Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181769
ทั้งหมด:13493007
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เชียงใหม่อยากมีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เชียงใหม่อยากมีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 10, 11, 12  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2018 11:57 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เร่งเดินหน้ารถไฟฟ้าเชียงใหม่ 8 หมื่นล้าน สายสีแดง-เริ่มก่อสร้างปี64

วันที่ 5 กรกฎาคม 2561 เวลา 16:51 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดเชียงใหม่ ว่าวันนี้ (5 กรกฎาคม 2561) คณะผู้บริหารการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พร้อมคณะ ได้ร่วมประชุมหารือกับภาครัฐและเอกชนจังหวัดเชียงใหม่ ถึงการดำเนินการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานการประชุม ณ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่

นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ ผู้ช่วยผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ ในรูปแบบโครงการรถไฟฟ้า ซึ่งคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ได้อนุมัติมอบหมายให้ รฟม.เป็นผู้ดำเนินงาน ขณะนี้มีความคืบหน้าในหลายระดับ


โดยจะใช้กรอบแนวทางการพัฒนาตามแผนแม่บทระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้การกำกับการศึกษาจัดทำแผนแม่บทฯดังกล่าวโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
ทั้งนี้ ลักษณะระบบขนส่งสาธารณะระบบหลักในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) มีความเหมาะสมกับเส้นทางในจังหวัดเชียงใหม่มากที่สุด

แบ่งเป็น 2 โครงข่ายคือ โครงข่าย A และ โครงข่าย B ซึ่งโครงข่าย A มีโครงสร้างทางวิ่งผสมระหว่างระดับดินและใต้ดิน 3 เส้นทาง ได้แก่ สายสีแดงวิ่งแนวทิศเหนือ สายสีน้ำเงิน วิ่งแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก และสายสีเขียว วิ่งเชื่อมย่านธุรกิจ

ขณะที่โครงข่าย B ก็เป็นระบบ LRT ที่มี 3 เส้นทางเช่นกัน แต่วิ่งระดับดินทั้งหมด โดยทั้ง 2 ระบบหลักดังกล่าว จะเชื่อมต่อด้วยระบบรองและระบบเสริม ซึ่งจะใช้รถประจำทางเป็น Feeder

นายสาโรจน์ กล่าวอีกว่าจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบความเหมาะสมและความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ พบว่า โครงข่าย A มีความเหมาะสมมากที่สุดและมีแรงดึงดูดในการใช้บริการมากที่สุด โดยจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้า (LRT) สายสีแดงเป็นสายแรก

“ภายในสิ้นปี 2561 จะจัดจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมออกแบบในรายละเอียด ซึ่งคาดว่าราวต้นปี 2562 บริษัทที่ปรึกษาจะลงพื้นที่และออกแบบรายละเอียดอย่างเต็มรูปแบบ และราวต้นปี 2563 จะนำเสนอ ครม.เพื่ออนุมัติโครงการ จากนั้นราวกลางปี 2563 จะประกาศประกวดราคา โดยจะเริ่มการก่อสร้างได้ราวปี 2564 และคาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2567” นายสาโรจน์กล่าว

ด้าน ดร.ทรงยศ กิจธรรมเกษร อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า จากการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า โครงข่าย A ซึ่งเป็นโครงสร้างทางวิ่งผสมระดับดินและใต้ดิน ที่วางไว้ 3 สายหลัก มีมูลค่าการก่อสร้างเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานราว 80,000 ล้านบาท (ไม่รวมค่าเวนคืนที่ดิน) และมีมูลค่าการลงทุนระบบ Feeder อีกราว 6,000 ล้านบาท

ทั้งนี้โครงข่าย A สายสีแดง วิ่งแนวทิศเหนือ-ใต้ เริ่มต้นที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ผ่านศูนย์ราชการ ศูนย์ประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ สิ้นสุดที่เส้นทางไปอำเภอหงดง (บริเวณห้างบิ๊กซี)
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/07/2018 7:49 am    Post subject: Reply with quote

เคาะลงทุนรถไฟใต้ดินเชียงใหม่ เปิดพีพีพีคาดประมูลต้นปี63
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 16 ก.ค. 2561 เวลา 06:46 น.

รฟม.เคาะลงทุนรถไฟฟ้าใต้ดินเชียงใหม่ 8.6 หมื่นล้าน เปิดพีพีพี เริ่มก่อสร้างสายสีแดงเป็นเส้นแรก คาดเปิดประมูลปี 2563

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า โครงการรถไฟรางเบา (แทรม) จ.เชียงใหม่ ได้ทำการศึกษาเสร็จแล้วพร้อมสรุปเลือกแนวทางก่อสร้างตามที่สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้เสนอมาคือโครงข่าย A วงเงินราว 8.6 หมื่นล้านบาท ใช้ทางวิ่งบนดินและใต้ดินร่วมกัน

สำหรับเหตุผลที่เลือกแนวทางดังกล่าวแม้ว่าจะใช้ระยะเวลาการก่อสร้างและวงเงินลงทุนที่สูงกว่ารูปแบบ B คือติดตั้งรางแทรมบนถนน (LRT) นั้น เพราะสภาพพื้นผิวถนนในเมืองมีลักษณะแคบมาก หากนำแทรมมาวิ่งจะทำให้เสียช่องจราจร ประกอบกับความต้องการของชาวท้องถิ่นอยากอนุรักษ์สถาปัตยกรรมรอบคูเมืองและเอกลักษณ์ของจังหวัดไว้ดังเดิม ส่วนการเวนคืนพื้นที่นั้นจะมีจำนวนไม่มากเพื่อใช้ก่อสร้างเพียงทางขึ้นและทางลงไปยังสถานีใต้ดิน

ทั้งนี้ ในปัจจุบันอยู่ระหว่างการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษารูปแบบการเปิดให้เอกชนร่วมทุน (PPP) ซึ่งเอกสารเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) ใกล้เสร็จแล้ว คาดว่าจะได้ตัวที่ปรึกษาภายในปีนี้ ก่อนเสนอผลศึกษาเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อถอดแบบและเปิดประมูลโครงการช่วงต้นปี 2563 ทั้งนี้ รฟม.จะก่อสร้างรถไฟฟ้าแทรมสายสีแดงก่อน จากนั้นจะก่อสร้างสายสีเขียวและสายสีน้ำเงิน

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า รูปแบบการบริหารจราจรเมื่อก่อสร้างแทรมจะต้องร่วมมือกับท้องถิ่นจังหวัดและองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เพื่อปรับผังการจราจร รวมถึงปรับเพิ่มเส้นทางเดินรถทางเดียวตามแนวการก่อสร้างตลอดจนปิดเส้นทางจราจรไปในบางจุด เพราะต้องใช้พื้นที่เปิดหน้างานก่อสร้างทางขึ้นและทางลงในแต่ละสถานี ถือว่าปัญหาการจราจรจะเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคสำคัญ

รายงานข่าวจาก สนข.ระบุว่า โครงการมี 3 เส้นทางหลัก ใช้เวลาสร้าง 2-3 ปีต่อหนึ่งเส้นทางประกอบด้วย
1.สายสีแดง ระยะทาง 12 กม.ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-บิ๊กซีหางดง
2.สายสีเขียว ระยะทาง 12 กม.ช่วงแยกรวมโชค-สนามบินเชียงใหม่
3.สายสีน้ำเงิน ระยะทาง 11 กม.ช่วงสวนสัตว์เชียงใหม่-ห้างสรรพสินค้าพรอมเมนาดา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/07/2018 9:17 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.สรุปแนวทางสร้างรถไฟฟ้าเชียงใหม่วิ่งผสมบนดิน-ใต้ดิน
เผยแพร่: 16 ก.ค. 2561 08:13 โดย: MGR Online

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้ารางเบา จ.เชียงใหม่ ว่า รฟม.ได้สรุปเลือกแนวก่อสร้างตามที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เสนอมา คือ โครงข่าย A งบประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาดท ใช้ทางวิ่งบนดินและใต้ดินร่วมกัน แม้จะใช้ระยะเวลาก่อสร้างและวงเงินลงทุนสูงกว่ารูปแบบ B คือติดตั้งรางแทรมบนถนน (LRT) เนื่องจากสภาพถนนใน จ.เชียงใหม่ แคบ หากนำรถไฟฟ้าแทรมไปวิ่งจะทำให้เสียช่องจราจร จะยิ่งทำให้การจราจรติดขัด

นอกจากนี้ ยังเป็นไปตามความต้องการของชาวบ้านที่ต้องการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมรอบคูเมืองและเอกลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่เอาไว้ดังเดิม อีกทั้งยังเวนคืนพื้นที่ไม่มาก เพื่อก่อสร้างทางขึ้น-ลงสถานีใต้ดินเท่านั้น โดยอยู่ระหว่างจ้างที่ปรึกษาศึกษารูปแบบการเปิดให้เอกชนร่วมทุน (พีพีพี) ซึ่งร่างเอกสารเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) ใกล้เสร็จ คาดว่าจะได้ที่ปรึกษาภายในปีนี้ และน่าจะเปิดประมูลได้ภายในปี 2563 โดยจะก่อสร้างสายสีแดงก่อน จากนั้นจึงสร้างสายสีเขียวและสายสีน้ำเงินตามลำดับ

สำหรับรูปแบบการจัดจราจรระหว่างก่อสร้าง ต้องร่วมมือกับท้องถิ่น จ.เชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และตำรวจจราจร เพื่อปรับเส้นทางเดินรถทางเดียว (OneWay) ตลอดจนปิดการจราจรบางจุด เนื่องจากต้องใช้พื้นที่เปิดหน้างานก่อสร้างทางขึ้น-ลงสถานี ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าหนักใจ

สำหรับ 3 เส้นทางหลัก ระยะทางรวม 35 กิโลเมตร สายสีแดง 12 กิโลเมตร สีเขียว 12 กิโลเมตร และสีน้ำเงิน 11 กิโลเมตร ใช้เวลาสร้าง 6 ปี หรือเส้นละ 2-3 ปี โดยสายสีแดง (รพ.นครพิงค์-สนามบิน-แม่เหียะ) เริ่มต้นทางวิ่งบนดินจาก รพ.นครพิงค์ ศูนย์ราชการเชียงใหม่ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ศูนย์ประชุมฯนานาชาติ สภ.ช้างเผือก เริ่มใช้ทางวิ่งใต้ดินที่แยกข่วงสิงห์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สถานีขนส่งช้างเผือก รพ.เชียงใหม่ราม (พบจุดตัดสายสีน้ำเงิน) โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ สนามบินนานาชาติเชียงใหม่ จากนั้นปรับมาใช้ทางวิ่งบนดิน ผ่านสถานีขนส่ง และสิ้นสุดที่ห้างบิ๊กซีหางดง

ส่วนสายสีเขียว (แยกรวมโชค-สนามบินเชียงใหม่) มีจุดลงใต้ดินช่วงกาดหลวง ช้างคลาน และมหิดล ขณะที่สายสีน้ำเงิน เป็นทางวิ่งใต้ดินตั้งแต่สวนสัตว์เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แยกตลาดต้นพยอม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ประตูท่าแพ ย่านเชียงใหม่ไนท์บาซาร์ ตลาดสันป่าข่อย สถานีรถไฟเชียงใหม่ และเริ่มวิ่งบนดินที่แยกหนองประทีป ห้างบิ๊กซีดอนจั่น และห้างพรอมเมนาดาเป็นสถานีสุดท้าย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 17/07/2018 9:00 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟม.สรุปแนวทางสร้างรถไฟฟ้าเชียงใหม่วิ่งผสมบนดิน-ใต้ดิน
เผยแพร่: 16 ก.ค. 2561 08:13 โดย: MGR Online


เคาะสร้างรถไฟฟ้า 'เชียงใหม่' บนดินมุดดิน
จันทร์ที่ 16 กรกฎาคม 2561 เวลา 07.03 น.

รฟม. เคาะเลือกแนวทางลงทุน 8.6 หมื่นล้านบาท สร้างรถไฟฟ้าเชียงใหม่วิ่งผสมบนดินและใต้ดิน

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้ารางเบา จ.เชียงใหม่ ว่า รฟม. ได้สรุปเลือกแนวก่อสร้างตามที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เสนอมาคือโครงข่าย A งบประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาทใช้ทางวิ่งบนดินและใต้ดินร่วมกัน แม้จะใช้ระยะเวลาก่อสร้างและวงเงินลงทุนสูงกว่ารูปแบบ B คือติดตั้งรางแทรมบนถนน (LRT) เนื่องจากสภาพถนนใน จ.เชียงใหม่แคบหากนำรถไฟฟ้าแทรมไปวิ่งจะทำให้เสียช่องจราจรทำให้การจราจรยิ่งติดขัด



นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังเป็นไปตามความต้องการของชาวบ้านที่ต้องการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมรอบคูเมืองและเอกลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่เอาไว้ดังเดิม อีกทั้งยังเวนคืนพื้นที่ไม่มาก เพื่อก่อสร้างทางขึ้นลงสถานีใต้ดินเท่านั้น โดยอยู่ระหว่างจ้างที่ปรึกษาศึกษารูปแบบการเปิดให้เอกชนร่วมทุน (พีพีพี) ซึ่งร่างเอกสารเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) ใกล้เสร็จคาดว่าจะได้ที่ปรึกษาภายในปีนี้ และน่าจะเปิดประมูลได้ภายในปี 63 โดยจะก่อสร้างสายสีแดงก่อนจากนั้นก่อสร้างสายสีเขียวและสายสีน้ำเงินตามลำดับ

สำหรับรูปแบบการจัดจราจรระหว่างก่อสร้างต้องร่วมมือกับท้องถิ่น จ.เชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และตำรวจจราจร เพื่อปรับเส้นทางเดินรถทางเดียว (OneWay ) ตลอดจนปิดการจราจรบางจุด เนื่องจากต้องใช้พื้นที่เปิดหน้างานก่อสร้างทางขึ้นลงสถานีซึ่งเป็นเรื่องที่น่าหนักใจ

รายงานข่าวจาก สนข. แจ้งว่า สำหรับ 3 เส้นทางหลัก ระยะทางรวม 35 กม. สายสีแดง 12 กม. สีเขียว 12 กม. และสีน้ำเงิน 11 กม. ใช้เวลาสร้าง 6 ปี หรือเส้นละ 2-3 ปี

1.สายสีแดง (รพ.นครพิงค์-สนามบิน-แม่เหียะ) เริ่มต้นทางวิ่งบนดินจาก รพ.นครพิงค์ ศูนย์ราชการเชียงใหม่ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ศูนย์ประชุมฯนานาชาติ สภ.ช้างเผือก, เริ่มใช้ทางวิ่งใต้ดินที่แยกข่วงสิงห์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ สถานีขนส่งช้างเผือก รพ.เชียงใหม่ราม (พบจุดตัดสายสีน้ำเงิน) โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ สนามบินนานาชาติเชียงใหม่ จากนั้นปรับมาใช้ทางวิ่งบนดินผ่านสถานีขนส่งและสิ้นสุดที่ห้างบิ๊กซีหางดง

2.สายสีเขียวช่วงแยกรวมโชค-สนามบินเชียงใหม่ มีจุดลงใต้ดินช่วงกาดหลวง ช้างคลานและมหิดล

3.สายสีน้ำเงินช่วงเป็นทางวิ่งใต้ดินตั้งแต่สวนสัตว์เชียงใหม่-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา-ม.เชียงใหม่-แยกตลาดต้นพยอม-รพ.มหาราชนครเชียงใหม่-วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร-ประตูท่าแพ-ย่านเชียงใหม่ไนท์บาซาร์-ตลาดสันป่าข่อย-สถานีรถไฟเชียงใหม่ และเริ่มวิ่งบนดินที่แยกหนองประทีป-ห้างบิ๊กซีดอนจั่น-ห้างพรอมเมนาดาเป็นสถานีสุดท้าย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/08/2018 7:51 am    Post subject: Reply with quote

RTC จีบจีนทำรถไฟรางเบาเชียงใหม่ ทุ่ม5พันล. เร่งศึกษา-ปั้น “ห้วยแก้ว” ฮับศก.
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 31 July 2018 - 15:21 น.

RTC วาดแผน 3-5 ปีผุดรถไฟฟ้ารางเบามูลค่า 5 พันล้านบาท เล็งร่วมทุนบริษัทผลิตรถไฟฟ้าจีน ประเดิมเส้นแรก “สนามบิน-นิมมานฯ” หนุนปั้นศูนย์เศรษฐกิจถนนห้วยแก้วฮับเชื่อมต่อการเดินทาง เผยผลงาน 3 เดือนรถโดยสารประจำทาง RTC City Bus มีผู้ใช้บริการกว่า 6.5 หมื่นคน เตรียมเพิ่มเส้นทางใหม่ R4 เชื่อม 3 มหาวิทยาลัย-ศูนย์ราชการ-ศูนย์ประชุมฯ

นายฐาปนา บุญยประวิตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท รีเจียนนอล ทรานซิสท์ คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด (RTC : Regional Transit Corporation) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ใน 3-5 ปี RTC มีแผนงานที่จะมุ่งพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเชียงใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเตรียมลงทุนโครงการรถไฟฟ้ารางเบา (tram) มูลค่า 5,000 ล้านบาท ล่าสุดอยู่ระหว่างเจรจากับบริษัทผลิตรถไฟฟ้าของจีน ซึ่งให้ความสนใจร่วมเป็นพันธมิตรในการลงทุนครั้งนี้ ส่วนรูปแบบของการร่วมทุนที่ได้เจรจาในเบื้องต้น ฝ่ายจีนจะลงทุนตัวรถไฟฟ้า ส่วน RTC จะลงทุนระบบรางและการบริหารจัดการ

โดยในระยะ 3 ปีนับจากนี้จะเป็นช่วงเวลาของการศึกษาออกแบบ พัฒนาเส้นทาง และสำรวจรายละเอียดเชิงกายภาพของพื้นที่ เพื่อหาจุดที่เหมาะสมในการวางโครงข่ายระบบราง ซึ่งต้องหารือหน่วยงานท้องถิ่นหลายส่วน โดยคาดว่าพร้อมที่จะลงทุนพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้ารางเบาสายแรกภายใน 5 ปี อย่างไรก็ตาม กลุ่มทุนจีนดังกล่าวเป็นบริษัทผลิตรถไฟฟ้ารายใหญ่ มีฐานการผลิตอยู่ในจังหวัดสระบุรี โดยมีตลาดหลักครอบคลุมประเทศอาเซียนทั้งหมด

นายฐาปนากล่าวว่า โครงข่ายเส้นทางเดินรถไฟฟ้ารางเบาสายแรก เริ่มต้นจากสนามบินเชียงใหม่เชื่อมถนนนิมมานเหมินท์ ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีปริมาณการเดินทางที่ค่อนข้างหนาแน่นทุกวัน การเติมโครงข่ายรถไฟฟ้ารางเบาจะเพิ่มความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวที่มายังจังหวัดเชียงใหม่ และมีจุดหมายปลายทางเข้ามายังย่านถนนนิมมานเหมินท์ ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว และแหล่งช็อปปิ้ง นอกจากนี้ ยังรองรับการเดินทางของคนในท้องถิ่นว่าจะมีทางเลือกมากขึ้น

นายฐาปนากล่าวต่อว่า แผนงานสำคัญของ RTC อีกด้าน คือ การเร่งพัฒนาพื้นที่ถนนห้วยแก้วให้เป็นศูนย์เศรษฐกิจมาตรฐานระดับโลก เนื่องจากย่านถนนห้วยแก้วถือเป็นแกนเศรษฐกิจสำคัญ 2 แกนมาบรรจบกัน คือ แกนถนนซูเปอร์ไฮเวย์และแกนถนนนิมมานเหมินท์ที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจ ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นย่านที่อยู่อาศัยค่อนข้างหนาแน่น ทั้งโรงแรม คอนโดมิเนียม พื้นที่ค้าปลีก ร้านอาหารที่มีมากกว่า 300 ร้าน เป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจ และเป็นแรงส่งให้ย่านถนนห้วยแก้วกลายเป็นศูนย์เศรษฐกิจที่เติบโตได้ในอนาคต

ทั้งนี้ การพัฒนาพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจถนนห้วยแก้ว จำเป็นต้องนำหลักการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางการคมนาคม (Transit-Oriented Development : TOD) มาปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม แม้ถนนห้วยแก้วจะไม่ใช่ชุมทางการคมนาคมขนส่งขนาดใหญ่ แต่ศักยภาพที่เด่นชัดเป็นถนนสายหลักที่มีการเดินทางขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (multimodal street) และเป็นจุดเชื่อมโยงการเดินทางไปสู่สถานที่ต่าง ๆ อาทิ เขตเมืองเก่า ซูเปอร์ไฮเวย์ นิมมานเหมินท์ ในอนาคตพื้นที่ถนนห้วยแก้วจะเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางไปยังจุดต่าง ๆ ในเขตเมือง

โดยหลักการของ TOD คือจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาและการใช้ประโยชน์ที่ดินสูงสุด ทั้งการพัฒนาทางเดินเชื่อมต่อ ทางเท้า การพัฒนาพื้นที่สีเขียว การจัดการขยะ ปัญหาน้ำทิ้ง น้ำเสีย จะทำให้เกิดพื้นที่พาณิชยกรรมใหม่ดึงดูดการลงทุนและคนเข้ามาทำงาน การลงทุนอาคารสำนักงานจะเพิ่มขึ้น จะมีการพัฒนาเป็นย่านนวัตกรรมที่เชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษาหลักที่ตั้งอยู่บริเวณนี้ คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ 2 ฝั่งถนนห้วยแก้วยังมีพื้นที่ว่างอยู่กว่าร้อยละ 40 สามารถลงทุนในกิจกรรมต่าง ๆ ด้านเศรษฐกิจได้

โดยเฉพาะนัยสำคัญยิ่งคือการเป็นจุดเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนระบบรอง ทั้งรถโดยสารประจำทาง (city bus) และรถไฟฟ้ารางเบา (tram) จะเป็นกลไกสำคัญให้คนหันมาใช้บริการรถขนส่งสาธารณะมากขึ้น โดยถนนห้วยแก้วจะเป็นจุดเชื่อมโยงโครงข่ายการเดินทางขนส่งทางถนนที่ขนคนเข้ามา และสามารถเชื่อมต่อด้วยการเดิน-การปั่นจักรยานจะต้องพัฒนาให้เป็นถนนเดินได้ (walkable street) ที่มีประสิทธิภาพ

ในอีก 2 เดือนข้างหน้า RTC จะร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่จัดเวทีสัมมนาในประเด็นการพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจถนนห้วยแก้วให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจมาตรฐานระดับโลก โดยการสนับสนุนของ สกว.จะเสนอให้มีการออกแบบศูนย์เศรษฐกิจถนนห้วยแก้วให้เป็นผังเฉพาะ เป็นต้นแบบของการพัฒนาย่านเศรษฐกิจ เป็นพื้นที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ในอนาคต

สำหรับรถโดยสารประจำทาง “RTC city bus” ซึ่งให้บริการในพื้นที่เขตอำเภอเมืองเชียงใหม่จำนวน 3 เส้นทาง คือ สาย R1 (สวนสัตว์-มช.-ห้างเมญ่า-คูเมือง-ขนส่งช้างเผือก-ร.ร.ปรินส์ฯ-เซ็นทรัลเฟสติวัล) สาย R2 (สนามบิน-คูเมือง-กาดหลวง-ช้างคลาน-หนองหอย-ร.ร.มงฟอร์ต-ห้างพรอมเมนาดา-ตลาดหนองหอย-ร.ร.มงฟอร์ตประถม-ร.ร.พระหฤทัย-ร.ร.เรยีนาฯ) และสาย R3 (สนามบิน-นิมมานฯ-ไนท์บาซาร์) ผลการดำเนินงานในช่วงระยะ 3 เดือนที่เปิดให้บริการ พบว่ามีอัตราผู้โดยสารใช้บริการราว 65,000 คน มีจำนวนรถทั้งสิ้น 17 คัน แนวโน้มการใช้บริการของผู้โดยสารมีทิศทางค่อนข้างดี มีอัตราการใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นายฐาปนากล่าวต่อว่า ราวไตรมาส 4 ของปีนี้ ได้เตรียมเพิ่มเส้นทาง “RTC city bus” เส้นทางใหม่เป็นสายที่ 4 (สาย R4) ซึ่งจะเชื่อม 3 มหาวิทยาลัย 1 ศูนย์ราชการ 1 ศูนย์ประชุมฯ (หลัง มช.-ผ่านเข้า มช.-ถนนห้วยแก้ว-ม.ราชมงคล-เมญ่า-ซูเปอร์ไฮเวย์-ข่วงสิงห์-ม.ราชภัฏ-ศูนย์ราชการ-ศูนย์ประชุมนานาชาติ) จะทำให้ RTC city bus มีโครงข่ายเส้นทางที่ให้บริการเข้าถึงแต่ละย่านชุมชนสำคัญในเขตเมืองได้กว้างและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/09/2018 5:07 pm    Post subject: Reply with quote

ปลุกท้องถิ่นร่วมลงทุนรถไฟฟ้าแก้จราจรหัวเมืองภูมิภาค เปิดสัมปทาน 30 ปี
เผยแพร่: 8 ก.ย. 2561 18:54 ปรับปรุง: 9 ก.ย. 2561 10:42 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Click on the image for full size

สนข.ปลุกท้องถิ่นร่วมพัฒนารถไฟฟ้าแก้จราจรแบบยั่งยืน ชงผลศึกษารถไฟฟ้าขอนแก่น, พิษณุโลก เข้า คจร. ก.ย.นี้ ขณะที่คาดเปิด PPP รัฐบาลกลางจับมือท้องถิ่นตั้งบริษัทระดมทุนสร้างรถไฟฟ้าเชียงใหม่ โดยจ้างเอกชนเดินรถ 30 ปี

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเพื่ออนาคตว่า จากที่ สนข.ได้ศึกษาการแก้ปัญหารับขนส่งสาธารณะในภูมิภาค 5 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น เชียงใหม่ พิษณุโลก และภูเก็ต โดยในส่วนของเชียงใหม่ได้ดำเนินโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่เสร็จแล้วและมอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่ง รฟม.อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษารายงานการศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมเพื่อให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) คาดว่าจะแล้วเสร็จและเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ และเริ่มก่อสร้างได้ช่วงปลายปี 2562

จ.เชียงใหม่จำนวนประชากรมีการเติบโตสูง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น เฉลี่ยปีละ10% ขณะที่มีปัญหาถนนแคบ ซึ่งเป็นผังเมืองเดิม ความเร็วรถเฉลี่ยในบางช่วง 10 กม./ชม.เท่านั้น โดยในแผนแม่บทระบบขนส่งสาธารณะพบว่ารูปแบบในการเดินทางที่เหมาะสมคือ รถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) จำนวน 3 เส้นทาง วงเงินรวม 106,895 ล้านบาท ระยะทาง 34.93 กม. โดยจะลงทุนสายสีแดงก่อน มีระยะทาง 12.54 กม.(บนดิน 5.17 กม. ใต้ดิน 7.37 กม.) มี 12 สถานี เส้นทางโรงพยาบาลนครพิงค์-ศูนย์ราชการเชียงใหม่-สนามบินนานาชาติเชียงใหม่ (พ้นเขตสนามบินใช้ทางวิ่งบนดิน)-กรมการขนส่งทางบก-ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีหางดง วงเงินลงทุน 24,256.35 ล้านบาท เนื่องจากเส้นทางผ่านจุดที่มีกิจกรรมหลักของจังหวัด

คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 5-6 ปี เพราะมีโครงข่ายทางเลือกทั้งทางวิ่งบนดินและใต้ดิน 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 35 กม. ตามความเห็นของผู้เกี่ยวข้องเพื่อไม่ให้กระทบต่อผังถนนและบดบังทัศนียภาพเมืองท่องเที่ยว ทำให้ต้นทุนค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นโดยประเมินค่าก่อสร้างบนดินเฉลี่ย 500 ล้านบาท/กม. ส่วนใต้ดินเฉลี่ย 3,000 ล้านบาท/กม. นอกจากนี้ยังมีข้อกังวลในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) อีกด้วย

ทั้งนี้ คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) จะประชุมภายในเดือน ก.ย.นี้ ซึ่งจะรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้ารางเบาที่เชียงใหม่, นครราชสีมา, ภูเก็ต ต่อ คจร.เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน รวมถึงเสนอผลศึกษาแผนแม่บทระบบขนส่งสาธารณะที่จังหวัดพิษณุโลก และขอนแก่น

โดยที่พิษณุโลกมี 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 83.05 กม. มูลค่าก่อสร้าง 2,607 ล้านบาท โดยจะลงทุนสายสีแดงระยะทาง 12.6 กม. ซึ่งเป็นรถรางล้อยาง (Auto Tram) วงเงิน 762 ล้านบาทก่อน ส่วนอีก 5 เส้นทางจะเป็นรูปแบบรถโดยสาร หรือไมโครบัส

ขอนแก่น จะเป็นรถไฟฟ้ารางเบา เส้นทางในแนวเหนือ-ใต้ (บ้านสำราญ ตำบลสำราญ-ตำบลท่าพระ อำเภอเมืองขอนแก่น) ระยะทางประมาณ 22.8 กม. วงเงิน 26,900 ล้านบาท ขออนุมัติเพื่อนำไปสู่ขั้นตอนการศึกษาต่อไป

“การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ปัญหาจราจรในเมืองใหญ่นั้น นอกจากศึกษารูปแบบที่เหมาะสมแล้ว จะต้องมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเดินทางให้มาใช้ระบบขนส่งสาธารณะด้วย” นายชัยวัฒน์กล่าว

***แนะรัฐบาลกลางร่วมมือท้องถิ่นตั้งบริษัทระดมทุนเพื่อลงทุน และจ้างเอกชนบริหารเดินรถ

นายทรงยศ กิจธรรมเกษร ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการจัดระบบการจราจรและขนส่งภาคเหนือ (ตอนบน) ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า จากการระดมความเห็นในการศึกษาแผนแม่บท ปัจจุบันเชียงใหม่มีการเดินทางถึง 2 ล้านเที่ยว/วัน โดยกว่า 50% ใช้รถจักรยานยนต์ อีก 35% ใช้รถส่วนตัว และมีเพียง4% ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เพราะมีจำนวนไม่เพียงพอ ขาดประสิทธิภาพ มีจำนวนอุบัติเหตุสูง ประสบปัญหารถติด ความเร็วรถเฉลี่ยเพียง 8 กม./ชม. โดยจากการศึกษาแผนแม่บทขนส่งสาธารณะ ซึ่งประชาชนต้องการขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพและสะดวกรวดเร็ว และขอให้ก่อสร้างเป็นระบบใต้ดิน

โดยระบบหลัก เป็นระบบรถไฟฟ้าแบบรางเบา (LRT) 3 เส้นทางรวมระยะทาง 34.93 กม. ได้แก่ สายสีแดง ระยะทาง 12.54 กม. (บนดิน 5.17 กม. ใต้ดิน 7.37 กม.) มี 12 สถานี เส้นทางโรงพยาบาลนครพิงค์-ศูนย์ราชการเชียงใหม่-สนามบินนานาชาติเชียงใหม่ (พ้นเขตสนามบิน ใช้ทางวิ่งบนดิน)-กรมการขนส่งทางบก-ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีหางดง วงเงินลงทุน 24,256.35 ล้านบาท โดยจะดำเนินการก่อสร้างก่อน

สายสีน้ำเงิน ระยะทาง 11.92 กม. (บนดิน 3.15 กม. ใต้ดิน 8.77 กม.) มี 13 สถานี วงเงินลงทุน 30,514.79 ล้านบาท

สายสีเขียว ระยะทาง 10.47 กม. (บนดิน 2.55 กม. ใต้ดิน 7.92 กม.) มี 10 สถานี วงเงินลงทุน 25,548.54 ล้านบาท

และมีระบบรอง เป็นระบบรถโดยสารประจำทาง 7 เส้นทาง ระยะทางรวม 89 กม. เป็นเส้นทางเชื่อมกับโครงข่ายหลัก LRT แต่ละเส้นทางสามารถวิ่งร่วมกับการจราจรปกติ หรือมีเขตทางพิเศษบางส่วน (Bus Lane) และระบบเสริม เป็นรถโดยสารประจำทางในเมือง 7 เส้นทาง ระยะทาง 85 กม. วิ่งร่วมกับการจราจรปกติในเขตเมือง วงเงินลงทุน 6,336.92 ล้านบาท โดยกำหนดอัตราค่าโดยสารแรกเข้าที่ 15 บาท และบวก กม.ต่อไป กม.ละ 1บาท

สำหรับแนวทางการลงทุน PPP ที่เป็นไปได้คือ 1. รัฐลงทุนงานโยธา เอกชนลงทุนงานระบบเครื่องกลและระบบไฟฟ้า (M&E) และจัดหาขบวนรถไฟฟ้า หรือ 2. รัฐบาลกลาง ร่วมกับท้องถิ่นจัดตั้งบริษัทและระดมทุน (กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน) โดยอาจจะจ้างเอกชนเดินรถในรูปแบ PPP Gross Cost ซึ่งทั้งแนวทางที่ 1 และ 2 มีความเป็นไปได้ ขึ้นกับรัฐจะลงทุนมากน้อยแค่ไหน โดยระยะเวลาสัมปทานที่ 30 ปี นอกจากนี้ยังมีแนวคิดในการพัฒนา TOD ตามแนวเส้นทางอีก 9 พื้นที่ ซึ่งภาคเอกชนในจังหวัดด้านอสังหาริมทรัพย์มีความตื่นตัวกับโครงการอย่างมาก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 10/09/2018 12:49 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ปลุกท้องถิ่นร่วมลงทุนรถไฟฟ้าแก้จราจรหัวเมืองภูมิภาค เปิดสัมปทาน 30 ปี
เผยแพร่: 8 ก.ย. 2561 18:54 ปรับปรุง: 9 ก.ย. 2561 10:42 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เปิดแผนสร้างรถไฟฟ้านอก กทม. ประเดิม 5 จ. รวมขอนแก่น-เชียงใหม่
โดย ไทยรัฐออนไลน์
วันที่ 8 กันยายน 2561 - 12:26

รถไฟฟ้าเชียงใหม่เริ่มก่อสร้างปี 64 สายแรกสีแดง แนวทิศเหนือ-ใต้
วันที่ 8 กันยายน 2561 - 19:22 น.

สนข.ชงรถไฟฟ้ารางเบา‘ขอนแก่น-พิษณุโลก’ ราว 7 หมื่นล้าน ให้ คจร. ไฟเขียว ก.ย.นี้ ส่วนเชียงใหม่เริ่มก่อสร้างปี 64 สายแรกสีแดง แนวทิศเหนือ-ใต้ ดึงรถสองแถวแดงเป็นฟีดเดอร์ร่วมระบบตั๋วแมงมุม เร่งศึกษารถไฟฟ้าอุดรเพิ่ม

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนและการจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังนำสื่อมวลชนศึกษาและสำรวจเส้นทาง โครงการรถไฟฟ้าเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 8-9 ก.ย. ที่จังหวัดเชียงใหม่ ว่า เดือน ก.ย.นี้ จะเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) อนุมัติแผนแม่บทระบบขนส่งสาธารณะ ประเภทรถไฟฟ้ารางเบาระดับพื้นดิน (Tram) ในจ.ขอนแก่น วงเงิน 4.5 หมื่นล้านบาท และจ.พิษณุโลก 2.4 หมื่นล้านบาท พร้อมโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ของขอนแก่นลงทุน ส่วนพิษณุโลกโอนให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการ

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าในต่างจังหวัดที่ คจร. เห็นชอบแล้ว ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต นครราชสีมา โอนให้ รฟม. ดำเนินการต่อทั้งหมด โดยภูเก็ตเอกชนและท้องถิ่นเริ่มตั้งบริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง เข้าร่วมพัฒนา ส่วนโคราชและเชียงใหม่ อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมรูปแบบการให้เอกชนร่วมทุนรูปแบบพีพีพี

ส่วนของเชียงใหม่ตามแผนแม่บท จะก่อสร้าง 3 เส้นทาง ราว 1 แสนล้านบาท แต่มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ จึงก่อสร้างเส้นทางแรก หรือสายสีแดงก่อน แนวทิศเหนือ-ใต้ ผ่านรพ.นครพิงค์ ศูนย์ราชการเชียงใหม่ สนามกีฬา 700 ปี เชื่อมเข้าสนามบิน สิ้นสุดห้างบิ๊กซีหางดง ระยะทางประมาณ 12 กม. ลงทุน 2.4 หมื่นล้านบาท คาดครม.อนุมัติ เปิดประมูลปลายปี 2563 เริ่มก่อสร้างปี 2564 เปิดให้บริการปี 2570 นับจากตั้งแต่นี้เป็นต้นไป สนข. จะเริ่มสร้างการรับรู้เรื่องรถไฟฟ้ารางเบาระดับพื้นดิน ให้ประชาชนในท้องถิ่น จ.เชียงใหม่ เพื่อให้ประชาชนรู้สึกมีส่วนร่วม


ขณะเดียวกันจะดึงกลุ่มรถสองแถวแดง จ.เชียงใหม่ เข้ามามีส่วนร่วม โดยจะปรับปรุงเส้นทางเพื่อให้รถแดงกลายเป็นระบบขนส่งผู้โดยสารไปยังรถไฟฟ้า (Feeder) ซึ่งเบื้องต้นกลุ่มรถแดงเห็นด้วยแล้ว และพร้อมเปลี่ยนเส้นทางตามนโยบายดังกล่างซึ่ง สนข. เตรียมให้รถสองแถวแดงเข้าร่วมระบบบัตรแมงมุมด้วนเเพื่อให้ประชาชนเปลี่ยนโหมดการเดินทางแบบไร้รอยต่อ

นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า ในต่างประเทศยังมีการออกแบบแทรมให้เข้ากับเอกลักษณ์หรือบรรยากาศของท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น ในฝรั่งเศสมีการออกแบบหัวรถแทรมเป็นแก้วไวน์ ซึ่งก็สามารถใช้โมเดลนี้ในประเทศไทยด้วย
ทั้งนี้ ยอมรับว่า มีความกังวลในการขุดดินเพื่อก่อสร้างทางช่วงใต้ดิน เพราะเชียงใหม่เป็นเมืองเก่าอายุ 700 ปี ต้องขุดด้วยความระมัดระวังหากเจอวัตถุโบราณใต้ดิน ก็มีแนวคิดที่จะสร้างเป็นพิพิธฑภัณฑ์บริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อทำเป็นสถานที่จัดแสดงวัตถุโบราณให้คนรุ่นหลังได้ดู

นอกจากนี้ กำลังเร่งศึกษารถไฟฟ้าในจ.อุดรธานี โดยจะหารือร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการบินพลเรือน (กพท.) ก่อสร้างระบบขนส่งสาธารณะเชื่อมต่อกับสนามบินด้วย โดยเฉพาะสนามบินเชียงใหม่ และภูเก็ตแห่งที่ 2 จะต้องมีการวางแผนงานก่อสร้างรถไฟฟ้าเชื่อมสนามบิน พร้อมกับการสร้างสนามบิน ป้องกันปัญหาจราจรแออัดในอนาคต

โครงการรถไฟฟ้าต่างจังหวัดเหล่านี้ ดึงดูดความสนใจของนักลงทุนด้านระบบจากหลายประเทศ เช่น จีน ฝรั่งเศส สเปน และเกาหลีใต้ ซึ่งประเทศเหล่านี้มีเทคโนโลยีที่ดี และความพร้อมด้านอะไหล่ ควรเปิดกว้างให้นักลงทุนเหล่านี้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย

สนข.ลุยรถไฟฟ้าเชียงใหม่งบแสนล้าน
9 กันยายน 2561 - 14:40

สนข. เร่งลงทุนรถไฟฟ้าเชียงใหม่ 3 สาย 35 กิโลเมตร งบ 1 แสนล้าน สร้างปี63 เสร็จปี 67

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้ารางเบาเชียงใหม่ (LRT) ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมพื้นที่และออกพระราชกฤษฎีกา (พรฎ.) เพื่อเวนคืนที่ดินและดำเนินการศึกษารูปแบบการลงทุน โดยจะเดินหน้าสายสีแดง เส้นทางศูนย์ราชการฯ-สนามบิน-แม่เหียะ วงเงินประมาณ 24,000 ล้านบาท ส่วนการก่อสร้างโครงการเป็นระดับใต้ดิน 70% และระดับบนดิน 30% โดยจะยึดตามแผนแม่บทที่กำหนดไว้ รูปแบบการลงทุนโครงการเป็นลักษณะเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP)

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าเชียงใหม่ สนข. จะดำเนินการทั้งหมด 3 สาย รวมระยะทาง 35 กิโลเมตร วงเงินลงทุนกว่า 100,000 ล้านบาท ได้แก่ 1.สายสีแดง เส้นทางศูนย์ราชการฯ-สนามบิน-แม่เหียะ 2.สายสีน้ำเงิน เส้นทางสวนสัตว์เชียงใหม่-ท่าแพ-ดอนจั่น และ3.สายสีเขียว เส้นทางแม่โจ้-กาดหลวง-สนามบิน ซึ่งจะเร่งรัดให้ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เริ่มต้นก่อสร้างให้ได้ภายในปี 2562 หรือต้นปี 2563 ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2567


Last edited by Wisarut on 14/09/2018 6:07 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 11/09/2018 5:08 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.อนุมัติก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบา “ภูเก็ต-เชียงใหม่”รฟม.นำร่อง 2 เส้นทางวงเงินกว่า6.4 หมื่นล.
เผยแพร่: 11 ก.ย. 2561 15:50 โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ครม.อนุมัติให้รฟม.ก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาที่”ภูเก็ตและเชียงใหม่” โดยรฟม.คาดพ.ย.นี้สรุปผลศึกษาเปิดร่วมทุน PPP รถไฟฟ้าภูเก็ต 3.9 หมื่นล. ก่อน ส่วนเชียงใหม่ เร่งจ้างศึกษารูปแบบร่วมทุน สรุปปี 62 เพื่อเริ่มสร้างสายสีแดง ช่วงรพ.นครพิงค์-บิ๊กซีหางดง 12.54 กม.วงเงินกว่า 2.4 หมื่นล.

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และโฆษกกระทรวงฯ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 11 ก.ย. มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. .... จำนวน 2 โครงการ เพื่อให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) สามารถดำเนินโครงการได้ เพิ่มเติมจากปัจจุบันที่สามารถดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล

โดย โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน จังหวัดภูเก็ต สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาและออกแบบทางรถไฟสายใหม่เพื่อการท่องเที่ยว เส้นทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี - พังงา - ภูเก็ต เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit หรือ Tramway) มีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากบริเวณสถานีรถไฟท่านุ่น จังหวัดพังงา ผ่านท่าอากาศยานภูเก็ตและสิ้นสุดที่บริเวณห้าแยกฉลอง จังหวัดภูเก็ต ระยะทาง 58.5 กิโลเมตร ซึ่งได้บรรจุไว้ในโครงการตามมาตรา PPP Fast Track ซึ่ง รฟม. ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 22 ม.ค. - 16 ก.พ. 2561 ซึ่งโดยรวมเห็นด้วยกับการดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนระบบราง และให้ รฟม. เร่งดำเนินโครงการฯ

ประเมินเงินลงทุน 39,406 ล้านบาท มีโครงสร้างทางวิ่งระดับดินตลอดเส้นทาง ยกเว้นบริเวณสนามบินภูเก็ตจะเป็นสถานียกระดับ มีทั้งหมด 24 สถานี เป็นยกระดับ 1 สถานี ที่สนามบินภูเก็ต และใต้ดิน 1 สถานีที่สถานีถลาง มีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณ อ.ถลาง

ส่วนระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สนข. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเชียงใหม่ โดยเสนอจัดทำระบบหลักเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit) ซึ่งเป็นโครงการตามมาตรการ PPP Fast Track และได้นำเสนอผลการศึกษาตามรายงานฉบับสมบูรณ์ต่อคณะกรรมการกำกับการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2560 มี 3 เส้นทางรวมระยะทาง 34.93 กม. ได้แก่ สายสีแดง ระยะทาง 12.54 กม.(บนดิน 5.17 กม. ใต้ดิน 7.37 กม. ) มี 12 สถานี เส้นทาง โรงพยาบาลนครพิงค์-ศูนย์ราชการเชียงใหม่- สนามบินนานาชาติเชียงใหม่ (พ้นเขตสนามบิน ใช้ทางวิ่งบนดิน) -กรมการขนส่งทางบก- ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีหางดง วงเงินลงทุน 24,256.35 ล้านบาท โดยจะดำเนินการก่อสร้างก่อน

สายสีน้ำเงิน ระยะทาง 11.92 กม.(บนดิน 3.15กม. ใต้ดิน 8.77 กม. ) มี 13 สถานี วงเงินลงทุน 30,514.79 ล้านบาท และ สายสีเขียว ระยะทาง 10.47 กม.(บนดิน 2.55 กม. ใต้ดิน 7.92 กม. ) มี 10 สถานี วงเงินลงทุน 25,548.54 ล้านบาท

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่า รฟม.กล่าวว่า รถไฟฟ้าภูเก็ตนั้นรฟม.ได้จ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษารูปแบบการเปิดให้เอกชนร่วมทุน(PPP) จะสรุปการศึกษาในเดือน พ.ย.และเสนอบอร์ดรฟม.เพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (บอร์ด PPP) ต่อไป เบื้องต้นมีภาคเอกชนภูเก็ตพัฒนา ให้ความสนใจที่จะร่วมลงทุน ซึ่งเบื้องต้นจะใช้รูปแบบ PPP Net Cost เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ

ส่วนรถไฟฟ้าเชียงใหม่ อยู่ในขั้นตอนร่าง TOR จ้างที่ปรึกษาศึกษารูปแบบการร่วมลงทุน คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 1 ปี

https://www.youtube.com/watch?v=HUoXApj8MXg

//----------------

มติครม.ให้รฟม.เดินหน้าโครงการรถไฟฟ้า
11 กันยายน 2561 - 16:53
มติ ครม.ให้ รฟม.เดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าเชียงใหม่ พังงา ภูเก็ต เชื่อมหัวเมืองรอง รับการขยายตัวของเศรษฐกิจ

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม.ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดเชียงใหม่ พังงา และภูเก็ต ในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเบาหรือ โมโนเรล โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สนข.เป็นผู้ศึกษาพัฒนาระบบขนส่งเชื่อมหัวเมืองในภูมิภาค จากเดิมรฟม.สามารถดำเนินธุรกิจได้ภายพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น เพื่อรองรับโครงสร้างพื้นฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจเชื่อมการเดินทางภาคใต้ ซึ่งยืนยันว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวจะไม่เกิดภาระด้านงบประมาณให้กับรัฐบาลในขณะนี้

ขณะเดียวกันได้เห็นชอบให้ทบทวนโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ในช่วงที่ผลผลิตปี2561/2562 ที่จะออกสู่ตลาด เป็นการลดปัญหาผลผลิตล้นตลาดและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว โดย เกษตรกรที่นำข้าวไปฝากไปยังสหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกรจะได้รับค่าเก็บรักษาข้าวเปลือกตันละ1000บาท ส่วนสหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกรจะได้รับเงินค่าตอบแทนตันละ500 เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/09/2018 10:46 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งรถไฟฟ้า5หัวเมืองใหญ่ BTSประมูล”เชียงใหม่-ภูเก็ต”
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 22 September 2018 - 09:01 น.

รัฐคลอดแผนแม่บทรถไฟฟ้า 5 จังหวัด เหนือ อีสาน ใต้ เงินลงทุน 2 แสนล้าน แก้รถติดเสริมแกร่งเมืองท่องเที่ยว ปลุกเศรษฐกิจภูมิภาค ดึงเอกชนร่วมทุน PPP 30-50 ปี รฟม.ประเดิม “ภูเก็ต-เชียงใหม่” ลุยสำรวจเวนคืน เปิดประมูลปีหน้า 6 หมื่นล้าน BTS ผนึกท้องถิ่นรอประมูล ส่วนขอนแก่น 5 เทศบาลรวมพลัง ลงขันตั้งบริษัทระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯกู้เงินนอกขอลุยเอง รอหน่วยงานรัฐพิจารณาไม่ให้ขัดกฎหมาย

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สนข.ศึกษาแผนแม่บทระบบขนส่งสาธารณะในเมืองภูมิภาคเพื่อแก้ปัญหาจราจรในเมืองใหญ่ 5 จังหวัดเสร็จแล้ว ได้แก่ ภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น และพิษณุโลก วงเงินลงทุน 208,821 ล้านบาท กรอบพัฒนา 10 ปี โดยรัฐและเอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP 30-40-50 ปี เพราะรัฐบาลต้องการให้เอกชนกระจายการลงทุนในภูมิภาค

สร้างรถไฟฟ้ารางเบา 5 จังหวัด

ระบบที่เหมาะสมจะเป็นรถไฟฟ้ารางเบาแบบไลต์เรลและแทรม ล่าสุด คณะรัฐมนตรี (ครม.) มอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ศึกษารูปแบบ PPP และคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน 2 จังหวัดคือ ภูเก็ตจังหวัดแรกและเชียงใหม่

ส่วนโคราชจะเสนอ ครม.ในเดือนตุลาคมนี้ ขณะที่ จ.ขอนแก่นและพิษณุโลก ต้องรอพิจารณาจากคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ เป็นประธานเดิมกำหนดประชุมวันที่ 19 ก.ย. ล่าสุดเลื่อนออกไปไม่มีกำหนด

ขอนแก่นรอเคาะ

โดย จ.พิษณุโลก มอบให้ รฟม.เป็นผู้ดำเนินการ ส่วน จ.ขอนแก่น ต้องการดำเนินการเอง หาก คจร.เห็นชอบจะส่งแผนแม่บทให้จังหวัดดำเนินการต่อไป ส่วนการลงทุนจะเป็นแบบ PPP หรือไม่ อยู่ที่การตัดสินใจของจังหวัด

“รถไฟฟ้าขอนแก่นเป็นครั้งแรกที่ 5 เทศบาลของจังหวัดจะทำเอง ถ้าลงทุนแบบ PPP ต้องศึกษารูปแบบที่เหมาะสมจะเป็น PPP net cost หรือ PPP gross cost ตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ร่วมทุน 2556”



เปิดละเอียดยิบเส้นทาง

นายชัยวัฒน์ กล่าวถึงผลศึกษาแต่ละจังหวัดว่า ของภูเก็ตจะเป็นรถไฟฟ้ารางเบาแบบไลต์เรล วงเงิน 39,406 ล้านบาท เป็นทางวิ่งระดับดินตลอดเส้นทาง มี 24 สถานี ยกเว้นสนามบินภูเก็ตจะเป็นสถานียกระดับ มีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง อยู่บริเวณ อ.ถลาง

จุดเริ่มอยู่สถานีรถไฟท่านุ่น จ.พังงา เชื่อมต่อระบบรถไฟสายใหม่สุราษฎร์ธานี-พังงา สิ้นสุดทางเหนือของห้าแยกฉลอง ห่างจากห้าแยก 200 เมตร รวม 58.525 กม. จะเริ่มช่วงสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง 41.7 กม. วงเงิน 30,154 ล้านบาท

“เชียงใหม่” เป็นรถไฟฟ้ารางเบาระบบไลต์เรล เงินลงทุน 105,735 ล้านบาท มีทั้งอุโมงค์ใต้ดินในเมืองและยกระดับนอกเมือง มี 3 เส้นทาง รวม 36 กม. ให้รฟม.ออกแบบเส้นทางนำร่อง สายสีแดง รพ.พิงค์-ศูนย์ราชการเชียงใหม่-สนามกีฬาสมโภช 700 ปี-ศูนย์ประชุมนานาชาติ-สถานีตำรวจช้างเผือก-แยกข่วงสิงห์-ม.ราชภัฏเชียงใหม่-สถานีขนส่งช้างเผือก-รพ.เชียงใหม่ราม-รพ.มหาราชนครเชียงใหม่-ร.ร.วัฒโนทัยพายัพ-สนามบินเชียงใหม่-ขนส่งทางบก-บิ๊กซีหางดง

รวม 12 สถานี ระยะทาง 12.54 กม. วงเงิน 28,727 ล้านบาท อุโมงค์ใต้ดินยาว 7.37 กม. เริ่มที่สถานีข่วงสิงห์-สนามบินเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในพื้นที่อ่อนไหวต้องผ่านเมืองชั้นใน ย่านเมืองเก่าซึ่งต้องขุดดินลึก 10 เมตร ซึ่งอาจมีโบราณวัตถุและโบราณสถาน ส่วนระดับดิน 5.17 กม. ช่วง รพ.นครพิงค์-แยกข่วงสิงห์ และสนามบินเชียงใหม่-แยกแม่เหียะ

สายสีน้ำเงิน จากสวนสัตว์เชียงใหม่-แยกห้างพรอมเมนาดา 10 สถานี 10.47 กม. วงเงิน 30,399 ล้านบาท และสายสีเขียว แยกรวมโชค-สนามบินเชียงใหม่ 13 สถานี 11.92 กม. วงเงิน 36,195 ล้านบาท จะดำเนินการหลังสายสีแดงแล้วเสร็จ ซึ่ง รฟม.กำลังจ้างที่ปรึกษาทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA และศึกษารูปแบบ PPP จะแล้วเสร็จปีหน้า และเสนอกระทรวงคมนาคมพร้อมให้คณะกรรมการ PPP พิจารณา

สำหรับ จ.นครราชสีมา เป็นรถไฟฟ้ารางเบาไลต์เรล วงเงิน 32,600 ล้านบาท มี 3 ระยะ ระยะที่ 1 ปี 2563-2565 วงเงิน 13,600 ล้านบาท มีสายสีส้ม แยกประโดก-ถนนช้างเผือก-คูเมืองเก่า 9.81 กม. 17 สถานี วงเงิน 8,400 ล้านบาท และสีเขียว จากตลาดเซฟวัน-ถนนมุขมนตรี-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ 11.17 กม. 18 สถานี วงเงิน 5,200 ล้านบาท

ระยะที่ 2 ปี 2566-2568 วงเงิน 4,800 ล้านบาท มีสายสีม่วงช่วงตลาดเซฟวัน-ถนนมิตรภาพ-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ 11.92 กม. 9 สถานี และระยะที่ 3 ส่วนต่อขยายสายสีส้ม สีเขียว และสีม่วง วงเงิน 14,200 ล้านบาท รฟม.จะจ้างที่ปรึกษาศึกษารูปแบบ PPP คู่ขนานไปกับ EIA

จ.พิษณุโลก จะมี 3 รูปแบบคือรถโดยสารขนาดปกติ รถไมโครบัส และรถรางล้อยาง (tram) 8 เส้นทาง รวม 110.6 กม. วงเงิน 13,493 ล้านบาท ระยะที่ 1 ปี 2563-2565 มี 6 เส้นทาง รวม 80.5 กม. วงเงิน 3,206.57 ล้านบาท วิ่งเชื่อมในเมืองกับพื้นที่รอบนอกและสนามบิน เช่น สายสีแดง มหาวิทยาลัยพิษณุโลก-สถานีขนส่งแห่งที่ 2-แห่งที่ 1-วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ-ศาลากลาง-มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามทะเลแก้ว-หมู่บ้านพิษณุโลกเมืองใหม่ 12.6 กม. 15 สถานี เป็นรถ tram เป็นต้น ระยะที่ 2 ปี 2572-2574 มี 2 เส้นทาง และ 3 ส่วนต่อขยายอีก 30.1 กม. วงเงิน 911.42 ล้านบาท

รฟม.ตั้งสำนักงานลุยเวนคืน

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยว่า รฟม.จะตั้งสำนักงานที่ภูเก็ต และเชียงใหม่ เพื่อสำรวจเส้นทางและเวนคืนที่ดิน ส่วนการลงทุนจะให้เอกชนร่วมรูปแบบ PPP 30 ปี โดยรัฐลงทุนค่าเวนคืนและงานโยธา เอกชนลงทุนงานระบบและรถ กำลังศึกษารูปแบบที่เหมาะสม จะเป็นสัมปทานหรือ จ้างเดินรถ

“ภูเก็ตจะประมูล PPP เฟสแรก กลางปีหน้า 30,000 ล้านบาท เชียงใหม่ประมูล PPP สายสีแดง 12 กม. 35,000-40,000 ล้านบาท เพราะรวมศูนย์ซ่อมบำรุงด้วย จะสร้างทั้งใต้ดินและบนดิน ส่วนรถไฟฟ้าขอนแก่น รฟม.ได้ร่างพระราชกฤษฎีกาเสนอจะเป็นผู้ดำเนินการโครงการ แต่ท้องถิ่นคัดค้านเพราะต้องการทำโครงการเอง”

ขอนแก่นตั้งบริษัทลุยเอง

นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น เปิดเผยว่า LRT ขอนแก่น เป็นโครงการที่จัดทำโดย บจ.ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม (KKTS) ซึ่ง 5 เทศบาลของขอนแก่นร่วมจัดตั้ง ขณะนี้ได้หารือกระทรวงการคลังถึงรูปแบบการลงทุนที่ไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุน โดยส่งเอกสารให้พิจารณาแล้ว หาก คจร.เห็นชอบจะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป จากนั้นจะประกาศเป็นวาระจังหวัด แล้วเชิญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วางศิลาฤกษ์ในเดือน ธ.ค. 2561

นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ขณะนี้การดำเนินงานอยู่ใน 3 ขั้นตอนสุดท้าย คือ 1.เข้าที่ประชุม สนข. 2.เร่งเรื่องการแลกเปลี่ยนที่ดินของเทศบาลกับกรมการข้าว ซึ่งเป็นที่ดินศูนย์สถานีวิจัยข้าว อยู่ตรงข้ามเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น เนื้อที่ 216 ไร่ โดยขอใช้ 200 ไร่ ทำศูนย์ซ่อมบำรุง และพื้นที่พัฒนาเพื่อหารายได้ (TOD) หากไม่ทำ TOD ค่าโดยสารอยู่ที่ 25 บาท แต่ถ้าทำ ค่าโดยสารเพียง 15 บาท 3.พิจารณาว่าโครงการนี้ขัดกฎหมายอะไรหรือไม่

เล็งกู้เงินนอกลงทุน

ด้านนายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ผู้บริหาร บจ.ขอนแก่นพัฒนาเมือง กล่าวว่า LRT ขอนแก่น ไม่ได้ต้องการรับการอุดหนุนงบฯจากรัฐบาล แต่ต้องการให้ คจร.อนุมัติให้เทศบาลทั้ง 5 แห่ง เป็นผู้ดูแลและดำเนินโครงการรถไฟรางเบาคาดว่าใช้งบฯ 30,000 ล้านบาท คืนทุนใน 12 ปี แบ่งเป็นเงินระดมทุนจากชาวขอนแก่น 3,000-4,000 ล้านบาท ที่เหลือกู้ต่างประเทศ ได้แก่ จีน และประเทศในแถบยุโรป

โดยมีแผนให้ KKTS เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯใน 5-7 ปีข้างหน้า และจะให้สิทธิ์เกษตรกรที่ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยกว่า 800,000 คน ในขอนแก่น ซื้อหุ้นในราคาพาร์ โดยให้เกษตรกรในพื้นที่ห่างไกลที่แม้ไม่ได้ใช้ประโยชน์ LRT โดยตรง ได้รับประโยชน์จากเงินปันผล รวมถึงที่ดิน 200 ไร่ ที่จะแลกกับกรมการข้าว จะแบ่งส่วนพัฒนาเป็นคอนโดฯสำหรับผู้มีรายได้น้อย ให้มีโอกาสได้อยู่กลางเมืองเดินทางได้สะดวก

นายชวลิต ประตูน้ำขอนแก่น ประธานกรรมการ บริษัท ประตูน้ำขอนแก่น จำกัด ศูนย์ค้าส่ง-ค้าปลีกเสื้อผ้า กล่าวว่า เตรียมทุ่มเงิน 30 ล้านบาท ทำอาคารและบันไดเลื่อนเชื่อมสถานี LRT ที่กำหนดสถานีประตูน้ำเป็นหนึ่งในทำเลที่รถไฟฟ้ารางเบาผ่าน จะทำให้ศูนย์การค้า ผู้ค้าและนักท่องเที่ยวได้รับอานิสงส์

BTS สนแจมภูเก็ต-เชียงใหม่

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหาร บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ BTS กล่าวว่า บริษัทสนใจจะเข้าไปลงทุนรถไฟฟ้ารางเบาในต่างจังหวัด เนื่องจากเป็นธุรกิจหลักของบีทีเอส ทั้งนี้ ขอดูรายละเอียดเงื่อนไขทีโออาร์ที่รัฐจะดำเนินการจะเป็น PPP รูปแบบไหน หากเป็น PPP net cost จะต้องพิจารณาอย่างละเอียด เพราะเอกชนมีความเสี่ยง และไม่รู้ว่ารัฐจะใช้รูปแบบเดียวกับสายสีชมพูกับสายสีเหลืองที่จะสนับสนุนค่าก่อสร้างไม่เกินเพดานงานโยธาหรือไม่ ส่วน PPP gross cost เป็นการจ้างเดินรถระยะยาว จะดูในแง่ของโปรดักต์อย่างเดียว

“เราพร้อมจะลงทุน โดยเฉพาะภูเก็ตและเชียงใหม่ที่เป็นเมืองท่องเที่ยว ปัจจุบันเราร่วมกับท้องถิ่นพัฒนาระบบบัตรแรบบิทรถโดยสารประจำทาง มีคอนเน็กชั่นที่จะขยายมายังรถไฟฟ้าด้วย”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2018 11:10 am    Post subject: Reply with quote

ผุดย่านการค้าสายสีแดง พัฒนาพื้นที่รอบสถานีรับรถไฟฟ้ารางเบาเชียงใหม่
ออนไลน์เมื่อ 24 ตุลาคม 2561
ตีพิมพ์ใน หน้า 21 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,411 วันที่ 21-24 ตุลาคม 2561


Click on the image for full size

“เชียงใหม่พัฒนาเมือง” เล็งยกระดับพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้ารางเบาสายสีแดง เชียงใหม่ พร้อมประสานร่วมลงทุนกับเจ้าของที่ดินทั้งรัฐและเอกชน ผุดย่านการค้าใหม่ ด้านกรีนบัสเตรียมลงทุนทำสเตชันพลาซาและลิฟวิ่ง



นายณรงค์ ตนานุวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชียงใหม่พัฒนาเมือง จำกัด เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากการที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดเชียงใหม่ พังงา และภูเก็ต ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ รฟม.จะดำเนินการในเส้นทางสายสีแดงก่อน ระยะทาง 12 กิโลเมตร วงเงิน 24,257 ล้านบาท โดยบริษัทเชียงใหม่พัฒนาเมืองฯ มีความสนใจในการลงทุนพัฒนาพื้นที่รอบสถานี หรือ TOD (Transit Oriented Development) รถไฟฟ้าสายสีแดง ไม่ว่าสถานีจะเกิดขึ้นตรงไหน ก็จะพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี ไม่ว่าจะเป็นในที่เอกชนหรือในพื้นที่ของกรมธนารักษ์ ของส่วนราชการ พร้อมจะเข้าไปร่วมทุนกับเจ้าของพื้นที่ในการพัฒนาให้เป็นย่านการค้าใหม่

“บริษัท เชียงใหม่พัฒนาเมืองฯมีความสนใจเป็นอย่างยิ่งที่จะประสานผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ทำให้เมืองกระจายออกไป เกิดย่านการค้าในแต่ละสถานี ดังนั้นบริษัท เชียงใหม่พัฒนาเมืองฯ เราจะต้องติดตามต่อไปถึงสถานีต่างๆ ที่เกิดขึ้น”

นายณรงค์ กล่าวต่อไปว่า เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะทำรถไฟฟ้าสายสีแดงก่อน เพราะถ้าไม่นำร่องทำสายเดียวก่อน แต่ทำพร้อมๆกันทั้ง 3 สาย (สายสีแดง ศูนย์ราชการ-สนามบิน-แม่เหียะสายสีนํ้าเงิน สวนสัตว์เชียงใหม่-ท่าแพ-ดอนจั่น และสายสีเขียว แม่โจ้-กาดหลวง-สนามบิน) ก็จะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก


ทั้งนี้จากการศึกษา ระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมกับเมืองเชียงใหม่เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา หรือ LightRail Transit System (LRT) มีทั้งระบบบนดินและใต้ดิน โดยรถไฟฟ้ารางเบาสายสีแดง มีระยะทางรวม 12 กิโลเมตร เป็นระบบรถรางไฟฟ้าระบบใต้ดิน 70% และระบบบนดิน 30% เริ่มต้นจากโรงพยาบาลนครพิงค์-ศูนย์ราชการเชียงใหม่-สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี-ศูนย์ประชุมนานาชาติ-สถานีตำรวจช้างเผือก-แยกข่วงสิงห์-มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่-สถานีขนส่งช้างเผือก-โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม-โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่-ร.ร.วัฒโนทัยพายัพ-สนามบินเชียงใหม่-สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่-ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีหางดง

ด้านนายสมชาย ทองคําคูณ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ชัยพัฒนาขนส่งเชียงใหม่ จำกัด หรือกรีนบัส เปิดเผยว่า กรีนบัสมีที่ดินที่อยู่ในบริเวณนี้ เมื่อมีรถไฟฟ้าเกิดขึ้น ก็จะลงทุนพัฒนา การลงทุนอาจจะมีการผสมผสานกัน เช่น เรื่องของสเตชันพลาซาและลิฟวิ่งเข้าไป ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการลงทุน จะเป็นสถานีที่มีความทันสมัยมากขึ้นให้บริการผู้โดยสารระหว่างจังหวัด มีพลาซา มีที่พักอาศัย มีออฟฟิศเข้าไปด้วย แผนการลงทุนคงไม่เกิน 10 ปีนี้ แต่ถ้าระบบขนส่งมวลชนแล้วเสร็จ การลงทุนก็ชัดเจนมากขึ้น โอกาสในเรื่องของการลงทุนก็มีมากขึ้น

“สำหรับพื้นที่มีอยู่ประมาณ 15 ไร่และฝั่งตรงข้ามมีพื้นที่อีก 5 ไร่ ที่จะทำคือ ฝั่ง 15 ไร่ ส่วนการลงทุน ในส่วนพลาซาต้องหาผู้ร่วมทุน แต่ในอนาคตอาจจะเปลี่ยนแปลงเป็นรูปแบบอื่นได้ เพราะก่อนการลงทุน ต้องทำการศึกษาก่อน เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนหลัก 1,000 ล้านบาท ฉะนั้นจะต้องหาแหล่งเงินทุนเข้ามาร่วมด้วย” นายสมชาย กล่าว


Last edited by Wisarut on 24/10/2018 11:17 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 10, 11, 12  Next
Page 6 of 12

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©