Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181442
ทั้งหมด:13492680
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 275, 276, 277 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 12/07/2018 1:23 pm    Post subject: Reply with quote

สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ประท้วงรถไฟความไวสูงที่กินที่มักกะสันไป 150 ไร่ - แต่ยังไม่รู้ตัวว่ากำลังเอาคอพาดเขียง หรือ คอเข้าบ่วง หรือ ขาแหย่ตะรางซะแล้ว
https://www.facebook.com/979019048774800/photos/a.986530474690324.1073741828.979019048774800/2052934581383236/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/07/2018 9:41 pm    Post subject: Reply with quote

สั่งคมนาคมเร่งประมูลเมกะโปรเจค 7.5 แสนล้าน
NationTV22 Published on Jul 12, 2018
รองนายกรัฐมนตรี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมติดตามงานกระทรวงคมนาคมวานนี้ ว่า กระทรวงคมนาคมเป็นแรงสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จึงสั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ เร่งผลักดันโครงการเข้าสู่ขั้นตอนการประมูล โดยเฉพาะโครงการรถไฟ ทั้งรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ โครงการใหญ่ๆต้องไม่ล่าช้า


https://www.youtube.com/watch?v=m9IwFRwmiXI
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/07/2018 8:52 pm    Post subject: Reply with quote

"กระตุกต่อมคิด" พัฒนาระบบคมนาคม ตอน 4 วันที่ 13 กรกฎาคม 2561 ข่าวเที่ยง #NBT2HD
NewsNBT THAILAND Published on Jul 13, 2018

ติดตามกันต่อในเรื่องของการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ ที่ยังคงมีประเด็น ข้อสงสัยกันอยู่ถึงการลงทุนโครงการต่างๆ ที่ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล ซึ่งการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ก็เป็นอีกหนึ่งโครงการ ที่สำคัญมาก ถ้าหากเราอยากจะเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของอาเซียน ไปกระตุกต่อมคิด เรื่องนี้ กับคุณจินตนา ทิพยรัตน์กุล


https://www.youtube.com/watch?v=jBW1t0Dv3A4
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/07/2018 6:01 am    Post subject: Reply with quote

เปิดหวูดเร่งรถไฟเร็วสูง
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 16 ก.ค. 2561 05:30

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาระยะทาง 252.35 กิโลเมตร (กม.) วงเงินรวม 179,000 ล้านบาทว่า ไตรมาส 3 ปีนี้ จะเปิดประมูลเพื่อก่อสร้างโครงการเพิ่มเติมช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. หลังจากก่อนหน้านี้ได้เริ่มต้นก่อสร้างในช่วงกลางดง-ปางอโศกแล้ว ซึ่งโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้ เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่จะเชื่อมการคมนาคม และการขนส่งไปยังลาวและจีน ซึ่งปัจจุบันพบว่าการก่อสร้างโครงการในส่วนของลาว ช่วงลาว-คุนหมิง คืบหน้าไปมากกกว่า 40% แล้ว ในส่วนของไทยกระทรวงจะเร่งเปิดประมูลทั้งหมดภายในปีนี้ เพื่อเริ่มก่อสร้างปลายปีนี้และต้นปีหน้า

ผู้สื่อข่าวรายงานจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ตอนที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ขณะนี้ฝ่ายจีนส่งแบบมาแล้ว คาดว่าจะเปิดประมูลได้เดือน ส.ค.นี้ และเริ่มก่อสร้างได้ พ.ย.61 โดยประเมินวงเงินก่อสร้างราว 5,000 ล้านบาท และนอกจาก รฟท.จะเร่งพัฒนาโครงการในช่วงดังกล่าวแล้ว ปัจจุบันได้กำหนดแผนที่จะเปิดประมูลงานก่อสร้างตอนที่ 3 ต่อจากตอนที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก โดยจะสร้างในส่วนที่เป็นอุโมงค์ทางวิ่งผ่านภูเขาบริเวณลำตะคองก่อน มีระยะทางเริ่มจากสถานีจันทึก-สถานีคลองไผ่ รวม 15-20 กม. วงเงินก่อสร้าง 10,000 ล้านบาท ซึ่งตอนที่ 3 นี้ จีนได้ออกแบบก่อสร้างฉบับสมบูรณ์เสร็จและส่งให้ รฟท.แล้ว.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/07/2018 6:04 am    Post subject: Reply with quote

ประชาชนข้องใจTORรถไฟสามสนามบินประเคนผลประโยชน์ให้รายใหญ่
ไทยโพสต์ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 15:51 น.

ภาคประชาชน-สหภาพรถไฟ ข้องใจ สร้างรถไฟเชื่อม3สนามบิน พ่วงที่ดินรถไฟมักกะสันไปด้วย หวังล่อใจ กลุ่มทุน ซัด พรบ.อีอีซี ใหญ่กว่ากฎหมายแม่หลายฉบับ ไม่เข้าใจเขียนให้สิทธิพิเศษกลุ่มทุน-ต่างชาติ อัด ยกที่ดินให้เช่า 99ปี ขัดรธน.ชัดเจน ร้องภาครัฐแก้ TOR ‘สาวิทย์’ แฉ ขุมของที่ดินรถไฟ หลายหน่วยงานจ้องฮุบ ‘ธีระชัย’ ยกโมเดลเมืองนอก ชี้ ไม่มีชาติไหน ยกสิทธิข้างทางให้ต่างชาติถือครอง

เวลา10.30น. ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย คณะกรรมการตรวจสอบภาคประชาชนกับการทุจริตคอรัปชั่น จัดเสวนา การทุจริตประพฤติมิชอบนโยบายของรัฐในการประมูลรถไฟความเร็วสูง และการจัดสรรที่ดินรถไฟมักกะสัน ผลประโยชน์ชาติประชาชนอยู่ตรงไหน โดยมี นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.)และประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา35 ร่วมเสวนา นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษา35 ดำเนินรายการ

นายเมธา อ่านแถลงการณ์เรียกร้อง ให้รัฐบาลแก้ไข TOR โครงการรถไฟความเร็วสูง มีเนื้อหาว่า การที่รัฐบาลจัดทำ TOR โครงการรถไฟความเร็วสูง สนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง อู่ตะเภา โดยโยงเข้ากับโครงการพัฒนาที่ดินมักกะสันของการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นแผนการที่เอื้ออำนวยประโยชน์แก่กลุ่มทุนขนาดใหญ่ กีดกันนักธุรกิจขนาดย่อม และไม่ทำให้ประเทศชาติและประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด ผู้ที่เหมาะสมจะพัฒนารถไฟความเร็วสูงมากที่สุดคือการรถไฟฯ ควรจัดตั้งเป็นบริษัทลูกสำหรับโครงการนี้ การผนวกสองโครงการใหญ่เข้าด้วยกัน เป็นการกีดกันนักธุรกิจรายย่อย TOR ดังกล่าวอาจเข้าข่ายล๊อคสเปกเอื้อประโยชน์เฉพาะแก่นายทุนระดับชาติ และผิดกฎหมายเนื่องจากฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 164 (1)

รัฐบาลประกาศเองว่าจะมีเลือกตั้งในต้นปีหน้า ดังนั้นจึงควรจะให้รัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้งเป็นผู้ดำเนินการประมูลเรื่องดังกล่าวน่าจะโปร่งใสกว่า เพราะจะสามารถตรวจสอบการทุจริตได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่ปัจจุบันการตรวจสอบแทบจะทำไม่ได้เลย แถมมีข่าวคราวการทุจริตในโครงการต่างๆเกิดขึ้นตลอดเวลา และหาคนรับผิดชอบไม่ได้ ดังนั้นเพื่อประโยชน์สูงสุดและเพื่อความโปร่งใส ภาคประชาชนจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลชะลอการดำเนินการการประมูลดังกล่าวออกไปจนกว่าจะได้รัฐบาลใหม่หลังเลือกตั้ง

นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา2535 กล่าวว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย กำเนิดสมัยรัชกาลที่5 พระองค์หวังให้ที่ดินสองข้างทางเกิดการพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน การเอาที่ดินรัชกาลที่5 ประทานไว้ให้ แล้วมาทำปู้ยี้ปู้ยำ ไม่ละอายบ้างหรือ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯระบุ ผู้ร่วมประมูลจะรู้ผู้ชนะ แพ้ในเดือนพ.ย.นี้ แต่ข้อกำหนดในทีโออาร์ การเชื่อม3สนามบิน สุวรรณภูมิ ดอนเมือง อู่ตะเภา และผนวกการพัฒนาที่ดิน โรงซ่อมบำรุงรักษาในที่ดินการรถไฟย่านมักกะสันไปด้วย รวมทั้งการให้สิทธิในการเช่าที่ดินสองระยะ โดยครั้งแรกให้เช่า50ปี และยังขยายต่อได้อีก 49ปี รวมเป็น99ปี ไม่รู้ว่า รัฐบาลใช้หัวอะไรคิด เมื่อไม่นานมานี้ ผู้บริหารบริษัทขนาดใหญ่บางแห่งที่ยื่นซองประมูล ให้สัมภาษณ์ระบุชัดเลยว่า โครงการพัฒนาที่ดินมักกะสันและการเชื่อม3สนามบิน เป็นโครงการที่ดีกว่าอีอีซี เสียอีก การพัฒนาที่ดินอย่างเดียวไม่เกี่ยวกับการเดินรถสูงถึง 2แสนล้านบาทในสัปดาห์หน้าจะไปยื่นหนังสือต่อพล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ และรมว.คมนาคม และ สตง. ให้ช่วยกันตรวจสอบ ในวันนี้รู้สึกผิดหวังต่อกระบวนการตรวจสอบของรัฐบาล โดยเฉพาะ พล.อ.ประวิตร ที่มีอำนาจในรัฐบาล กลับปล่อยให้บ้านเมืองเป็นเช่นนี้

นายธีรชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ก่อนหน้าเรามีกฎหมายส่งเสริมการลงทุนอยู่แล้ว แปลกใจทำไมไม่นำมาใช้กับอีอีซี แต่กลับเขียนกติกาใหม่เอื้อประโยชน์ โดยเฉพาะการให้ต่างชาติเช่าที่ดินยาวนานถึง99ปี หลายประเทศการทำโครงการลักษณะนี้ ให้การรถไฟเป็นผู้ดำเนินการ หากกลัวการบริหารงานไม่มีประสิทธิภาร ค่อยจ้างเอกชนมาร่วม เท่าที่ดู ทีโออาร์ ปรากฎว่า รถไฟจาก ดอนเมือง สุวรรณภูมิ เชื่อมไปยังอู่ตะเภา ให้เอกชนเป็นคนทำ เอาที่ดินมักกะสันแถมไปให้ เพราะกลัวว่าการทำรถไฟจะขาดทุนหรือไม่ หากเป็นเช่นนี้ คงไม่ถูกต้อง การนำ2โครงการมาแปะด้วยกัน คนที่เข้าร่วมประมูลได้คงมีไม่เกิน5ราย ที่เป็นนายทุนใหญ่ระดับประเทศ ทีโออาร์ดังกล่าวผิดรัฐธรรมนูญชัดเจน นายสมคิด เร่งให้การประมูลจบก่อน พ.ย. เพื่อให้เสร็จก่อนเลือกตั้ง ในช่วงที่ไม่มีสภาฯ ไม่มีฝ่ายค้าน นอกจากนี้ทรัพย์สินรถไฟมีมูลค่ากว่า 4แสนล้านบาท จะไปเร่งในช่วงไม่มีฝ่ายค้านได้อย่างไร และการวิพากษ์วิจารณ์มีข้อจำกัดได้อย่างไร

นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทยกล่าวว่า พรบ.อีอีซี ยกเว้นภาษีเงินได้ ยกเว้นภาษีเครื่องจักร ยกเว้นภาษีแรงงานบางส่วน รวมไปถึงเรื่องที่ดิน หากจะใช้ที่ตรงไหนไม่ต้องไปขอกรมที่ดิน พรบ.ฉบับนี้มีอำนาจเบ็ดเสร็จ ซ้ำยังยกเว้นกฎหมายหลายฉบับ เช่น กฎหมายสิ่งแวดล้อม ผังเมือง แรงงาน ที่ดิน พรบ.อีอีซี ออกมาในช่วงประชาชนกำลังมึนๆ งงๆ รัชกาลที่5 สูญเสียที่ดินฝั่งขวา แม่น้ำโขง พระองค์โทมนัสมาก สุดท้ายก็สู้กัน แต่กฎหมายอีอีซี ไม่ต้องทำศึกสงครามอะไร เราพร้อมยกให้เขาไปเลย ที่ดินย่านมักกะสัน หอมหวานมาก ก่อนหน้าหลายหน่วยงานพยายามจะมาเอาไปทำประโยชน์ แต่สหภาพ และการรถไฟเราไม่ยอม แม้แต่กรมธนารักษ์ที่ต้องการที่ดินดังกล่าว โดยอ้างว่า การรถไฟเป็นหนี้กว่าแสนล้านบาท เหตุที่เป็นหนี้ เนื่องจากการรถไฟเป็นบริการสาธารณะ ห้ามปรับราคาค่าโดยสาร ไม่เคยปรับขึ้นราคาค่าโดยสารมายาวนาน ทำให้เป็นหนี้สะสมพอกพูนมา

ที่ดินการรถไฟย่านมักกะสัน หากเอาไปพัฒนาให้ประชาชน เราไม่ขัดข้อง เข้าใจว่า 149ไร่ในส่วนของโรงซ่อม เขาต้องเอาก่อน ภายใน8ปี ต้องย้ายออกไป แล้วที่เหลือ เขาค่อยผนวกเอาทีหลัง เอาเรื่องที่ดินการรถไฟไปผนวกกับอีอีซี การพัฒนาขนส่งทางรางต้องมองอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่มองเป็นส่วนๆ นอกจากนี้ที่ดินการรถไฟฯ หลายแห่ง ในต่างจังหวัดบางที่มีเอกชนรายใหญ่ ก็นำไปใช้ประโยชน์ โดยแทบจะไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนให้ภาครัฐ ในมิติอีอีซี ยังมีเรื่องน่าสงสัย ที่พูดไม่ได้เตะตัดขาใคร แต่อยากให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ ประชาชน และการรถไฟแห่งประเทศไทย เพราะการรถไฟเป็นของประชาชน การพัฒนาที่ดินมักกะสัน ไม่ขัดขวาง หากทำให้เกิดประโยชน์กับทุกคน รัฐบาลไม่ควรใจแคบต่อการตั้งคำถามจากประชาชน เรามาร่วมกัน ตรวจสอบ วันไหนไปยื่นหนังสือ จะเชิญพี่น้องรัฐวิสาหกิจไปด้วย เพราะหลายที่มีปัญหา เราไม่ได้ขัดขวางต่อการพัฒนาประเทศ ต่อไปคิดว่าจะจัดเวทีที่ใหญ่กว่านี้ เชิญทุกฝ่ายทั้งคนร่วมประมูล คนตรวจสอบ มาร่วมกันเสวนา มาร่วมหารือเพื่อหาทางออกร่วมกัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/07/2018 9:21 am    Post subject: Reply with quote

ส่อง “รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน” หุ้นกลุ่มรับเหมาแค่พระรอง
เผยแพร่: 15 ก.ค. 2561 20:52 ปรับปรุง: 16 ก.ค. 2561 00:41 โดย: MGR Online

ผู้จัดการรายวัน 360 องศา - “นั่นเพราะโครงการรถไฟฟ้าไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน เป็นหนึ่งในโครงการ ที่ได้รับอานิสงส์จาก พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 (EEC) ที่ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 15 พ.ค. ที่ผ่านมา หมายถึงผู้ที่ชนะโครงการดังกล่าวไม่ใช่เพียงดำเนินการให้แล้วเสร็จแค่งานก่อสร้างระบบราง และสถานีเท่านั้น แต่ยังได้สิทธิสัมปทานในการบริหารจัดการรถไฟ และพื้นที่รอบเส้นทางเป็นระยะเวลา 50 ปีด้วย สิ่งนี้เพิ่มแรงดึงดูดให้แก่กลุ่มทุนจากธุรกิจอื่นๆ หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้าให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในโครงการดังกล่าวเป็นอย่างมาก”

การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังเริ่มมีสัญญาณบวกเข้ามาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสัญญาณบวกของภาครัฐ ต่อการเร่งเครื่องเปิดประมูลโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการที่วางเป้าหมายให้แล้วเสร็จก่อนการเลือกตั้งที่จะมาถึงในปีหน้า

เมื่องานประมูลโครงการขนาดใหญ่เริ่มขึ้น ย่อมส่งผลดีต่อหุ้นในกลุ่มบริษัทรับเหมา-ก่อสร้างในตลาดหุ้นไทย ให้น่าจับตามองด้วยเช่นกัน โดยสิ่งที่นักลงทุนต้องติดตามหลังจากนี้ คือ บริษัทใดจะเป็นผู้ชนะประมูลโครงการต่างๆ ที่ทยอยออกมาตั้งแต่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก โครงการทางด่วนดาวคะนอง-กาญจนาภิเษก มอเตอร์เวย์ 2 เส้น รถไฟรางคู่ 9 เส้นทาง และรถไฟฟ้าไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน

แต่คราวนี้โครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่ถูกจับตามากที่สุดอย่าง “โครงการรถไฟฟ้าไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน” หรือโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา ระยะทางรวม 220 กม. มูลค่ารวม 220,000 ล้านบาท ทั้งในแง่ของเงินลงทุนและการก่อสร้างนั้น กลุ่มรับเหมา-ก่อสร้างอาจเป็นแค่พระรองของเรื่องเท่านั้น

นั่นเพราะโครงการรถไฟฟ้าไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน เป็นหนึ่งในโครงการ ที่ได้รับอานิสงส์จาก พ.ร.บ. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 (EEC) ที่ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 15 พ.ค. ที่ผ่านมา หมายถึงผู้ที่ชนะโครงการดังกล่าวไม่ใช่เพียงดำเนินการให้แล้วเสร็จแค่งานก่อสร้างระบบราง และสถานีเท่านั้น แต่ยังได้สิทธิสัมปทานในการบริหารจัดการรถไฟ และพื้นที่รอบเส้นทางเป็นระยะเวลา 50 ปีด้วย

สิ่งนี้เพิ่มแรงดึงดูดให้แก่กลุ่มทุนจากธุรกิจอื่นๆ หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้าให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในโครงการดังกล่าวเป็นอย่างมาก ไม่เพียงเท่านี้ เพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนใน EEC พ.ร.บ. ฉบับพิเศษนี้ยังเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนต่างชาติเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ได้เกิน 51% ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินก็ได้รับอานิสงส์จากเงื่อนไขดังกล่าวไปด้วย เรียกได้ว่าใครชนะประมูลครั้งนี้ก็เปรียบเหมือนเสือนอนกิน..... สบายไปทั้งชาติ ดังนั้น มูลค่าลงทุนแค่ 220,000 ล้านบาท กับผลประโยชน์ที่จะได้รับถือว่าถูก และคุ้มค่าที่สุด

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากนี่คือโครงการที่มีขนาดใหญ่และจำเป็นที่จะต้องใช้ความเชี่ยวชาญในหลายๆด้าน ทำให้หลายกลุ่มธุรกิจไม่คิดจะฉายเดี่ยวเข้าประมูลโครงการเพียงลำพัง เพราะเกรงว่าความเชี่ยวชาญที่มีอยู่อาจไม่เพียงพอต่อการชนะการประมูลโครงการดังกล่าวได้ จึงกลายเป็นที่มาของโมเดลการร่วมทุนแบบ กิจการร่วมค้า (Joint Venture) ระหว่างกลุ่มทุนขนาดใหญ่เกิดขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการคว้าโครงการ

ล่าสุด พบว่าการปิดขายเอกสารคัดเลือกเอกชนเข้าดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) มูลค่าลงทุน 2.2 แสนล้านบาท ไปเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมา ปรากฏว่า มีบริษัทเอกชนทั้งในและต่างประเทศมากถึง 31 รายที่เข้ามาซื้อซอง ได้แก่

1. บมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS)

2. บจ. เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง

3. บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD)

4. บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ)

5. บจ. เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (ไทย)

6. ITOCHU Corporation (ญี่ปุ่น)

7. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด (จีน)

8. บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC)

9. บมจ. ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)

10.บจ. ฟูจิตะ คอร์ปอเรชั่น (ญี่ปุ่น)

11. China Railway Construction Corporation Limited (จีน)

12. บมจ. ช.การช่าง (CK)

13. บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH)

14. บมจ. ทีพีไอ โพลีน (TPIPL)

15. CHINA RAILWAY GROUP LIMITED (จีน)

16. China Communications Construction Company Limited (จีน)

17. China Resources (Holdings) Company Limited (จีน)

18. CITIC Group Corporation (จีน)

19. Korea-Thai High-speed Railroad Consortium Inc. (เกาหลีใต้)

20. บจ. เทอดดำริ

21. Salini Impregio S.p.A. (อิตาลี)

22. บจ. ฮิตาชิ เอเซีย (ประเทศไทย)

23. TRANSDEV GROUP (ฝรั่งเศส)

24. SNCF INTERNATIONAL (ฝรั่งเศส)

25. Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport & Urban Development (ญี่ปุ่น)

26. บมจ. เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง (PLE)

27. บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา (CPN)

28. บจ. แอล เอ็ม ที สโตน (ไทย)

29. WANNASSER INTERNATIONAL GREEN HUB BERHAD (มาเลเซีย)

30. ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด (จีน) และ

31. MRCB Builders SDN. BHD. (มาเลเซีย)

หลังจากนี้ คาดว่าจะเกิดการรวมกลุ่มของกลุ่มทุนใน 31 บริษัทนี้ก่อนทำการยื่นซองข้อเสนอในวันที่ 12 พฤศิจกายน 2561 เพื่อเข้ายื่นซองเสนอราคาแข่งขัน เพราะในเงื่อนไขของ TOR กำหนดอย่างชัดเจนว่าการรวมกลุ่มเข้าประมูลจะทำได้เพียงเฉพาะบริษัทที่เข้าซื้อเอกสารคัดเลือกแล้วเท่านั้น ไม่สามารถดึงกลุ่มทุนที่อยู่นอกเหนือจากนี้เข้ามาร่วมลงทุนได้

จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้พอเห็นรูปร่างการรวมตัวของกลุ่มทุนในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อเข้าแข่งขันประมูลงานได้ในระดับหนึ่ง นั่นคือ การรวมตัวของกลุ่มทุนอย่างบีทีเอส, ซิโน-ไทย, ผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯ และกลุ่ม ปตท. ในนามของ (เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์) กลุ่มถัดมา คือ กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง ที่หลายฝ่ายเชื่อว่าจะร่วมลงทุนกับกลุ่มทุนจากจีนเข้าประมูลแข่งขันในครั้งนี้ ถัดมา คือ กลุ่มอิตาเลียนไทย และ ซิโนไฮโดรฯ จากจีน และกลุ่ม ช.การช่าง ที่จะร่วมมือกับบริษัทในเครืออย่าง บมจ. ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ นอกจากนี้ เชื่อว่าจะเกิดการรวมตัวของกลุ่มทุนอื่นๆ เกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 2-3 กลุ่ม

กลุ่มทุนที่โดดเด่นในตอนนี้ หลายฝ่ายให้น้ำหนักไปที่กลุ่มทุนที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารรถไฟฟ้าอย่าง BTS และ BEM เนื่องจากมีประสบการณ์ในการบริหารรถไฟฟ้าของประเทศในปัจจุบัน ถัดมา คือ กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ฯ (ซีพี) และกลุ่ม ปตท. ที่มีความแข็งแกร่งในฐานเงินทุนและพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ

ขณะเดียวกัน ไม่ควรมองข้ามกลุ่มทุนต่างประเทศที่เข้ามาร่วมซื้อซองคัดเลือกในรอบนี้ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการด้านบริหารจัดการรถไฟในต่างประเทศ หรือบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบรางทั้งสิ้น

ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า กลุ่ม BTS ที่มีทั้ง STEC, RATCH และเครือ ปตท. จะได้พันธมิตรรายใหญ่เข้ามาร่วมหุ้นด้วยนั่นคือ เครือซีพี แต่ดูเหมือนการเจรจาหาข้อยุติในการถือหุ้นจะไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องของสัดส่วนการถือหุ้นใหญ่ที่ต้องการรับเป็นผู้บริหารรถไฟฟ้า และพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่จะได้รับจากโครงการดังกล่าว ทำให้เครือซีพี อาจหันไปจับมือกับกลุ่มทุนจากจีน และพันธมิตรอื่นๆ ตั้งกลุ่มเข้ามาร่วมประมูลแข่งขันแทน

แหล่งข่าวตลาดทุนรายหนึ่งให้ความเห็นต่อโครงการดังกล่าวว่า การเข้าร่วมประมูลในโครงการไอสปีดเชื่อม 3 สนามบินครั้งนี้ บริษัทที่เข้าประมูลจะมีจุดเด่นเพียงเรื่องเดียวไม่ได้ แต่ควรที่จะครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ นั่นคือ ตั้งแต่เรื่องการผลิตและจัดหารถไฟฟ้าเข้ามาให้บริการ, งานก่อสร้างระบบรางและสถานี, งานด้านระบบไฟฟ้าและเทคโนโลยี, งานด้านบริหารบริการรถไฟฟ้า และฐานการเงินที่แข็งแกร่ง เพื่อการลงทุนในระยะยาวสำหรับโครงการ และธุรกิจต่อขยาย หรือธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่นๆ

“หากมองที่ซีพี และ ปตท. ที่ส่งบริษัทลูกเข้ามาซื้อซอง ต้องยอมรับว่าเป็นกลุ่มทุนที่มีฐานเงินทุนแข็งแกร่งที่สุด แต่ไม่มีความชำนาญในเรื่องรถไฟฟ้า จำเป็นต้องเข้าร่วมทุนกับพันธมิตรอื่นๆ ที่มีความชำนาญในงานด้านก่อสร้าง และงานรถไฟฟ้า รวมถึงระบบ และเทคโนโลยีต่างๆ รถไฟฟ้าต้องโรงไฟฟ้าสำหรับจ่ายไฟฟ้าของตนเองด้วย ดังนั้น บริษัทที่ผลิตไฟฟ้าย่อมต้องสนใจเข้ามาลงทุนด้วย ขณะที่กลุ่มทุนจากต่างประเทศที่เข้ามาร่วมประมูลส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีการให้บริการรถไฟฟ้าอยู่แล้ว ทำให้มีความชำนาญ และมีระบบรวมถึงเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยตอบโจทย์ได้ เขาอาจเข้ามาในรูปแบบร่วมลงทุนโดยถือหุ้น 10-20 % กับกลุ่มทุนขนาดใหญ่ของไทย หรือเข้ามาแบบเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และนำบริษัทขนาดกลางของไทยเข้ามาเสริมในจุดแข็งต่างๆ เพื่อโอกาสที่จะชนะประมูล ต้องไม่ลืมว่าสัดส่วนการถือหุ้นใหญ่เกิน 51% และอายุสัมปทานที่จะได้รับถึง 50 ปี นับว่าล่อตาล่อใจเป็นอย่างมาก ขณะที่กลุ่มเซ็นทรัล การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ถือว่ามีความเชี่ยวชาญมากกว่าใคร การเข้าร่วมกลุ่มกับรายไหนย่อมช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่กลุ่มนั้นแน่นอน ซึ่งอาจเข้าไปร่วมถือหุ้น หรือเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และดึงต่างชาติเข้ามาช่วยเสริมก็ได้”

สำหรับกลุ่มรับเหมา-ก่อสร้างอย่าง STEC, ITD, CK และ UNIQ ล้วนแล้วแต่เคยมีประสบการณ์รับก่อสร้างงานระบบราง ขณะที่ฐานะเงินลงทุนก็ไม่แพ้กลุ่มทุนอื่น แต่โครงการนี้เชื่อว่าอาจเข้ามาในลักษณะร่วมถือหุ้นอัน 2-3 ด้วยสัดส่วน 20-30 % มากกว่าเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญด้านงานก่อสร้าง แต่ไม่เชี่ยวเชี่ยวชาญด้านระบบ และบริหารจัดการ

“การเคลื่อนไหวของกลุ่มรับเหมาช่วงนี้ย่อมโดดเด่น เพราะภาครัฐเร่งเครื่องเปิดประมูลงานหลายโครงการ แต่สำหรับไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน กลุ่มนี้น่าจะเป็นพระรอง บริษัทไหนจะโดดเด่นที่สุดต้องพิจารณาจากตัวพันธมิตรที่เข้าไปร่วมลงทุนด้วยกันว่าครบเครื่อง หรือแข็งแกร่งเพียงใด”

นอกจากนี้ สิ่งที่นักลงทุนควรติดตามต่อไปนั่นคือ หุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะบริษัทที่มีที่ดินใกล้แนวรถไฟฟ้า หรือใกล้สถานีจำนวนมาก จะได้รับอานิสงส์จากเรื่องดังกล่าว จนอาจทำให้ในอนาคตผลประกอบการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น ก่อนที่จะมีการประกาศผู้ชนะประมูล น่าจะได้เห็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นที่มีโอกาสคว้างานโครงการไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ในลักษณะเก็งกำไรรับข่าวเท่านั้น และหลังจากได้ผู้ชนะประมูล ในระยะสั้นหุ้นบริษัทที่ชนะจะปรับตัวเพิ่มขึ้นรับข่าว จากนั้น จะปรับตัวลงจากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น อีกทั้งยังต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะเริ่มคืนทุน แต่ระยะยาวถือว่าเป็นหุ้นที่น่าสนใจเข้าลงทุนเป็นอย่างมาก ด้วยอายุสัมปทานที่ได้รับ และรายได้จากช่องทางต่างๆ

จึงไม่น่าแปลกใจที่จะได้เห็นการแนะนำของบรรดาโบรกเกอร์ เพื่อให้เข้าลงทุนในหุ้นกลุ่มรับเหมา-ก่อสร้าง ที่โดดเด่นอย่าง ITD, CK และ STEC จากโอกาสที่มีอาจชนะการประมูลในโครงการดังกล่าว และโครงการอื่นๆ ของภาครัฐ รวมถึง BEM และ BTS จากโอกาสคว้าสายการเดินรถไฟฟ้ามาบริหารเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มฐานรายได้ระยะยาวในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 16/07/2018 10:54 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ประชาชนข้องใจTORรถไฟสามสนามบินประเคนผลประโยชน์ให้รายใหญ่
ไทยโพสต์ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 15:51 น.

ภาค ปชช.-สหภาพ โวยประเคนที่ดินเอื้อกลุ่มทุน-ต่างชาติสร้างรถไฟ ฉะ พ.ร.บ.อีอีซีใหญ่กว่า กม.
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 15:49
ปรับปรุง: 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 18:20




ภาค ปชช.- สหภาพ โวยสร้างรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน พ่วงที่ดิน ล่อใจกลุ่มทุน-ต่างชาติ ซัด พ.ร.บ.อีอีซี ใหญ่กว่า กม.แม่ให้สิทธิพิเศษ ย้ำ ยกที่ดินให้เช่า 99 ปี ขัด รธน. “สาวิทย์” แฉที่รถไฟ หลายหน่วยจ้องฮุบ “ธีระชัย” ชี้ ไม่มีชาติใดยกสิทธิข้างทางให้ ตปท.

วันนี้ (15 ก.ค) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย คณะกรรมการตรวจสอบภาคประชาชนกับการทุจริตคอร์รัปชัน จัดเสวนา การทุจริตประพฤติมิชอบนโยบายของรัฐในการประมูลรถไฟความเร็วสูง และการจัดสรรที่ดินรถไฟมักกะสัน ผลประโยชน์ชาติประชาชนอยู่ตรงไหน โดยมี นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ร่วมเสวนา นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ดำเนินรายการ

นายเมธา อ่านแถลงการณ์เรียกร้อง ให้รัฐบาลแก้ไข TOR โครงการรถไฟความเร็วสูง มีเนื้อหาว่า การที่รัฐบาลจัดทำ TOR โครงการรถไฟความเร็วสูง สนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง อู่ตะเภา โดยโยงเข้ากับโครงการพัฒนาที่ดินมักกะสันของการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นแผนการที่เอื้ออำนวยประโยชน์แก่กลุ่มทุนขนาดใหญ่ กีดกันนักธุรกิจขนาดย่อม และไม่ทำให้ประเทศชาติและประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด ผู้ที่เหมาะสมจะพัฒนารถไฟความเร็วสูงมากที่สุด คือ การรถไฟฯ ควรจัดตั้งเป็นบริษัทลูกสำหรับโครงการนี้ การผนวกสองโครงการใหญ่เข้าด้วยกัน เป็นการกีดกันนักธุรกิจรายย่อย TOR ดังกล่าวอาจเข้าข่ายล็อกสเปกเอื้อประโยชน์เฉพาะแก่นายทุนระดับชาติ และผิดกฎหมาย เนื่องจากฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 164 (1)

รัฐบาลประกาศเองว่าจะมีการเลือกตั้งในต้นปีหน้า ดังนั้น จึงควรจะให้รัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้งเป็นผู้ดำเนินการประมูลเรื่องดังกล่าว น่าจะโปร่งใสกว่า เพราะจะสามารถตรวจสอบการทุจริตได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่ปัจจุบันการตรวจสอบแทบจะทำไม่ได้เลย แถมมีข่าวคราวการทุจริตในโครงการต่างๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา และหาคนรับผิดชอบไม่ได้ ดังนั้น เพื่อประโยชน์สูงสุดและเพื่อความโปร่งใส ภาคประชาชนจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลชะลอการดำเนินการการประมูลดังกล่าวออกไปจนกว่าจะได้รัฐบาลใหม่หลังเลือกตั้ง

นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 2535 กล่าวว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย กำเนิดสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์หวังให้ที่ดินสองข้างทางเกิดการพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน การเอาที่ดินรัชกาลที่ 5 ประทานไว้ให้ แล้วมาทำปู้ยี้ปู้ยำ ไม่ละอายบ้างหรือ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ระบุ ผู้ร่วมประมูลจะรู้ผู้ชนะ แพ้ในเดือน พ.ย.นี้ แต่ข้อกำหนดในทีโออาร์ การเชื่อม 3 สนามบิน สุวรรณภูมิ ดอนเมือง อู่ตะเภา และผนวกการพัฒนาที่ดิน โรงซ่อมบำรุงรักษาในที่ดินการรถไฟฯย่านมักกะสันไปด้วย รวมทั้งการให้สิทธิในการเช่าที่ดินสองระยะ โดยครั้งแรกให้เช่า 50 ปี และยังขยายต่อได้อีก 49 ปี รวมเป็น 99 ปี ไม่รู้ว่ารัฐบาลใช้หัวอะไรคิด เมื่อไม่นานมานี้ ผู้บริหารบริษัทขนาดใหญ่บางแห่งที่ยื่นซองประมูล ให้สัมภาษณ์ระบุชัดเลยว่า โครงการพัฒนาที่ดินมักกะสันและการเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงการที่ดีกว่าอีอีซี เสียอีก การพัฒนาที่ดินอย่างเดียวไม่เกี่ยวกับการเดินรถสูงถึง 2 แสนล้านบาท ในสัปดาห์หน้าจะไปยื่นหนังสือต่อ พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ และ รมว.คมนาคม และ สตง. ให้ช่วยกันตรวจสอบ ในวันนี้รู้สึกผิดหวังต่อกระบวนการตรวจสอบของรัฐบาล โดยเฉพาะ พล.อ.ประวิตร ที่มีอำนาจในรัฐบาล กลับปล่อยให้บ้านเมืองเป็นเช่นนี้

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ก่อนหน้าเรามีกฎหมายส่งเสริมการลงทุนอยู่แล้ว แปลกใจทำไมไม่นำมาใช้กับอีอีซี แต่กลับเขียนกติกาใหม่เอื้อประโยชน์ โดยเฉพาะการให้ต่างชาติเช่าที่ดินยาวนานถึง 99 ปี หลายประเทศการทำโครงการลักษณะนี้ ให้การรถไฟฯเป็นผู้ดำเนินการ หากกลัวการบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพ ค่อยจ้างเอกชนมาร่วม เท่าที่ดู ทีโออาร์ ปรากฏว่า รถไฟจาก ดอนเมือง สุวรรณภูมิ เชื่อมไปยังอู่ตะเภา ให้เอกชนเป็นคนทำ เอาที่ดินมักกะสันแถมไปให้ เพราะกลัวว่าการทำรถไฟจะขาดทุนหรือไม่ หากเป็นเช่นนี้ คงไม่ถูกต้อง การนำ 2 โครงการมาแปะด้วยกัน คนที่เข้าร่วมประมูลได้คงมีไม่เกิน 5 ราย ที่เป็นนายทุนใหญ่ระดับประเทศ ทีโออาร์ดังกล่าวผิดรัฐธรรมนูญชัดเจน นายสมคิด เร่งให้การประมูลจบก่อน พ.ย. เพื่อให้เสร็จก่อนเลือกตั้ง ในช่วงที่ไม่มีสภา ไม่มีฝ่ายค้าน นอกจากนี้ ทรัพย์สินรถไฟมีมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท จะไปเร่งในช่วงไม่มีฝ่ายค้านได้อย่างไร และการวิพากษ์วิจารณ์มีข้อจำกัดได้อย่างไร

นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า พ.ร.บ.อีอีซี ยกเว้นภาษีเงินได้ ยกเว้นภาษีเครื่องจักร ยกเว้นภาษีแรงงานบางส่วน รวมไปถึงเรื่องที่ดิน หากจะใช้ที่ตรงไหนไม่ต้องไปขอกรมที่ดิน พ.ร.บ.ฉบับนี้มีอำนาจเบ็ดเสร็จ ซ้ำยังยกเว้นกฎหมายหลายฉบับ เช่น กฎหมายสิ่งแวดล้อม ผังเมือง แรงงาน ที่ดิน พ.ร.บ.อีอีซี ออกมาในช่วงประชาชนกำลังมึนๆ งงๆ รัชกาลที่ 5 สูญเสียที่ดินฝั่งขวา แม่น้ำโขง พระองค์โทมนัสมาก สุดท้ายก็สู้กัน แต่กฎหมายอีอีซี ไม่ต้องทำศึกสงครามอะไร เราพร้อมยกให้เขาไปเลย ที่ดินย่านมักกะสัน หอมหวานมาก ก่อนหน้าหลายหน่วยงานพยายามจะมาเอาไปทำประโยชน์ แต่สหภาพฯ และ การรถไฟฯ เราไม่ยอม แม้แต่กรมธนารักษ์ที่ต้องการที่ดินดังกล่าว โดยอ้างว่า การรถไฟฯเป็นหนี้กว่าแสนล้านบาท เหตุที่เป็นหนี้ เนื่องจากการรถไฟฯเป็นบริการสาธารณะ ห้ามปรับราคาค่าโดยสาร ไม่เคยปรับขึ้นราคาค่าโดยสารมายาวนาน ทำให้เป็นหนี้สะสมพอกพูนมา

ที่ดินการรถไฟฯย่านมักกะสัน หากเอาไปพัฒนาให้ประชาชน เราไม่ขัดข้อง เข้าใจว่า 149 ไร่ ในส่วนของโรงซ่อม เขาต้องเอาก่อน ภายใน 8 ปี ต้องย้ายออกไป แล้วที่เหลือ เขาค่อยผนวกเอาทีหลัง เอาเรื่องที่ดินการรถไฟฯไปผนวกกับอีอีซี การพัฒนาขนส่งทางรางต้องมองอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่มองเป็นส่วนๆ นอกจากนี้ ที่ดินการรถไฟฯ หลายแห่ง ในต่างจังหวัดบางที่มีเอกชนรายใหญ่ ก็นำไปใช้ประโยชน์ โดยแทบจะไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนให้ภาครัฐ ในมิติอีอีซี ยังมีเรื่องน่าสงสัย ที่พูดไม่ได้เตะตัดขาใคร แต่อยากให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ ประชาชน และการรถไฟแห่งประเทศไทย เพราะการรถไฟฯเป็นของประชาชน การพัฒนาที่ดินมักกะสัน ไม่ขัดขวาง หากทำให้เกิดประโยชน์กับทุกคน รัฐบาลไม่ควรใจแคบต่อการตั้งคำถามจากประชาชน เรามาร่วมกัน ตรวจสอบ วันไหนไปยื่นหนังสือ จะเชิญพี่น้องรัฐวิสาหกิจไปด้วย เพราะหลายที่มีปัญหา เราไม่ได้ขัดขวางต่อการพัฒนาประเทศ ต่อไปคิดว่าจะจัดเวทีที่ใหญ่กว่านี้ เชิญทุกฝ่ายทั้งคนร่วมประมูล คนตรวจสอบ มาร่วมกันเสวนา มาร่วมหารือเพื่อหาทางออกร่วมกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 17/07/2018 9:06 am    Post subject: Reply with quote

บีทีเอส ดอดลงพื้นที่ระยอง เจาะแนวส่วนต่อขยายฟีดเดอร์
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,382 วันที่ 12-14 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 หน้า 11


บีทีเอสเตรียมส่งชุดเฉพาะกิจลงพื้นที่ระยองเพื่อสำรวจแนวส่วนต่อขยายไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน เจาะพื้นที่จากอู่ตะเภา-เมืองระยองสร้างระบบฟีดเดอร์และแนวทางการพัฒนาเมือง

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือบีทีเอส เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าเตรียมส่งทีมลงสำรวจพื้นที่ระยองตามแนวเส้นทางโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินในวันที่ 20 กรกฎาคมนี้เพื่อสำรวจแนวเส้นทางและพิจารณาความเป็นไปได้ด้านการพัฒนาส่วนต่อขยายจากสนามบินอู่ตะเภาไปถึงตัวเมืองระยองจำนวน 3 สถานีว่าจะมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนและมีปริมาณความต้องการของผู้ใช้บริการอย่างไร



นอกจากนั้นยังจะให้มีการสำรวจจุดก่อสร้างสถานีและพิจารณาว่าแต่ละจุดมีความเป็นไปได้อย่างไรบ้างหากจะมีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชนรูปแบบทีโอดี เนื่องจากช่วงดังกล่าวนี้ล่าสุดประชาชนชาวระยองได้ส่งเรื่องร้องเรียนไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะกรรมการอีอีซีเพื่อให้ดำเนินการเชื่อมต่อถึงตัวเมืองระยองจริงๆหลังจากที่ช่วงแรกได้ก่อสร้างสิ้นสุดแค่สนามบินอู่ตะเภาเท่านั้น

“สำรวจระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตรจากสนามบินอู่ตะเภาถึงตัวเมืองระยองว่า หากพัฒนาเป็นระบบฟีดเดอร์เพื่อป้อนผู้โดยสารให้เส้นทางหลักจะมีความเป็นไปได้อย่างไรโดยจะร่วมกับบริษัทระยองพัฒนาเมืองฯสนับสนุนใช้รถสมาร์ทบัสให้บริการในช่วงแรกนี้ หากปริมาณความต้องการเต็มพิกัดค่อยพัฒนาเป็นระบบแทรมและระบบหลักที่อาจจะขยายแนวเส้นทางเชื่อมไปยังจังหวัดจันทบุรีและตราดต่อไป”

โดยในเบื้องต้นนั้นจะเน้นทีมเทคนิคลงพื้นที่สำรวจ ประกอบกับส่วนต่อขยายช่วงนี้ยังรอการพิจารณาผล กระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) เบื้องต้นนั้นจะสำรวจข้อเท็จจริงและความเป็นไปได้ว่าจะสามารถพัฒนาอย่างไรได้บ้างทั้งระบบรถโดยสารและการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ประการหนึ่งนั้นในการสำรวจยังจะต้องดูปัจจัยแวดล้อมอื่นๆประกอบด้วย โดยเฉพาะกายภาพตามแนวเส้นทาง ปริมาณผู้โดยสารอีกทั้งยังจะต้องหารือร่วมกับฝ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ด้านนายภูษิต ไชยฉ่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ระยองพัฒนาเมืองจำกัด กล่าวว่า เบื้องต้นนั้นมีแนวเส้นทางสายหมายเลข 8 ที่จะเริ่มดำเนินการก่อนในการทดลองก่อนที่จะพัฒนาเป็นเส้นทางหลักในระยะต่อไป หากสามารถนำไปพัฒนาเมืองใหม่ได้ตามแนวคิดของบีทีเอสก็อาจจะน่าสนใจเนื่องจากบีทีเอสมีทุนและพันธมิตรการลงทุนที่มีศักยภาพ ต้องการลงพื้นที่ว่ากายภาพส่วนไหนมีความเหมาะสมโดยหลักจะดูพื้นที่ในตัวเมืองระยองก่อนที่จะไปดูส่วนด้านนอกเมือง


“เส้นทางนี้จะเชื่อมศูนย์เศรษฐกิจทั้งย่านเก่าและย่านที่จะเกิดใหม่จำนวนหลายแห่ง อีกทั้งยังเชื่อมสถานีขนส่งแห่งที่ 1และแห่งที่ 2 ตลอดจนศูนย์การค้า ศูนย์ราชการ ซึ่งแนวเส้นทางส่วนต่อขยายจากอู่ตะเภาถึงตัวเมืองระยองนี้หากไม่มีการพัฒนาทีโอดียังเห็นว่าจะเกิดได้ยาก ต้องให้คุ้มกับการลงทุนให้ได้โดยเร็วจึงต้องเร่งสร้างจุดที่สร้างรายได้ให้นำไปหล่อเลี้ยงระบบการเดินรถในอนาคตได้อย่างยั่งยืนโดยเฉพาะจุดที่สามารถต่อยอดการพัฒนาได้ทันทีโดยไม่ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/07/2018 9:39 am    Post subject: Reply with quote

คนระยองเข้าชื่อโวย! รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน | 17 ก.ค. 61 | เจาะลึกทั่วไทย
SpringNews Published on Jul 16, 2018
รายการ เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 07.30 น.- 09.30 น. ดำเนินรายการโดย "ดนัย เอกมหาสวัสดิ์" และ "อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์" เจาะลึกประเด็นร้อน "คนระยองเข้าชื่อโวย! รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน" รายละเอียดจะเป็นอย่างไรติดตามได้จากรายการ


https://www.youtube.com/watch?v=yJIhTaGtOa8
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/07/2018 4:04 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูงกับการพัฒนาท้องถิ่นไทย(รายการ ตู้ ปณ.ข่าว 3SD 28)
ตู้ปณ.ข่าว3 Published on Jul 17, 2018

ระบบการขนส่งทางราง เป็นหนึ่งทางเลือกของผู้ประกอบการในการขนส่งสินค้า ซึ่งขณะนี้ภาครัฐมีมาตรการผลักดันการขนส่งทางรางมากขึ้น รวมทั้งการใช้ระบบรางในการขนส่ง ยังลดปัญหาด้านการจราจรติดขัด และลดค่าเชื้อเพลิง รวมทั้งลดปัญหาด้านมลภาวะทางอากาศ และยังเป็นการกระจายความเจริญไปยังท้องถิ่นในพื้นที่นั่นๆด้วย


https://www.youtube.com/watch?v=CKndn5dfPcg
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 275, 276, 277 ... 542, 543, 544  Next
Page 276 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©