Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179968
ทั้งหมด:13491200
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 78, 79, 80 ... 155, 156, 157  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/07/2018 11:00 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
แก้ปัญหาเดี้ยงซ้ำซากบีบ BTS เปลี่ยนใช้คลื่น 900
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 2 July 2018 - 07:30 น.


เปลี่ยนสัญญาณบีทีเอส'เวิร์ก' คค.ช่วยรับมือจันทร์โกลาหล
อาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม 2561 เวลา 13.17 น.

ประเมินผลการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส หลังเปลี่ยนอุปกรณ์และปรับช่องสัญญาณเวิร์ก ไม่พบปัญหาขัดข้อง เดินรถวันนี้ราบรื่น ศูนย์ปลอดภัยคมนาคมเตรียมพร้อมรับมือเต็มที่เช้าวันจันทร์นี้ ให้รถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที-รถเมล์ขสมก.ช่วยรับคนหากระบบเจ๊ง คนโกลาหล



นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม (คค.) ในฐานะโฆษก คค. และผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัย คค. เปิดเผยว่า ตามที่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์ปรับช่องสัญญาณบนขบวนรถแล้วเสร็จ และได้เปิดใช้ช่องสัญญาณควบคุมการเดินรถใหม่ เริ่มตั้งแต่เช้าวันเสาร์ที่ 30 มิ.ย. ที่ผ่านมา ทางบีทีเอสได้รายงานศูนย์ปลอดภัยคมนาคมให้ทราบว่า ผลการเดินรถในช่วงเช้าโดยเฉพาะตั้งแต่เวลา 11.00 น. เป็นต้นมา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่บีทีเอสบริการด้วยความถี่สูงสุดของตารางเวลาการเดินรถวันเสาร์-อาทิตย์ โดยสายสุขุมวิทมีขบวนรถบริการ 20 ขบวน ความถี่ 4.30 นาที และ สายสีลมมีขบวนรถบริการ 11 ขบวน ความถี่ 5.40 นาที ผลการเดินรถเป็นไปตามปกติ ไม่พบข้อขัดข้องใดๆ ที่ส่งผลให้การความล่าช้า

นายสราวุธ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ได้มีการประสานงานกับ กสทช และทีโอที ในการปรับกำลังส่งของคลื่นให้เป็นปกติ จากการเพิ่มกำลังส่งในพื้นที่รอบนอกเวลาประมาณ 14:30 น.  และเปิดเพิ่มครบทุกพื้นที่ในเวลา 19:00 น. ครบทั้ง 3 ช่องสัญญาณ เพื่อดูผลกระทบ พบว่าการเดินรถยังคงเป็นปกติ ไม่เกิดความล่าช้า



นายสราวุธ  กล่าวอีกว่า  เพื่อเพิ่มความมั่นใจ บีทีเอสได้ทดสอบการเดินรถเต็มระบบในช่วงเวลากลางคืนหลังการปิดให้บริการตั้งเเต่เวลา 01.00 - 05.00 น. โดยใช้ความถี่สูงสุดเหมือนวันทำการปกติ และให้บริการต่อเนื่องตามตารางเวลาเดินรถวันเสาร์-อาทิตย์ โดยสายสุขุมวิทมีขบวนรถบริการ 20 ขบวน ความถี่ 4.30 นาทีและ สายสีลมมีขบวนรถบริการ 11 ขบวน ความถี่ 5.40 นาที จนมาถึงปัจจุบันเวลา 14.00 น. วันที่ 1 ก.ค. ยังไม่พบปัญหาขัดข้องใดๆ จากการเปลี่ยนช่องสัญญาณที่ส่งผลให้เกิดการล่าช้า   ทางบีทีเอสยังคงเพื่อติดตามผลต่อเนื่องไปจนถึงเวลา 18:00 น. ในวันนี้ และหากมีเหตุการณ์ไม่ปกติใดๆ จะประสานงาน กสทช และทีโอที เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันต่อไป

นายสราวุธ  กล่าวย้ำว่า  กระทรวงคมนาคม พร้อมช่วยสนับสนุนบีทีเอสหากพบว่ายังมีปัญหาขัดข้องในระหว่างการปรับปรุงระบบสัญญาณ  เพื่ออำนวยความสะดวกรองรับการเดินทางของประชาชนในเช้าวันจันทร์ ที่ 2 ก.ค" นี้  ด้วยการประสานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เตรียมพร้อมให้บริการเดินรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที( MRT ) ในเส้นทางที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสเพื่อเป็นการแบ่งเบาผู้โดยสารและเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้แก่ประชาชนอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งประชาชนสามารถเปลี่ยนมาใช้บริการรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีได้ตามสถานีที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส 3 แห่ง ได้แก่ 
        ๏ สถานี MRT สุขุมวิท เชื่อมต่อกับสถานี BTS อโศก
        ๏ สถานี MRT สีลม เชื่อมต่อกับสถานี BTS ศาลาแดง
        ๏ สถานี MRT สวนจตุจักร เชื่อมต่อกับสถานี BTS หมอชิต
        นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถเลือกใช้บริการรถไฟฟ้า MRT เพื่อเดินทางเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธาณะอื่นๆ ได้ ดังนี้
        ๏ สถานี MRT เพชรบุรี เชื่อมต่อกับสถานี แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มักกะสัน และท่าเรืออโศก
        ๏ สถานี MRT หัวลำโพง เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟหัวลำโพง
        ๏ สถานี MRT บางซื่อ เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟบางซื่อ
        ทั้งนี้ รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00 - 24.00 น. โดยมีจำนวนรถไฟฟ้าวิ่งให้บริการสูงสุด 19 ขบวน และในชั่วโมงเร่งด่วนเวลา 06.00–09.00 น. และ 16.30-19.30 น. จะมีความถี่ในการให้บริการไม่เกิน 5 นาทีต่อขบวน  นอกจากนี้กระทรวงคมนาคม ยังประสานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. ระดมรถเมล์ไว้บริการในเส้นทางของบีทีเอสและรฟม.ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/07/2018 12:56 pm    Post subject: Reply with quote

BTS ฉลุยหลังเปลี่ยนอุปกรณ์อาณัติสัญญาณ
เดลินิวส์ จันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2561 เวลา 11.26 น.

กสทช.นำทีม “BTS ทีโอที ดีแทค” ตรวจสอบการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ระบุ BTS สอบผ่าน หลังเปลี่ยนอุปกรณ์และขยับความถี่ออกจากคลื่นของทีโอที

วันนี้ (2 ก.ค.) เวลา 05.50 น. ที่สถานีรถไฟฟ้าอารีย์ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ร่วมกับ กทม.  บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ตรวจการให้บริการรถไฟฟ้า บีทีเอส สายสีเขียว ก่อนประชาชนใช้บริการในชั่วโมงเร่งด่วนเช้าวันจันทร์

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่รถไฟฟ้า บีทีเอส ได้มีการแก้ไขปัญหาระบบอาณัติสัญญาณขัดข้องตามแนวทางที่ได้ประชุมหารือร่วมกัน ด้วยการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้กับระบบอาณัติสัญญาณ และได้รับความร่วมมือในการปิดเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่คลื่นความถี่ 2300 เมกะเฮิร์ตซ จากทีโอที บริเวณสถานีใกล้เคียงตามแนวทางเดินรถไฟฟ้าไปกว่า 70 สถานี รวมถึงได้มีการขยับช่องสัญญาณความถี่จากเดิมไปใช้ช่วงความถี่ 2480-2495 เมกะเฮิร์ตซ เพื่อให้ห่างจากคลื่น 2300 เมกะเฮิร์ตซ ของทีโอที



นายฐากร กล่าวว่า สำหรับผลการตรวจสอบการให้บริการของรถไฟฟ้า บีทีเอส สายสีเขียว พบว่า บีทีเอสอบผ่าน ประชาชนสามารถใช้งานเพื่อโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ตามปกติ โดยบีทีเอสเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณของโมโตโรล่ามาเป็นม็อกซ่า และทีโอทีได้เปิดใช้งานคลื่น 2300 เมกะเฮิร์ตซ เป็นปกติแล้วในครั้งนี้ผลปรากฏว่าไม่มีเหตุขัดข้องแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม สำหรับความเกี่ยวเนื่องไปถึงระบบรถไฟความเร็วสูงที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ในเรื่องของระบบป้องกันการรบกวนคลื่น 850 เมกะเฮิร์ตซ ที่กสทช.จะเปิดประมูลในเดือนส.ค.2561 นี้นั้น กสทช.จะมีข้อกำหนดออกมาว่า ผู้ที่ชนะการประมูลจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนของค่าใช้จ่ายสำหรับระบบการป้องกันการรบกวนคลื่นความถี่ทั้งหมด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการใช้งาน

สำหรับการตรวจสอบแบ่งเป็น 2 ช่องทาง คือ 1.ตรวจสอบการให้บริการของรถไฟฟ้า บีทีเอส สายสีเขียว โดยเริ่มใช้บริการรถไฟฟ้า บีทีเอส จากสถานีอารีย์ ในเวลา 06.00 น. สิ้นสุดที่สถานีพร้อมพงษ์ และขากลับเริ่มจากสถานี พร้อมพงษ์ สิ้นสุดที่สถานีรถไฟฟ้าอารีย์ 2. สำนักงาน กสทช. ได้มีการส่งรถตรวจสอบสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุและการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ ออกวิ่งตรวจสอบตามสถานีรถไฟฟ้า บีทีเอส สายสีเขียว คู่ขนานกันไป.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/07/2018 12:31 pm    Post subject: Reply with quote

"บีทีเอส" ประกาศเยียวยาผู้โดยสารพฤหัสบดีนี้ แจงรถกระตุกกำลังปรับระบบ
โดย: MGR Online

เผยแพร่: วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 10:47


รถไฟฟ้าบีทีเอสแจง ช่วงนี้รถอาจจะกระตุกในบางครั้ง เพราะกำลังปรับระบบให้เสถียร ส่วนมาตรการเยียวยาผู้โดยสารจากเหตุขัดข้อง จะประกาศให้ทราบภายในวันพฤหัสบดีที่ 5 ก.ค. นี้

วันนี้ (3 ก.ค.) บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส ชี้แจงความคืบหน้าการให้ความดูแลผู้โดยสารบีทีเอส ว่า สืบเนื่องจากเหตุการณ์ไม่สะดวกในการให้บริการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งในขณะนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการเปลี่ยนอุปกรณ์สื่อสารในการรับส่งสัญญาณการเดินรถ และติดตั้งตัวกรองสัญญาณใหม่ในขบวนรถไฟฟ้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ระบบการเดินรถสามารถให้บริการได้ตามปกติตั้งแต่วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยในระหว่างที่อยู่ในช่วงการเปิดใช้ระบบส่งสัญญาณการเดินรถใหม่นี้ อาจพบการเกิดขัดข้องหรือขบวนรถอาจมีอาการกระชากกระตุกได้เป็นบางครั้ง เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการปรับระบบ เพื่อให้การเดินรถมีความเสถียรและลดการกระชากกระตุก

สำหรับกรณีเรื่องมาตรการเยียวยาดังที่ปรากฎเป็นข่าวในสื่อสิ่งพิมพ์ นั้น บริษัทฯ ขอเรียนให้ทราบว่าเป็นสิ่งที่บริษัทฯ ได้ดำเนินการเป็นการเฉพาะหน้าให้แก่ผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบ ณ ขณะนั้นเท่านั้น จากการเดินรถที่ขัดข้อง บริษัทฯ มิได้นิ่งนอนใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และได้ดำเนินการหาวิธี ที่จะดูแลและรับผิดชอบต่อกรณีที่เกิดขึ้นซึ่งอยู่ในระหว่างการหารือกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยที่การดูแลให้ความช่วยเหลือผู้โดยสารที่ได้รับความไม่สะดวกนั้น บริษัทฯ จะได้ประกาศให้ทราบ ภายในวันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม ศกนี้ รวมทั้งบรรทัดฐานในการดูแลผู้โดยสารในกรณีเกิดความไม่สะดวกในการให้บริการเดินรถของระบบขนส่งมวลชน

จึงเรียนมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน และ บริษัทฯ ขออภัยในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และจะพยายามลดผลกระทบ พร้อมกับการดูแลผู้โดยสารให้ดีที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ หากท่านต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส กรุณาติดต่อศูนย์ฮอตไลน์ บีทีเอส 02 617 600 หรือ www.twitter.com/bts_skytrain แอพพลิเคชั่นไลน์ @btsskytrain
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/07/2018 5:15 am    Post subject: Reply with quote

บีทีเอสเยียวยารถไฟฟ้าขัดข้อง "คืนเงิน-เพิ่มรอบนั่งฟรี"
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 05 ก.ค. 2561 เวลา 15:00 น.

บีทีเอสควัก 30 ล้านเยียวยารถไฟฟ้าขัดข้อง ยันไม่ใช่ความผิด อย่าให้ต้องมารับทุกเรื่อง พร้อมตัดพ้อ ถ้ารู้ว่ามีปัญหาจะพับโครงการตั้งแต่แรก ตอกกลับพวกวิจารณ์ใช้อารมณ์-แต่ไม่มีความรู้ทางธุรกิจ

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด(มหาชน) หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสเปิดเผยว่าจากกรณีรถไฟฟ้าขัดข้องในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นบีทีเอสได้ออกมาตรการเยียวยาผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบผ่านการชดเชยค่าเดินทางซึ่งคาดว่าจะมียอดชดเชยราว 20-30 ล้านบาท สำหรับมาตีการชดเชยแบ่งเป็น ผู้โดยสารประเภทตั๋วเที่ยวเดียวหรือซื้อแบบหยอดเหรียญที่เปลี่ยนใจไม่เดินทางช่วงเวลาดังกล่าวและนำบัตรติดตัวไปด้วย สามารถมาใช้บริการได้ภายใน 14 วัน และหากไม่ประสงค์จะเดินทางสามารถขอเงินคืนได้ภายในวันที่ 31 ก.ค. 2561

อย่างไรก็ตามส่วนบัตรประเภทเติมเงินสำหรับบุคคลทั่วไป นักเรียน นักศึกษา และผู้สูงอายุ สามารถแจ้งขอสิทธิ์รับเที่ยวเดินทางพิเศษ 3 เที่ยว และบัตรประเภทเดินทาง 30 วัน สำหรับบุคคลทั่วไป นักเรียน นักศึกษา ที่มีเที่ยวเดินทางเหลือในช่วงล่าช้าสามารถขอเที่ยวพิเศษ 6 เที่ยว โดยผู้โดยสารสามารถนำบัตรโดยสารติดต่อขอเติมเที่ยวพิเศษที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารทุกสถานีตั้งแต่วันที่ 7-31 ก.ค.นี้ และใช้เดินทางได้ภายใน 45 วันนับจากวันเติมเที่ยวพิเศษ ทั้งนี้ในอนาคตหากเกิดกรณีความล่าช้ามากกว่า 30 นาทีนั้นบีทีเอสจะประกาศแจ้งเตือนให้ผู้โดยสารรับทราบ เพื่อนำตั๋วในเที่ยวเดินทางดังกล่าวกลับมารับการชดเชยได้ทุกกรณี แต่ทั้งนี้ต้องออกช่องสแกนตั๋วที่จัดไว้ให้ในแต่ละสถานีเพื่อบันทึกข้อมูลการเดินทาง

นายคีรี กล่าวยืนยันว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่ความผิดของบีทีเอสและไม่ใช่ความผิดของฝ่ายใดเลย เป็นเรื่องปกติที่ระบบขนส่งซึ่งรองรับผู้โดยสารวันละเกือบ 1 ล้านคนย่อมต้องมีข้อผิดพลาด ดังนั้นปัญหาในครั้งนี้จึงเป็นเรื่องรุนแรงมากซึ่งตนก็พยายามทำดีที่สุดแล้ว แต่จะให้บีทีเอสมารับผิดชอบทุกเรื่องคงไม่ได้ ที่ผ่านมาเจอวิกฤติทางการเงินหลายด้านกว่าจะมีกำไรเหมือนทุกวันนี้ อีกทั้งการลงทุนที่ผ่านมาบีทีเอสทำเองหมดทั้งลงทุนก่อสร้างและเดินรถ แตกต่างจากปัจจุบันที่รัฐบาลสนับสนุนค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่ ทว่าเอกชนที่บริหารก็ยังมีผลประกอบการไม่คุ้มทุน ดังนั้นจึงอยากขอความเห็นใจผู้ที่ลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายแรกซึ่งสามารถแก้ปัญหารถติดมนกรุงเทพมาได้เกือบ 20 ปีจนเมืองพัฒนาไปได้มากตามโครงข่ายรถไฟฟ้า ทั้งนี้หากวันนั้นรู้ว่าจะมีปัญหาเยอะแบบนี้ คงตัดสินใจไม่ลงทุนรถไฟฟ้าบีทีเอส ทั้งนี้สิ่งที่ตนได้ชี้แจงนั้นไม่มีการใช้อารมณ์อธิบายแต่อย่างใดเป็นไปตามเหตุผลแท้จริงทั้งสิ้น

"กรณีโซเชียลมีการต่อว่าอย่างรุนแรงเรื่องการยกเลิกสัมปทานบีทีเอสนั้นเข้าใจว่าผู้เผยแพร่คงทำด้วยอารมณ์และความไม่รู้เรื่องของหลักการสัญญาทางธุรกิจ ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานอยู่แล้วแต่บางคนอาจไม่ทราบหรือถึงขั้นพูดไปโดยไม่เคยทำสัญญา" นายคีรีกล่าว

นายคีรีกล่าวอีกว่าในอนาคตบีทีเอสจะเดินหน้าปรับปรุงระบบการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ให้ผู้โดยสารเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น โดยระบบสื่อสารในวันที่ 6 ก.ค.นี้บีทีเอสจะมีการนำเข้าระบบกรองสัญญาณจากต่างประเทศ ซึ่งจะมาถึงตอนเช้าก่อนติดตั้งที่ขบวนรถก่อนทดสอบการใช้งานและมั่นใจว่าช่วงเสาร์-อาทิตย์นี้ระบบการสื่อสารต่าง ๆ จะมีความเสถียรมากที่สุด นอกจากนี้บริษัทเตรียมเปิดช่องทางใหม่ในการแจ้งข้อมูลการให้บริการโดยจะมี Application ในชื่อ "BTS SkyTrain" ให้ Download ทั้งใน Apple App Store และ Google Play Store ซึ่งบริษัทฯ จัดทำขึ้นโดยมีจุดเด่นที่สุดอยู่ที่ การแจ้งเหตุการณ์รถไฟฟ้าขัดข้อง และการแจ้งความหนาแน่นของแต่ละสถานีแบบ Real Time เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับทราบข้อมูลก่อนใช้บริการ โดยคาดว่า Application นี้จะพร้อมใช้งานในวันที่ 1 ส.ค.นี้ สำหรับการแก้ปัญหาความแออัดภายในสองปีนับจากนี้นั้นจะเริ่มทยอยรับมอบรถไฟฟ้าเพิ่มเพื่อวิ่งในเส้นทางสายสีเขียว คาดว่าจะเพิ่มปริมาณรองรับผู้โดยสารได้ 10%
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/07/2018 10:51 am    Post subject: Reply with quote

'บีทีเอส' เปลี่ยนระบบ 'อาณัติสัญญาณ' รับอนาคต
รายงานพิเศษ
ออนไลน์เมื่อ 8 กรกฎาคม 2561
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,378 วันที่ 28-30 มิถุนายน 2561 หน้า 12




เกิดเหตุการณ์อลหม่านกันทั่วกรุงเทพฯ สำหรับเหตุขัดข้องของกรณีให้บริการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส เมื่อช่วงเช้าและช่วงเย็นวันจันทร์ที่ 25 มิ.ย. ที่ผ่านมา อีกทั้งเมื่อล่วงเข้าสู่วันที่ 26 มิ.ย. เหตุการณ์ดังกล่าวยังเกิดขึ้นอีก จนส่งผลให้หลายคนเสียการนัดหมายสำคัญ หรือ เข้าทำงานสาย จนสร้างความหงุดหงิดให้กับคนอีกจำนวนมาก

โดยปมปัญหาที่เป็นชนวนการเกิดเหตุครั้งนี้ พบว่า ระบบอาณัติสัญญาณของขบวนรถขัดข้องในสายสุขุมวิท ตั้งแต่สถานีหมอชิตถึงสถานีชิดลม และสายสีลม ตั้งสถานีสนามกีฬาแห่งชาติถึงสถานีราชดำริ ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการเดินรถ ทำให้ปริมาณผู้ใช้บริการตามสถานีต่าง ๆ สะสมเพิ่มจำนวนจนเต็มสถานี และยังล้นทะลักลงมายังพื้นด้านล่างสถานี กว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติเป็นเวลาเกือบค่อนวัน เท่านั้นยังไม่พอ ช่วงค่ำยังเกิดเหตุแบบเดียวกันอีก จนถึงราว 21.00 น. ที่จะคลี่คลาย





เช่นเดียวกับช่วงเช้าวันที่ 26 มิ.ย. ที่ผ่านมา กรณีอาฟเตอร์ช็อกเหตุขัดข้องต่อเนื่อง นับเป็นการเกิดเหตุการณ์เกี่ยวกับให้บริการระบบขนส่งมวลชนหลักของคนกรุงเทพฯ อย่าง รถไฟฟ้าบีทีเอส หลังจากที่เมื่อช่วงก่อนนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว คราวเปลี่ยนระบบจากซีเมนส์มาเป็นระบบบอมบาร์ดิเอร์

ทั้งนี้ นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ชี้แจงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ว่า จากปัญหาการขัดข้องของระบบบีทีเอส ยอมรับว่าเป็นเดือนที่มีการขัดข้องมากที่สุดในช่วงหลายปี ไม่ใช่เฉพาะในครั้งนี้เท่านั้น ยังพบอีกว่า มีเหตุขัดข้องให้บริการของบีทีเอสในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เกิดขึ้นมาแล้วมากถึง 23 ครั้ง




สุรพงษ์ เลาหะอัญญา
กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)



โดยเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนสัญญาณวิทยุในระบบอาณัติสัญญาณเป็น Wireless คลื่น 2400 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อรองรับการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยจะติดตั้งทุกสถานีรวมถึงขบวนรถไฟฟ้า 52 ขบวน โดยติดตั้งแล้วเสร็จในวันที่ 29 มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าหลังจากปรับเปลี่ยนระบบแล้ว ปัญหาขัดข้องจะน้อยลงและมีความเสถียรมากยิ่งขึ้น ส่วนการดูแลผู้โดยสาร ยินดีชดเชย แต่ขอทบทวนวิธีการชดเชยก่อน โดยต้องหารือกับทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) อีกครั้ง





เรียกบีทีเอสแจงข้อเท็จจริง
ปมปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ต้องเรียกผู้บริหารของบีทีเอสเข้าชี้แจงข้อเท็จจริงในช่วงบ่ายวันที่ 25 มิ.ย. ทันที เบื้องต้นนั้น ผู้บริหารบีทีเอสอ้างอยู่ระหว่างปรับเปลี่ยนระบบ ปรับเปลี่ยนระบบวิทยุสื่อสาร เพื่อให้มีประสิทธิภาพในอนาคต ทั้งนี้ คงต้องมาจับตาดูกันว่า หลังจากที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานหารือแก้ปัญหาการเดินรถระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสแล้ว การแก้ไขปัญหาจะออกมาแนวทางใดบ้าง

โดยผลการหารือสรุปได้ว่า 1.ผู้บริหารบีทีเอสได้รายงานการแก้ปัญหาเหตุขัดข้องการเดินรถช่วงเดือน มิ.ย. 2561 ซึ่งเกิดจากระบบอาณัติสัญญาณ ปัจจุบัน อยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ เพื่อแก้ปัญหา มีกำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 29 มิ.ย. 2561 เพื่อให้ได้ระบบอาณัติสัญญาณที่มีความเสถียรยิ่งขึ้น โดยพบว่า คลื่น 2370MHz เข้ามากระทบ ซึ่งคลื่นใหม่นี้ เป็นช่วงปลายของคลื่น 2400MHz





2.ในระหว่างแก้ไขปัญหาขัดข้อง ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสจะมีการแจ้งข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องทันการณ์ไปยังผู้ใช้บริการ พร้อมทั้งดูแลอำนวยความสะดวกประชาชนที่ติดค้างอยู่ที่สถานีและให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดหารถโดยสารเพิ่มเติมในเส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชน ตามแผนเผชิญเหตุของระบบขนส่งสาธารณะทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล , 3.ให้กรมการขนส่งทางบกกำกับดูแลประชาชนผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบระหว่างดำเนินการ ด้วยการเลือกใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะอื่น ๆ ไม่ให้มีการถูกเอารัดเอาเปรียบคิดค่าโดยสารเกินจริง

ทั้งนี้ ปมพิรุธดังกล่าวเป็นชนวนให้หลายคนสงสัยว่า เหตุใดรถไฟฟ้าใต้ดินถึงไม่เกิดเหตุถี่ยิบแบบบีทีเอส และบริษัท บอมบาร์ดิเอร์ฯ เจ้าของระบบอาณัติสัญญาณควรที่จะออกมาแจงข้อเท็จจริงหรือไม่ ประการสำคัญการลงนามสัญญากับบีทีเอสได้กำหนดการใช้คลื่นดังกล่าวนี้ไว้ด้วยหรือไม่ เพราะหากไปเอาคลื่นอะไรฟรี ๆ มาใช้ก็ได้ แล้วจะอ้างมีมาตรฐานให้บริการสูงสุดได้อย่างไร เพราะนี่เป็นเรื่องของความปลอดภัยของประชาชนผู้ใช้บริการ เสียเงินค่าโดยสารแสนแพง ยังมาเสียเวลาอีกโดยใช่เหตุจริง ๆ



……………….
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/07/2018 11:12 am    Post subject: Reply with quote

วิบากกรรม “เจ้าพ่อบีทีเอส” บทเรียนครั้งใหญ่กับอนาคตไฮสปีด
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 12 July 2018 - 10:34 น.
สัมภาษณ์

หลังถูกถล่มหนักกรณีรถไฟฟ้าบีทีเอสระบบอาณัติสัญญาณล่มบ่อยครั้งต่อเนื่องหลายวัน นับเป็นครั้งแรกที่ “คีรี กาญจนพาสน์” บิ๊ก บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) ออกมาตอบคำถามสังคมสไตล์คนพูดตรง ๆ ถึงปมปัญหาและการชดเชยให้ผู้ใช้บริการ

Q : ระบบอาณัติสัญญาณที่ขัดข้องบ่อย

เป็นปัญหาที่ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่สิ่งที่เกิดขึ้นมองว่าไม่ควรเป็นความผิดของทุกฝ่าย บีทีเอสในฐานะผู้ให้บริการเข้าใจความลำบากและผลกระทบกับผู้โดยสาร ข่าวที่ผ่านมามีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ทีโอที ดีแทค กสทช. ต่างมีหน้าที่ของตัวเอง ทีโอทีมีคลื่นของเขาก็ต้องนำมาใช้ ส่วนดีแทคไปร่วมทุนกับทีโอทีเพื่อใช้สัญญาณก็ต้องใช้สิทธิของเขาให้ได้มากที่สุด

ส่วน กสทช.ในฐานะผู้กำกับก็ถือว่าทำได้ตามหน้าที่แล้วตลอด 19 ปี บีทีเอสไม่เคยเกิดปัญหาแบบนี้มาก่อน และไม่คาดคิดจะรุนแรงขนาดนี้ เพราะปกติคลื่นสัญญาณ 2400 เมกะเฮิรตซ์ที่ใช้ไม่เคยมีปัญหา และยังเป็นคลื่นที่ในต่างประเทศใช้อยู่แพร่หลาย แต่เมื่อปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ผมก็ต้องขออภัยจริง ๆ ส่วนในโซเชียลที่ต่อว่ากันมารุนแรง ผมก็เข้าใจ เพราะทุกคนอยากถึงจุดหมายปลายทางให้เร็วที่สุด

บางคนกล่าวโทษบีทีเอสว่า ทำไมขี้เหนียวเหลือเกิน อยากจะได้กำไรมาก ๆ ใช่หรือไม่ ในฐานะบริษัทมหาชนนั่นถือเป็นภารกิจ แต่ผมไม่เคยคิดว่าจะเอาผู้ถือหุ้นก่อน เพื่อจะให้มีกำไรมากขึ้นอย่างเดียว อันนี้ไม่ใช่สันดานผม บ่นว่ารถแน่น ผมก็ซื้อรถอีก 46 ขบวน ไปรับรถใหม่ที่ตุรกีด้วยตัวเองว่าดีอย่างที่พูดไหม ซึ่งก็ทำได้และผมพอใจ กำลังทยอยส่งมาเรื่อย ๆ จะช่วยแก้ปัญหาคอขวดสถานีสะพานตากสิน ซึ่งยังไม่เสร็จก็จะนำมาเสริมในสายสีลมไปก่อน จะช่วยได้ในระยะหนึ่ง เพราะปัญหาความล่าช้าไม่ใช่แค่ระบบยังมีคอขวดบริเวณสถานีสะพานตากสินด้วย

Q : ความคืบหน้าสถานีตากสิน



กำลังแก้ไขร่วมกับ กทม. ซึ่งแบบเสร็จแล้ว กำลังทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) เมื่อได้รับอนุมัติจะก่อสร้างทันที ใช้เวลา 2 ปี จริง ๆ การออกแบบและทำ EIA ควรเริ่มตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว ไม่ใช่เพิ่งเริ่มวันนี้ ยังไงบีทีเอสกับ กทม.ต้องตกลงกันให้ได้ ไม่ใช่เรื่องเงินแน่นอนที่จะมาหยุดโครงการนี้ แต่ให้ยึดความถูกต้องใครจะแบ่งลงทุนส่วนไหนต้องมาคุยกัน ผมอยากให้ชาวกรุงเทพฯรู้ว่าผมไม่ได้ขี้เหนียวหรือคิดจะลดต้นทุนอย่างเดียว

Q : มาตรการชดเชยผู้โดยสาร

มีมาตรการทำมาต่อเนื่องเพื่อไม่ให้ผู้โดยสารจ่ายเงินไปแล้วได้รับความเสียหาย แต่คราวนี้รุนแรงเพราะคลื่นสัญญาณรบกวนติดต่อกัน 3 วัน เราทำตามมาตรการที่มีและก็เพิ่มให้ คนที่หยอดเหรียญก็จะคืนเงินให้ ที่ให้ครั้งนี้ถือว่าเกินกว่ามาตรฐาน และใช้ใจมาทำกัน มีค่าใช้จ่าย 10-30 ล้านบาทเราก็ยินดี แต่ขอร้องอย่าให้บริษัทรับทุกอย่าง ผมไม่ได้บ่ายเบี่ยงเพราะเรื่องเกิดที่บีทีเอส เรารับผิดชอบแน่คือทำให้ดีที่สุด แต่บอกว่าบริษัทต้องรับผิดชอบ ต้องจ่ายอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะคุณมีกำไรเหลือเกิน ผมขอให้ความถูกต้องและให้ความเข้าใจกันบ้าง การลงทุนระบบรถไฟฟ้าเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เป็นการลงทุนที่ไม่ใช่ว่าจะคุ้มทุน ไม่อยากจะพูดเรื่องอดีตเราลงทุนเอง 100% กทม.ไม่ช่วยสักบาท เป็นเพราะผมเองรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถ้าผมรู้ก็คงไม่ลงทุน

บีทีเอสมีกำไรทุกวันนี้เพราะไม่มีหนี้จากการเข้ากระบวนการฟื้นฟู แปลงหนี้เป็นทุน ทำให้หนี้ 5 หมื่นล้านถูกตัดออกไป ทำให้ภาระดอกเบี้ยและเงินต้นของการลงทุนนี้ไม่มีและเกิดกำไร ขอให้เข้าใจหัวอกของคนที่ลงทุนในระบบขนส่งมวลชนสำหรับประเทศบ้าง แต่หลังโครงการนี้ อย่างรถไฟฟ้าใต้ดิน รัฐลงทุนงานโยธาให้ เอกชนลงทุนระบบเดินรถอย่างเดียว ผมไม่ติดใจที่คนอยากให้รัฐยกเลิกสัมปทานบีทีเอส เพราะหลายคนไม่เคยเห็นสัญญาที่ทำกับกทม.จึงไม่รู้ว่ามีกำหนดอะไรไว้บ้าง ถ้าเคยเห็นเคยอ่านอาจจะเข้าใจมากขึ้นว่าอะไรเป็นอะไร แต่บางคนก็ต่อว่ากันรุนแรงเกินไป สงสัยว่ามีวาระซ่อนเร้นอะไรหรือไม่ แต่หลังเราปรับปรุงระบบเสร็จแล้ว ทุกอย่างจะดีขึ้น

Q : กสทช.ให้ใช้คลื่น800-900 MHz

เข้าใจว่าเป็นคลื่นความถี่สำหรับรถไฟความเร็วสูง ถ้าให้รถไฟฟ้าใช้ได้ก็ยินดี แต่การเปลี่ยนต้องใช้เวลา ต้องหารือกับบอมบาร์ดิเอร์ เราต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเพราะการพัฒนาระบบสื่อสารจะไปอีกเรื่อย ๆ การที่จะให้เรามีคลื่นความถี่เอง แม้จะมีค่าใช้จ่ายก็จะพิจารณาอย่างจริงจัง

Q : ประเมินคู่แข่งประมูลไฮสปีดอีอีซี

ไม่อยากเรียกว่าคู่แข่ง ผมจะดีใจถ้ามีคนร่วมประมูลมากๆ เพราะแสดงให้เห็นว่าโครงการของประเทศชาติยังมีคนให้ความสนใจ เราเองก็มีความเข้าใจเรื่องของระบบรถ การคิดต้นทุนและจัดซื้อจัดจ้าง เพราะก็ซื้อมาเยอะแล้ว ซึ่งโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานยิ่งทำได้เร็วก็ยิ่งทำให้ประเทศชาติเจริญมากขึ้นเท่านั้น

Q : สุดท้ายจะเหลือแค่ซีพีกับบีทีเอส

ถ้าไม่มีเหตุที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น เราจะเข้าร่วมประมูล ส่วนซีพีผมไม่ไปประเมินเขาได้ แต่รู้ว่าเขามีความตั้งใจจริงที่จะเข้าร่วมประมูล ซึ่งการเข้าประมูลครั้งนี้เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี

Q : ได้เจรจากับซีพีหรือไม่

คุยกันตลอด ผมกับเจ้าสัว (ธนินท์ เจียรวนนท์) กินข้าวคุยกันบ่อย ๆ คุยทุกเรื่องทั้งการเมือง รถไฟความเร็วสูง ส่วนจะจับมือกันไหม ขอดูความจำเป็นกับประโยชน์ที่จะได้รับก่อน จริง ๆ ผมจับมือได้กับทุกคน ตอนนี้ไม่มีใครเหมาทุกโครงการคนเดียวต้องเป็นกลุ่ม ส่วนพันธมิตรต่างชาติมี 2 ประเทศที่กำลังคุยกันอยู่ ทั้งเอเชียและยุโรป ซึ่งชำนาญการบริหารที่ดิน ก่อสร้าง และผลิตรถ

Q : ความเป็นไปได้จะร่วมกับซีพี

เคยคุยกัน จริง ๆ ทุก ๆ กลุ่มเขาก็คุยกันหมด แต่ยังไม่ถึงเวลาที่จะประกาศใครจะร่วมกับใคร เพราะมีรายละเอียดต้องคุยกันอีกมาก ถ้าผมชนะซีพีก็อาจจะมีโครงการที่ผมจะไปร่วม ถ้าเขาชนะก็อาจจะมีอะไรบางอย่างที่ผมทำให้เขาได้ อย่าลืมว่าโครงการระดับประเทศไม่มีใครใจแคบทำคนเดียว ต้องกระจาย

Q : โปรเจ็กต์อื่นจะพัฒนารับอีอีซี

ต้องดูก่อนว่าธุรกิจของเรามีอะไรบ้าง ที่แน่ ๆ ไม่ทำนิคมอุตสาหกรรม ส่วนอสังหาฯจะให้ทำมิกซ์ยูสเราไม่มีที่ดินเยอะเหมือนซีพี

Q : ช่วย กทม.ชำระหนี้สายสีเขียว

กทม.เป็นเจ้าของ เราเป็นผู้รับสัมปทาน อะไรก็แล้วแต่ที่ กทม.จะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น ก็ต้องเอามาพิจารณาอย่างสะพานตากสินถามว่าใครจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย 1,000 กว่าล้าน ก็ต้องเจรจา เราพร้อมจะลงทุนให้ก่อน ผมจะไม่ให้เรื่องเงินมาเป็นอุปสรรค ไม่ว่าจะเป็นผู้ว่าฯคนไหน เราพร้อมร่วมมือจะทำให้รถไฟฟ้าสายสีนี้ดีที่สุด เมื่อกทม.มีปัญหา จะไม่ช่วยได้อย่างไร แต่จะต้องเข้าไปแบบถูกต้อง ตอนนี้ กทม.มีหนี้กว่าแสนล้าน เพราะรัฐไม่ยอมรับภาระให้ ต้องเจรจากัน ซึ่งกทม.มีสัมปทาน หากจะขยายสัมปทานออกไปอีกจะทำยังไง ก็ต้องมาคุยกัน

Q : คิดค่าโดยสารสูงสุด 65 บาท

เป็นนโยบายของผู้ว่าฯกทม.(พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง) เป็นสิ่งที่ดีจะให้ประชาชนใช้บริการรถไฟฟ้าราคาถูก แต่ต้องคิดถึงการปฏิบัติจริงซึ่งผลศึกษาระบุค่าโดยสารสูงสุดอยู่ที่ 144 บาท แต่ให้เก็บ 65 บาทส่วนต่างที่เหลือใครจะรับภาระไป ถ้าจัดสรรได้ก็ถือเป็นสิ่งดี ๆ ให้คน กทม. แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็ทำไม่ได้ ตอนนี้กำลังเจรจาร่วมกัน

ถ้าจะให้เราแบกรับต้นทุนทั้งหมดอีก ก็ขอกลับไปดูก่อน แต่ก็สงสัยทำไมระบบอื่นรัฐถึงสนับสนุน ตอนนี้เครดิตเรายังดี อาจจะออกให้ก่อนได้ อยากให้จบก่อน ธ.ค.นี้ที่จะเปิดบริการแบริ่ง-สมุทรปราการ ถ้าไม่จบบีทีเอสก็ได้ค่าจ้างเดินรถทุกปีอยู่แล้ว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/07/2018 4:51 pm    Post subject: Reply with quote

บอมบาร์ดิเอร์ส่ง จม.ถึง BTS ยืนยันไม่ได้ลักลอบใช้งานความถี่ลงไปกินย่าน 2300 MHz อย่างที่มีการกล่าวหา
เผยแพร่: 17 ก.ค. 2561 11:50 ปรับปรุง: 17 ก.ค. 2561 12:45 โดย: MGR Online

MGR Online - บ.บอมบาร์ดิเอร์ร่อนจดหมายด่วนถึงผู้บริหารบีทีเอส ระบุอุปกรณ์ CBTC ที่ใช้นำเข้าและได้รับอนุญาตจาก กสทช.ถูกต้องตามระเบียบทุกอย่าง ทำงานบนคลื่นความถี่ 2400 MHz ตามมาตรฐานสากล ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับคลื่นในย่าน 2300 MHz อย่างที่มีการลือก่อนหน้า

จากกรณีปัญหาความขัดข้องในการเดินรถของรถไฟฟ้าบีทีเอส ของบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2561 เป็นต้นมา โดยสาเหตุมาจากปัญหาระบบอาณัติสัญญาณขัดข้อง ทำให้ขบวนรถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำ โดยผู้ที่รับผิดชอบระบบอาณัติสัญญาณของบีทีเอสนั้นก็คือ บริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ซิกแนล (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ประเทศแคนาดา

สำหรับ "ระบบอาณัติสัญญาณ" คือระบบจัดความปลอดภัยในการเดินรถไฟ เป็นระบบกลไกสัญญาณไฟ หรือระบบคอมพิวเตอร์ในการเดินขบวนรถไฟแจ้งให้พนักงานขับรถทราบสภาพเส้นทาง เพื่อให้การเดินรถดำเนินไปได้อย่างปลอดภัย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันบีทีเอสใช้ระบบอาณัติสัญญาณของบอมบาร์ดิเอร์ ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกโดยใช้คลื่นความถี่ 2400 MHz ซึ่งเป็นคลื่นความถี่สาธารณะในการสื่อสาร

ก่อนหน้านี้มีข่าวลือกันว่าระบบอาณัติสัญญาณของบีทีเอสในคลื่น 2400 MHz ถูกรบกวนเนื่องมาจากการเปิดให้บริการคลื่น 2300 MHz ของบริษัท ดีแทค ซึ่งเพิ่งทำข้อตกลงสัญญาให้บริการ 4G LTE-TDD คลื่น 2300 MHz กับ บมจ.ทีโอที โดยหลังจากการประชุมหารือและดีแทคได้ทดลองปิดสัญญาณดีแทคและทีโอทีบนคลื่นความถี่ 2300 MHz ในวันที่ 29 มิถุนายน 2561 แต่ปรากฏว่าระบบอาณัติสัญญาณของรถไฟฟ้าบีทีเอสก็ยังคงขัดข้อง ทำให้เกิดข่าวลือสะพัดไปอีกว่าทางบอมบาร์ดิเอร์มีการลักลอบใช้อุปกรณ์ที่ครอบคลุมลงไปยังย่านความถี่ 2300 MHz ด้วยหรือไม่

Click on the image for full size

ล่าสุดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2561 นายเกรกอรี เอนจาลเบิร์ท รองประธาน ระบบควบคุมรางในเอเชียแปซิฟิก และกรรมการผู้จัดการ บริษัทบอมบาดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ประเทศไทย ได้ส่งจดหมายชี้แจงถึงนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บีทีเอส โดยระบุว่า ในระบบอาณัติสัญญาณของบีทีเอส ทาง บ.บอมบาร์ดิเอร์ นำเทคโนโลยี Communication Based Train Control (CBTC) CITYFLO 450 ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกับที่ใช้ในระบบทั่วโลกมาใช้ ขณะที่อุปกรณ์การสื่อสารซึ่งทำงานบนคลื่นความถี่ 2400 MHz ก็นำเข้าโดยผ่านศุลกากร ทั้งยังได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และดำเนินการภายใต้ระเบียบอย่างถูกต้อง

"บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ขอยืนยันว่าทางบริษัทไม่เคยใช้อุปกรณ์วิทยุสื่อสารเพื่อการดำเนินการนอกเหนือจากขอบเขตที่ได้อนุญาตดังที่มีการกล่าวหา ซึ่งก็รวมถึงการที่มีการกล่าวว่ามีการใช้งานในช่วงคลื่นความถี่ 2310 ถึง 2370 MHz ด้วย" รายละเอียดในจดหมายระบุ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/07/2018 10:27 am    Post subject: Reply with quote

‘บีทีเอส’ ยังเดี้ยงต่อเนื่อง กทม.เชิญผู้บริหาร-กสทช.ถกเครียด เล็งจัดสรรคลื่นใหม่เดินรถ

วันที่ 18 July 2018 - 19:16 น.

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ที่ศาลาว่าการ กทม.นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานประชุมหารือความเป็นไปได้ในการจัดสรรคลื่นความถี่เฉพาะสำหรับรถไฟฟ้าระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (รถไฟฟ้าบีทีเอส) โดยมี นายสมพงษ์ เวียงแก้ว รองปลัด กทม. ผู้แทนสำนักการจราจรและขนส่ง สำนักงานกฎหมายและคดี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที)


นายสกลธี เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้หารือแนวทางการแก้ไขปัญหาเหตุขัดข้องในการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสอย่างยั่งยืน แม้ว่าที่ผ่านมา บีทีเอสซีจะดำเนินการปรับเปลี่ยนและติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณใหม่ พร้อมทั้งติดตั้งตัวกรองคลื่น (band part filter) เพิ่มเติมแล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน แต่ในช่วง 1-2 สัปดาห์ ยังพบว่าเกิดเหตุขัดข้องในการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส บีทีเอสซีชี้แจงว่า ได้ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณ และตัวกรองคลื่นบนขบวนรถไฟฟ้าครบทุกขบวนแล้ว ซึ่งในส่วนของการติดตั้งตัวกรองคลื่นความถี่นั้น ต้องติดตั้งที่ตัวสถานีด้วย ขณะนี้ได้ดำเนินการติดตั้งแล้ว 2 สถานี ได้แก่ สถานีพร้อมพงศ์ และสถานีพระโขนง ส่วนที่เหลือจะติดตั้งแล้วเสร็จกลางเดือนตุลาคมนี้ คาดว่าเหตุการณ์ขัดข้องดังกล่าวจะน้อยลง

“แต่เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาในกรณีที่ติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวแล้วยังเกิดปัญหารถไฟฟ้าขัดข้องอีก จึงได้มอบหมายให้บีทีเอสซี หารือร่วมกับ กสทช.เพื่อจัดสรรคลื่นความถี่เฉพาะสำหรับรถไฟฟ้า เบื้องต้น กสทช.แจ้งว่าพร้อมจัดสรรคลื่นความถี่ให้ หากบีทีเอสแจ้งความประสงค์ขอใช้คลื่นเฉพาะ โดยสามารถให้ใช้งานที่ช่วงคลื่นความถี่ 800-900 เมกะเฮิรตซ์ หรือช่วงคลื่นความถี่ 4,000-5,000 เมกะเฮิรตซ์ ได้ ขณะที่บีทีเอสจะต้องกลับไปพิจารณาความพร้อมในการดำเนินการ หากต้องมีการปรับเปลี่ยนคลื่นความถี่ใหม่ ซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนและติดตั้งอุปกรณ์รองรับคลื่นความถี่ใหม่ทั้งหมด อีกทั้งต้องดูความพร้อมเรื่องค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนและติดตั้งอุปกรณ์ ระยะเวลาในการดำเนินการ รวมถึงผลกระทบในระหว่างการเปลี่ยนอุปกรณ์ด้วย ซึ่งอาจต้องมีการหยุดเดินรถหรือไม่” นายสกลธี กล่าวและว่า จะมีการประชุมกันอีกครั้งปลายเดือนสิงหาคมนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/07/2018 12:42 pm    Post subject: Reply with quote

BTS แจ้งการเดินรถในสายสุขุมวิทได้รับการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว
อาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม 2561 เวลา 16.14 น.
รายงานสภาพจราจรเมืองกรุงและพื้นที่ใกล้เคียงชั่วโมงเร่งด่วน ช่วงเย็น วันที่ 22 ก.ค. 61 เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนในการสัญจรไปยังสถานที่ต่างๆ


16.53 น. BTS แจ้งการเดินรถในสายสุขุมวิทได้รับการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว การเดินรถกลับสู่สภาวะปกติ

16.53 น. ถนนพระรามสอง ขาเข้า จากแม่กลอง เข้ากทม. รถติด เพราะมีการก่อสร้าง ตรงคลองสุนัขหอน

16.40 น. BTS แจ้งขบวนรถขัดข้องที่สถานีแบริ่ง ฝั่งมุ่งหน้าสถานีปลายทางหมอชิต กำลังทำการเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร ขบวนรถจะล่าช้า 10 นาที ขออภัยในความไม่สะดวก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/07/2018 1:29 pm    Post subject: Reply with quote

รื้อค่าตั๋วบีทีเอสแลกหนี้”สายสีเขียว” ธ.ค.นี้ถูก-แพงเก็บตามระยะทาง”ใต้ดิน/ด่วน”ขึ้นด้วย
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 24 กรกฎาคม 2561 - 11:15 น.

เปิดแน่ธ.ค.นี้ - รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย "แบริ่ง-สมุทรปราการ"ที่สร้างเสร็จ อยู่ระหว่างบีทีเอสติดตั้งทดสอบระบบอาณัติสัญญาณ และรถขบวนใหม่จะมาถึง ส.ค.นี้ แม้ กทม.จะยังไม่มีข้อยุติเรื่องรับโอนหนี้มูลค่ากว่า 1.1 แสนล้าน แต่ก็ยืนยันต้นธ.ค.นี้จะเปิดบริการแน่นอน พร้อมเก็บค่าโดยสารใหม่ตามระยะทาง สูงสุดไม่เกิน 65 บาท
กทม.บีบ BTS เจรจารับหนี้ 1.1 แสนล้าน พ่วงเก็บค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาท สายสีเขียวส่วนต่อขยายให้จบก่อนเปิดหวูดสายแบริ่ง-สมุทรปราการ ด้าน “อัศวิน” ลั่นคุยไม่จบ ส่งโครงการคืนสู่อ้อมอก รฟม. ดึงเข้าร่วมทุน PPP ด้าน “คีรี กาญจนพาสน์” แอ่นอกช่วยรับหนี้ก้อนโตแน่ แต่ค่าโดยสารต้องรื้อใหม่ทั้งพวง เริ่มเก็บ ธ.ค.นี้ ดีเดย์ ส.ค.นำรถขบวนใหม่ ซื้อจากซีเมนส์ วิ่งทดสอบระบบ คนกรุงจ๊ากค่าครองชีพพุ่ง รถไฟฟ้าใต้ดินเริ่มเก็บค่าโดยสารใหม่ 3 ต.ค.นี้ ส่วนทางด่วนจ่อปรับขึ้นอีก 5 บาท


พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กทม.อยู่ระหว่างเตรียมรายละเอียดการรับโอนทรัพย์และหนี้สินของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต วงเงิน 111,175.20 ล้านบาท จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ให้ กทม.เป็นผู้รับผิดชอบเดินรถให้ต่อเนื่องกันทั้งโครงข่ายให้สภา กทม.พิจารณา จะเร่งให้ได้ข้อสรุปก่อนเปิดบริการช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ 13 กม.ภายในเดือน ธ.ค.นี้

บีบ BTS รับหนี้แสนล้าน

“แนวทาง กทม.จะไม่รับภาระหนี้ทั้งหมด เพื่อจะไม่ให้เป็นภาระผูกพันงบประมาณประจำปีของ กทม.ในระยะยาว เพราะเป็นหนี้ก้อนใหญ่กว่า 1 แสนล้านบาท แต่จะให้เอกชนมารับสัมปทานโครงการและรับภาระหนี้ทั้งหมดไป อยู่ระหว่างเจรจากับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ผู้รับสัมปทานรายเดิม มีหลายโมเดล รวมถึงโครงสร้างอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้งโครงข่าย ที่จะต้องปรับใหม่ คิดตามระยะทาง มีอัตราสูงสุด 65 บาท ซึ่งบีทีเอสยังไม่รับปากค่าโดยสารจะเก็บตามนี้หรือไม่”

พล.ต.อ.อัศวินกล่าวว่า หากไม่สามารถตกลงกับบีทีเอสได้ก่อนที่ส่วนต่อขยายแบริ่ง-สมุทรปราการ เปิดให้บริการในเดือน ธ.ค.นี้ จะคืนโครงการกลับไปให้ รฟม. รวมถึงการที่ กทม.ขอให้กระทรวงการคลังเป็นผู้กู้เงินให้ เพื่อหาแหล่งเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกแทนนั้น ก็จะไปบอกยกเลิกทันทีเช่นกัน

นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าฯ กทม. ในฐานะกำกับดูแลสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กล่าวว่า ขณะนี้ส่วนต่อขยายแบริ่ง-สมุทรปราการ เริ่มทดสอบระบบเดินรถแล้ว ส่วนภาระการรับโอนหนี้สินและทรัพย์สินนั้น กำลังจะเสนอร่างข้อบัญญัติกู้เงินจากกระทรวงการคลังให้สภา กทม.พิจารณาในวันที่ 25 ก.ค.นี้ โดยยังยืนยันตามนโยบายผู้ว่าฯ กทม. คือ การรับโอนหนี้และทรัพย์สินทั้งหมดจะไม่ให้ กทม.ต้องเสียงบประมาณแม้แต่บาทเดียว จึงเปิดประมูลให้เอกชนมารับภาระตรงนี้แทน

BTS ตั้งเป้า 4 ปีกำไรพุ่งไม่ต่ำกว่า 25%
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 23 กรกฎาคม 2561 - 20:20
ปรับปรุง: 24 กรกฎาคม 2561 - 10:59




บีทีเอส กรุ๊ป การันตีกำไรโตทุกปีไม่ต่ำกว่า 25% ตลอด 4 ปีนี้ เหตุเปิดเดินรถส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือและใต้ รวมทั้งรับรู้กำไรตามสัดส่วนการถือหุ้นจากยู ซิตี้ เตรียมออกวอร์แรนต์ มูลค่ารวม 1.7 หมื่นล้านเพื่อใช้ลงทุนโครงการรถไฟฟ้าใหม่

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (BTS) เปิดเผยว่า บริษัทมีความมั่นใจมีกำไรจากการดำเนินงานใน 4 ปีนี้ไม่ต่ำกว่า 25% เนื่องจากเดือนธันวาคมนี้รถไฟฟ้าบีทีเอสจะให้บริการเดินรถส่วนต่อขยายสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) และในปี 2562 จะให้บริการเดินรถส่วนต่อขยายสายสีเขียว (หมอชิต-คูคต) และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ตามที่บริษัทได้ถือหุ้น บมจ.ยู ซิตี้ (U) 39% นั้น คาดว่าผลการดำเนินงานยู ซิตี้ในปี 2561 จะมีกำไรอย่างแน่นอน

ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลืองนั้น ขณะนี้ผู้รับเหมาก่อสร้างได้เข้าไปดำเนินการก่อสร้างในพื้นที่แล้วตั้งแต่ปลายเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยจะใช้เวลาในการก่อสร้างแล้วเสร็จในเวลา 39 เดือน ซึ่งเมื่อรวมเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายแล้ว บีทีเอสมีเส้นทางการเดินรถรวมระยะทางทั้งสิ้น 133.5 กิโลเมตร จะมีผู้โดยสารเข้ามาในระบบเพิ่มขึ้น 2 ล้านเที่ยวคน/วัน จากปัจจุบันบริษัทมีเส้นทางเดินรถระยะทาง 38.1 กิโลเมตร ที่มีผู้โดยสาร 241 ล้านเที่ยวคนในงวดปี 2560/2561

นายคีรีกล่าวต่อไปว่า บริษัทยืนยันที่จะเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าและการขนส่งระบบรางที่จะเปิดประมูลในระยะเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา) ที่ได้มีการขายซองทีโออาร์แล้ว ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดทีโออาร์อย่างรอบคอบ เนื่องจากมูลค่าการลงทุนสูงถึง 2 แสนกว่าล้านบาท

รวมทั้งสนใจประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่คาดว่าจะเปิดประมูลในต้นปีหน้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา (วัชรพล-พระโขนง-สะพานพระราม 9-ท่าพระ) โครงการรถไฟขนาดเบา (LRT) บางนา-สุวรรณภูมิ เป็นต้น

ดังนั้น บริษัทจึงตัดสินใจออกใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน (วอร์แรนต์) ครั้งที่ 4 ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมโดยไม่คิดมูลค่าในอัตรา 9 หุ้นสามัญเดิมต่อ 1 วอร์แรนต์ โดยมีอัตราการใช้สิทธิ 10.50 บาท/หุ้น เพื่อระดมเงินทุนราว 1.7 หมื่นล้านบาทเพื่อนำมาใช้ในการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าที่ดำเนินการอยู่และโครงการที่จะเปิดประมูลในอนาคต

นายคีรีกล่าวต่อไปว่า บีทีเอสยินดีที่จะให้บัตรแมงมุมเข้ามาใช้ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ แต่ทั้งนี้บัตรแรบบิทก็ต้องสามารถใช้ในระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วงและรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ด้วยเช่นกัน

“ในช่วงวันหยุดยาว 27-30 ก.ค.นี้ ทางรถไฟฟ้าบีทีเอสจะมีการตรวจสอบระบบและติดตั้งอุปกรณ์การกรองสัญญาใหม่เพื่อแก้ไขลดปัญหาการเดินรถกระตุกน้อยลง”

สำหรับผลการดำเนินงวดปี 2560/2561 บริษัทมีรายได้รวม 1.74 หมื่นล้านบาท และกำไรสุทธิ 4.41 พันล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 78, 79, 80 ... 155, 156, 157  Next
Page 79 of 157

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©