสุวรรณภูมิ และสถานีรายทาง , โครงการระบบรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – รังสิต สถานีกลางบางซื่อ โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ – พญาไท – มักกะสัน – หัวหมาก และเขตทางรถไฟ


ปัจจุบันตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ จากสถานีดอนเมืองไปตามเส้นทางรถไฟสายตะวันออก ผ่านสถานีมักกะสัน สถานีฉะเชิงเทรา สถานีพัทยา และสิ้นสุดที่บริเวณสถานีบ้านฉาง ทั้งนี้จะเปิดให้มีการส่งข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ หรือคำถามเกี่ยวกับเอกสารการคัดเลือกเอกชน และให้มีการตรวจสอบข้อมูลหรือรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ระหว่างวันที่ 10 กรกฎาคม - 9 ตุลาคม 2561 ณ ห้องประชุมฝ่ายโครงการพิเศษและก่องสร้างการรถไฟฯ ในเวลาราชการ

กำหนดการรับซองข้อเสนอ จะมีขึ้นในวันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09.00 - 15.00 น. โดยผู้ยื่นข้อเสนอต้องยื่นหลักประกันซองพร้อมกับซองข้อเสนอ มูลค่า 2,000 ล้านบาท และต้องชำระค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอให้แก่ รฟท. เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท ที่สำนักงานโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงค์ มักกะสัน และผู้ที่ยื่นเสนอผ่านการประเมินข้อเสนอจะต้องวางหลักประกันสัญญาที่ออกโดยธนาคารให้กับการรถไฟฯ ในวันที่เข้าทำสัญญาร่วมทุนเป็นมูลค่า 4,500 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนของเอกชนคู่สัญญา

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตลิงค์ (Airport Rail Link) ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) ส่วนต่อขยาย 2 ช่วงจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบัง ไปยังสนามบินอู่ตะเภา พร้อมเชื่อมเข้าออกสนามบิน

โดยใช้เขตทางเดิมของการรถไฟฯ เป็นส่วนใหญ่ รวมระยะทาง 220 กม. มีผู้เดินรถรายเดียวกัน ซึ่งรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง (สำหรับช่วงการเดินทางระหว่างเมือง คือ สถานีสุวรรณภูมิ ถึง สถานีอู่ตะเภา) และความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง (สำหรับช่วงการเดินทางในเมือง คือ สถานีดอนเมือง ถึง สถานีสุวรรณภูมิ) ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูงจำนวน 9 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีสุวรรณภูมิ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา

โครงสร้างทางวิ่งของโครงการ ประกอบไปด้วย ทางวิ่งโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ปัจจุบัน (ARL) ระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร และทางวิ่งที่ต้องก่อสร้างใหม่ประมาณ 191 กิโลเมตร โดยเบื้องต้นจำแนกลักษณะรูปแบบโครงสร้างทางวิ่งทั้งโครงการเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1) ทางวิ่งยกระดับระยะทางประมาณ 181 กิโลเมตร
2) ทางวิ่งระดับดินระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร และ
3) ทางวิ่งใต้ดินระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร

การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟในพื้นที่มักกะสันของ รฟท. ประมาณ 150 ไร่ ต้องเป็นการพัฒนาร่วมไปกับการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสนับสนุนบริการรถไฟและบริการผู้โดยสาร รวมทั้งพื้นที่โดยรอบสถานีศรีราชา ประมาณ 25 ไร่ ซึ่งสามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ร่วมกับโครงการได้ทันที

แนวเส้นทางโครงการผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จ.สมุทรปราการ จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี และจ.ระยอง ใช้แนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนทางรางของโครงการเดิมและมีการออกแบบใหม่เฉพาะบริเวณเชื่อมต่อเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ (ขาออก) และสนามบินอู่ตะเภา (ขาเข้า) โดยแนวเส้นทางโครงการประกอบด้วย 3 โครงการ คือ

1.โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (Suvarnabhumi Airport Link and City Air Terminal: ARL)
2.โครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท (ARL Extension)
3.โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-ระยอง

ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ (ก่อสร้างและให้บริการ) ให้เอกชนร่วมทุนฯ 50 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42703
Location: NECTEC

PostPosted: 10/07/2018 4:43 pm    Post subject: Reply with quote

เลขาฯ อีอีซีคาดต้นปี 62 ได้ผู้ชนะประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 10กรกฎาคม 2561 13:25

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ภาคเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศให้ความสนใจซื้อซองเสนอราคาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) หลังจากเปิดให้ซื้อตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน - 9 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งมีบริษัทเอกชนซื้อ 31 ราย ประกอบด้วย เอกชนไทย 14 ราย ประเทศจีน 7 ราย ญี่ปุ่น 4 ราย มาเลเซีย 2 ราย เกาหลี 1 ราย ฝรั่งเศส 2 ราย และอิตาลี 1 ราย โดยเอกชนที่ซื้อซองทั้งหมดจะต้องทำรายละเอียดข้อเสนอการเข้าร่วมประมูลต่อคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง เพื่อพิจารณาคัดเลือกการประมูลวันที่ 12 พฤศจิกายนนี้ และคาดว่าจะสามารถได้บริษัทที่ชนะการประมูลได้ภายในต้นปี 2562



สำหรับการเปิดประมูลครั้งนี้นับว่าเป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล จากการที่นักลงทุนให้ความสนใจในการเข้ามาซื้อซอง ชี้ให้เห็นว่านักลงทุนต่างชาติมีความเชื่อมั่นในการดำเนินโครงการของภาครัฐ ซึ่งถือเป็น 1 ใน 5 โครงการหลักของการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จะยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะด้านการบริการด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ เกิดการเชื่อมโยงด้านการค้าและการลงทุนที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ และคาดว่าโครงการอื่นๆ ที่จะเปิดเร็วๆ นี้ จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนเช่นเดียวกัน

หลังจากนี้ รฟท.จะจัดประชุมเพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจในเรื่องของเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การประมูล 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 23 กรกฎาคม ที่สโมสรรถไฟชั้น 2 และวันที่ 24 กรกฎาคม นอกจากนี้ วันที่ 26 กรกฎาคม จะนำผู้ยื่นข้อเสนอไปดูสถานที่ก่อสร้างของโครงการ ที่โครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ รถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และเขตทางรถไฟปัจจุบันตลอดแนวเส้นทางไปถึงสถานีบ้านฉาง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42703
Location: NECTEC

PostPosted: 10/07/2018 6:32 pm    Post subject: Reply with quote

TPIลุ้นไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน คิดการใหญ่เตรียมสร้างโรงไฟฟ้ารองรับ


วันที่ 8 กรกฎาคม 2561 - 23:26 น.

“ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์” ลุ้นรับอานิสงส์ทีพีไอ โพลีนประมูลไฮสปีด EEC เล็งขยายโรงไฟฟ้าขยะเพิ่ม ดันรายได้ถึงปี”62 ทะลุ 1.4 หมื่นล้านบาท

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2561 ที่ผ่านมา บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPL ซึ่งเป็นบริษัทแม่บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPP ได้เข้าซื้อเอกสาร Request for Proposal (RFP) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ซึ่งเป็น 1 ในโครงการก่อสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ในโปรเจ็กต์เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) นับเป็นครั้งแรกที่ TPI เข้าร่วมและมีความสนใจจะประมูลในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ เนื่องจากศักยภาพของกลุ่ม TPI ที่มีความพร้อมในเรื่องของวัตถุดิบเนื่องด้วยความชำนาญในอุตสาหกรรมก่อสร้างอย่างปูนซีเมนต์ ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีบริษัทลูกที่อยู่ในกลุ่มพลังงานไฟฟ้า และอื่น ๆ ที่ยังสามารถเข้าซัพพอร์ตงานให้กันได้


“สำหรับความเสี่ยงในโครงการรถไฟความเร็วสูงนี้แทบจะไม่มีเลย แต่กลับเป็นโครงการขนาดใหญ่การเชื่อมทั้ง 3 สนามบินเข้าด้วยกันนั้นไม่เคยมีมาก่อน ส่วนการที่ TPIPL จะจับคู่กับรายอื่นเพื่อยื่นซองประมูลนั้น คาดการณ์ว่าไม่น่าจะเป็นการยื่นประมูลเดี่ยว ๆ เพราะโครงการที่ต้องใช้วัตถุดิบจาก TPIPL อยู่แล้ว ในขณะเดียวกัน เป็นที่สังเกตเห็นว่ามีบริษัทใหญ่บางรายที่ต้องจับมือกันเข้าประมูล เพราะไม่มีวัตถุดิบมีแต่เงินทุน และหวังที่จะได้ร่วมวงประมูลโครงการนี้ด้วย ส่วนบริษัทที่เชี่ยวชาญระบบรางอยู่แล้วอย่าง BTS อิตาเลียนไทย หรือ ช.การช่าง เขาสามารถเข้ายื่นเดี่ยวได้เพราะเขาชำนาญเรื่องโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่อยู่แล้ว” แหล่งข่าวกล่าว

ล่าสุดนายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายบัญชีและการเงิน บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPP เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในส่วนของการซัพพอร์ตโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงทั่วไปนั้นแน่นอนว่าจะต้องใช้ไฟฟ้า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินก็เช่นกัน เมื่อเกิดโครงการขึ้นตามเงื่อนไขของ TOR จะต้องซื้อไฟฟ้าจากระบบของรัฐ นั่นหมายถึง TPIPP จะต้องขายไฟเข้าระบบเพื่อให้รัฐรับซื้อและเข้าไปซัพพอร์ตให้กับระบบไฟฟ้าในโครงการดังกล่าว ปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิต 180 เมกะวัตต์ ขายให้รัฐอยู่ 163 เมกะวัตต์ เป็นกำลังการผลิตจากโรงไฟฟ้าขยะทั้งหมดเนื่องจากได้ราคาที่ 3 บาท และได้รับแอดเดอร์อีก 3.50 บาท ต่างจากโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนที่จะไม่ได้แอดเดอร์ถึง 3.50 บาท จึงไม่ขายรัฐและกลับมาขายให้บริษัทแม่

ทั้งนี้ ปัจจุบันบริษัท TPIPP ดำเนินธุรกิจ 2 ส่วน คือ โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงจากขยะ กำลังการผลิต 280 เมกะวัตต์ และโรงกำจัดขยะ ซึ่งตามแผนการลงทุนปี 2561 เตรียมมีการลงทุนตั้งโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงจากขยะเพิ่ม เนื่องจากยังคงมีขยะป้อนเข้าสู่โรงไฟฟ้าไม่ถึง 10,000 ตัน/วันเท่านั้น ขณะที่ขยะทั้งประเทศมีถึง 70,000 ตัน/วัน สอดรับกับที่กระทรวงพลังงานได้เปิดรับซื้อพลังงานหมุนเวียนจากขยะ ที่ขณะนี้ทั่วประเทศทุกโรงมีการขายไฟประมาณ 200 เมกะวัตต์เท่านั้น และในแผน PDP เดิมโรงไฟฟ้าจากขยะกำหนดไว้ที่ 500 เมกะวัตต์ จึงเหลืออีกกว่า 200 เมกะวัตต์ที่ต้องประมูลเข้าไป ดังนั้น ยังคงมีความจำเป็นต้องเดินหน้าขยายโรงไฟฟ้าต่อไปตามแผน

ทั้งนี้ ยังมีเรื่องของการเปลี่ยนระบบจากเดิมที่ให้ส่วนกลาง เอกชนแต่ละรายยื่นจำนวนเมกะวัตต์ที่ต้องการเข้าไป แต่ปัจจุบันได้กระจายไปตาม อบจ. รวมถึงเทศบาลแต่ละแห่งแบ่งให้กับเอกชนเอง ขณะนี้จึงอยู่ระหว่างการร่าง TOR จากนั้นจะเปิดให้เอกชนเข้าไปบิดดิ้ง ซึ่งน่าจะเป็นโอกาสการเติบโตของโรงไฟฟ้าขยะ

ในส่วนของบริษัททีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงจากขยะ 5 โรง ในปีนี้จะขยายเพิ่มเป็น 8 โรง จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้รวมทั้งหมด 440 เมกะวัตต์ โดยโรงในไตรมาส 2 นี้จะเริ่มเดินเครื่องการผลิตโรงที่ 6 จากนั้นไตรมาส 3 จะเป็นการผลิตโรงที่ 7 และไตรมาส 3-4 จะเดินเครื่องการผลิตโรงที่ 8 จนครบ ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทมีรายได้นับตั้งแต่ปี 2560-2562 รวมทั้งสิ้นประมาณ 12,000-14,000 ล้านบาท

“การเติบโตของพลังงานไทยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เรามองจากจุดที่ลบไปยังจุดที่บวกกล่าวคือ โรงงานไฟฟ้าที่สร้างจากก๊าซธรรมชาติ อาทิ ถ่านหิน ไปเป็นพลังงานไฟฟ้า ก็คือจุดบวก ไปเป็นจุดบวก ต่อมาถ้าพลังงานจากลมและแสงแดด ไปเป็นพลังงานไฟฟ้า คือการเริ่มจากศูนย์ไปยังจุดบวก แต่ที่เรามอง เรามองจากลบ คือ ขยะ มลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ไปเป็นพลังงานไฟฟ้าที่เป็นจุดบวก ดังนั้น การที่มุ่งเน้นผลิตไฟฟ้าจากมลพิษทางขยะเพื่อต้องการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ และพยายามเปลี่ยนทัศนียภาพของประเทศให้ดีขึ้น”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42703
Location: NECTEC

PostPosted: 10/07/2018 6:35 pm    Post subject: Reply with quote

ปิดขายซองไฮสปีด 3 สนามบิน เผย 31 บ.ไทย-เทศตบเท้าซื้อซองล้นหลาม
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 9 กรกฎาคม 2561 17:35
ปรับปรุง: 9 กรกฎาคม 2561 18:13

เอกชนไทย-เทศสนใจซื้อซองรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รวม 31 ราย โดยนนี้ (9 ก.ค.) วันสุดท้ายเข้าซื้อถึง 8 ราย ลุ้น 12 พ.ย.จะยื่นข้อเสนอชิงดำกันกี่กลุ่ม

รายงานข่าวการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แจ้งว่า วันนี้ (9 ก.ค. 61) วันสุดท้ายในการขายเอกสารการคัดเลือกเอกชน Request for Proposal (RFP) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงินกว่า 2 แสนล้านบาท ปรากฏว่ามีเอกชนซื้อเอกสารเพิ่มอีก 8 ราย ซึ่งจากที่เปิดขายซองตั้งแต่วันที่ 18 มิ.ย. - 9 ก.ค. 2561 รวม 3 สัปดาห์ มีเอกชนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศซื้อซองรวมจำนวน 31 ราย ประกอบด้วย

1. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) 2. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย) 3. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) 4. บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) 5. บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (ประเทศไทย) 6. ITOCHU Corporation (ประเทศญี่ปุ่น) 7. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด (ประเทศจีน) 8. บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)

9. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทย 10. บริษัท ฟูจิตะ คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น) 11. China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) 12. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) 13. บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) 14. บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)

15. CHINA RAILWAY GROUP LIMITED (สาธารณรัฐประชาชนจีน) 16. China Communications Construction Company Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) 17. China Resources (Holdings) Company Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) 18. CITIC Group Corporation (สาธารณรัฐประชาชนจีน) 19. Korea-Thai High-speed Railroad Consortium Inc. (ประเทศไทย) 20. บริษัท เทอดดำริ จำกัด (ประเทศไทย)

21. Salini Impregio S.p.A. (ประเทศอิตาลี) 22. บริษัท ฮิตาชิ เอเซีย (ประเทศไทย) จำกัด (ประเทศไทย)23. TRANSDEV GROUP (ประเทศฝรั่งเศส) 24. SNCF INTERNATIONAL (ประเทศฝรั่งเศส) 25. Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport & Urban Development (ประเทศญี่ปุ่น) 26. บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) 27. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)

28. บจก.แอล เอ็ม ที สโตน (ประเทศไทย) 29. WANNASSER INTERNATIONAL GREEN HUB BERHAD (ประเทศมาเลเซีย) 30. บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด (สาธารณรัฐประชาชนจีน) 31. MRCB Builders SDN. BHD. (ประเทศมาเลเซีย)

ภายหลังจากการขายเอกสารเสร็จสิ้นแล้ว จะจัดให้มีการประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจ จำนวน 2 ครั้ง ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2561 ณ สโมสรรถไฟชั้น 2 การรถไฟแห่งประเทศไทย เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ หลังจากนั้นจะนำผู้ยื่นข้อเสนอไปดูสถานที่ก่อสร้างของโครงการ (Site Visit) ในวันอังคารที่ 24 กรกฎาคม 2561 และ วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม 2561 โดยเข้าดูพื้นที่ของโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ มักกะสัน สถานีสุวรรณภูมิ และสถานีรายทาง, โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต สถานีกลางบางซื่อ โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และเขตทางรถไฟปัจจุบันตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ จากสถานีดอนเมืองไปตามเส้นทางรถไฟสายตะวันออก ผ่านสถานีมักกะสัน สถานีฉะเชิงเทรา สถานีพัทยา และสิ้นสุดที่บริเวณสถานีบ้านฉาง

ทั้งนี้จะเปิดให้มีการส่งข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ หรือคำถามเกี่ยวกับเอกสารการคัดเลือกเอกชน และให้มีการตรวจสอบข้อมูลหรือรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ระหว่างวันที่ 10 กรกฎาคม - 9 ตุลาคม 2561 ณ ห้องประชุมฝ่ายโครงการพิเศษและก่องสร้างการรถไฟฯ ในเวลาราชการ

สำหรับกำหนดการรับซองข้อเสนอจะมีขึ้นในวันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09.00-15.00 น. โดยผู้ยื่นข้อเสนอต้องยื่นหลักประกันซองพร้อมกับซองข้อเสนอ มูลค่า 2,000 ล้านบาท และต้องชำระค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอให้แก่ ร.ฟ.ท.เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท ที่สำนักงานโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ มักกะสัน และผู้ที่ยื่นเสนอผ่านการประเมินข้อเสนอจะต้องวางหลักประกันสัญญาที่ออกโดยธนาคารให้กับการรถไฟฯ ในวันที่เข้าทำสัญญาร่วมทุนเป็นมูลค่า 4,500 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนของเอกชนคู่สัญญา
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44517
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/07/2018 6:42 am    Post subject: Reply with quote

‘สมคิด’เร่งประมูลระบบราง 13โครงการ‘7.5แสนล้าน’
กรุงเทพธุรกิจ 12 ก.ค. 61
นโยบายเศรษฐกิจ

Click on the image for full size
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

สมคิด ขีดเส้นคมนาคมเข็นเมกะโปรเจคระบบรางเปิดประมูลปีนี้ 7.5 แสนล้าน อัดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ หวัง รฟท.เป็นพระเอกของการลงทุนปีนี้ สั่งการบ้านเร่งคลอดรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ - หัวหิน

พร้อมศึกษาพัฒนาต่อถึงสุราษฎร์ธานีหนุนการท่องเที่ยว ขณะที่ทางคู่ 9 โครงการทยอยเปิดประมูล ต.ค.61

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางไปติดตามความคืบหน้าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคม โดยต้องการให้ทุกหน่วยงานเร่งเปิดประมูล เพื่อให้การลงทุนภาครัฐมีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปีนี้

นายสมคิด กล่าวว่า สั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม เร่งผลักดันโครงการเข้าสู่ขั้นตอนการประมูลทั้งรถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะเป็นพระเอกของการลงทุนในปีนี้ เพราะมีหลายโครงการที่จะประมูล และไม่ต้องการให้แต่ละโครงการล่าช้าจึงสั่งการให้ รฟท.เร่งผลักดันรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน โดยทีโออาร์จะออกในไม่ช้าและให้ รฟท.ศึกษาขยายเส้นทางถึงสุราษฎร์ธานี เพื่อเสริมศักยภาพไทยเป็นฮับกลุ่ม CLMVT จากการเชื่อมโยงชายฝั่ง โดยรถไฟความเร็วสูงส่วนต่อขยายสุราษฎร์ฯ ให้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในปีนี้ และประมูลปี 2562

นอกจากนี้ สั่งการให้ รฟท.เร่งเปิดประมูลรถไฟทางคู่รวม 9 เส้นทาง และศึกษาความเหมาะสมการพัฒนารถไฟทางคู่ไปสุราษฎร์ฯ เพื่อเสริมการท่องเที่ยว รวมทั้งให้เร่งศึกษาเส้นทางรถไฟในภูมิภาคเพื่อเชื่อมเมืองรอง โดยบรรจุแผนพัฒนาในแผนลงทุน 2562 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว แก้ปัญหาการกระจุกตัวของนักท่องเที่ยว รวมทั้งกระจายเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเมืองรอง

นายสมคิด ยังกล่าวอีกว่า ต้องการให้ทุกหน่วยงานในกระทรวงคมนาคม พัฒนาโครงการเสริมโครงการไทยแลนด์ริเวียร่า ไม่ว่าจะเป็นกรมเจ้าท่า ให้พิจารณาเพิ่มความถี่ของการเดินเรือในเส้นทางหัวหิน เส้นทางสมุย ให้เพียงพอต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว ขณะเดียวกันทางบก ขอให้กรมทางหลวงชนบท (ทช.) เร่งศึกษาเส้นทางสายสุขุมวิท พัฒนาถนนเลียบชายฝั่ง สนับสนุนการเดินทาง

เร่งทยอยเปิดประมูลไตรมาส 3

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้รับนโยบายของนายสมคิด โดยในเดือน ส.ค.–ก.ย.นี้ มีหลายโครงการของคมนาคมเสนอ ครม.พิจารณา โดยโครงการที่ชัดเจนมากที่สุด คือ รถไฟทางคู่ 9 เส้นทาง ซึ่งเส้นทางช่วงเด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ จะเสนอ ครม.ในเดือน ก.ค.นี้ ส่วนอีก 8 เส้นทางกำลังปรับข้อมูลและจะเสนอ ครม.ในเดือน ก.ย.-ต.ค.นี้

ขณะเดียวกัน ยังมีโครงการรถไฟฟ้าที่จะทยอยเปิดประมูล เช่น รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน – วงแหวนกาญจนาฯ รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงตลิ่งชัน – ศูนย์วัฒนธรรม จะเสนอ ครม.ในเดือน ต.ค.-พ.ย.นี้ รวมถึงโครงการรถไฟรางเบา จังหวัดภูเก็ตจะเปิดประมูลได้ในปีนี้

ส่วนท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 และโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟท่าเรือแหลมฉบัง และสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) ลาดกระบังที่เตรียมเปิดประมูล

รถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ - หัวหิน เสนอคณะกรรมการพีพีพีพิจารณาแล้ว และได้ส่งกลับให้ รฟท.เพิ่มข้อมูล โดยเส้นทางนี้มีระยะทางใกล้เคียงกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แต่มีแม่เหล็กสำคัญ คือ การท่องเที่ยว และถ้าจะให้เกิดประโยชน์สูงสุดก็ต้องศึกษาเส้นทางให้ลึกลงไปในแหล่งท่องเที่ยวภาคใต้เพิ่มเติม

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่า รฟท.กล่าวว่า รฟท.ศึกษารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ–หัวหินเสร็จแล้ว ระยะทาง 230 – 240 กิโลเมตร (กม.) หากจะพัฒนาไปถึงสุราษฎร์ฯ คาดว่าจะมีเส้นทางยาวกว่า 600 กม.ซึ่งยังไม่เริ่มศึกษา แต่จะเดินนำร่องประมูลเส้นทางกรุงเทพฯ–หัวหิน ภายในปีนี้ก่อน ส่วนรถไฟทางคู่ประเมินว่าช่วงขอนแก่น-หนองคาย จะเป็นโครงการต่อไปที่เสนอ ครม. ส่วนภาพรวมโครงการรถไฟทางคู่ทั้งหมดจะเริ่มเปิดประมูลในเดือน ต.ค.นี้

เร่ง 13 โครงการลงทุน 7.5แสนล้าน

รายงานข่าว ระบุว่า โครงการที่นายสมคิด สั่งการให้คมนาคมเร่งเปิดประมูลภายในปีนี้ รวม 13 โครงการ เม็ดเงินลงทุน 7.5 แสนล้านบาท ประกอบด้วย โครงการรถไฟทางคู่ 9 เส้นทาง แบ่งเป็นการพัฒนาเส้นทางเดิม 7 เส้นทาง คือ
1.ช่วงปากน้ำโพ – เด่นชัย ระยะทาง 285 กม. วงเงินลงทุน 59,399 ล้านบาท
2.ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กม. วงเงิน 36,683 ล้านบาท
3.ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 169 กม. วงเงิน 25,842 ล้านบาท
4.ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี 168 กม. วงเงิน 23,080 ล้านบาท
5.ช่วงสุราษฎร์ธานี-สงขลา ระยะทาง 324 กม. วงเงิน 59,399 ล้านบาท
6.ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กม. วงเงิน 7,864 ล้านบาท
7.ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ 189 กม. วงเงิน 57,992 ล้านบาท

รวมทั้งมีรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง คือ
1.ช่วงเด่นชัย - เชียงราย – เชียงของ 326 กม. วงเงิน 71,696 ล้านบาท
2. ช่วงบ้านไผ่ - มุกดาหาร – นครพนม 355 กม. วงเงิน 54,684 ล้านบาท และ
รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ–หัวหิน วงเงิน 94,673 ล้านบาท

ขณะที่โครงการรถไฟฟ้ามี 2 เส้นทางที่ต้องเร่งประมูล คือ
สายสีส้มตะวันตก ช่วงตลิ่งชัน – ศูนย์วัฒนธรรม วงเงิน 85,200 ล้านบาท
รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน – วงแหวนกาญจนาฯ วงเงิน 131,172 ล้านบาท และ
มอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่–กาญจนบุรี 96 กม.วงเงิน 49,120 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 274, 275, 276 ... 545, 546, 547  Next
Page 275 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©